Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14326202  

คลีนิคสุขภาพ

ป้องกันกระดูกพรุนด้วยผักตระกูลคะน้า
แคลเซียมมีอยู่ในอาหารหลายชนิด ที่ขึ้นชื่อคือนม แต่ถ้าจะดื่มนมก็ควรเลือกที่มีไขมันต่ำประเภทนมพร่องมันเนย ซึ่งก็มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ไม่ถูกกับนม ผศ.วงสวาท โกศัลวัฒน์ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการวิจัยโครงการพัฒนาตำรับอาหารไทยที่มีแคลเซียมสูง ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.)และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กำลังทำการศึกษาอาหารพื้นบ้านไทยสี่ภาค เพื่อสนับสนุนการกินอาหารแบบไทยๆ ก็สามารถได้แคลเซียมในปริมาณเพียงพอ เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน
 

จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่าพืชในตระกูลคะน้า (Brassica) เช่น บรอคโคลี่ คะน้า ผักกวางตุ้ง กระหล่ำปลี และผักกาดเขียว มีแคลเซียมสูง ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ง่ายพอๆ กับนม เพราะมีปริมาณออกซาเลทอยู่น้อยเมื่อเทียบกับพืชตระกูลอื่น มีการศึกษาพบว่าพืชบางชนิดมีแคลเซียมสูงแต่ก็มีสารไฟเตท(Phytate) และออกซาเลท (Oxalate) รวมอยู่ด้วยในปริมาณสูง ซึ่งจะมีผลต่อความสามารถของร่างกายในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้ โดยสารเหล่านี้จะจับตัวกับแคลเซียม และขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมในอาหาร

สารไฟเตทจะมีอยู่มากในส่วนเปลือกด้านนอกของพืชเมล็ด และพืชตระกูลถั่วต่างๆ ส่วนออกซาเลทจะอยู่ในพืชผักใบเขียวเข้ม เช่นผักโขมฝรั่ง ผักปวยเล้ง และปริมาณปานกลางในมันเทศ ถั่วเมล็ดแห้ง และในถั่วเหลือง ผศ.วงสวาท แนะนำว่าการปรุงอาหารด้วยวิธีทอด คั่ว จะช่วยลดสารไฟเตท และออกซาเลทในอาหารเหล่านี้ลงได้มากที่สุด ส่วนการต้มกับนึ่งช่วยลดลงได้บ้าง ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมจากอาหารเหล่านี้ไปใช้ได้ดีขึ้น

นอกจากนี้น้ำต้มกระดูกไม่ว่าจะเป็นกระดูกหมูหรือกระดูกไ ก่ ถ้าต้มรวมกับผักนานกว่า 12 ชั่วโมง หรือข้ามวันจะยิ่งทำให้มีปริมาณแคลเซียมเพิ่มขึ้น...เหล่านี้ เป็นเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ของภูมิปัญญานักวิจัยไทยมาแนะนำให้เราท่านได้ทำอาหารไทยรับประทานอย่างถูกหลักคงคุณค่าโภชนาการ


ที่มาข้อมูล :นิตยสาร Health Today

 

 



หน้าที่ :: 14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved