Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14323216  

บริหารจิต

เรื่องของ ‘พระใหม่’ (วัตถุมงคล)

 


ปัจจุบัน “พระเครื่อง” มีการสร้างออกมามากมาย “หลายรุ่นหลายรูปแบบหลายพิมพ์ทรง” ซึ่งส่วนใหญ่จะสร้างออกมาในลักษณะ “เชิงการค้า” ที่วงการพระเรียกว่า “พุทธพาณิชย์” ซึ่งผิดกับเจตนาดั้งเดิมของคนโบราณที่มีเจตนาสร้างพระเพื่อเป็นการ “สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา” ดังจะเห็นได้จากการสร้าง “พระเครื่องสมัยโบราณ” ส่วนใหญ่จะสร้างกันอย่างมี “พิธีการ” โดยมี “พระมหากษัตริย์, พระราชินี, พระบรมวงศานุวงศ์” หรือ “ขุนนางชั้นผู้ใหญ่” เป็นผู้ดำเนินการสร้างอย่างเช่น “พระนางพญาพิษณุโลก” ตามตำนานระบุว่าสร้างโดย “พระวิสุทธิกษัตรี” พระอัครมเหสีใน “สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช” พระมหากษัตริย์แห่ง “กรุงสุโขทัย” ที่เสด็จมาครอง “กรุงศรีอยุธยา” ต่อจาก “สมเด็จพระมหิทราธิราช” ที่อยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างการเสีย “กรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑” ซึ่ง “สมเด็จพระมหาธรรม ราชา” และ “พระวิสุทธิกษัตรี” ก็คือ “สมเด็จพระบรมชนกนาถ” และ “สมเด็จพระบรมราชชนนี” ของ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” หรืออย่าง “พระขุนแผนเคลือบกรุวัดใหญ่ชัยมงคล” และ “พระขุนแผนกรุบ้านกร่าง” ก็สร้างขึ้นโดย “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ทั้งนั้น

โดยสันนิษฐานว่าทรงพระกรุณาให้สร้าง “พระขุนแผนกรุวัดบ้านกร่าง” ก่อนทำสงคราม “ยุทธหัตถี” แล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้าง “พระขุนแผนเคลือบกรุวัดใหญ่ชัยมงคล” ซึ่ง “นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์” ได้พิจารณาจากพิมพ์ทรงของพระขุนแผนทั้งสองกรุพบว่ามีการแฝงคติธรรม “พระพุทธศาสนา” ในพุทธประวัติตอนที่ว่าด้วยการ “ตรัสรู้” ของ “สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ซึ่งก็คือ “พระพุทธรูปปางมารวิชัยในซุ้มเรือนแก้ว” โดยมีพระพุทธลักษณะของ “พระพุทธชินราช” ที่ประดิษฐานในพระวิหาร “วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเมืองพิษณุโลก” เป็นต้นแบบ ทั้งนี้เพราะปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการเสมอ ๆ ประกอบกับพระองค์ทรงพระราชสมภพ ณ วังจันทน์ พิษณุโลก อีกด้วย ความผูกพันรวมทั้งปางของ “พระพุทธชินราช” ยังบ่งบอกถึงชัยชนะอันยิ่งใหญ่ต่อ “พญามาร” จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้าง “พระพิมพ์ปางมารวิชัยในซุ้มเรือนแก้ว” เพื่อเป็นเคล็ดแห่งชัยชนะทั้งก่อนและหลัง “สงครามยุทธหัตถี”

ที่กล่าวมาก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าเจตนาการสร้าง “พระเครื่อง” ของคนไทยสมัยโบราณส่วนใหญ่สร้างเพื่อสืบทอด “อายุพระพุทธศาสนา” หรืออนุสรณ์แห่งการ “บำเพ็ญหิตานุหิตประโยชน์” อันยิ่งใหญ่แก่ประเทศชาติดังพระราชกรณียกิจของ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ที่ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยมิให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของอริราชศัตรูผู้รุกราน ซึ่งผิดกับสมัยนี้การสร้างพระเครื่องถ้ามิใช่ “หน่วยราชการ” หรือ “วัดวาอารามโดยตรง” ก็จะเป็นเรื่องของ “วัดครึ่งกรรมการครึ่ง” ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้าง “ยุติธรรม” ของการตกลงกันระหว่าง “วัด” ที่ไม่มีทุนรอนในการสร้างกับ “นายทุน” ที่มีทุนสร้างเพราะเรื่องเช่นนี้มีมาช้านานแล้วแต่ในระยะหลังเรื่อง “วัดครึ่งกรรมการครึ่ง” ไม่ค่อยจะมีแล้วเพราะกลายเป็น “วัด ๑๐ กรรมการ ๙๐” หรือ “วัด ๐ กรรมการ ๑๐๐” ไปเลยก็มีซึ่งข้อเขียนตรงนี้อาจจะ “กระทบใจ ดำ” หรือ “จี้ตาปลา” ของใครก็ได้จึงต้องขออภัยเพราะจำเป็นที่จะต้องนำมาเสนอตามแบบฉบับของ “อ่านความจริง...อ่านเดลินิวส์”

ส่วนการสร้างพระเครื่องในสมัยต่อจากยุค “โบราณ” ซึ่งส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็น “พระมหากษัตริย์, พระราชินี, พระบรมวงศานุวงศ์” หรือ “ขุนนางชั้นผู้ใหญ่” เพราะสร้างด้วย “ความศรัทธา” ส่วน “พระเกจิอาจารย์” ที่เป็น “เจ้าอาวาสวัด” ก็จะสร้างเพื่อแจกหรือสมนาคุณแก่ผู้มีอุปการคุณ ต่อการสร้างเสนาสนะในพระอารามบ้างโดยมิได้มีการกำหนดราคา ค่าบูชาเหมือนปัจจุบันอาจจะเป็นเพราะสมัยก่อน วัสดุในการสร้างพระเครื่องหาได้ง่ายและไม่ต้องลงทุนซื้ออย่างเช่น “หมากทุย, ปูนเปลือกหอย, กล้วยน้ำว้า, น้ำผึ้ง, เกสรดอกไม้ ฯลฯ” จะมีลงทุนก็คือ “การลงแรง” เท่านั้น แต่ถึงแม้จะมีการลงทุนบ้างวัสดุในการสร้างพระก็มิได้มีราคาค่างวดที่แพงลิบลิ่ว อะไรนัก สมัยก่อนจึงสร้างเพื่อแจกแก่ผู้ศรัทธาจริง ๆ ซึ่งผิดกับสมัยนี้สร้างเพื่อ “พุทธพาณิชย์” เป็นหลักเพราะต้นทุนการสร้างพระเครื่อง “องค์ละไม่กี่บาท” แต่เวลานำออกให้บูชาตั้งราคาเป็น “ร้อย” ไปโน่นเลย และไม่แต่เพียงเท่านั้นหลาย ๆ สำนักยังทำการ “โฆษณาประชาสัมพันธ์” ทุกสื่อแบบขนาดหนัก บางรายยังสอดแทรกเรื่อง “อภินิหาร” เข้าไปด้วยก็จะทำให้พระรุ่นนั้น ๆ ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าอย่างเช่นวัตถุมงคลชุด “จตุคาม-รามเทพ” ที่บรรดาผู้สร้างทั้งหลายต่าง “สร้างแล้วสร้างอีก” เพราะสร้างกี่รุ่น ๆ ก็ “ขายได้และขายดี” จน “รวยไม่เลิกก็เลยไม่เลิกสร้าง” โดย “เมื่อเดือนเมษายนต้นปี ๒๕๔๙” มีนักสะสมพระชาวใต้ผู้หนึ่งแขวนคอด้วย “จตุคาม-รามเทพ” ขณะนั่งอยู่ในรถกับเพื่อนอีก ๓ คนถูกโจรดักยิงเอา ปรากฏว่าเพื่อนที่นั่งมาในรถด้วยกันทั้ง ๓ คน “ตายหมด” ยกเว้นนักสะสมผู้นี้ที่กระสุน “ไม่ระคายผิว” เมื่อข่าวดังว่านี้กระจายออกไปวัตถุมงคล “จตุคาม-รามเทพ” รุ่นที่นักสะสมแขวนคออยู่นั้นราคาก็พุ่งพรวด “หลายสิบเท่าตัว” และผลตามมาก็คือผู้ที่กักตุนจตุคาม-รามเทพรุ่นนี้ไว้ “รวยไม่รู้เรื่อง” เพราะทำการ “ขึ้นราคา” เป็นว่าเล่น นอกจากนี้ยังส่งผลให้ “จตุคาม-รามเทพ” รุ่นต่อ ๆ มาที่สร้างขึ้นต่อเนื่องกันได้รับ “อานิสงส์” ขายดิบขายดีไปด้วยแบบ “หมดเป็นรุ่น ๆ” กันไปเลย ด้วยเหตุนี้ตั้งแต่เดือน “เมษายน ๒๕๔๙” เป็นต้นมาจึงเป็น “ยุคทอง” ของ “จตุคาม-รามเทพ” โดยแท้จริง. (อ่านต่อฉบับหน้า


“นายรู้สึก แสนรู้ชัด” หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


หน้าที่ :: 19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved