Neric-Club.Com
ทรัพยากรคลับ
พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
เปิดประตูสู่อาเซียน@
พันธกิจขยายผล
ชุมชนคนสร้างสื่อ
คลีนิคสุขภาพ
บริหารจิต
ห้องข่าว
ตลาดวิชา
นิตยสารออนไลน์
วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
ลมหายใจของใบไม้
เรื่องสั้นปันเหงา
อังกฤษท่องเที่ยว
อนุรักษ์ไทย
ศิลปวัฒนธรรมไทย
ต้นไม้ใบหญ้า
สายลม แสงแดด
เตือนภัย
ห้องทดลอง
วิถีไทยออนไลน์
มุมเบ็ดเตล็ด
เพลงหวานวันวาน
คอมพิวเตอร์
ความงาม
รักคนรักโลก
วิถีพอเพียง
สัตว์เลี้ยง
ถนนดนตรี
ตามใจไปค้นฝัน
วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซ่อมได้
สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14327167
บริหารจิต
จุดยืนพุทธศาสนิกชนในพม่า ท่ามกลางสงครามและการปฏิวัติ
การชุมนุมประท้วงของพระสงฆ์ในพม่าที่เป็นข่าวอยู่ในเวลานี้ อาจจะไม่เป็นที่ต้องตาต้องใจของพุทธศาสนิกชนไทยเท่าไหร่
แต่ถ้าว่าไปตามประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองของพม่า ก็ต้องยอมรับกันแล้วว่า ถ้าพระสงฆ์ไม่ถือธงนำทางทวงสิทธิต่างๆ ที่ถูกต่างชาติยึดไปยํ่ายี เมื่อครั้งที่อังกฤษเข้ามาครอบครองนั้น (พ.ศ.2428) ชาวพม่าจะอยู่กันอย่างมีศักดิ์ศรีได้อย่างไร
ลองคิดดูก็แล้วกันว่า ตอนที่อังกฤษเข้ามาปกครองนั้น สถาบันกษัตริย์ที่อยู่คู่กับชาวพม่ามานาน และเคยอุปถัมภ์ค้ำจุนวัดวาอารามและคณะสงฆ์ - ถูกยํ่ายี อังกฤษก็ถือว่าตนให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาอย่างเต็มที่ ไม่สนใจไยดีต่อองค์การทางศาสนา
แม้กระทั่งตำแหน่งพระสังฆราชที่ว่างลงไปในเวลาต่อมา อังกฤษก็หาได้ใส่ใจแต่งตั้งพระเถระรูปใดขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทนไม่ จนทำให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายและเกิดความแตกแยกในหมู่สงฆ์
สภาพการณ์เช่นนี้ แน่นอน...! ย่อมทำให้พระสงฆ์เกิดความไม่พอใจ ที่อังกฤษเป็นเหตุทำให้การพระศาสนาในประเทศของตนตกต่ำ จึงได้นำประชาชนประท้วงและชักชวนให้ชาวพม่าหันมาปฏิบัติศาสนกิจ ศาสนพิธี และประเพณีดั้งเดิมของตนอย่างเคร่งครัด พร้อมกับวิพากษ์วิจารณ์ระบบสังคมที่อังกฤษปกครองในเวลานั้น
และเรียกร้องให้อังกฤษหันมาทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาจนต้องพากันออกมาอดอาหารประท้วงครั้งใหญ่ ทำให้พระสงฆ์รูปหนึ่งถึงกับต้องมรณภาพไปก็มี
ผลจากการประท้วงอังกฤษของพระสงฆ์ในเวลานั้น ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับชาวพม่าและนักศึกษาเป็นจำนวนมาก ทั้งพระและฆราวาสจึงหันมาจับมือกัน ก่อตั้ง "สมาคมชาวพุทธหนุ่ม" หรือสมาคมยุวพุทธิกะขึ้นมาในปี พ.ศ.2447 และต่อมา สมาคมแห่งนี้ได้กลายเป็นศูนย์กลางของขบวนการชาตินิยมในพม่า เคลื่อนไหวในประเด็นศาสนาและวัฒนธรรมในครั้งต่อๆ มา
โดยเฉพาะยิ่งประเด็นเสรีภาพในการนับถือศาสนานั้น เมื่ออังกฤษไม่ได้ดำเนินตามนโยบายที่ตนประกาศไว้ แต่กลับไปสนับสนุนโรงเรียนคริสต์มาตั้งแต่ต้น สมาคมชาวพุทธหนุ่มจึงรวมตัวกัน เรียกร้องให้อังกฤษสนับสนุนการเงินต่อกิจกรรมและการศึกษาพุทธศาสนาของตนบ้างและเรียกร้องไม่ให้ฝรั่งสวมรองเท้าเข้าไปในบริเวณวัดวาอารามอันเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ของตน (พ.ศ.2461)
ผลจากการประท้วงในครั้งนั้น อังกฤษจำต้องปฏิบัติตามที่สมาคมชาวพุทธหนุ่มเรียกร้องต้องการ จนทำให้พระสงฆ์ นักศึกษา และประชาชนในพม่าตื่นตัวขึ้นมาอีกครั้ง หันมาสนใจปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศกันมากขึ้นตามลำดับ พร้อมกับคอยจับตาความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในอินเดียเวลานั้น ซึ่งมีข่าวว่าอังกฤษตกลงในหลักการ ที่จะให้อินเดียสามารถปกครองตนเองได้ แต่ว่ายังไม่ให้สิทธิแก่ชาวพม่า เนื่องจากอังกฤษเห็นว่า ชาวพม่ายังไม่มีการศึกษาและความรู้พอที่จะปกครองตนเองได้
ต่อเมื่อข่าวนี้แพร่สะพัดออกไป การประท้วงในพม่าก็แพร่หลายตามไปด้วย โรงเรียนและวิทยาลัยต่างๆ ในพม่าพากันหยุดเรียน สมาคมชาวพุทธหนุ่มซึ่งก่อตั้งมาได้กว่า 2 ปีก็มิอันต้องประกาศยุบตัวเองไป แล้วตั้งสมาคมขึ้นมาใหม่ (พ.ศ.2463) เพื่อที่จะขยายแนวร่วมออกไป โดยมีความมุ่งหมายเพื่อปฏิบัติการทางการเมืองเป็นที่ตั้ง ซึ่งนั่นก็หมายรวมพระสงฆ์อยู่ด้วย
การยุบสมาคมชาวพุทธหนุ่มและตั้งสมาคมใหม่ขึ้นมา เพื่อที่จะขยายแนวร่วมและปฏิบัติทางการเมืองในเวลานั้น แน่นอน...! ย่อมทำให้พระสงฆ์ต้องเข้าไปมีบทบาทในทางการเมืองอย่างไม่ต้องสงสัย ในด้านพุทธธรรมก็จำต้องตีความใหม่ให้สอดคล้องกับเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น
รวมไปถึงพุทธประเพณีที่ว่าด้วยการ "คว่ำบาตร" ก็ถูกนำมาใช้ต่อต้านอังกฤษด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม ขบวนการชาตินิยมของพระสงฆ์ในเวลานั้น แม้คำว่า "ชาวพุทธหนุ่ม" จะหายไปเป็นเนื้อเดียวกันกับทะเลธารอันกว้างใหญ่ แต่จุดยืนของเขาก็ไม่ได้หายไปไหน ในทางตรงกันข้าม กลับเป็นพลังกระตุ้นขบวนการชาตินิยมรุนแรงขึ้นในกาลต่อมา เพื่อที่จะกอบกู้เอกราชและอธิปไตยให้กลับคืนมาให้ได้
"สมาคมชาวเราพม่า" (พ.ศ.2479) ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งผลิตผู้นำแบบใหม่อย่างอูนุ อองซาน และอีกหลายๆ ท่าน ที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหวทางการเมืองในเวลาต่อมาจนกระทั่งพม่าได้รับเอกราช (พ.ศ.2491) และเข้าไปมีบทบาททางการเมืองระดับสูง แต่ก็เป็นไปลุ่มๆ ดอนๆ จนต้องถูกทหารทำการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ.2505 นั้น ส่วนหนึ่งก็ล้วนแต่มีแรงบันดาลใจจากการเคลื่อนไหวของพระสงฆ์ทั้งสิ้น
ที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของขบวนการชาตินิยมของพระสงฆ์ ซึ่งก็ไม่ได้จบลงเพียงเท่านี้ หลังจากที่พม่าได้เอกราชและอธิปไตยกลับมา พระสงฆ์ก็หาได้ถอยห่างไปจากการเมืองไม่
ในทางตรงกันข้าม เมื่อรัฐบาลดำเนินนโยบายที่มีผลกระทบต่อศาสนาและวัฒนธรรมของชาวพม่าพระสงฆ์ก็จะสำแดงพลังเป็นระยะๆ
มาจนกระทั่งในปี พ.ศ.2531 หรือ 19 ปีที่ผ่านมา เมื่อนักศึกษาและประชาชนประท้วงใหญ่ พระสงฆ์ก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ออกมาต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหารด้วยเช่นกัน
เพราะเหตุดังนั้น ทุกครั้งที่มีการประท้วงในพม่าเราก็จะเห็นพระสงฆ์เป็นแกนนำ หรือไม่ก็จะร่วมอยู่ในขบวนประท้วงแทบทุกครั้ง นับตั้งแต่ก่อตั้งสมาคมชาวพุทธหนุ่มขึ้นมา รวมเวลา 100 กว่าปี
ขบวนการชาตินิยมของพระสงฆ์ในพม่าแม้ว่าจะผลัดใบมาหลายรุ่น แต่ก็ยังคุกรุ่นไปด้วยอุดมการณ์แห่งประชาธิปไตยที่หลั่งไหลต่อๆ กันมาไม่ขาดสาย จนกว่าเสรีภาพ ประชาธิปไตยและความยุติธรรมจะกลับคืนมาในพม่าอย่างถาวร
หาไม่แล้วเราคงจะได้เห็นขบวนการพระสงฆ์ในพม่าออกมาเคลื่อนไหวเช่นนี้อีก
หน้าที่ ::
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved