Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14032279  

ศิลปวัฒนธรรมไทย

:::ประวัติฟ้อนล่องน่าน:::




ฟ้อนล่องน่าน

ฟ้อนล่องน่านเริ่มเข้ามาแพร่หลายในเมืองน่านมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งฟ้อนเล็บของทางเชียงใหม่ และการรำตามแบบนาฏศิลป์ไทย ฟ้อนล่องน่านเริ่มมีความอ่อนช้อยมากขึ้น มีการก้าวเท้า , เดินแปรแถวไปทางซ้าย – ขวา , ฟ้อนหมุนตัวเป็นรูปครึ่งวงกลมตามอย่างฟ้อนเล็บ ท่าฟ้อนของแต่ละชุมชนก็อาจแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยอย่างไรก็ตามดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงยังคงเป็นวงกลองล่องน่านและคงแบบฉบับการแต่งกายในชุดฟ้อนล่องน่านมาโดยตลอด ถึงแม้ว่าจะได้รับอิทธิพลท่าฟ้อนมาจากภายนอก ช่างฟ้อนเมืองน่านก็สามารถผสมผสานได้อย่างลงตัวและเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

การแต่งกายของช่างฟ้อนเมืองน่าน จะสวมเสื้อแขนสามส่วน หรือเสื้อแขนกระบอก นิยมตัดเย็บด้วยผ้าสีพื้น เช่น สีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน สีชมพู นุ่งซิ่นม่าน ห่มสไบเฉียง เกล้าผมมวยไว้ที่ท้ายทอย ประดับช่อดอกเอื้องผึ้ง หรือดอกไม้สดตามฤดูกาล

การฟ้อนล่องน่าน ใช้เป็นสิ่งสักการบูชาองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และฟ้อนในงานบุญต่าง ๆ เช่นงานปอยหลวง การแห่ครัวทาน การแสดงวัฒนธรรม งานเทศกาลพื้นบ้าน และงานพิธีต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองเป็นต้น

ฟ้อนล่องน่าน เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อฟ้อนพื้นเมืองในจังหวัดน่าน ซึ่งถ้าพิจารณาตามรูปแบบแล้ว สามารถแบ่งฟ้อนล่องน่าน ออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. การฟ้อนที่ล่องไปตามแม่น้ำน่าน
การฟ้อนประเภทนี้ถือเอาที่ผู้ฟ้อน ฟ้อน ขณะล่องเรือตามลำน้ำน่าน หรือ ล่องน่าน เป็นสำคัญ แต่เดิมผู้ฟ้อนจะเป็นเฉพาะผู้ชายเท่านั้นเพราะสมัยก่อนไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขึ้นบนเรือเป็นอันขาด และมักจะฟ้อนประกอบกับวงกลองล่องน่าน ( วงกลองมงสืดสึ้ง ) ซึ่งมีจังหวะช้า เยือกเย็น ทำให้ผู้ฟ้อนสามารถอวดลีลาการฟ้อนได้อย่างเต็มที่ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ ฟ้อนลายงาม ” (บางครั้งฟ้อนเข้ากับเครื่องดนตรีไม่กี่ชิ้น เช่น ฉิ่ง ฉาบ กลองใบเล็ก ๆ หรือเข้ากับการขับร้อง ก็เรียกว่าฟ้อนล่องน่านได้เช่นกัน)
ต่อมาผู้หญิงได้รับอนุญาตให้ฟ้อนบนเรือแข่งได้ และเรียกว่า “ฟ้อนล่องน่าน” ตามอาการที่ฟ้อนล่องตามลำน้ำน่านเช่นกัน

2. การฟ้อนที่ประกอบกับวงกลองล่องน่าน
การฟ้อนประเภทนี้ถือเอาวงกลองเป็นสำคัญ การฟ้อนใดที่ฟ้อนเข้ากับจังหวะของกลองล่องน่าน ก็จะเรียกว่าฟ้อนล่องน่านทั้งหมด ผู้ฟ้อนจะเป็นชายหรือหญิงก็ได้ แต่โดยทั่วไปคนมักจะนึกถึงการฟ้อนของสตรีมากกว่า
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงการฟ้อนล่องน่าน คือ วงกลองล่องน่าน (วงกลองมงสืดสึ้ง) ซึ่งประกอบด้วย กลอง ฆ้อง ฉาบ ปาน และ ปี่แน

การฟ้อนล่องน่านถ้าฟ้อนในขบวนแห่ที่ต้องมีการเคลื่อนที่จะมีการก้าวเท้าเพื่อเคลื่อนขบวนฟ้อน จะมีลักษณะเดินสลับซ้ายขวา ( เดินเคลื่อนไปทางซ้าย 4 จังหวะ หรือขวา 4 จังหวะ ) ค่อย ๆ เคลื่อนขบวนฟ้อนไปข้างหน้า ซึ่งมีลักษณะการก้าวเท้าดังนี้

ท่าเตรียมตัว
ลักษณะ ยืนตัวตรง เท้าชิด

จังหวะที่ 1
ลักษณะ ก้าวเท้าแยกออกทางด้านข้าง ลำตัวเอียงด้านตรงกันข้ามกับเท้า

จังหวะที่ 2
ก้าวเท้าไขว้ ข้ามเท้าเดิม ลำตัวเอียงด้านตรงกันข้ามกับเท้า

จังหวะที่ 3
ลักษณะ ก้าวเท้าแยกออกทางด้านข้าง ลำตัวเอียงด้านตรงกันข้ามกับเท้า

จังหวะที่ 4
ลักษณะยืนชิดเท้า ลำตัวตรง

  • :::รำแม่บท:::
  • :::รำอวยพร:::
  • :::รำกริชสุหรานากง:::
  • :::ฟ้อนแพน:::
  • :::ฉุยฉายยอพระกลิ่น:::
  • :::รำฉุยฉายวันทอง:::
  • :::รำฉุยฉายเบญกาย:::
  • :::รำฉุยฉายฮเนา:::
  • :::ฉุยฉายมังตรา:::
  • :::รำฉุยฉายพราหมณ์:::
  • :::ฟ้อนลาวดวงเดือน:::
  • :::ฟ้อนม่านมงคล:::
  • :::ระบำชุมนุมเผ่าไทย:::
  • :::รำเชิญพระขวัญ:::
  • :::ระบำทวาราวดี:::
  • :::ระบำกฤษดาภินิหาร:::
  • :::ระบำดาวดึงส์:::
  • :::ระบำตารีกีปัส:::
  • :::รำฟ้อนเทียน:::
  • :::ระบำรองเง็ง:::
  • :::รำชวา:::
  • :::รำตังหวาย:::
  • :::ระบำเก็บใบชา:::
  • :::ฟ้อนเล็บ:::
  • :::ระบำดอกบัว:::
  • :::ระบำเทพบันเทิง:::
  • :::รำศรีวิขัย:::
  • :::ฟ้อนภูไท:::
  • :::ฟ้อนสาวไหม:::
  • :::ฟ้อนเงี้ยว:::
  • :::รำลาวกระทบไม้:::
  • :::ระบำสุโขทัย:::




  • หน้าที่ :: 27   28   29   30   31   32   33  


    Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved