แบบการคิด (Cognitive Style) ความหมายของแบบการคิด
นักการศึกษาและนักจิตวิทยาหลายท่านได้ให้ความหมายของแบบการคิดไว้ต่างๆ กัน ดังต่อไปนี้
โคเกน (Kogan, 1971) ได้นิยามความหมายของแบบการคิดว่าเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านการรับรู้ การจำ การคิด ความเข้าใจการแปลงข่าวสาร และการนำข่าวสารไปใช้ประโยชน์ เช่นเดียวกับ เมสสิก (Messick , 1976) ที่กล่าวไว้ว่าแบบการคิดเป็นรูปแบบที่ได้มาเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร ที่แต่ละคนมีแตกต่างกันไป และยังส่งผลต่อบุคลิกภาพ พฤติกรรม การรับรู้ การจำ การแก้ปัญหา ความสนใจ พฤติกรรมทางสังคมและการสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับตันเอง ส่วนออสเบิร์น และออสเบิร์น (Ausburn and Ausburn , 1978:337-354) กล่าวถึงแบบการคิดว่า เป็น “มิติทางจิตวิทยา” ซึ่งแสดงถึงการได้มาของข่าวสาร (Acquiring ) และกระบวนการสนเทศ (Processing Information) หรืออาจ กล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า เป็นเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล ในการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยการรับรู้ ความคิด ความจำ จินตภาพและการแก้ปัญหา ซึ่งระดับของกระบวนการเรียนรู้นี้มิใช่เป็นเพียงเรื่องของ ทักษะหรือความความสามารถเท่านั้น แต่เป็นความถนัดและยังเป้นความแตกต่างระหว่างบุคคลในการศึกษาข่าวสาร การเก็บข่าวสาร การจัดทำอันมีขั้นตอน ต่าง ๆ รวมถึงการนำข่าวสารไปใช้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะแสดงถึงความคิดทางสมองที่แตกต่างกัน
วิกิน (Witkin, 1977 : 1-64) กล่าวโดยสรุปว่าแบบการคิดเป็นลักษณะบุคลิกภาพของบุคคล ที่แสดงให้เห็นถึงการรับรู้และกระบวนการคิดของแต่ละบุคคล ซึ่งค่อนข้างจะมีความคงเส้นคงวา โดยมีลักษณะ ดังนี้
1. แบบการคิดเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้มากกว่าขั้นตอนต่าง ๆ โดยมีลักษณะ ดังนี้
2. แบบการคิดมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของบุคคล และเป็นตัวชี้ลักษณะที่เด่นในตัวบุคคล ให้แสดงออกมา
3. แบบการคิดเป็นสิ่งที่ติดตัวบุคคลแต่ละคน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามอายุแต่ไม่อาจ ทำให้รูปแบบการคิดของบุคคลนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงจากเดิมไปโดยสิ้นเชิง
จากนิยามทั้งหมดนี้ สามารถสรุปได้ว่า แบบการคิด หมายถึง ลักษณะการคิดของบุคคลที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพ พฤติกรรมและการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การแก้ปัญหา ทักษะความสามารถรวมทั้งด้านทัศนคติขอบแต่ละคน ประเภทของแบบการคิด
แบบการคิด (Cognitive Style ) มีขอบเขตในการศึกษาได้หลายรูปแบบการคิดที่ได้รับการศึกษาและวิจัยมาเพื่อนำไปใช้ในวงการศึกษาและเป็นแบบที่น่าจะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ จากเว็บ คือ แบบการคิดตามทฤษฎีของ วิทกิน และคณะ (Witkin et.al, 1977) ซึ่งได้แบ่งรูปแบบการคิด ของบุคคลโดยตัดสินจากความสามารถของบุคคลที่จะเอาชนะอิทธิพลจากการลวงให้ไขว้เขวของภาพ ขณะที่บุคคลกำลังพยายามจัดจำแนกสิ่งเร้า ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. ฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ (Field Independent) เป็นรูปแบบการคิดของบุคคลที่เป็นอิสระ จากการลวงของภาพที่เป็นพื้นได้มากสามารถวิเคราะห์ จำแนกสิ่งเร้าได้ดี
2. ฟิลด์ ดิเพนเดนท์ (Field Dependent) เป็นแบบการคิดของบุคคลที่มีลักษณะการคิดวกวน สับสนอันเนื่องมาจากอิทธิพลการลวงของภาพที่เป็นพื้น จนขาดการพินิจพิเคราะห์ในสาระที่ได้รับบุคคลแบบนี้จึงมองสิ่งต่าง ๆ ในภาพรวม วิธีการจำแนกการคิดของบุคคล
ในอดีตการจำแนกแบบการคิดของบุคคลตามวิธีการของวิทกิน มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ วิธีแรกเป็น การทดสอบที่เรียกว่า ร็อดแอนเฟรมเทสท์ ( Rod-and-Frame Test : RFT) ผู้เข้ารับการทดสอบจะเข้าไป อยู่ในห้องปฏิบัติการที่มีกรอบสี่เหลี่ยมและเส้นเรืองแสง(Luminous Square Frame and Rod ) ซึ่งอยู่แนวเดียวกันทั้งกรอบและส้นเรืองแสงสามารถหมุนตามเข็มและทวนเข้มนาฬิกาได้อย่างเป็นอิสระต่อกัน เมื่อเริ่มการทดลองจะเห็นทั้งกรอบและเส้นเรืองวางอยู่ในลักษณะเอียง วิทกินจะแนกแบบการคิดโดยพิจารณาลักษณะการปรับเส้นเรืองแสงของผูเรับการทดสอบ วิทกินพบว่า บางคน ปรับเส้นโดยยึดกรอบเรืองแสงเป็นหลัก เช่น ถ้าวางกรอบ 30 องศา ผู้นั้นจะปรับเส้นเรืองแสงเอียง 30 องศาตามแนวกรอบ โดยที่เข้าใจว่าตนเองปรับเส้นเรืองแสงได้ตรงตั้งฉากกับแนวพื้นราบแล้ว กลุ่มนี้ จัดเป็นพวกที่ต้องพึ่งพิงสภาพแวดล้อม หรือผู้ที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนท์นั่นเอง แต่จะมีคนอีก กลุ่มหนึ่งที่สามารถปรับวัตถุได้ตรงโดยไม่ขึ้นกับความเอียงของกรอบเรืองแสง พวกนี้จัดเป็นกลุ่มฟิลลด์ อินดิเพนเดนท์ เพราะได้ต้องพึ่งพาสภาพแวดล้อม
การทดสอบวิธีที่สอง เรียกว่า เดอะ บอดี้ เอดจัสท์เมนท์ เทสท์ (The Body- Adjustment Test :BAT) เป็นการทดสอบการปรับตำแหน่งของตนเองโดยผู้เข้ารับการทดสอบจะนั่งอยู่บนเก้าอี้ที่สามารถ ปรับให้เอนไปมาได้ในลักาณตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกาเก้าอี้ดังกล่าวจะตั้งอยู่ในห้องที่สามารถ ปรับระนาบการหมุนได้เช่นกัน เมื่อเริ่มการทดสอบเก้าอี้และห้องจะอยู่ในลักษณะเอียง ผู้เข้ารับการทดสอบซึ่งนั่งอยู่บนเก้าอี้จะต้องปรับเก้าอี้ที่ตนนั่งให้อยู่ในลักษณที่ตั้งฉากกับพื้นโลก จากการทดสอบ พบว่าบางคนสามารถปรับเก้าอี้ให้ตั้งฉากกับพื้นโลกได้ วิทกินเรียนกกลุ่มนี้ว่าเป็นบุคคลที่มีแบบการคิด แบบฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ ส่วนคนที่ปรับเก้าอี้โดยขึ้นอยู่กับความเอียงของพื้นห้องถือว่าเป็นกลุ่มที่มี แบบการคิดแบบฟิลด์ ดินเพนเดนท์
ต่อมาวิธีการทดสอบได้พัฒนาไปจากเดิม โดยเปลี่ยนจากการทดสอบในห้องทดลองมาเป็น การทดสอบที่เรียกว่า เดอะ เอมเบดเดด ฟิกเกอร์ เทสท์ (The Embedded Figures Test : EFT) ของวิทกิน และคณะ (Witkin, et al , 1971) ซึ่งเป็นการทสอบรายบุคคลเกี่ยวกับการรับรู้สิ่งต่าง ๆ จากสภาพแวดล้อม โดยแบบทดสอบที่ใช้ในการจำแนกแบบการคิดด้วยวธีนี้ในปัจจุบันได้พัฒนาออกมาอีก 2 แบบ คือ แบบทดสอบ เดอะ ชิลเดรน เอมเบดเดด ฟิกเกอร์ เทสท์ (The Children Embedded Figures Test : CEFT) สำหรับใช้ทดสอบกับเด็กที่มีช่วงอายุ 5 – 10 ขวบ ซึ่งต้องใช้วัดเป็นรายบุคคล และแบบทดสอบ เดอะกรุป เอมเบดเดด ฟิกเกอร์ เทสท์ (The Group Embedded Figures Test : GEFT) ซึ่งใช้สำหรับวัดบุคคลทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 10 ขวบ ขึ้นมา และสามารถวัดได้กับคนครั้งละมาก ๆ ลักษณะของบุคคลที่มีแบบการคิดต่างกัน
แบบการคิดต่างกัน จะมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. แบบการคิดมีความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่นๆ อีกหลายด้าน เช่น เรื่องของเพศ วัย ระดับสติปัญญา เป็นต้น ผลตากการศึกษาพบว่า เพศหญิงจะมีความเป็นฟิลด์ ดิเพนเดนท์ และฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ ในตัวบุคคลพบว่า ความเป็นฟิลด์ ดินดิเพนเดนท์ ในตัวคนเรา จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่สัมพันธ์กับระดับอายุ ในช่วง 8 – 15 ปี ความเป็นฟิลด์ อินดิเพนเดนท์จะเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ อายุ 15-24 ผี ความเป็นฟิลด์ ดินดิเพนเดนท์ จะเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ อายุ 15 – 24 ปี ความเป็นฟลิด์ อินดิเพนเดนท์ จะแสดงออกอย่างชัดเจน และเมื่อคนมีอายุมากขึ้นและเข้าสู่วัยชรา ความเป็นฟิลด์ดิเพนเดนท์ จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น (Witlin , Goodenough and Krap : 1967 อ้างถึงใน Witlin , et al, 1971 : 5)
2. ผู้ที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนท์ จะมีความเชื่อตามค่านิยมและบรรทัดฐานของสังคม ใน ขณะที่ผู้ที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ จะยึดมั่นในความเชื่อของตนเองเป็นหลัก (Saracho and Spodek, 1981)
3. ผู้ที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนท์จะสนใจต่อบุคคลอื่นเป็นอย่างมากและสร้างความสนิทสนมต่อผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย ส่วนผู้ที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ ดินดิเพนเดนท์ จะชอบอยู่ตามลำพัง และไม่สนใจต่อบุคคลอื่น (Ssracho and Spodek, 1981)
4. บุคคลที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ อินดิเพนเดนท์จะสามารเรียนและจำได้ดีในการเรียนรู้ เกี่ยวกับการวิเคราะห์จำแนกแยกแยะในทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (Goodenough, 1976) และยังสนใจที่จะเรียนในเรื่องที่เป็นนามธรรมและทฤษฎีต่าง ๆ (Witkin, 1977) แต่สำหรับบุคคลที่มีแบบการคิด แบบฟิลด์ ดิเพนเดนท์ จะสามารถเรียนได้ดีในการเรียนเรื่องทั่ว ๆ ไปในด้านสังคมศาสตร์ (Goodenough , 1976)
5. ผู้ที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ จะสามรถเจาะเข้าถึงเนื้อหาส่วนย่อยที่เป็นส่วนประกอบของเนื้อหาสาระส่วนรวม และเข้าใจด้วยว่าส่วนย่อยนั้นเป็นส่วนที่แยกต่างหาก ออกมาจากส่วนรวมทั้งหมดอย่างไรและเป็นผู้ที่สามารถนำระบบโครงสร้างของการแก้ปัญหาขอตนเองไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ในทางตรงข้ามบุคคลประเภทที่ฟิลด์ ดิเพนเดนท์ จะต้องอาศัยการทองเห็นเนื้อหาสาระที่เป็นส่วนรวมทั้งหมดก่อนเพื่อเป็นแนวทาง สำหรับทำความเข้าใจเนื้อหาส่วนย่อยซึ่งเป็นส่วนประกอบของส่วนรวมทั้งมหด และจะไม่สามารถ แยกแยะเนื้อหาสาระได้โดยไมมีบริบทหรือสภาพแวดล้องที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วย
6. ผู้ที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ ดินดิเพนเดนท์ จะทำงานโดยมุ่งที่ตัวงานและอาจไม่ต้องการกรอบหรือระบบโครงสร้างอะไรมาช่วยนำทางในการแก้ปัญหาเท่าไหร่นัก รวมทั้งสามารถแยกแยะ ปัญหาใหญ่ออกเป็นส่วนประกอบย่อยได้ดีกว่าผู้ที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนท์ ซึ่งจะมีลักษณะตรงกันข้ามกล่าวคือ ทำงานที่มุ่งตัวบุคคลอื่น สนใจว่าคนอื่น ๆ จะพูดหรือทำอะไรมากกว่าอย่างอื่น ชอบอยู่กับคนอื่นและชอบทำงานเป็นกลุ่ม เมื่อเนื้อหาสาระที่จะต้องเรียนขาดโครงสร้างหรือกรอบนำทาง และผู้เรียนจะต้องสร้างขึ้นมาเองในการที่จะเข้าใจเนื้อหาสาระ บุคคลประเภทฟิลด์ ดิเพนเดนท์ มักจะประสบปัญหามากกว่าบุคคลประเภทฟิลด์ อินดิ เพนเดนท์ ผู้เรียนที่มีลักษณะแบบการคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนท์ อาจจะต้องการความชัดเจนอย่างมากในเนื้อหาสาระที่จะต้องอ่านและในงานที่จะต้องทำ ตรงกันข้ามผู้เรียนแบบฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ อาจจะพอใจทำงานที่มีการเสนอแนะอย่างหลวมๆ มีแนวทางปฏิบัติภายในกรอบกว้างๆ เพื่อที่จะได้ใช้ความคิดอย่างกว่างขวางอิสระ(สมพร จารุนัฎ, 2540)
7. ผู้ทีมีรูปแบบการคิดทั้งสองแบบนี้จะมีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน 3 ลักษณะคือ การใช้ตัวกลางในการเรียนรู้ และการใช้ประโยชน์จากความเด่นชัดของตัวชี้แนะ กล่าวคือผู้ที่มีแบบการคิด แบบฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ จะมีความสามารถในการสรุปหลักการต่างๆ จากประสบการณ์ของตนได้ดีกว่าผู้ที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนท์ เช่นในการเรียนเนื้อหาที่มีโครงสร้างคลุมเครือ ผู้เรียนต้องสรุปหลักการด้วยตนเอง ผู้เรียนที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ อินดิเพนเดนท์จะสามารถใช้ประโยชนจาก ตัวกลางในการเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ และสรุปเป็นกลักการได้ดีกว่ากลุ่มที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ ดินเพนเดนท์ อีกลักษณะหนึ่งคือการใช้ประโยชน์จากความเด่นชัดของตัวชี้แนะ (Cue Salience) ตัวชี้แนะที่เด่นชัดมากจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าตัวชี้แนะที่เด่นชัดด้อย ตัวชี้แนะที่เด่นชัดจะส่งผลต่อผู้ที่มีความคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนท์ มากกว่าผู้ที่มีแบบฟิลด์ อินดิเพนเดนท์
นอกจากนี้ Ramirez และ Castaneda (1974) ยังได้สรุปคุณลักษณะของผู้เรียนโดยเปรียบเทียบระหว่างผู้เรียนที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนท์ และแบบฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ ดังนี้
ลักษณะผู้เรียน (Student
Characteristics) |
แบบการคิด (Cognitive Styles) |
ฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ (FI) |
ฟิลด์ ดิเพนเดนท์ (FD) |
ลักษณะบุคลิกภาพโดยรวม (Overall characteristics) |
มุ่งความสนใจเป็นส่วนๆ มากว่าสนใจในภาพรวมทั้งหมด |
มุ่งความสนใจเป็นภาพรวม หรือองค์รวมมากกว่าแยกสนใจเป็นส่วน |
เป็นคนที่ให้ความสนใจต่อสิ่งที่สนใจและวิเคราะห์ความแตกต่างได้เป็นอย่างดี |
เป้นคนที่ให้ความสนใจกับความสัมพันธ์และลักษณะทางสังคม |
อธิบายหรือแสดงให้เห็นสิ่งที่สนใจโดยมุ่งไปที่รูปแบบเรื่องราว |
อธิบายหรือแสดงให้เห็นสิ่งที่สนในในลักษณะที่เชื่อมโยงกับรูปแบบเรื่องราว |
ชอบที่จะทำงานคนเดียว เป็นอิสระ |
ชอบที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อทำให้งานประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมาย |
ความสัมพันธ์กับเพื่อน (Relationship to peers ) |
ชอบที่จะแข่งขันและได้รับความสนใจเป็นรายบุคคลเป็นพิเศษ |
ชอบที่จะช่วยเหลือคนอื่น ๆ |
เป็นบุคคลที่มุ่งสนใจในงานที่ทำเป็นหลักและไม่สนใจสภาพแวดล้อมในสังคมขณะที่ทำงานอยู่ |
เป็นบุคคลที่มีอารมณ์อ่อนไหวง่ายต่อการรับความรู้สึกและความคิดเห็นจากผู้อื่น |
ไม่ค่อยมีความสนิทสนมกับผู้สอน |
แสดงออกซึ่งความรู้สึกที่ดีต่อผู้สอน |
ความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้สอน(Personal relationship to teacher) |
มีปฎิสัมพันธ์กับผู้สอนเฉพาะกับงานที่ได้รับมอบหมาย |
ชอบถามคำถามเกี่ยวกับรสนิยมของผู้สอนและประสบการณ์ส่วนตัว และยังพบว่ามักจะมีพฤติกรรมที่แลียนแบบผู้สอน |
Anthony Gregorc (1982) แห่งมหาวิทยาลัย Connecticut ได้พัฒนาทฤษฎีแบบการคิด (Theory of Thinking Styles) ที่ใช้หลักการ 2 ประการคือ
1. วิธีการที่เราแต่ละคนมองโลกรอบตัวแตกต่างกัน คือมองอย่างนามธรรม และรูปธรรม
2. วิธีการที่เราแต่ละคนจัดกระทำกับสิ่งต่างๆ คือ อย่างอิสระ และอย่างมีแบบแผน
จากหลักการทั้ง 2 ได้พัฒนาก่อให้เกิดแบบการคิด 4 แบบ ดังนี้
1. นักคิดเชิงรูปธรรมแบบอิสระ (Concrete Random Thinkers) หรือเรียกว่า มีแบบคิดอเนกนัย (Divergent) บุคคลแบบนี้ชอบการทดลอง มีความสามารถในการรับรู้ และสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้น จากสิ่งที่ตนเองประสบมา ทำงานได้ดีในสถานการณ์ที่ต้องการความคิดหลากหลาย หรือมีทางเลือกหลายทาง สำหรับนักเรียนแบบนี้ ครูต้องให้โอกาสได้เลือกสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียน และเลือกวิธีแสดงความรู้ความเข้าใจ นักเรียนแบบนี้ชอบใช้ความรู้ของตนสร้างสิ่งใหม่ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง
2. นักคิดเชิงรูปธรรมตามแบบแผน (Concrete Sequential Thinkers) บุคคลแบบนี้อยู่ในโลกโดยมีการใช้การรับรู้ของตนเป็นหลัก คิดลึกซึ้งในรายละเอียด ช่างสังเกตและจดจำเก่ง การทำงานทุกอย่างต้องมีแบบแผน กรอบอ้างอิง กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน และมีการจัดและรวบรวมอย่างเป็นระบบ นักเรียนที่มีแนวคิดแบบนี้ จะชอบฟังการบรรยายและกิจกรรมที่ครูเป็นศูนย์กลาง
3. นักคิดเชิงนามธรรมตามแบบแผน (Abstract Sequential Thinkers) บุคคลแบบนี้อยู่ในโลกของทฤษฎี และแนวคิดเชิงนามธรรม ทุกอย่างต้องมีเหตุมีผล เชื่อถือได้ และใช้ปัญญา พวกเขาจะมีความสุขถ้าได้ลงมือทำงานหรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ครูต้องให้เวลากับนักเรียนแบบนี้ได้คิด ได้ศึกษา ได้ค้นคว้าเกี่ยวกับแนวคิดหลักการและทฤษฎี พวกเขาชอบคิดวิเคราะห์และหาเหตุและผลที่แท้จริง
4. นักคิดเชิงนามธรรมแบบอิสระ (Abstract Random Thinkers) บุคคลแบบนี้รับรู้และเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารด้วยความเข้าใจของตนเอง ชอบทำงานร่วมกับผู้อื่นในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย พวกเขาอยู่ในโลกของความรู้สึก แลอารมณ์ เรียนรู้ได้ดีที่สุดจากบุคคลอื่น ชอบอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีปฏิสัมพันธ์กันผู้อื่น กิจกรรมที่เหมาะกับนักเรียนแบบนี้คือ การเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ ศูนย์การเรียน และเรียนกับเพื่อน
เงื่อนไขเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ (Event of Learning)
กาเย่ (1985) ได้กล่าวถึงการเรียนรู้โดยเน้นเงื่อนไขที่จัดขึ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยเฉพาะเป็นเงื่อนภายในและเงื่อนไขภายนอกของผู้เรียนที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้มากน้อยเพียงใด และยังเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในการเรียนรู้ (Event of learning) ด้วย
Verbal information
Intellectual skills
Motor skills
Attitudes
Cognitive strategies |
The learner’s internal states and cognitive processes |
Stimuli from the environment |
External conditions of learning |
Internal conditions of learning |
Essential component of learning and instruction |
ในด้านเงื่อนไขการเรียนรู้ของกาแย่และบริกส์นั้น แยกประเภทรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. เงื่อนไขภายใน(Internal Condition) เป็นเงื่อนไขภายในของผู้เรียน เช่น ความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งที่รู้มาก่อนที่จะเรียนรู้ใหม่
2. เงื่อนไขภายนอก (External Conditions )เช่น เทคนิคพิเศษในการสอนที่นำมาใช้
รูปแบบการสอนของกาแย่และบริกส์นี้ จะประยุกต์เอาเหตุการณ์ในการเรียนรู้ (Event of learning)
มาเกี่ยวข้อง รวมทั้งเงื่อนไขของการเรียนรู้ด้วย
หลักสำคัญในทฤษฎีการสอนของกาแย่และบริกส์มี 5 ประการ คือ
1. วางแผนการสอนเพื่ออำนวยความสะดวกสบายต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละบุคคล แม้ว่าการสอนผู้เรียนเป็นกลุ่มแต่การเรียนรู้เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล
2. วางแผนการสอนในระยะสั้นและระยะยาว โดยมีการวางแผนในบทเรียน ในแต่ละหน่วย และในการสอนแต่ละวัน
3. การวางแผนการสอนไม่ควรทำแบบตามบุญตามกรรม หรือเพียงสร้างสภาพแวดล้อมให้ดูดีเท่านั้น
4. การออกแบบการสอนควรใช้วิธีการนำเข้าสู่ระบบ (System Approach) โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ การพัฒนา ประเมิน การปรับปรุงอย่างมีขั้นตอน
5. การพัฒนาการสอนควรอยู่บนพื้นฐานความรู้ในเรื่องการเรียนรู้ของบุคคล
ดังกล่าวแล้วว่า ทฤษฎีการสอนทั้งหลายต้องประกอบด้วย วิธีการสอน เงื่อนไขการสอน และผลการผลิตการสอน ส่วนผลการผลิตการสอนนั้น ทฤษฎีการสอนของกาแย่และบริกส์ถือว่าเป็นขั้นตอนแรกที่ต้องพิจารณาในการออกแบบเพื่อนำไปสู่ วิธีการสอนและเงื่อนไขการสอน
|