ตัวอย่างแบบประเมินผลการใช้แผนและบันทึกผล
1. ทุกแผนการสอนมีการนำไปใช้จริง โดยได้ปฏิบัติ ดังนี้
ได้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ มุ่งพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน ท่าปลาอนุสรณ์ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 โดยจัดทำแผนการเรียนรู้ จำนวน 22 ชั่วโมง เริ่มสอนตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2550 ถึง วันที่ 31 สิงหาคม 2550 สอนสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ซึ่งการสอนของผู้จัดทำได้นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้จริงทุกแผน ก่อนดำเนินการสอนข้าพเจ้าจะส่งแผนไปให้ครูวิชาการตรวจสอบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และผ่านการเห็นชอบของผู้อำนวยการโรงเรียน จึงนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ได้จัดกิจกรรม ดังนี้
1) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งจะได้มาจากการคิด วิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติจริง ประเมินปรับปรุงให้เหมาะสม สรุป และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
2) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนรอบด้าน เช่น
2.1 การเรียนรู้อย่างมีความสุข ให้เกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งในระหว่างเรียนรู้ และหลังจากเรียนรู้
ด้วยการจัดบรรยากาศการเรียนที่ผ่อนคลาย เป็นอิสระ ทุกคนมีความห่วงหาอาทร ยอมรับในความแตกต่าง และมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของกันและกัน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถและพัฒนาตนเองเต็มที่ตามแบบของตนเอง ในการเสริมแรง และสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จ ซึ่งมีผลทำให้ผู้เรียนเกิดความสุข มีการยอมรับ เห็นคุณค่าของตนเอง มีความกล้าที่จะเผชิญกับปัญหา กล้าที่จะเรียนรู้กับสิ่งใหม่ มีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง บุคคลอื่นและสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
2.2 การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง เป็นการแสวงหาความรู้จากแหล่งสื่อ ประสบการณ์ต่าง ๆ รอบตัว โดยการสังเกต คิด พิจารณา และได้ปฏิบัติจริงตามแผนการสอนที่วางไว้ เช่น
2.2.1 ปฏิบัติกิจกรรมการอ่านของผู้เรียน ได้เรียนรู้จากครูโดยการอ่านตามครู อ่านนำเพื่อน ๆ และเพื่อน ๆ อ่านตามผลัดการเป็นทั้งผู้นำและผู้ตามที่ดี
2.2.2 การเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่น โดยการทำกิจกรรมของกลุ่ม เป็นการเรียนจากการมีปฏิสัมพันธ์จากกันและกัน การเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้เกิดผลดีหลายประการทั้งการเรียนรู้เนื้อหาความรู้ การสร้างผลงาน การเรียนรู้วิธีการ อยู่ร่วมกับคนอื่น และสิ่งสำคัญคือ สามารถเรียนรู้ได้จากบุคคลอื่นได้ทุกแง่ทุกมุม ทั้งเรียนรู้ที่จะเลือกสิ่งดีของบุคคลมาปรับใช้กับตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
2.3 การเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม เช่น กิจกรรมการเล่นเกม ร้องเพลง เป็นการเรียนรู้อย่างบูรณาการ สัมพันธ์เชื่อมโยงต่อเนื่องกลมกลืนกันทุกอย่าง ทั้งเนื้อหา วิชา ทักษะพื้นฐาน วิธีการเรียนรู้ เรื่องราวของตนเอง ซึ่งมีผลให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ชัดเจน มีความหมาย นำไปใช้ในการดำรงชีวิต และแก้ปัญหาในสภาพเป็นจริงได้
2.4 การเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ของตนเอง กิจกรรมที่ทำ คือ การทำแบบฝึกเสริมทักษะด้วยตนเองเกิดการเรียนรู้ เมื่อประเมินผลงานแล้ว รู้จักแก้ปัญหาในการทำงานต่อไป
( เอกสารอ้างอิง 1 แผนการจัดการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5)
2. มีการนำข้อเสนอแนะของที่ปรึกษามาปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้
จากการสังเกตการสอนและตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ของที่ปรึกษา คือ นายสง่า มีอินถา ได้ให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ซึ่งผู้จัดทำได้นำมาปรับปรุง ดังนี้
1. การวิเคราะห์หลักสูตรของหน่วยการเรียนรู้ให้กำหนดการเรียนรู้การสอน ฟัง พูด อ่าน และเขียนเรื่องอะไรบ้าง และต้องสอนให้ครบทั้ง 4 ทักษะ
2. ควรกำหนดสาระการเรียนรู้ ระบุหัวข้อให้ชัดเจนในแผน เช่น
2.1 เนื้อหาทางภาษา Function : ….
Vocabulary : …
Structure : …
2.2 กระบวนการฝึกทักษะ
2.3 เจตคติ : …
3. ขั้นการสอนมี 5 ขั้น แยกในแผนด้วย
ผู้สอนได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ ดังนี้
วิเคราะห์หลักสูตรของหน่วยการเรียนรู้ ได้กำหนดรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ฟัง พูด อ่าน และ
เขียน ในทุกแผน ดังนี้
1. เนื้อหาภาษา
Function : Writing the Present Simple Tenses with Adverbs of Frequency
Vocabulary : Adverbs of Frequency
Structure : Subject + Verb1 ………..
: Subject + do /does not + Verb1 ………..
: Do/Does + Subject + Verb1 ……….. ?
2. กระบวนการฝึกทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร : กระบวนการฝึกพูดและเขียน ทักษะการคิด การจำ กลยุทธ์การสื่อสาร
3. เจตคติ : มีนิสัยรักการอ่านการเขียนอย่างมีเหตุผล มีความขยันหมั่นเพียร ความมีระเบียบ
วินัย ความอดทน ความซื่อสัตย์ และการกล้าแสดงออกบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย : การใช้คำกริยาในปัจจุบันกาลกระบวนการจัดการเรียนรู้
Warm Up
Presentation
Practice
Production
Wrap Up
2. ขั้นนำควรใช้เทคนิควิธีการที่หลากหลายน่าสนใจโดยใช้สื่อ
ผู้สอนได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ ดังนี้
ขั้นนำ เข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นจูงใจความสนใจของผู้เรียนเข้าสู่บทเรียน โดยผู้เรียนเกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้โดยใช้เพลง เกม แผนภูมิภาพ ทบทวนความรู้เดิม สนทนาซักถาม การแสดงท่าใบ้ และนอกจากนี้ ผู้สอนแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ แจ้งขั้นตอนการจัดกิจกรรม กำหนดข้อตกลง ให้ผู้เรียนเข้าใจต่างกันก่อนเข้ากลุ่มเพื่อทำกิจกรรม
3. สื่อที่นำเสนอไว้ให้ใส่ในภาคผนวก
ผู้สอนได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ ดังนี้
สื่อที่จัดทำ ในการจัดกิจกรรมการเรียน
1. การเล่นเกม มีรายละเอียด ดังนี้ จุดประสงค์ อุปกรณ์ ขั้นตอนกิจกรรมการเล่น
2. เพลง ได้นำเสนอ เนื้อเพลง และทำนอง คนแต่ง
3. แผนภูมิ เนื้อเรื่อง
4. แผนภูมิภาพ
5. หนังสือส่งเสริมการอ่าน 4 เรื่อง ดังนี้
5.1 เพื่อนใหม่
5.2 สองพี่น้อง
5.3 กระต่ายเกเร
5.4 ลูกกตัญญู
( เอกสารอ้างอิง 2 แบบบันทึกข้อสังเกต ของครูที่ปรึกษา)
3. มีการนำข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินมามาปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ซึ่งมีรายการประเมิน ดังนี้
1. หน่วยการเรียนรู้มีองค์ประกอบสำคัญครบถ้วน มีรายละเอียดแสดงถึงความสอดคล้องสัมพันธ์
กับธรรมชาติวิชา คุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้ครอบคลุมทั้ง 11 สัปดาห์
ข้อเสนอแนะ / จุดที่ควรพัฒนา |
รายละเอียดที่ได้ปรับปรุงแก้ไข |
1. แต่ละหน่วยควรบอกรายละเอียดของเรื่อง
ย่อยที่จะสอน สอนทักษะอะไร จุดประสงค์
ปลายทาง และนำทางมีอะไรบ้าง |
|
2. แผนการจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบสำคัญ เขียนครอบคลุมและสอดคล้องสัมพันธ์กันทั้งมาตรฐาน
การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ การวัดและประเมินผล
ข้อเสนอแนะ / จุดที่ควรพัฒนา |
รายละเอียดที่ได้ปรับปรุงแก้ไข |
- สาระการเรียนรู้ควรเพิ่ม กระบวนการที่
ต้องการฝึกและเจตคติในการเรียนภาษา |
|
- ควรเพิ่มผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง |
|
3. จุดประสงค์การเรียนรู้มีความชัดเจน มุ่งให้เกิดทักษะการคิด คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และ
คุณธรรม จริยธรรมสอดคล้องมาตรฐานการเรียนรู้ และครอบคลุมผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ข้อเสนอแนะ / จุดที่ควรพัฒนา |
รายละเอียดที่ได้ปรับปรุงแก้ไข |
- มีจุดประสงค์ปลายทางและนำทางซึ่งควร
เป็นจุดประสงค์บอกพฤติกรรมที่ระบุทักษะ
ทางภาษา เช่น เขียนประโยคบรรยาย ภาพ
บุคคลได้ แต่วาดภาพเกี่ยวกับบุคคลอย่างนี้
ไม่ได้ |
|
4. เนื้อหาสาระการเรียนรู้สอดคล้องกับวิถีการดำรงชีวิตมีความเหมาะสมกับคาบเวลาที่กำหนดส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้
ข้อเสนอแนะ / จุดที่ควรพัฒนา |
รายละเอียดที่ได้ปรับปรุงแก้ไข |
แผนที่ 15 ควรสอนทักษะการอ่าน |
|
แผนที่ 16 เนื้อหาน้อย |
|
แผนที่ 19 แบบฝึกกับการสอนไม่สัมพันธ์กัน |
|
5. กิจกรรมการเรียนรู้หลากหลาย สอดคล้องเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนและสามารถปฏิบัติได้
ข้อเสนอแนะ / จุดที่ควรพัฒนา |
รายละเอียดที่ได้ปรับปรุงแก้ไข |
- กิจกรรมการเรียนรู้ยังไม่สัมพันธ์กัน |
|
- ขั้น Practice ในแผนที่ 15 ให้สอนตาม
ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่าน |
|
6. กิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้เกิดทักษะและกระบวนการคิด
ข้อเสนอแนะ / จุดที่ควรพัฒนา |
รายละเอียดที่ได้ปรับปรุงแก้ไข |
- ควรมีการแทรกทักษะคิดในการสอนทุกครั้ง |
|
7. กิจกรรมมีการสอดแทรกส่งเสริมให้เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีคุณธรรม จริยธรรม
ข้อเสนอแนะ / จุดที่ควรพัฒนา |
รายละเอียดที่ได้ปรับปรุงแก้ไข |
มี และควรมีการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสอดแทรกด้วย |
|
8. สื่อและแหล่งเรียนรู้มีความสอดคล้องและส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ด้านเนื้อหา และกิจกรรม
ข้อเสนอแนะ / จุดที่ควรพัฒนา |
รายละเอียดที่ได้ปรับปรุงแก้ไข |
ให้ระบุสื่อและแหล่งเรียนรู้เท่านั้น วัสดุ เช่นกระดาษ กาว สี ไม่ต้องระบุ |
|
9. การวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับสภาพจริง ครอบคลุมกระบวนการเรียนรู้และจุดประสงค์
การเรียนรู้
ข้อเสนอแนะ / จุดที่ควรพัฒนา |
รายละเอียดที่ได้ปรับปรุงแก้ไข |
ให้วัดตามจุดประสงค์นำทาง |
|
10. การวัดผลประเมินผลและเครื่องมือวัดผลมีความหลากหลาย ครอบคลุมทุกด้านทั้งความรู้ เจตคติและกระบวนการ
ข้อเสนอแนะ / จุดที่ควรพัฒนา |
รายละเอียดที่ได้ปรับปรุงแก้ไข |
ถ้าวัดผลในข้อที่เป็นทักษะไม่ควรใช้วิธีการสังเกตให้ใช้การประเมิน |
|
( เอกสารอ้างอิง 3 แบบประเมินของคณะกรรมการ)
4. แผนการจัดการเรียนรู้ช่วยให้นักเรียนได้รับการพัฒนาในด้านความรู้ทักษะ กระบวนการและ
คุณธรรม จริยธรรม
ผู้จัดทำได้นำวิธีการสอนแบบร่วมมือ มาพัฒนานักเรียน ดังนี้
จุดมุ่งหมายของวิธีการสอนแบบร่วมมือ
(เอกสารอ้างอิง 1 แผนการจัดการเรียนรู้ )
5. แผนการสอนทำให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
ผู้สอนได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีความสุข ดังนี้
1. ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานในการร้องเพลง คิดวิเคราะห์คำในเนื้อเพลงได้
2. ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการคิดในการเล่นเกม เรียงคำตามประโยค
3. ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดที่ยั่งยืนในการทำแบบฝึกเสริมทักษะที่ปฏิบัติจริง
4. ทำให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมในด้านความซื่อสัตย์ในการเขียนตามคำบอกของครู
5. ทำให้ผู้เรียนเกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในการแบ่งกลุ่มการทำงาน
6. ทำให้เกิดองค์รวมเชื่อมโยงกับสาระอื่น เช่น สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ศิลปะ สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม ได้แก่ วัฒนธรรมท้องถิ่น
( เอกสารอ้างอิง 1 แผนการจัดการเรียนรู้ )
6. แผนการสอนช่วยให้นักเรียนสร้างชิ้นงาน / ผลงานอย่างสร้างสรรค์ ใช้ความรู้ความคิดมากกว่าการทำตามครูกำหนด
แผนการสอนช่วยให้นักเรียนสร้างชิ้นงาน / ผลงานอย่างสร้างสรรค์ ใช้ความรู้ความคิดมากกว่า
การทำตามครูกำหนด
ผลงานของนักเรียน เช่น
1. แบบฝึกเสริมทักษะของผู้เรียน ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม
2. วาดภาพประกอบเรื่อง ตามจินตนาการของผู้เรียนได้ดี
3. การประดิษฐ์ของเล่นตามจินตนาการของผู้เรียน
(เอกสารอ้างอิง 4 ผลงานนักเรียน )
7. มีการบันทึกผลหลังการสอนครบถ้วนทุกแผน
มีการบันทึกผลหลังจากสอนโดยการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงออกในด้านสาระการฟัง การพูด การอาน และการเขียน ด้านการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มของนักเรียน และด้านเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ซึ่งผู้สอนจะสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงออกขณะเรียนในห้องเรียน และนอกห้องเรียน เมื่อผู้สอนจบใน 1 หน่วยการเรียนรู้ ผู้สอนจะรวบรวมผลการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน โดยตีความเป็นระดับคุณภาพของพฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออกตามสาระการเรียนรู้ จะช่วยในการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและเป็นข้อมูลในการปรับปรุง พัฒนาในส่วนที่ยังด้อยอยู่ได้ โดยการทำการวัดและประเมินผลเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. การวัดและประเมินผลก่อนเรียน
เป็นการวัดผลเพื่อจะได้ทราบถึงระดับความรู้ และสติปัญญาของนักเรียน โดยใช้วิธีทำแบบทดสอบก่อนเรียน แล้วบันทึกผลของการทำแบบทดสอบไว้ ทำให้ทราบพื้นฐานความรู้ของนักเรียนแต่ละคน เพื่อผลดีด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการเรียนการสอน ซึ่งจะเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์
2. การวัดและประเมินผลระหว่างเรียน
เป็นการวัดระหว่างเรียน เป็นการวัดผลเพื่อจะได้ทราบความสนใจ ตั้งใจและเข้าใจการเรียน ผู้สอนมีความตั้งใจที่จะเก็บข้อมูลของนักเรียนว่ามีพัฒนาการในการเรียนมากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้จัดหาแนวทางปรับปรุงวิธีการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น โดยวิธีการสังเกต ซักถาม สัมภาษณ์ และตรวจผลงาน ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้
1. แบบสังเกต
1.1 แบบสังเกตการฟัง
1.2 แบบสังเกตการพูด
1.3 แบบสังเกตการอ่านออกเสียง
1.4 แบบสังเกตมารยาทการเขียน
1.5 แบบสังเกตการเขียน
1.6 แบบสังเกตการทำงานกลุ่ม
2. แบบตรวจผลงาน
2.1 การคัดลายมือ
2.2 การเขียนตามคำบอก
แต่ละแบบจะมีเกณฑ์การประเมินตามระดับคุณภาพ
3. การวัดและประเมินผลหลังเรียน
เป็นการวัดผลเพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ของผู้เรียนก่อนและหลัง ว่ามีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุง จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
( เอกสารอ้างอิง 1 แผนการจัดการเรียนรู้ )
8. การบันทึกผลสามารถสรุปเป็นองค์รวม เป็นข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการสอนในโอกาส
ต่อไป
การบันทึกผลหลังการสอน หมายถึง การสรุปผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละแผน เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนมีพฤติกรรมอย่างไร ตอบสนองจุดประสงค์ของแต่ละแผนการเรียนรู้หรือไม่ ซึ่งจะได้นำผลนี้ไปพัฒนาและปรับปรุงในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่อไป
ข้อเสนอแนะ หมายถึง การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนในแต่ละจุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยการจัดในโอกาสต่าง ๆ นอกเวลาเรียน รวมทั้งการจัดกิจกรรมเพื่อสอนซ่อมเสริมและการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรักและตระหนักในคุณค่าของสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
( เอกสารอ้างอิง 1 แผนการจัดการเรียนรู้ )
9. แผนการจัดการเรียนรู้มีประโยชน์ใช้เป็นตัวอย่างให้กับผู้สนใจในวงการวิชาชีพ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ข้าพเจ้าได้จัดทำขึ้นเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบสื่อประสมเพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย แบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตลอดปีการศึกษา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ ดังนี้
1. เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหลักสูตรสถานศึกษา
2. ทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการเรียนรู้ทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง พูด อ่านและเขียน
3. ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสูงขึ้น
4. ทำให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ดี และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. เป็นแนวทางในการนำไปพัฒนาสาขาวิชาต่าง ๆ และระดับชั้นอื่น ๆ ต่อไป
( เอกสารอ้างอิง 1 แผนการจัดการเรียนรู้ )
10. มีการค้นพบวิธีสอน / การจัดกิจกรรมที่เป็นจุดเด่น เป็นตัวอย่างให้กับผู้เกี่ยวข้องในวงการวิชาชีพได้
1. วิธีสอนโดยใช้เกม
เป็นเกมที่ข้าพเจ้าที่คิดขึ้นประกอบการเรียนรู้ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ มีจำนวนทั้งหมด 37 เกม โดยมีการนำไปใช้ในขั้นต่างๆ ของกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ครูให้นักเรียนเล่นเกมการแข่งขันเพื่อเป็นการทบทวนความรู้เดิมทางภาษาไทยก่อนที่จะสอนบทใหม่
2. ขั้นสอน ครูใช้เกมให้นักเรียนได้เล่นเพื่อให้นักเรียนได้พบกฎหรือความสัมพันธ์ทางภาษาไทย
3. ขั้นฝึกทักษะ หลังจากที่ผู้เรียนเรียนเนื้อหาใหม่แล้ว ครูใช้เกมต่าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกทักษะทางภาษาไทยจนเกิดความชำนาญ
4. ขั้นสรุป ครูอาจให้ผู้เรียนออกมาเล่นเกมเพื่อเป็นการสรุป กฎเกณฑ์ทางภาษาไทยที่ผู้เรียนรู้ไปแล้ว
5. การเสริมหลักสูตร ครูอาจใช้เกมในกิจกรรมเสริมหลักสูตรนอกเวลาเรียน
6. การสอนซ่อมเสริม ครูใช้เกมในกิจกรรมช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนภาษาไทยอ่อนได้ฝึกฝนตนเอง เพื่อซ่อมเสริมทักษะทางภาษาไทย
2. หนังสือส่งเสริมการอ่าน
เป็นหนังสือส่งเสริมการอ่าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือส่งเสริมให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีความเมตตากรุณา รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น ฝึกทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวันและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งมีจำนวน 4 เล่ม ได้แก่
1) เรื่อง สองพี่น้อง
2) เรื่อง เพื่อนใหม่
3) เรื่อง กระต่ายเกเร
4) เรื่อง ลูกกตัญญู
3 เพลง
เป็นเพลงที่ข้าพเจ้าได้รวบรวมเพื่อใช้ประกอบการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้มีความสนุกสนาน มีจำนวนทั้งสิ้น 17 เพลง
4 ปริศนาคำทาย
เป็นปริศนาคำทาย ที่ช่วยฝึกสติปัญญาให้เกิดอย่างกว้างขวาง ฝึกความเป็นผู้มีเหตุผล มีความมานะพยายามที่จะเอาชนะปัญหาอันเป็นเครื่องมือที่ใช้สั่งสอนผู้เรียนทางอ้อม ให้มีความรู้ ความคิด เป็นคนฉลาด ช่างสังเกต มีไหวพริบอีกด้วย มีจำนวนทั้งสิ้น 109ปริศนาคำทาย
( เอกสารอ้างอิง 1 แผนการจัดการเรียนรู้ )
|