Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14327322  

คลีนิคสุขภาพ

อาหารกับสายตา

Article : รศ.ดร. อรอนงค์ กังสดาลอำไพ

ผู้เฒ่าผู้แก่มักจะบอกลูกหลานให้กินผักบุ้งเยอะๆ จะได้ตาหวาน ความเชื่อนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องอย่างยิ่ง เนื่องจากผักบุ้งจะมีสารอาหารพวกวิตามินและแร่ธาตุอยู่มาก วิตามินที่เกี่ยวข้องกับตาคือวิตามินเอ ซึ่งในผักบุ้งหรือผักใบเขียวและเหลืองวิตามินเอจะอยู่ในรูปแคโรทีนอยด์ ตัวที่สำคัญและรู้จักกันดีคือเบต้าแคโรทีน ในร่างกายเบต้าแคโรทีนจะถูกเปลี่ยนไปเป็นวิตามินเอที่เยื่อบุลำไส้ แคโรทีนอยด์นอกจากจะเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอแล้ว ยังทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ ป้องกันเนื้องอก ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับการเสื่อมของตาเนื่องจากสูงอายุ และต้อกระจก


วิตามินเอมีความสำคัญเกี่ยวกับการมองเห็นในที่แสงสลัวและความแข็งแรงของเยื่อบุต่างๆ การขาดวิตามินเอทำให้การปรับตาในที่มืดช้าลง ซึ่งสามารถสังเกตได้ เช่น เวลาเข้าไปในห้องที่มืด หรือเข้าไปในโรงภาพยนต์ คนที่ขาดวิตามินเอต้องใช้เวลานานกว่าคนอื่นกว่าจะปรับสายตาให้มองเห็นทางเดินได้ สำหรับคนที่ขับรถยนต์ในเวลากลางคืน การปรับสายตาในที่มืดได้ช้านี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เนื่องจากเมื่อมีรถยนต์สวนทางมา แสงสว่างจากรถที่สวนมาจะทำให้ตาพร่างและมองทางข้างหน้าไม่ชัด

 
 

เพื่อป้องกันการขาดวิตามินเอ ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอสูงๆ เช่น ตับหมู ตับไก่ ไข่ น้ำนม หรือรับประทานพืชผักที่มีสีเขียวเข้ม และผลไม้ที่มีสีเหลืองส้ม เช่น ผักบุ้ง ผักตำลึง ฟักทอง มะละกอสุก แครอท เป็นต้น ถ้าการขาดวิตามินเอยังคงดำเนินต่อไปจะมีผลทำให้เนื้อเยื่อตาแห้ง และเป็นแผล (ตาไม่หวานเสียแล้ว) ถ้าขาดรุนแรงมากขึ้นจะทำให้การเสื่อมของจุดภาพชัดที่ตาบริเวณตาดำเป็นแผล และทำลายเลนส์ตา ซึ่งจะทำให้ตาบอด

การขาดวิตมินเอขั้นรุนแรงนี้เคยพบในทารกที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมข้นหวาน เนื่องจากนมข้นหวานมีน้ำตาลสูง เวลาผสมให้ทารกก็จะจางมาก ทำให้ทารกได้รับน้ำตาลเป็นหลัก ทารกจึงเสี่ยงต่อการขาดอาหาร โดยเฉพาะโปรตีนและวิตามินเอซึ่งอาจถึงขั้นตาบอดได้ ปัจจุบันบนฉลากนมข้นหวานจึงต้องมีข้อความ “ห้ามใช้เลี้ยงทารก”


การขาดสังกะสีทำให้การปรับตาในที่มืดช้าลงได้เช่นกัน เนื่องจากสังกะสีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนวิตามินเอให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำงานได้ที่ตา สังกะสีพบได้มากในอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ในหอยนางรม เนื้อ ตับ ไข่ นม ไก่ และปลา เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมากจะมีสังกะสีน้อย ธัญาหารเป็นแหล่งสังกะสีเช่นกัน ปริมาณสังกะสีในธัญาหารขึ้นกับการขัดสี สังกะสีจะมีมากบริเวณเปลือกนอกของเมล็ด ดังนั้นเมล็ดพืชที่ผ่านการขัดสีน้อย เช่นข้าวซ้อมมือจะมีสังกะสีมากกว่าข้าวที่ขัดสีจนขาว


นอกจากนี้การเสื่อมของจุดภาพชัดที่ตาหรือโรคตาเสื่อมในคนสูงอายุจะพบได้เสมอซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเสื่อมของกระจกตา ทำให้คนสูงอายุมองไม่ชัด เป็นอุปสรรคในการเลือกอาหาร เวลารับประทานอาหารคนสูงอายุมักจะถามลูกหลานว่าอาหารแต่ละจานเป็นอะไร ลูกหลานก็อย่าเพิ่งรำคาญ ต้องเข้าใจนะว่าท่านมองไม่ชัดว่าอาหารนั้นคืออะไร


การเสื่อมของจุดภาพชัดที่ตา หรือโรคตาเสื่อม และต้อกระจก เกิดจากการถูกทำลายด้วยปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidative damage) สำหรับโรคต้อกระจกจะมีผลทำให้เลนส์ตาขุ่นมัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่เริ่มมีอาการและเมื่อถึงจุดหนึ่งก็สามารถผ่าตัดออกไปได้ ส่วนการเสื่อมของจุดภาพชัดที่ตาจะเกี่ยวข้องกับการเสื่อมของกระจกตา ทำให้การมองภาพเสื่อมอย่างถาวรจนอาจถึงขึ้นตาบอดได้ และไม่สามารถรักษาได้ ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น


การเสื่อมของตาเนื่องจากสูงอายุ (age – related macular degeneration) พบว่าถ้ามีแคโรทีนอยด์ 2 ชนิดคือ ลูทีน และซีแซนทินน้อยจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ ลูทีน และซีแซนทิน เป็นแคโรทีนอยด์ที่พบในพืชผักมีส่วนเกี่ยวข้องกับตา โดยจะพบสารทั้ง 2 ชนิดนี้ที่บริเวณกระจกตาและในเลนส์ตา และมีส่วนป้องกันการเสื่อมของตาและโรคต้อกระจกในคนสูงอายุ จากการศึกษาพบว่าการเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีลูทีน และซีแซนทินในผู้สูงอายุที่มีระดับสารทั้ง 2 ชนิดต่ำจะลดโอกาสเสี่ยงของโรคตาเสื่อม และโรคต้อกระจกในคนสูงอายุ


ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาได้มีการทดลองให้ผู้สูงอายุรับประทานสารอาหารที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคตาเสื่อม และโรคต้อกระจก ซึ่งพบว่าการรับประทานวิตามินซี วิตามินอี เบต้าแคโรทีน และแคโรทีนอยด์จะลดอัตราการเกิดโรคดังกล่าวได้

ปัจจุบันการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารต้านอนุมูลอิสระกับการเสื่อมของตายังอยู่ในระหว่างการศึกษาเพื่อยืนยันผลที่แน่ชัด ก่อนที่จะแนะนำให้รับประทานวิตามินเหล่านี้เสริม ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดีของดวงตา ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินซี วิตามินเอ วิตามินดี แคโรทีนอยด์ และสังกะสี สูง ได้แก่ ตับหมู ตับไก่ ไข่ ผัก ผลไม้ ธัญหาร และข้าวซ้อมมือ


ที่มาข้อมูล :นิตยสาร Health Today


หน้าที่ :: 1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved