ราชวงศ์ภูฎาน ราชวงศ์วังชุกภูฏาน
• มหาบุรุษ “คุรุรินโปเช” ผู้สถาปนาศาสนจักร
• ย้อนไปในพุทธศตวรรษที่ 12 เพ่งมองไปที่แผ่นดินตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัยติดต่อกับทิเบต ในขณะนั้นมิมีใครที่จะล่วงรู้ได้ว่ามีชนพื้นถิ่นใดหรือมีผู้ใดอยู่อาศัยมาก่อนทราบกันแต่เพียงว่ามีลามะจากทิเบตนามว่า คุรุรินโปเช รอมแรมมาถึงดินแดนถิ่นนี้ และต่อมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน “คุรุรินโปเช” ท่านนี้ เป็นที่รู้จักของชาวภูฏานในนามว่า ปัทมสัมภาวะ หรือ ปัทมสมภพ (แปลว่า : เกิดในดอกบัว) จากเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่าลามะท่านนี้ได้ใช้วิทยายุทธ์และอิทธิฤทธิ์อิทธิเดชสู้รบกับศัตรูผู้มาแก่งแย่งช่วงชิงดินแดน ไม่ว่าจะเป็นลามะรูปอื่นๆจนกระทั่งแม้ทูตผีปีศาจ ในที่สุดท่านได้รับชัยชนะและลงหลักปักฐาน ณ ดินแดนแห่งนี้สำเร็จ พร้อมกับการเป็นเจ้าชีวิตเจ้าพิธีกรรม หยั่งรากฝังลึกลัทธิตันตระ-วัชรยาน จนกลายเป็นวิถีชีวิตของชาวภูฏานมาจนถึงทุกวันนี้
• ปัทมสัมภาวะ หรือ ปัทมสมภพ อันหมายถึง ผู้ที่เกิดในดอกบัว เป็นชื่อเรียกขานจากตำนาน ส่วน “คุรุรินโปเช” เป็นสมญานามของท่าน (ต่อมาเป็นชื่อชั้นในคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่)
• รินโปเช หรือ ริมโปเช หมายถึง พระลามะผู้เป็นพระอาจารย์ผู้ได้รับการเคารพบูชาอย่างสูงส่ง ผู้เป็นพระราชาคณะชั้นสูง ใช้กับพระลามะที่เชื่อกันว่าอวตาร (ผู้แบ่งภาคมาเกิด) เท่านั้น โดยไม่ระบุแน่ชัดว่าอวตารมาจากผู้ใด
• คุรุรินโปเช ผู้ให้กำเนิดของพุทธตันตระ-วัชรยานในภูฏาน ส่วน ปัทมสมภพ หรือ คุรุรินโปเช เป็นชาวอินเดีย เป็นลามะผู้สอนรหัสยลัทธิในมหาวิทยาลัยนาลันทาอินเดียตอนเหนือ และเป็นผู้เผยแผ่พุทธตันตระ-วัชรยานในภูฏาน ต่อมาคุรุรินโปเชท่านนี้ได้รับการสักการะบูชาในฐานะพระพุทธเจ้าองค์ที่สองตามความเชื่อของชาวภูฏาน มีเรื่องเล่าขานสืบต่อกันมาจนกลายเป็นตำนานดินแดนภูฏานว่า
• ปัทมสมภพ หรือ คุรุรินโปเช เกิดตามคำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าว่า หลังพุทธปรินิพพานจะมีมหาบุรุษนามว่า ปัทมะ มาจุติในดอกบัวในทะเลดิเมโกษะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอุเกนยุลเมืองหลวงของโอติยานะ (ปัจจุบันอยู่ในปากีสถาน) และจะได้เป็นพระราชาแห่งศาสนจักร คำพยากรณ์กล่าวต่อไปว่าก่อนจะมีชื่อเสียงท่านจะถูกพระเจ้าอินทโพธิกษัตริย์จักษุบอด ผู้เป็นพระราชบิดาเลี้ยงเนรเทศ เพราะพระองค์หวังจะให้ปัทมสมภพสืบทอดราชบัลลังก์ แต่ปัทมสมภพกลับขัดขืนเพราะต้องการจะออกบวช เรื่องราวที่บันทึกสืบต่อกันมา อาจจงใจจะให้คล้ายคลึงกับประวัติพระพุทธเจ้า ต้องไม่ลืมว่าปัจจุบันท่านปัทมสมภพรินโปเชได้รับการยกย่องสักการบูชาในฐานะพระพุทธเจ้าองค์ที่สองของชาวภูฏาน
• เมื่อปัทมสมภพรินโปเชหนีการสืบราชบัลลังก์ออกมาบำเพ็ญเพียรในป่า ได้ใช้อิทธิฤทธิ์ปราบภูตผีปีศาจที่เป็นมารขัดขวางการเผยแผ่พระพุทธศาสนานับครั้งไม่ถ้วน ก่อนที่จะบรรลุเป็นคุรุรินโปเชและออกไปเผยแผ่ธรรมในทิเบต ดินแดนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปไม่ถึง จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์พระเจ้าจักกยาลโปรบพุ่งกับกษัตริย์นวราชที่โล-มอน ดินแดนภาคใต้ในทิเบต (ภูฏานในปัจจุบัน) พระเจ้าจักยาลโปสูญเสียพระโอรสไปในสนามรบ พระองค์เศร้าเสียพระทัยและสาปแช่งภูตผี รวมทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ไม่อำนวยช่วยเหลือ ความทราบถึงคุรุปัทมสมภพ ได้รับนิมนต์มาช่วยปราบภูตผีวิญญาณร้ายจนราบคาบ ผู้ที่เป็นผู้ช่วยท่านคุรุปัทมสมภพในการปราบผีร้ายคราวนั้นเป็นสุภาพสตรีนามว่า ซุงมา หรือ ตันตรเทวี
• สิ่งที่ท่านได้รับพระราชทานรางวัลเป็นการตอบแทนจากพระเจ้าจักกยาลโป คือ พระราชธิดาคนงามของพระองค์พระนามว่า ลาซิก พุมเดน โซโม ผู้ที่มีลักษณะแห่ง “ฑากิณี” 21 ประการ (ฑากิณี คือ ยักษิณีที่ใจดี แต่ฮินดูว่าเป็นหญิงโขมด บริวารของนางกาลี) การที่พระลามะชั้นสูงจะมีสตรีคู่บารมี หรือมีหญิงสาวคู่เคียงคู่เสน่หา ไม่ใช่เรื่องแปลก หลังจากนั้นคุรุปัทมสมภพได้บำเพ็ญสมาธิในถ้ำวัชรคูหา 2 วัน โดยมีสตรีงาม ลาซิก พุมเดน โซโม คอยปรนนิบัติรับใช้ จนบรรลุคุณวิเศษระดับสุดยอดบรรลุฌานถึงขั้นเหาะเหินเดินอากาศได้ และออกมาปัดเป่ารังควานบ้านเมือง โดยใช้พลังอำนาจของลัทธิตันตระจนพระเจ้าจักกยาลโปหายจากประชวร ต่อมาเกิดความสมานฉันท์ระหว่างกษัตริย์ที่รบกันมา และต่างนับถือคุรุปัทมสมภพและลัทธิตันตระเป็นหนึ่งเดียวกัน
• ปัทมสมภพ หรือ คุรุรินโปเช จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานทางศาสนจักร-ตันตระ ในดินแดนตอนใต้ของภูฏานในปัจจุบัน จึงไม่น่าแปลกใจที่ ปัทมสมภพ หรือ คุรุรินโปเช กลายเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สักการบูชาของชาวภูฏานสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
• ภายใน ซอง อันเป็นอารามและป้อมปราการอเนกประสงค์รวมทั้งวัดวาอารามต่างๆในภูฏานจะมีรูปปั้นของคุรุปัทมสมภพ 8 ปาง ไว้ให้คนเคารพกราบไหว้ ในฐานะผู้มีคุณสูงสุด 8 ประการ คือ
1.ผู้อำนวยสุขแก่โลกทั้งสาม
2.ผู้คุ้มครองให้พ้นภยันตรายทั้งปวง
3.ผู้เป็นเจ้าแห่งคัมภีร์ตันตระ-วัชรยาน
4.ผู้โอบอุ้มปลอบโยนชาวโลก
5.ผู้ตรัสรู้พบแสงสว่างแห่งปัญญา
6.ผู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สอง
7.ผู้ประกาศพุทธศาสนาตันตระ-วัชรยาน
8.ผู้ประทานปัญญาอันล้ำเลิศ
• ในพุทธศตวรรษที่ 13 ได้มีลามะจากทิเบตมาร่วมสืบสานพุทธมหายานตันตระ-วัชรยานในดินแดนภูฏาน ระดมพระและผู้คนก่อสร้างซอง ซึ่งเป็นทั้งป้อมปราการ ที่พักและที่ทำงานทางด้านศาสนจักรและอาณาจักร รวมทั้งวัดวาอาราม ด้านทิศตะวันตกของภูฏาน จนลัทธิตันตระ-วัชรยานหยั่งรากฝังลึกไปในดินแดนแห่งนี้
• ในปี พ.ศ. 1763 ลามะปาโช หรือต่อมาคือ ปาโชดรุกอมโชโป เดินทางจากทิเบตมาเผยแผ่พระพุทธศาสนามหายานนิกายดรุกปะกัคยุที่ดินแดนแถบนี้ ถูกลามะ 5 รูป ที่มาตั้งหลักปักฐานอยู่ก่อนแล้วขับไล่เกิดการต่อสู้กัน ปรากฏว่าลามะปาโชมีพลังอำนาจเหนือกว่า ลามะทั้ง 5 รูปจึงหนีหายไป ท่านลามะปาโชจึงได้รับการยอมรับนับถือมากจากคนพื้นถิ่น
• ตามประวัติกล่าวไว้ว่า ลามะปาโช เดินทางมาก็เพื่อติดตามอาจารย์สังปะกยาเกล ที่เมืองดรุกราลุง เมื่อทราบว่าอาจารย์ได้มรณะไปก่อนแล้วจึงได้รับคำแนะนำจากศิษย์ไปศึกษาในสำนักทางตะวันตกจนสำเร็จ แล้วจึงได้ออกเดินทางเผยแผ่ธรรมในภูฏาน ระหว่างทางได้ปราบปีศาจร้ายในร่างจามรีจนสาบสูญไป ผู้คนที่พบเห็นต่างเลื่อมใสเข้าฝากตัวเป็นสาวก แล้วออกเผยแผ่ธรรมมาทางเมืองทิมพูในปัจจุบัน ขณะเดินทางได้พบรักกับสตรีที่มีลักษณะ “ฑากิณี” จึงแต่งงานกันจนมีลูกชาย 4 คน หญิง 1 คน กล่าวกันว่าลามะปาโชสร้างศรัทธาธรรมอย่างกว้างขวาง ทั้งมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ในการปราบปีศาจร้ายเป็นที่เลื่องลือของชาวบ้าน แต่ลามะปาโชก็พบจุดจบจากการโดนวางยาพิษในปี พ.ศ. 1819 จากลามะทั้ง 5 ซึ่งย้อนมาล่าชีวิตหลังจากเคยหนีหัวซุกหัวซุนมาแล้ว อย่างไรก็ตาม ลามะปาโช ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบทอดศาสนจักรในภูฏาน โดยการสร้าง “ซอง” ให้ลูกชายทั้ง 4 ไปพำนักและครอบครองเมืองคนละเมืองไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว
• ซับดรุง งาวังนัมเกล ผู้สถาปนาราชอาณาจักรภูฏาน
• งาวังนัมเกล เกิดที่ทิเบต เป็นบุตรของดุงเซมิพัมเทนปิ นยิมะ เล่าขานกันว่า เมื่อออกจากครรภ์มารดา ก็เกิดรุ้งกินน้ำบนท้องฟ้า หมู่เมฆกระจัดกระจายราวดอกไม้ปูประดับเวหา งาวังนัมเกล ได้ชื่อว่าเป็นผู้อวตารมาจากพระสังฆราชในนิกาย “ดรุกปะกัคยุ” ของทิเบต เป็นผู้มีสติปัญญาตั้งแต่เด็ก พออายุ 8 ขวบก็บวช และได้ฉายาว่า งาวังนัมเกล ศึกษาสรรพศาสตร์จนเชี่ยวชาญ พระสูตร-ตันตระ-กรรมฐาน-จริยศาสตร์-พิธีกรรมต่างๆ ตลอดจนถึงไวยกรณ์และอภิธานศัพท์ จากความปราดเปรื่องเกินมนุษย์ จึงกล่าวกันว่า งาวังนัมเกล เป็นอวตารแบ่งภาคมาเกิดจากปัทมะการ์โป และเป็นผู้ที่อยู่ในคำพยากรณ์ของคุรุปัทมสัมภาวะว่า บุรุษผู้ที่สมญานามว่า ดอร์จี (สายฟ้า) จะครองศาสนจักรอันศักดิ์สิทธิ์แห่งภูฏาน
• งาวังนัมเกล ขึ้นปกครองเมืองดรุกราลุงตั้งแต่อายุ 13 ขวบ แต่ก็ใช่ว่าจะปกครองแว่นแคว้นได้โดยสงบ โดยเฉพาะถิ่นที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดีของผู้นำนิกายต่างๆ ครั้งหนึ่ง สังเดสีพุนโชนัมเกล นำกำลังมาช่วงชิงพระบรมสารีริกธาตุไปได้ การเจรจาต่อรองของงาวังนัมเกลล้มเหลว จึงต้องออกจากเมืองดรุกราลุงไปเมืองกลาสา (ภูฏานตอนเหนือ) กอนวังโชแลม นำราษฎรเมืองกลาสามารับคำสอนทางพระพุทธศาสนาจาก งาวังนัมเกล จากนั้นงาวังนัมเกลออกจาริกเผยแผ่ธรรมมายังทิมพูและต่อมายังเมืองพาโร ความทราบถึงสังเดสีพุนโชนัมเกลว่า มีผู้คนเลื่อมใสศรัทธางาวังนัมเกลมากมาย ก็เกรงว่างาวังนัมเกลจะสั่งสมบารมีย้อนกลับมาโค่นล้มตน จึงส่งเสียงจากทิเบตว่า หากงาวังนัมเกลสั่งสมผู้คนจะตามมาราวีถึงที่ ว่าแล้วก็ยกกำลังมา เกิดการสู้รบกับกองกำลังของฝ่ายงาวังนัมเกล ทหารของเดสีพุนโชล้มตายเป็นเบือต้องหนีกระเซอะกระเซิงกลับไปถิ่นทิเบต
• การศึกครั้งนี้ก็เป็นที่ร่ำลือกันว่า งาวังนัมเกล ชนะศึกด้วยวิทยายุทธ์และอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ดุจเทพเจ้า หลังชนะศึก งาวังนัมเกลย้อนกลับมายังเมืองทิมพู เชวังเทนชินแห่งทังคุซอง ให้การต้อนรับและมอบทังคุซองให้ งาวังนัมเกล เป็นที่พำนักเผยแผ่ธรรม ด้วยความเป็นลามะที่มีความสามารถและอิทธิฤทธิ์สูงส่ง งาวังนัมเกล จึงได้รวบรวมแคว้นน้อยใหญ่ตามหุบเขาเป็นอาณาจักรเดียว มีศูนย์กลางอยู่ทางทิศเหนือของหุบเขาเมืองทิมพู ด้วยความเก่งกล้าสามารถ จึงได้รับสมญานามว่า “ซับดรุง”(ออกเสียงตามชาวภูฏาน) มีความหมายว่า “ผ็ที่ทุกคนยอมศิโรราบแทบเท้า” เชวังเทนซิน มอบทังคุซองให้พร้อมพระอวโลกิเตศวรสลักไม้จันทน์เป็นการคารวะ กษัตริย์เนปาลถวายสถูปโพธินาถและสถูปสวยัมภูวนาถ ขณะเดียวกัน งาวังนัมเกล ได้อภิเษกสมรสกับนางซัม ดอลการ์ โครมา และมีโอรสซึ่งเป็นผู้สืบทอดทางศาสนาในเวลาต่อมา ซับดรุง งาวังนัมเกล ได้บัญชาการสร้าง ซอง ขึ้นหลายแห่ง (ซอง หรือ ซง เรียกตามการออกเสียงของชาวภูฏาน) เป็นทั้งอารามวัดและป้อมปราการป้องกันหรือใช้ในการโจมตีหรือต่อต้านการรุกรานของข้าศึกปี
ปี พ.ศ.2163 สร้างเชอรีดอร์จีซอง
ปี พ.ศ.2172 สร้างสิมโทชาซอง
ปี พ.ศ.2182 สร้างพูนาคาซอง ตรงแม่น้ำโพ(แม่น้ำพ่อ) และแม่น้ำโม(แม่น้ำแม่) ไหลมาบรรจบกัน (เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเลื่องลือในปัจจุบัน)
• ทรงย้ายศูนย์การบริหารคณะสงฆ์จากเชอรีดอร์จีซองมายังพูนาคา ยกเมืองพูนาคาขึ้นเป็นเมืองหลวงของภูฏาน และในที่สุดก็สถาปนาอาณาจักรดรุกยุลขึ้นมา และสถาปนาตนเองเป็นปฐมสังฆราชา
• อาณาจักรดรุกยุล หรือดินแดนมังกรสายฟ้า หรือมังกรฟ้าคำราม จึงเป็นชื่อที่คนท้องถิ่นเรียกชื่อประเทศของเขาว่า ดรุกยุล มาจนถึงทุกวันนี้ และเรียกศาสนาในนิกายที่ตนนับถือว่า “ดรุกปา”(ดรุกปะกัคยุ) เป็นชื่อศาสนาประจำชาติ ดรุก คือ ภูฏาน ยุล อีกนัยหนึ่งหมายถึง ชัยชนะ
• ซับดรุง งาวังนัมเกล ได้วางรากฐานทางการปกครองของเฉพาะภูฏานเป็นเบื้องต้นขึ้น ให้ฝ่ายศาสนจักรมีสังฆราชาหรือ เจเคนโป เป็นประมุข ฝ่ายอาณาจักรมีกษัตริย์เป็นประมุข ผู้ปกครองส่วนท้องถิ่นมีเจ้าอาวาสเรียกว่า เดซี เป็นผู้นำภายใต้กฎหมาย 2 ฉบับ คือ กฎหมายทางใจและกฎหมายทางโลก ซึ่งมีกฎข้อบังคับและโทษหนักเบาลดหลั่นกันไป ในท่ามกลางหิมะและลมหนาวยะเยือก ยามนั้นพูนาคาซองจะเป็นที่ประทับของ เจเคนโป พร้อมคณะบริหารสงฆ์ส่วนกลาง เจเคนโป คือ พระลามะที่มีตำแหน่งบริหารบ้านเมืองสูงสุด บางองค์ก็เป็นผู้อวตารโดยไม่มีประวัติว่าอวตารมาจากผู้ใด บางองค์ก็มิได้เป็นอวตาร
• ชีวิตในมุมหนึ่งของซับดรุง งาวังนัมเกล ถูกกล่าวขวัญไว้ในหนังสือของรัฐบาลภูฏานอย่างเลิศเลอ ในฐานะผู้มีอิทธิฤทธิ์ปราบผีร้ายที่มาขัดขวางการสร้างซองหรือการเผยแผ่ธรรม ผีหรือมารร้ายที่มีตัวตนนัยหนึ่งนั้นก็คือ สานุศิษย์ของลามะสังเดสีพุนโชนัมเกลที่สาวกทั้ง 5 เคยพ่ายแพ้ยับเยินไปนั่นเอง แต่ก็ส่งศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่าเข้ามาราวีไม่วายเว้น มีครั้งหนึ่งเมื่องาวังนัมเกลไปบัญชาการสร้างซองที่เมืองซิมโทกา ก็ถูกข้าศึกก๊กนี้เข้าโอบล้อมรอบซองอยู่หลายวันเพื่อตัดเสบียง แต่ ซับดรุง งาวังนัมเกลก็อาศัยอิทธิฤทธิ์ขับไล่ศัตรูเจ้าเก่าหนีไปได้อีก และสร้างซิมโทกาซองจนสำเร็จในปี พ.ศ.2172 ณ เมืองนี้ ซับดรุง งาวังนัมเกล ได้บุตรชายที่เกิดจากนางทสีซัมดอลการ์โคมาเป็นรางวัล และตั้งนามบุตรชายว่า จัมเปลดอร์จี เมื่อเติบใหญ่ก็ให้เล่าเรียนศิลปศาสตร์แขนงต่างๆรวมทั้งพุทธศาสนานิกายดรุกปา หรือ ดรุกปะกัดยุ อันเป็นศาสนาประจำชาติภูฏานสืบต่อมา แม้ซับดรุง งาวังนัมเกล จะเอาชนะศัตรูและภูตผีปีศาจมาแทบนับครั้งไม่ถ้วน แต่ท่านก็สิ้นชีพในปี พ.ศ.2196 ในขณะมีอายุเพียง 54 ปีเท่านั้น ด้วยโรคฝีดาษ
• ความตายของ งาวังนัมเกล ถูกปิดเป็นความลับนานราว 54 ปีจึงเปิดเผยสู่โลกภายนอก ศพงาวังนัมเกลบรรจุไว้ที่พูนาคา ซอง แม้ว่าพูนาคา ซอง จะถูกศัตรูบุกเผาถึง 5 ครั้ง แต่ศพของงาวังนัมเกลก็ยังคงสภาพอยู่ได้เพราะถูกเก็บไว้ในหลืบนิรภัยภายในซองยากที่ใครจะทำลายได้ เมื่อลามะสังเดสีพุนโชนัมเกลทราบว่าศัตรูคู่อาฆาตมรณภาพก็ล้างบาปทางกายและทางใจที่มีซับดรุง งาวังนัมเกล ด้วยการสร้างเหรียญจารึกมันตระด้วยมนตรา 16 บท มีข้อความยกย่องตนเองข่มผู้อื่น และการจะเป็นผู้ยกระดับคำสอนของนิกายดรุกปาสืบต่อไป
• เมื่อข่าวการมรณภาพของ ซับดรุง งาวังนัมเกล แพร่ออกไปในกาลต่อมา ความระส่ำระสายในบ้านเมืองก็เกิดขึ้น ผู้สืบทอดตำแหน่งไม่ได้รับความเชื่อถือจากบรรดาผู้นำหัวเมืองเหมือนที่เคยเป็นมา ศูนย์กลางแห่งอำนาจเริ่มสั่นคลอน ในช่วงเวลานั้นจักรวรรดินิยมอังกฤษได้เคลื่อนทัพมายังดินแดนแถบนี้ เกิดการสู้รบระหว่างชายแดนรอยต่อของรัฐเบงกอล-อัสสัมของอินเดียและบริเวณตอนใต้ของภูฏาน
• การสู้รบดำเนินอยู่ราวสองปี (ระหว่างปี พ.ศ.2407-2408) ภูฏานอยู่ในยุทธภูมิที่ดีกว่า และเชี่ยวชาญการรบในหุบเขาจึงสามารถต้านทานการรุกรานของอังกฤษไว้ได้ วีรบุรุษแห่งการสู้รบในครั้งนั้นคือ เพนลอปจิกมี นัมเกล วังชุก ผู้นำฝ่ายฆราวาสจากเมืองตองสา
• ราชวงศ์ภูฏาน : ยุคราชวงศ์วังชุก
• เริ่มต้นนับจากท่าน อูเก็น วังชุก ( Ugyen Wangchuk) บุตรชายของท่านจิกมี นัมเกล (Jigme Namgyel ค.ศ. 1825 - 1882)
• จิกมี นัมเกล วังชุก เจ้าเมืองตองสา เมื่อชนะศึกภายนอกแล้วก็ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำฝ่ายฆราวาส แต่ศึกภายในยังไม่สงบ ได้เกิดความขัดแย้งกับสังฆราชาผู้นำศาสนจักรในขณะนั้น ไม่ลงรอยกันในการปกครองเมืองพาโร ทำให้เกิดการสู้รบกัน ชาวดรุกยุลส่วนมากเข้าร่วมสนับสนุน จิกมี นัมเกล ร่วมรบเต็มกำลัง เมื่อจิกมี นัมเกล ได้รับชัยชนะจึงแต่งตั้งให้ อุเกน วังชุก บุตรชายเป็นเจ้าเมืองพาโร แต่บรรดาแว่นแคว้นก็ยังไม่ยอมสยบ จิกมี นัมเกล จึงนำกำลังออกปราบจนราบคาบ และได้อำนาจการปกครองอย่างเบ็ดเสร็จ หลังจากรวมเมืองใหญ่น้อยเป็นหนึ่งเดียว จิกมี นัมเกล วังชุก จึงเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์วังชุก โดยมี อุเกน วังชุก ผู้ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับบิดาร่วมปกครองเมืองสำคัญ เป็นรัชทายาท
• ต่อมาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2440 คณะสงฆ์ที่ปรึกษาแห่งรัฐและผู้ปกครองเมืองต่างๆรวมทั้งราษฎรต่างก็ยินยอมพร้อมใจมาขุมนุมที่เมืองพูนาคาลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ อุเกน วังชุก เป็นพระราชาธิบดีองค์ที่ 2 แห่งราชอาณาจักรภูฏาน ในช่วงของรัชกาลที่ 1 จิกมี นัมเกล วังชุก และ รัชกาลที่ 2 อุเกน วังชุก ภูฏานยังเป็นเมืองปิด ยังไม่มีการติดต่อทางการค้ากับต่างประเทศ จะมีบ้างก็เป็นตัวแทนจากบริษัทอีสต์อินเดียเข้ามาเพื่อหาลู่ทางการค้าเท่านั้น
• อุเกน วังชุก สวรรคตในปี พ.ศ.2468 พระราชโอรสพระนามว่า จิกมี ดอร์จี วังชุก ขึ้นครองราชย์ต่อจากบิดาเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในปี พ.ศ. 2495 สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 3 จิกมี ดอร์จี วังชุก ทรงได้สมญานามว่า “พระบิดาแห่งภูฏานยุคใหม่” พระองค์นำภูฏานเข้าสู่แผนพัฒนาแห่งชาติแห่งชาติ ทรงเปิดรับวิทยาการสมัยใหม่
1.ส่งนักเรียนไปศึกษาประเทศ
2.พัฒนาด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
3.เริ่มมีการคมนาคมโดยรถยนต์
4.มีธรรมนูญการปกครองประเทศ
5.จัดตั้งสภาแห่งชาติ
6.เปิดรับการค้าและการช่วยเหลือจากต่างประเทศจากการนำประเทศเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2514 และทรงพยายามปรับปรุงมาตรฐานชีวิตของชาวภูฏานตลอดมา
• แต่พระราชาธิบดี จิกมี ดอร์จี วังชุก ก็มีพระชนมายุสั้น พระองค์สวรรคตที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2515
จิกมี ซิงเย วังชุก มกุฎราชกุมาร เข้าสู่พระราชพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2517 เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 4 ขณะมีพระชนมายุ 18 พรรษา ท่ามกลางอาคันตุกะผู้มีเกียรติจากนานาประเทศ ในท่ามกลางพระราชพิธีทางโหราศาสตร์ ศาสนศาสตร์ และจารีตประเพณีแต่โบราณกาล หลังจากขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก ได้รับการขนานนามว่าเป็น“พระบิดาแห่งปวงชน” จากการที่ทรงมีนโยบายยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาประเทศ
• สมเด็จพระราชาธิบดีที่ 4 เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระราชาธิบดีที่ 3 จิกมี ดอร์จี วังชุก และพระราชินีอาชิ เยซาง โชเดน วังชุก ประสูติเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ได้รับการศึกษาทางด้านจารีตประเพณี ทั้งทางราชอาณาจักรและทางศาสนา ทรงศึกษาต่อที่เซนต์โยเซฟคอลเลจ เมืองดาร์จีลิง ประเทศอินเดีย เข้าศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ จากนั้นกลับมาศึกษาที่สถานศึกษาอูเก็น วังชุก
• สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งภูฏานได้ประกาศพระราโชบายในการปกครองประเทศ โดยการวัดความสำเร็จของประเทศจากความสุขมวลรวมของประชาชาติ (GNH-Gross National Happiness) เป็นสำคัญ
• จากการสำรวจรายได้มวลรวม ชนชาวภูฏานจะมีระดับรายได้ อันดับ 191 ของโลก แต่จากการสำราจความสุขมวลรวมของประชาชนแต่ละประเทศในโลก ซึ่งจัดทำโดยมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ของอังกฤษ เปิดเผยเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ปรากฏว่า ประเทศภูฏานอยู่อันดับ 8 ของชนชาติที่มีความสุขที่สุดในโลก โดยจัดอันดับดังนี้
1.ชาวเดนมาร์ก
2.สวิตเซอร์แลนด์
3.ออสเตรีย
4.ไอซ์แลนด์
5.บาฮามาส
6.ฟินแลนด์
7.สวีเดน
• ในขณะที่ไทยอยู่ในอันดับที่ 76 นักสำรวจได้ส่งแบบสอบถามในหัวข้อต่างๆมากกว่า 100 ข้อ เพื่อสอบถามผู้คนจากทั่วโลก 8,000 คน โดยให้วัดความสุขจากชีวิตความเป็นอยู่ ระบบสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ผลผลิตมวลรวม การศึกษา เป็นต้น ควบคู่กับการบำเพ็ญเพียรตามหลักศาสนา นั่นคือ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวภูฏาน ภูฏานได้กำหนดลงลึกนโยบาย 4 ประการ คือ
1.เศรษฐกิจพอเพียงตามแบบอย่างพระเจ้าอยู่หัวของไทย
2.การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
4. การปกครองโดยหลักธรรมาภิบาล
• ปี พ.ศ.2541 พระราชกฤษฎีกาผ่านการรับรองของสมัชชาแห่งชาติ กำหนดไว้ว่า สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี ซิงเย วังชุกจะไม่ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าสณะรัฐบาลอีกต่อไป มีหัวหน้ารัฐบาลคือ ประธานสภาคณะมนตรี ซึ่งคัดเลือกจากรัฐมนตรี 6 คน คือ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายใน รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขและการศึกษา โดยหมุนเวียนกันดำรงตำแหน่งประธานสภาคณะมนตรี คราวละ 1 ปี ปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่านายกรัฐมนตรี
• ปี พ.ศ.2548 ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกเสร็จสิ้น โดยศึกษารัฐธรรมนูญของไทยเป็นต้นแบบ เทียบเคียงกับรัฐธรรมนูญอีก 150 ประเทศ รัฐธรรมนูญภูฏานจะประกาศใช้ในปี พ.ศ.2551 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของพระมหากษัตริย์และอำนาจการบริหารประเทศของคณะรัฐมนตรีในระบอบรัฐสภา ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทน 75 คน วุฒิสภา 25 คน กำหนดให้มีพรรคการเมือง 2 พรรค กำหนดวาระการครองราชย์ของพระราชาธิบดีให้อยู่ในตำแหน่งจนถึงอายุ 65 พรรษา
• ภูฏานได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นวาระที่ภูฏานมีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นวันชาติภูฏาน สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ชิงเย นัมเกล วังชุก ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ และประกาศจะทรงสละราชบัลลังก์ให้กับมกุฎราชกุมาร จิกมี เคเชอร์ นัมเกล วังชุก ในปี พ.ศ.2551
• การประกาศสละราชบังลังก์ของพระราชาธิบดีจิกมี นัมเกล วังชุก ได้สร้างความตกตะลึงให้กับชาวภูฏานเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ชาวภูฏานยังคงเชื่อมั่นและศรัทธาในกษัตรยิ์ และมกุฏราชกุมาจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ซึ่งได้ประกอบพระราชกรณียกิจร่วมกับพระราชาธิบดีมาโดยตลอด อันที่จริงแล้ว ชาวภูฏานส่วนใหญ่ยังต้องการให้ภูฏานปกครองด้วยระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์ต่อไป เนื่องจากเกรงว่าเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอาจก่อให้เกิดปัญหาความวุ่นวายและการฉ้อราษฎร์บังหลวงภายในประเทศ เหมือนเช่นประเทศเพื่อนบ้าน
• การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในลักษณะค่อยเป็นไปของภูฏานดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องจากการที่ผู้นำประเทศเห็นว่า ภูฏานนั้นจำเป็นจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมโลกและปัญหาท้าทายใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถตอบสนองกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
• หลายประเทศเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยการปฏิวัติ แต่การปฏิรูปการปกครองในภูฏานกลับเริ่มต้นจากเบื้องบน โดยเน้นไปทางจำกัดอำนาจตัวเอง ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ให้อำนาจสมัชชา แห่งชาติในการบริหารประเทศ โดยมีจำนวน 150 คน ดำรงตำแหน่ง 3 ปี มีอำนาจใช้คะแนนเสียง 2 ใน 3 ถอดถอนกษัตริย์ได้
• ปัจจุบัน ราชอาณาจักรภูฏานมีองค์พระมหากษัตริย์เป็ประมุข ภายใต้การปกครอง โดย สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย นัมเกล วังชุก ทรงปกครองประเทศโดยมีคณะองคมนตรีเป็นที่ปรึกษา และสภาแห่งชาติที่เรียกว่า ซงดู (Tsongdu) ทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย ประกอบด้วยสมาชิก 151 คน
• สมัชชาแห่งชาตินั้น 105 ที่นั่งมาจากการเลือกตั้งระดับหมู่บ้าน 10 ที่นั่งมาจากตัวแทนศาสนา และ 55 ที่นั่ง มาจากการคัดเลือกของกษัตริย์ ทั้งหมดมีอำนาจในการรับรองคณะรัฐมนตรีที่กษัตริย์เป็นผู้เสนอชื่อหัวหน้าคณะรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล คณะรัฐมนตรีมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
• นิตยสารไทม์ ได้ประกาศยกย่องให้สมเด็จพระราชาธิบดีซิงเย วังชุก เป็น 1 ใน 100 ของบุคคลผู้ทรงอิทธิพลที่สุดของโลกในปี พ.ศ. 2549 ในฐานะที่ชีวิตและผลงานของพระองค์สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับชีวิตคนอื่นๆ ได้อย่างยอดเยี่ยม ชาวภูฏานต่างยึดมั่นในพุทธศาสนาและวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ได้อย่างเหนียวแน่น
• การขึ้นครองราชย์ในราชวงศ์ภูฏาน ในรัชสมัยราชวงศ์วังชุก
• ภายหลังการขึ้นครองราชย์บัลลังก์ภูฏาน กษัตริย์จิกมี ซิงเย วังชุก ได้เข้าสู่พระราชพิธีอภิเษกสมรสกับพระราชินีพร้อมกัน 4 องค์ คือ
1.พระราชินี ดอร์จี วังโม วังชุก
2.พระราชินี เชอริง เพม วังชุก
3.พระราชินี เชอริง ยังเดน วังชุก
4.พระราชินี ซังเก โชเดน วังชุก
• ทั้ง 4 พระองค์เป็นธิดาของ ยับอูเกน ดอร์จี ผู้บิดา และยุมทิน เล โซเตน ผู้เป็นมารดา ครอบครัวของพระองค์มีพี่น้องทั้งหมด 9 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 6 คน ทั้งสี่ คนเป็นธิดาคนที่ 3 ถึง คนที่ 6 ตามลำดับ
• อูเกน ดอร์จี ผู้บิดาเป็นนักธุรกิจใหญ่ มีกิจการค้าครอบคลุมไปทั้งภูฏาน และเป็นตัวแทนที่ชาวต่างประเทศจะมาค้าขายติดต่อขายด้วย ยุคแรกจะเป็นการค้าเกลือในแบบแลกเปลี่ยนสินค้า ต่อมาเป็นกิจการเหมืองแร่ และการส่งออกธุรกิจส่งออกพืชผักผลไม้ดอกไม้เมืองหนาวที่กำลังได้ผลในภูฏาน
• ชาวภูฏานจะไม่มีนามสกุล แต่เป็นที่รู้กันในหมู่บ้านหรือในชุมชนว่า ชื่อนั้น ชื่อนี้ สืบสายมาจากที่ไหนบ้าง ราชินีทั้ง 4 องค์ มีคำลงท้ายว่า วังชุก ตามชื่อที่ 3 ของกษัตริย์ซึ่งเป็นเสมือนชื่อราชวงศ์ ในภูฏานจะถ้าชายมีภรรยา 2-4 คน หรือมากกว่านั้น ถือเป็นเรื่องปกติ ในขณะเดียวกัน ถ้าฝ่ายหญิงก็จะสามารถมีสามี 2- 4 คนได้ และสามีหรือภรรยาส่วนที่เกินหนึ่งคนนั้น ก็มักจะเป็นญาติพี่น้องของฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายนั่นเอง และทุกคนต่างอยู่ในครัวเรือนเดียวกันอย่างสามัคคียิ่ง ตามราชประเพณีดั้งเดิม จึงถือว่า ราชินีทั้ง 4 พระองค์มีฐานะเป็นราชินีเท่าเทียมกัน มีศักดิ์และสิทธิ์เหมือนกันทุกประการ
• สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรภูฏาน ลำดับที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุกทรงได้รับการยกย่องจากชาวภูฏานรวมถึงชาวไทยส่วนใหญ่ว่าทรงมีพระจริยวัตรที่งดงาม และเป็นที่รักยิ่งของประชาชนชาวภูฏาน
• สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังซุก ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า จากการที่ทรงวางพระองค์อย่างเป็นกันเองในหมู่ประชาชน จึงสร้างความประทับใจแก่พสกนิกรอย่างสูง ถึงแม้ว่าพระองค์ไม่ต้องทรงรับพระราชภารกิจการบริหารประเทศ เนื่องจากสมเด็จพระราชบิดาได้ทรงวางระบอบปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นมาอยู่ ก่อนแล้ว แต่พระองค์เองก็ยังทรงเป็นสัญลักษณ์สำคัญ ในการสร้างเอกภาพและเสถียรภาพ ในประเทศที่มีประชากรเพียง 650,000 คน โดยมุ่งเน้นด้านความสุขมวลรวมของประชากรภายในประเทศเป็นสำคัญ
• สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงฉลองพระองค์สีแดงทองที่เป็นชุดคลุมยาวปิดเข่าอันเรียกกันว่า "โฆ" ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของชายชาวภูฏาน ทรงประทับนั่งบนบัลลังก์ทองคำ พระพักตร์เคร่งขรึม แต่ก็ทรงแย้มพระสรวลเล็กน้อยขณะทรงรับเครื่องถวายแด่สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ ใหม่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และยังทรงมีพระบรมราโชวาทแก่พสกนิกรหลายพันคนที่มาเข้าเฝ้าพระองค์ในตอนบ่าย ของวันเดียวกันว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการสิ่งใด" "สิ่งที่สำคัญสำหรับข้าพเจ้าคือความหวังและความมุ่งมาดปรารถนาของ ประชาชน และพระชนมายุอันยืนยาวและพระพลานามัยอันแข็งแรงสำหรับสมเด็จพระราชบิดา จิกมี ซิงเย วังชุก ของข้าพเจ้า" "ในโอกาสอันพิเศษยิ่งนี้ ขอให้ร่วมกันสวดมนต์และขออธิษฐานขอให้แสงตะวันเฉิดฉันแห่งความสุขจะสาดส่อง ลงมาที่ประเทศชาติของเราเสมอไป"
• นอกจากประชาชนหลายพันคนที่มารวมตัวกันถวายพระพรแด่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ซึ่งประกอบพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ยังมีแขกสำคัญที่ร่วมในพิธีดังกล่าวคือ ประธานาธิบดีประติภา ปาติลแห่งอินเดีย และนางโซเนีย คานธี นักการเมืองคนสำคัญของอินเดียพร้อมด้วยบุตรธิดา เนื่องจากครอบครัวคานธีนั้นมีความสนิทชิดเชื้อกับราชวงศ์ภูฏาน
ตองสา (Tongsa) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์วังชุก |
|
|
|
|
• เมืองตองสา (Tongsa) แหล่งกำเนิดของราชวงศ์วังชุก • ตองสา แปลว่า หมู่บ้านใหม่ อยู่ในภูฏานตอนกลาง ตั้งอยู่บนความสูง 2,200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ในอดีต ตองสาเปรียบเสมือนเมืองหลวงอีกแห่งหนึ่งของภูฏาน ด้วยป้อมปราการแห่งนี้ปกครองโดยเจ้าเมืองผู้สืบทอดมาเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์วังชุกในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ มกุฏราชกุมารแห่งราชวงศ์วังชุกทุกคน จะได้ครองตำแหน่งผู้ปกครองเขตตองสา ซึ่งเรียกว่า โชเสะ เป็นลอป (Choetse Penlop) • ตามประวัติกล่าวว่า พระลามะงากิ วังชุก (Ngagi Wangchuck) ในระหว่าง ค.ศ.1517-1554 ซึ่งเป็นปู่ทวดของซับดรุง งาวัง นัมเกล ได้สร้างวัดเล็กๆ ขึ้นที่หุบเขาแห่งนี้เมื่อปี ค.ศ. 1543 โดยได้สร้างวัดเป็นรูปร่างขึ้นมาได้ก็เพราะเกิดจากการนั่งวิปัสนากรรมฐานของท่าน ได้เห็นลำแสงเลยเดินไปตามนั้น ซึ่งท่านถือเป็นนิมิตหมายในการสร้างวัดตรงที่ลำแสงนั้นหยุดนิ่ง • ต่อมา ในปีค.ศ. 1647 ซับดรุง งาวัง นัมเกลได้เล็งเห็นการขยายอิทธิพลมาฝั่งตะวันออกของประเทศ จึงสร้างซองขึ้นในที่ที่บรรพบุรุษของท่านได้สร้างวัดไว้ จากนั้นมีการต่อเติมขยับขยายในหลายยุคหลายสมัย และยังได้รับการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหม่ในรัชสมัยขององค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ชุก
• ตองสา เป็นเมืองกำเนิดของพระราชวงศ์วังชุก • ซึ่งเริ่มจากปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์วังชุก (ค.ศ. 1907-1926) เดิมเป็นเจ้าเมืองตองสามาก่อน กษัตริย์ภูฏานถึงสองพระองค์ทรงเป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองนี้จนเป็นธรรมเนียมว่า มกุฏราชกุมารของภูฏาน จะต้องได้รับตำแหนงเจ้าเมืองตองสาก่อนที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ผู้ปกครองฝ่ายสงฆ์จะมพำนักที่เมืองตองสาในฤดูหนาว และย้ายไปอยู่ที่เมืองบุมทังในฤดูร้อน เดิมทีเมืองนี้มีชาวทิเบตอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก แต่นานวันเข้าชาวทิเบตก็ถูกกลืนด้วยวัฒนธรรมภูฏาน จนกระทั่งในที่สุด ก็ไม่เหลือร่องรอยของชาวทิเบตในเมืองนี้อีกเลย • หลังจากที่ท่านซับดรุง มรณภาพในปี ค.ศ. 1651 บ้านเมืองระส่ำระสายอีกครั้ง มีสงครามกลางเมืองแย่งชิงความเป็นใหญ่ ครั้นพอถึงปลายศตวรรษที่ 19 อำนาจการปกครองแบ่งแยกออกเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ๆ ฝ่ายหนึ่งมีผู้ว่าราชการปาโร (Paro Penlop) ครอบครองพื้นที่ซีกตะวันตก ในขณะที่ผู้ว่าการตองสา (Tongsa Penlop) ชื่อว่า จิกมี นัมเกล (Jigme Namgyel) ครอบครองพื้นที่ภาคกลางตลอดจนซีกตะวันออกของประเทศ • เนื่องด้วยอุกเยน วังชุก (Ugyen Wangchuck) ได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตองสาสืบต่อจากจิกมี นัมเกล ผู้เป็นบิดา อีกทั้งอุกเยน วังชุก สามารถรวบรวมอาณาจักรภูฏานเข้าเป็นปึกแผ่นเดียวกันอีกครั้ง ดังนั้น ในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1907 จึงได้รับเลือกเป็นเอกฉันท์ให้เป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งประเทศภูฏาน ซึ่งตามธรรมเนียมข้างต้น มกุฏราชกุมารแห่งราชวงศ์วังชุกทุกพระองค์จะทรงดำรงพระยศเป็น “ผู้ว่าการตองสา” (Tongsa Penlop) ควบคู่ไปอีกหนึ่งตำแหน่ง • ในศตวรรษที่ 19 ที่นี่เป็นราชธานีของภูฏาน เพราะความสำคัญและอำนาจที่เป็นลปแห่งตงซามีอยู่อย่างล้นเหลือเหนือเขตภาคตะวันออก ภาคกลาง และที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ในภาคใต้ ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 มีเป็นลปท่านหนึ่งสั่งสมอิทธิพลจนเรืองอำนาจยิ่งกว่าเป็นลปท่านใดในแผ่นดิน นั่นคือ ท่านจิกมี นัมเกล บิดาของท่านอูเก็น วังชุก ซึ่งขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งภูฏานในสมัยต่อมา • บ้านเกิดของท่านจิกมี นัมเกลอยู่ที่กูร์เต (ปัจจุบันคือเขตปกครองฮุนซี) แต่ตัวท่านมารุ่งเรืองจนมีบารมีเป็นที่ยอมรับอยู่ที่ตองสาซอง ไม่ช้าก็ก้าวขึ้นมามีบทบาทอันโดดเด่นในระดับประเทศ ภายหลังท่านอูเก็นวังชุกผู้เป็นบุตรชายได้ขึ้นสืบทอดตำแหน่งเป็นลปแห่งตองสาต่อจากท่าน ทำให้เกิดมีธรรมเนียมตามมาว่า เจ้าฟ้ามกุฏราชกุมารแห่งภูฏานจะต้องขึ้นเฉลิมพระยศเป็นโซเซ เป็นลปสืบมานับจากนั้น (หมายถึง ตำแหน่งเป็นลปแห่งตองสา แต่เรียกว่าโซเซตามชื่อทางศาสนาของป้อม)
• ตองสาซอง (Tongsa Dzong) หรือ โชเสะซอง (Choetse Dzong) • ได้รับการยกย่องว่าเป็นซองที่น่าประทับใจมากที่สุด ในอาณาจักรภูฏาน ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง เหนือแม่น้ำแมงเด กล่าวกันว่า สูงกว่าก้อนเมฆของภูฏานเสียอีก ตองสาซองเป็นทั้งป้อมปราการทหาร พระราชวัง และวัด โดยภายในประกอบไปด้วยวัดถึง 23 แห่ง มีพระประมาณ 200 กว่ารูป • ตองสาซอง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2187 โดยท่าน Chhogyel Mingyur Tenpa คนของท่านซับดรุง นาวัง นัมเกล ซึ่งส่งมาให้สร้างเมืองทางทิศตะวันออก ผู้ปกครองตองสาคนต่อมาได้ก่อสร้างขยายเพิ่มเติม จนมีขนาดที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน • หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปี ค.ศ.1897 ทางการได้บูรณะตองสาซองขึ้นใหม่หลายครั้ง โดยเฉพาะในรัชกาลพระเจ้าอูเก็น วังชุก (รัชกาลที่ 1 แห่งภูฏาน) ในขณะที่วิหารเซ็นเรชิกนั้นมาบูรณะกันในรัชกาลที่พระเจ้าจิกมี วังชุก (รัชกาลที่ 2 ของภูฏาน) เมื่อปี ค.ศ.1927 และซ่อมใหญ่อีกครั้งในปี ค.ศ.1999 ด้วยความช่วยเหลือจากออสเตรียจนแล้วเสร็จสมบูรณ์และประกอบพิธีสมโภชไปเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ.2004 • ตองสาซองประกอบด้วยสถาปัตยกรรมชั้นเลิศ มีวิหารและหอบูชามากถึง 25 หลัง ที่สำคัญคือ หอบูชาเทพยมานตกะ หอบูชาเทพจักรสัมวระ และหอบูชาเทพกาฬจักร นอกจากนี้ยังมีพระเมตไตรยกับวิหารเจดีย์อีกสองหลัง หลังแรกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1771 ภายในประดิษฐานพระเมตไตรยองค์ใหญ่ปั้นขึ้นจากดินเหนียว ตามพระราชบัญชาของพระเจ้าอูเก็น วังชุก ส่วนวิหารเจดีย์นั้นสร้างทับตำแหน่งวัดหลังแรกสุด ภายในมีเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุของท่านงากี วังชุก และมีภาพจิตรกรรมเป็นภาพ 16 อรหันต์กับภาพพระอักโษภยพุทธเจ้า • ตองสาซองในทุกวันนี้ยังเป็นทั้งศูนย์กลางการบริหารของเขตตองสา และเป็นทั้งวัดหลักประจำเขต ซึ่งประกอบด้วยโบสถ์ 23 แห่ง องค์ประธานในโบสถ์หลักคือ พระสณีอริยเมตไตรย (พระพุทธเจ้าในอนาคต) ซึ่ง Maitreya Temple นี้ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1771 ส่วนอัฐิของพระลามะงากิ วังชุก ได้เก็บไว้ใน Temple of Chourtens ซึ่งตั้งอยู่ส่วนปลายสุดของซอง อันเป็นตำแหน่งที่พระลามะงากิ วังชุก ได้ก่อตั้งวัดเล็กๆ ขึ้นเป็นครั้งแรก วัดที่สำคัญที่สุดคือวัดแห่งพระศรีอารยเมตไตรย์ นอกจากนี้ ภายในบริเวณซองยังมีโรงพิมพ์เกี่ยวกับศาสนา ซึ่งยังใช้วิธีการพิมพ์แบบดั้งเดิมด้วยบล๊อกไม้ • ตาซอง (หอสังเกตุการณ์) ตั้งอยู่บนไหล่เขาทางด้านตะวันออกของตองสาซอง ซึ่งตาซองแห่งนี้ ในอดีตเคยใช้สอดส่องดูข้าศึกที่จะเข้ามารุกราน เป็นหอทรงแคบ มีปีกยื่นออกจากตัวหอหลักเป็นรูปตัว V เป็นวัดเล็กๆ ที่มีความสำคัญแห่งหนึ่ง สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1977 สร้างถวายอุทิศแด่เทพกษัตริย์ เคซาร์ (Gesor) ผู้เป็นเทพนักรบและวีรบุรุษในตำนานของภูฏาน ทางการได้ร่วมมือกับทางออสเตรียบูรณะหอบูชาหลังนี้ขึ้นใหม่และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ในปี ค.ศ. 2008 | |
ตองสา (Tongsa) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์วังชุก
• เมืองตองสา (Tongsa) แหล่งกำเนิดของราชวงศ์วังชุก
• ตองสา แปลว่า หมู่บ้านใหม่ อยู่ในภูฏานตอนกลาง ตั้งอยู่บนความสูง 2,200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ในอดีต ตองสาเปรียบเสมือนเมืองหลวงอีกแห่งหนึ่งของภูฏาน ด้วยป้อมปราการแห่งนี้ปกครองโดยเจ้าเมืองผู้สืบทอดมาเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์วังชุกในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ มกุฏราชกุมารแห่งราชวงศ์วังชุกทุกคน จะได้ครองตำแหน่งผู้ปกครองเขตตองสา ซึ่งเรียกว่า โชเสะ เป็นลอป (Choetse Penlop)
• ตามประวัติกล่าวว่า พระลามะงากิ วังชุก (Ngagi Wangchuck) ในระหว่าง ค.ศ.1517-1554 ซึ่งเป็นปู่ทวดของซับดรุง งาวัง นัมเกล ได้สร้างวัดเล็กๆ ขึ้นที่หุบเขาแห่งนี้เมื่อปี ค.ศ. 1543 โดยได้สร้างวัดเป็นรูปร่างขึ้นมาได้ก็เพราะเกิดจากการนั่งวิปัสนากรรมฐานของท่าน ได้เห็นลำแสงเลยเดินไปตามนั้น ซึ่งท่านถือเป็นนิมิตหมายในการสร้างวัดตรงที่ลำแสงนั้นหยุดนิ่ง
• ต่อมา ในปีค.ศ. 1647 ซับดรุง งาวัง นัมเกลได้เล็งเห็นการขยายอิทธิพลมาฝั่งตะวันออกของประเทศ จึงสร้างซองขึ้นในที่ที่บรรพบุรุษของท่านได้สร้างวัดไว้ จากนั้นมีการต่อเติมขยับขยายในหลายยุคหลายสมัย และยังได้รับการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหม่ในรัชสมัยขององค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ชุก
• ตองสา เป็นเมืองกำเนิดของพระราชวงศ์วังชุก
• ซึ่งเริ่มจากปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์วังชุก (ค.ศ. 1907-1926) เดิมเป็นเจ้าเมืองตองสามาก่อน กษัตริย์ภูฏานถึงสองพระองค์ทรงเป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองนี้จนเป็นธรรมเนียมว่า มกุฏราชกุมารของภูฏาน จะต้องได้รับตำแหนงเจ้าเมืองตองสาก่อนที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ผู้ปกครองฝ่ายสงฆ์จะมพำนักที่เมืองตองสาในฤดูหนาว และย้ายไปอยู่ที่เมืองบุมทังในฤดูร้อน เดิมทีเมืองนี้มีชาวทิเบตอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก แต่นานวันเข้าชาวทิเบตก็ถูกกลืนด้วยวัฒนธรรมภูฏาน จนกระทั่งในที่สุด ก็ไม่เหลือร่องรอยของชาวทิเบตในเมืองนี้อีกเลย
• หลังจากที่ท่านซับดรุง มรณภาพในปี ค.ศ. 1651 บ้านเมืองระส่ำระสายอีกครั้ง มีสงครามกลางเมืองแย่งชิงความเป็นใหญ่ ครั้นพอถึงปลายศตวรรษที่ 19 อำนาจการปกครองแบ่งแยกออกเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ๆ ฝ่ายหนึ่งมีผู้ว่าราชการปาโร (Paro Penlop) ครอบครองพื้นที่ซีกตะวันตก ในขณะที่ผู้ว่าการตองสา (Tongsa Penlop) ชื่อว่า จิกมี นัมเกล (Jigme Namgyel) ครอบครองพื้นที่ภาคกลางตลอดจนซีกตะวันออกของประเทศ
• เนื่องด้วยอุกเยน วังชุก (Ugyen Wangchuck) ได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตองสาสืบต่อจากจิกมี นัมเกล ผู้เป็นบิดา อีกทั้งอุกเยน วังชุก สามารถรวบรวมอาณาจักรภูฏานเข้าเป็นปึกแผ่นเดียวกันอีกครั้ง ดังนั้น ในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1907 จึงได้รับเลือกเป็นเอกฉันท์ให้เป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งประเทศภูฏาน ซึ่งตามธรรมเนียมข้างต้น มกุฏราชกุมารแห่งราชวงศ์วังชุกทุกพระองค์จะทรงดำรงพระยศเป็น “ผู้ว่าการตองสา” (Tongsa Penlop) ควบคู่ไปอีกหนึ่งตำแหน่ง
• ในศตวรรษที่ 19 ที่นี่เป็นราชธานีของภูฏาน เพราะความสำคัญและอำนาจที่เป็นลปแห่งตงซามีอยู่อย่างล้นเหลือเหนือเขตภาคตะวันออก ภาคกลาง และที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ในภาคใต้ ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 มีเป็นลปท่านหนึ่งสั่งสมอิทธิพลจนเรืองอำนาจยิ่งกว่าเป็นลปท่านใดในแผ่นดิน นั่นคือ ท่านจิกมี นัมเกล บิดาของท่านอูเก็น วังชุก ซึ่งขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งภูฏานในสมัยต่อมา
• บ้านเกิดของท่านจิกมี นัมเกลอยู่ที่กูร์เต (ปัจจุบันคือเขตปกครองฮุนซี) แต่ตัวท่านมารุ่งเรืองจนมีบารมีเป็นที่ยอมรับอยู่ที่ตองสาซอง ไม่ช้าก็ก้าวขึ้นมามีบทบาทอันโดดเด่นในระดับประเทศ ภายหลังท่านอูเก็นวังชุกผู้เป็นบุตรชายได้ขึ้นสืบทอดตำแหน่งเป็นลปแห่งตองสาต่อจากท่าน ทำให้เกิดมีธรรมเนียมตามมาว่า เจ้าฟ้ามกุฏราชกุมารแห่งภูฏานจะต้องขึ้นเฉลิมพระยศเป็นโซเซ เป็นลปสืบมานับจากนั้น (หมายถึง ตำแหน่งเป็นลปแห่งตองสา แต่เรียกว่าโซเซตามชื่อทางศาสนาของป้อม)
• ตองสาซอง (Tongsa Dzong) หรือ โชเสะซอง (Choetse Dzong)
• ได้รับการยกย่องว่าเป็นซองที่น่าประทับใจมากที่สุด ในอาณาจักรภูฏาน ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง เหนือแม่น้ำแมงเด กล่าวกันว่า สูงกว่าก้อนเมฆของภูฏานเสียอีก ตองสาซองเป็นทั้งป้อมปราการทหาร พระราชวัง และวัด โดยภายในประกอบไปด้วยวัดถึง 23 แห่ง มีพระประมาณ 200 กว่ารูป
• ตองสาซอง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2187 โดยท่าน Chhogyel Mingyur Tenpa คนของท่านซับดรุง นาวัง นัมเกล ซึ่งส่งมาให้สร้างเมืองทางทิศตะวันออก ผู้ปกครองตองสาคนต่อมาได้ก่อสร้างขยายเพิ่มเติม จนมีขนาดที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
• หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปี ค.ศ.1897 ทางการได้บูรณะตองสาซองขึ้นใหม่หลายครั้ง โดยเฉพาะในรัชกาลพระเจ้าอูเก็น วังชุก (รัชกาลที่ 1 แห่งภูฏาน) ในขณะที่วิหารเซ็นเรชิกนั้นมาบูรณะกันในรัชกาลที่พระเจ้าจิกมี วังชุก (รัชกาลที่ 2 ของภูฏาน) เมื่อปี ค.ศ.1927 และซ่อมใหญ่อีกครั้งในปี ค.ศ.1999 ด้วยความช่วยเหลือจากออสเตรียจนแล้วเสร็จสมบูรณ์และประกอบพิธีสมโภชไปเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ.2004
• ตองสาซองประกอบด้วยสถาปัตยกรรมชั้นเลิศ มีวิหารและหอบูชามากถึง 25 หลัง ที่สำคัญคือ หอบูชาเทพยมานตกะ หอบูชาเทพจักรสัมวระ และหอบูชาเทพกาฬจักร นอกจากนี้ยังมีพระเมตไตรยกับวิหารเจดีย์อีกสองหลัง หลังแรกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1771 ภายในประดิษฐานพระเมตไตรยองค์ใหญ่ปั้นขึ้นจากดินเหนียว ตามพระราชบัญชาของพระเจ้าอูเก็น วังชุก ส่วนวิหารเจดีย์นั้นสร้างทับตำแหน่งวัดหลังแรกสุด ภายในมีเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุของท่านงากี วังชุก และมีภาพจิตรกรรมเป็นภาพ 16 อรหันต์กับภาพพระอักโษภยพุทธเจ้า
• ตองสาซองในทุกวันนี้ยังเป็นทั้งศูนย์กลางการบริหารของเขตตองสา และเป็นทั้งวัดหลักประจำเขต ซึ่งประกอบด้วยโบสถ์ 23 แห่ง องค์ประธานในโบสถ์หลักคือ พระสณีอริยเมตไตรย (พระพุทธเจ้าในอนาคต) ซึ่ง Maitreya Temple นี้ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1771 ส่วนอัฐิของพระลามะงากิ วังชุก ได้เก็บไว้ใน Temple of Chourtens ซึ่งตั้งอยู่ส่วนปลายสุดของซอง อันเป็นตำแหน่งที่พระลามะงากิ วังชุก ได้ก่อตั้งวัดเล็กๆ ขึ้นเป็นครั้งแรก วัดที่สำคัญที่สุดคือวัดแห่งพระศรีอารยเมตไตรย์ นอกจากนี้ ภายในบริเวณซองยังมีโรงพิมพ์เกี่ยวกับศาสนา ซึ่งยังใช้วิธีการพิมพ์แบบดั้งเดิมด้วยบล๊อกไม้
• ตาซอง (หอสังเกตุการณ์) ตั้งอยู่บนไหล่เขาทางด้านตะวันออกของตองสาซอง ซึ่งตาซองแห่งนี้ ในอดีตเคยใช้สอดส่องดูข้าศึกที่จะเข้ามารุกราน เป็นหอทรงแคบ มีปีกยื่นออกจากตัวหอหลักเป็นรูปตัว V เป็นวัดเล็กๆ ที่มีความสำคัญแห่งหนึ่ง สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1977 สร้างถวายอุทิศแด่เทพกษัตริย์ เคซาร์ (Gesor) ผู้เป็นเทพนักรบและวีรบุรุษในตำนานของภูฏาน ทางการได้ร่วมมือกับทางออสเตรียบูรณะหอบูชาหลังนี้ขึ้นใหม่และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ในปี ค.ศ. 2008