Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14323276  

บริหารจิต

ภาพ "ภิกษุสันดานกา" เจตนาดีที่อาจส่งผลร้าย
 


โดย พระยุทธพล ชิตงฺกโร วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กทม.

สืบเนื่องมาจากช่วงหนึ่งอาทิตย์ที่ผ่านมา สังคมไทยได้มีโอกาสสัมผัสกระแสของความขัดแย้งของกลุ่มบุคคลในสองวงการ กล่าวคือ วงการศาสนา คือ พระสงฆ์ และวงการศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะ จิตรกรรม โดยมีประเด็นความขัดแย้งมาจากผลงานภาพเขียนสี ของนายอนุพงษ์ จันทร ซึ่งข้อพิพาทอาจจะไม่รุนแรงเท่าไหร่ หากผลงานชิ้นดังกล่าวไม่ได้รับรางวัลเหรียญทองการประกวดผลงานศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 53 ประจำปี 2550 เป็นดีกรีพ่วงท้าย และกำลังเดินสายจัดการแสดงตามสถาบันการศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในปัจจุบัน และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2550 ไปจนถึงวันที่ 29 มีนาคม 2551 (มติชนรายวัน ฉบับวันพุธที่ 26 กันยายน 2550 หน้า 26) ดังกล่าวนั้น

และเรื่องคงไม่เกิดขึ้นหากเนื้อหาที่ปรากฏออกมาในภาพดังกล่าว ไม่เป็นไปในลักษณะกระทบกระเทือนต่อภาพลักษณ์ของบุคลากร ในภาคการศาสนา อย่างเช่น พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งได้ชื่อว่า เป็นหนึ่งในภาพลักษณ์ที่แสดงออกให้สังคมส่วนใหญ่รับรู้ถึงลักษณะที่เป็น "ศรัทธาสาธารณะ" ซึ่งหมายถึงรูปแบบแห่งการแสดงออกต่อผู้พบเห็นให้เกิดความรู้สึกเลื่อมใสศรัทธาต่อสาธารณชนทั่วไป

ตามความรู้สึกของผู้เขียน ซึ่งก็ไม่แตกต่างไปจากภาพลักษณ์ของบุคลากรในภาคส่วนอื่นๆ ในสังคม ที่มีลักษณะเป็นศรัทธาสาธารณะเฉกเช่นเดียวกัน อย่างเช่น แพทย์ ตำรวจ ทหาร ครูอาจารย์ ข้าราชการ ฯลฯ เพียงแต่ภาพลักษณ์ของนักบวชเช่นพระสงฆ์จะถูกมองมาก่อนเป็นอันดับต้นๆ เท่านั้น

อะไรจะเกิดขึ้นหากกลุ่มบุคคลดังที่ได้กล่าวมาในสาขาอาชีพอื่นๆ วันดีคืนดีอาจถูกหยิบยกขึ้นมานำเสนอให้แปดเปื้อนด้วยปลายพู่กันของบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นศิลปินอย่างภาพ "ภิกษุสันดานกา" อย่างนี้บ้าง

ปรากฏการณ์การนำเสนอภาพที่ส่งผลกระทบในด้านลบต่อจิตใจของผู้มีจิตเลื่อมใส ศรัทธาในศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ นี้ใช่ว่าจะเพิ่งมีปรากฏออกมาครั้งนี้เป็นครั้งแรก แม้แต่ภาพของพระบรมศาสดาเองก็ยังถูกปู้ยี่ปู้ยำ ออกมานำเสนอทางอินเตอร์เน็ตให้เห็นอยู่เกลื่อนกลาด

เราคงเคยได้เห็นกันและพยายามเรียกร้องให้แก้ไขกันครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งผู้ที่ผลิตสื่อในลักษณะดังกล่าวออกมาเหล่านั้น อาจจะทำให้เราเข้าใจได้แต่แรกทีเดียวว่าเขาเหล่านั้นอาจมิใช่เป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ จึงกระทำการนำเสนอภาพเหล่านั้นไปโดยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ว่าผลงานเหล่านั้นจะออกมากระทบกระเทือนต่อความรู้สึกของใครหรือไม่ ซึ่งก็พอให้อภัยได้

แต่ในกรณีภาพที่สื่อออกมาในลักษณะเช่นภาพ "ภิกษุสันดานกา" อย่างนี้จะอ้างว่าทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้กระนั้นหรือ

ซึ่งตัวศิลปินเองและตลอดจนคณะกรรมการผู้ตัดสินรางวัลก็ประกาศตนอย่างชัดเจนว่าเป็นพุทธศาสนิกชนอยู่อย่างเต็มภาคภูมิ มิหนำซ้ำยังแสดงออกถึงท่าทีที่ปรากฏออกมาตามสื่อต่างๆ ว่าทำไปเพื่อปรารถนาดีต่อผู้ดำรงตนเป็นสมณะ เช่น พระสงฆ์องค์เจ้าทั้งหลาย จะได้กลัวบาปบุญคุณโทษและจะได้ดำรงตนอยู่ในร่องรอยของสมณะที่แท้จริงมากยิ่งขึ้น

ซึ่งผู้เขียนเองก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ดำรงตนอยู่ในเพศสมณะเช่นเดียวกัน และกล่าวได้อย่างมั่นใจว่าเป็นผู้หนึ่งที่มิได้มีลักษณะเช่นเดียวกับภาพ "ภิกษุสันดานกา" แต่อย่างใด ก็ยังอดไม่ได้ที่จะรู้สึกถึงความไม่คุ้มค่ากับภาพพจน์ของพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่จะต้องสูญเสียไปกับภาพลักษณ์ที่ถูกนำเสนอออกมาเยี่ยงนั้น เพื่อแลกกับจิตสำนึกของพระสงฆ์ส่วนน้อยที่ประพฤติผิดร่องรอยของพระธรรมวินัยไป จะได้กลับคืนมาเพียงหยิบมือเดียว เพราะว่าที่ผ่านมาวงการพระศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วงการพระสงฆ์นั้นบอบช้ำมาอย่างมากเพียงพอแล้วจากน้ำมือของบุคคลภายนอกและภายในศาสนาพุทธด้วยกันเอง

เพราะถ้าหากเราสมมุติต่อไปว่า ภาพในลักษณะที่แสดงถึงพฤติกรรมในด้านลบของพระภิกษุสงฆ์เช่นนี้ ถูกจัดทำและนำเสนออกมาอีกในหลากหลายรูปแบบ หลากหลายเวอร์ชั่นมากยิ่งขึ้นโดยไม่มีการท้วงติงจากหน่วยงานใดบ้างเลย เพราะเกิดได้รับกระแสการตอบรับจากประชาชนขึ้นมาอย่างเหลือล้นจนถึงขนาดนำไปขึ้นป้ายโฆษณา งานศิลปะตัวใหญ่ๆ ตัวโตๆ และนำไปติดตามสถานที่ชุมชนใหญ่ๆ เช่น ป้ายรถประจำทาง ตึกรามบ้านช่อง ริมถนนหนทาง เป็นต้น อะไรจะเกิดขึ้น

หากเหล่าบรรดาพระภิกษุสงฆ์ซึ่งทุกๆ เช้าจะต้องออกโคจรรับบิณฑบาตจากบรรดาญาติโยมในสถานที่แหล่งต่างๆ เมื่อท่านต้องมาพานพบกับภาพโดนใจเหล่านั้น (ที่สมมุติว่าได้รับความนิยมและติดเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด) จะมีพระสงฆ์สักกี่รูป สักกี่วัดที่ยังกล้าออกมารับบิณฑบาตจากบรรดาเหล่าญาติโยม ได้โดยไม่รู้สึกรู้สาอะไรกับภาพบาดใจเหล่านั้น ทั้งๆ ที่พระคุณเจ้าทั้งหลายจะได้เป็นผู้ที่ขวนขวายในอันที่จะดำรงตนอยู่ในพระธรรมวินัยอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม

จะมีใครสักกี่คนที่จะมาแบกรับความรู้สึกเช่นเดียวกับท่านได้บ้าง หากเกิดกรณีอย่างนี้ขึ้นมาจริงๆ

นี่ยังไม่รวมถึงผลกระทบต่อค่านิยมการส่งบุตรหลานเข้ามาบวชเพื่อมาศึกษาพระธรรมวินัยในบวรพระพุทธศาสนาว่าจะลดลงไปมากน้อยเพียงใดจากกรณีดังกล่าว

ถ้าหากสังคมเราทุกวันนี้ยังรับได้กับพฤติกรรมการนำเสนอผลงานทางศิลปะของศิลปินจิตรกรรมในลักษณะนี้ ในรูปแบบเช่นเดียวกับพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งทุกวันนี้ถูกนำมาเป็นหนูทดลองในทางศิลปจิตรกรรมไปแล้วละก็ ผู้เขียนก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในวันข้างหน้าก็อย่าได้สะเทือนใจอะไรเลยหากสังคมอาจจะได้มีโอกาสทัศนา ผลงานทางด้านจิตรกรรมของศิลปินคนเดียวกันนี้ในรูปลักษณะที่แสดงออกถึงความไม่ดีงามของบุคคลที่อยู่ในสถานภาพต่างๆ ในสังคมบ้าง เช่น ภาพตำรวจเก็บส่วย รีดไถ อุ้มฆ่า หรือซ้อมผู้ต้องหา ภาพทหารไม่มีวินัยออกมาล้มล้างรัฐธรรมนูญด้วยรองเท้าคอมแบต และพยายามรังสรรค์ขึ้นมาใหม่ด้วยมือ ภาพหมอไร้จรรยาบรรณ รับทำแท้งการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กวัยรุ่นใจแตก ภาพข้าราชการรับสินบนใต้โต๊ะ รวมถึงภาพการฉ้อฉลกลโกงของบุคคลในรูปแบบต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคม ก็ควรจัดทำออกมาให้ดูสมน้ำสมเนื้อเฉกเช่นเดียวกันให้ถ้วนหน้า

ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้น ถามว่าสังคมจะได้อะไรขึ้นมานอกจากความสะใจและเอือมระอากับพฤติกรรมของกันและกันเองกระนั้นหรือ

ที่สมมุติเหตุการณ์ขึ้นมาเป็นกรณีตัวอย่างเช่นนี้มิใช่ว่าจะห้ามไม่ให้วงการศิลปะตลอดจนสื่อสารมวลชนประเภทต่างๆ นำเสนอข้อเท็จจริงในด้านที่ไม่ดีของผู้คนในแต่ละวงการเลยทีเดียว

เพียงแต่เห็นว่าการจำกัดขอบเขตของการนำเสนอควรจะต้องทำกันอย่างรัดกุมให้มากยิ่งขึ้นกว่านี้ โดยเฉพาะบุคคลที่อยู่ในวงการแห่ง "ศรัทธาสาธารณะ" เช่น พระสงฆ์ อันเป็นเสาหลักของความดีงามที่อยู่ควบคู่มากับสังคมไทยมาแต่ครั้งโบราณกาล

ซึ่งเท่าที่ผ่านมาหากเรากลับไปพลิกดูหน้าประวัติศาสตร์ก็ใช่ว่าเรื่องราวความไม่ดีงามของแวดวงคณะสงฆ์จะไม่ค่อยเกิดขึ้นเลย แต่คนโบราณท่านก็เลือกที่จะแก้ปัญหาด้วยการยกภาพคนดีมากดทับคนไม่ดีไม่ใช่ว่ายกภาพคนไม่ดีมากดทับคนดีอย่างที่ทำกันในปัจจุบันนี้ ซึ่งเหมือนกับการแก้ปัญหาด้วยการเอาลมไปดับไฟ ฉันใดก็ฉันนั้น จะมิให้เปลวไฟและควันฟุ้งกระจายไปได้อย่างไรไหว

ทางที่ถูกก็คือ เราทุกคนควรร่วมมือกันในการเอาน้ำเข้าไปดับไฟ คือกลับไปทบทวนดูว่าอะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริงของความไม่ดีงามในสังคมนี้ แล้วค่อยๆ ทยอยดับสาเหตุแห่งปัญหาเหล่านั้นเสีย เมื่อเหตุถูกระงับผลก็จะดับไปเองอย่างเรียบง่ายและไม่เอิกเกริกวุ่นวาย

ไม่เหมือนอย่างการพยายามแก้ปัญหาความไม่ดีงามของคนบางกลุ่มบางพวกที่อยู่ในคณะสงฆ์ให้ดีขึ้นด้วยการเขียนภาพชี้นำสังคมและกำลังเดินสายประจานกันอย่างที่ทำกันในขณะนี้

ที่ได้สาธยายมาเสียยืดยาวนี้ มิได้ต้องการประชดประชันผู้ใดหรือหน่วยงานใด แต่ใคร่อยากจะสะกิดเตือนใจท่านทั้งหลายที่ได้มีโอกาสอ่านบทความชิ้นนี้ ว่าในสังคมนั้น ในแต่ละองค์กรก็มีทั้งคนดีและคนเลว อยู่ปะปนระคนกันอยู่ทุกวงการ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะยกภาพแห่งการทำความดี หรือภาพแห่งการทำความชั่วมาให้สังคมได้เสพคุ้น จนติดเป็นนิสัยฝังใจในพฤติกรรมดังกล่าว จนแนบแน่นติดอยู่ในกมลสันดานได้มากน้อยเพียงใด

หรือจะให้การแสดงภาพในลักษณะ "ภิกษุสันดานกา" อย่างนี้ ออกมาเต็มไปหมดจนบดบังคุณค่าแห่งความดีและความงามที่สั่งสมบ่มเพาะมาด้วยความยากลำบากและยาวนานของสถาบันสงฆ์ตลอดจนสถาบันอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต พังทลายลงมาในชั่วระยะเวลาเพียงข้ามคืน เพียงเพราะการอ้างความชอบธรรมของงานศิลปะว่าเป็นจิตวิญญาณอิสระ ที่จะต้องนำเสนอผลงานออกสู่สายตาประชาชนในทุกแง่ทุกมุมสู่สาธารณะให้ได้มากที่สุด แม้ว่าจะขัดต่อความรู้สึกของบุคคลบางกลุ่มบางจำพวกที่ใช้ชีวิตร่วมกับพวกท่านในสังคมเดียวกันก็ช่างมันปะไร ประเทศไทยเป็นของคุณแต่เพียงคนเดียวซะเมื่อไร

เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ถ้าวงการศิลปะลองหันกลับมานำเสนอภาพลักษณ์ในแง่มุมที่ดีบ้าง ผ่านทางผลงานทางด้านศิลปจิตรกรรมที่ตรงข้ามกับกรณีดังกล่าว ความมีจิตสำนึกตลอดจนความตระหนักชัดต่อหน้าที่ในแต่ละสถานภาพของคนในสังคม ก็อาจหวนกลับมาสู่ความดีงามได้อีกครั้งหนึ่ง

จึงใคร่จะย้ำเตือนมาด้วยความปรารถนาดี โดยไม่ต้องมีเรื่องอัปรีย์มาแอบแฝงแต่อย่างใดเหมือนอย่างงานศิลปจิตรกรรมบางประเภท

เพราะคติในทางพระพุทธศาสนา ท่านก็มักจะสอนกันเอาไว้ ในลักษณะที่ว่า การที่เราจะหวังวาดภาพให้ผู้อื่นเป็นไปเช่นไร ก็ให้ระวังตัวเราเองนั่นแหละ ที่จะต้องไปเป็นเช่นนั้น ท่านว่า....

อ้างอิง : หนังสือพิพม์มติชน ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๐


หน้าที่ :: 17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved