Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14323105  

ชุมชนคนสร้างสื่อ

การใช้งาน Recycle Bin หรือถังขยะบนระบบปฏิบัติการ Windows ให้เกิดประโยชน์ 
Recycle Bin ที่มีหน้าตาของไอคอน เป็นรูปถังขยะอยู่บนหน้าจอของวินโดวส์นี้ บางครั้ง ก็มีประโยชน์ไม่ใช่น้อย ในการใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะว่า Recycle Bin จะทำตัวเป็นคล้ายกับ ถังขยะ ที่เราใส่ไฟล์ที่ไม่ต้องการใช้งานแล้วและทำการลบทิ้งไป แต่ถ้าหาก วันดีคืนดี เกิดเปลี่ยนใจ อยากได้ไฟล์ที่ลบทิ้งไปแล้วนี้ ก็ยังสามารถเข้าไปรื้อค้น และหาไฟล์นั้นนำกลับมาได้ด้วย

มาดูหลักการทำงานและการใช้งาน Recycle Bin กันก่อน

เริ่มต้นจาก ทุกครั้ง ที่เราทำการลบไฟล์ทิ้งไปจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็จะทำการเลือกไฟล์ที่ต้องการลบ และกดที่ปุ่ม Delete ซึ่งหมายกึงการสั่งลบไฟล์ทิ้ง จะได้หน้าตาตามภาพด้านล่างนี้



ลองสังเกตุดูให้ดี ๆ นะครับ หน้าจอนี้จะเขียนว่า คุณแน่ใจไหม ว่าจะส่งไฟล์ไปไว้ใน Recycle Bin? นั่นหมายความว่า การลบไฟล์ ของระบบวินโดวส์ ก็คือการที่ย้ายไฟล์นั้น ไปเก็บไว้ใน Recycled Bin นั่นเอง

หากต้องการยืนยันการลบไฟล์จริง ๆ ก็กดที่ปุ่ม Yes ได้เลยครับ หลังจากนั้น ไฟล์ที่ลบ ก็จะหายไป ซึ่งที่จริงแล้ว เครื่องไม่ได้ทำการ ลบไฟล์นั้น ทิ้งไปแต่อย่างใด เพียงแค่ เปลี่ยนนำไปเก็บไว้ใน Recycle Bin เท่านั้น ดังนั้น เมื่อไรก็ตา ที่เราเกิดเปลี่ยนใจ อยากจะนำไฟล์ที่ลบทิ้ง กลับคืนมา ก็เพียงแค่คลิกไอคอนรูปถังขยะ Recycle Bin บนหน้าจอ Desktop จะได้ดังภาพ



จะเห็นว่าไฟล์ต่าง ๆ ที่ลบทิ้งไปนี้ ยังอยู่ครบถ้วน โดยที่ในเมนูของ Recycle Bin จะมีเมนูทางด้านซ้ายมือให้เลือก หลัก ๆ ก็จะมีความหมายดังนี้

EmptyRecycleBinหมายถึงการลบไฟล์ในถังขยะนี้ทิ้งไปหมดหรือความหมาย ก็เหมือนกับการนำเอาถังขยะไปเทนั่นเอง ซึ่งหลังจากที่ทำการ Empty Recycle Bin ไปแล้ว เราก็จะไม่สามารถกู้ไฟล์ที่เคยลบทิ้ง กลับคืนมาได้อีกต่อไป

RestoreAll หมายถึง การการกู้ไฟล์ต่าง ๆ ที่ยังมีเก็บอยู่ใน Recycle Bin ให้กลับไปอยู่ในตำแหน่งเดิมทั้งหมด

ดังนั้น ถ้าหากต้องการที่จะกู้ไฟล์ที่ลบทิ้งไปกลับมา ก็ให้ทำการคลิกเมาส์เลือกที่ไฟล์ ที่ต้องการจะนำกลับคืนมา



หลังจากที่เลือกไฟล์แล้ว จากนั้นก็กดที่ปุ่มเมนู Restore ทางซ้ายมือ เพื่อทำการกู้ไฟล์ที่เลือกไว้ แค่นี้เองครับ ง่าย ๆ ไฟล์เหล่านี้ ก็จะกลับไปอยู่ในตำแหน่งเดิมทันที

การปรับแต่งค่าต่าง ๆ ของ Recycle Bin ที่ควรจะทราบไว้

อย่างแรก ต้องทราบก่อนว่า วิธีการลบหรือล้างถังขยะใบนี้ นอกจากจะใช้ปุ่ม Empty Recycle Bin ตามที่ได้กล่าวมาตอนแรกแล้ว ยังมีอีกวิธีหนึ่งคือการใช้ Disk Cleanup ซึ่งจะเป็นการลบไฟล์ในถังขยะนี้ทิ้งไปได้ด้วย

การเรียก Disk Cleanup ก็ทำได้จาก การกดเมาส์ขวาที่หน้าไอคอน ของฮาร์ดดิสก์ที่ต้องการ และกดที่ปุ่ม Disk Cleanup



ใน Disk Cleanup เราจะเห็นรายการของ Recycle Bin ที่อาจจะลบทิ้งจากตรงนี้ก็ได้ และทุกครั้งที่เราใช้ Disk Cleanup ก็ต้องไม่ลืมว่า เป็นการลบไฟล์ในถังขยะนี้ ซึ่งจะมีผลทำให้ เราไม่สามารถกู้ไฟล์ที่เคยลบทิ้งได้อีกต่อไปครับ

นอกจากนี้ ยังสามารถกำหนดการทำงานของ Recycle Bin ได้ด้วย โดยที่ปกติ เมื่อพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์เหลือน้อย ๆ ลง โปรแกรม Disk Cleanup ก็จะมีการทำงานโดยอัตโนมัติตามภาพด้านล่าง



ทุกครั้งที่เหลือพื้นที่น้อย ๆ Disk Cleanup ก็จะแจ้งให้เราทำการลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นทิ้ง แต่เราสามารถปิดการทำงานนี้ได้ (ถ้ารู้สึกว่าไม่จำเป็น) โดยการเข้าที่ Disk Cleanup จากที่กล่าวมาตอนแรก และกดที่ปุ่ม Settings ตามภาพด้านล่าง



หากไม่ต้องการให้โปรแกรม Disk Cleanup ทำงานเมื่อเหลือพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์น้อย ๆ ก็เอาเครื่องหมายถูก ออกไป

การกำหนดคีย์ลัดในการลบไฟล์ แบบที่ไม่สามารถกู้กลับคืนมาได้

อีกรูปแบบหนึ่ง ของการใช้งานและวิธีการลบไฟล์ทิ้งคือ การลบไฟล์แบบสิ้นซาก คือวิธีการลบไฟล์ทิ้ง แบบที่ไม่สามารถ จะทำการ กู้ไฟล์กลับคืนมาได้ ซึ่งผมเห็นหลาย ๆ ท่านได้สอนกันมาแบบนี้ แต่ผมอยากบอกว่า ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะไม่แน่ครับ บางครั้ง คุณอาจจะเกิดเปลี่ยนใจขึ้นมาก็ได้

การลบไฟล์ปกติ โดยกดเลือกที่ไฟล์ที่จะลบ และกดปุ่ม Delete จะได้หน้าต่างตามภาพด้านล่าง



ถ้าหากต้องการลบไฟล์แบบสิ้นซาก ทำได้โดยกดปุ่ม Shift ค้างไว้พร้อมกับ Delete ซึ่งจะได้หน้าต่างดังภาพ



ลองสังเกตุให้ดีครับ หน้าต่างจะเปลี่ยนจากการย้ายไฟล์ไปใส่ Recycle Bin กลายเป็นการถามยืนยันลบไฟล์ทิ้ง ซึ่งแน่นอน ถ้าทำแบบนี้ คุณจะไม่มีทางเปลี่ยนใจใหม่ได้เลย ดังนั้น ฝึกหัดการลบไฟล์ใหม่ ให้ถูกต้องนะครับ

กรณีที่ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินกำหนด ก็จะไม่สามารถลบโดยทำการกู้ไฟล์กลับคืนมาได้ เนื่องจากไฟล์นั้นมีขนาดใหญ่เกินไปกว่า ขนาดพื้นที่ของ Recycle Bin จะรับได้



โดยที่ถ้าหากลบไฟล์ที่มีขนาดใหญ่เกินนั้น ก็จะมีเมนูยืนยันตามภาพด้านบนนี้ ก่อนที่จะทำการลบไฟล์ทิ้ง

ปัญหาของคนไทยอีกอย่างหนึ่งคือ หลายท่าน มักจะได้รับการสอนมาว่า หลังจากลบไฟล์แล้วต้องตามไปลบใน Recycle Bin ต่ออีกครั้งด้วย จะได้สะอาดเรียบร้อย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีความจำเป็นเลย และหลาย ๆ คนที่เกิดเปลี่ยนใจ ก็มักจะต้อง ไปตั้งคำถามที่เว็บบอร์ดบ่อย ๆ ว่า ลบไฟล์และ empty recycle bin ไปแล้ว จะมีวิธีการกู้ไฟล์กลับมาได้ไหม คิดว่าคุณคงไม่อยากเป็นเช่นนั้นบ้างใช่ไหมครับ

การกำหนดจำนวนขนาดพื้นที่สำหรับกันไว้เป็น Recycle Bin

นอกจากนี้ เรายังสามารถกำหนดค่าต่าง ๆ ของ Recycle Bin ได้ด้วย กดการคลิกเมาส์ขวาที่ไอคอน Recycle Bin จากหน้าจอ Desktop และเลือก Properties ครับ



จากภาพด้านบน จะสามารถกำหนดค่าต่าง ๆ ได้ เช่นการกำหนดจำนวนพื้นที่ของ Recycle Bin ในแต่ละไดร์ฟ โดยอาจจะกำหนดเท่ากันทุกไดร์ฟ หรือจะแยกกำหนดค่าขนาดพื้นที่ของแต่ละไดร์ฟก็็ได้ และนอกจากนี้ยังสามารถกำหนด การยืนยันเมื่อลบไฟล์ได้ด้วย โดยเลือกที่ช่อง Display delete confirmation dialog box ครับ

โดยที่ระบบของ Recycle Bin นี้ ปกติแล้ว จะมีระบบจัดการและบริหารพื้นที่ ได้อย่างอัตโนมัติ ดังนั้น ไม่ต้องไปห่วงเรื่อง พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ เหล่านี้เลยครับ ก็หวังว่า บทความเรื่องนี้ คงจะพอทำให้ ท่านได้รู้จักกับประโยชน์ของ Recycle Bin และใช้เครื่องมือนี้ ให้เกิดเป็นประโยชน์กันได้บ้าง



หน้าที่ :: 33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved