Neric-Club.Com
|
|
|
นิตยสารออนไลน์
|
|
|
มุมเบ็ดเตล็ด
|
|
|
|
|
|
|
สายลม แสงแดด |
|
|
| | เจ้าอ้าย..ที่รักยิ่ง
ไม่ได้ส่งสาส์นมาถึงเป็นเดือนเลย แต่ก็คิดถึงทุกวัน ช่วงนี้วุ่นๆอยู่กับเรื่องการประกวดความเป็นเลิศทางวิชาการ ปีนี้เด็กในรับผิดชอบติดรางวัลชนะเลิศได้ไปแข่งที่เชียงราย 2 รายการ Speech กับ Multi skills เจ้าอ้ายเอ๋ย..ช่วงนั้นเทศกาลดอกไม้พอดี (ชั้นโชคดีเสมอ) งานใหญ่อีกงานที่เพิ่งผ่านไปคือการประเมินนักเรียนเพื่อรับรางวัลพระราชทานของศิษย์ก้นกุฏิ ผ่านไปสองสนามแล้ว ระดับเขต ระดับจังหวัด ต่อไปก็เตรียมระดับภาค เจ้าตัวน้อยของชั้นเก่งมาก ปั้นได้ดั่งใจ หลายคนงงกับเด็กตัวเล็กๆ ชั้นป.สี่ หาญกล้าไปแข่งกับพี่ป.ปลายในโรงเรียนขนาดใหญ่กว่า เจ้าอ้าย.. ความเจริญเติบโตนี้มีเสน่ห์เย้ายวน ฉันอยากให้คนอื่นๆมองเห็นความงดงามนี้เช่นเดียวกัน นายคงมองเห็นเหมือนกัน ชั้นไม่ได้ทำอะไรเลย แค่ดึงศักยภาพของทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เมื่อเดือนที่แล้วเลี้ยงส่ง PM คนแสนดี พรรคพวกทะลุมากลางวง "บอสบอกพี่"ขู่"ว่าจะเออรี่" แง่ว.. ข่าวไก่นอกสุ่มชั้นกระจายไปเร็วเกินเหตุหรือเปล่าเนี่ย แต่ไม่ยักมีใครแสดงความแปลกใจ เห็นเป็นเรื่องไก่กาอีกแล้วงัย (ชั้นก็ออกจะเป็นคนจริงจัง) แจ๋วแหว๋วถามปนหัวเราะ "ออกไปทำอะไร?" ชั้นตอบเสียงดังฟังชัด "บวชชี" ทุกคนเงียบกริบมองตากัน แล้วปล่อยหัวเราะกันดังลั่น ว่าแล้วอ่ะ..เจ้าอ้าย..นายเข้าใจชั้นมั้ย..นั่นน่ะ..ชั้นคิดจริงนะ..ชั้นอยากเรียนรู้วิธีดับจิต (แบบปิดสวิทช์ ไม่ใช่ดับเทียน)..ชั้นอยากเรียนรู้วิธีถอดกายทิพย์ ชั้นอยากหาวิธีช่วยพี่รอง อยากคุยกับพ่อที่ยังวนเวียนอยู่ในความรู้สึก อยากอุทิศส่วนกุศลให้สรรพสิ่งที่ยังเวียนว่ายตายเกิด ชั้นจะเผยแพร่ศาสนา ชั้นต้องดังแน่ๆเรยยย..(วุ่ย..ยังจะอยากดัง..)
เจ้าอ้าย..ชั้นแค่คิดไปถึงเรื่องเหตุการณ์ล่วงหน้า มันอาจเป็นไปได้และไม่ได้ในขณะเดียวกัน แต่เราต้องวางตัวอยู่ในความไม่ประมาท ทำอย่างไรไม่ให้วิตกกังวลมากเกินไป ทำอย่างไรไม่เวอร์ แต่ถ้าเราไม่เตรียมตัวไว้ก่อนเลยเราจะลำบาก แม้ว่าสถานที่พักจะปลอดภัยบนที่สูง แต่ครอบครัวของเราไม่ได้ประกอบอาชีพค้าขาย เราไม่มี"สต็อคความจำเป็นในชีวิต"กักตุนไว้ หากวันนั้นมาถึงจริงๆเราลำบากแน่ๆ เพราะเงินใช้ไม่ได้ในภาวะจำเป็น
ในบรรดาพวกเราไม่มีใครเหมาะสมเท่าชั้น ชั้นจะทำกิจการครบวงจร รองรับสถานการณ์ที่จะมาถึง หากไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็ไม่เสียหายอะไร จริงๆแล้วอาชีพค้าขายเคยอยู่ในความคิดของชั้นมาเสมอ แต่ตอนนั้นชั้นแค่สนใจขายความคิดผ่านอินเทอร์เน็ท ซึ่งถึงวันนี้ก็มีแต่ควันที่ยังคุกรุ่น วันนี้ชั้นจะทำศูนย์การค้าขนาดเล็ก ลงทุนสักสี่ซ้าห้าล้าน นายจะมาหุ้นกับชั้นมั้ย ตอนนี้ยังขาดอยู่อีกสักสี่ซ้าห้าสิบล้านเอง
เจ้าอ้าย..ความคิดของคนเราเปลี่ยนไปได้ทุกๆวัน แต่อย่างไรก็ตาม วิ่งตามโลกและคนบนโลกให้ทัน วันนี้เรายังต้องปฏิบัติหน้าที่เฉพาะหน้าให้ลุล่วงไปให้ดีที่สุด อย่าทรยศวิชาชีพของตัวเอง ครูต้องอยู่กับนักเรียน ผู้บริหารก็ต้องอยู่โรงเรียนด้วยเช่นเดียวกัน ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด นั่นต่างหากคือจรรยาบรรณวิชาชีพ..ไม่อย่างนั้นจะมีนโยบายคืนครูสู่ห้องเรียนไว้ทำไม ..อ้อ..ลืมบอกอีกอย่าง ศูนย์การค้าของชั้นจะทำห้องเรียนไว้สอนพิเศษสักสิบห้อง..มีห้องจำหน่ายเวชภัณฑ์.. โอ้ย..รวยจัง..แค่คิดนะเนี่ย..ไม่ค่อยจะงกเลย..
วันนี้คุยยาวเหยียด โปรดใช้วิจารณาญานในการอ่าน.....สิ่งที่เห็นไม่แน่ว่ามีอยู่จริง..สิ่งที่ใช่อาจไม่ใช่..คริคริ ..แต่ข้างล่างนี่ต้องอ่านนะ มันจำเป็นกว่า...
ครูกับความรู้ในการจัดการเรียน การสอนภาษาอังกฤษ
กระบวนการจัดการเรียนการสอนของครู เป็น หัวใจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนการที่ครูจะจัดการเรียนการสอนที่มี ประสิทธิภาพและเกิดสัมฤทธิ์ผลต่อผู้เรียนนั้น ครูจะต้องมีองค์ความรู้ที่จำเป็นและสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในการจัดการ เรียนการอสนได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นอยู่ในชั้นเรียน นอกจากนี้แล้ว กระบวนการที่ครูนำมาใช้ยังขึ้นอยู่กับแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนที่ครู ยึดเป็นหลัก ซึ่งทำให้ครูแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมการสอนและเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางในการ จัดการเรียนการสอนของครูด้วย
Bruner ดังที่ (อ้างถึงใน Leach & Moon, 1999 : 5-6 ) ได้ให้ทัศนะว่า "ความเชื่อเกี่ยวกับ การสอนจะเป็นสิ่งที่สะท้อนออกมาให้ครูได้ปฏิบัติต่อผู้เรียน การที่จะทำให้ผู้เรียนบรรลุผลตามที่หลักสูตรมุ่งหวังนั้น มีองค์ประกอบหลักคือ ครูจะต้องมีความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม กับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในชั้นเรียน หากครูไม่สามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมก็จะ ส่งผลให้เกิดกระบวนการจัดการเรียนการสอนไม่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของผู้ เรียนและบังเกิดผลเสียตอผู้เรียนในที่สุด"
ดังนั้น ครูจึงต้องทำหน้าที่ได้หลายบทบาทในขณะเดียวกันไม่ว่าจะเป็นผู้อำนวยความ สะดวก (facilitator) ผู้จัดการ (manager) และเป็นแม้กระทั่งวาทยกร (conductor) ผู้ซึ่งจะต้องรู้ทัน มีความฉับไว และต้องเป็นผู้ที่เตรียมพร้อมเสมอที่จะปรับเปลี่ยนลีลาการสอนของตนให้สอด คล้องต่อลีลาของการเรียนรู้ของผู้เรียน
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษครูผู้สอนจึงควรที่จะต้องพัฒนาตน เองให้มีความรอบรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนักการศึกษาหลายท่านได้แบ่งความรู้ที่จำเป็นในการจัดการเรียนการสอนของ ครูดังนี้
ความรู้ในเนื้อหา (content knowledge) เป็นความรู้ที่เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่สอน ครูควรมีความสามารถและทักษะในวิชาที่ตนสอนเป็นอย่างดี ตลอดจนข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน หากครูมีความเชี่ยวชาญจะทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็ว และทำให้เกิดการยอมรับนับถือ ยกย่องจากผู้เรียนอีกด้วย
ความรู้เกี่ยวกับวิชาครูโดยทั่วไป (general pedagogical knowledge) เป็นความรู้ที่เกี่ยวกับหลักการโดยทั่วไปของการจัดการชั้นเรียน หรือการจัดการใด ในการดำเนินการถ่ายทอดเนื้อหาวิชา
ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร (cunrriculum knowledge) เป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมาย หลักการเนื้อหา วัสดุหลักสูตร (curriculum materials) ที่นำมาใช้ในการสอน
ความรู้เกี่ยวกับผู้เรียน (knowledge of learners) เป็นความรู้ความเข้าใจที่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน ระดับการพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน แรงจูงใจในการเรียนรู้ มโนทัศน์เดิม มโนทัศน์ที่ไม่ถูกต้อง ข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นในการเรียนรู้ใหม่ของผู้เรียน
ความรู้เกี่ยวกับบริบทของการศึกษา (knowledge of educational contexts) เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นพลวัตรของกลุ่มในชั้นเรียนไปจนถึงการบริหารการเงินและลักษณะของชุมชน
ความรู้เกี่ยวกับความมุ่งหมายของการศึกษา (knowledge of educational aims) เป็นความรู้ที่รวมถึงประวัติและปรัชญารากฐาน ซึ่งจะช่วยให้ครูวางเป้าหมายของตนเองในทัศนะที่กว้าง
ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์การสอนในเนื้อหาวิชา (pedagogical content knowledge) เป็นความรู้เฉพาะในการสอนเนื้อหาวิชา ความรู้นี้จำเป็นต่อครูในการวางแผนการสอน ครูจะต้องเป็นผู้รอบรู้ในเทคนิคของการเรียนการสอน (mastery of the techniques of instruction) จะต้องจัดเตรียมบทเรียนให้ได้ประโยชน์สูงสุดในการเรียนของผู้เรียนแต่ละ ครั้ง ทั้งนี้แผนการสอนของครูจะต้องมีความยืดหยุ่นพอเพียงและปรับให้เข้ากับความ สนใจและความชำนาญพิเศษของผู้เรียน นอกจากนี้ ควรจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามความสามารถของผู้เรียน เน้นย้ำในสิ่งที่สำคัญ สาธิตด้วยความชำนาญและให้โอกาสผู้เรียนในการปฏิบัติจริงเพื่อเป็นการส่ง เสริมและพัฒนาทักษะและทัศนคติของผู้เรียน (Elbaz. 1984 : 101-129; Shulman. 1987 อ้างถึงใน Gudmundsdottir, 1991; Grossman. 1990 : 2-10; Miller and Rose. 1975 : 2-7.)
ความรู้ในศาสตร์การสอนในเนื้อหาวิชา (pedagogical content knowledge) นอกเหนือไปจากความรู้ในเนื้อหา (content knowledge) ซึ่งหมายถึงความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษของครูแล้ว สิ่งที่ครูสอนภาษาอังกฤษควรตระหนักในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้แก่ ความรู้ในศาสตร์ของการสอนภาษาอังกฤษซึ่งประกอบด้วย
แนวคิดทฤษฎีในการจัดการเรียนการสอน (approach of teaching) สำหรับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษนั้น นักภาษาศาสตร์ได้เสนอแนวคิดไว้โดยมีจุดเน้นที่แตกต่างกัน เช่น Stephen Krashen ได้เสนอแนวคิดการเรียนการสอนภาษาแบบธรรมชาติ (natural approach) ซึ่งให้ความสำคัญกับปัจจัยป้อนที่สามารถทำให้เกิดความเข้าใจได้ (comprehensible input) เช่นการใช้ของจริงหรือสิ่งของที่แทนของจริง เช่น ภาพ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการรับรู้ภาษาได้เร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น และอีกแนวคิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมอย่างมากในการเรียนการสอนภาษาคือ แนวคิดทฤษฎีการเรียนการสอนภาษาแบบสื่อสาร (communicative approach) ซึ่งให้ความสำคัญกับการสื่อความหมาย เน้นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้งครูกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน
วิธีการสอน (methods of teaching) เมื่อผู้สอนได้พิจารณาแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนว่าเน้นอะไร เป็นหลักแล้ว ขั้นต่อไปคือการเลือกวิธีการสอนซึ่งเป็นลำดับขั้นตอนที่มีกิจกรรมการเรียน การสอนสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีนั้นๆ เช่น เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ครูจึงควรเลือกวิธีการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมที่สอด คล้องกัน
เทคนิคการสอน (teaching techniques) ในวิธีการสอนแต่ละวิธีการย่อมมีลำดับขั้นตอนของการสอน และในแต่ละขั้นตอนการสอนนั้น สิ่งที่ผู้สอนควรให้ความสนใจและนำไปปฏิบัติคือ เทคนิคที่จะทำให้สิ่งที่ครูกำลังนำเสนอนั้นมีความน่าสนใจ น่าติดตาม ซึงจะนำไปสู่ความสำเร็จของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
นอก จากความรู้ในศาสตร์ 3 ประการดังกล่าว ข้างต้นแล้ว ยังมีหลักการสำคัญในการจัดการเรียนการสอนที่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษไม่ควรละเลย ในการวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งนักภาษาศาสตร์หลายท่านได้เสนอแนวคิดไว้ Brown. (2000: 53-70)แต่ที่นำเสนอนี้เป็นแนวคิดที่ได้เสนอหลักการเกี่ยวกับการเรียนและการสอนภาษาไว้ (Principles of language learing and tesching) ซึ่งครอบคลุมและสามารถนำมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนการ สอนภาษาอังกฤษโดยแบ่งออกเป็นหลักการ 3 ด้านคือ
หลักการทางด้านความรู้ความเข้าใจ (cognitive principles) ประกอบด้วย ความเป็นหนึ่งเดียว (automatation) หมายถึง การที่ผู้เรียนเรียนภาษาโดยให้ความสนใจต่อรูปแบบภาษาในลักษณะองค์รวม ไม่วิเคราะห์ภาษาเป็นส่วนย่อยๆ เช่น หน่วยเสียง หน่วยคำ และชนิดของคำ
การเรียนรู้อย่างมีความหมาย (meaningful learning) การเรียนรู้อย่างมีความหมาย เป็นการซึมซับความรู้ใหม่เข้ามาอยู่ในโครงสร้างทางปัญญาและระบบความจำที่มี อยู่แล้วอย่างมีความหมาย และเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ใหม่เข้ากับโครงสร้างทางสติปัญญาเดิม ทำให้สามารถจดจำได้อย่างแม่นยำ
การให้รางวัล (The anticipation of reward) ผู้สอนควรให้ผู้เรียนตระหนักในผลที่ได้รับจากการเรียนภาษาอังกฤษในระยะยาว โดยการชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการเรียนภาษาอังกฤษ ความมีเกียรติ และความมีชื่อเสียงที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ ประโยชน์ทางด้านวิชาการของการรู้ภาษาอังกฤษและผลต่อการประกอบอาชีพในอนาคต
การสร้างแรงจูงใจภายใน (The intrinsic motivation) ผู้สอนจะต้องศึกษาว่าอะไรเป็นแรงจูงใจภายในของผู้เรียน แล้วจึงออกแบบกิจกรรมและใช้เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน น่าสนใจ มีประโยชน์หรือท้าทาย
การฝึกกลวิธีการเรียนรู้ (strategic investment) ผู้สอนต้องศึกษาว่าผู้เรียนส่วนใหญ่มีแบบแผนในการเรียนรู้แบบใด แล้วจึงจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแบบแผนการเรียนของผู้เรียน นอกจากนี้ควรหาโอกาสฝึกกลวิธีการเรียนให้แก่ผู้เรียนให้มากที่สุดเท่าที่จะ ทำได้ โดยพิจารณาเลือกฝึกกลวิธีที่จำเป็นต้องใช้ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็น ประโยชน์ต่อผู้เรียน และสอดคล้องกับบทเรียน
หลักการทางด้านความรู้สึกนึกคิด (affective principle)
หลักการทางด้านความรู้สึกนึกคิดนี้ Brown ได้แบ่งออกเป็นหลักการย่อยดังนี้
-การแสดงออกทางภาษา (language ego) ในขณะที่ผู้เรียนเรียนรู้ภาษาที่สองนั้น ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการคิด ความรู้สึก และการกระทำที่เป็นลักษณะเฉพาะของภาษาที่สองไปด้วย ซึ่งมีผลทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกป้องกัน (defensiveness) และมีความรู้สึกสะกดกลั้น (inhibitions) ต่อการเรียนภาษาที่สอง ผู้สอนจะต้องให้กำลังใจแก่ผู้เรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึก อบอุ่น ไม่รู้สึกสิ้นหวังในการเรียนภาษาที่สอง ผู้สอนจะต้องสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียน ภาษาที่สองให้แก่ผู้เรียน ต้องมีการวางแผนและกำหนดโครงสร้างของกิจกรรมให้เหมาะสม
-ความเชื่อมั่นในตนเอง (self-confi-dence) ผู้สอนจะต้องสร้างความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองให้แก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนได้รับมอบหมายภาระงานแล้ว ผู้เรียนจะต้องมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถที่จะทำภาระงานการเรียนนั้น ให้สำเร็จได้
-ความกล้าที่จะเสี่ยง (risk-taking) เป็นหลักการที่เน้นความสำคัญของการช่วยให้ผู้เรียน คาดคะเนความเสี่ยงในการที่จะพยายามใช้ภาษาทั้งในด้านการรับสารและการส่งสาร ผู้เรียนที่ประสบความสำเร็จในการเรียนภาษาที่สอง จะต้องกล้าเสี่ยงที่จะใช้ภาษา กล้าที่จะได้รับการตำหนิและการชมเชยด้วยความเต็มใจ มีความพยายามที่จะส่งสารและรับสารที่เป็นภาษาที่สองด้วยความเชื่อมั่นในความ สามารถของตนเอง
-ความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับวัฒนธรรม (The language-culture connection) ภาษาและวัฒนธรรมมักจะเชื่อมโยงกัน ในบางครั้งจะเรียนรู้ภาษาที่สองให้สำเร็จได้ ก็ต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของผู้พูดภาษาที่สองไปด้วย เมื่อใดที่ผู้สอนสอนภาษาจะต้องรวมการสอนระบบของวัฒนธรรมประเพณีค่านิยมและ แนวทางการคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของภาษาไปด้วย
หลักการทางด้านภาษาศาสตร์ (linguistic principles) อิทธิพลของภาษาแม่ ผู้เรียนภาษาที่สองมักจะคิดเป็นภาษาแม่ก่อน แล้วจึงแปลจากภาษาแม่เป็นภาษาที่สอง ทำให้ภาษาแม่บางส่วนเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาที่สอง จึงทำให้เกิดอุปสรรคขัดขวางการเรียนรู้ภาษาที่สอง คือไม่สามารถทำความเข้าใจสาร และไม่สามารถผลิตสารด้วยภาษาที่สองอย่างถูกต้อง
-ความสัมพันธ์ระหว่างภาษา (interlanguage) ผู้เรียนภาษาที่สองมีแนวโน้มที่จะก้าวไปสู่กระบวนการพัฒนาภาษาอย่างเป็นระบบ หรือกึ่งระบบได้ โดยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลป้อนกลับของบุคคลอื่นมาช่วยส่งเสริมการพัฒนาภาษา ภายใน ผู้สอนจะต้องเป็นผู้ให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียนอย่างเหมาะสมโดยคำนึกถึง ความรู้สึกนึกคิด และความเข้าใจของผู้เรียนด้วยว่า ผู้เรียนรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร เข้าใจอย่างไร และมีเหตุผลอย่างไร จึงแสดงออกทางภาษาในลักษณะเช่นนั้น
-ความสามารถในการสื่อสาร (communicative cometence) ผู้สอนจะต้องพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสารให้ดีที่สุด โดยให้ความเอาใจใส่ต่อการนำภาษาไปใช้ (language usage) ไม่ใช่เพียงการใช้ภาษาเท่านั้น (language usage) ซึ่งนอกจากจะเป็นการใช้ภาษาถูกต้องและคล่องแคล่วแล้ว ยังต้องเป็นภาษาที่ใช้กันอยู่จริง และเหมาะสมกับบริบท และจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนนำภาษาที่เรียนในห้องเรียนไปใช้ในบริบทของ ชีวิตจริงด้วย
เจ้าอ้าย..จากหลักการและแนวคิดทั้งหมดนั่น หากครูผู้สอนภาษาอังกฤษนำไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษา อังกฤษจริงๆ ชั้นเชื่อว่าการปฏิรูปการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและการพัฒนาครูจะเป็นทิศทางที่นำไปสู่ความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษต่อไป ..นายคงคิดเหมือนชั้นมัง..
อากาศเปลี่ยนบ่อยๆ ระวังสุขภาพตัวเองและคนรอบข้างแล้วกัน เป็นห่วงอยู่บ้างเล็กน้อย แต่รู้ว่านายเอาตัวรอดได้เสมอ จะเดินทางไปไหนก็ดูแลตัวเองให้ดีล่ะ เก้งก้างนักระวังจะเจอข้อหา.เอาเท้าราน้ำ.มิดี มิดี..
รักและคิดถึงมากกว่าเดิม
'เจ้าเอื้อย
| | "The difference between the impossible and the possible lies in a man's determination." - - Tommy Lasorda - - เส้นบางๆที่คั่นระหว่างความเป็นไปได้และความเป็นไปไม่ได้คือการตัดสินใจของเรา |
|
|
|
|