Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14341400  

วิถีพอเพียง

การทำหญ้าหมัก
 

หญ้าหมักหมายถึงพืชสดที่ผ่านการหมักเพื่อรักษาธาตุอาหารในพืชไม่ให้เน่าเปื่อย ทำนองเดียวกับผักดองมีรสเปรี้ยวเล็กน้อย ใช้เป็นอาหารโคกระบือในฤดูแล้ง ซึ่งเป็นช่วงที่ขาดแคลนหญ้าสด การรักษาเนื้อเยื่อพืชไม่ให้เน่าเปื่อยเกิดจากกระบวนการซึ่งอาศัยเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด เช่น บัคเตรีในกลุ่มแล็กโตบะซิลัส บัคเตรีกลุ่มนี้จะย่อยแป้งในต้น ใบหรือเมล็ดพืชและเปลี่ยนให้เป็นกรด เรียกว่า กรดแล็กติก กรดที่เกิดขึ้นนี้เป็นสารที่ช่วยรักษาเนื้อพืชไม่ให้เน่า การหมักแบบนี้เกิดขึ้นในที่ที่อับอากาศ โดยใช้หลุมหมักซึ่งเรียกว่า ไซโล การทำหญ้าหมักมีกระบวนการตรงข้ามกับการทำหญ้าแห้ง เพราะการทำหญ้าแห้งอาศัยกระบวนการไล่ความชื้นออกจากพืช แต่การทำหญ้าหมักต้องการรักษาความชื้นไว้ การทำหญ้าหมักต่างจากปุ๋ยหมัก ตรงที่การทำปุ๋ยหมักนั้นเชื้อราจุลินทรีย์จะย่อยสลายเนื้อเยื่อของพืชจนเน่าเปื่อย ปลด-ปล่อยแร่ธาตุให้พืชดูดซึมเป็นปุ๋ยได้ การทำหญ้าหมักมีขั้นตอนดังนี้

1. การเลือกพันธุ์หญ้า ควรเลือกพันธุ์หญ้าที่มีแป้งและน้ำตาลมาก เช่น ต้นข้าวฟ่าง ข้าวโพด พืชทั้ง 2 ชนิดนี้ทำหญ้าหมักได้หญ้าคุณภาพดีมาก นอกจากนั้นอาจใช้หญ้าเนเปียร์หญ้ามอริชัส หรือหญ้าอื่นๆ ที่มีลักษณะอวบน้ำแต่การใช้ต้นหญ้าเหล่านี้จำเป็นจะต้องเติมกากน้ำตาลด้วย เพราะว่าหญ้าเหล่านี้มีแป้งเป็นส่วนประกอบน้อย ทำให้มีอาหารสำหรับเชื้อบัคเตรีไม่เพียงพอ ทำให้การหมักได้ผลไม่ดีพอ

2. การเตรียมอุปกรณ์ อุปกรณ์ทำหญ้าหมักประกอบด้วยอุปกรณ์การตัดและหั่นหญ้า หลุมหมัก วัสดุคลุมปิดหลุม เช่น แผ่นผ้าพลาสติก หรือดิน กากน้ำตาล และอุปกรณ์สำหรับขนหญ้าลงหลุมหมัก
อุปกรณ์การตัดและหั่นหญ้า ฟาร์มขนาดเล็กอาจใช้มีดตัดหั่นหญ้าเป็นชิ้นเล็กๆ แต่ฟาร์มขนาดใหญ่มีจำนวนโคมาก จะใช้เครื่องตัดหั่นหญ้าโดยเฉพาะ อุปกรณ์ดังกล่าวใช้กำลังงานจากรถแทรกเตอร์ มีใบมีดตัดต้นพืชและหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วมีเครื่องพ่นชิ้นหญ้าออกจากเครื่อง กล่าวคือ ในอุปกรณ์ชิ้นเดียวกันจะทำงานทั้งการตัดต้นพืช หั่นเป็นชิ้น และพ่นออกจากเครื่องโดยอัตโนมัติ แต่ราคาสูงมาก

3. การเตรียมหลุมหญ้าหมัก หลุมหญ้าหมักมีหลายแบบ เช่น แบบปล่อง แบบร่องในดิน แบบรางบนผิวดิน หรือแบบใช้ผ้าพลาสติกคลุมเหนือผิวดินหลุมแบบปล่อง ก่อด้วยคอนกรีตสูง 2-3 เมตร หรือมากกว่า ส่วนความจุมีตั้งแต่ 10-20 ตัน แล้วแต่ขนาดของฟาร์ม หลุมแบบร่องในดินเป็นแบบที่ต้องขุดร่องลึกตามที่ต้องการและสร้างผนังคอนกรีตเป็นร่องป้องกันดินพังทลายความกว้างและความยาวของหลุมขึ้นกับขนาดของฟาร์มหรือจำนวนสัตว์ที่เลี้ยง ส่วนหลุมแบบรางบนผิวดินมีลักษณะเช่นเดียวกับแบบร่องในดิน แต่สร้างบนผิวดินแทน ปัจจุบันนิยมทำแบบรางบนผิวดิน เพราะสะดวกต่อการทำงาน เช่น การขนหญ้าลงหมัก การกลบดินและการไหลของน้ำเสีย ขนาดของหลุมแบบรางบนผิวดินมีความสัมพันธ์กับปริมาณหญ้าหมัก และคำนวณได้ตามสูตรข้างบนนี้
4. การตัดหญ้า เริ่มจากการตัดต้น ข้าวโพด หรือข้าวฟ่างโดยเลือกตัดเมื่อพืชเหล่านี้เริ่มมีเมล็ดอ่อนๆ เนื้อในเมล็ดยังมีลักษณะเหนียวข้น ไม่ถึงกับเป็นเมล็ดแข็ง ถ้าเลยระยะนี้ไปจะ มีกากมากและน้ำตาลในลำต้นมีน้อย อาหารของบัคเตรีไม่พอ การหั่นต้องหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาดยาว 3-5 นิ้ว เพื่อสะดวกต่อการอัดให้แน่น จากนั้นก็ขนลงหมักในหลุมที่เตรียมไว้แล้ว อัดหญ้าให้แน่นจนเต็มหลุม แล้วจึงกลบหลุมโดยใช้เศษพืชทับรองชั้นหนึ่งแล้วใช้ดินกลบทับจนแน่น ป้องกันอากาศเข้าออก การหั่นหญ้าและการอัดหญ้าให้แน่นเป็นขั้นตอนสำคัญมาก ถ้าหั่นหญ้ายาวเกินไป ทำให้การอัดไม่แน่น ไล่อากาศออกไม่หมดอากาศเข้าออกได้จะทำให้เชื้อราเจริญ และหญ้าเน่ากลายเป็นปุ๋ยหมัก

ถ้าใช้หญ้าชนิดอื่น เช่น หญ้าขน หญ้าเน-เปียร์ จะต้องใช้กากน้ำตาลละลายน้ำประพรมทุกครั้งที่ขนหญ้าสดลงหมักในหลุม โดยใช้กากน้ำตาล 30 กิโลกรัมต่อหญ้า 1,000 กิโลกรัมละลายน้ำแล้วพรมให้ทั่ว กากน้ำตาลจะเป็นอาหารของบัคเตรีที่ช่วยในการหมัก เมื่อกลบดินทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ ก็จะเริ่มเป็นหญ้าหมัก
หญ้าหมักที่ดีควรมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นผักดอง หรือมะม่วงดอง สีเขียวอ่อน ไม่ดำคล้ำ มีค่าความเป็นกรดประมาณ 4.3-4.4 คุณค่าอาหารจากหญ้าหมักที่ทำด้วยข้าวฟ่าง คิดเป็นร้อยละ ดังนี้ ความชื้น 70.4 โปรตีน 2.8 ไขมัน 1.3 กาก 8.7 แป้ง 14.7 เถ้า 2.1 และความเป็นกรด 4.5

เนื่องจากหญ้าหมักมีรสเปรี้ยวกว่าอาหารอื่นๆ การใช้เลี้ยงโคจึงมีขีดจำกัด โดยปกติแนะนำให้ใช้หญ้าหมัก 3-3.5 กิโลกรัมต่อน้ำหนักโค 100 กิโลกรัม ใส่รางให้กินภายหลังให้อาหารข้นแล้ว


หน้าที่ :: 10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved