กระบวนการกลุ่ม
ช่อลัดดา ขวัญเมือง (2541) ให้ความหมายของกระบวนการกลุ่มว่า หมายถึง กระบวนการ ที่ช่วยให้นักเรียนได้มีพัฒนาการในด้านทัศนคติ ค่านิยมและพฤติกรรมที่บกพร่อง เป็นปัญหาควรแก้ไข โดยกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ จึงเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าใจความต้องการของตนเองและของผู้อื่น จากการสัมผัสด้วยการปฏิบัติจนเกิดการค้นพบสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น บีช (Beach,Dale S.,1965) ให้ความหมายของกลุ่มสัมพันธ์ว่าเป็นวิธีการศึกษาอย่างมีระบบ ระเบียบ เป็นแบบแผน เป็นวิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific study) โดยการประมวลความรู้เกี่ยวกับกระบวนการกลุ่มในองค์การ เพื่อความเข้าใจเรื่องของพลังของกลุ่มและพฤติกรรมกลุ่ม โดย อาศัยความรู้จากสาขาจิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา วัฒนธรรม รัฐศาสตร์และความรู้บางส่วนจากเศรษฐศาสตร์ ชัญญา อภิปาลกุล (2542) ให้ความหมายของกลุ่มสัมพันธ์ไว้ว่า คือ การศึกษาเรื่องเกี่ยวกับกลุ่มคนเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องทัศนคติ พฤติกรรมและความสัมพันธ์ของคนและกลุ่ม อันจะเป็นประโยชน์ต่อความเป็นอยู่และการทำงานร่วมกันของกลุ่มคนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กาญจนา ไชยพันธุ์ (2547) ให้ความหมายของกระบวนการกลุ่มไว้ว่า คือ การที่บุคคลมารวมกันเพื่อศึกษาประสบการณ์ของกลุ่มหลาย ๆ ฝ่าย ศึกษาพฤติกรรมความเป็นผู้นำผู้ตาม ความคิด ฝึกปฏิสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและมีการศึกษาจากประสบการณ์ โดยผู้ศึกษาจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดขึ้น วิจิตร อาวะกุล (2540) กล่าวถึงกระบวนการกลุ่ม (Group Process) เป็นเทคนิคการฝึกอบรมอย่างหนึ่ง ซึ่งใช้กลุ่มเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ถึงพฤติกรรมทัศนคติ การเข้าใจคน วิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคนที่ถูกต้อง รวมถึงการเรียนรู้ปฏิกิริยาภายในกลุ่ม การกระตุ้นให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลง ทุกคนเกิดการหยั่งรู้ รับรู้ด้วยตนเองและพัฒนาตนเอง โดยอาศัยพฤติกรรมกลุ่ม โดยกระบวนการกลุ่มอาจใช้ 1. การเล่นเกมเพื่อการเรียนรู้ ทำให้การเรียนสนุก มีกฎเกณฑ์บางประการ แต่ต้องเลือกเกมให้เหมาะกับวัย เพศ การศึกษา ฯลฯ 2. การแสดงบทบาทท เพื่อให้แสดงออกซึ่งความรู้สึก ความคิดอย่างเสรี ลักษณะเป็นของตนเอง หรือให้เปลี่ยนแปลงภายใต้กฎเกณฑ์ สถานการณ์ที่กำหนดให้ 3. จำลองสถานการณ์ เช่น สร้างสถานการณ์ในชีวิตจริงของชาวชนบทในการแก้ปัญหา การบริหารงาน การจัดระบบงาน ขั้นตอน บุคลากร 4. กรณีตัวอย่าง เป็นการยกสถานการณ์จริงมาให้สมาชิกได้อภิปรายและหาวิธีการแก้ไขปัญหา ใช้ในการกระตุ้นให้ทุกคนออกความคิด ความเห็นในการแก้ปัญหา กลุ่มสมาชิกไม่ควรเกิน 30 คน มีการตั้งวัตถุประสงค์ จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับอายุ เรื่องวัตถุประสงค์ กลุ่มและระดับความรู้ นิรันดร์ จุลทรัพย์ (2540) ให้ความหมายของกระบวนการกลุ่มไว้ว่า เป็นกระบวนการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันของบุคคลภายในกลุ่มทั้งกาย วาจา อารมณ์ ความรู้สึก กิริยาท่าทางและบรรยากาศภายในกลุ่ม ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลง มีการปรับตัว ปรับความสัมพันธ์ต่อกันในลักษณะที่ต่อเนื่องกันเสมอ ไชกิจภิญโญ (2547)ให้ความหมายของกระบวนการกลุ่มว่า คือ กระบวนการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผุ้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยการจัดผู้เรียนให้เรียนรู้เป็นกลุ่ม และให้ผู้เรียนในกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูล ได้สะท้อนความคิดและอภิปราย ได้สรุปความคิดรวบยอดในประเด็นที่กำหนด และสรุปผลการอภิปรายออกมาเป็นข้อสรุปของกลุ่ม
ผลดีของการฝึกอบรมโดยวิธีกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ (นิรันดร์ จุลมรัพย์,2540)
การฝึกอบรมโดยวิธีกลุ่มสัมพันธ์ไรับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันทั้งในเมืองไทยและในต่างประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีทั้งการพัฒนาบุคลากรและพัฒนาองค์การโดยส่วนรวม ดังนี้ 1. ถ้าเป็นการอบรมภายในหน่วยงานเดียวกัน จะทำให้ความสัมพันธ์ภายในหน่วยงานดีขึ้น ลดความขัดแย้งในระบบ การทำงานร่วมกันเป็นทีม บุคลากรมีพฤติกรรมที่เอื้ออำนวยให้กลุ่มเกิดกระบวนการที่ดีในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย 2. ถ้าเป็นการจัดอบรมต่างหน่วยงาน จะก่อให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานดีขึ้น ทั้งนี้เพราะสมาชิกผู้เข้ารับการอบรมได้มีโอกาสทำความรู้จักกัน เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ในระบบเดียวกัน จึงเกิดเป้นความสัมพันธ์ต่อกันขึ้น 3. เปิดโอกาสให้สมาชิกผู้เข้ารับการอบรมที่มีความณู้ในระดับเดียวกัน มีความสนใจในเรื่องคล้ายคลึงกัน ปฏิบัติงานที่คล้ายกัน มาร่วมแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องเดียวกันในรูปแบบของการระดมสมอง (Brain Storming) 4. สมาชิกผู้เข้ารับการอบรมมีหน้าที่ในการแก้ปัญหา หรือมีตำแหน่งทางการบริหารได้มีโอกาสวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ร่วมกัน เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาในรูปแบบของกรณีศึกษาที่วิทยากรกำหนดให้ 5. เป็นการช่วยลดความเบื่อหน่ายจำเจในการอบรม และยังช่วยให้สมาชิกผู้เข้าอบรมเกิดแง่คิดและได้รับการเรียนรู้ในแง่มุมต่าง ๆ จากการเล่นเกมต่าง ๆ จากเพลงและเพลงประกอบจังหวะท่าทาง กล่าวโดยสรุป การจัดกระบวนการฝึกอบรมนอกจากจะต้องใช้เทคนิคในการถ่ายทอดความณุ้และประสบการณ์ให้กับบุคคลแล้ว ยังจะต้องเพิ่มรูปแบบในการสร้างความสัมพันธ์ของบุคคลในกลุ่มช่วยให้คนสามารถที่จะเรียนรู้และทำงานร่วมกันได้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
วิจิตร อาวะกุล (2540) กล่าวถึงประโยชน์ที่จะได้จากการฝึกอบรม ดังนี้
1) สนองความต้องการกำลังคน(Meeting Manpower Needs)
) เป็นการลดเวลาการเรียนรู้ให้สั้นเข้า (Reduce Learning Time)
3) ปรับปรุงความสามารถในการทำงานให้สูงขึ้น(Improved Performance) 4) ลดความสิ้นเปลือง (Reduce Wastage)
5) ลดการขาดลางาน (Less Absenteeism)
6) ลดอุบัติเหตุ (Fewer Accidents)
7) ลดการลาออกของคนงาน(Reduce Labour Turnover
8) เพื่อประโยชน์แก่พนักงานผู้เข้ารับการอบรมเอง (Benefits to Employee)
9) ใช้วิธีการฝึกอบรมที่ถูกวิธี
10) ความสัมพันธ์กับประชาชนลุกค้าบริการดีขึ้น
11) ลดความสิ้นเปลือง
12) ประหยัดเงินที่รั่วไหลได้มาก
13) ขจัดปัญหาในการที่ต้องหาจ้างคนงานที่มีฝีมือดีมาทำงาน
14) การฝึกอบรมจะช่วยส่งเสริมการนิเทศ และ
15) ช่วยให้หน่วยงานได้ปรับตัวดีขึ้น
ประโยชน์อื่นที่จะได้รับจากการอบรม
1) เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานของบุคลากรจึงลดค่าใช้จ่ายขององค์การ
2) สนองความต้องการของบุคลากรที่แสวงหาความรู้ การศึกษาและความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
3) เพิ่มประสบการณ์และทักษะการทำงานทางลัดของการทำงานและการบริหารงาน
4) พัฒนาการทำงานขั้นพื้นฐานขององค์การให้ถูกต้องและได้มาตรฐาน 5) เพิ่มขีดความสามารถและความรับผิดชอบในการทำงานของบุคลากร
6) เกิดการเคลื่อนไหวตำแหน่งหน้าที่ เป็นการปรับปรุงขวัญกำลังใจ
7) เพิ่มพูนคุณภาพ ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ วัยวุฒิที่สูงขึ้นได้เร็วขึ้น
8) สร้างความพร้อมแก่บุคลากร เพื่อการสับเปลี่ยน หมุนเวียน โยกย้ายและการเข้ารับตำแหน่งใหม่
9) เมื่อทุกคนมีประสิทธิภาพคนน้อยทำงานได้เท่ากับคนมาก จึงลดอัตราการจ้างคนใหม่ การทดแทนคนเก่าที่ย้ายไปเป็นการเพิ่มประสิทธิผล ลดค่าใช้จ่ายขององค์การ
ธิดารัตน์ พวงงาม (2548) ได้ศึกษาผลของกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 4 จังหวัดขอนแก่น โดยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 14 – 18 ปี จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ 10 ครั้ง และแบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และทำการวิเคราะห์ผลของกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ต่อการเห็นคุณค่าในตนเองโดยใช้สถิติ The Wilcoxon Match – Paired Signed Rank Test ผลการวิจัยพบว่า คะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองหลังการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าการใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผลทำให้เยาวชนมีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้น ศศิธร ดีเหมาะ (2539) ได้ศึกษาผลของการใช้กลุ่มสัมพันธ์ที่มีต่อการพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดหลวงสิริบูรณาราม อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มสัมพันธ์สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ๆ ละ 60 นาที รวม 5 สัปดาห์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างความคุ้นเคย การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง การฝึกความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี การฝึกความรับผิดชอบ การฝึกให้เป็นคนตรงต่อเวลา การเคารพต่อกฎระเบียบวินัยของสังคม การสร้างความซื่อสัตย์สุจริต การฝึกความเสียสละ การสร้างความอดทน ขยันหมั่นเพียร และการยอมรับผลการกระทำขอตน ส่วนกลุ่มควบคุมดำเนินการสอนตามปกติ พบว่า หลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความมีวินัยในตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างเชื่อถือได้ด้วยความเชื่อมั่นร้อยละ 95 แต่อย่างไรก็ตามนักเรียนทั้ง 2 กลุ่มมีคะแนนความมีวินัยในตนเองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ภนิดา ภู่โตนนา (2539) ได้ศึกษาผลของกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ต่อการพัฒนาความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ๆ ละ 60 นาที ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง มีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ นักเรียนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง มีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ติรกา รัตนะวัน (2543) ได้ศึกษา ผลของการใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนามนุษยสัมพันธ์ของวัยรุ่นในสถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น โดยเลือกเด็กวัยรุ่นจากสถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีคะแนนมนุษยสัมพันธ์ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของเด็กปกติมา 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองได้รับการฝึกกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ เป็นจำนวน 10 ครั้ง ๆ ละ 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมเรียนตามปกติ ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองเด็กวัยรุ่นในกลุ่มทดลองมีคะแนนมนุษยสัมพันธ์โดยรวมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ หลังการทดลองเด็กวัยรุ่นกลุ่มทดลองมีคะแนนมนุษยสัมพันธ์โดยรวมสูงกว่าวัยรุ่นในกลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 วัฒนพล โชควิวัฒนวนิช (2546) ได้ศึกษาผลของการใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนท่าโพธิศรีพิทยา อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ จำนวน 16 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 8 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการฝึกโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึกโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ มีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์หลังการเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ มีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
|