Neric-Club.Com
|
|
|
นิตยสารออนไลน์
|
|
|
มุมเบ็ดเตล็ด
|
|
|
|
|
|
|
สายลม แสงแดด |
|
|
เจ้าอ้ายที่รัก..
ไม่ค่อยมีโอกาสแหย่จมูกออกมาคุย รู้สึกอึดอัด ก็ชั้นคนอยู่กับที่เป็นเสียที่ไหนกัน |
| | จะบอกว่าไม่มีเวลาก็ไม่ได้สิ นายก็จะต้องบอกว่าเรามีเวลาเท่ากันเหมือนทุกครั้ง ใช่เปล่า หรือจะเถียงว่าหนึ่งนาทีของเราไม่เท่ากัน.. ระหว่างเราไม่มีคำว่ารอคอยสักหน่อย ฟังมาเสมอว่ามิตรแท้อาจนั่งอยู่ด้วยกันเงียบๆโดยไม่ต้องพูดอะไรเลย ฉันเชื่อไปแล้ว กว่าเก้าสิบเปอร์เซนต์ เพราะฉันเข้าใจนายทะลุปรุโปร่งเลย ประมาณว่าเป็นพาราสิตซึ่งกันและกันดีเปล่าล่ะ..งั้นชั้นก็จะไม่พูดละ.. อยากอวดสถานที่ทำงานน่าอยู่ของชั้น วันนี้เขียวขจีเลย คิดว่า นายคงเย็นลงมั่งแล้ว
ฝนโปรยลงมาสักสามฝัน ตื่นมาก็จามเสียได้ เป็นหวัดอีกแล้วซี ช่วงนี้ตื่นมาตอนเช้าเริ่มปวดหัว แค่ไม่ได้ออกกำลังกายสักสองเดือน สองเดือนที่เร็วมากเลย เหมือนฉันจะตามปฎิทันไม่ทัน
เจ้าอ้ายเอ๋ย.. อย่าให้ความขี้เกียจมาจับเปาะนายได้ทีเดียว เพราะถึงเวลานั้น..นายก็จะปรับตัวไม่ทันแล้ว.. คนมาทีหลังจะกระโดดข้ามแล้วทิ้งนายไว้ข้างหลัง โดยเฉพาะวิทยายุทธในวิชาชีพ ชั้นกำลังจับตามองการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ นายคิดยังงัย ? ทุกทฤษฏีมาคว่ำข้าวเม่าที่บ้านเมืองเราจริงเปล่า..
วันนี้มีเรื่องการสอนกระบวนการคิดมาฝากยังไม่สมบูรณ์นะ แล้วจะหามาเพิ่มให้วันที่ความคิดส่งถืง..
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จัดเป็นกระบวนการคิดที่ผู้คิดต้องคิดกว้าง คิดลึก คิดถูกทาง คิดชัดเจน คิดถูกต้องอย่างมีเหตุผล การคิดอย่างมีวิจารณญาณมีความสัมพันธ์กับการคิดแก้ปัญหา โดยการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นทักษะสำคัญของการแก้ปัญหา และการแก้ปัญหาส่วนใหญ่ต้องใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (จิระรัตน์ คุปต์กาญจนากุล, 2548)
องค์ประกอบของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 7 ประการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ( 2543)
1) จุดหมาย คือเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ทางการคิด คือ คิดเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาหรือคิดเพื่อหาความรู้ 2) ประเด็นคำถาม คือ ปัญหาหรือคำถามที่ต้องการรู้ คือ ผู้ติดสามารถระบุคำถามของปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งระบุปัญหาสำคัญที่ต้องการแก้ไข หรือคำถามที่สำคัญที่ต้องการรู้ 3) สารสนเทศ คือ ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการคิด ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มาควรมีความกว้าง ลึก ชัดเจน ยืดหยุ่นได้ และมีความถูกต้อง 4) ข้อมูลเชิงประจักษ์ คือข้อมูลที่ได้มานั้นต้องเชื่อถือได้ มีความชัดเจนถูกต้อง และมีความเพียงพอต่อการใช้ เป็นพื้นฐานการคิดอย่างมีเหตุผล 5) แนวคิดอย่างมีเหตุผล คือ แนวคิดทั้งหลายที่อาจรวมถึง กฎ ทฤษฎี หลักการ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวมีความจำเป็นสำหรับการคิดอย่างมีเหตุผล และแนวคิดที่ได้มานั้นต้องมีความเกี่ยวข้องกับปัญหา หรือคำถามที่ต้องการหาคำตอบและต้องเป็นแนวคิดที่ถูกต้อง 6) ข้อสันนิษฐาน เป็นองค์ประกอบสำคัญของทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล เพราะผู้คิดต้องมีความสามารถในการตั้งข้อสันนิษฐานให้มีความชัดเจน สามารถตัดสินได้เพื่อประโยชน์ในการหาข้อมูลมาใช้ในการคิดอย่างมีเหตุผล 7) การนำไปใช้และผลที่ตามมา เป็นองค์ประกอบสำคัญของการคิดอย่างมีเหตุผล ซึ่งผู้คิดต้องคำนึงถึงผลกระทบ คือ ต้องมีความสามารถคิดไกล คือมองถึงผลที่ตามมารวมกับการนำไปใช้ได้เพียงใดหรือไม่
ดร.ทิศนา แขมมณีและคณะ (2543) ได้สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการคิด ทั้งของต่างประเทศและของประเทศไทย โดยสรุปได้ ดังนี้
1) จุดมุ่งหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อให้ได้ความคิดที่รอบคอบสมเหตุสมผล ผ่านการพิจารณาปัจจัยรอบด้านอย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และผ่านการพิจารณากลั่นกรอง ไตร่ตรอง ทั้งทางด้านคุณ – โทษ และคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งนั้นมาแล้ว
2) เกณฑ์ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผู้ที่คิดอย่างมีวิจารณญาณ จะมีความสามารถ ดังนี้
1. สามารถกำหนดเป้าหมายในการคิดอย่างถูกต้อง 2. สามารถระบุประเด็นในการคิดอย่างชัดเจน 3. สามารถประมวลข้อมูล ทั้งทางด้านข้อเท็จจริงและความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่คิด ทั้งทางกว้าง ทางลึกและไกล 4. สามารถวิเคราะห์ข้อมูล และเลือกข้อมูลที่จะใช้ในการคิดได้ 5. สามารถประเมินข้อมูลได้ 6. สามารถใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูลและเสนอคำตอบ/ทางเลือกที่สมเหตุสมผลได้ 7. สามารถเลือกทางเลือก/ลงความเห็นในประเด็นที่คิดได้
3) วิธีการหรือขั้นตอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 1. ตั้งเป้าหมายในการคิด 2. ระบุประเด็นในการคิด 3. ประมวลข้อมูลทั้งทางด้านข้อเท็จจริง และความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่คิดทั้งทางกว้าง ลึกและไกล 4. วิเคราะห์ จำแนกแยกแยะข้อมูล จัดหมวดหมู่ของข้อมูล และเลือกข้อมูลที่จะนำมาใช้ 5. ประเมินข้อมูลที่จะใช้ในแง่ความถูกต้อง ความเพียงพอ และความน่าเชื่อถือ 6. ใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูลเพื่อแสวงหาทางเลือก/คำตอบที่สมเหตุสมผลตามข้อมูลที่มี 7. เลือกทางเลือกที่เหมาะสมโดยพิจารณาถึงผลที่จะตามมา และคุณค่าหรือความหมายที่แท้จริงของสิ่งนั้น 8. ชั่งน้ำหนัก ผลได้ ผลเสีย คุณ – โทษ ในระยะสั้นและระยะยาว 9. ไตร่ตรอง ทบทวนกลับไปมาให้รอบคอบ 10. ประเมินทางเลือก และลงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่คิด และกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
อรพรรณ พรสีมา (2543) ได้นำเสนอ ดังนี้ 1. ฝึกคิดเกี่ยวกับรายละเอียดขององค์ประกอบของกิจกรรม สิ่งของ สถานที่และเหตุการณ์ต่าง ๆ 2. ฝึกแยกแยะองค์ประกอบที่ทำให้กิจกรรมล้มเหลว หรือความเลวร้ายของสถานการณ์ 3. ฝึกแยกแยะความคิดเห็นที่แตกต่าง หรือคล้ายกันของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลว่าแตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร 4. ฝึกแยกแยะหรือจำแนกข้อมูลที่เป็นจริง และที่เป็นเพียงความคิดเห็นออกจากกัน 5. ฝึกแยกแยะข่าวสารข้อมูลที่ได้รับจากสื่อมวลชน และแหล่งข้อมูลอื่นว่ามีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร 6. ฝึกแยกแยะข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เห็นว่าสมเหตุสมผลและไม่สมเหตุสมผล 7. ฝึกสร้างเกณฑ์ในการตัดสินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความดีและความงามของสิ่งต่าง ๆ 8. ฝึกหาข้อมูลที่จะนำมาใช้สนับสนุนความคิดเห็นและข้อเท็จจริงที่ตนต้องการกล่าวอ้าง 9. ฝึกแยกแยะข้อคิดเห็นในเชิงทำลายและสร้างสรรค์ของนักเรียน นักการเมือง และนักวิเคราะห์วิจารณ์ 10. ฝึกแยกความเห็นย่อย ๆ ที่อยู่ในบทความ คำบรรยายของกลุ่มบุคคล 11. ฝึกเลือกเกณฑ์ที่ตนนำมาใช้ในการตัดสินสิ่งต่าง ๆ 12. ฝึกตรวจสอบสมมติฐานที่ตนตั้งขึ้น 13. ฝึกตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม และความเห็นที่คล้าย ๆ กันของกลุ่มบุคคล 14. ฝึกทำนายผลดีผลร้ายที่จะตามมาจากเหตุการณ์ 15. ฝึกจัดลำดับความสำคัญของเหตุการณ์ 16. ฝึกสรุปประเด็นการสนทนา การอภิปราย และการเสนอข้อคิดเห็น 17. ฝึกสรุปผลจากข้อมูลที่วิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ไว้ 18. ฝึกทำนายและพยากรณ์เหตุการณ์ 19. ฝึกตัดสินการสรุปที่ถูกต้อง และที่ผิดพลาดของบุคคลจากข้อมูลที่กำหนดให้ 20. ฝึกอธิบายข้อความจากข้อมูล 21. ฝึกให้เหตุผลประกอบข้อสรุปของตน 22. ฝึกจัดหมวดหมู่ข้อมูลและความคิดเห็น 23. ฝึกแสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิและรูปภาพ 24. ฝึกมองหาข้อลำเอียงของตนเองในเรื่องต่าง ๆ 25. ฝึกหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ 26. ฝึกตีความการ์ตูนและรูปภาพ 27. ฝึกมองหาเหตุผลและผลของปรากฏการณ์และกิจกรรม 28. ฝึกสรุปผลโดยยึดข้อเท็จจริง
เรามักจะมองว่าเด็กส่วนหนึ่งมีความสนใจสิ่งต่างๆรอบตัวน้อยลง ผู้ใหญ่จะมองว่าเด็กไม่มีวิจารณญาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องปลูกสร้าง
ลำดวนเอ๋ย..เอัย..ไม่ใช่..เจ้าอ้ายเอ๋ย.. ชั้นคิดว่า สิ่งที่เราต้องเพาะบ่มให้เป็นพื้นฐานอย่างยั่งยืนต่อไป ควรจะประกอบด้วยวัตถุดิบที่หายากต่อไปนี้
o ความสามารถในการนิยามปัญหาโดยการกำหนดปัญหา ให้ชัดเจน และเข้าใจความหมายของคำ ข้อความ หรือแนวคิด
o ความสามารถในการคิดรวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา แสวงหาข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนมากยิ่งขึ้น แสวงหาความรู้ที่ทันสมัย
o ความสามารถในการจัดระบบข้อมูล แยกข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น ความคิดเห็นด้วยอารมณ์กับความคิดเห็นด้วยเหตุผล
o ความสามารถในการตั้งสมมติฐาน โดยการมองหาทางเลือกหลาย ๆ ทางในการแก้ปัญหาและเลือกสมมติฐานได้
o ความสามารถสรุปอ้างอิง โดยพิจารณาและตัดสินว่ามีเหตุผลเพียงพอที่สรุปได้หรือไม่ อธิบายความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของปัญหาหรือข้อขัดแย้ง และสรุปเป็นเกณฑ์ได้
o สามารถในการประเมินการสรุปอ้างอิง โดยพิจารณาและตัดสินข้อสรุปว่า สรุปตามข้อมูลหรือหลักฐานหรือไม่บอกเหตุผลที่ไม่เป็นไปตามหลักตรรกศาสตร์ จำแนกข้อสรุปที่มีเหตุผลหนักแน่นและน่าเชื่อถือ
เจ้าอ้าย ..มันเป็นเรื่องยากและซับซ้อน..ขนาดผู้ใหญ่ยังปฏิบัติไม่ได้ทั้งหมด แต่เพราะ "ไม้อ่อนดัดง่ายไม้แก่ดัดยาก" 28 ข้อข้างบนลองเอาไปใช้ดู ได้ผลอย่างไรก็เขียนคัมภีร์อีกสักเล่มไว้หนุนนอน แล้วชั้นจะหาฉบับที่อัพเดทกว่านี้มาเปลี่ยนให้วันหลังนะ
วันนี้เยี่ยมหน้ามามองๆเฉยๆ ..แบบ..คิดถึง..พอใจมั้ย.. อย่าลืมส่งความคิดมาถึงกันนะ ช่วงนี้เหมือนถูกทอดทิ้งยังงัยชอบกล อย่าทำเป็นคนแสนงอนล่ะ คนแสนงอนไม่น่ารัก..
แต่ก็รักนายนะ
'เจ้าเอื้อย
| | "The difference between the impossible and the possible lies in a man's determination." - - Tommy Lasorda - - เส้นบางๆที่คั่นระหว่างความเป็นไปได้และความเป็นไปไม่ได้คือการตัดสินใจของเรา |
|
|
|
|