Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
13997054  

ตามใจไปค้นฝัน

ร้านอาหารภูฏาน
• ภูฏาน เป็นอีกประเทศที่นิยมบริโภคข้าวเป็นอาหารทุกมื้อ ตั้งแต่มื้อเช้า ไปจนถึงมื้อค่ำ โดยส่วนใหญ่จะบริโภคอยู่สองประเภทคือ ข้าวขาว และข้าวแดง ข้าวขาวนั้นส่วนใหญ่จะได้รับความนิยม ในแถบตัวเมือง อย่างทิมพู และพาโร ส่วนในเขตชนบทจะบริโภคข้าวแดง
• ในโอกาสสำคัญ ๆ ชาวภูฏานจะมีเมนูข้าวที่น่าสนใจ คือ เดซิ (Desi) เป็นการนำข้าวขาว มาผสมกับเนย น้ำตาล ลูกเกด หรือลูกองุ่นแดง และผงสีเหลืองอมส้มทำจากดอก Crocus กับอีกเมนูคือ โซว์ (Zow) หรือข้าวผัด ที่ผัดกับน้ำตาล เนย ซึ่งว่ากันว่าทั้งสองเมนู เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า จิ๊กมี วังชุก เป็นอย่างยิ่ง
• ในแถบทางภาคตะวันออกของภูฏาน จะมีการปลูกข้าวสาลี เพื่อเป็นอาหารหลัก โดยส่วนใหญ่ จะนำมาทำเป็น พูตา (Puta)หรือ เส้นก๋วยเตี๋ยวข้าวสาลี ส่วนแถบภาคใต้ มักจะนำ ข้าวโพดมา ตากกับ หน่อไม้แล้วบดรวมกัน เพื่อทำเป็น คารัง (Kharang) เพื่อนำไปใส่ในแกง และทำเป็นโจ๊ก สำหรับมื้อเช้า
• ส่วนมากชาวภูฏานจะเสิร์ฟ ข้าวในภาชนะที่สานจากไม้ไผ่ ที่เรียกว่า บังจุง (bangchung) ซึ่งเป็นผลผลิตจากเมืองเก็ง ( Kheng province) และนอกจากจะใช้ใส่ข้าวแล้ว บังชุงยังเป็นของฝาก จากภูฏานที่สามารถนำมาประดับผนังบ้านได้ด้วย
• ในส่วนของนักท่องเที่ยวทางโรงแรมจะจัดอาหารบุฟเฟ่ต์ ประกอบไปด้วยอาหารอินเดีย อาหารจีน และอาหารภูฏาน ที่มีอยู่ในเมนูทุกมื้อคือ ข้าวกับแกงถั่ว ภัตตาคารในทิมพูบางแห่งจะเปิดบริการถึง 22.00 น. สถานบันเทิงประเภท เธค คลับ ดิสโก้ เปิดถึงเช้าในวันพุธ ศุกร์ และเสาร์
• อาหารพื้นเมืองที่ขายอยู่ในร้านตามหมู่บ้านทั่วไป มักเป็นอาหารหลักของเนปาลที่เรียกว่า dal bhat ประกอบด้วยข้าว (ข้าวขาว หรือข้าวแดง-ข้าวไรย์ของภูฏาน) กับแกงถั่ว ส่วนอาหารจานที่เป็นอาหารประจำชาติภูฏาน มีชื่อว่า ema dates-ผัดพริกสดเม็ดใหญ่ ซึ่งมีทั้งพริกเขียวและพริกแดง กับชีสซอส ต้มหัวไชเท้ากับมันหมูที่หั่นใส่ต้มทั้งมันและหนังหมู เรียกว่า phak sha laphu เป็นอาหารยอดนิยมของนักท่องเที่ยว อีกอย่างหนึ่งคือ มันฝรั่งผัดกับชีสซอส และเห็ดผัดกับชีสซอส (ชีสที่ทำจากน้ำนมจามรี) ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่กับหมูที่ภาษาซองคาเรียกว่า phak she phin tshoem
• นอกจากอาหารพื้นเมืองแล้ว ยังมีอาหารทิเบตหลายอย่างก็เข้ามาแพร่หลายในภูฏาน เช่น momos (ซาลาเปายัดไส้เนื้อหรือไส้ชีส นึ่งหรือทอด) เส้นก๋วยเตี๋ยวทิเบต (thukpa) กับ ขนมทำด้วยแป้งข้าวบาร์เลย์นวดกับเกลือและเนย (tampa)
• ในฤดูหนาวคนภูฏานจะกินเนื้อจามรี หรือ ยัค (yak) ซึ่งชาวภูฏานใช้ในการขนส่ง และนำเนื้อมากินได้รวมทั้งยังใช้น้ำนมใช้ทำเนยกับชีส เพื่อให้ร่างกายอบอุ่น สู้กับอากาศที่หนาวเย็นได้

• อาหารจานหลัก พริก ผัก และมันหมู
• ชาวภูฏาน 70 เปอร์เซ็นต์ มีอาชีพในการทำการเกษตรและเลี้ยงปศุสัตว์ นอกนั้นทอผ้าอุตสาหกรรมในครัวเรือนและเป็นนักบวช เวลาส่วนมากของชาวชนบทจึงหมดไปกับการทำไร่ทำนาในแบบดั้งเดิม คือ ยังคงใช้วัวควายไถนา ปลูกข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวบัควีท ข้าวโพด มันฝรั่ง ฟักทอง หน่อไม้ มะเขือเทส หอมใหญ่ หมากพลู และพืชผลต่างๆ
• ในระยะหลัง รัฐบาลเข้ามาสนับสนุนทางวิชาการเกษตร ส่งเสริมให้ปลูกแอปเปิ้ล สาลี แพร์ พลับ องุ่น ส้ม และทั้งพืชเมืองหนาวอื่นๆ อันเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลภูฏานส่งเจ้าหน้าที่การเกษตรมาดูงานที่ โครงการหลวงดอยอ่างขาง และมีชาวยุโรปมาช่วยเหลือในด้านทางวิชาการ ถึงอย่างไรแผ่นดินบนหุบเขาก็ยังมีความสมบูรณ์ไม่มากนัก แม้ภูมิอากาศจะเป็นใจให้ปลูกพืชเมืองหนาว และได้ผลไม่น้อย แต่ก็เน้นที่จะส่งไปขายในประเทศใกล้เคียงมากกว่าจะเอาไว้กินเอง
• อาหารหลักของชาวภูฏานคือ ข้าวสวย ทุกวันนี้ชาวภูฏานนิยมกินข้าวกันเป็ฯอาหารหลักเช่นเดียวกันกับคนไทยเรา ที่ภูฏานมีทั้งข้าวชนิดสีขาวและชนิดสีแดง ชาวภูฏานแต่ละคนจะกินข้าวกันวันละประมาณ 1 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 10 นู ชาวภูฏานกินข้าวด้วยมือขวา โดยใช้นิ้วตะล่อมบีบข้าวให้เป็นก้อนพอคำ จิ้มกับสตูว์เนื้อหรือผักส่งเข้าปากเลย ดังนั้น หากไม่ตามชนบทจะเห็นชาวภูฏานปลูกข้าวกันเต็มไปหมด ทั้งที่พื้นที่ราบหายากแต่ก็ใช้วิธีปลูกนาขั้นบันไดแทน ในท้องที่ชนบทบางแห่งปลูกข้าวไม่มากนัก ได้ผลไม่เพียงพอจะบริโภค ได้ทำการปศุสัตว์มาเสริมช่วย ทำให้พอมีพอกิน
• อาหารการกินของคนชาวภูฏานไม่สลับซับซ้อนมากนัก อาจะเป็นข้าว แผ่นแป้ง บะหมี่ ข้าวกล้อง ข้าวผสมข้าวโพด ที่แปลกก็เห็นจะเป้นหมากผัดกับกะเทียม คนภูฏานนิยมเคี้ยวหมากเหมือนคนไทยสมัยก่อน นอกจากนี้ยังมี มันฝรั่ง เนื้อจามรีตากแห้ง แกงหัวผักกาด แอสพารากัส ต้มเนย มันฝรั่งผัดกะหล่ำปลีหรือผัดกับพริก อาหารแทบทุกอย่างไม่นิยมใส่น้ำตาล บางท้องถิ่นก็นิยมกินพริกแทนผัก รสชาติอาหารจึงเผ็ดมาก อาจจะมีจานหลัก 3 ประเภท คือ รสเผ็ดปรุงด้วยพริกและผักเป็นหลัก รสมันปรุงด้วยไขมันหมูล้วน ซึ่งอาหารเหล่านี้มีปรากฎอยู่ในโรงแรมภูฏานด้วย
• อาหารจานหลักของชาวภูฏาน หรือ อาหารประจำชาติภูฏาน มีชื่อว่า เอมาดัตซี่ emadate คือ คืออาหารที่ปรุงมาจากพริกล้วนๆ มีทั้ง พริกสดทั้งพริกเขียวและพริกแดงเม็ดใหญ่ เสริฟมาในซอนเนยแข็งกับต้มหัวไชเท้ากับมันหมูหั่นรวมกันกับหนังหมู พริกที่ชาวภูฏานกินเป็นอาหารหลักประจำวันนั้น คือพริกที่มีรสเผ็ดจัด ชาวภูฏานจึงเป็นโรคกระเพาะกันมาก (ชาวภูฏานเชื่อว่า พริกเป็นผักชนิดหนึ่งมากกว่าที่จะเป็นเครื่องชูรส) ขณะนี้องค์การอาหารและเกษตรสหประชาชาติ (FAO) กำลังรณรงค์ไม่ให้ชาวภูฏานกินพริกหรืออาหารที่เผ็ดมากเหมือนที่เป็นอยู่

• อาหารพื้นเมืองภูฏาน
• อาหารพื้นเมืองภูฏานที่ขายตามร้านในหมู่บ้านต่างๆของภูฏาน มักจะเป็นอาหารหลักคล้ายของเนปาล ประกอบด้วย ข้าว อาจจะเป็นข้าวขาว ข้าวแดงหรือข้าวไร่กับแกงถั่ว อาหารพื้นเมืองภูฏานที่นิยมอีกอย่าง คือ มันฝรั่งผัดกับชีสซอส หรือเห็ดผัดกับชีสซอส ชีสทำมาจากน้ำนมจามรี อีกเมนูหนึ่งคือ ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ผัดกับหมู ซุปหัวหอมใหญ่ ซุปผักรวมมิตร หมูสามชั้นตากแห้ง
• นอกจากอาหารพื้นเมืองของภูฏานแล้ว อาหารของทิเบตหลายอย่างก็เข้ามาเผยแพร่ในภูฏาน เช่น ซาลาเปาไส้เนื้อ หรือ ไส้ชีส นำไปนึ่งหรือทอด ขนมทำด้วยแป้งข้าวบาร์เลย์นวดกับเกลือและเนย ในภูฏานมีแม่น้ำลำธารมากมาย แต่ชาวภูฏานไม่นิยมจับปลามาทำเป็นอาหาร ไม่กินปลาสด เพราะถือว่าเป็นบาป ฉะนั้น ปลาที่ขายในตลาดหรือที่นำขึ้นโต๊ะจึงเป็นปลาแห้งที่นำเข้าจากอินเดียแทบทั้งสิ้น แต่ทุกวันนี้ ภูฏานสามารถผลิตอาหารตะวันตกได้หลายอย่าง ทั้งเนยแข็งเกาด้า น้ำผึ้ง และแยม ฯลฯ โดยหาซื้อได้ตามร้านต่างๆ ทั่วภูฏาน
• ถ้าหากเดินสำรวจตลาดในภูฏาน จะพบว่า ภูฏานจำต้องพึ่งพาอินเดียประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งๆ ที่ชาวภูฏาน 90% เป็นเกษตรกร ทั้งนี้เป็นเพราะ พื้นที่ในภูฏานหายาก อีกทั้งเทคโนโลยีค่อนข้างล้าสมัย อาหารที่ภูฏานรับมาจากทิเบตนั้นมีอยู่หลายอย่าง แต่ที่คนนิยมมากที่สุดคือ โมเม (เกี๊ยวไส้เนือ้ ผัก หรือเนยแข็ง มีทั้งแบบนึ่งและทอด) ทุกปา (บะหมี่น้ำ) อาหารยอดนิยมในช่วงหน้าหนาว ซาบาเล (เกี๊ยวทอดไส้เนื้อบด) และ ทริโมโน (ซาละเปานึ่ง) เสริฟพร้อมซุป แต่หากินได้ค่อนข้างยาก
• ค็อตเทจชีส (ดัตซี) ของภูฏานมีเนื้อนิ่มเหลว ผ่านกรรมวิธีทำให้สุกและมักนำมาปรุงเป็นซอสสำหรับต้มเคี่ยวผักจำพวกมันฝรั่ง หน่อไม้ฝรั่ง เห็ด และเฟิร์นฟิดเดิลเฮด ชาวภูฏานเชี่ยวชาญด้านการหาของป่ามาทำเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป้นเฟิร์นฟิดเดิลเฮด หน่อไม้ เห็ด เผือก มันแกว มันเทศ ถั่วป่า ปลี กล้วย สาหร่ายแม่น้ำตากแห้ง (ชูรู) หรือกล้วยไม้ ส่วนถั่วเหลืองนั้นจะกินกับเฉพาะในบางท้องที่ของภาคตะวันออกของภูฏาน
• สตูว์ ส่วนใหญ่จะใส่เนื้อหรือกระดูกชิ้นเล็กๆ นิดหน่อย เนื้อที่คนภาคเหนือชอบกินคือเนื้อจามรีและเนื้อหมู เนื้อวัวกับเนื้อไก่เป็นตัวเลือกที่สอง ส่วนเนื้อแกะกับเนื้อลูกแกะนั้น ชาวภูฏานไม่กินกันมาแต่เดิมแล้ว เนื้อที่กินมีทั้งเนื้อสดและเนื้อแห้ง ช่วงหน้าร้อนชาวบ้านจะเอาเนื้อหั่นเป็นเส้นออกมาตากไว้บนราวหรือนอกหน้าต่าง มันหมูถือเป้นอาหารชั้นเลิศ และอาหารประจำชาติที่นิยมกันเป็นอันดับสองรองจากเอมาดัตซึก็คือพะซะปา (หมูสามชั้นตากแห้ง แล้วนำมาต้มกับหัวผักกาดและพริก)
• กนโดมารู คือ ไข่คนใส่เนย ในขณะที่เอเซเป็นสลัดแบบภูฏาน ใส่พริกเผ็ดๆ เนยแข็งแบบนิ่ม มะเขือเทศและหอมแดงสับละเอียดเอาไว้กินเป็นเครื่องเคียงกับอาหารจานอื่น
• ดัตซี เนยแข็ง ทำขึ้นจากหางนมของจามรี และไม่นิยมกันกันเปล่าๆ ดัตซีเป็นเนยแข็งก้อนกลมๆ เล็กๆ เนื้อนิ่มมีขายตามตลาดทั่วไป จะนำไปเคี่ยวใส่น้ำซอสเพื่อให้ข้นขึ้น ส่วนชูร์ปีเป็นเนยแข็งอีกชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นก้อนสี่เหลี่ยม ขนาดค่อนข้างใหญ่ ร้อยใส่เชือกผูกไว้เป็นพวง เนยแข็งชนิดนี้จะทำกันในท้องที่ที่มีการเลี้ยงจามรี ใช้แทะกินเป็นของว่างระหว่างมื้ออาหาร ส่วน เซดู เป็นเนยแข็งคุณภาพดี ทำขึ้นในภาคตะวันออกของภูฏาน วางขายโดยใส่ไว้ในถุงหนัง เนยแข็งชนิดนี้มีเนื้อเป็นสีเขียวอมเทา หน้าตาไม่น่ากิน และมีกลิ่นแรง และไม่นิยมกินกันเปล่า ๆ แต่จะนำไปผสมกับน้ำซุปใสเพื่อทำแแกงชนิดต่างๆ

• เครื่องดื่มภูฏาน
• ภูฏานมีเครื่องดื่มทั้งชาและกาแฟ ชา ภาษาซองคา เรียกว่า ngad-ja ชาวภูฏานนิยมดื่มชาแบบทิเบต คือใส่เนยกับเกลือ ในบางท้องถิ่นกินชาแบบอินเดีย คือ ต้มชากับนม หรืออาจจะใส่ข้าวโพดคั่ว, ข้าวคั่ว ข้าวเม่า
• คนภูฏานนิยมดื่มชากันมากที่สุด แต่ในบางท้องที่ของภาคกลางและภาคตะวันออกจะดื่มสุราอาระกันเป็นหลัก สุรานี้กลั่นจากพืชนานาชนิด ทั้งข้าว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด และข้าวสาลี ชาที่นิยมดื่มกันเป็นสองแบบคือ เซจา (ชาปั่นกับเกลือและเนย) และนาซา (ชาต้มใส่นมและน้ำตาลแบบอินเดีย) ชาดำ เรียกว่า พิคคะ ชามะลิ เรียกว่า ชินตา ส่วนชาเขียวมีให้ดื่มกันได้เฉพาะเมืองใหญ่ๆ เท่านั้น ชาสมุนไพรเซริงหมะ เป็นของชาวพื้นเมืองผลิตขึ้น รสชาติดี และหาซื้อได้ทั่วไป
• ภูฏานมีเบียร์ทำในประเทศ ชื่อ Red Panda และเบียร์ทำจากข้าวสาลี ชื่อ Weissabier นอกนั้น เป็นเบียร์กระป๋องนำเข้า เช่น Tiger Beer จากสิงคโปร์ และเบียร์นำเข้าจากอินเดียอีกหลายยี่ห้อ ที่ดังๆและนิยมดื่มกันคือ Black Label และ Golden Eagle จากสิกขิม นอกจากเบียร์แล้ว ภูฏานยังเหล้าและไวน์นำเข้าจากต่างประเทศ (ซื้อได้ที่ดิวตี้ฟรีเมืองทิมพู) แต่ราคาค่อนข้างแพง
• ประเทศภูฏานมีกฎห้ามดื่มแอลกอฮอล์ในวันอังคาร ซึ่งในวันอังคารนั้น ภัตตาคารทุกแห่งจะไม่ขายเหล้าเบียร์ ส่วนวันอื่นๆ คนในภูฏานจะตั้งวงดื่มได้หลังบ่ายสองโมงไปแล้ว



หน้าที่ :: 2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved