Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14325710  

คลีนิคสุขภาพ

กินยืดอายุ มีสุขยืนยง

ในครอบครัวของคุณผู้อ่านหลายท่านคงจะมีผู้สูงวัยอยู่ด้วยกัน จะเป็นคุณพ่อคุณแม่ ปู่ย่าตายาย บางบ้านพันธุกรรมดีหลังคาเดียวกันอาจมีถึง 5 เจเนอเรชั่นตั้งแต่คุณทวดยันรุ่นเหลน จากข้อมูลของสำนักสถิติแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติชี้ว่าอายุเฉลี่ยของผู้สูงอายุคนไทยขณะนี้อยู่ที่ราว 67.6 ปี และดูเหมือนจะมีประชากรสูงวัยไม่น้อยกว่า 5 ล้านคนแล้ว ประเทศไทยให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุไม่น้อยหน้ากว่าวัยอื่นๆ เพราะมีการบรรจุงานด้านสุขภาพผู้สูงอายุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง ทางกองโภชนาการกระทรวงสาธารณสุขก็ได้จัดทำโครงการศึกษาภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการที่ดี คนอายุ 60 ขึ้นไป เวลาไปรับบริการตามสถานพยาบาลของรัฐก็มักจะได้รับสิทธิพิเศษเสมอ

เรื่องอาหารการกินของคนสูงวัยในครอบครัวนับเป็นเรื่องใหญ่เป็นงานละเอียดอ่อนอย่างหนึ่งที่คุณแม่บ้านหรือผู้ดูแลต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะคนที่อายุมากๆ เซลล์ต่างๆ ในร่างกายจะเสื่อมลงมาก จนมีความเปลี่ยนแปลงทั้งทางสุขภาพและอารมณ์ค่อนข้างมาก

การทำงานของระบบต่างๆ จะด้อยประสิทธิภาพลงมาก เช่น ระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่ลิ้นรับรสได้น้อยลง จมูกได้กลิ่นไม่ดีเหมือนเดิม เขาจึงไม่รู้สึกอยากอาหาร กินไม่อร่อย ฟันและเหงือกยิ่งมีปัญหามากที่สุด ทำให้เคี้ยวอาหารลำบาก ต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายออกมาน้อย กล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลืนทำงานน้อยลง ทำให้กลืนอาหารลำบากขึ้น ระบบย่อยก็ผลิตน้ำย่อยต่างๆ ลดลง ทำให้ท้องอืดได้ง่าย ตับอ่อนเสื่อม การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลงทำให้ท้องผูกง่าย ส่วนการดูดซึมและการขับสารอาหารต่างๆ ที่กินเข้าไปก็ไม่ดีเหมือนเดิม คือเก็บสะสมลดลงแต่กำจัดออกสูง หลอดเลือดต่างๆ แข็งขึ้น ขาดความยืดหยุ่น ไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือดหนาขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น เป็นต้น

ปกติแล้วในคนสูงวัยต้องการพลังงานลดลงจากวัยหนุ่มสาวประมาณ 10-20% ปริมาณอาหารที่ต้องการจึงลดลงด้วย เพราะการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ตับ ปอด มีการทำงานของกล้ามเนื้อลดลง แต่การสลายของกล้ามเนื้อมากขึ้น โปรตีนที่จำเป็นในผู้สูงวัยส่วนมากจึงใช้ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ซึ่งไม่ต้องการปริมาณมากเท่าวัยรุ่น แต่ต้องการโปรตีนคุณภาพดี อาหารประเภทถั่วเหลือง ปลา ไข่ นม มีโปรตีนคุณภาพดีที่เหมาะกับผู้สูงอายุ เพราะย่อยง่าย และมีกรดอะมิโนจำเป็น

ผู้อาวุโสในบ้านที่คุณดูแลอยู่ คุณแน่ใจว่าให้สะดวกสบาย ให้ความรัก ปรุงอาหารดีๆ ให้ท่านกินทุกมื้อ เป็นสิ่งดีอยู่แล้ว แต่ยังมีอีกหลายอย่างที่ลูกหลานต้องคิดถึงแทนท่านด้วย ปัญหาที่มักจะเกิดในผู้สูงวัยซึ่งเป็นผลมาจากความเสื่อมการทำงานของเซลล์ร่างกายและระบบต่างๆ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต่ำลงตามธรรมชาติ รวมทั้งการขาดสารอาหารด้วย ทั้งที่คิดว่ากินมากพอแล้วก็ตาม เรื่องความไม่พอดีของสารอาหารนี้อาจทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่นโรคอ้วน โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หลายๆ ท่านที่มีโรคประจำตัวอยู่ก็ยังจำเป็นต้องระวังเรื่องอาหารบางชนิดให้มากอีกต่างหาก

ขาดวิตามิน ผู้สูงอายุมีโอกาสขาดวิตามินเกือบทุกชนิด ที่พบบ่อยคือกลุ่มวิตามินบี เช่น

• วิตามินบี 1 ช่วยเสริมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตไปใช้เป็นพลังงาน บำรุงระบบการทำงานของประสาท คนที่ขาดก็จะเป็นเหน็บชาบ่อย

• วิตามินบี 2 รักษาความเข็งแรงของเยื่อบุต่างๆ ถ้าขาดเป็นปากนกกระจอก

• วิตามินบี 6 จำเป็นในการสร้างเลือด รักษาสภาพผิวหนัง ช่วยให้สารอาหารอื่นๆ ใช้ประโยชน์ได้ดี

• วิตามินบี 12 จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง ไนอาซีน ช่วยนำโปรตีนและไขมันไปใช้ประโยชน์

• วิตามินดี สังเคราะห์จากสารใต้ผิวหนัง เมื่อได้รับแสงอุลต้าไวโอเล็ตจากแสงแดด วิตามินดีจำเป็นมากในกาช่วยดูดซึมแคลเซียมไปใช้ในร่างกาย แม้ว่าจะกินแคลเซียมมากเท่าใดแต่ขาดวิตามินดีก็ไร้ประโยชน์เพราะร่างกายไม่สามารถดูดไปใช้ได้ วิตามินดีมีมากใน ตับ ไข่ อาหารทะเล ปลาที่กินทั้งกระดูก

• วิตามินซี ช่วยดูดซึมธาตุเหล็ก หากว่ากินผักผลไม้น้อย ก็อาจขาดวิตามินซี ทำให้เกิดโรคโลหิตจางได้ นอกจากนี้ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สร้างภูมิคุ้มกัน และนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ดีขึ้น

• วิตามินอี มีมากในถั่วต่างๆ ไข่ ตับ ผักสีเขียว ปลา และน้ำมันพืช วิตามินอีเป็นหนึ่งในขุนพลต้านอนุมูลอิสระ และป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกทำลายจากสารต่างๆ

• วิตามินเอ บำรุงสายตา เยื่อบุต่างๆ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานดีขึ้น

• เบต้าแคโรทีน ในผักผลไม้สีสันสด แดง ส้มเหลืองเขียวเข้ม เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นแนวหน้าที่ปกป้องร่างกายจากโรคต่างๆ โดยเฉพาะมะเร็ง

ขาดแร่ธาตุสำคัญ เพราะกินอาหารไม่ครบ ในอีกทางหนึ่งแม้ว่ากินแร่ธาตุมากแต่ขาดวิตามินบางตัวที่เสริมการทำงานของแร่ธาตุ ก็อาจจะนำไปใช้ไม่ได้เช่นกัน

• เหล็ก การกินเนื้อสัตว์ลดลงอาจทำให้ได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ และเป็นโลหิตจาง ดังนั้นจึงควรเสริมด้วย ตับ ไข่ เลือดสัตว์บ้าง

• แคลเซียม ควรเสริมกันตั้งแต่ในวัยหนุ่มสาวเพื่อบำรุงความแข็งแรงและหนาแน่นของกระดูก เพราะเมื่อถึงวัยชรามีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนกันมาก การเสริมด้วยผลิตภัณฑ์แคลเซียมจึงจำเป็น คู่ไปกับการดื่มนมพร่องมันเนยวันละแก้ว กินกระดูกอ่อน หรือน้ำซุปที่เคี่ยวด้วยกระดูกสัตว์นานๆ กุ้งแห้ง ปลาตัวเล็กที่กินได้ทั้งตัว อาหารจากถั่วเหลืองก็ดี เพราะจะมีส่วนของฮอร์โมนที่ขาดหายไปในวัยสูงอายุที่เป็นเหตุของโรคกระดูกพรุนด้วย ผักสีเขียว เช่น คะน้า ยอดแค สะเดา ชะพลู กวางตุ้งก็มีแคลเซียมสูง

• แร่ธาตุอื่นๆ หากกินอาหารไม่หลากหลายก็อาจทำให้ขาดได้ เช่น สังกะสี เซเลเนียม ไอโอดีน โครเมียม แมกเนเซียม ฟอสฟอรัส ฯลฯ ล้วนเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และการทำงานของสารอาหารอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพ ส่วนใหญ่อยู่ในอาหารหลากชนิดทั่วไป

• เส้นใยอาหาร จำเป็นต่อสุขภาพของระบบทางเดินอาหารมาก ถ้าขาดจะทำให้ท้องผูก การขับถ่ายลำบาก เป็นสาเหตุสำคัญของโรคต่างๆ เช่น ริดสีดวงทวาร โรคลำไส้ใหญ่ป่องพอง ไขมันในเลือดสูง เส้นเลือดขอด มะเร็งลำไส้ เบาหวาน นิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น ดังนั้นอาหารประเภทกากใย เช่น ข้าวซ้อมมือ ผัก ผลไม้สด ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวโอ๊ต ก็เป็นทางเลือกที่ดี

 


รับประทานอาหารอย่างชาญฉลาด
• ลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล เกลือ ไขมัน เนื้อสัตว์ ที่ย่อยยากให้น้อยลง เปลี่ยนมาเป็นปลาจะย่อยง่ายมีโปรตีนสูง เน้นผักสดผลไม้ เพราให้วิตามิน เกลือแร่สูง

• เลี่ยงการกินอาหารสำเร็จรูป และอาหารกระป๋อง

• เลี่ยงการกินเครื่องในสัตว์

• ปรุงอาหารให้เคี้ยวง่าย และย่อยง่าย โดยดัดแปลงลักษณะอาหารให้ชิ้นเล็ก บางลง สับ ต้มให้เปื่อย ผัดให้นุ่มขึ้น หรือทำอาหารค่อนข้างเหลว

• ไม่ควรกินอาหารทอด เพราะมีไขมันสูง และเลี่ยงอาหารปิ้งย่างหลีกไกลสารก่อมะเร็ง

• ปรุงรสชาติอาหารตามความชอบของแต่ละคน เช่น เพิ่มหวานเล็กน้อย ลดความเผ็ดลง ไม่ควรใส่พริก หรือทำรสจืดมากขึ้น งดเว้นรสเค็มเพราะโซเดียมในร่างกายจะสูง ทำให้ความดันโลหิตสูงตามไปด้วย และอันตรายสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต

• ลดปริมาณอาหารจากเดิมมื้อใหญ่ 3 มื้อ เป็น 5 มื้อย่อยต่อวันโดยลดปริมาณอาหารแต่ละมื้อลง เพื่อให้ระบบย่อยอาหารไม่ต้องทำงานหนักในแต่ละครั้ง แต่จะสามารถย่อยได้หมดและดูดซึมไปใช้ได้เต็มที่กว่า ให้เน้นมื้อหนักหรือมื้อใหญ่ในช่วงบ่ายแทนช่วงเย็น เพราะจะทำให้ไม่อึดอัดท้องยามนอน จึงหลับสบาย

• สร้างสรรค์ปรับเปลี่ยนเมนูอาหารให้น่ากินยิ่งขึ้น และเสิร์ฟอาหารทำเสร็จใหม่ๆ

• เลี่ยงการดื่มน้ำชา กาแฟก่อนนอน เพราะจะยิ่งทำให้นอนไม่หลับ ตามปกติผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาการนอนอยู่เป็นทุน

เกร็ดน่ารู้ของการกินอาหารเหล่านี้ แม้ว่าจะมีรายละเอียดให้ใส่ใจมากมาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่ผู้สูงวัยได้กินอาหารที่หลากหลายในหนึ่งวัน หรืออย่างน้อยได้ตามปริมาณและครบชนิดตามที่แนะนำก็น่าจะพอใช้ในระดับหนึ่ง เคล็ดลับอยู่ที่ว่าเลือกชนิดและประเภทอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ แล้วเลี่ยงสารอาหารที่เกินจำเป็นหรือที่กินแล้วก่อโรค เช่น เป็นคนชอบกินหวานมันอาหารชอบอาหารแป้ง กะทิ และน้ำตาลมากๆ หรือชอบอาหารเค็มๆ มันๆ ประเภทเนย ชีส ชอบกินเนื้อสัตว์หนักๆ แต่เกลียดผัก แบบนี้แม้จะเคยชินกินมาตลอดชีวิต ก็คงถึงเวลาต้องลดลงแล้วค่ะ หากว่าไม่อยากอยู่อย่างลำบากในบั้นปลายเพราะสุขภาพย่ำแย่




ที่มาข้อมูล :นิตยสาร Health Today


หน้าที่ :: 30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved