Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14031671  

กระดานแสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ    

KROOPAD

ตั้งกระทู้เมื่อ
17 พ.ค. 2556
  ขอเชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการปฎิรูปการศึกษาไทย

     การรณรงค์เพื่อขอให้ชุมชนมีบทบาทในการตัดสินชะตากรรมชีวิตโรงเรียนเล็ก ประสบผลสำเร็จครั้งสำคัญ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รับปากตั้งคณะกรรมร่วมระหว่างประชาชนและรัฐ เพื่อพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก


     ครูชัชวาลย์ ทองดีเลิศ พร้อมครูโรงเรียนเล็กท่านอื่นๆ เดินทางพร้อมกับรายชื่อ 20,000 เสียงจากผู้ใช้ Change.org ทุกคนเข้าพบรมว.ศธ. เช้าวันพุธที่ 15 พ.ค. ที่ผ่านมาครูชัชวาลย์ กล่าวว่า  ที่ผ่านมาเราได้รณรงค์ให้รัฐมีการคุยกับชุมชนก่อนยุบโรงเรียนมาเป็นเวลายาวนาน ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่รัฐยอมรับฟัง เพราะเรื่องดังกล่าวกลายเป็นประเด็นสาธารณะ หลังจากที่ตนพร้อมกลุ่มครูโรงเรียนทางเลือก ได้มีการรณรงค์ผ่าน change.org

“20,000  คนทำให้ประเด็นเรื่องการปฏิรูปการศึกษาไม่ใช่เป็นเรื่องของกระทรวงศึกษาอีกต่อไป  แต่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนในหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม การรณรงค์ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจของพลังทางสังคมครั้งนี้  ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริง” ครูชัชวาลย์กล่าว

ท่านรัฐมนตรีพงศ์เทพกล่าวต่อหน้าสื่อว่า ก่อนจะควบรวม[โรงเรียน] จำเป็นต้องรับฟังความเห็นจากชุมชน ผู้ปกครอง หากชุมชนใดมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาได้ดี ไม่จำเป็นต้องไปควบรวมกับโรงเรียนอื่น ในส่วนนี้ก็จะช่วยสนับสนุนให้ดีขึ้น

“แต่การรณรงค์ยังไม่จบ ถึงแม้กระทรวงศึกษาฯจะรับปากตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างชาวบ้านและรัฐ เรายังคงต้องจับตาต่อ โดยเฉพาะในสัปดาห์หน้า ว่าจะมีการเริ่มการนัดประชุมจริงหรือไม่ หรือทางกระทรวงศึกษาฯจะดำเนินการตามแผนเดิมคือประกาศเรื่องโรงเรียนที่จะยุบโดยไม่ฟังเสียงชาวบ้าน” ครูชัชวาลย์กล่าว

 
English Summary

Education Minister Phongthep Thepkanjana agreed to set up a joint committee composed of parents, teachers and government representatives, to solve the small school issue insisting that the ministry would not close down any schools against the wishes of the local community.

"Last week the Education Ministry proposed to close almost 6,000 smalls schools nationwide to save budget, but now, Minister Phongthep is willing to rethink after 20,000 people in the past five days signed a petition on change.org that helped create public uproar and convinced the minister to see things differently," said Ajarn Chatchawan Thongdeelert, petition starter and community school representative.

Ajarn Chatchawan added that although some schools should be merged with larger ones, small schools in remote areas especially good quality schools should have the right to survive and that the Ministry should hear the locals' side of the story first before making any decisions.

Ajarn Chatchawan said that the small schools network have been campaigning for the ministry to involve communities in the decision-making process for almost three years but this is their first breakthrough.

Ajarn Chatchawan thanks everyone who signed the petition and wants people to keep signing and monitor the situation until the committee and all its meetings actually take shape.

admin Change.org



K.ET

ตอบกระทู้เมื่อ
17 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 1
จริงใจกับประเทศชาติกันหน่อยเหอะ อย่าหวงเลยอำนาจน่ะผู้บริหารเอ๋ย คิดและทำโดยเอาทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ดีกว่า ประสานได้ไหมเล่าในท้องถิ่น รถยนต์อบต.เอาไว้ทำอะไร รถหน่วยงานในพื้นที่ก็มี บริหารจัดการ บริการรับส่งนักเรียนในท้องถิ่นไม่ดีกว่าหรือประหยัดที่ควรประหยัดดีกว่ามั้ย ครูก็เหมือนกัน รวมแล้วสบายขึ้นเยอะงานก็ไม่หนักเพราะรับผิดชอบร่วมกัน นักเรียน มีเพื่อนเยอะ มีกิจกรรมกลายหลาย เด็กๆและผู้ปกครองเขาไม่ว่าหรอก ดึงศักยภาพท้องถิ่นมาใช้ดีกว่า 


K.TC

ตอบกระทู้เมื่อ
17 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 2
เห็นด้วยกับครู NAN ครับ รถสันติราษฏร์ก็มี รถป่าไม้ รถโรงพยาบาล รถสาธารณสุข เยอะแยะไปหมด รถครูก็จอดเต็มโรงเรียน ผมอยู่โรงเรียนใหญ่สอนพละครับอยากได้ครูเพิ่มมาช่วยสอนกีฬาอีกสักหลายๆคน เงินเดือนก้อเท่ากันนะครับ สี่หมื่นบวกวิทยฐานะและค่าตอบแทนอีก 12,000 ผมสอนนักเรียน 6 ชั้นสัปดาห์ละ 25 ชั่วโมงไม่รวมงานจร เห็นเพื่อนครูโรงเรียนเล็ก(มีความรับผิดชอบในหน้าที่)เงินเดือนเท่ากันทำงานแบบรับเหมาห็นใจมากครับ


k.juy

ตอบกระทู้เมื่อ
17 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 3

เฮ้อ..สงสารประเทศไทย สงสารเด็กในชนบท  เพราะโรงเรียนรัฐในชนบทขาดแคลนงบประมาณ ขาดครู คุณภาพจึงด้อยลง ซึ่งเกิดจากความไม่เอาจริงของกระทรวงศึกษาธิการในการแก้ปัญหา ที่ผ่านมาเห็นแต่โยนหินถามทาง หากมีปัญหากลัวเสียความนิยม เสียคะแนนเลือกตั้งก็ถอยหรือหยุด ไม่ไปใหนสักที  ที่นี่ประเทศไทย ทำอะไรก็รีบๆๆทำเถอะคร้าบบ 



ครูพันธุ์แท้

ตอบกระทู้เมื่อ
17 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 4
"รณรงค์เพื่อขอให้ชุมชนมีบทบาทในการตัดสินชะตากรรมชีวิตโรงเรียนเล็ก" ล้อบบี้ชุมชนหรือเปล่า เคยเข้าร่วมประชาคมหลายครั้ง และหลายครั้ง"ผู้มีอำนาจ" ทั้งชักทั้งจูง ถ้าเป็นความต้องการของท้องถิ่นจริงก็ดีนะเพราะนั่นหมายถึงโรงเรียนมีศักยภาพพอให้ชุมชนศรัทธา ข้อคิดอีกข้อเห็นชัดๆ ครูโรงเรียนใหญ๋ โรงเรียนเล็ก ต่างส่งลูกหลานตัวเองเข้าเรียนในโรงเรียนติดดาว อื่นๆก็ไม่ต้องพูดถึงแล้ว


Krootanoi

ตอบกระทู้เมื่อ
17 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 5
..เคจุ๋ย..มาก่อนแล้วยังจะอยากนั่งหน้า....มาก่อนต้องจองนั่งหลัง (คนไม่เป็นครูย่อมไม่เข้าใจครู) ครูโรงเรียนเล็กสอนตั้งหลายระดับชั้นนะ งบประมาณรัฐก็ให้มาสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กก้อนใหญ่ๆ ภาครัฐก็ทุ่มเทงบประมาณมาตลอด อะไรๆก็โรงเรียนขนาดเล็ก ไปเปิดโครงการย้อนหลังดูซิ มันละลายไปกับอะไรมั่ง  ตอบคำถามง่ายๆกันก่อน ทำไมเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก คนในได้แก้ปัญหาหรือเยัง คนนอกแก้ปัญหาได้หรือเปล่า เอาแค่นี้ก่อน เพราะเรื่องศรัทธามันเป็นเรื่องใหญ่แม้ว่าจะต้องมาเป็นอันดับหนึ่งก็ตาม .. พูดยากก ต้องมาสัมผัสเอง แต่นั่นแหล่ะนะ ทองแท้หรือไม่เจอไฟก็รู้ แว๊บบบ..
 


บ่าวรัฐ

ตอบกระทู้เมื่อ
17 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 6
แวะเอารูปมาเปลี่ยน สงสัย สอนอแปด จะเน้นแต่กุหลาบแดง หรือเชียร์แต่เจ้าสำนักท่านนี้ก็ไม่รู้แฮะ สำหรับทุกความเห็นข้างบนก็แล้วแต่มุมมองและประสบการณ์ของแต่ละท่านนะครับ แต่ผมติดหูชาวบ้านร้านถิ่นคุยกันเรื่องเด็กถูกทอดทิ้งอยู่ทั่วไป ในชั้นเรียน ในกิจกรรมกลางแจ้ง ในกิจกรรมศึกษานอกสถานที่ ในแหล่งเรียนรู้ ในรถประจำทางไม่เว้นแม้แต่ในรถตู้ แก้ปัญหากันที่ปลายเหตุจนเป็นเรื่องธรรมดาเสียแล้วการศึกษาไทย ความวัวไม่ทันหาย ความควายก็ตามจ่อมาติดๆ ตามกันให้ทันครับพี่น้อง!


k.Taew

ตอบกระทู้เมื่อ
17 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 7
ให้กำลังใจท่านชินภัทร์ เวลานี้ประเทศไทยต้องการผู้นำที่เข้มแข็งค่ะ
 
 
 
 


หนอนไซเบอร์

ตอบกระทู้เมื่อ
17 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 8

เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยันไม่ได้ยุบโรงเรียนเล็กทั้งหมด ชี้พื้นที่ห่างไกล-กันดารต้องสงวนไว้ จ่อเรียกเขตพื้นที่ถกข้อมูลก่อนยุบ...<br /><br />เมื่อวันที่ 10 พ.ค. ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) แถลงข่าวชี้แจงกรณีการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก ว่า เงื่อนไขที่จะนำไปสู่การยุบโรงเรียนนั้น ต้องพิจารณาว่าเมื่อยุบแล้วเด็กสามารถเข้าถึงการศึกษาได้หรือไม่ หากการยุบแล้วมีเด็กแม้เพียงคนเดียวไม่มีที่เรียนก็ไม่สามารถทำได้ เมื่อยุบรวมโรงเรียนต้องดูแลให้นักเรียนได้รับความสะดวกในการเดินทาง และการเดินทางต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ ที่สำคัญต้องได้รับการยินยอมและความร่วมมือจากชุมชน อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 24 พ.ค.นี้ สพฐ.จะมีการประชุม ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ เรื่องการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งที่ผ่านมาได้ให้ไปสำรวจว่าจะดำเนินการอย่างไรกับโรงเรียนที่มีนักเรียนต่ำกว่า 60 คน เพื่อที่จะดูว่าในปีการศึกษา 2556 จะหลอมรวมโรงเรียนได้กี่แห่ง<br /><br />ดร.ชินภัทรกล่าวอีกว่า ข้อมูลตั้งแต่ปีการศึกษา 2551-2555 พบว่านักเรียนในสังกัด สพฐ. ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก โดยในปีการศึกษา 2551 มีนักเรียน 8,025,702 คน ปีการศึกษา 2555 มีนักเรียนเหลือ 7,397,961 คน เหตุผลหนึ่งมาจากการเกิดของประชากรลดน้อยลง ขณะที่โรงเรียนในสังกัด สพฐ. มีอัตราการยุบเลิกน้อยมาก โดยในปีการศึกษา 2551 มีโรงเรียนทั้งสิ้น 31,821 แห่ง ปีการศึกษา 2555 มีโรงเรียน 31,116 แห่ง ซึ่งในจำนวนดังกล่าวเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก 14,816 แห่ง และไม่ใช่ว่าจะพิจารณายุบเลิกโรงเรียนขนาดเล็กทั้งหมด ซึ่งการยุบเลิกนอกจากจะพิจารณาตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้ว หากชุมชนต้องการขอสงวนไว้ก็ต้องมีเงื่อนไขว่าโรงเรียนขนาดเล็กนั้นต้องสามารถคงคุณภาพไว้ได้ และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม หากทำได้ก็จะไม่ยุบ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนในพื้นที่พิเศษที่จะได้รับการยกเว้นหากไม่ต้องการควบรวมโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล กันดาร ตั้งอยู่บนภูเขา เกาะ ชายแดน หรือพื้นที่เสี่ยงภัย.

 
อยู่ที่ว่าหน่วยข้อมูลจะเลือกเป็นพระเอกหรือตัวร้ายครับผม


natalee

ตอบกระทู้เมื่อ
17 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 9

อาคารสถานที่จะรกร้างอีกกว่าหมื่นแห่ง ถ้าระบบของจัดการเขตพื้นที่หรือชุมชนเข้มแข็งก็เป็นบุญของแผ่นดิน กลัวจะรุมทึ้งขัดประโยชน์กันเองให้แตกแยก หรือไม่ก็เพิ่มแหล่งมั่วสุม ที่แน่ๆกว่าอะไรๆจะลงตัวเจ้าความคิดก็หมดวาระ เปลี่ยนตำแหน่งเปลี่ยนนโยบาย ประเทศชาติเป็นของเราทุกคนหรือว่าประเทศชาติไม่ใช่ของเราคนเดียว?



คลื่นใต้น้ำ

ตอบกระทู้เมื่อ
18 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 10

คุณครูโรงเรียนขนาดเล็กส่วนหนึ่งสบายจนอยู่ตัว ได้ผู้บริหารมือใหม่เข้าไปอยู่ในคอนโทรลด้วย ชุมชนก็ชุมชนเหอะ ข้อมูล 24 พฤษภาก็ปฎิรูปกระดาษเหมือนเดิม ตราบใดที่ "ธรรมาภิบาล" วาระเฉพาะกิจยังถูกปล่อยให้ปลวกแบกไปทำรัง อีกสักเดี๋ยวหลังคาก็จะพังลงมาให้เห็นกับตา ทุกวันนี้ "ผู้ใหญ่" ปล่อยปละละเลยเรื่องวินัยคนในชาติไม่เว้นแม้แต่องค์กรไที่ประกาศว่า"ไม่แสวงหาผลประโยชน์" ผู้น้อยก็ใส่เกียร์ว่างกันหมดแล้ว



na_na

ตอบกระทู้เมื่อ
18 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 11
เงื่อนไขว่าโรงเรียนขนาดเล็กนั้นต้องสามารถคงคุณภาพไว้ได้ และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม หากทำได้ก็จะไม่ยุบ ตามนี้จบ


K.Pim

ตอบกระทู้เมื่อ
18 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 12
เอาอะไรมาการันตีว่าโรงเรียนไหนจะคงคุณภาพ หรือไม่คงคุณภาพ ตัวชี้วัดหนอนเจาะยอดผักชี เด็ดขาดจริงก็ฟันธงไปเลย เยิ่นเย้อมามากแล้วเอาเวลา งบประมาณไปทำอะไรที่เกิดประโยชน์ในเชิงรุกดีกว่าม้างงง เข้มงวดกับเหลือบไรการศึกษาดีกว่า แผ่นดินจะได้ไม่จมน้ำ(ลาย)
 


บ่าวรัฐ

ตอบกระทู้เมื่อ
18 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 13
นโยบายก็ออกจะชัดเจนไม่ได้หมายความว่าจะยุบทั้งหมด แต่ขึ้นอยู่กับบริบท และความจำเป็น  สพฐ. ก๊ไม่ได้ใช้วิธีการประกาศแล้วยุบสักหน่อย เขาให้เขตพื้นที่ฯไปทำงานร่วมกับชุมชนก่อน โดยให้เวลาตั้งหนึ่งเดือนในการทำแผนการที่ชัดเจนในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก เห็นด้วยกับความเห็นที่ 10  เขตจะส่งโพยจากข้อมูลของฝ่ายไหน เอาแค่เกณฑ์ที่เป็นบรรทัดฐานชี้วัดคุณภาพ ยังยอมรับกันไม่ได้เลย


ครูถึก

ตอบกระทู้เมื่อ
18 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 14
ถามไว้หน่อยเดียว แล้วนโยบายครูคืนถิ่นมีไว้ทำไมหรอ มันมีจริงไหม ถ้ามีเหมือนหลอกครูวิ่งเต้นเสียเงินกลับบ้าน กลับได้แล้วยังยุบโรงเรียนอีก ก็ครูพลัดถิ่นเหมือนเดิม แต่เท่าที่รู้ครูคืนถิ่นคือครูไปอยู่โรงเรียนใหญ่ๆมีชื่อเสียงกันทั้งนั้นเลย


คลื่นใต้น้ำ

ตอบกระทู้เมื่อ
19 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 15

ลูบหน้าปะจมูกแท้ๆ ที่ออกมาเต้นกันเหย็งๆ กลัวได้ไม่เท่าเสียกันทั้งนั้น เหอะๆ ยุบรวมตำแหน่งและอำนาจหน้าที่ซ้ำซ้อนก่อนดีกว่า คนก้ามโตๆแต่กลวงโบ๋เยอะแยะ เปลืองงบประมาณแผ่นดิน ให้ส่วนท้องถิ่นบริหารจัดการพื้นที่ใครก็พื้นที่มัน อาคารสถานที่ก็จัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนให้ชุมชนมามีส่วนร่วมอย่างว่าจะดีกว่ามั้ย ศูนย์โอท็อบเอย ศูนย์ประชุมผู้บริหารท้องถิ่น ห้องประชุม ศูนย์อาสาสมัคร กลุ่มสนใจ ฯลฯ สารพัดโครงการที่จ้องจะเขมือบงบประมาณ ตำแหน่งผู้บริหารก็หยุดสรรหามันสักสี่ซ้าห้าปี มันเยอะจนโขกกันเองแล้ว ค่อยทะยอยลำเลียงอำนาจเก่าแล้วเตรียมแก้สถานการณ์อาวุโสท่วมไทยดีกว่า ที่ไหนมีปัญหามากก็รวมไปเรียนกับพระ ประหยัดได้อีกหลายโครงการ ส่งเสริมวัฒนธรรมและฟื้นฟูศาสนาไปพร้อมกัน อย่างนี้บวรจึงจะมีเสถียรภาพ ศธ.ปล่อยโครงการเด็ๆไว้เยอะแยะเหมือนปล่อยครั่งทิ้งบนต้นฉำฉา ไม่เก็บเกี่ยว!



nanfahthai

ตอบกระทู้เมื่อ
19 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 16
น่าจะติดตามโครงการที่ทุ่มเทงบประมาณลงมาให้โรงเรียนขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์ดีกว่า ในแต่ละปีมีงบประมาณสำหรับแก้ปัญหาการจัดชั้นเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กเป็นเงินมหาศาล ทั้งวัสดุอุปกรณ์ แบบเรียน แบบฝึก งบประมาณในการจัดอบรมผู้รับผิดชอบ ได้ดำเนินการไปถึงไหนแล้ว ประเมินผลกันจริงจังไหมว่าบังเกิดผลดีผลเสียอย่างไร จะต้องละลายน้ำพริกในทะเลอีกเท่าไหร่ถึงจะพอแกง
 


KK.Chang

ตอบกระทู้เมื่อ
20 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 17

ผลการติดตามและประเมินประสิทธิภาพการทำงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยเจาะข้อมูลเชิงลึกในเขตพื้นที่การศึกษาที่ไม่มีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตัวจริง ประมาณ 30 เขต พบปัญหา 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการ ซึ่งได้วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากผลการสอบประเมินคุณภาพการศึกษา (Nation Test) หรือ NT พบว่า มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ และเมื่อวิเคราะห์เจาะลึกยังพบว่าระบบการนิเทศก์หรือการติดตามประเมินผลของเขตพื้นที่กลุ่มดังกล่าวยังแย่ลงไม่ตื่นตัว รวมถึงตัวชี้วัดการใช้ทักษะด้านเทคโนโลยีของนักเรียนก็อยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงต่ำ ตัวชี้วัดเรื่องการลดอัตราการออกกลางคันที่ต่ำ แสดงให้เห็นว่าระบบการดูแลนักเรียนและการแนะแนวไม่ดีพอ นอกจากนี้ยังพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างเขตพื้นที่กับเครือข่ายผู้ปกครองในเขตที่ไม่มีผอ.เขตขาดพลังและภาวะผู้นำเป็นอย่างมาก !!!



na_na

ตอบกระทู้เมื่อ
20 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 18
"หากไม่แก้ไขปัญหาที่ต้นตอ ในอนาคตโรงเรียนเล็กก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โรงเรียนใหญ่ต้องรับเด็กเกินขนาดก็จะเริ่มมีปัญหา สุดท้ายไม่ว่าโรงเรียนใหญ่หรือโรงเรียนเล็ก ก็จะเกิดปัญหาทั้งสิ้น"
 
การศึกษาระยองชี้ยุบโรงเรียนแก้ปัญหาปลายเหตุ


คลื่นใต้น้ำ

ตอบกระทู้เมื่อ
20 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 19

 
"ถ้าไม่แก้ไขสภาพการศึกษาคงเลวร้ายยิ่งไปกว่านี้ ปัญหาการศึกษาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายหลักของการศึกษาแห่งชาติที่วางระบบไว้ ทำให้โรงเรียนเล็กๆขาดความเข้มแข็งที่จะอยู่คู่กับชุมชนหากกระทรวงศึกษามัวแต่มาหาทางออกแค่การควบรวม เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ"
 
 
สุดยอดวาทะเปิดกล่องชอล์ก เชียร์!!!
 
 



สปศ.

ตอบกระทู้เมื่อ
29 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 20
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า
ที่ประชุมได้หารือถึงแผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งได้รับข้อมูลจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 182 เขตพื้นที่ครบเรียบร้อยแล้ว โดยขณะนี้ สพฐ.กำลังวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประมวลผลภาพรวมทั้งหมดเกี่ยวกับแผนดังกล่าว เพื่อจัดทำเป็นเอกสารข้อมูลสำหรับการประชุมคณะกรรมการภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะเสนอให้นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ เป็นผู้ลงนาม เนื่องจากในคณะกรรมการดังกล่าวจะมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มากประสบการณ์หลายคนเข้าร่วมด้วย

เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า สำหรับข้อมูลเบื้องต้นที่ สพฐ.ได้รับมาจากเขตพื้นที่การศึกษานั้น มีหลายเขตพื้นที่ได้แสดงความเห็นว่า กรณีการยุบรวมหรือยุบเลิกจะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยการรับส่งนักเรียน ดังนั้น สพฐ.จึงได้เตรียมตั้งงบประมาณสำหรับจัดหารถยนต์หรือรถตู้ จำนวน 1,000 คัน แบ่งเป็นปี 2557 จำนวน 150 คัน และ ปี2558 จำนวน 850 คัน ซึ่งเราจะทำการวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์เพื่อดูว่าโรงเรียนใดบ้างของแต่ละเขตพื้นที่ที่มีแผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กอย่างชัดเจนที่สุด และมีการใช้รถยนต์มาเป็นปัจจัยในการบริหารจัดการ ซึ่งหลักเกณฑ์ในส่วนนี้จะให้เขตพื้นที่เป็นผู้เลือกโรงรียนหรือกลุ่มโรงเรียนที่มีแผนบริหารจัดการที่ชัดเจน เช่น มีโรงเรียนหลัก โรงเรียนเครือข่าย มีจำนวนตัวป้อนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น และมีการสนับสนุนจากชุมชน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นหลักประกันได้แน่นอนว่าโรงเรียนขนาดเล็กจะไม่อยู่ในข่ายต้องยุบในปี 2557 ทั้งนี้ข้อมูลต่างๆจะประมวลผลเสร็จภายในวันที่ 31 พ.ค.นี้

“ ในเบื้องต้นการดำเนินการเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็ก สพฐ.จะนำข้อเสนอความคิดเห็นจากตัวแทนสภาการศึกษาทางเลือกมาเป็นข้อพิจารณา โดยเฉพาะประเด็นที่อยากให้มีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ดังนั้นอนาคตของการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กจะไม่ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์แบบราชการ แต่จะอยู่ในรูปแบบการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อดูแลรักษาโรงเรียนให้คงอยู่ต่อไป ซึ่งรายชื่อโรงเรียนขนาดเล็ก 49 โรงที่สภาการศึกษาทางเลือกเคยเสนอมานั้นจะเป็นโรงเรียนที่ สพฐ.ให้ความสำคัญพร้อมติดตามให้งบประมาณสนับสนุน เพื่อให้โรงเรียนเหล่านั้นเป็นโรงเรียนของชุมชนอย่างแท้จริงต่อไป” ดร.ชินภัทร กล่าว



สปศ.

ตอบกระทู้เมื่อ
08 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 21

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยถึงผลการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้หารือแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กในปีการศึกษา 2556 ที่มีปัญหาในเรื่องของครูไม่ครบชั้น โดยที่ผ่านมา สพฐ.ได้พัฒนาสถานีโทรทัศน์การศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Channel) และได้สำรวจข้อมูลพบว่าขณะนี้มีโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 10,000 โรง ที่มีการติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียม และสามารถรับชมรายการต่างๆ จากทางช่อง OBEC Channel ซึ่งเวลานี้ในปีการศึกษา 2556 ก็ได้จัดทำผังรายการเรียบร้อยและมีการสอนในทุกกลุ่มสาระวิชาของระดับประถมศึกษา เพราะฉะนั้น ก็จะพยายามส่งเสริมให้โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล มีปัญหาการขาดแคลนครู ครูสอนไม่ครบกลุ่มสาระ ไม่ครบชั้นวิชา หันมาใช้ช่องทางนี้ให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงส่งเสริมให้มีการใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมวังไกลกังวลควบคู่กันด้วย ซึ่งเชื่อว่าจะมีโอกาสที่จะทำให้โรงเรียนได้พัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ดียิ่งขึ้น

“มีตัวอย่างที่ดีจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สุพรรณบุรี เขต 1 ที่นำการระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมวังไกลกังวลมาใช้ในการเรียนการสอนของนักเรียน ผลปรากฏว่าคะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) สูงขึ้นทุกชั้นปีที่มีการสอบวัดผล ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาด้วย ส่วนแนวทางการบริหารจัดการในด้านอื่นๆ ของโรงเรียนขนาดเล็กนั้นก็จะมีการหารือในที่ประชุมคณะกรรมการเครือข่ายการศึกษาทางเลือกโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนของชุมชน ซึ่งมี ดร.สิริกร มณีรินทร์ อดีต รมช.ศึกษาธิการ เป็นประธานในวันที่ 13 มิถุนายนนี้” นายชินภัทร กล่าว



Mayjung

ตอบกระทู้เมื่อ
16 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 22
โรงเรียนเล็กดีดีก็มีเยอะ แต่ที่ห่วยแตกก็มาก  เห็นครูผู้สอนโรงเรียนเล็กออกจากโรงเรียนเข้ารับสารพัดการอบรมแล้วละเหี่ยใจ ที่ตั้งใจอบรมแล้วนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ก็ดีไป บางคนลงทะเบียนประธานกล่าวให้โอวาทยังไม่ทันจบรีบออกไป"ธุระ" หรือบางคนก็เหยียบเรือสองแคม"กลับโรงเรียน" สุดท้ายไม่ได้อะไรสักอย่าง จะเอาคุณภาพที่ไหน หากไม่แก้ไขปัญหาที่ต้นตอ ในอนาคตโรงเรียนเล็กก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โรงเรียนใหญ่ต้องรับเด็กเกินขนาดก็จะเริ่มมีปัญหา สุดท้ายไม่ว่าโรงเรียนใหญ่หรือโรงเรียนเล็ก ก็จะเกิดปัญหาทั้งสิ้น


สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved