Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
13997310  

ตามใจไปค้นฝัน

ประเทศภูฏาน ตั้งอยู่ในแถบขุนเขาหิมาลัยระหว่างอินเดียกับจีน (ติดกับทิเบต) เป็นประเทศที่มีเทือกเขาเป็นจำนวนมาก จนได้รับการขนานนามว่า "สวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย" เดิมเคยผูกพันอยู่กับทิเบต แต่ แยกออกมาเป็นรัฐอิสระตั้งแต่ ค.ศ.1630 ภูฏาน เป็นประเทศเล็กๆ มีพื้นที่ 47,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่เหนือรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย มีสถานที่ท่องเที่ยวเหมาะกับคนที่ชอบธรรมชาติที่งดงามและวัฒนธรรมดั้งเดิม
• เทือกเขาหิมาลัยอันปกคลุมไปด้วยหิมะตลอดทั้งปีทอดตัวยาวผ่านตอนบนของภูฏานทั้งแถบ ลดหลั่นลงมาบรรจบกันเป็นหุบเขาในบริเวณตอนกลางของประเทศ แล้วค่อยๆ ลดระดับลงจนจรดที่ราบทางตอนใต้ที่ต่อเนื่องมาจากอินเดีย ทำให้ภูฏานมีภูมิประเทศหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันสุดขั้ว ตั้งแต่ยอดเขาสีขาวโพลนที่สูงกว่า 7,000 เมตรทางตอนเหนือ ไปจนถึงที่ราบลุ่มเขียวขจีสูง 300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตามแนวขอบประเทศทางตอนใต้
• ทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับ ทิเบต (จีน)
• ทิศใต้ ติดกับ แคว้นอัสสัมและเบงกอลตะวันตก (อินเดีย)
• ทิศตะวันออก ติดกับ แคว้นอรุณาจัลประเทศ (อินเดีย)
• ทิศตะวันตก ติดกับ แคว้นสิกขิม (อินเดีย)
• ภูฏาน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล แต่มีแม่น้ำหลายสายที่ไหลลงมาจากยอดเขาหิมาลัย ตัดผ่านประเทศตามแนวเหนือ-ใต้ ความอุดมสมบูรณ์ของภาคกลางและใต้ ส่งผลให้ชาวภูฏานส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณหุบเขาตอนกลางของประเทศ (ระดับความสูง 1,100 ถึง 2,600 เมตร) และบริเวณตอนใต้ (ระดับความสูง 300 ถึง 1,600 เมตร) เทือกเขาสูงชันจากเหนือไปใต้ที่ลดหลั่นลงมาจากหิมาลัย เป็นกำแพงกั้นระหว่างหุบเขาตอนกลางต่างๆ ตัดขาดชุมชนออกจากกัน ทิ้งให้หมู่บ้านส่วนใหญ่อยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่สามารถไปมาหาสู่ระหว่างกันได้สะดวก
• เขตที่อุดมสมบูรณ์และมีประชากรหนาแน่นมากที่สุดของประเทศคือ บริเวณพรมแดนทางตอนใต้ เขตเชิงเขาหิมาลัยที่ความสูงระหว่าง 300-1,600 เมตร ก่อนหน้าที่จะปิดพรมแดนด้านที่ติดกับทิเบตในปี ค.ศ. 1959 ทิวเขาสูงในหิมาลัยถือเป็นเส้นทางหลักในการสัญจรไปยังหลายๆท้องที่ ทำให้ภูฏานกับทิเบตมีการติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันมาแต่ครั้งโบราณ ช่วงครึ่งแรกในศตวรรษที่ 20 ท้องที่บางแห่งที่เข้าถึงได้ง่ายในเขตภาคใต้ของภูฏานมีชาวเนปาลผู้คุ้นเคยกับการใช้ชีวิตในที่ลุ่ม เดินทางเข้ามาตั้งรกรากอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ ต่อมาปี ค.ศ.1962 ทางรัฐบาลภูฏานได้สร้างถนนราดยางสายเหนือ-ใต้ เพื่อเชื่อมกับทิมพูเข้ากับพุนโซลิงในภาคตะวันตกเฉียงใต้สำเร็จ
• ภูฏานภาคใต้ : เชิงผาหิมาลัย
• แต่เดิม เขตที่ราบภาคใต้เรียกว่า เขตดัวร์ แปลว่า ปากประตู กับเขตเชิงเขาหิมาลัยที่ความสูงไม่เกิน 1,700 เมตร กลายมาเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ เนื่องจากอยู่ใกล้ตลาดในภาคเหนือของอินเดียและบังคลาเทศ อาณาบริเวณแถบนี้จึงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว มีเมืองศูนย์กลางการค้าเล็กๆเกิดขึ้นมากมาย ประชากรในภาคใต้ของภูฏานส่วนใหญ่เป็นชาวนาเชื้อสายเนปาล ที่อพยพเข้ามาในปลายศตวรรษที่ 19 ไล่เรื่อยมาจนถึงปี ค.ศ.1950 มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า โฮตซัมปา พูดภาษาเนปาล ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู
• ส่วนเขตหิมาลัยตอนกลาง คือแถบหุบเขาพาโร ทิมพู ปูนาคา วังดีโปดรัง ฮุนซี และบางส่วนของตาชิกัง เป็นถิ่นฐานของชาวไร่ชาวนาและคนเลี้ยงสัตว์กลุ่มมองโกลอยด์ พูดภาษาในตระกูลทิเบต-พม่า ที่เรียกตนเองว่า ดรุ๊กปะ นิยมสร้างบ้านเรืออยู่กระจัดกระจายห่างไกลกัน แต่ปัจจุบัน เริ่มมีชุมชนเมืองเกิดขึ้นรอบ ซอง(ป้อมและอาราม) ซึ่งเป็นป้อมปรากรป้องกันข้าศึกรุกรานและเป็นศูนย์กลางบริหารและการปกครองท้องที่แต่ละแห่งในสมัยโบราณ มีเทือกเขาดำน้ำทำหน้าหน้าที่เป็นสันปันน้ำ แยกเขตลุ่มแม่น้ำสองแห่งออกไว้คนละฟากข้าง โดยแม่น้ำทั้งสองสายจะไหลจากเหนือลงใต้ ไหลไปออกยังที่ราบในเขตอินเดีย กลายเป็นสี่แควใหญ่ของแม่น้ำพรหมบุตร (โตชา ไรดัก สันโกศ และมานัส) มีศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงถึง 30,000 เมกะวัตต์ ปัจจุบัน ภฏานได้สร้างโรงไฟฟ้าขึ้นแล้วหลายแห่ง โดยได้รับความช่วยเหลือจากทั้งอินเดียและออสเตรเลีย
• ภูฏานตะวันตก : หุบเขาทั้งห้า
• พื้นที่ภาคตะวันตกของภูฏานเกิดจากการรวมตัวของหุบเขาฮา (2,700 เมตร) ปาโร (2,200 เมตร) และทิมพู (2,300 เมตร) ในขณะที่ปูนาคากับวังดีโปรดัง ประกอบกันขึ้นเป็นหุบเขายาว ความสูง 1,300 เมตร หุบเขาทั้งห้าที่ประกอบขึ้นเป็นภาคตะวันตก เป็นถิ่นฐานของพวก งาลง แปลว่า ผู้ลุกขึ้นเป็นกลุ่มแรก พูดภาษา ซงคา แปลว่ ภาษาของป้อม ซึ่งเป็นภาษาของภูฏานในปัจจุบัน เป็นคนกลุ่มแรกที่หันมายอมรับนับถือพุทธศาสนา ผู้คนแถบนี้มีฐานะค่อนข้างดี และรัฐบาลภูฏานก็เข้ามาดูแลอุตสาหกรรมป่าไม้อย่างเข้มงวด
• ภูฏานภาคกลาง : บุมทังภูมิหลังอันยาวนาน
• ภาคกลางประกอบขึ้นจากหลายท้องที่ แต่ละที่จะมีภาษาถิ่น (คา) ของตนเอง (อาทิ บุมทังคา เค็งคา กูร์เตคา) เป็นภาษาเก่าแก่ จัดอยู่ในกลุ่มภาษาโบดิชโบราณที่แยกย่อยออกมาจากภาษาในตระกูลทิเบต-พม่าอีกต่อหนึ่ง มีช่องเขายูตงลา (3,300 เมตร เป็นประตูสู่เขตบุมทัง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของหุบเขาสี่แห่งที่ระดับ 2,700-4,000 เมตร หุบเขาชูเมะและโชโกร์เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ ส่วนหุบเขาตังและอูราจะทำการปศุสัตว์ บ้านเรือนส่วนใหญ่กอด้วยหินมากกว่าใช้ดินอัด ลวดลายดูบางตากว่าทางตะวันตก บุมทังได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่รุ่มรวยด้วยศิลปะและมีภูมิหลังอันยาวนาน ขนบประเพณีทางศาสนายังเป็นที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาโดยมิได้หายสูญ วัดวาแต่ละแห่งล้วนมีประวัติความเป็นมาเก่าแก่
• ภูฏานตะวันออก : ดินแดนแห่งท้องนาและผ้าทอ
• ภูฏานตะวันออกมีพื้นที่ครอบคลุมเขตมงการ์ ตาชิกัง เปมากาเช และซัมดรุปจงคา มีหุบเขาเป็นรูปตัว V มีท้องทุ่งและบ้านเรือนตั้งอยู่บนเนินอันโล่งเตียน บ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านทรงภูฏานขนานแท้ ภาคตะวันออกเป็นถิ่นที่อยู่ของพวก ชาชปปะ (ซังลา) ซึ่งมีภาษาพูดเป็นของตนเอง ชาวชาชปปะเคร่งครัดศรัทธาในศาสนาจนขึ้นชื่อ ละแวกนี้จึงมีวัดเล็กๆ ตั้งอยู่ทั่วไป วัดในท้องที่ห่างไกลจะมี กมเซ็น (พระบ้าน) อยู่ประจำร่วมกับครอบครัว สตรีชาชปปะมีฝีมือในการทอผ้าทั้งผ้าไหมและผ้าฝ้าย ที่หุบเขายาดีและพงเมจึงได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งท้องนาและผ้าทอฝีมือประณีต
• ภูฏานภาคเหนือ : ภูผาหิมาลัย
• ภาคเหนือของภูฏานเป็นจุดตั้งต้นเขตภูผาหิมาลัย ด้วยความสูงกว่า 3,500 เมตร เขตลิงเซ ลายะ และลูนานา มีวิถีชีวิตคล้ายกับเขตหุบเขาสูงอย่างเมรักกับซักเต็งในภาคตะวันออก ผู้คนยังชีพด้วยการเลี้ยงจามรีและเพาะปลูกเล็กๆ น้อยๆ โดยปลูกได้เพียงข้าวบาร์เล่ย์กับพืชมีหัวใต้ดิน เพราะมีความสูงเป็นข้อจำกัด อาหารหลักคือ นม เนย เนยแข็งและเนื้อจามรี ชาวบ้านเป็นพวกเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในหนึ่งปีอาศัยอยู่ในกระโจมสีดำที่ทอขึ้นจากขนจามรี
• เวลา : เวลาที่ภูฏานช้ากว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง
• ไฟฟ้า : ใช้ไฟฟ้า 220 โวลต์
• สกุลเงิน : สกุลเงินของภูฏานคือ งุลดรัม (Ngultrum) เรียกสั้นๆว่า นู (Nu) โดยค่าเงินของภูฏานผูกไว้กับค่าเงินรูปีของอินเดีย สามารถใช้เงินรูปีซื้อของได้
 



หน้าที่ :: 1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved