Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคทองของโจร ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด แข็งแรง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ"
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14455538  

ทฤษฏีการเรียนรู้

รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Styles)

นักเรียนแต่ละคนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและมีความสนใจที่แตกต่างกัน ซึ่ง Robert Sylwester (1995, อ้างถึงใน อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง ,2545) กล่าวไว้ว่า " นักเรียนมีสมองที่ออกแบบมาต่างกัน สมองแต่ละคนแตกต่างกัน เช่นเดียวกับลายนิ้วมือและใบหน้า ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจึงได้ศึกษาเกี่ยวกับแบบการเรียน หรือวิธีการเรียนรู้ของนักเรียนแบบต่าง ๆ วิธีประมวลผลข้อมูล และสิ่งที่นักเรียนชอบ"

รูปแบบการเรียนรู้เป็นปฏิบัติประจำในการค้นพาหรือรับความรู้ ทักษะและทัศนคติผ่านประสบการณ์หรือการเรียนรู้ซึ่งแยกได้เป็น 4 ลักษณะ คือ (Kolb, 1985) คือ

1. ลักษณะที่แสวงหา (Activists) เป็นผู้ชอบแสวงหาประสบการใหม่พยามยามแก้ปัญหาโดยตนเอง และมีความตื่นเต้นค้นหาความรู้ใหม่อยู่เสมอ

2. ลักษณะชอบตอบสนอง (Reflector) เป็นผู้ใช้ความคิดสุขุมรอบคอบพิจารณาประสบการณ์ใหม่อย่างลึกซึ้งก่อนตัดสินใจ โดยขึ้นอยู่กับการสังเกต และมีปฏิกิริยาตอบสนอง

3. ลักษณะนักทฤษฎี (Theorists) เป็นผู้ที่บูรณาการสิ่งดีสังเกตให้เป็นรูปแบบที่มีเหตุผล โดยการวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน

4. ลักษณะนักปฏิบัติ (Pragmatists) เป็นผู้ชอบประยุกต์สิ่งใหม่ ความคิดใหม่ โดยทันทีและไม่อดทนต่อการทำย้ำๆ ซ้ำ หรือการสอบสนองใดๆ

David Kolb (1984) ได้จำแนกแบบการเรียนเป็น 4 แบบ โดยยึดหลักการเรียนรู้อิงประสบการณ์ (Experiential Learning) ได้ดังนี้

1. แบบปรับปรุง (Accommodators) บุคคลแบบนี้ชอบลงมือปฏิบัติทดลองสิ่งใหม่ๆ ทำงานได้ดีใน

สถานการณ์ที่ต้องใช้การปรับตัว ชอบสร้างสรรค์ ลองผิดลองถูก เสี่ยง และมีแนวโน้มที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่ตนนึกคิดเอง

2. แบบคิดเอกนัย (Convergers) บุคคลแบบนี้ต้องการรู้เฉพาะเรื่องที่มีประโยชน์และใช้ได้กับ

สถานการณ์หนึ่ง ๆ เท่านั้น มีความสามารถในการจัดรวบรวม และใช้แนวคิดที่เป็นนามธรรม ในการปฏิบัติจริง แต่ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนและกำหนดเวลาที่แน่นอน

3. แบบดูดซึม (Assimilators) บุคคลแบบนี้ชอบการค้นคว้า อ่าน วิจัย และศึกษาอย่างเจาะลึก มี

ความอดทน และเพียรพยายามที่จะศึกษาหาข้อมูล ชอบข้อมูลที่เป็นนามธรรม เชื่อว่าตนเองเรียนรู้ได้ดีจากประสบการณ์ที่ผ่านมาและจากผู้เชี่ยวชาญ

4. แบบอเนกนัย (Divergers) บุคคลแบบนี้ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมรอบตัวที่สุขสบาย ชอบเรียนรู้จากคนอื่นด้วยการพูดคุยสนทนา ชอบแสวงหาทางเลือกหลาย ๆ ทาง และเรียนรู้เพื่อสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนรวม

Rita Dunn และ Ken Dunn (1987) ได้แบ่งแบบการเรียนของนักเรียนออกเป็น 5 แบบ คือ

1. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการฟัง นักเรียนแบบนี้จะรับรู้ข้อมูลได้ดีด้วยการฟัง และมักใช้การพูดโต้ตอบมากกว่าการอ่าน ชอบฟังการบรรยาย การเล่าเรื่อง ชอบฟังเพลง และฟังเสียงที่มีระดับเสียงและท่วงทำนองต่าง ๆ ได้ดี ชอบการอภิปราย พูดคุยกับเพื่อนนักเรียนชอบดูภาพ แผนภูมิ แผนภาพ ออแกไนเซอร์แบบกราฟิกจึงเป็นเครื่องมือสำคัญ นักเรียนกลุ่มนี้ยังเรียนได้ดีจากสี เพราะมันจะมีความหมายกับพวกเขา

2. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการสัมผัส นักเรียนแบบนี้จะรับรู้ข้อมูลได้ดีด้วยการสัมผัส แตะต้อง เช่น การเขียน การวาดภาพ การมีส่วนร่วมในประสบการณ์ตรง หรือประสบการณ์รูปธรรม

3. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการเคลื่อนไหว นักเรียนแบบนี้จะรับรู้ข้อมูลได้ดีด้วยการลงมือกระทำ และด้วยการเคลื่อนที่ไปมา นักเรียนจึงชอบกิจกรรมที่มีความหมายและสัมพันธ์กับชีวิตจริง

4. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการสัมผัสและเคลื่อนไหว นักเรียนแบบนี้ต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ชอบ กิจกรรมบทบาทสมมติ และสถานการณ์จำลอง ชอบเดินไปมาในห้องอย่างอิสระ

" ยิ่งครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตรงกับแบบการเรียนของนักเรียนมากเท่าไร นักเรียนก็จะใช้สมองได้

มากเท่านั้น "

Howard Garder (1983, 1993) ได้นำเสนอเรื่องพหุปัญญา (Multiple Intelligences) ว่า "การสังเกตพบว่าคนเรามีเชาวน์ปัญญาหลายแบบ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เราแตกต่างกันเพราะเรามีเชาน์ปัญญาแบบ ต่าง ๆกัน ถ้าเรารู้จักสังเกตคน เราจะสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น" การ์ดเนอร์ได้แบ่งความเก่งหรือความสามารถพิเศษของเด็กไว้ทั้งหมด 8 แบบ ดังนี้

1. การใช้ภาษา (Verbal / Linguistic) : การอ่าน การพูด และการฟัง

2. การใช้เหตุผลและคิดคำนวณ หรือเก่งเลข (Logical / Mathematical) : การทำงานกับตัวเลข และคิดแบบนามธรรม

3. การรับรู้ภาพ หรือเก่งด้านศิลปะด้านช่าง (Visual / Spatial) : สร้างภาพ แปลรูป สร้างแผนฟังแนวคิด จินตนาการ เขียนภาพ

4. ความสามารถทางดนตรี หรือเก่งดนตรีและจังหวะ (Musical / Rhythmic) : การใช้จังหวะ ทำนอง ดนตรี เต้นรำ

5. การเคลื่อนไหวร่างกาย หรือกีฬา (Bodily / Kinesthetic) : การรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส การเคลื่อนที่ไปมา

6. ความสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือเก่งด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal) : ร่วมมือ สัมพันธ์ รู้สึกร่วม

7. การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง หรือเก่งด้านการรู้ตน (Intrapersonal) : ทำงานตามลำพัง เรียนรู้ตามความสามารถ ทำโครงงานด้วยตนเอง

8. ความเข้าใจธรรมชาติ หรือเก่งด้านความเข้าใจในธรรมชาติ (Naturalist) : ใช้เวลานอกสถานที่ จัดกลุ่มสังเกต และแบ่งประเภทสิ่งที่พบเห็น



หน้าที่ :: 4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved