Introduction to WebPage & HTML
เอกสารเว็บมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับเอกสารงานพิมพ์ทั่วไป คือประกอบด้วยหน้าเว็บมากกว่า 1 หน้า โดยมีหน้าแรกเป็นหน้าปก แต่มีการเรียกชื่อแตกต่างจากเอกสารงานพิมพ์ทั่วไป ดังนี้
- ชุดเอกสารเว็บ (Web Presentation) คือชุดของข้อมูลที่ต้องนำเสนอบนระบบอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วยเว็บเพจ (Web Page) ตั้งแต่ 1 หน้าขึ้นไป
- เว็บเพจ (Web Pages หรือ Web Documents) คือเอกสารที่นำเสนอผลงานบนระบบอินเตอร์เน็ต โดยจะถูกเรียกและจัดรูปแบบการนำเสนอด้วยโปรแกรมเบราเซอร์ (Browser)
- Home Page คือ หน้าแรกของเอกสาร Web
|
โปรแกรมสร้าง Webpage
การพัฒนาเว็บเพจ กระทำได้โดยการใช้ภาษา HTML (HyperText Markup Language) มีลักษณะการลงรหัสทำนองเดียวกับการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่ในปัจจุบันมีเครื่องมือช่วยเหลือหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบลงรหัส HTML และแบบเครื่องมือ ช่วยเนรมิต (Wizard) ดังนั้นสามารถแบ่งการสร้างเว็บเพจได้ 3 วิธี คือ
- ป้อนรหัส HTML ผ่าน Text Editor เช่น NotePad, Qedit ของดอส เป็นต้น วิธีนี้เหมาะสำหรับนักพัฒนาเว็บที่มีความรู้ทางด้านภาษา HTML และต้องการใส่ลูกเล่นให้กับเว็บ เพราะผู้พัฒนาสามารถควบคุมตำแหน่งและจำนวน Tag ได้โดยอิสระ แต่ผู้พัฒนาต้องศึกษาภาษา HTMLจำคำสั่ง HTML และต้องใช้เวลานานพอควรสำหรับการพัฒนาเว็บเพจแต่ละหน้า
- ป้อนรหัส HTML ผ่าน HTML Editor เช่น HomeSite, Coffee Cup HTML Editor, HTML Assistant, HotDog Professional , Dreamweaver เป็นต้น โปรแกรมเหล่านี้ ช่วยให้การลงรหัสกระทำได้สะดวกและรวดเร็ว เพราะมีปุ่มคำสั่ง Tag สำเร็จรูปให้ใช้งาน แต่มีจุดด้อยคือโปรแกรมเหล่านี้ไม่รู้จักชุดคำสั่ง Tag ใหม่ๆ อย่างไรก็ตามผู้พัฒนาก็สามารถบันทึก Tagได้เอง
- ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสร้างงานแบบ WYSIWYG (What You See Is What You Get) หรืออาจจะเรียกว่า HTML Generator เช่น MS-Office 97, Netscape Editor, IE Editor, Front Page โปรแกรมเหล่านี้มีความสามารถสร้างงานแบบ WYSIWYG (What You See Is What You Get) คือ พิมพ์อย่างไร ก็แสดงผลเช่นนั้น ทำให้การสร้างเว็บกระทำได้สะดวก รวดเร็ว ผู้พัฒนาไม่ต้องสนใจเกี่ยวกับ Tag คำสั่ง เพราะโปรแกรมจะทำการแปลงสิ่งที่พิมพ์ให้เป็น Tag คำสั่งโดยอัตโนมัติ แต่มีข้อเสียในเรื่องข้อจำกัดของ Tag คำสั่ง และการพัฒนาเว็บภาษาไทย
เครื่องมือสร้างเวบแบบที่ 1 และ 2 ผู้ใช้จะต้องมีความรู้ในภาษา HTML พอสมควร และเสียเวลาในการคีย์รหัส หรือกำหนดค่าในรหัส แต่มีข้อดีคือ สามารถกำหนดลูกเล่นให้กับ Webpage ได้มาก ในขณะที่ลักษณะการสร้างแบบที่ 3 ทำได้สะดวกกว่า เนื่องจากมีการทำงานเหมือนกับ Word Processor แต่ก็มีจุดด้อยในเรื่องลูกเล่น เพราะปุ่มคำสั่งควบคุมการลงรหัสมีจำกัด ทั้งนี้สำหรับท่านที่จะเริ่มต้นกับ HTML และ Webpage ขอแนะนำการสร้าง Webpage ด้วย Netscape Editor เพื่อให้ผู้อ่านที่จะเริ่มต้นสร้างชิ้นงาน ได้เห็นผลลัพธ์ และมองภาพของรหัส HTML ได้รวดเร็วและชัดเจน |
รูปแบบการออกแบบเว็บเพจ
ลักษณะโครงสร้างของเว็บเพจ
ลักษณะโครงสร้างของเว็บเพจโดยทั่วไป สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะดังนี้คือ
1. แบบลำดับชั้น เป็นการจัดแสดงหน้าเอกสารเว็บในลักษณะเรียงตามลำดับเป็นกิ่งก้านแตกแขนงต่อเนื่อง เปรียบได้กับต้นไม้กลับหัว
2. แบบเชิงเส้น เป็นการจัดแสดงหน้าเอกสารเว็บ โดยเรียงต่อเนื่องกันไปในทิศทางเดียวไม่มีการแตกออกเป็นกิ่งก้านสาขา
3. แบบผสม เป็นการจัดเรียงของหน้าของเอกสารเว็บโดยผสมผสานระหว่างแบบลำดับชั้นและแบบเชิงเส้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ที่ทำการออกแบบ ว่าจะจัดเรียงลำดับของรูปแบบเอกสารเว็บในลักษณะใด
ขั้นตอนการพัฒนาเว็บเพจ
ลำดับขั้นตอนสำหรับการพัฒนาเว็บเพจ สามารถจำแนกเป็นลำดับขั้นตอนได้ดังนี้
1. วางแผนการพัฒนาเว็บเพจ
2. กำหนดโฟลเดอร์ที่ใช้สำหรับเก็บแฟ้มข้อมูลที่เกี่ยวกับเว็บเพจ
3. จัดหาภาพที่เกี่ยวกับข้องกับเนื้อหาและจัดเก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่ได้กำหนดไว้
4. สร้างเอกสารเว็บโดยกำหนดชื่อของแฟ้มข้อมูลเอกสารเว็บ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดและจัดเก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่ได้กำหนดไว้
5. ตรวจสอบผลเอกสารเว็บผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์
6. นำข้อมูลขึ้นไปเก็บไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) และทำการตรวจสอบผลการเรียกดูเอกสารเว็บที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายรายละเอียดของขั้นตอนการพัฒนาเว็บเพจมีหลายขั้นตอนที่ต้องขึ้นอยู่กับผู้ดูแลระบบ(Web System Administrator)
เป็นผู้กำหนดวิธีการ
|