Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14322659  

พันธกิจขยายผล

วิธีฟัง – พูด ( Audio – Lingual Method )

     การสอนวิธีนี้มีชื่อเรียกหลายแบบ เช่น Oral – Aural Method และ Oral linguistic method แต่ในปัจจุบันนิยมเรียกว่า Audio – Lingual Method การสอนวิธีนี้ยึดทฤษฎีที่ว่า ภาษาทุกภาษาในโลกย่อมมีระบบเสียง โครงสร้าง (ไวยากรณ์ ) และความหมายเป็นของตนโดยเฉพาะ และยึดหลักจิตวิทยาการเรียนรู้แบบศึกษาพฤติกรรม ( behaviorism ) ซึ่งเชื่อว่าภาษานั้นเป็นพฤติกรรม เมื่อผู้เรียนมีสิ่งเร้าซึ่งเกิดขึ้นโดยการที่ครูเป็นผู้ให้แบบอย่างทางภาษาโดยการพูดหรือเขียน เมื่อผู้เรียนฟังหรืออ่านแล้วก็มีพฤติกรรมตอบสนองโดยการพูดหรือเขียน ตลอดเวลาผู้สอนและผู้เรียนจะมีพฤติกรรมตอบโต้สัมพันธ์กัน คือครูประเมินผลโดยการพิจารณาจากการตอบสนองของนักเรียน ประเมินค่าแล้วให้การฝึกอย่างหนักหน่วงเป็นการเสริมแรง ( reinforcement ) โดยใช้วิธีการฝึกโครงสร้าง ( pattern ) ซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาได้อย่างอัตโนมัติ

     ในการสอนมีการเปรียบเทียบระบบเสียงและโครงสร้างของทั้งสองภาษา ( ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ) เพื่อผู้สอนจะได้เห็นข้อคล้ายคลึงและแตกต่าง เป็นประโยชน์ในการฝึก กล่าวคือถ้าเสียงหรือแบบประโยคใดคล้ายกัน ครูก็ไม่ต้องเสียเวลาฝึกมากนักเพราะนักเรียนจะเรียนรู้ได้เร็วเป็นต้นว่า ภาษาไทยมีเสียง ซึ่งคล้ายกับเสียงภาษาอังกฤษ เมื่อพบคำว่า do นักเรียนจะพูดคำนี้ได้ไม่ยากนัก แต่เมื่อมาถึงเสียง th ซึ่งอยู่ข้างหน้าคำ thing เสียงนี้ในภาษาไทยไม่มี ครูจะต้องให้ความเอาใจใส่ในการฝึกเป็นพิเศษ นักภาษาศาสตร์กลุ่มนี้เชื่อว่าชาวต่างชาตินั้นสามารถจะฝึกหัดพูดให้เสียงเหมือนเจ้าของภาษาได้ เมื่อมีการอธิบายอย่างละเอียดถี่ถ้วนเกี่ยวกับฐานที่เกิดของเสียงต่าง ๆ และวิธีออกเสียงนั้น ๆ ต่อจากนั้นก็เปรียบเทียบในภาษาของผู้เรียนที่ใกล้เคียงกับเสียงนั้น เช่น เสียง th นี้ คนไทยอาจจะได้ยินว่าเหมือนเสียง หรือ หรือบางทีได้ยินเป็นเสียง ได้ ครูผู้สอนจะต้องชี้ให้เห็นข้อแตกต่างของเสียงเหล่านี้ และฝึกให้นักเรียนฟังจนจับข้อแตกต่างได้ เมื่อฟังได้ดีแล้วจึงฝึกให้พูดเสียงต่าง ๆ เหล่านี้ให้ถูกต้อง ในการฝึกเสียงซึ่งไม่มีในภาษาไทยนี้ จะต้องฝึกถึงขั้นที่นักเรียนทำได้จริง

      การเรียนความหมายของศัพท์ก็เช่นเดียวกัน ต้องนำมาเปรียบเทียบกันระหว่างสองภาษาเพื่อจะพิจารณาว่าทั้ง 2 ภาษาให้ความหมายเหมือนกันหรือไม่ ศัพท์อะไรบ้าง ซึ่งอธิบายความหมายความคิดและความเข้าใจในเรื่องความเป็นไปในชีวิตในแง่ต่าง ๆ คล้ายกัน หรือแตกต่างกันไป คำที่มีความหมายอย่างเดียวกันในสองภาษา การสอนก็ทำได้โดยง่าย แต่ถ้าคำใดแตกต่างกันไป ในการสอนครูควรใช้อุปกรณ์การสอนต่าง ๆ เท่าที่จะหาได้มาช่วย หรืออาจจะมีการทำแบบฝึกหัด การเปรียบเทียบ และวิธีอธิบายต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจความหมายซึ่งต่างกัน ในการสอนโครงสร้างของภาษาใหม่นั้น การสอนจะเริ่มไปจากแบบที่ทั้งสองภาษามีส่วนคล้ายกันโดยไม่ต้องอธิบายมาก ส่วนสำคัญอยู่ที่แบบสร้างที่ไม่เหมือนกัน ผู้สอนจะต้องเน้นและให้การฝึกฝนเป็นพิเศษ ในการสอนคำศัพท์นั้น ในระยะเริ่มแรกนักเรียนไม่จำเป็นต้องเรียนมากคำ แต่ละคำครูจะต้องสอนเสียง โครงสร้าง ให้นักเรียนสามารถใช้คำศัพท์นั้นได้ถูกต้อง เมื่อนักเรียนแม่นเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว และเรียนนาน ๆ เข้าจำนวนคำศัพท์ก็จะเพิ่มพูนขึ้นเอง

     ในการอธิบายบทเรียนต่าง ๆ นั้น การสอนวิธีนี้อนุโลมให้ใช้ภาษาของผู้เรียนมาอธิบายได้เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจแจ่มแจ้ง ทั้งเป็นการประหยัดเวลาด้วย แต่การใช้ภาษาไทยอธิบายนี้ ครูควรพยายามใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น การอธิบายเกี่ยวกับเรื่องไวยากรณ์หรือคำศัพท์หรือรูปประโยคที่ยาก ๆ ซึ่งไม่สามารถจะแสดงท่าทางหรือใช้อุปกรณ์การสอนช่วยได้ก็ให้แปลให้นักเรียนเข้าใจได้ แต่หลังจากแปลแล้วก็ให้มีการฝึกใช้ภาษาอังกฤษให้มาก

กลวิธีในการฝึก

การสอนภาษาแบบฟัง – พูด เน้นในการฝึกฟังและพูด แล้วจึงจะถึงขั้นอ่านและเขียน การฝึกนี้มีหลักสำหรับยึด คือ

1. การเลียนแบบ เป็นขั้นเริ่มแรกของการเรียนภาษา ไม่ว่าจะเป็นการฝึกในการฟัง พูด อ่าน หรือเขียน นักเรียนย่อมจะเริ่มต้นจากการเลียนแบบทั้งนั้น เช่นเมื่อจะสอนให้เด็กมีทักษะในการฟัง ครูจะต้องพูดให้นักเรียนฟังให้เข้าใจ ในการสอนทักษะในการพูด ครูก็ต้องพูดให้นักเรียนพูดเลียนแบบ ในการอ่านและเขียน ครูจะต้องทำให้ดูเป็นแบบอย่าง ด้วยเหตุนี้ ครูจะต้องให้แบบที่ถูกต้องแก่นักเรียน มิฉะนั้นนักเรียนก็จะทำให้ลำบากในการแก้ไขในตอนหลัง การสอนภาษาต้องอาศัยการเลียนแบบ เพราะภาษาแต่ละภาษานั้นมีลักษณะของตนเอง นักเรียนจะต้องได้รับการฝึกให้เลียนแบบลักษณะนั้น ๆ ในภาษาอังกฤษ เพื่อให้เกิดความจดจำสื่อความหมายด้วยการใช้ภาษาอังกฤษอย่างแท้จริง มิใช่ใช้ภาษาอังกฤษในรูปประโยคภาษาไทย ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากภาษาอังกฤษเป็นอันมาก

2 . การฝึกซ้ำและทบทวน เมื่อนักเรียนสามารถจะเลียนแบบได้อย่างถูกต้องแล้ว ครูผู้สอนจะต้องฝึกนักเรียนต่อไป เพื่อความแม่นยำและคล่องแคล่วชำนาญ ไม่ว่าจะเป็นการสอนเสียง ศัพท์ หรือโครงสร้าง การทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ นั้น จะทำให้เกิดความเคยชินขึ้น เมื่อถึงเวลาที่ต้องการใช้ก็จะใช้ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลานึกทบทวน การฝึกซ้ำและทบทวนนี้มีความสำคัญต่อการสอนภาษา เพราะ

ก. ความเคยชินทางภาษาจะเกิดขึ้นด้วยการเสริมแรง ( re – inforcement )

ข. ความแม่นยำจะเกิดขึ้นโดยการฝึกภาษาที่ถูกต้องเสมอ ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนใช้ภาษาอย่างผิด ๆ

ค. ภาษาเป็นพฤติกรรม และจะเรียนรู้ด้วยการทำพฤติกรรมนั้น ๆ โดยตรงเช่น ถ้าต้องการให้เกิดทักษะในการพูดก็ต้องฝึกพูดซ้ำ ๆ มิใช่ใช้ทักษะอื่น เช่น ฝึกทักษะอ่านเพื่อให้เกิดทักษะพูด

3. การฝึกเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษนั้น จะต้องใช้วิธีฝึกพูดเป็นรูปประโยคเสมอ เพราะการพูดนั้นเป็นทักษะง่ายและทุ่นเวลา ภายในระยะเวลาอันสั้นนักเรียนสามารถจะฝึกประโยคได้เป็นจำนวนมาก การเรียนภาษาจะเกิดความแม่นยำและคล่องแคล่วขึ้นก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาบ่อย ๆ

สรุปอันดับขั้นของการสอนแบบฟัง พูด

1. การสอนจะต้องเริ่มต้นด้วยการออกเสียงให้ถูกต้องเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นการสอนไวยากรณ์หรือสอนคำศัพท์

2. ครูผู้สอนจะต้องสอนโครงสร้างของภาษาจากง่ายที่สุดขึ้นไปเป็นขั้น ๆ

3. ในระยะแรก ๆ ที่เรียน ไม่จำเป็นจะต้องรู้คำศัพท์มาก ใช้คำศัพท์เท่าที่จำเป็นจะต้องนำไปฝึกในเรื่องโครงสร้างเท่านั้น เมื่อนักเรียนรู้จักโครงสร้างดีแล้ว ต่อจากนั้นก็จะเพิ่มพูนคำศัพท์ได้เมื่อเรียนมาก ๆ ขึ้น และสามารถนำคำศัพท์นั้น ๆ ไปใช้ได้อย่างถูกต้องตามโครงสร้างที่ตนแม่นแล้ว

4. การสอนจะตั้งต้นด้วยการสอนการออกเสียง โครงสร้าง ( ไวยากรณ์ ) คำศัพท์ การเขียนและการอ่าน

5. การสอนทุกชนิดจะต้องให้นักเรียนฝึกปากเปล่าจนคล่องเสียก่อน

ตัวอย่างของหนังสือที่เขียนตามวิธีสอนแบบนี้ได้แก่หนังสือ English for Thai Students เล่มเก่า ซึ่งขณะนี้ไม่มีโรงเรียนใดใช้แล้ว

ข้อเสีย ของวิธีสอนแบบฟัง พูด

1. ผู้เรียนไม่มั่นคงในความรู้ภาษาอังกฤษนัก เพราะการสอนเน้นที่การแสดงออกอย่างเดียว ไม่เน้นการเรียนรู้ความหมายภาษาอันดับแรก

2. ผู้เรียนไม่มีความสามารถในการสร้างสรรค์ประโยค เพราะเรียนโดยวิธีเลียนแบบเป็นส่วนใหญ่ ความรู้ความสามารถจึงอยู่ในลักษณะที่จำกัด

3. ครูจะต้องเตรียมบทเรียนนานและละเอียดถี่ถ้วน ทั้งจะต้องเตรียมอุปกรณ์ประกอบการสอนอย่างมาก

4. ครูจะต้องใช้เวลาในการสอนมาก เพราะการสอนทุกทักษะจะต้องใช้วิธีฝึกอย่างหนักหน่วง เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ภาษาอย่างอัตโนมัติ

5. ครูจะต้องได้รับการฝึกหัดอย่างเชี่ยวชาญ รู้ภาษาอังกฤษอย่างดี จึงจะเป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาได้

ข้อดี

1. สอนตามหลักธรรมชาติของการเรียนภาษา

2. ส่งเสริมให้นักเรียนเข้าใจภาษาได้โดยเร็ว เป็นการประหยัดเวลา

3. การสอนจะช่วยให้นักเรียนพอใจและสนุกสนาน เพราะนักเรียนจะเป็นฝ่ายที่มีกิจกรรมตลอดเวลา ทำให้บทเรียนมีชีวิต

4. นักเรียนมีความมั่นใจว่าตนใช้ภาษาได้ถูกต้อง เพราะมีแบบของภาษาที่ถูกต้องเป็นแบบอย่าง

5. นักเรียนเรียนด้วยความรู้สึกสบายใจ เพราะบทเรียนเริ่มจากของง่ายและค่อย ๆ มากเพิ่มขึ้นเป็นขั้น ๆ ไป

6. นักเรียนรู้สึกว่าสิ่งที่ตนเรียนไปนั้นมองเห็นผลที่จะได้รับปลายทางว่าเมื่อเรียนแล้วจะเอาไปพูด อ่านหนังสืออังกฤษรู้เรื่อง และจะเขียนก็ได้
 
 


หน้าที่ :: 46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved