Neric-Club.Com
|
|
|
นิตยสารออนไลน์
|
|
|
มุมเบ็ดเตล็ด
|
|
|
|
|
|
|
สายลม แสงแดด |
|
|
| | เจ้าอ้ายที่แสนจะดีของฉัน
ช่วงนี้จิตตกซ้ำซ้อนขี้เกียจขีดเขียนมันดื้อๆซะงั้น อยากนั่งนิ่งๆมองความเคลื่อนไหวข้างหน้ามากกว่าที่จะเคลื่อนไหวตัวเองเพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของชีวิตอื่นๆ แต่ก็คิดถึงนายทุกเวลาว่าง เห็นเด็กเล็กเดินถือดอกกุหลาบจริงดอกกุหลาบปลอมกรายไปมาหงุดหงิดบอกไม่ถูก บอกที่มาไม่ได้ สะกดชื่อยังไม่ถูก มันจะถือทำแก้วอะไร? คนขายก็ปั่นเงินอย่างเดียวเลย ..มีเรื่องราวมากมายที่ยังไม่ได้เล่าให้นายฟัง แต่คิดว่านายคงเดาออกแล้ว ก็เราเป็นพยาธิในกันและกันงัย ที่จริงตั้งแต่ตุลามาแล้วมัง ที่เกิดอาการจิตตกสุดๆ จากอะไรหลายๆอย่าง ทุกขลาภ, ดอกไม้- ก้อนอิฐ, เรื่องเน่าๆของไก่ในสุ่ม เรื่องราวสารพัดพิษของคนหน้าซื่อ รวมถึงโอษฐภัยที่หลบหัวซุกหัวซุนแทบจนตรอกต้องมาปักหลักสู้อยู่ตรงนี้ (อ่านะ.ถอยสักก้าวเพื่อตั้งหลักก็ยังไม่สาย สัญชาตญานนักสู้ยังใช้การได้เสมอ) จริงจริงแล้วชั้นไม่เคยปล่อยให้อะไรตกหล่นต่อหน้าต่อตา (ปลงตกก็เก็บ ปลงตกก็เก็บ ) คราวนี้จิตตกอยู่นานมากๆ ชั้นนั่งมองเฉยๆได้ใช่มั้ย?
เจ้าอ้ายเอ๋ย.. ชีวิตชั้นดีขึ้น ตั้งแต่ถูกพันทิพตัดหางปล่อยวัด (วัดจะลำบากมั้ยเนี่ย) เพราะไม่ต้องดีดตัวเองจากที่นอนแสนสุขมาแต่มืดแต่ดึกเพื่อปั่นบล็อก ไม่ต้องไปชะโงกหน้าดูใครๆ ตอนนี้พอมีเวลาให้ตัวเองมากขึ้น มองไปไกลๆแล้วอยากเขกกะโหลกตัวเองจิง เคยบอกจะหยุดเขียนบล็อกตั้งแต่ปีที่แล้ว ตอนนี้ก็ครบรอบพอดี วิ่งกลับไปดูงานตัวเอง จ๊ากเลย..ที่นั่นชั้นทำอะไรได้มากกว่าตรงนี้อีก เพียงแต่พื้นที่มันน้อยไปหน่อย กำลังหาทางขยับขยายกับใช้วิธีอื่นๆ ที่พอมองเห็น นายเห็นแล้วมั้ย?
เซ็งๆกับนายของเรา ก็นายงัย นายของเราสนับสนุนโครงการถักทอร่างแหของความดี ประกาศโจ่งแจ้งออกสื่อทั่วโลก ให้เห็นชัดๆว่าสร้างภาพ ผู้บริหารอย่างนายเลือกปฏิบัติได้ไหม เหนือนายก็ยังมีนายใช่เปล่า เพราะงั้นไม่ต้องเคี่ยวเข็ญให้ชั้นขึ้นบริหารตราบใดที่นายเองก็ยังมีนาย ชั้นอยู่ตรงนี้ชั้นมีนายน้อยกว่านาย สรุปว่าเป็นชั้นคนที่อยากทำก็ทำไม่อยากทำก็ไม่ทำดีกว่าไหม จริงๆนะคิดดีดี ยังมีควันหลงอีกเยอะแยะ จับมาเล่าไม่ถูก เดี่ยวจะเรียบเรียงใหม่ให้เข้าใจง่ายๆ วันนี้เอาสาระมาฝากไว้ให้อ่านนานๆ เห็นบ่นเรื่องการสร้างทักษะสำหรับผู้เรียนบ่อยๆ
ทักษะ (Skills) และการสอนทักษะ
การริสสันและแมกอน (Garrison and Magoon. 1972 : 640)ให้ความหมายและอธิบายลักษณะสำคัญของทักษะไว้ว่า ทักษะเป็นแบบของพฤติกรรมที่กระทำไปด้วยความราบเรียบ (Smooth)รวดเร็ว แม่นยำ และมีความสอดคล้องผสมผสานกันอย่างเหมาะสมของกล้ามเนื้อต่าง ๆ อันเป็นผลมาจากการพัฒนาความสามารถของบุคคล
ส่วนครอนบาร์ค (Cronbach.1977 : 393)ให้ความหมายของทักษะว่าเป็นการปฏิบัติที่เกิดจากการเรียนรู้สามารถกระทำได้โดยแทบจะไม่ต้องใช้ความคิด ซึ่งเมื่อพิจารณาความหมายและลักษณะของทักษะข้างต้นจะเห็นได้ว่าการปฏิบัติการอย่างมีทักษะจำเป็นต้องอาศัยพัฒนาการของกระบวนการเรียนรู้และกลไกการทำงานของกล้ามเนื้อในการปฏิบัติการ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากเกณฑ์ 4 ประการคือ ความเร็ว (Speed)ความแม่นยำ (Accuracy) ลักษณะท่าทาง (Form) และความคล่องตัว (Adaptability)
คนที่มีทักษะย่อมสามารถปฏิบัติการอย่างรวดเร็วภายในเวลาอันจำกัด มีความแม่นยำในการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ ไม่ขัดเขินผิดพลาด ใช้พลังงานหรือความพยายามน้อยที่สุด และสามารถปฏิบัติการได้ในสถานการณ์ที่แตกต่างออกไป
ทักษะจึงมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ เป็นการตอบสนองทางกลไกที่ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ (Response Chain)เป็นการเกี่ยวข้องและประสานกันในการเคลื่อนไหวของ อวัยวะ(Movement Coordination) และเป็นการจัดระเบียบต่อเนื่องในการตอบสนองเข้าเป็นรูปแบบการตอบสนองที่ ซับซ้อน(Response Pattern)
ครอนบาร์ค (Cronbach. n.d. 393-395 ) แบ่งทักษะออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ ทักษะแบบต่อเนื่อง คือ ทักษะที่มีการกระทำอย่างต่อเนื่องกัน เช่น การพิมพ์ดีด ทักษะไม่ต่อเนื่องเป็นทักษะที่สิ้นสุดลงในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เช่น ยิงปืน ตบยุง ทักษะแบบปิด คือ ทักษะที่สถานการณ์สิ่งเร้าคงที่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเตะตะกร้อ การตัดเสื้อผ้า การขับเครื่องบิน ฯลฯ ภาวะเบื้องต้นที่มีผลต่อการฝึกทักษะที่สำคัญมี 6 ประการได้แก่ -การเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันของสิ่งเร้าและการตอบสนอง(Contiguity) -การปฏิบัติ (Practice) -การเรียนรู้ผลของการปฏิบัติ(Feedback) -ผู้เข้ารับการฝึก (Tranee) -สิ่งที่ทำการฝึก (Job Training) -และวิธีการฝึก (Tactic)
1.ทักษะ จะได้รับการพัฒนาขึ้นเมื่อมีการเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับสิ่งเร้าและการตอบสนองเมื่อมีการเสนอสิ่งเร้า การตอบสนองจะต้องเกิดขึ้นทันทีและต่อเนื่องกันเป็นสายโซ่เรื่อยไป สิ่งเร้าและการตอบสนองเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ประสานกัน ถ้าจัดลำดับของหน่วยสิ่งเร้าการตอบสนองให้ถูกต้องเหมาะสมและให้ติดต่อใกล้ชิด จะช่วยให้การเรียนรู้ทักษะได้ดี
2.การปฏิบัติ (Practice) เป็นการทบทวน ช่วยป้องกันการลืมส่วนย่อย ช่วยให้เกิดความชำนาญถึงขั้นเชี่ยวชาญ การปฏิบัตินั้นควรแบ่งเป็นตอน ๆ สลับการพัก(Distributed Practice) จะได้ผลดีกว่าการรู้ผลของการปฏิบัติติดต่อไปตลอดโดยไม่มีการพัก (Massed Practice)
3.การรู้ผลของการปฏิบัติ (Feedback) หรือการรู้ผลของการกระทำที่ใช้กับการเรียนทักษะนั้น ย้ำการเปรียบเทียบความสามารถการกระทำที่ได้กับการกระทำอันเป็นมาตรฐานสำหรับทักษะนั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมแรง (Reinforcement) และเป็นตัวควบคุมที่สำคัญอย่างยิ่งในการเรียนทักษะ เพื่อให้การเรียนทักษะได้ผลดี ควรให้ผู้เรียนรู้ล่วงหน้าเกี่ยวกับการฝึกทักษะและควรให้รู้ผลทันทีหลังการฝึกซึ่งการรู้ผลมีสองลักษณะ คือการรู้ผลจากภายนอก (Extrinsic Feedback) เป็นผลจากอาจารย์หรือผู้รู้บอกให้ทราบ เป็นการรู้ผลที่มีความสำคัญมาก ในขั้นแรก ๆ ของการเรียนทักษะ และการรู้ผลภายใน (IntrinsicFeedback) เป็นการรู้ผลจากการกระทำของตนเอง เป็นความรู้สึกที่ได้จากประสาทสัมผัสการเคลื่อนไหว (Kinetic Sense)
4. ผู้เข้ารับการฝึกต้องมีวุฒิภาวะ ลักษณะนิสัยส่วนตัวโครงสร้างทางร่างกาย ประสบการณ์เดิม ความพร้อมและแรงจูงใจที่เหมาะสมจึงจะช่วยให้มีการพัฒนาทักษะที่ดี
5. สิ่งที่ทำการฝึก หมายถึง ความสลับซับซ้อนของทักษะที่ฝึกการสอนทักษะที่ซับซ้อนต้องอาศัยเวลาและเทคนิคการสอนที่ยุ่งยากมากกว่าการสอนทักษะที่ง่าย
6.วิธีการฝึก การจะฝึกทักษะให้ได้ผลดีควรปฏิบัติดังนี้ ฝึกโดยมีจุดมุ่งหมาย มีการแนะนำในการฝึกที่ดี ฝึกในสถานการณ์ที่ผู้เรียนพอใจสนใจที่จะฝึกลำดับขั้นที่เป็นระเบียบ การปลูกเจตคติให้พอใจในสิ่งที่จะฝึก การฝึกเป็นส่วนรวมหรือส่วนย่อยตามความเหมาะสม สาธิตการฝึกให้ดูเป็นตัวอย่างชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของการฝึก ฯลฯ เป็นต้น
ซิงเกอร์ (Singer. 1975 : 36-48) เสนอองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ทักษะ 3 ประการ คือ ตัวผู้เรียน สถาน-การณ์ การเรียนและกระบวนการเรียนรู้ทักษะ
ตัวผู้เรียนที่อาจส่งผลกระทบต่อการเรียนทักษะ เช่น บุคลิกภาพ เพศ เจตคติ อายุ ประสบการณ์เชาวน์ อารมณ์ รูปร่าง สัดส่วนของร่างกาย วัฒนธรรม กลุ่ม- เพื่อนการรับรู้ ความไวในการรู้สึก ความกลัว ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อ สิ่งเหล่านี้เป็นความแตกต่างระหว่างบุคคล(Individual Difference) ที่มีผลต่อการเรียนทักษะ ยุทธวิธีในการสอนแบบเดียวกันย่อมให้ผลแก่แต่ละบุคคลแตกต่างกัน การปฏิบัติต่อผู้เรียนแต่ละคนมีผลต่อการเรียนทักษะด้วย เช่น สิ่งเร้าผู้เรียน อาจรับรู้สิ่งเร้าด้วยจักษุสัมผัส โสตประสาท กายสัมผัส ฯลฯการใส่ใจกับสิ่งเร้าต้องมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งเร้า ที่จะอำนวยผลเมื่อมีหลายสิ่งเร้าในขณะเดียวกัน เช่น ในการ ฝึกหัดตะไบผู้เรียนต้องยืนในท่าที่ถูกต้อง มือจับตะไบในมุม ที่ถูกต้องตามองชิ้นงานที่จะทำการตะไบ ในขณะที่มีเสียง เครื่องจักรเสียงสั่งงาน ฯลฯ เราไม่สามารถจะใส่ใจกับสิ่งเร้าทุกอย่างได้ในขณะเดียวกัน
การรู้ผลการกระทำ (Feedback) ของตนเอง เพื่อปรับปรุงแก้ไขความสามารถของตนให้พัฒนาขึ้น เงื่อนไขการฝึกหัดมีผลต่อการเรียนทักษะมาก เช่น การให้แรงเสริมมีผลกระตุ้นพฤติกรรมการฝึกหัดโดยไม่รู้ผลการปฏิบัติ โดยปราศจากจุดมุ่งหมาย หรือแบบซ้ำซากจำเจไม่ทำให้ผู้เรียนดีขึ้น การฝึกหัดแบบเว้นช่วงให้พักให้ผลการเรียนทักษะดีกว่าการฝึกแบบต่อเนื่องเหล่านี้ เป็นต้น
กระบวนการเรียนรู้ทักษะ การเรียนรู้ทักษะมีขั้นตอนการเรียนรู้ตามลำดับ 3 ขั้นตอนคือ ขั้นความรู้ความ เข้าใจ(Cognitive Phase) เป็นขั้นที่ผู้เรียนพยายามทำความ เข้าใจแนะนำวิธีการปฏิบัติ ขั้นปฏิบัติ (Fixation Phase)เป็นขั้นที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติได้อย่างถูกต้องไม่มีข้อ ขั้นอัตโนมัติ (Autonomous Phase) เป็นขั้นที่ผู้เรียนผ่านการฝึกฝนจนกระทำได้ถูกต้องคล่องแคล่วชำนาญงานในการสอนทักษะใด ๆ ก็ตาม อาจารย์ผู้สอนย่อมมีความปรารถนาให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ
ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนจึงควรคำนึงถึงลำดับขั้นในการสอนทักษะ 4 ประการ ดังต่อไปนี้คือ
การวิเคราะห์ทักษะที่จะสอนอาจารย์ผู้สอนควรพิจารณาแยกทักษะที่สอนออกเป็น ทักษะย่อยๆ เพี่อกำหนดและจัดลำดับสิ่งเร้าให้มีการตอบสนองอย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ตามลำดับก่อนหลัง
การกำหนดระยะเวลาในการฝึกทักษะ ช่วงเวลาพักแต่ละช่วงในการฝึกทักษะแต่ละทักษะ มีผลต่อการฝึกทักษะ3 ประการให้เกิดขึ้น ได้แก่ การจัดลำดับสิ่งเร้าและการตอบ สนองการปฏิบัติและการรู้ผลของการปฏิบัติ
การจัดการเรียนการสอนในการเพื่อการสื่อสารในงานอาชีพนั้นผู้เรียนควรได้ฝึกฝนการใช้งานภาษาอังกฤษในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมชั้นโดยทุกคู่หรือทุกกลุ่มต้องทำการสาธิตตามบทบาทสมมุติ เพื่อสร้างประสบการณ์การพูดภาษาอังกฤษที่มีคุณค่าต่อตัวผู้เรียนซ้ำแล้วซ้ำอีก จนเกิดการพัฒนาทักษะการสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพ สร้างความพร้อมและความมั่นใจแก่ผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องสื่อสารกับชาวต่างชาติโดยตรงก็สามารถทำได้ดีและถูกต้องมากขึ้น
เจ้าอ้าย..ชั้นคิดว่าการได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนรู้ผลคะแนนของตนเองทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเพื่อเป็นแรงจูงใจทางบวกในการฝึกอบรมที่ดีมากอีกทางหนึ่ง การตรวจสอบความสามารถเบื้องต้นของผู้เรียนเกี่ยวกับทักษะที่จะสอน เพื่อวางแผนพิจารณาสอนทบทวน หรือเน้นเติมความสามารถตอนใดของผู้เรียนเป็นพิเศษแล้วจึงอธิบายและสาธิตทักษะที่จะฝึก รวมทั้งทำการฝึกฝนทักษะย่อยที่พบว่ายังขาดอยู่และลงมือฝึกทักษะที่มีอยู่แล้วให้ชำนาญมากขึ้น โดยสร้างภาวะเบื้องต้นที่มีผลต่อการฝึกให้เกิดทักษะขึ้น ได้แก่ การจัดลำดับสิ่งเร้า การตอบสนองการปฏิบัติ การรู้ผลของการปฏิบัติ นอกจากนี้ยังต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนรู้ผลคะแนนของตนเองทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเพื่อเป็นแรงจูงใจทางบวกที่ดีมากๆ
เจ้าอ้ายที่รัก
จากวันนี้คงอีกนานทีเดียวกว่าจะได้มาคุยกันอีก ไม่ได้ไปไหนหรอก แต่อยากนั่งนิ่งๆหายใจสบายๆ นายก็ดูแลตัวเองล่ะ อย่ากวนน้ำขุ่น เดี๋ยวเต่า หอย ปู ปลา จะพากันลำบาก(หรือเปล่า)นึกถึงไก่ชนไว้ให้มากๆ มันจะตีกันเพื่ออะไร ? ให้กำลังใจตัวเองเสมอด้วยนะ เพราะนั่นเป็นสิ่งเดียวที่จะทำให้เราฟันฝ่าอุปสรรคนานาประการ
รักนายที่สุดเลย 'เจ้าเอื้อย
| | "The difference between the impossible and the possible lies in a man's determination." - - Tommy Lasorda - - เส้นบางๆที่คั่นระหว่างความเป็นไปได้และความเป็นไปไม่ได้คือการตัดสินใจของเรา |
|
|
|
|