Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14020852  

ตามใจไปค้นฝัน

พิพิธภัณฑ์แห่งชาติภูฏาน
• พิพิธภัณฑ์แห่งชาติภูฏาน ตั้งอยู่เหนือพาโรซอง ซึ่งตั้งอยู่ในป้อมตาซองที่เป็นหอสังเกตการณ์ในยุคโบราณของพาโรซอง ซึ่งป้อมตาซองสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1651 แต่ไม่มีหลักฐานยืนยัดแน่ชัด ผู้สร้างคือเต็นซิน ดรุ๊กกา น้องชายต่างมารดาของท่านซับดรุงนาวัง นัมเกล สร้างขึ้นเมื่อครั้งที่ยังดำรงตำแหน่งเป็นลปแห่งพาโรอยู่
• ป้อมตาซองนี้เคยเป็นที่คุมขังอูเก็น วังชุก (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งภูฏาน) สมัยที่ปรากกบฎในปี ค.ศ.1872 ครั้นถึงกลางทศวรรษที่ 1950 ก็ถูกทิ้งร้างให้ปรักหักพัง จนปี ค.ศ. 1965 พระเจ้าจิกมี โดร์จี วังชุก (รัชกาลที่ 3 แห่งภูฏาน) จึงโปรดฯ ให้บูรณะป้อมตาซองขึ้นมาใหม่ให้เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติภูฏาน และทำพิธีเปิดเมื่อปี ค.ศ. 1968
• พิพิธภัณฑ์แห่งชาติภูฏาน เปิดทำการวันอังคารถึงวันเสาร์ เวลา 09.00-17.00 น. และปิดในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ภายในเย็นจัด เพราะมีศาสนวัตถุที่เก็บรักษาอยู่มาก การเที่ยวชมต้องเดินชมเวียนขวาตามเข็มนาฬิกา
• ภายในพิพิธภัณฑ์ไม่ได้มีแต่เพียงงานศิลปะแต่ยังมีงานหัตถกรรมที่เป็นข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ซากสัตว์ที่สตาฟฟ์ไว้ เครื่องแต่งกาย อาวุธชุดเกราะ และแสตมป์ ช่วยให้ผู้มาเยือนตระหนักถึงความร่ำรวยทางวัฒนธรรมของภูฏานได้โดยใช้เวลาไม่นานนัก ภายในตัวป้อมจะพบห้องโถงจัดแสดงเครื่องแต่งกาย ผ้าทอ หน้ากาก หมวกเครื่องบังเหียนอาม้าเงินดุนลาย คัมภีร์โบราณ และเรื่องราวประวัติศาสตร์ยุคแรกเริ่มของภูฏาน
• ห้องโถงชั้นสองจัดแสดงภาพทังกา หรือ พระบฏ นอกจากนี้ยังมีผ้าอัปปลิเกที่สะท้อนทักษะความชำนาญในงานฝีมือแขนงนี้ของชาวภูฏานได้อย่างเห็นชัด ที่น่าสนใจคือ ด้ายฟั่นขนาดยักษ์อันเป็นที่สถิตของวิญญาณชั่วร้าย
• ห้องแสดงแสตมป์ มีแสตมป์ภูฏานให้ชมทั้งแสตมป์กลม แสตมป์ผ้าไหม แสตมป์สามมิติ แสตมป์นูนที่ระลึกในงานพระราชพิธีราชาภิเษก และแสตมป์สามเหลี่ยมรูปเยตี นอกจากนี้ ยังมีห้องบูชาที่เก็บรักษารูปประติมากรรมดินเหนียวอยู่อีกห้องหนึ่ง
วังดี โปดรัง (Wangdi Phodrang)
• เมืองวังดี โปดรัง เรียกสั้นๆ ว่า วังดี อยู่ที่ความสูง 1,350 เมตร ตั้งอยู่เหนือจุดบรรจบของแม่น้ำ 2 สายคือ แม่น้ำปูนาคาและแม่น้ำดัง เป็นเมืองในอดีตที่สำคัญของประวัติศาสตร์ภูฏาน ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองปูนาคาประมาณ 13 กิโลเมตร มียอดเขา กังก้า พุนซุม (Gangkhar Phuensum) ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก (ที่ยังไม่มีผู้ใดสามารถปีนขึ้นไปได้) ซึ่งสูงถึง 7,500 เมตร

• วังดีโปดรังซอง (Wangdi Phodrang Dzong)
• วังดีโปดรังซองสร้าง ในปี ค.ศ.1638 ซองแห่งนี้ตั้งอยู่บนสันเขาระหว่างแม่น้ำ พูนาค และแม่น้ำดาง ตามตำนานเล่าว่า ท้าวมหากาฬได้มาสำแดงตนให้ท่านซับดรุงเห็น และกล่าวคำทำนายว่า "บนยอดเนินหินตรงที่แม่น้ำสองสายไหลมาบรรจบกัน ณ ตำแหน่งที่ฝูงกาบินออกไปยังสี่ทิศ ท่านจะสร้างป้อมขึ้นที่นั่นหลังหนึ่ง" ครั้นถึงปี ค.ศ. 1638 ท่านซับดรุงได้เดินทางมาถึงสถานที่ตามคำทำนายนั้น จึงสร้างป้อมขึ้น และให้ชื่อว่า วังดีโปดรัง แปลว่า "วังซึ่งสยบสี่ทิศไว้ใต้อำนาจ (ของท่านซับดรุง)"
• ตัวป้อมนั้นมุงหลังคาด้วยกระเบื้องแผ่นแบบชนบท ลานชั้นแรกรายล้อมด้วยอาคารกรมกองการปกครอง อาคารด้านข้างมีรูปทรงคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้ามากกว่าจัตุรัส พื้นที่ป้อมฝั่งนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 16383 ตามคำสั่งของท่านเต็นซิน รับเย พื้นที่ส่วนที่สองมีหุบห้วยเล็กๆ กั้นออกจากส่วนแรก แต่เชื่อมถึงต่อกันทางสะพานสั้นๆ มีลานชั้นในที่ค่อนข้างแคบทอดไปหาบันไดทางขึ้นไปสู่หอกลาง ฟากทางได้มีลานอีกแห่งหนึ่ง ศาลาการเปรียญที่ตั้งอยู่ตรงปลายสุดเป็นที่ประดิษฐพระพุทธรูปพระพุทธเจ้าแห่งกาลสาม
• ความเชื่อเกี่ยวกับธรรมบาลธรรมบาลแต่ละตนจะมีฐานะเทียบเท่าโพธิสัตว์และต่างมีหน้าที่คุมทัพปีศาจจำนวนมหาศาลเพื่อมาทำสงครามปราบปรามปิศาจชั่วร้ายที่เป็นศัตรูต่อพระพุทธศาสนาโดยมิยอมผ่อนโทษให้ ฉะนั้น รูปลักษณะของธรรมบาลแต่ละตนจึงน่าเกลียดน่ากลัวเพื่อเป็นการข่มขวัญฝ่ายศัตรูนั่นเอง แต่แท้จริงไม่มีใจดุร้ายเหมือนรูปร่างหน้าตา

• ธรรมบาลทั้ง 8 มีชื่อดังต่อไปนี้
1.มหากาล (Mahakala ; สันสกฤต ; Palden Lhamo ; ซองคา) มีรูปร่างหน้าตาหลายแบบ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ซึ่งส่วนใหญ่มีมากเศียรมากกร และกายสีดำ
2.กาลเทวีหรือมหากาลลี (Mahakali ; สันสกฤต ; Palden Lhamo ; ซองคา) เป็นธรรมบาลหญิงที่มีหน้าที่ปกป้องพระพุทธศาสนาโดยตรง เทพทั้งหลายจึงมอบเทพศัตราไว้ให้ เป็นต้นว่า พระพรหมประทานพัดหางนกยูง พระวิษณุประทานมณี วัชรปราณีประทานขวาน ฯลฯ ปกตินางทรงลา เคียงข้างด้วยผู้รับใช้ 2 ตน ตนหนึ่งจูงลา อีกตนหนึ่งถือมีดอีโต้ ลุยไปในทะเลสาบเลือด ซึ่งมีกะโหลกและกระดูกมนุษย์ลอยระเกะระกะ
3.ซังสะละปา หรือพรหมสีขาว มี 4 พักตร์ ทรงม้าขาวเป็นพาหนะ มีพระแสงดาบเป็นอาวุธประจำกาย หน้าตาดุร้ายน้อยกว่าธรรมบาลตนอื่นๆ
4. เบคตลีธรรมบาล ตนนี้ไม่มีชื่อในภาษาสันสกฤต ตำนานเล่าว่ายกทัพมารจำแลงเป็นสัตว์ต่างๆ เข้าขัดขวาง คุรุปัทมสัมภวะ จึงร่ายคาถาแปลงร่างเป็นพระอวโลกิเตศวร 6 กร ทรงเทพศัตรา 4 กร ส่วนกรอีกคู่อยู่ในท่าพนม รอยเท้าของม้าที่พระอวโลกิเตศวรทรงได้บังเกิดเป็นอักขระมนตร์ “โอม มณี ปัทเม หุม” เบคตลีเห็นความมหัศจรรย์นี้เลยกลับใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
5. พระยมธรรมบาล มีมุนีตนหนึ่งเข้าฌานอยู่ในถ้ำ มีกำหนด 50 ปี จึงจะเข้าสู่นิพพาน เผอิญในคืนของปีที่ 49 11 เดือน กับอีก 29 วัน คือขาดอีก 1 วันจะครบ 50 ปีเต็ม ก็มีโจร 2 คนนำโคที่ลักขโมยมาเข้าไปในถ้ำ ขณะหัวขโมยเหลียวไปเห็นมุนีดังกล่าว เกรงจะเป็นพยานจึงคิดฆ่าเสีย มุนีไหวตัวทันจึงร้องขอชีวิต โดยยกเหตุที่ตนกำลังจะเข้าสู่นิพพาน หากประหารเสียในขณะนี้ ผลตบะที่ได้บำเพ็ญไว้จะสูญเปล่า โจรทั้งสองไม่เชื่อ จึงตัดศีรษะมุนี ทันใดนั้น มุนีกลายร่างเป็นยักษ์หัวโคแผดเสียงร้องดังลั่นพร้อมกับฆ่าโจรทั้งสอง แล้วเอากะโหลกโจรตักโลหิตโจรมาดื่ม นับแต่นั้นบังเกิดความกระหายเลือดถึงกับสาบานจะทำลายมนุษย์ในทิเบตให้สิ้น พระโพธิสัตว์มัญชูศรีจึงต้องรีบแปลงกายเป็น “ยมานตะกะ” มาปราบ
6. ท้าวกุเวฬ ธรรมบาลตนนี้มีประวัติในลัทธิฮินดู ซึ่งสำหรับในลัทธิลามะ ท้าวกุเวฬรับหน้าที่ทั้งที่เป็นทางโลกบาลและธรรมบาล
7. หยัครีพ เป็นธรรมบาลที่มีเศียรมากกรเช่นเดียวกับธรรมบาลอื่นๆ ว่ากันว่า ถ้าขณะอ้อนวอนบูชาแล้ว ได้ยินเสียงร้องเหมือนม้า แสดงว่ารับบูชา ซึ่งเสียงดังกล่าวสามารถขับไล่ภูติผีปิศาจชั่วร้ายไปสิ้น
8. ยมานตะกะ (Yamantaka ; สันสกฤต : Shinje She ; ซองคา) แปลว่า ที่ตายของพระยม คือปางหนึ่งของพระโพธิสัตว์มัญชูศรี ซึ่งได้อวตารมาปราบพระยมธรรมบาล
• เหตุที่ชาวภูฏานนับถือธรรมบาล 2 ตนแรกมากกว่าตนอื่นๆ เพราะสืบเนื่องมาว่า ในปี ค.ศ. 1616 งาวัง นัมเกล เกิดเหตุขัดแย้งในทิเบตจึงถูกปองชีวิต ก็ได้ธรรมบาลมหากาล (Yeshe Gompo) และมหากาลี (Palden Lhamo) สองตนนี้ไปเข้าฝันท่านงาวัง นัมเกล และนำพามายังดินแดนภูฏาน ตรงหน้าพูนักฮาซองในปัจจุบัน อย่างปลอดภัย
• นกดุเหว่า มาจากรูปลักษณ์ของมหากาล ที่ปรากฎต่อสายตาท่านซับดรุง งาวัง นัมเกลทุกครั้ง มีร่างเป็นมนุษย์ ในขณะที่มีหัวเป็นนกดุเหว่า โดยฝูงนกดุเหว่าดังกล่าวได้แยกย้ายออกสู่ 4 ทิศทาง คือ ทิศเหนือ-พูนักฮา , ทิศใต้ – ดากานา , ทิศตะวันออก-ตองสา และทิศตะวันตก –ทิมพู ดังนั้น ตำแหน่งของวังดีโปดรังซองจึงเป็นชุมทางของทั้ง 4 ทิศ โดยเฉพาะในสมัยโบราณ วังดีโปรซองแห่งนี้ มีความสำคัญไม่ยิ่งหยอ่นไปกว่าซองที่เป็นศูนย์กลางการบริหารประเทศ
• หลังจากซับดรุง งาวัง นัมเกลเฝ้าดูฝูงนกดุเหว่าบินสู่ทิศทางใดแล้ว ก็เดินสำรวจบริเวณรอบๆ ได้เข้าไปทักทายเด็กชายคนหนึ่งที่กำลังก่อปราสาททรายอยู่ริมแม่น้ำ พอทราบว่าเด็กคนนี้ชื่อวังดี เลยตัดสินใจตั้งชื่อซองทันทีว่า “วัดี โพดรังซอง” (โพดรังซอง ในภาษาซองคา แปลว่า วัง)
• ปัจจุบัน บริเวณด้านหน้าวังดีโปรดังซอง เป็นสถานที่บริหารราชการประจำเขต ซึ่งส่วนนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1683 โดยคำบัญชาของเจ้าผู้ครองนครคนที่ 4 (Fourth Desi ;Tenzing Rabgye) เลยเข้าไปด้านหลังเป็นส่วนของสงฆ์ สิ่งปลูกสร้างในบริเวณนี้สร้างขึ้นในปีค.ศ. 1638 สมัยของซับดรุง งาวัง นัมเกล ซึ่งมีอายุอ่อนกว่าพูนัคฮาซองเพียงปีเดียว



หน้าที่ :: 1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved