Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
13997656  

ตามใจไปค้นฝัน

ภาษาภูฏาน ภาษาซงคา ภาษาในประเทศภูฏาน
• “ภาษาซงคา” เป็นภาษาประจำชาติของภูฏาน อยู่ในตระกูลจีน-ทิเบต สาขาทิเบต-พม่า ใกล้เคียงกับภาษาสิกขิมและภาษาอื่นๆของชาวภูฏาน ระบบเสียงใกล้เคียงกับภาษาทิเบตสมัยใหม่ เทียบได้กับความแตกต่างระหว่างภาษาสเปนกับภาษาอิตาลี พระในทิเบตและภูฏาน เรียนภาษาทิเบตโบราณเพื่อการอ่านคัมภีร์พุทธศาสนา
• คำว่า ซงคาหมายถึง ภาษา (คา) ที่พูดในวัดที่มีลักษณะเป็นป้อมปราการ (ซอง) ภาษานี้แพร่เข้ามาในภูฏานเมื่อราว พ.ศ. 2200 โดย ชับดรุง งาวัง นัมกเยล ในอดีต ซงคา เป็นแต่เพียงภาษาพูด ส่วนภาษาเขียนนั้นเรียกว่า เชอกี แปลว่า "ภาษาทางศาสนา" หมายถึง อักษรทิเบตโบราณที่ใช้กันทั้งในภูฏาน เนปาลตอนบน สิกขิม ดาลัคห์ ทิเบต และมองโกเลียน เป็นภาษาที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปเลยนับจากศตวรรษที่ 8 เป้นต้นมา และเป็นภาษาที่พวกพระใช้สร้างสรรค์วรรณดดีขึ้นมาเป็นจำนวนมา
• ต่อมา ภาษาซงคาเพิ่งจะกลายมาเป็นภาษาเขียนเมื่อราว 40 ปีก่อน โดยทางการภูกานได้ทุ่มเทความพยายามในการสร้างหลักเกณฑ์อันเป็นมาตรฐานขึ้นในปี ค.ศ. 1960 ตลอดจนส่งเสริมให้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายและจริงจัง ปัญหาสำคัญในการเรียนภาษาซงคาและภาษาเชอกีคือ การสะกดคำที่มีหลักเกณฑ์ซับซ้อนมากถึงขนาดที่ต้องอาศัยการท่องจำเข้าช่วย ซงคาเป็นภาษาคำโดด มีวรรณยุกต์สองเสียง โดยต้องอาศัยเสียงของอักษรแต่ละตัวเป็นตัวเน้นน้ำหนัก
• คำศัพท์ที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่วรรณยุกต์ต่างกัน เวลาเขียนจะมีปัญหาในการแยกความแตกต่าง ดังนั้น จึงต้องแก้ไขด้วยการเติมอุปสรรคและปัจจัยเข้าไป แต่ไม่ต้องออกเสียง หรือเพิ่มอักษรใส่ข้างบนหรือข้างล่าง ซึ่งวิธีหลังนี้อาจทำให้พยัญชนะที่อยู่ติดกันเปลี่ยนเสียงไปเลยก็เป็นได้ การเรียนภาษาซงคา จึงต้องอาศัยความจำเป็นหลัก เช่น คำศัพท์ที่ออกเสียงว่า ลา (la) เวลาเขียน จึงเขียนได้ทั้ง lha, bla, la หรือ lags ขึ้นอยู่กับความหมายว่าจะเป็น เทพเจ้า พลังชีวิต ช่องเขา หรือ ใช่ ชื่อบุคคลเมื่อเขียนด้วยอักษรละติด อย่างเช่น Rinzin Wangchuk จะออกเสียงตรงตามนั้น แต่ในภาษาซงคาจะเขียนเป็น Rigs dzin dband phyug เป็นต้น
• ภาษาซงคาและภาษาถิ่นอื่นๆเป็นภาษาแม่ของภูฏานตะวันตก มีผู้พูดภาษานี้ในเมืองกาลิมปงของอินเดียที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของภูฏาน แต่ปัจจุบันอยู่ในรัฐเบงกอลตะวันตก ภาษาซองคาเป็นภาษาที่ใช้ในโรงเรียน เป็นภาษากลางในภูฏานตอนใต้และตะวันออกที่ไม่ได้ใช้ภาษานี้เป็นภาษาแม่ เขียนด้วยอักษรทิเบต หนังสือพิมพ์ด้วยอักษรทิเบตแบบอูคันซึ่งเป็นแบบเดียวที่ใช้พิมพ์ภาษาทิเบต
• ปัจจุบัน องค์กรพัฒนาภาษาซงคาของทางการภูฏานกำลังพยายามวางหลักเกณฑ์ในการสะกดคำให้เป็นมาตรฐาน ตลอดจนจัดพิมพ์ตำราและพจนานุกรมขึ้นอีกหลายเล่ม นอกจากนี้ ภาพยนตร์และเพลงก็มีบทบาทอย่างมากในการเผยแพร่ภาษาซงคาของภูฏานออกไป
 
• คำศัพท์ที่ควรรู้ในภาษาภูฏาน  
• คูซูซังโป kousouzangpo แปลว่า สวัสดี
• คัดรินเซ Kardinche แปลว่า ขอบคุณ
• ซอง dzong แปลว่า ป้อม
• ซงดา dzongda แปลว่า หัวหน้าป้อม
• ซงคา dzongkha แปลว่า ภาษาราชการภูฏาน
• คัดรินเซ Kardinche แปลว่า ขอบคุณ
• ซงขัก dzongkhag แปลว่า เขตปกครอง/มณฑล
• กัง Gang แปลว่า ภูเขา ยอดเขา
• กัป Gup แปลว่า หัวหน้าหมู่บ้าน
• เกลง Gelong แปลว่า พระลามะที่ผ่านพิธี
• กมเซ็น gomchen แปลว่า พระบ้าน สามารถแต่งงานได้
• กมปา gompa แปลว่า อาราม
• เอมาดัตซึ hemadatsi แปลว่า อาหารภูฏาน
• กับเนะ kabne แปลว่า ผ้าพาดบ่าในงานพิธีผู้ชาย
• ซอง dzong แปลว่า ป้อม
• ซองดา dzongda แปลว่า หัวหน้าป้อม
• ซองขัก dzongkhag แปลว่า เขตปกครอง มณฑล
• กัง gang แปลว่า ภูเขา ยอดเขา
• กงคัง gongkhag gup แปลว่า วิหารบูชาเทพ
• โกมา goma แปลว่า เข็มกลัด
• เจเค็มโป je khenpo แปลว่า สมเด็จพระสังฆราช
• โก go แปลว่า ชุดของผู้ชายภูฏาน
• กีร่า kira แปลว่า ชุดของผู้หญิงภูฏาน
• เกรา kera แปลว่า เข็มขัดทอจากผ้า
• ซัม cham แปลว่า ระบำทางศาสนา
• ซังคัง changkhang แปลว่า ร้านขายเครื่องดื่ม
• เซอซัม choesham แปลว่า ห้องพระภายในบ้าน
• ซอร์เต็น chorten แปลว่า สถูปหรือเจดีย์
• ชู chu แปลว่า แม่น้ำ
• ดาโชะ dasho แปลว่า ฐานันดรศักดิ์พระราชทาน
• โดมา doma แปลว่า หมากพลู
• โดมา doma แปลว่า หมากพลู
• ดรุ๊กยุล druk yul แปลว่า แผ่นดินมังกรสายฟ้า
• ดรุ๊กปะ drukpa แปลว่า ชาวภูฏาน
 • ลา La แปลว่า ช่องเขา
• ลัสโซลา la/lasso la doma แปลว่า ช่องเขา
• ลามะ lama แปลว่า อาจารย์ทางศาสนา
• โลเป็น lopon แปลว่า ผู้รู้
• ลินโป lyonpo แปลว่า รัฐมนตรี
• มณฑล mandala แปลว่า แผนภูมิจำลองของจักรวาลในนัยทางศาสนา
• ญิงมาปะ nyingmapa แปลว่า นิกายสำคัญของพุทธศาสนามหายาน
• เปมา ลิงปะ pema lingpa แปลว่า ผู้นำคนสำคัญของนิกายญิงมาปะ
• พระบรมศาสนุวงศ์ที่เป็นชาย จะเรียกนำหน้าพระนามว่า ดาโชะ ถ้าเป็นหญิงจะใช้คำว่า อาชิ
• รัฐมนตรีเรียกว่า เลินปอ รัฐมนตรีช่วยว่าการและข้าราชการระดับสูง รวมถึงผู้พิพากษา เรียกว่า ดาโซะ
• ชายสามัญธรรมดาและครูอาจารย์เรียกว่า โลเป็น หรือ อปา หรือ อัป แล้วตามด้วยชื่อ ภรรยาของข้าราชการและสตรีที่แต่งงานแล้วจะเรียกว่า อัม
• เด็กผู้หญิงเรียกว่า บุม หรือ บูโม เด็กผู้ชายเรียก อโล
• ผู้สูงอายุ อั๊กเย คือ พ่อเฒ่า อังเยา คือ แม่เฒ่า
• โดมา doma แปลว่า หมากพลู
• ดรุ๊กยุล druk yul แปลว่า แผ่นดินมังกรสายฟ้า
• ราชู rachu แปลว่า ผ้าพาดไหล่ของผู้หญิง
• รินโปเซ rinphche แปลว่า คำยกย่องพระลามะ
• ชาคยาทูปา sakya thupa แปลว่า พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า
• ชังเก sangye แปลว่า พระพุทธเจ้า
• ชาชปปะ sharchopas แปลว่า คนตะวันออกที่ชาวภูฏานเรียก
• เชดรา shedra แปลว่า โรงเรียนสงฆ์
• กมเด gomde แปลว่า ศูนย์ฝึกวิปัสสนาสมาธิ
• ทังกา thangka แปลว่า ภาพวาดบนผืนผ้าหรือพระบฎ
• ทงเดรล thondroel แปลว่า เป็นภาพพระบฎผืนใหญ่มหึมา
• เตอโก toego แปลว่า เสื้อแขนยาวของผู้หญิงหรือเสื้อเชิ้ตผู้ชาย
• ตรุลกู trulku แปลว่า นิรมาณกายซึ่งกลับชาติมาเกิดของลามะ สามารถแต่งงานมีครอบครัวได้
• ตอร์มา/ต้ม torma แปลว่า ขนมที่ทำจากแป้ง
• ดรุ๊กยุล druk yul แปลว่า แผ่นดินมังกรสายฟ้า
• โชะ tsho แปลว่า ทะเลสาบ
• ซงคัง tshongkhang แปลว่า ร้านค้า
• อุตซึ utse แปลว่า หอคอยกลางป้อม
• อานิ ani แปลว่า แม่ชี
• อาชิ ashi แปลว่า เจ้าหญิง 


หน้าที่ :: 3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved