Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14032238  

ศิลปวัฒนธรรมไทย

 





การแสดงพื้นเมือง “ระบำตารีกีปัส”

ประวัติความเป็นมา

ระบำตารีกีปัส เป็นการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ของประเทศไทย คำเรียกระบำชุดนี้เป็นภาษามลายูท้องถิ่น พจนานุกรมฉบันไทย – มลายู อธิบายไว้ว่า “ตารี” หรือ ตาเรียน หมายถึง การฟ้อนรำ ส่วนคำว่า “กีปัส” หรือ ฆีปัส ออกเสียงตามประชาชนท้องถิ่นปัตตานี หมายถึง พัด รวมความแล้วตารีกีปัส หมายถึง การฟ้อนรำที่ใช้พัดประกอบการแสดง การแสดงชุดนี้ได้รับการฟื้นฟูโดยคณะครูโรงเรียนยะหริ่ง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ควบคุมการฝึกซ้อมโดย อาจารย์สุนทร ปิยะวสันต์ ซึ่งได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศมาเลเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2518 ก็ได้ชมการแสดงของรัฐต่าง ๆ หลายชุด เมื่อเดินทางกลับมาประเทศไทย ก็ได้เล่าถึงการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์ของมาเลเซียที่ได้ไปชมให้ผู้เฒ่าผู้แก่ฟัง และได้ทราบว่าเมืองยะหริ่งเดิมก็เคยมีการแสดงที่คล้ายคลึงกันกับของมาเลเซียหลายชุด ดังนั้นจึงได้คิดฟื้นฟูการแสดงพื้นเมืองชุดต่าง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะชุดตารีกีปัส ได้นำออกแสดงครั้งแรกเนื่องในงานเลี้ยงเกษียณอายุข้าราชการครูโรงเรียนยะหริ่ง ต่อมาได้มีการถ่ายทอดการแสดงชุดตารีกีปัสไปสู่ประชาชนครั้งแรก โดยเปิดสอนให้กับคณะลูกเสือของจังหวัดปัตตานี เพื่อนำไปแสดงในงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ณ จังหวัดชลบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2522 และได้ทำชื่อเสียงให้กับจังหวัดปัตตานี เมื่อได้รับการคัดเลือกเป็นระบำชุดเปิดสนามงานกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 14 ของจังหวัดปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2524 นับว่าการแสดงชุดตารีกีปัสได้เผยแพร่ไปทั่วประเทศไทยและยังเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปอย่างกว้างขวาง

รูปแบบและลักษณะการแสดง

การแสดงชุดตารีกีปัส มีรูปแบบการแสดงเป็นหมู่ระบำ ซึ่งรูปแบบการแสดงมีอยู่ 2 ลักษณะคือ

1. การแสดงเป็นคู่ ระหว่างผู้ชายและผู้หญิง

2. การแสดงเป็นหมู่ระบำโดยใช้ผู้หญิงแสดงล้วน

เครื่องแต่งกาย

การแต่งกายแบบผู้หญิงล้วน แต่งกายตามแบบที่ได้รับการปรับปรุงประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นการแต่งกายของตารีกีปัส ชุดพิธีเปิดสนามงานกีฬาเขตแห่งประเทศไทย (กีฬาแห่งชาติปัจจุบัน) ครั้งที่ 14 จังหวัดปัตตานี เมื่อปีพ.ศ. 2524 ประกอบด้วย

1. เสื้อในนาง ไม่มีแขนสีดำ

2. ผ้านุ่ง เป็นโสร่งบาติก หรือผ้าซอแกะ (Song Ket) สอดดิ้นเงิน – ทอง ประปรายแบบมาเลเซีย ตัดเย็บแบบหน้านาง หรือเลียนแบบจับจีบหางไหล

3. ผ้าสไบ สำหรับคลุมไหล่ จับจีบเป็นโบว์ด้านหน้า

4. เข็มขัด

5. สร้องคอ

6. ต่างหู

7. ดอกซัมเป็ง

ดนตรีและเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง

ใช้วงดนตรีพื้นเมืองภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งประกอบไปด้วย ไวโอลิน รำมะนา ฆ้อง แมนโดลิน ขลุ่ย และมาลากัส

เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง เป็นทำนองเพลงที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศมาเลเซีย คืออินัง ตังลุง เป็นเพลงผสมผสานระหว่างมลายูกับจีน


โอกาสที่ใช้ในการแสดง ใช้แสดงในงานรื่นเริงทั่วไป





หน้าที่ :: 11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved