ประเภทของProgrammed Instruction
Programmed Instructionจำแนกได้หลายประเภท
สันทัด ภิบาลสุข (2522: 56) แบ่งประเภทของ Programmed Instruction ออกได้ ดังนี้
1. แบ่งตามวิธีการที่จะเสนอผู้เรียน แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.1 Programmed Instruction ที่ใช้กับเครื่องช่วยสอน (Teaching Machine)
1.2 Programmed Instruction ที่อยู่ในรูปของตัวหนังสือ (Programmed Textbook)
2. แบ่งตามประเภทของการตอบสนอง แบ่งได้เป็นสองชนิด คือ
2.1 แบบที่ผู้เรียนสร้างคำตอบเอง (Constructed Response)
2.2 แบบที่มีคำตอบให้เลือก (Multiple Choice)
3. แบ่งตามเทคนิคการเขียนบทเรียนและลักษณะการตอบสนองของผู้เรียน แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
3.1 Programmed Instruction แบบเส้นตรง (Linear Programmed)
3.2 Programmed Instruction แบบสาขา (Branching Programmed or Intrinsic
Programmed )
สุนันท์ ปัทมาคม. (2530 : 48) แบ่ง Programmed Instruction เป็น 2 ประเภท คือ
1. Programmed Instruction แบบเส้นตรง (Linear Programmed)
2. Programmed Instruction แบบสาขา (Branching Programmed or Intrinsic Programmed)
Programmed Instructionแบบเส้นตรง ( Linear Programmed )
Programmed Instructionแบบเส้นตรง สร้างขึ้นตามทฤษฎีของ สกินเนอร์ (B.F.Skinner) ซึ่ง ฟราย (Fry. 1963 อ้างอิงจาก เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต.2528 : 278) ได้กล่าวถึงProgrammed Instructionประเภทนี้ว่ามีลักษณะ ดังนี้
1. แบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วยย่อย ๆ โดยเฉลี่ยความยาวประมาณ 2 ประโยค
2. กระตุ้นให้ผู้เรียนตอบสนองโดยตั้งคำถามให้ผู้เรียนตอบเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว การใช้หน่วยย่อยๆ ในการเสนอบทเรียนที่ผู้เรียนเข้าใจง่าย และเป็นไปตามลำดับขั้น
3. การจัดเนื้อหาเรียงลำดับและนำเสนอเป็นตอนๆ เมื่อผู้เรียนตอบถูกก็จะเรียนในกรอบต่อไป
ไชยยศ เรืองสุวรรณ ( 2521 : 170 ) กล่าวถึงลักษณะ Programmed Instruction เส้นตรงว่ามีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ
1. เป็นบทเรียนที่ตั้งอยู่บนรากฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ และการเสริมแรง และเน้นในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างขั้นต่อขั้น
2. เป็นแบบที่นิยมสร้างรูปแบบของการตอบสนองโดยการกำหนดให้
3. รูปแบบของการเรียนจะต่อเนื่องกันซึ่งผู้เรียนจะต้องติดตามทุกขั้นตอน และทุกเฟรม (Frame)
เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต. ( 2528 : 278 – 279 ) กล่าวว่า
Programmed Instruction นั้นสามารถนำเสนอได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1. Programmed Instruction เส้นตรงแบบเรียงลำดับ (Straight Forward Linear
Program) เป็นProgrammed Instructionที่เรียงข้อไปในหน้าเดียวกัน
คำตอบอาจจะอยู่ตรงกับข้อที่ผู้เรียนต้องตอบหรืออาจจะอยู่ในข้อถัดไปก็ได้ และอยู่ด้านซ้ายหรือด้านขวาของเนื้อหาก็ได้
2. Programmed Instruction เส้นตรงแบบซับซ้อน ( Complex Linear Program ) แบบนี้จะ
แบ่งแต่ละหน้าออกเป็น 3 หรือ 4 ส่วน ข้อที่ 1 จะอยู่ส่วนบนของหน้าแรก ข้อที่ 2 จะอยู่ส่วนบนของหน้า 2 และมีคำตอบข้อที่ 1 ไว้ตอนหน้าหรือส่วนท้ายของข้อที่ 2 ดำเนินเช่นนี้จนจบ
3. Programmed Instruction เส้นตรงแบบพลิกกลับเล่ม (Upside Down Linear Program)
แบบนี้จะให้ผู้เรียนเริ่มเรียนหน้าขวามือตลอดเล่ม ส่วนหน้าซ้ายมือเป็นกรอบที่พิมพ์หัวกลับเพื่อให้ผู้เรียนที่เรียนหน้าขวามือตลอดเล่มแล้วได้กลับหัวบทเรียนเพื่อเรียนทางหน้าซ้ายมือจนตลอดเล่ม
พรรณี ช. เจนจิต ( 2538 :313 –134 ) กล่าวว่า Programmed Instruction แบบเส้นตรงมีพื้นฐานอยู่ที่การจัดเนื้อหาที่จะให้เรียนเพื่อที่จะให้ผู้เรียนตอบถูก ดังนั้นบทเรียนประเภทนี้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้คิดหาคำตอบเอง โดยที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนตอบถูกมากที่สุด ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้
1. บทเรียนแต่ละชุดประกอบด้วยหลายๆ กรอบ แต่ละกรอบจะมีเรื่องที่จะให้เรียนทีละนิด (Small Step) ติดต่อเชื่อมโยงกันไปตลอด การให้ข้อมูลที่ละนิดเพื่อช่วยให้ผู้เรียนจำเรื่องราวที่จะให้เรียนได้ติดต่อกันไปโดยไม่ขาดตอน ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จัดเรียงลำดับไว้เป็นระเบียบต่อเนื่องกัน จากง่ายไปจนถึงยาก
2. ในการเรียนนั้นกำหนดว่า จะต้องให้ผู้เรียนตอบถูกได้มากที่สุด โดยทั่วๆ ไป 1 คำตอบ ใน 1 กรอบ แต่อาจจะเป็น 4-5 คำตอบใน 1 กรอบก็ได้ ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้คิดหาคำตอบเอง ตอนแรก ๆ ของบทเรียนจะมีลักษณะชี้แนะช่องทางให้ เพื่อให้ตอบถูก และมีลักษณะที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจได้ด้วยตนเอง การชี้ช่องทางนี้จะค่อยๆ หายไป
3. บทเรียนแต่ละกรอบจะมีลักษณะ Teach-Test สลับกันไป โดยที่บทเรียนกรอบต้นๆ จะมีลักษณะสอน และกรอบต่อไปเป็นกรอบทดสอบ หรือบางกรอบอาจจะเป็นการทดสอบอย่างเดียว ถ้าเนื้อหานั้นยังเกี่ยวข้องกับเนื้อหาข้างต้น
4. ให้รู้ผลของการกระทำอย่างทันทีทันใดว่าคำตอบนั้นถูกหรือผิด ซึ่งถือว่าเป็นการเสริมแรง
(Reinforcement ) เพราะถือว่าการรู้ผลการเรียนจะช่วยให้การเรียนดีขึ้น
Programmed Instruction แบบเส้นตรงจึงเป็นบทเรียนที่จัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนหรือกระทำการตอบสนองต่อบทเรียนเหมือนกันทุกคน และผู้เรียนจะต่อศึกษาไปตามกรอบของเนื้อหาที่กำหนด โปรแกรมจะถูกจัดเรียงตามลำดับเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามลำดับขั้นตอน จากเนื้อหาที่ง่ายไปสู่เนื้อหาที่ยากจนกระทั่งจบบทเรียน ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถของตนเอง ไม่จำกัดเวลา และผู้เรียนต้องทราบผลการเรียนรู้ของตนเองอย่างทันที ซึ่งถือเป็นการเสริมแรงอย่างหนึ่ง ดังนั้นการจัดทำบทเรียนจึงต้องมีความสมบูรณ์มากที่สุด โดยจะต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยาการเรียนรู้มาประกอบในการพัฒนาบทเรียนเป็นประการสำคัญด้วย
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2530: 41-42) ได้กล่าวถึงข้อควรคำนึงในการสร้าง Programmed Instructionแบบเส้นตรงดังนี้
1. ควรวางแผนในการผลิตด้วยความรอบคอบ วัตถุประสงค์ต้องชัดเจน
องค์ประกอบอื่นๆ ต้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของบทเรียน
2. ควรแสดงโครงสร้างหรือขอบข่ายของบทเรียนให้ผู้เรียนทราบในตอนต้น
3. เนื้อหาย่อยๆ ในแต่ละหน่วยย่อมทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในหน่วยถัดไป
4. เนื้อหาแต่ละหน่วยควรเหมาะสมกับช่วงความสนใจของผู้เรียน ถ้าเนื้อหายาวเกินไป
ควรแบ่งเป็นตอนๆ หรือให้มีการพักระหว่างกรอบโดยขั้นด้วยนิทาน หรือเกมส์ เป็นต้น
5. เนื้อหาซึ่งเป็นสิ่งเร้าและสิ่งที่จะให้ผู้เรียนตอบสนองนั้นควรสัมพันธ์กัน
6. ระหว่างกรอบควรมีความต่อเนื่อง ถ้าตอบผิดต้องมีการชี้แนะและซ่อมเสริม
7. กรอบหนึ่งๆควรมีเนื้อหาเพียงความคิดเดียว
8. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์มากที่สุด
9. มีการชี้แนวทางหรือแนะให้ผู้เรียนตอบคำถามได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
10. มีคำตอบที่ถูกต้องให้ผู้เรียนทราบได้ทันที เพื่อเป็นการเสริมแรงให้อยากเรียนต่อ
11. ภาษาและคำศัพท์ที่ใช้ควรชัดเจนเหมาะสมกับพื้นฐานของผู้เรียน
12. การใช้รูปภาพจะช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ ควรมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาวิชา
13. สร้างรูปเล่มให้สวยงามสะดุดตาผู้เรียน
Programmed Instructionแบบสาขา
(Branching Programmed or Intrinsic Programmed)
Programmed Instructionแบบสาขาเป็นผลจากการค้นคว้าทดลองของ โครว์เดอร์ (Norman Crowder) แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก มีความเชื่อว่าการเรียนรู้โดยการใช้ Programmed Instruction นี้ ถ้าผู้เรียนตอบสนองผิดเขาควรได้รับการแก้ไขหรืออธิบายเพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจได้อย่างถูกต้อง (สันทัด ภิบาลสุข. 2522:58) เป็นบทเรียนที่ผู้เรียนสามารถเลือกคำตอบได้หลายทางโดยอาศัยกรอบยืนเป็นหลัก ทางเลือกเหล่านี้นั้นเป็นกรอบสาขาที่ช่วยชี้ให้ผู้ตอบทราบเหตุผลของการตอบ (ประหยัด จิระวรพงษ์. 2522: 226) บทเรียนชนิดนี้จะมีประโยขน์มากสำหรับผู้ที่เรียนเก่งจะสามารถเรียนจบได้เร็ว ส่วนผู้ที่เรียนช้าหรือเรียนอ่อนก็สามารถเรียนจบได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่จะต้องใช้เวลาเรียนมากกว่า (สุนันท์ ปัทมาคม. 2530: 53) การเขียน Programmed Instruction แบบสาขาต้องเขียนเนื้อหาให้ชัดเจนและตัวเนื้อหาจะต้องเหมาะสม การเขียน Programmed Instruction แบบสาขาต้องเขียนเนื้อหาในลักษณะที่จบในตัวเอง และเสนอเนื้อหา แนวความคิด และขยายความรู้ให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยจะต้องมีการเฉลยคำตอบในอีกหน้าหนึ่งแยกต่างหาก (เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต. 2528 : 281)
|