หญ้าลิ้นงูหญ้าลิ้นงู ชื่อวิทยาศาสตร์Oldenlandia corymbosa L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hedyotis corymbosa (L.) Lam.) จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE) สมุนไพรหญ้าลิ้นงูมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า จุ่ยจี้เช่า จั่วจิเช่า (จีนแต้จิ๋ว), สุ่ยเฉียบฉ่าว สุ่ยเซี่ยนเฉ่า เสอเสอเฉ่า (จีนกลาง) เป็นต้น หมายเหตุ: หญ้าลิ้นงูสามารถนำมาใช้แทนหมากดิบน้ำค้าง (Oldenlandia diffusa (Willd.) Roxb.) ได้ เพราะจัดอยู่ในวงศ์เดียวกัน เพียงแต่ต่างสายพันธุ์ สรรพคุณของหญ้าลิ้นงู- ทั้งต้นมีรสขม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และลำไส้ ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย ด้วยการใช้ลำต้นสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาแต่น้ำกิน (ต้น,ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้ลำไส้อักเสบ มะเร็งในลำไส้ ด้วยการใช้ลำต้นสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาแต่น้ำกิน (ต้น,ทั้งต้น)
- ช่วยแก้ฝีในท้อง ด้วยการใช้หญ้าลิ้นงูประมาณ 20-40 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ทั้งต้น)[2]
- ช่วยรักษาบำบัดอาการหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อ โรคบิด ท้องผูก และยังช่วยในการย่อย และช่วยทำให้เจริญอาหารได้อีกด้วย (ทั้งต้น)[4],[5]
- ใช้ฆ่าพยาธิ (ทั้งต้น)
- ช่วยปกป้องตับ (ทั้งต้น)
- ช่วยขจัดสารพิษ (ทั้งต้น)
- ลำต้นสดนำมาต้มเอาน้ำใช้ชะล้างแผลฝีบวม แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (ต้น,ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยารักษาฝีปวดบวม ด้วยการใช้หญ้าลิ้นงูสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นฝี (ทั้งต้น)
- ในประเทศจีนจะใช้หญ้าริ้นงูเป็นยารักษาเนื้องอกบางชนิด (ทั้งต้น)
- ชาวอินเดียจะใช้หญ้าลิ้นงูทั้งต้นนำมาต้มในนมกับน้ำตาลเพื่อใช้เป็นยาบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนที่หน้าอกอันเนื่องมาจากกรดไหลย้อน และยังใช้เพื่อรักษาโรคตับอักเสบด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาต้มเอาน้ำกิน (ทั้งต้น)
- ชาวฟิลิปปินส์จะใช้หญ้าลิ้นงูนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยารักษาโรคกระเพาะ (ทั้งต้น)
- ชาวอินโดนีเซียจะใช้หญ้าลิ้นงูนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยารักษาไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน (ทั้งต้น)
- เนื่องจากหญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต้านจุลชีพและโปรโตซัว จึงมีการนำมาใช้เพื่อรักษาโรคที่มีอาการอักเสบและติดเชื้อ เช่น คางทูม ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดบวม การติดเชื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน โรคทาง
- เดินปัสสาวะอักเสบ ตับอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ถุงน้ำดีอักเสบ และใช้ฆ่าพยาธิ เป็นต้น (ทั้งต้น)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหญ้าลิ้นงู- สารที่พบ ได้แก่ Corymbosin, Flavone, Fatty acid, Sterol, Ursolic acid เป็นต้น
- สาร Ursolic acid ในหญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติในการปกป้องตับ โดยสามารถลดความเป็นพิษต่อตับของยาพาราเซตามอลที่นำมาทดสอบในหนูทดลองได้
- จากการศึกษาในหนูทดลองพบว่าสารสกัดจากหญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติในการปกป้องตับจากการถูกทำลายของสารเคมีต่าง ๆ ได้แก่ Carbon tetrachloride, D-Galatosamine, Perchloroethylene โดยคุณสมบัติดังกล่าวมีความใกล้เคียงกับยา Silymarin
- หญ้าลิ้นงูมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียได้ทั้งแกรมบวกและแกรมลบ และมีประสิทธิภาพในการกำจัดแบคทีเรียได้หลากหลายสายพันธุ์, ต้านยีสต์ (เช่น ยีสต์แคนดิดา), ต้านรา (เช่น ราแอสเปอร์จิลัส), ต้านโปรโตซัวที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไข้มาลาเรีย (ภายหลังจึงได้มีการนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาไข้มาลาเรีย)
- จากการศึกษาในหลอดทดลองว่าสารสกัดจากหญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งเต้านม
- หญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาการเกิดในกระเพาะอาหารในหนูทดลองที่ได้รับยาแอสไพริน โดยมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับยาแลนโซปราโซล (Lansoprazole)
- หญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการปวดได้
- หญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติต้านการอักเสบในสัตว์ทดลองที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ
References- หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “หญ้าลิ้นงู”. หน้า 811.
- หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หญ้าลิ้นงู”. หน้า 600.
|