ถามว่าจะมีคนไทยสักกี่คนที่เคยไปเทรคกิ้งใน ภูฏาน ทริปแบคแพคเซอร์เวย์ทริปแรกของ คนแบกเป้ ในดินแดนแห่งอารยธรรม ที่เป็นดั่งสวรรค์บนดิน กลางอ้อมกอดของขุนเขาหิมาลัย เป็น the Last Shangri-La ที่หลบซ่อนอยู่ในหุบเขาทางตอนใต้ ของเขตปกครองตนเอง ทิเบต ...
ทริปแบกเป้ ย่ำแดนแผ่นดินแห่งมังกรสายฟ้า ภูฏาน
(Land of the Thunder Dragon)
... ภูฏาน แผ่นดินแห่งอารยธรรมอันไกลโพ้นที่หลบซ่อนอยู่ในโอบล้อมของหุบเขาหิมาลัย ตอนใต้ของเขตปกครองตนเอง ทิเบต ดินแดนที่ได้รับการร่ำลือเล่าขานกันว่า สวยงามเสมือนหนึ่งดินแดนแชงกรีลาแห่งสุดท้าย..
.. ทริปนี้เราออกเดินทางกันเช้าวันเสาร์ที่ 22 มิ.ย. นี้ เจอกันที่ GATE 10 สนามบินสุวรรณภูมิ เวลาตีห้า (05.00 น) conuter W สายการบิน Druk Air (Flight KB 131) เครื่องออกเวลา 08.30 น.
วันแรกกรุงเทพ - พาโร (Bangkok - Paro)
...ถึงสนามบินพาโร หลังจากที่ผ่านพิธีการเข้าเมืองแล้ว เราเดินทางต่อไปยังโรงแรมที่พักในบริเวณหุบเขาพาโร หุบเขาที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหุบเขาที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของภูฎาน ป่าสนสีคราม และบ้านโรงนาของชาวบ้าน ป้อมปราการทั้งเล็กใหญ่ และทุ่งนาขั้นบันได มองดูสวยงามอย่างลงตัว เช็คอินแล้ววันนี้ช่วงบ่ายที่เวลายังเหลืออีกหลายชั่วโมงเราเที่ยวเบาๆ กันก่อน ไปเที่ยวชมพระราชวังพาโร พิพิธภัณฑ์ และป้อมปราการเก่าๆ ที่มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจของภูฏาน เก็บแรงไว้ไปเทรคกิ้งแบกเป้เดินป่ากันในวันพรุ่งนี้
วันที่สองของการเดินทาง พาโร - ป้อมเจเล (Paro - Jela Dzong)
... หลังอาหารเช้า ขนเป้ขึ้นรถ เราจะเดินทางด้วยรถยนต์เป็นระยะทางสั้นๆ ไปยังหอคอย Ta Dzong ซึ่งเป็นจุดเริ่มเดินป่าแบบเบาๆในระดับความสูง 2,510 เมตร ไปตามไหล่เขาที่ค่อยๆ สูงขึ้นๆ จากจุดนี้น่าจะใช้เวลาประมาณหนึ่งหรือสองชั่วโมงแบบไม่เร่งรีบนัก ชมบรรยากาศรอบๆ กันไปเรื่อยๆ เพื่อปรับตัว แวะกินอาหารกลางวันกันกลางทาง แล้วแบกเป้กันต่อจนถึง Jela Dzong จุดพักแรมในคืนนี้บนระดับความสูง 3,450 เมตร จุดนี้จะสามารถมองเห็นหุบเขาพาโรอยู่ข้างล่างในมุมกว้าง และสามารถมองเห็นยอดเขา Chomolhariที่อยู่ไกลออกไปประมาณแปดเก้ากิโล คืนนี้เรานอนที่นี่คืนแรก
วันที่สามของการเดินทาง เจลา - จางซู ลาคลา (Paro - Jele Dzong)
... หลังอาหารเช้า หลังจากเที่ยวชม Jele Dzong กันแล้ว เราจะแบกเป้เทรคกิ้งขึ้นเขาผ่าดงกุหลาบพันปีที่หนาทึบไปยัง Jele La ในระดับความสูง 3,490 และมุ่งหน้าไปยังสันเขาบนระดับความสู ง 3,600 เมตรที่สามารถเก็บบันทึกภาพยอดเขา Chomolhari และ วิวทิวทัศน์กว้างๆ ได้ตลอดทาง บริเวณนี้เป็นเขตของคนเลี้ยง Yak หรือจามรี ..คืนนี้เราจะพักแคมป์กับบรรยากาศแบบ Local ๆ กันที่ Jangchu Lakha ซึ่งเป็นโรงนาของคนเลี้ยง Yak บนระดับความสูง 3,750 เมตร จะใช้เวลาเดินทางประมาณห้าหกชั่วโมง ตั้งแต่ออกเดินทางหลังอาหารเช้าจนถึงแคมป์ที่ Jangchu Lakha
วันที่สี่ของการเดินทาง จางซู ลาคลา - จิกมี่ ลันโซ (Jangchu Lakha - Jigme Lantso)
... วันนี้เรายังต้องเดินทางกันบนสันเขา ที่มองเห็นวิวกว้างไกลไปจนกว่าจะถึงป้อมปราการ Magnificent Jichudrake ที่ๆ ซึ่งเราจะสามารถใช้กล้องส่องดูวิวเทือกเขาหรือสัตว์ป่าต่างๆ ทั้งไก่ป่าสีเลือด และแกะสีคราม ได้จากบริเวณป้อมแห่งนี้ด้วย ..คืนนี้เราจะแคมป์กันใกล้ๆ ทะเลสาบ Jigmi Lang Tscho เลคกลางหุบเขาบนระดับความสูง 3,880 เมตร ในเลคมีฝูงปลาเทราท์ขนาดใหญ่จำนวนมากแต่ประเทศภูฏานห้ามทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการทำบาปทุกชนิด ไม่ให้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ห้ามล่าสัตว์ ตกปลา และแม้กระทั่งตัดต้นไม้ด้วยบรรยากาศแคมป์ริมทะเลสาบสวยงามมาก
วันที่ห้าของการเดินทาง จิกมี่ ลันโซ (Jigme Lantso)
... วันนี้จะเป็นวันที่ยาวนานแต่ยิ่งใหญ่สำหรับการเทรคกิ้งไปท่ามกลางบรรยากาศและทัศนียภาพของเทือกเขาที่ปกคลุมไปด้วยหิมะและกลุ่มหมอกเมฆหนาทึบที่เคลื่อนตัวอยู่เหนือเรา ผ่านดงกุหลาบพันปีแคระ ผ่านทะเลสาบ Janye Tscho และทะเลสาบ Simtoka มุ่งหน้าไปยังแคมป์ Labana บนระดับความสูง 4,130 เมตร และข้างล่างไกลออกไปประมาณสิบสองสิบสามกิโลเมตรคือหุบเขา ทิมปูที่เราต้องใช้เวลาเดินทางกันราวๆ ห้าหกชั่วโมงสำหรับวันนี้
วันที่หกและเจ็ดของการเดินทาง ลาบานา - ทิมพู (Labana - Thimphu)
... วันนี้เราจะไต่ขึ้นไปสู่ระดับความสูง 4,235 เมตร Labana Pass ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของการเดินทางทริปนี้ และเรายังคงเดินแบกเป้เทรคกิ้งกันบนสันเขาเช่นเดิม ด้วยความสูงระดับนี้ย่อมหนาวเย็นและอากาศเบาบาง เราคงไปกันได้ไม่เร็วนัก ณ จุดนี้เราจะสามารถมองเห็นยอดเขา Gangar Punsum เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศภูฏาน และยอดเขา Kanchenjunga ด้วย ...หลังอาหารกลางวันเราจะลดระดับลงมาเรื่อยๆ ผ่านแนวป่าสนสีคราม (Blue Pine) เพื่อลงไปสู่ Phajoding monastery อันเป็นจุดสุดท้ายของการเดินป่าเทรคกิ้งทริปนี้ คืนนี้นอนในเมือง Motithang, Thimphu นอนบนเขากลางป่ากันมาหลายคืนแล้ว วันนี้นอนสบายๆ แช่น้ำอุ่นกันทีโรงแรมครับ (เผื่อเวลาไว้หนึ่งวันสำหรับการเดินป่า จุดหมายและเส้นทางคงเดิมแต่ปรับเวลาให้เหมาะสม ถ้าทำเวลาได้ตามแผนจะลงไปพักในเมืองในสองคืนถัดไป)
วันที่แปดของการเดินทาง นครหลวงทิมพู (Thimphu)
... หลังอาหารเช้าที่โรงแรมแล้ว เราจะไปชมอนุสรณ์สถานแห่งชาติ (The National Memorial Chorten) ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1974เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่กษัตริย์ Jigme Dorji Wangchuk ที่ 3 ซึ่งมีฉายาว่า “ บิดาแห่งภูฏานยุคใหม่ ” ผู้นำพา ภูฏาน เป็นเอกราชและเข้าสู่ยุคแห่งความสงบร่มเย็น ภายในอนุสรณ์สถานมีพระพุทธรูปเก่าแก่และศักดิสิทธิ์ปางต่างๆ หลายองค์ รวมทั้งภาพวาดที่สื่อถึงอารมณ์ทั้งสองด้าน คือ ความสุขและความโกรธอันหมายถึงความดีกับความเลวนั่นเอง ...จากนั้นเราจะไปเยี่ยมชม วัดแม่ชี (Zilukha Nunnery Monastery) เป็นวัดเก่าแก่สร้างตั้งแต่ 1976 โดยหลวงพ่อ Rikey Jigdrel พระชาวธิเบต ที่นี่จะมีแม่ชีปฏิบัติธรรมและสวดมนต์ประสานเสียงอย่างไพเราะตลอดทั้งวัน ซึ่งฟังแล้วชวนขนลุกและน่าเลื่อมใส ...จากนั้นเราจะไปชมกันต่อที่ศูนย์หัตถกรรมทอผ้า(Changzamtok Textile and Weaving Center) ผลิตภัณฑ์จากฝีมือช่างทอผ้าสตรีชาวภูฏานจำนวนมากที่ทำงานในศูนย์ฯ แล้วไปต่อกันที่ สถาบันฝึกอาชีพที่ตั้งขึ้นเพื่ออนุรักษ์ศิลปประดิษฐ์ 13 ด้านของภูฏานไว้ เช่น ช่างปั้น ช่างแกะสลัก ช่างทอผ้า ช่าง วาดช่างออกแบบ และช่างตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมือง เป็นต้น จากนั้นไปเดินเที่ยวชมตลาด หาอะไรอร่อยๆ ลิ้มลองดู
... หลังมื้อกลางวัน จะพาไปชม ราชวัง Tashicho dzong ซึ่งเป็นทั้งวัง ทั้งทำเนียบรัฐบาล และสำนักใหญ่ของวัด (Monastery) เป็นที่ประทับของพระสังฆราช (Supreme Lama ) สร้างมาตั้งแต่ปี 1641 ในอดีตเป็นวังที่พระมหากษัตริย์ Jigme Dorji Wangchuk ที่ 3 ทรงงานบริหารประเทศมาตั้งแต่ปี 1965 ก่อนที่จะสละราชสมบัติเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยเมื่อปี 2007 บริเวณใกล้ๆกันจะเป็นอาคารรัฐสภา (Parliament House) ...ปิดท้ายรายการของช่วงเย็นนี้ก็จะเป็นช่วงของการช็อปปิ้งเพื่อละลายทรัพย์และ ท่องราตรีว่ากันตามอัธยาศรัยแล้วแต่ใครจะถนัดครับ
วันที่เก้าของการเดินทางพาโร - กรุงเทพฯ (Paro - Bangkok)
... หลังอาหารเช้าที่โรงแรมแล้ว เดินทางจาก Thimphu สู่ Paro airport ใช้เวลาราว 1 ชั่วโมงกว่าๆ ระหว่างการเดินทางจะเป็นหุบเขาแม่น้ำ ที่สวยงามเกือบตลอดเส้นทาง ประมาณบ่าย 2 โมงกว่าๆ (เวลาที่ภูฏาน) บินกลับกรุงเทพฯ เครื่องจะถึง กทม. ราว 17.30 น.
|