Neric-Club.Com
|
|
|
นิตยสารออนไลน์
|
|
|
มุมเบ็ดเตล็ด
|
|
|
|
|
|
|
ตามใจไปค้นฝัน |
|
|
ดัชนีชี้วัดความสุขของชาวภูฏาน ความสุขมวลรวมประชาชาติภูฏาน • "Gross National Happiness is more important than Gross National Product" แปล ว่า ความสุขมวลรวมประชาชาติ สำคัญกว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Jigme Singye Wangchuck , King of Bhutan, 1972) • คำตรัสของกษัตริย์แห่งประเทศเล็กๆ อย่างประเทศภูฏาน ที่อยู่ในหลืบของหิมาลัย กลายเป็นหัวข้อที่นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะการใช้ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจเพื่อบ่งชี้ความเจริญก้าวหน้าหรือความอยู่ดีกินดีของคนนั้นมีปัญหาของมันอยู่ในตัวเอง |
• ความสุขมวลรวมประชาชาติ หรือ GNH • ภูฏานได้สร้างแนวคิดใหม่ในการนิยามความเจริญก้าวหน้าแบบองค์รวม โดยการวัดความอยู่ดีมีสุขที่แท้จริงมากกว่าการบริโภค และกลายเป็นผู้นำในการเผยแพร่แนวคิดเรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness : GNH) ซึ่งแนวคิดเรื่อง GNH ริเริ่มโดย King Jigme Singye Wangchuck กษัตริย์ภูฏาน ตั้งแต่วันที่ทรงขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1972 • GNH ไม่ใช่ เป็นเพียงปรัชญาที่เลื่อนลอย หรือเกิดขึ้นมาเพื่อต่อต้านแนวความคิดของการคำนวณผลผลิตรายได้มวลรวมประชา ชาติ Gross National Product หรือ GNP แต่นโยบายและการดำเนินการปกครองภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของสมเด็จพระ ราชาธิบดี แห่งภูฏาน ได้ทำให้ปรากฏแล้วว่า GNH ไม่ใช่หลักการที่เลื่อนลอย ประชาชนของพระองค์ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น...โดยไม่ต้องหวังพึ่งการพัฒนาจากต่างประเทศ มากเกินควร โดยไม่พิจารณาเทียบเคียงกับหลักการผลผลิตมวลรวมประชาชาติเป็นตัวเลขเทียบกับ ของประเทศอื่น...แต่ใช้ดัชนีชี้วัดจากการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขของชาวภูฏาน เป็นดัชนีชี้วัดแทน • ทำให้ภูฏานมีระบบเศรษฐกิจที่มุ่งรักษาวัฒนธรรมและค่านิยมทางพุทธศาสนาของภูฏานไว้ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยแนวคิดเรื่อง GNH เป็นการวัดการพัฒนาประเทศที่ไม่ได้เน้นตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่เน้น “ความสุข” ที่แท้จริงของคนในสังคม ซึ่งปัจจุบันแนวคิดเรื่อง GNH กำลังได้รับความสนใจจากนักวิชาการหลายประเทศ เนื่องจากเล็งเห็นว่าการพัฒนาเศรษฐกิจมิได้เป็นปัจจัยเดียวและปัจจัยสำคัญที่สุดของความสุข หากแต่การมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจทำให้เกิดผลเสียหายต่างๆ มากมาย ทั้งความไม่เป็นธรรมทางสังคม การสูญเสียความสมดุลทางธรรมชาติ และมลภาวะแวดล้อมเป็นพิษ • แนวคิดเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติหรือ GNH ยึดหลักว่า การพัฒนาสังคมมนุษย์ที่แท้จริงเกิดจากการพัฒนาทางด้านวัตถุและจิตใจควบคู่กันไป เพื่อเติมเต็มและส่งเสริมซึ่งกันและกัน GNH ในบริบทของภูฏานจึงเป็นรูปแบบการพัฒนาที่มุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ประชากรทุกคนมีโอกาสพบความสุขได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยมีหลักการสำคัญ 4 ประการ หรือ เสาหลักแห่งความสุขทั้งสี่ (Four pillars of happiness) คือ • ประการที่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมและยั่งยืน(Sustainable economic development) การเข้ามาของระบบทุนนิยมในภูฏานจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า โดยสิ่งที่เกิดขึ้นดีหรือไม่ ให้เอาความสุขของชาวภูฏานเป็นตัวตัดสินไม่ใช่วัดที่จำนวนเงินและทรัพย์สินที่เป็นวัตถุสิ่งของ เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยั่งยืนและเสมอภาค • ประการที่ 2 การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (Conservation of Environment) การพัฒนาใดๆ จะต้องไม่ทำลายความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ภูฏานจึงยกเลิกการค้าไม้กับต่างชาติ ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ป่าไม้ และปลูกเพิ่มเติม รวมถึง สัตว์ป่าก็ได้รับการดูแลอย่างดี โดย 26% ของพื้นที่ประเทศทั้งหมดถูกจำกัดให้เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า • ประการที่ 3 การส่งเสริมและสงวนรักษาวัฒนธรรมประเพณี (Preservation and Promotion of Culture) รัฐบาลก็จะส่งเสริมและให้ชาวภูฏานยึดถือและปฏิบัติตามแบบแผนดั้งเดิมที่เคยทำกันมา เช่นวัฒนธรรมการแต่งกาย การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ความเชื่อและการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่ส่วนวัฒนธรรมตามกระแสทุนนิยม รัฐบาลเองต้องเป็นคนคัดเลือกที่จะรับและผ่อนปรนในเกณฑ์ปฏิบัติ รวมทั้งการให้การศึกษากับเด็กชาวภูฏาน ที่ต้องให้ความรู้ทางศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ควบคู่ไปกับตำราเรียนทางวิชาการด้วย • ประการที่ 4 การส่งเสริมการพัฒนาธรรมาภิบาล (Good Governance) คือเน้นให้ชาวภูฏานดำรงชีวิตบนพื้นฐานที่จะช่วย พัฒนาสังคมทั้งระบบให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพโดยยึดถือหลัก 6 ประการ เช่นความซื่อสัตย์สุจริต ความมีคุณธรรมจริยธรรม เป็นต้น |
|
|
|
|
• ปัจจุบันภูฏานมีประชากรราว 2.2 ล้านคน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และ 90% ทำงานในภาคเกษตรกรรม ซึ่งหากจะวัดดัชนีความร่ำรวยจาก GDP หรือ GNP แล้ว ภูฏานจัดอยู่ในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกเป็นลำดับที่ 191 จากจำนวน 226 ประเทศ แต่ชาวภูฏานทุกคนจะมีที่ดินทำกินที่รัฐบาลจัดสรรให้ 10 ไร่ ภายใต้การปกครองที่มุ่งการพัฒนาให้ประชาชนมีความสุขมากกว่าอย่างอื่น • ตัวอย่างหนึ่งของปรัชญา GNH ก็คือ นโยบายจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามาในภูฏานในแต่ละปี แม้ภูฏานจะมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยวแต่ก็ระมัดระวังในการเปิดประตูรับ ผู้คนและไม่ยอมแปรประเทศให้เป็นทุนเหมือนประเทศอื่นที่มุ่งเน้นการขาย วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเพื่อแลกกับเงินตราต่างประเทศอย่างไม่ลืมหูลืมตา ภูฏานยังเน้นการรักษาป่าไม้ไว้ได้ถึงร้อยละ 66 และเก็บภาษีท่องเที่ยวต่อหัวถึงวันละ 200 เหรียญสหรัฐ เพื่อจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวไม่ให้เกินปีละ 8,000 คน ดังนั้นการเดินทางไปท่องเที่ยวภูฏานจึงมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็คุ้มค่าเมื่อแลกกับสภาพธรรมชาติและวัฒนธรรมที่ยังได้รับการดูแลรักษา ไว้อย่างดี • นโยบายการปลูกป่าทดแทนอย่างเคร่งครัดเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทำให้ภูฏานยังมีพื้นที่ป่ามากกว่าร้อยละ 70 ของประเทศ , นโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป และยังคงมีหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเข้ามาลงทุนของนักธุรกิจจากต่างประเทศ เพื่อรักษาแนวทางการพัฒนาของประเทศภูฏาน โดยยึดหลักความสุขมวลรวมประชาชาติไว้ • แต่ GNH ของภูฏานก็ยังมีปัญหาอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เนื่องจากทางรัฐบาลภูฏานเองก็ยังมิได้มีการพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุข หรือกำหนดองค์ประกอบของความสุขมวลรวมประชาชาติหรือความสุขของปัจเจกบุคคลและไม่มีการพัฒนาตัวชี้วัดทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ และวิธีการรวบรวมคำนวณวัดออกมาอย่างลงตัว • การดำเนินนโยบายตามแนวทางเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติของรัฐบาลภูฏานในทุกวันนี้นั้น เป็นไปในรูปแบบของการพัฒนาประเทศโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมประเพณีของคนในท้องถิ่น รวมทั้งพยายามปลูกฝังคุณค่าของแนวคิดเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติให้แก่ประชาชนรุ่นใหม่โดยผ่านทางระบบการศึกษาและสื่อแห่งชาติ โดยสอดคล้องกับคำสอนของศาสนาพุทธที่ว่า ความสุขที่แท้จริงมิได้เกิดจากการบริโภควัตถุ แต่เกิดจากสภาวะทางจิต และกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นเพียงปัจจัยสนับสนุนให้มนุษย์มีชีวิตที่ดีงาม | ดัชนีชี้วัดความสุขของชาวภูฏาน ความสุขมวลรวมประชาชาติภูฏาน • "Gross National Happiness is more important than Gross National Product" แปล ว่า ความสุขมวลรวมประชาชาติ สำคัญกว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Jigme Singye Wangchuck , King of Bhutan, 1972) • คำตรัสของกษัตริย์แห่งประเทศเล็กๆ อย่างประเทศภูฏาน ที่อยู่ในหลืบของหิมาลัย กลายเป็นหัวข้อที่นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะการใช้ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจเพื่อบ่งชี้ความเจริญก้าวหน้าหรือความอยู่ดีกินดีของคนนั้นมีปัญหาของมันอยู่ในตัวเอง • ความสุขมวลรวมประชาชาติ หรือ GNH • ภูฏานได้สร้างแนวคิดใหม่ในการนิยามความเจริญก้าวหน้าแบบองค์รวม โดยการวัดความอยู่ดีมีสุขที่แท้จริงมากกว่าการบริโภค และกลายเป็นผู้นำในการเผยแพร่แนวคิดเรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness : GNH) ซึ่งแนวคิดเรื่อง GNH ริเริ่มโดย King Jigme Singye Wangchuck กษัตริย์ภูฏาน ตั้งแต่วันที่ทรงขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1972 • GNH ไม่ใช่ เป็นเพียงปรัชญาที่เลื่อนลอย หรือเกิดขึ้นมาเพื่อต่อต้านแนวความคิดของการคำนวณผลผลิตรายได้มวลรวมประชา ชาติ Gross National Product หรือ GNP แต่นโยบายและการดำเนินการปกครองภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของสมเด็จพระ ราชาธิบดี แห่งภูฏาน ได้ทำให้ปรากฏแล้วว่า GNH ไม่ใช่หลักการที่เลื่อนลอย ประชาชนของพระองค์ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น...โดยไม่ต้องหวังพึ่งการพัฒนาจากต่างประเทศ มากเกินควร โดยไม่พิจารณาเทียบเคียงกับหลักการผลผลิตมวลรวมประชาชาติเป็นตัวเลขเทียบกับ ของประเทศอื่น...แต่ใช้ดัชนีชี้วัดจากการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขของชาวภูฏาน เป็นดัชนีชี้วัดแทน • ทำให้ภูฏานมีระบบเศรษฐกิจที่มุ่งรักษาวัฒนธรรมและค่านิยมทางพุทธศาสนาของภูฏานไว้ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยแนวคิดเรื่อง GNH เป็นการวัดการพัฒนาประเทศที่ไม่ได้เน้นตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่เน้น “ความสุข” ที่แท้จริงของคนในสังคม ซึ่งปัจจุบันแนวคิดเรื่อง GNH กำลังได้รับความสนใจจากนักวิชาการหลายประเทศ เนื่องจากเล็งเห็นว่าการพัฒนาเศรษฐกิจมิได้เป็นปัจจัยเดียวและปัจจัยสำคัญที่สุดของความสุข หากแต่การมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจทำให้เกิดผลเสียหายต่างๆ มากมาย ทั้งความไม่เป็นธรรมทางสังคม การสูญเสียความสมดุลทางธรรมชาติ และมลภาวะแวดล้อมเป็นพิษ • แนวคิดเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติหรือ GNH ยึดหลักว่า การพัฒนาสังคมมนุษย์ที่แท้จริงเกิดจากการพัฒนาทางด้านวัตถุและจิตใจควบคู่กันไป เพื่อเติมเต็มและส่งเสริมซึ่งกันและกัน GNH ในบริบทของภูฏานจึงเป็นรูปแบบการพัฒนาที่มุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ประชากรทุกคนมีโอกาสพบความสุขได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยมีหลักการสำคัญ 4 ประการ หรือ เสาหลักแห่งความสุขทั้งสี่ (Four pillars of happiness) คือ • ประการที่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมและยั่งยืน(Sustainable economic development) การเข้ามาของระบบทุนนิยมในภูฏานจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า โดยสิ่งที่เกิดขึ้นดีหรือไม่ ให้เอาความสุขของชาวภูฏานเป็นตัวตัดสินไม่ใช่วัดที่จำนวนเงินและทรัพย์สินที่เป็นวัตถุสิ่งของ เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยั่งยืนและเสมอภาค • ประการที่ 2 การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (Conservation of Environment) การพัฒนาใดๆ จะต้องไม่ทำลายความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ภูฏานจึงยกเลิกการค้าไม้กับต่างชาติ ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ป่าไม้ และปลูกเพิ่มเติม รวมถึง สัตว์ป่าก็ได้รับการดูแลอย่างดี โดย 26% ของพื้นที่ประเทศทั้งหมดถูกจำกัดให้เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า • ประการที่ 3 การส่งเสริมและสงวนรักษาวัฒนธรรมประเพณี (Preservation and Promotion of Culture) รัฐบาลก็จะส่งเสริมและให้ชาวภูฏานยึดถือและปฏิบัติตามแบบแผนดั้งเดิมที่เคยทำกันมา เช่นวัฒนธรรมการแต่งกาย การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ความเชื่อและการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่ส่วนวัฒนธรรมตามกระแสทุนนิยม รัฐบาลเองต้องเป็นคนคัดเลือกที่จะรับและผ่อนปรนในเกณฑ์ปฏิบัติ รวมทั้งการให้การศึกษากับเด็กชาวภูฏาน ที่ต้องให้ความรู้ทางศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ควบคู่ไปกับตำราเรียนทางวิชาการด้วย • ประการที่ 4 การส่งเสริมการพัฒนาธรรมาภิบาล (Good Governance) คือเน้นให้ชาวภูฏานดำรงชีวิตบนพื้นฐานที่จะช่วย พัฒนาสังคมทั้งระบบให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพโดยยึดถือหลัก 6 ประการ เช่นความซื่อสัตย์สุจริต ความมีคุณธรรมจริยธรรม เป็นต้น
• ปัจจุบันภูฏานมีประชากรราว 2.2 ล้านคน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และ 90% ทำงานในภาคเกษตรกรรม ซึ่งหากจะวัดดัชนีความร่ำรวยจาก GDP หรือ GNP แล้ว ภูฏานจัดอยู่ในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกเป็นลำดับที่ 191 จากจำนวน 226 ประเทศ แต่ชาวภูฏานทุกคนจะมีที่ดินทำกินที่รัฐบาลจัดสรรให้ 10 ไร่ ภายใต้การปกครองที่มุ่งการพัฒนาให้ประชาชนมีความสุขมากกว่าอย่างอื่น • ตัวอย่างหนึ่งของปรัชญา GNH ก็คือ นโยบายจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามาในภูฏานในแต่ละปี แม้ภูฏานจะมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยวแต่ก็ระมัดระวังในการเปิดประตูรับ ผู้คนและไม่ยอมแปรประเทศให้เป็นทุนเหมือนประเทศอื่นที่มุ่งเน้นการขาย วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเพื่อแลกกับเงินตราต่างประเทศอย่างไม่ลืมหูลืมตา ภูฏานยังเน้นการรักษาป่าไม้ไว้ได้ถึงร้อยละ 66 และเก็บภาษีท่องเที่ยวต่อหัวถึงวันละ 200 เหรียญสหรัฐ เพื่อจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวไม่ให้เกินปีละ 8,000 คน ดังนั้นการเดินทางไปท่องเที่ยวภูฏานจึงมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็คุ้มค่าเมื่อแลกกับสภาพธรรมชาติและวัฒนธรรมที่ยังได้รับการดูแลรักษา ไว้อย่างดี • นโยบายการปลูกป่าทดแทนอย่างเคร่งครัดเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทำให้ภูฏานยังมีพื้นที่ป่ามากกว่าร้อยละ 70 ของประเทศ , นโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป และยังคงมีหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเข้ามาลงทุนของนักธุรกิจจากต่างประเทศ เพื่อรักษาแนวทางการพัฒนาของประเทศภูฏาน โดยยึดหลักความสุขมวลรวมประชาชาติไว้ • แต่ GNH ของภูฏานก็ยังมีปัญหาอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เนื่องจากทางรัฐบาลภูฏานเองก็ยังมิได้มีการพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุข หรือกำหนดองค์ประกอบของความสุขมวลรวมประชาชาติหรือความสุขของปัจเจกบุคคลและไม่มีการพัฒนาตัวชี้วัดทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ และวิธีการรวบรวมคำนวณวัดออกมาอย่างลงตัว • การดำเนินนโยบายตามแนวทางเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติของรัฐบาลภูฏานในทุกวันนี้นั้น เป็นไปในรูปแบบของการพัฒนาประเทศโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมประเพณีของคนในท้องถิ่น รวมทั้งพยายามปลูกฝังคุณค่าของแนวคิดเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติให้แก่ประชาชนรุ่นใหม่โดยผ่านทางระบบการศึกษาและสื่อแห่งชาติ โดยสอดคล้องกับคำสอนของศาสนาพุทธที่ว่า ความสุขที่แท้จริงมิได้เกิดจากการบริโภควัตถุ แต่เกิดจากสภาวะทางจิต และกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นเพียงปัจจัยสนับสนุนให้มนุษย์มีชีวิตที่ดีงาม
|
|
|