หลักการสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Programmed Instruction
การจัดการเรียนรู้แบบ Programmed Instruction มีหลักการสำคัญ 4 ประการ คือ
1. Active Participation ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อันเกิดจากการเสริมแรงจากการทราบคำตอบ
2. Immediate Feedback มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีภายหลังจากที่ผู้เรียนทำกิจกรรมตอบสนองสิ่งเร้านั้นๆ
3. Successful Experience ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ตามลำดับขั้นทีละน้อยและรู้ผลทันทีที่ตอบคำถาม
4. Gradual Approximation มีการจัดบทเรียนอย่างเป็นระบบ
ลักษณะของ Programmed Instruction
กรองกาญจน์ อรุณรัตน์ (2536:3–4) กล่าวว่า Programmed Instruction มีคุณลักษณะ ที่เป็นสื่อพร้อมที่จะใช้เรียนรู้ และสามารถนำ Programmed Instruction ไปใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีกได้ โดยที่ผลการเรียนรู้ที่ได้จะยังคงเดิม Programmed Instructionอาจมีทั้งสื่อที่เป็นสิ่งพิมพ์และสื่อที่ไม่ใช้สิ่งพิมพ์ หรืออาจจะเป็นสื่อทั้งสองประเภทรวมกัน โดยมีหลักในการสร้างดังนี้
1. ผู้เรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้สอนบ่อยๆ เพราะใน Programmed Instruction ผู้เรียนสามารถกระทำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นผู้เรียนจึงสามารถเรียนตามอัตราความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
2. มีการตั้งคำถามหรือปัญหาเฉพาะที่ถามขึ้นในบทเรียน เพื่อต้องการให้ผู้เรียนตอบแบบเปิดเผย และผู้เรียนต้องตอบสนองต่อคำถามดังกล่าวบ่อยๆ ในขณะที่กำลังศึกษา Programmed Instruction นั้นอยู่
3. เมื่อผู้เรียนตอบคำถามใน Programmed Instruction ผู้เรียนจะได้ทราบข้อมูลที่เป็นคำตอบอันจะทำให้ผู้เรียนมีข้อมูลอย่างเพียงพอในการพิจารณาตัดสินได้ว่าสิ่งที่เขาตอบนั้นผิดหรือถูกเพียงใด
4. มีการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นลำดับขั้น และมีระบบทำให้เกิดหน่วยการเรียน (Frames) ในลักษณะของ Programmed Instruction ชนิดเส้นตรงและแตกกิ่ง เพื่อควบคุมพฤติกรรมของผู้เรียนในการตอบสนองภายใน Programmed Instruction
เปรื่อง กุมุท (2527:4) กล่าวถึง คุณลักษณะของ Programmed Instruction ว่ายึดหลักการสำคัญของหลักการสอนที่ดี 4 ประการ คือ
1. ให้ผู้เรียนตอบสนอง ( ทำกิจกรรม ตอบคำถาม ) อยู่ตลอดเวลา
2. ให้ผู้เรียนทราบผลการตอบสนองหรือทำกิจกรรมทันที
3. มีการเสริมแรงและให้กำลังใจในการเรียน (ชมเชย ให้กำลังใจ)
4. เกิดการเรียนรู้เป็นขึ้นตอนตามลำดับตั้งแต่ง่ายไปหายาก
วาสนา ชาวหา (2522:23-24) กล่าวถึงคุณลักษณะของบทเรียนแบบโปรแกรม ดังนี้
1. การแบ่งขั้นการเรียนรู้เป็นหน่วยย่อยๆ (Gradual Approximation) คือ การจัดความรู้หรือเนื้อหาวิชาให้ผู้เรียนได้เรียนไปทีละขั้นทีละตอน และแต่ละขั้นย่อยๆ นั้น ได้มีการลำดับจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยากไปทีละน้อยๆ อย่างต่อเนื่องกัน ไม่สับสนและไม่เป็นการยัดเยียดความรู้ให้แก่ผู้เรียน
2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น ( Active –Participation) โดยการกระทำด้วยตนเอง อาจจะจัดในรูปการซักถามเพื่อให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามการทดสอบ การอภิปราย หรือวิธีการใดๆที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมและเป็นไปได้อย่างทั่วถึงทุกคน
3. ผู้เรียนได้ทราบผลการเรียนของตนทันที (Immediate Feedback)
4. ผู้เรียนประสบผลสำเร็จเป็นระยะๆ (Successful Experience) เนื่องจากการแบ่งขั้นการเรียนออกเป็นหน่วยย่อยให้ง่ายต่อการเข้าใจ และยังแจ้งผลการตอบสนองของการเรียนรู้ในทันที จึงทำให้ผู้เรียนได้รับความพอใจในความสำเร็จของตน เสมือนเป็นการให้รางวัล
สุนันท์ ปัทมาคม (2530:12) กล่าวถึงคุณลักษณะของProgrammed Instructionดังนี้
1. เป็นขั้นความรู้ย่อยๆ ที่เรียงลำดับไว้ สำหรับเป็นสิ่งเร้าความสนใจของผู้เรียน
2. ผู้เรียนตอบความรู้แต่ละข้อตามวิธีการที่กำหนดให้
3. การตอบของผู้เรียนจะได้รับการเสริมแรงโดยการให้ทราบผลทันที
4. ผู้เรียนค่อยๆ เรียน เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นการก้าวจากสิ่งที่รู้แล้วไปสู่ความรู้ใหม่ที่บทเรียนแบบโปรแกรมเตรียมไว้ให้
5. ผู้เรียนมีโอกาสเรียนด้วยตนเอง โดยที่ใช้เวลาในบทเรียนหนึ่ง ๆ จะมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสติปัญญาและความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
จาโคบ (Jacob. 1966: 1) อธิบายคุณลักษณะของ Programmed Instruction 5 ประการ คือ
1. เป็นความรู้ย่อยที่เรียงลำดับไว้สำหรับเป็นสิ่งเร้าความสนใจของผู้เรียน
2. ผู้เรียนตอบสนองความรู้แต่ละข้อตามที่กำหนดไว้
3. การตอบสนองของผู้เรียนจะได้รับการเสริมแรงและทราบผลทันที
|