ออฟฟิศ ซินโดรม... ภัยเงียบของคนทำงานยุคใหม่
เคยสงสัยไหมว่าทำไมหนุ่มสาวออฟฟิศยุคใหม่จึงมีปัญหาปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เหนื่อยง่าย อ่อนแรงทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำงานหนักและยังอยู่ในวัยหนุ่มสาวกันทั้งนั้น? อาการที่ว่านี้ทางการแพทย์เรียกว่า “ออฟฟิศ ซินโดรม” พบมากในกลุ่มหนุ่ม-สาวออฟฟิศที่ทำงานในออฟฟิศที่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น การนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ หรืออยู่ในอิริยาบทเดิมๆ ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณหลัง คอ ไหล่ นิ้วหรือข้อมืออักเสบจนเกิดอาการปวดเมื่อยเรื้อรังตามมา โดยข้อมูลอันน่าตกใจจากการประชุมทางวิชาการที่คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาลเมื่อเร็วๆ นี้พบว่ คนที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์วันละ 6 ชั่วโมงมีความเสี่ยงต่อโรคนี้สูงถึง 55 เปอร์เซ็นต์ เหตุที่เป็นเช่นนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากการนั่งทำงานในท่าที่ผิด เช่น นั่งหลังงอโดยไม่พิงพนักเก้าอี้ อีกส่วนหนึ่งเกิดจากอุปกรณ์ในที่ทำงานไม่เหมาะสม เช่น เก้าอี้ไม่มีพนัก ถาดวางแป้นคีย์บอร์ดที่ไม่มีตัวรองรับข้อมือ ทำให้ผู้ใช้ต้องกระดกข้อมือขึ้นลงซ้ำๆ จนเกิดพังพืดหนาหรือมีการอักเสบบริเวณเส้นเอ็นตามมาได้ แต่คนส่วนใหญ่มักคิดว่าการปวดเมื่อยจากการทำงานเป็นเรื่องเล็กๆ จึงไม่ใส่ใจที่จะดูแลหรือแก้ไขอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นความคิดที่ “ผิด” อย่างที่สุด
ดร.มนต์ทณัฐ โรจนาศรีรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านไคโรแพรค ติก ได้อธิบายถึงอันตรายอาการปวดเหล่านี้ว่า “เป็นเครื่องเตือนภัยว่าร่างกายกำลังอยู่ในภาวะผิดสมดุลหรือเราใช้ร่างกายแบบ โอเวอร์โหลดจนร่างกายทนไม่ไหวจึงแสดงอาการออกมา ซึ่งอาการเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาโครงสร้างร่างกายผิดปกติ รวมถึงอาการชาบริเวณกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะรุนแรง กระดูกสันหลังเคลื่อน หรือกล้ามเนื้อที่เกร็งมากๆ อาจกดทับกระดูกสันหลังทำให้เส้นประสาทที่เป็นตัวควบคุมอวัยวะต่างๆ ในร่างกายรวนไปหมดได้
แนวทางแก้ไขโรคออฟฟิศซินโครมนี้ต้องเริ่มกันที่สาเหตุ นั่นคือการจัดร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุลมากที่สุด เช่นการนั่งทำงานต้องนั่งตัวตรง หลังไม่งอ ปรับระดับเก้าอี้และจอคอมพิวเตอร์ให้สมดุลกับระดับสายตา โต๊ะทำงานควรมีระดับพอดีกับข้อศอกเพื่อจะได้กดแป้นคีย์บอร์ดได้ถนัด ควรมีที่รองรับข้อมือเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการกระดกข้อมือซ้ำๆ ที่สำคัญคือไม่ควรนั่งอยู่ในท่าเดิมนานๆ ต้องเปลี่ยนอิริยาบททุกๆ 1-2 ชั่วโมงและพักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ทุกๆ 20 นาที รวมถึงหลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าส้นสูงมากๆ หรือหิ้วกระเป๋าที่หนักเกินไปด้วย
นอกจากนี้การออกกำลังกายเพื่อดูแลโครงสร้างร่างกายก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ที่น่าสนใจมากๆ คือการออกกำลังกายสไตล์ไคโรแพรคติกที่นำวิทยาการทางการแพทย์ไคโรแพรคติก เข้ามาผสมผสานในการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายและกล้ามเนื้อแข็งแรง ข้อต่อและเส้นเอ็นมีความยืดหยุ่นสามารถรองรับแรงกดทับของน้ำหนักตัวและทำกิจกรรมต่างๆ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาโรคกระดูกและข้อต่อ ที่มาแรงสุดๆ คือ ไคโรฟิต ไคโรแพรคติก ฟิตเนส ซึ่งเป็นศูนย์ออกกำลังกายที่มีเครื่องมือทันสมัยมากๆ แถมยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูโครงสร้างมาให้คำแนะนำและจัดโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับร่างกายของเรามากที่สุดเพื่อให้ร่างกายกลับมาสู่ภาวะสมดุลอย่างยั่งยืน ไม่ต้องทนทรมานกับอาการ “ออฟฟิศ ซินโครม” อีกต่อไป
..........................................................................................
ที่มาข้อมูล :นิตยสาร VIVA Bangkok