Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14326458  

เคล็ดลับครูมืออาชีพ

 

 

  

การวิเคราะห์ผู้เรียน

เทคนิคและวิธีการในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 นั้น ครูมีสิทธิที่จะพิจารณาเลือกใช้ได้ ตามความเหมาะสมอาจจะใช้ขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

1. การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม

ครูมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นผู้ออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเอื้ออำนวยให้ ผู้เรียนเป็นผู้แสวงหาความรู้และพัฒนาตนเอง ในบรรยากาศและสถานการณ์ที่ครูจัดให้ผู้เรียนได้คิดเอง ปฏิบัติเอง และนำไปสู่การสร้างความรู้ด้วยตนเองอย่างพึงพอใจ การรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่ม
จะช่วยให้ครูมีข้อมูลที่สำคัญในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสนองตอบ ความต้องการ ความถนัด ความสนใจและวิธีการหรือลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน

1.1 หลักการวิเคราะห์ผู้เรียน ควรคำนึงถึงองค์ประกอบต่อไปนี้

1) ธรรมชาติของผู้เรียน เป็นเงื่อนไขของการเรียนรู้จะมีองค์ประกอบ ที่มีความแตกต่างกัน ถ้ามองในเชิงปรัชญาธรรมชาติของผู้เรียนจะมีองค์ประกอบที่แตกต่างกันไป ตามสภาพของร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสติปัญญา วิธีคิด ค่านิยมและความเชื่อ มองในด้านจิตวิทยาพัฒนาการในแต่ละช่วงอายุการเรียนรู้ของผู้เรียนจะมีความแตกต่างกันรวมทั้งในทางสังคมด้วย จึงจำเป็นที่ครูผู้สอนจะต้องคำนึงและวิเคราะห์ความแตกต่างให้ครอบคลุมทั้งด้านปรัชญาและจิตวิทยาพัฒนาการของผู้เรียนทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ดังแผนภูมิ

องค์ประกอบธรรมชาติของผู้เรียน
-พื้นฐานความรู้เดิม
-ความเชื่อ
-ค่านิยม
-สติปัญญา
-สังคม
-ร่างกาย
-จิตใจ
-อารมณ์
-ความต้องการ
-ความสนใจ

2) ประสบการณ์และพื้นฐานความรู้เดิม ผู้เรียนแต่ละคนมีความรู้หรือประสบการณ์ที่ผ่านมาไม่เหมือนกัน แม้จะผ่านกระบวนการเรียนรู้ใน
สถานการณ์เดียวกันทั้งนี้เพราะผู้เรียนได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว มีธรรมชาติและศักยภาพในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันเป็นพื้นฐานซึ่งมี
ผลต่อการเรียนรู้ใหม่

3) วิธีการเรียนรู้หรือลีลาการเรียนรู้ ( Learning Styles ) ของผู้เรียนแต่ละคนไม่เหมือนกัน

เดวิค คอล์ป (David Kolb) ได้แบ่งคนตามวิธีการเรียนรู้ไว้ 4 รูปแบบ ดังนี้

- ผู้เรียนที่มีวิธีการเรียนรู้หรือลีลาการเรียนรู้จากจินตนาการของตนเอง

- ผู้เรียนที่มีวิธีการเรียนรู้หรือลีลาการเรียนรู้หนักไปในทางการคิดวิเคราะห์

- ผู้เรียนที่มีวิธีการเรียนรู้หรือลีลาการเรียนรู้ที่หนักไปทางการใช้สามัญสำนึก

- ผู้เรียนที่มีวิธีการเรียนรู้หรือลีลาการเรียนรู้ที่หนักไปในทางการเรียนรู้ให้เกิดปัญญาจากการปฏิบัติของตนเอง


(1) ผู้เรียนที่มีวิธีการเรียนรู้หรือลีลาการเรียนรู้จากจินตนาการของตนเองโดยอาศัยความสามารถในการรับรู้ และการสร้างจินตนาการต่าง ๆ ขึ้นเอง สามารถไตร่ตรอง จนมองเห็นภาพโดยส่วนรวม ผู้เรียนกลุ่มนี้จะทำงานได้ดีในสถานการณ์ที่ต้องการความคิดหลากหลาย เช่น ในการระดมสมอง ผู้เรียนกลุ่มนี้จะให้ความสนใจแก่บุคคล สังคม วัฒนธรรมต่าง ๆ เหมาะที่จะเรียนรู้ไปเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะการใช้อารมณ์ จินตนาการ ผู้เรียนกลุ่มนี้จะมีความเก่งทางด้านมนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ เป็นผู้มีแนวคิดอเนกนัย (Diverger)

(2) ผู้เรียนที่มีวิธีการเรียนรู้หรือลีลาการเรียนรู้ที่หนักไปในทางการคิดวิเคราะห์หรือซึมซับ (Assimilator) มีความสามารถในการสรุปหลักการ สนใจในทฤษฎีต่าง ๆ ให้ความสนใจกับประสบการณ์จริงค่อนข้างน้อย แต่สนใจในหลักการเชิงนามธรรมมาก่อน ไม่ชอบลงมือปฏิบัติและมักไม่คำนึงถึงการนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ ผู้เรียนกลุ่มนี้ควรจะเรียนรู้ ในสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สาขาคณิตศาสตร์ และในสาขาที่เกี่ยวกับการวิจัยต่าง ๆ
(3) ผู้เรียนที่มีวิธีการเรียนรู้หรือลีลาการเรียนรู้ที่เป็นเอกนัย (Coverager) หนักไปในทางการใช้สามัญสำนึก ชอบนำแนวคิดที่เป็นนามธรรมไปปฏิบัติ สามารถสรุปวิธีที่ถูกต้องที่สุดเพียงวิธีเดียวที่จะสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหามากกว่าใช้อารมณ์ ชอบทำงานกับวัตถุมากกว่าบุคคล มักสนใจเรียนรู้เฉพาะเจาะจงในสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยเฉพาะและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง ผู้เรียนกลุ่มนี้เหมาะที่จะไปเรียนรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์ กายภาพ วิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น

(4) ผู้เรียนที่มีวิธีการเรียนรู้หรือลีลาการเรียนรู้แบบปรับปรุง (Accomodator) หนักไปในทางการเรียนรู้ ให้เกิดปัญญาจากการปฏิบัติของตนเองเป็นผู้เรียนที่ชอบ ลงมือปฏิบัติ ชอบทดลอง จะทำงานได้ดีในสถานการณ์ที่ต้องใช้การปรับตัว เป็นนักแก้ปัญหา ด้วยวิธีการตนคิดขึ้นเองซึ่งได้มา
จากการคิดค้น ลองผิดลองถูก ชอบทำงานกับบุคคล คนกลุ่มนี้ จะมีพื้นฐานในสาขาที่ต้องการประยุกต์ และใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น นักบริหาร นักการตลาด และพนักงานขาย เป็นต้น

Anthony Grasha และ Sheryl Reichmann ได้จำแนกลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียน ออกเป็น 6 แบบ คือ

1. แบบอิสระ (Independence) ลักษณะของผู้เรียนประเภทนี้ชอบที่จะคิดและทำงานต่าง ๆ ด้วยตนเอง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความตั้งใจที่จะศึกษาในสิ่งที่ตนเองเห็นว่า มีความสำคัญ และมีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถเรียนรู้ได้

2. แบบหลบหลีก (Avoidance) ลักษณะของผู้เรียนประเภทนี้จะไม่สนใจการเรียนรู้ เนื้อสาระตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม (Traditional Classroom) ไม่มีส่วนร่วมกับผู้เรียน คนอื่น ไม่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและมีความคิดว่าห้องเรียนเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย

3. แบบร่วมมือ (Collaboration) ผู้เรียนแบบนี้จะเรียนรู้ได้ดีจากการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกันผู้เรียนจะร่วมมือกับผู้สอนและเพื่อน ๆ ชอบทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ มองว่าห้องเรียนเป็นสังคมที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้

4. แบบพึ่งพา (Dependence) ผู้เรียนลักษณะนี้จะไม่ค่อยอยากเรียนรู้จะเรียนเฉพาะสิ่งที่ถูกกำหนดให้เรียนต้องมีการบอกให้ทำ ซึ่งจะเป็นคนที่ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่มีความคิดเป็นของตนเอง

5. แบบแข่งขัน (Competition) ผู้เรียนจะเรียนรู้เนื้อหาสาระเพื่อมุ่งหวังที่จะทำให้ได้ดีกว่าคนอื่น ๆ มีความรู้สึกว่าจะต้องแข่งขันเพื่อให้ได้รับรางวัลจากห้องเรียน เป็นคะแนนหรือ คำติชม ผู้เรียนประเภทนี้มีความรู้สึกว่าตนเองจะต้องชนะเสมอ จึงทำให้คนอื่นไม่ชอบที่จะมี ส่วนร่วมกับผู้
เรียนแบบนี้

6. แบบมีส่วนร่วม (Participation) ผู้เรียนต้องการที่จะเรียน ชอบเข้าห้องเรียน มีความรับผิดชอบในการเรียน มีส่วนร่วมกับคนอื่น ๆ มีความรู้สึกกว่าตนเองมีส่วนร่วมในกิจกรรม ในห้องเรียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่จะมีส่วนร่วมน้อยในกิจกรรมที่ไม่ได้อยู่ในแนวทางของวิชา ที่เรียน

การเข้าใจวิธีการเรียนรู้หรือลีลาการเรียนรู้ของแต่ละคน จะมีประโยชน์ในการออกแบบการเรียนรู้ให้สามารถพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนสู่ศักยภาพสูงสุดได้ง่ายขึ้น

1.2 วิธีวิเคราะห์ผู้เรียน

วิธีวิเคราะห์ผู้เรียนที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลหรือ รายกลุ่ม มีขั้นตอนดังนี้

1) กำหนดจุดมุ่งหมาย หรือความต้องการที่จะใช้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน แล้วนำไปจัดกลุ่มผู้เรียนในลักษณะกลุ่มเหมือน หรือกลุ่มคละ หรือจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะในเรื่องทักษะ

2) การเก็บรวบรวมข้อมูล มีหลายวิธีที่จะให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน อาทิ การสนทนา สัมภาษณ์ สังเกต กระบวนการกลุ่ม การทำแบบทดสอบก่อน
เรียน การรวบรวมข้อมูลการเรียนรู้ ด้านสุขภาพและด้านพัฒนาการ จากระเบียบสะสม บันทึกสุขภาพ แฟ้มผลงาน (Portfolio) และผลการประเมิน
พฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning )

3) วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล โดยจำแนกให้เห็นองค์รวมของผู้เรียน ใน 3 ด้าน คือ ความสนใจ สติปัญญา วุฒิภาวะ รวมทั้งวิธีการเรียนรู้

                                                   



หน้าที่ :: 5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved