Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14327152  

ข่าวประชาสัมพันธ์

 ถ้าครู “หยุด” เรียนรู้ครูก็ต้อง “หยุด” สอน..!?!

 

ถ้าครู “หยุด” เรียนรู้ครูก็ต้อง “หยุด” สอน

โดย รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
 
   โลกยุคการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) ซึ่งเป็นยุคที่ “ความรู้คือพลัง คืออำนาจ” ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กร และหน่วยงานต่างๆ ล้วนต้องการทรัพยากรมนุษย์ที่รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ไม่เว้นแม้แต่แวดวงการศึกษา ก็ต้องการ “ครู” ที่ไม่หยุดเรียนรู้เช่นกัน...

   การใฝ่หาความรู้ของครูในยุค KM นั้น ไม่ใช่มีการใฝ่หาความรู้เชิงวิชาการเท่านั้น แต่จำเป็นต้องใฝ่หาความรู้แบบรอบด้าน เนื่องจาก “ครู” เป็นทั้ง “คัมภีร์ที่มีชีวิต” ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการถ่ายทอด “ความรู้ที่ชัดแจ้ง” (Explicit Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น หนังสือตำราเรียน ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็น “ความรู้แบบรูปธรรม”

   นอกจากนั้น ยังเป็น “ตัวจักร” ที่ผลักดันให้ “ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคล” (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ โดยบางครั้งเรียกว่าเป็น “ความรู้แบบนามธรรม” ได้ถูกนำมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

   ดังนั้น “ครูมืออาชีพยุค KM” จึงต้องเป็นได้มากกว่าผู้ถ่ายทอดความรู้ จากการที่ผู้เขียนได้มีโอกาสศึกษาดูงานด้านการศึกษากับคณะของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ TDA (Training and Development Agency for Schools) ซึ่งเป็นหน่วยงานฝึกและพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาของประเทศอังกฤษ ทำให้สรุปได้ว่ากรอบลักษณะของ “ครูอุดมคติ” นอกจากจะต้องมีสัมพันธภาพที่ดีกับเด็กแล้ว ยังควรเป็นบุคคลที่มีความยุติธรรม มีความน่าเคารพเชื่อถือ และเป็นกำลังใจให้เด็กในการเรียนรู้ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต โดยครูจะต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจในการเพิ่มเติมองค์ความรู้ตลอดเวลา และประพฤติตนเป็น “ต้นแบบ” ของการคิดดี ทำดี พูดดี

   การอบรมสั่งสอนเด็กจะให้ได้ผลนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชนที่อยู่แวดล้อมตัวเด็ก เพื่อให้เด็กมีสภาพความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับพัฒนาการ โดยวิธีการเรียนแบบมีส่วนร่วม (Collaborative Learning) ถือเป็นวิธีที่สามารถพัฒนาความรู้ ทักษะในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทำงานร่วมกับผู้อื่น

   สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับครู คงหนีไม่พ้นการพัฒนาศักยภาพของตนเอง โดยเฉพาะการรู้จักสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการสอนในรูปแบบใหม่ ๆ เปิดใจให้กว้างพร้อมที่จะรับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ และนำคำวิจารณ์เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการสอนให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็ก

   เมื่อพิจารณาจากคุณสมบัติของ “ครู” ก็คงต้องพูดตรงตรงว่าการเป็น “ครูตามทฤษฎี” เป็นเรื่องที่ทำได้ยากซะยิ่งกว่ายาก โดยเฉพาะการเป็น “ครูไทย” ในยุค “ข้าวแพงแต่เงินเดือนน้อย” ที่ต้องผจญกับสภาวะ “ปากกัดตีนถีบ” ที่ลำพังจะเอาตัวเองให้รอดก็แสนจะยากเย็น แล้วยังต้องมาแบกรับภาระอันหนักหน่วงจากการดูแลเยาวชนของชาติ ก็คงต้องบอกว่าครูยุคนี้ต้องมี “จิตวิญญาณของความเป็นครูแบบเข้มข้นสุดสุด”...

   แม้การเป็น “พ่อพิมพ์ แม่พิมพ์” จะยากลำบาก แต่เมื่อเลือกเป็น “ครู” ก็ต้องไม่หยุดเรียนรู้ เพราะหาก “หยุด” เรียนรู้ ก็คงไม่ต่างจากการหมดคุณค่าของการเป็น “ครู”...

   แล้วถ้าเป็นเช่นนั้นจริงจริงก็ควร “หยุด” สอนไปเลยจะดีกว่า..!!


  ที่มา - สยามรัฐ 24/4/2551
 
 
 
 
 
 
 
 
ประกาศเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2551


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved