รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Styles)
นักเรียนแต่ละคนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและมีความสนใจที่แตกต่างกัน ซึ่ง Robert Sylwester (1995, อ้างถึงใน อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง ,2545) กล่าวไว้ว่า " นักเรียนมีสมองที่ออกแบบมาต่างกัน สมองแต่ละคนแตกต่างกัน เช่นเดียวกับลายนิ้วมือและใบหน้า ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจึงได้ศึกษาเกี่ยวกับแบบการเรียน หรือวิธีการเรียนรู้ของนักเรียนแบบต่าง ๆ วิธีประมวลผลข้อมูล และสิ่งที่นักเรียนชอบ"
รูปแบบการเรียนรู้เป็นปฏิบัติประจำในการค้นพาหรือรับความรู้ ทักษะและทัศนคติผ่านประสบการณ์หรือการเรียนรู้ซึ่งแยกได้เป็น 4 ลักษณะ คือ (Kolb, 1985) คือ
1. ลักษณะที่แสวงหา (Activists) เป็นผู้ชอบแสวงหาประสบการใหม่พยามยามแก้ปัญหาโดยตนเอง และมีความตื่นเต้นค้นหาความรู้ใหม่อยู่เสมอ
2. ลักษณะชอบตอบสนอง (Reflector) เป็นผู้ใช้ความคิดสุขุมรอบคอบพิจารณาประสบการณ์ใหม่อย่างลึกซึ้งก่อนตัดสินใจ โดยขึ้นอยู่กับการสังเกต และมีปฏิกิริยาตอบสนอง
3. ลักษณะนักทฤษฎี (Theorists) เป็นผู้ที่บูรณาการสิ่งดีสังเกตให้เป็นรูปแบบที่มีเหตุผล โดยการวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน
4. ลักษณะนักปฏิบัติ (Pragmatists) เป็นผู้ชอบประยุกต์สิ่งใหม่ ความคิดใหม่ โดยทันทีและไม่อดทนต่อการทำย้ำๆ ซ้ำ หรือการสอบสนองใดๆ
David Kolb (1984) ได้จำแนกแบบการเรียนเป็น 4 แบบ โดยยึดหลักการเรียนรู้อิงประสบการณ์ (Experiential Learning) ได้ดังนี้
1. แบบปรับปรุง (Accommodators) บุคคลแบบนี้ชอบลงมือปฏิบัติทดลองสิ่งใหม่ๆ ทำงานได้ดีใน
สถานการณ์ที่ต้องใช้การปรับตัว ชอบสร้างสรรค์ ลองผิดลองถูก เสี่ยง และมีแนวโน้มที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่ตนนึกคิดเอง
2. แบบคิดเอกนัย (Convergers) บุคคลแบบนี้ต้องการรู้เฉพาะเรื่องที่มีประโยชน์และใช้ได้กับ
สถานการณ์หนึ่ง ๆ เท่านั้น มีความสามารถในการจัดรวบรวม และใช้แนวคิดที่เป็นนามธรรม ในการปฏิบัติจริง แต่ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนและกำหนดเวลาที่แน่นอน
3. แบบดูดซึม (Assimilators) บุคคลแบบนี้ชอบการค้นคว้า อ่าน วิจัย และศึกษาอย่างเจาะลึก มี
ความอดทน และเพียรพยายามที่จะศึกษาหาข้อมูล ชอบข้อมูลที่เป็นนามธรรม เชื่อว่าตนเองเรียนรู้ได้ดีจากประสบการณ์ที่ผ่านมาและจากผู้เชี่ยวชาญ
4. แบบอเนกนัย (Divergers) บุคคลแบบนี้ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมรอบตัวที่สุขสบาย ชอบเรียนรู้จากคนอื่นด้วยการพูดคุยสนทนา ชอบแสวงหาทางเลือกหลาย ๆ ทาง และเรียนรู้เพื่อสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนรวม
Rita Dunn และ Ken Dunn (1987) ได้แบ่งแบบการเรียนของนักเรียนออกเป็น 5 แบบ คือ
1. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการฟัง นักเรียนแบบนี้จะรับรู้ข้อมูลได้ดีด้วยการฟัง และมักใช้การพูดโต้ตอบมากกว่าการอ่าน ชอบฟังการบรรยาย การเล่าเรื่อง ชอบฟังเพลง และฟังเสียงที่มีระดับเสียงและท่วงทำนองต่าง ๆ ได้ดี ชอบการอภิปราย พูดคุยกับเพื่อนนักเรียนชอบดูภาพ แผนภูมิ แผนภาพ ออแกไนเซอร์แบบกราฟิกจึงเป็นเครื่องมือสำคัญ นักเรียนกลุ่มนี้ยังเรียนได้ดีจากสี เพราะมันจะมีความหมายกับพวกเขา
2. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการสัมผัส นักเรียนแบบนี้จะรับรู้ข้อมูลได้ดีด้วยการสัมผัส แตะต้อง เช่น การเขียน การวาดภาพ การมีส่วนร่วมในประสบการณ์ตรง หรือประสบการณ์รูปธรรม
3. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการเคลื่อนไหว นักเรียนแบบนี้จะรับรู้ข้อมูลได้ดีด้วยการลงมือกระทำ และด้วยการเคลื่อนที่ไปมา นักเรียนจึงชอบกิจกรรมที่มีความหมายและสัมพันธ์กับชีวิตจริง
4. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการสัมผัสและเคลื่อนไหว นักเรียนแบบนี้ต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ชอบ กิจกรรมบทบาทสมมติ และสถานการณ์จำลอง ชอบเดินไปมาในห้องอย่างอิสระ
" ยิ่งครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตรงกับแบบการเรียนของนักเรียนมากเท่าไร นักเรียนก็จะใช้สมองได้
มากเท่านั้น "
Howard Garder (1983, 1993) ได้นำเสนอเรื่องพหุปัญญา (Multiple Intelligences) ว่า "การสังเกตพบว่าคนเรามีเชาวน์ปัญญาหลายแบบ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เราแตกต่างกันเพราะเรามีเชาน์ปัญญาแบบ ต่าง ๆกัน ถ้าเรารู้จักสังเกตคน เราจะสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น" การ์ดเนอร์ได้แบ่งความเก่งหรือความสามารถพิเศษของเด็กไว้ทั้งหมด 8 แบบ ดังนี้
1. การใช้ภาษา (Verbal / Linguistic) : การอ่าน การพูด และการฟัง
2. การใช้เหตุผลและคิดคำนวณ หรือเก่งเลข (Logical / Mathematical) : การทำงานกับตัวเลข และคิดแบบนามธรรม
3. การรับรู้ภาพ หรือเก่งด้านศิลปะด้านช่าง (Visual / Spatial) : สร้างภาพ แปลรูป สร้างแผนฟังแนวคิด จินตนาการ เขียนภาพ
4. ความสามารถทางดนตรี หรือเก่งดนตรีและจังหวะ (Musical / Rhythmic) : การใช้จังหวะ ทำนอง ดนตรี เต้นรำ
5. การเคลื่อนไหวร่างกาย หรือกีฬา (Bodily / Kinesthetic) : การรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส การเคลื่อนที่ไปมา
6. ความสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือเก่งด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal) : ร่วมมือ สัมพันธ์ รู้สึกร่วม
7. การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง หรือเก่งด้านการรู้ตน (Intrapersonal) : ทำงานตามลำพัง เรียนรู้ตามความสามารถ ทำโครงงานด้วยตนเอง
8. ความเข้าใจธรรมชาติ หรือเก่งด้านความเข้าใจในธรรมชาติ (Naturalist) : ใช้เวลานอกสถานที่ จัดกลุ่มสังเกต และแบ่งประเภทสิ่งที่พบเห็น
|