Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14326895  

คลีนิคสุขภาพ

หลีกให้ไกลโรคพังผืดกดทับเส้นประสาทข้อมือ

 

     เมื่อพูดถึงโรคพังผืดกดทับเส้นประสาทข้อมือ หลายคนอาจจะงง และสงสัยว่าโรคนี้คือโรคอะไร เกิดจากสาเหตุอะไร มีอันตรายอย่างไร และถ้าหากว่าเกิดอาการแล้วจะมีวิธีการรักษาอย่างไร นพ.พูนศักดิ์ อาจอำนวยวิภาส แพทย์ศัลยกรรมกระดูก และข้อ จะมาอธิบายให้ฟัง ...

 สาเหตุของโรค

นพ.พูนศักดิ์ บอกว่า ปกติบริเวณข้อมือของคนเรานั้นจะมีลักษณะเป็นโพรง และมีพังผืดอยู่บริเวณด้านบน โดยจะมีทั้งเส้นเอ็นและเส้นประสาทใหญ่ที่เรียกว่า เส้นประสาทมีเดียน ลอดจากโพรงข้อมือไปสู่ฝ่ามือ และเมื่อพังผืดเกิดการหนาตัวมากขึ้น หรือเกิดการอักเสบขึ้น พังผืดนั้นก็จะไปกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ ทำให้เส้นประสาทเกิดอาการอักเสบ และเกิดอาการชาที่มือตามมา

การที่พังผืดเกิดการหนาตัวมากขึ้นนั้นก็มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะมาจากสภาพร่างกาย เช่น อายุที่มากขึ้น ทำให้พังผืดอักเสบ และหนาตัวขึ้น, เพศ ซึ่งเพศหญิงจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย, ลักษณะโครงสร้างของมือที่ผิดปกติ หรือลักษณะการใช้ข้อมือ หรือแม้แต่กรรมพันธุ์ก็สามารถเป็นสาเหตุได้เช่นกัน

นอกจากการที่พังผืดเกิดการหนาตัวมากขึ้น และไปกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือแล้ว โรคนี้ยังอาจจะเกิดจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย เช่น เกิดการกระดูกหักที่ข้อมือก็จะทำให้โพรงข้อมือแคบลง หรือเกิดการบาดเจ็บบริเวณข้อมือจากการหกล้ม หรือโรคบางอย่างเช่น เบาหวาน รูมาตอย ไทรอยด์ หรือเป็นโรคบางอย่างที่เกี่ยวกับพังผืดก็จะทำให้หนาตัวขึ้นได้

นอกจากนั้น ผู้ที่ใช้ข้อมืออย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ เช่น ช่างฝีมือ พนักงานโรงงาน หรือผู้ที่ทำงานออฟฟิศที่ต้องใช้เมาส์คอมพิวเตอร์นานๆ หรือผู้ที่ต้องรับโทรศัพท์นานๆ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดได้เช่นกัน ซึ่งถ้าเส้นประสาทถูกกดทับนานๆ เข้าก็อาจจะทำให้กล้ามเนื้อลีบลง และประสิทธิภาพการทำงานของมือลดลงตามไปด้วย

อาการที่สังเกตได้

การที่จะสังเกตว่าตนเองเริ่มมีอาการของโรคนี้หรือไม่นั้น สังเกตได้จาก

  • เกิดอาการชาที่ฝ่ามือ อาจจะชาๆ หายๆ เหมือนเป็นเหน็บชา แต่พอนานๆ เข้าอาการก็จะชัดขึ้นเรื่อยๆ คือ เกิดอาการชาที่บริเวณนิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง
  • หลังจากนั้นอาการชาก็จะเป็นมากขึ้น และพบว่ามีอาการปวดร้าวร่วมด้วย และอาการจะกระจายขึ้นมาที่แขน
  • มักจะมีอาการปวดเวลากลางคืน หรือมีอาการชามากเวลาใช้มือ เช่น ทำงานบ้าน
  • ถ้ามีอาการมากๆ อาจจะเกิดอาการมืออ่อนแรงตามมา อาจจะถึงกับถือหนังสือพิมพ์อ่านก็ยังไม่ได้ และถ้าปล่อยเอาไว้นานๆ ไม่รักษากล้ามเนื้อก็จะอ่อนแรง กล้ามเนื้อมือจะลีบลง ผิดรูป ซึ่งอันตรายถ้าปล่อยเอาไว้นานๆ โดยไม่รักษา

วิธีการรักษา

อาการคร่าวๆ แบ่งได้เป็น 3 ระดับ

- เกิดอาการชาอย่างเดียว

ลักษณะอย่างนี้แพทย์มักจะแนะนำให้ปรับท่าทางการใช้มือ เช่น คนที่ต้องพิมพ์ดีด หรือใช้คอมพิวเตอร์บ่อยๆ ก็ให้หาหมอนมารองข้อมือ หรือพยายามหลีกเลี่ยงการใช้มือข้างที่เกิดอาการชานั้นสักพักหนึ่ง รวมทั้งรับประทานยาแก้อักเสบ

- มีอาการชามากขึ้น และมีอาการปวดร่วมด้วย

แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยา และควบคู่กับการใส่เฝือกพยุงข้อมือ เพื่อให้ลดการใช้งานเกี่ยวกับมือลง

- ถ้าชา และมีอาการปวดมาก

อาจจะต้องมีการฉีดยาแก้อักเสบที่โพรงข้อมือ ร่วมกับการรับประทานยา แต่ถ้าฉีดยาแล้วไม่ได้ผลก็อาจจะต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป


การผ่าตัดนั้นก็จะแบ่งออกเป็น 2 วิธี

  1. ผ่าตัดแบบเดิม คือ แพทย์จะทำการผ่าตั้งแต่ข้อมือถึงฝ่ามือ ซึ่งแผลจะยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร เพื่อเอาตัวพังผืดออกมา ทำให้เส้นประสาทไม่ถูกกดทับ ซึ่งหลังจากการผ่าตัดผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดแผล มือบวม ต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 อาทิตย์ แผลจึงจะหายพอที่จะทำงานเบาๆ ได้ และจะกลับมาเป็นปกติประมาณ 3 เดือน
  2. การผ่าตัดโดยส่องกล้อง โดยจะสอดกล้องเข้าไปในโพรงข้อมือ แล้วตัดพังผืดออกมา โดยแผลจะมีขนาดเล็ก และไม่ค่อยปวดแผลมากนัก การผ่าตัดแบบนี้แผลจะหายไว และสามารถกลับไปทำงานได้หลังจากผ่าตัด 3 วัน

 วิธีการป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมือซ้ำๆ เป็นเวลานาน และหลีกเลี่ยงการใช้งานที่เป็นอันตรายต่อข้อมือ หรือลดอาการใช้มือข้างนั้นลง
  • หลีกเลี่ยงการกระแทกโดยตรงบริเวณข้อมือตอลดเวลา อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยน หรือใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือเพื่อลดการกระแทก
  • คนที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ป่วยเบาหวานควรติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และเคร่งครัด ควบคุมไม่ให้น้ำตาลในเลือดสูงเกินไป
  • ถ้าเริ่มรู้สึกว่ามีอาการมือชา และไม่ดีขึ้น หรือจับของและหล่นบ่อย ก็แสดงว่าเริ่มเกิดอาการแล้ว ควรจะไปพบแพทย์
  • อีกสิ่งหนึ่งที่จะลืมไม่ได้ก็คือ การออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายข้อมืออย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่างๆ มีความแข็งแรง เมื่อกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นต่างๆ แข็งแรงจะเป็นตัวป้องกันอาการบาดเจ็บที่จะเกิดจากการกระแทกได้

รู้ข้อมูลแบบนี้แล้ว การระมัดระวังตัว และดูแลตัวเอง หลีกเลี่ยงการใช้มือซ้ำๆ เป็นเวลานานๆ รวมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็น่าจะทำให้ห่างไกลจากอาการของโรคพังผืดกดทับเส้นประสาทข้อมือได้ไม่ยาก



หน้าที่ :: 51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved