Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14322838  

บริหารจิต

การทำบุญ
 
   ชาวพุทธส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิด เกี่ยวกับเรื่องของ "บุญ" ซึ่งคิดเพียงแต่ว่า การทำบุญก็คือ การตักบาตร การถวายปัจจัย ถวายทรัพย์ การถวายสังฆทาน ฯลฯ เพียงเท่านี้เป็นต้น ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว การทำบุญยังสามารถทำได้อีกหลายทาง

   "บุญ" หรือ "ปุญญ" แปลว่า ชำระ หมายถึงการทำให้หมดจด ปราศจากมลทิน เครื่องเศร้าหมอง อันได้แก่ ความโลภ (โลภะ) ความโกรธ (โทสะ) และ ความหลง (โมหะ) ซึ่งเราสามารถ สร้าง บุญ ได้ 10 ทาง ซึ่งเรียกว่า บุญกริยาวัตถุ 10 เพื่อกำจัดเครื่องเศร้าหมองทั้ง 3 ข้างต้น คือ

๑. ทาน หรือ การให้ เพื่อกำจัด ความโลภ เป็นการให้สิ่งที่ตนมี หรือ ตนเป็นเจ้าของ แก่บุคคลอื่นๆ ทั้งทรัพย์สินเงินทอง ความรู้ ความสามารถ ก็สามารถให้ได้ทั้งนั้น เช่น การตักบาตร การบริจาคทรัพย์ ถวายสังฆทาน การสอน การให้การอบรมตักเตือน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็น การบริจาค การให้ (จาคะ) เพราะจะทำให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส จากการให้ อย่างไม่หวังผลตอบแทน และ ไม่หวงแหน ทำลายความตระหนี่ได้ ซึ่งนับเป็นบุญอย่างหนึ่ง แต่การให้บางอย่างก็ไม่สมควรให้เพราะจะทำให้บุคคลอื่นเกิดโทษ หรือ ทำบาปได้ เช่น สุรา หรือ มหรสพ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดกามคุณ เป็นต้น

๒. ศีล หรือ การรักษาศีล เพื่อกำจัด ความโกรธ คือ ความประพฤติที่ไม่ละเมิด หรือ รักษาความสำรวม ทางกาย วาจา และ ใจไว้ อย่างเช่น การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการพูดเท็จ หรือ พูดส่อเสียด และ งดเว้นจากการดื่มสุรา หรือ เสพสิ่งเสพติด เป็นต้น

๓. ภาวนา หรือ การนั่งสมาธิ วิปัสนา เป็นการ การอบรมจิต ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อกำจัด ความหลง

๔. ความเป็นผู้นอบน้อม ต่อผู้ที่ควรนอบน้อม (อปจายนะ) เมื่อเราเป็นผู้อ่อนน้อม ถ่อมตน จะทำให้จิตใจเรานั้นอ่อนโยนลง ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของบุคคลอื่น ไม่ทำร้ายบุคคลอื่น และ ไม่หลงตนเอง

๕. ความขวนขวายในกิจ หรือ งาน ที่ควรกระทำ (เวยยาวัจจะ) การงานที่ทำไม่ว่าทำงานอะไร การตั้งใจทำงานนั้นให้ประสบความสำเร็จ มุ่งมั่นตั้งใจ จะทำให้จิตใจของเรานั้น มีสมาธิการในช่วงเวลาของการทำงานนั้นๆ เป็นการฝึกสมาธิอีกทางหนึ่ง

๖. การให้บุญที่ตนถึงแล้ว แก่บุคคลอื่น (ปัตติทาน) เช่นการอุทิศแผ่ส่วนบุญ ส่วนกุศล การกวดน้ำ เป็นต้น การทำเช่นนี้ทำให้จิตใจเรานั้น มีความอ่อนโยน ปราถนาดีให้กับบุคคลอื่น ต้องการให้บุคคลอื่น มีความสุขเช่นเดียวกันตน เมื่อจิตใจเป็นเช่นนี้ การทำผิดศีล ก็จะไม่เกิดขึ้น อีกทั้งยังสร้างความเมตตา กรุณา ในใจของเราอีกด้วย

๗. การยินดีในบุญที่คนอื่นถึงพร้อม (ปัตตานุโมทนา) เช่น เห็นคนอื่น ทำบุญตักบาตร เมื่อเราพลอยปลื้มปิติยินดี กล่าวอนุโมทนา เพียงเท่านี้ก็ได้บุญแล้ว เพราะ การยินดีกับบุญที่บุคคลอื่นทำ นั่นหมายถึง เรามีมุทิตาจิต ทำให้จิตใจเราผ่องใสขึ้น ทำให้ละความโกรธ และ ความหลง ลงได้

๘. การฟังธรรม (ธัมมัสสวนะ) ไม่ว่าจะฟังธรรมโดยตรง หรือ จากสื่อวิทยุ โทรทัศน์ จาก CD, VDO, หรือ MP3 ก็ตาม ก็จัดว่าเป็นการฟังธรรมทั้งสิ้น การฟังธรรม และ นำธรรมะที่ได้รับนั้นไปปฏิบัติ จะทำให้เรามีจิตใจที่อ่อนโยน มีการประพฤติปฏิบัติตนได้ถูกต้อง ไม่ทำผิดศีล เกรงกลัวต่อบาป และ ยังทำให้เรามีสติ มีสมาธิ อีกด้วย

๙. การแสดงธรรม (ธัมมเทศนา) เมื่อได้ศึกษาธรรมะแล้ว การถ่ายทอดให้แก่บุคคลอื่น นับเป็นบุญประการหนึ่งด้วย เพราะได้ทำให้คนอีกหลายๆคน ได้มีมุมมองการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง ตามธรรมะที่แสดงไปนั้น และ เท่ากับเป็นการสืบทอดพระศาสนาของพระบรมศาสดาด้วย แต่ไม่ทุกคนที่จะสามารถแสดงธรรมได้ถูกต้อง หากตนเองไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ก็อาจจะเพียงแนะนำให้บุคคลอื่นได้ไปอ่าน ไปศึกษา หลักธรรม เพียงเท่านี้ ก็ได้บุญแล้วเช่นกัน

"การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง"


๑๐. การกระทำความเห็นให้ตรง หรือ สัมมาทิฏฐิ (ทิฏฐุชุกรรม) การมีความคิดเห็นที่ตรง ที่ถูกต้องนั้น จะทำให้เราประพฤติปฏิบัติตน เป็นคนดี สามารถละเว้นความชั่ว หรือ ทิฏฐิ ของตนได้ ซึ่งเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีความคิดเห็นที่ตรงนั้น ต้องศึกษาอย่างจริงๆจังๆ และ ต้องหัดสังเกตุตนเองอยู่บ่อยๆ เมื่อทำเช่นนี้ ก็จะทำให้เรา สติ อยู่กับตนเอง การมีสติ ก็จะทำให้เรางดทั้งปวงเช่นกัน


http://www.wbj.bloggang.com/



หน้าที่ :: 54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved