Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14323224  

กระดานแสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ    

K.Chang

ตั้งกระทู้เมื่อ
21 พ.ค. 2556
  ทำไมบางจากสร้างพลังงานสะอาดไม่ครอบคลุมพื้นที่



Krootanoi

ตอบกระทู้เมื่อ
21 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 1
 
อ่ะ..แค่แหล่งเรียนรู้นี่ก็หมดไป 13,000 ล้านบาทไทย เอาไปภาคพื้นละ 1 โครงการ ก็พอแล้ว


บ่าวรัฐ

ตอบกระทู้เมื่อ
21 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 2
เปลี่ยนคำถามใหม่เป็น ทำไมการใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์จึงไม่แพร่หลายในประเทศไทย ตอบง่ายกว่า


K.Chang

ตอบกระทู้เมื่อ
21 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 3
ผมแค่สงสัยเผื่อว่าใครจะมีคำตอบ เห็นโครงการติดตั้งตามงบประมาณที่ครูตะนอยบอกเริมมาตั้งแต่ปี 2555  แบ่งเป็น 3 ระยะ ข่าวว่าติดตั้งภาคกลางที่ปางปะอิน บางปะหัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ชัยภูมิ เมืองอุตสาหกรรมทั้งนั้น น่าจะไปติดตั้งเมืองท่องเที่ยวมากกว่า ส่วนตัวแล้วอยากได้บ้านอย่างข้างล่างนี่สักหลัง ต้องใช้ทรัพยากรในกระเป๋าสักเท่าไหร่หนอ
 



kobkaew

ตอบกระทู้เมื่อ
21 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 4

สนใจเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน เห็นประเทศเพื่อนบ้านเขาใช้แล้วรู้สึกด้อยโอกาสยังงัยไม่รู้ บ้านเมืองเราไม่สนใจเรื่องพลังงานทดแทนเลย โลกร้อนก็ไม่แก้ไข ป้องกันไม่ได้ เหมือนทำอะไรก็ไม่ได้เรื่องได้ราวสักอย่าง สงสารลูกหลานจริงเลย ข้างบนนั่นเฉพาะหลังคาจะก็เป็นล้านแล้ว!!



คลื่นใต้น้ำ

ตอบกระทู้เมื่อ
22 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 5
จขกท.ตั้งใจจะถามว่า ทำไมไม่ติดตั้งในพื้นที่ภาคเหนือด้วยใช่มั้ยล่ะ เหอะๆ ก็เค้ามีโครงการรถไฟความเร็วสูงทะยานผ่านภาคเหนือแล้วนิ อีกอย่างภาคเหนือไม่มีพื้นที่ว่างๆเหลือแล้ว นายทุนกว้านไปสร้างบ้านน็อคดาวน์รอเก็บส่วย หัวไวหน่อยก็เตรียมไว้รับทรัพย์ค่ารื้อถอน ปลาไหลเต็มพื้นที่เลย ใครอยากใช้ไฟโซลาก็คิดให้ดีก่อนตราบใดเรายังผลิตอุปกรณ์เองไม่ได้ เพราะต้นทุนสูงจริง อีกอย่างเค้ากลัวเราจะไปผลิตไฟฟ้าขายแข่งกับเขาอ่ะนะ แต่มีไว้ประจำบ้านเพื่อแก้ปัญหาฉุกเฉินกับด้วยจิตสำนึกคนรักโลกก็โอเค มีปัญหา ปรึกษาครูแป๊ดก็น่าจะได้อยู่


ครูถึก

ตอบกระทู้เมื่อ
25 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 6

รอให้วัวหายก่อนค่อยล้อมคอก บ้านเรายังตื่นตัวเรื่องพลังงานทดแทนน้อยมาก ไม่เห็นความสำคัญเลยก็ว่าได้ บ้านเล็กบ้านใหญ่มีเงินไม่มีเงินก็ขวนขวายหาแอร์มาดับร้อน ไม่ได้คิดกันเลยว่าจะหาวิธีลดภาวะเรือนกระจกกันอย่างไร ให้เกรียมตายในรถกันอีกเท่าไหร่ถึงจะสำนึก



สปศ.

ตอบกระทู้เมื่อ
28 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 7

     หลังจากเหตุไฟดับครั้งใหญ่ที่ 14 จังหวัดภาคใต้เมื่อไม่นานมานี้ เกิดเป็นประเด็นถึงการสร้างโรงงานไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่อสนองตอบความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มีเพิ่มมากขึ้น ทว่า การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเครียร์ กับโรงไฟฟ้าถ่านหินก็ดูจะเป็นปัญหาคือสิ่งแวดล้อมที่หลายคนเป็นห่วง แล้วพลังสะอาดอย่างโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์จะสามารถตอบโจทย์พลังงานที่ขาดแคลนในประเทศได้หรือไม่
       
        โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์นั้นเป็นวิทยาการที่มีมานานแล้ว หากแต่ในประเทศไทยกลับยังไม่มีการพัฒนาให้ใช้อย่างจริงจัง ทั้งที่ประเทศไทยก็เป็นประเทศที่มีพลังงานแสงอาทิตย์สูงอยู่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ล่าสุดบริษัท พัฒนาพลังานธรรมชาติ หรือ NED ได้ดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ไปแล้วถึง 2 โรงคือ โรงไฟฟ้า “ลพบุรีโซล่าร์” และ “วังเพลิงโซล่าร์”
      
        NED ลงทุนครั้งใหญ่ 10,000 ล้านบาท ใหญ่ที่สุดในเซาท์อีสต์เอเชีย ปั้นโรงไฟฟ้าพลังงานธรรมชาติ มีส่วนช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้ถึง 60,000 ตันต่อปี
      
        จอห์นี่ เฉิน ยู แวง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัด (NED)ผู้ดำเนินธุรกิจพลังงาน โรงไฟฟ้า ลพบุรีโซล่าร์ และ วังเพลิงโซล่าห์ เปิดเผยว่าบริษัทพัฒนาโรงไฟฟ้าครบทั้ง 2 เฟสแล้ว โดยใช้งบลงทุน 10,000 ล้านบาท พื้นที่ทั้งหมด 1,300 ไร่ ที่จังหวัดลพบุรี
      
        “ซึ่งเฟสแรกเข้ามาลงทุนครั้งแรกในปี 2553 สามารถกระจายกระแสไฟฟ้าได้ 73 เมกะวัตต์ ส่วนเฟสที่ 2 พัฒนาในปี 2554 สามารถกระจายกระแสไฟฟ้าได้ 11 เมกะวัตต์ รวมทั้งหมดสามารถกระจายกระแสไฟฟ้าได้ 84 เมกะวัตต์ ซึ่งเพียงพอกับการใช้ไฟฟ้าประมาณ 80,000 ครัวเรือน ซึ่งเป็นการลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศมาผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 60,000 ตันต่อปี”
      
        ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 10 ปี ซึ่งบริษัทมีกลุ่มลูกค้าอยู่ 2 กลุ่มหลักคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่งผลให้บริษัทมีรายได้ในปีแรกคือปี 2555 ที่กว่า 700 ล้านบาท และในปีถัดมาคือปี 2556 นี้ ภายหลังจากรวมรายได้จากการดำเนินการครบทั้ง 2 เฟสแล้วคาดว่าจะมีรายได้รวมทั้งหมดประมาณ 1,000 ล้านบาท
      
        สำหรับบริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัด ก่อตั้งโดยบริษัทผู้ถือหุ้น 3 ราย คือบริษัท ซีแอลพี ไทยแลนด์ รีนิวเอเบิลส์ ลิมิเต็ด(ฮ่องกง), บริษัท ไดมอนด์ เจเนอเรติ้ง เอเชีย ลิมิเต็ด(ญี่ปุ่น) และบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)(ไทย) ซึ่งแต่ละบริษัทล้วนเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของธุรกิจพลังงานโลก สำหรับโรงไฟฟ้าดังกล่าวถือว่าเป็นโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
      
        นอกจากบริษัทจะมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว บริษัทยังจัดให้มีศูนย์การเรียนรู้เรื่องพลังงานทดแทน ที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ ดูงาน และแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดลพบุรี โดยมีส่วนพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์ ,ส่วนนิทรรศการ ประกอบด้วยข้อมูล ความรู้ เกม และกิจกรรมที่เกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานโลก พลังงานสะอาดและความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ และส่วนห้องประชุมด้วย
      
        แต่ทว่า พลังงานแสงอาทิตย์ก็ยังอยู่ไกลจากความคาดหวังที่จะให้มาแทนที่โรงไฟฟ้าแบบอื่น เพราะแม้ว่าจะเป็นพลังงานสะอาด แต่ก็ยังไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งนี้ภาคใต้นั้นมีความต้องการไฟฟ้าสูงถึง 2,000 เมกะวัตต์ ขณะที่โรงไฟฟ้าลพบุรีโซลาร์สามารถผลิตได้เพียง 80 เมกะวัตต์เท่านั้น
      
        “มันยังมีข้อจำกัดในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อยู่พอสมควร ต้องคำนวณทั้งต้นทุนความคุ้มค่าและพื้นที่ตั้งว่ามีประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานได้สูงแค่ไหนด้วย” คมกฤษณ์ เลาวกุล ผู้จัดการฝ่ายการเงินและธุรการ บริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัด
      
        นอกจากนี้ บริษัทยังให้ความสนใจในการพัฒนาพลังงานลม โดยที่ผ่านมาบริษัทได้มีการศึกษาผลกระทบความเสี่ยง ซึ่งมีการทดลองทำพลังงานที่โคราช โดยใช้งบลงทุน 6 ล้านบาท ซึ่งสิ่งที่ยากที่สุดของพลังงานลมคือ การหาทำเลพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะตั้งโรงไฟฟ้า เนื่องจากพลังงานลม ต้องอาศัยลม จึงต้องใช้พื้นที่ที่เป็นภูเขาซึ่งหายาก
      
        ท้ายที่สุดก็ยังคงต้องติดตามกันต่อไปว่า ทิศทางของการพัฒนาพลังงานไทยนั้นจะมุ่งไปในทิศทางใด

http://www.manager.co.th



k.juy

ตอบกระทู้เมื่อ
31 พ.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 8
พลังงานนิวเคลียร์ใช้ต้นทุนต่ำกว่าพลังงานอื่นๆ แต่หัวเด็ดตีนขาด NGO แห่งประเทศไทยคงไม่ยอม อย่างไรเสียก็คงยืนยันให้ใช้พลังงานลมกับพลังงานแสงอาทิตย์ บางจากต้องฮึดผลักดันโครงการโลกใสใบสวยแข่งกับโครงการโลกสีเขียว หรือรัฐออกพรบ.เฉพาะกิจ ให้ทุกโรงงานอุตสาหกรรม  อาคารพานิชย์  ตระกูลใดใดที่มั่งคั่งผิดปกติ และผู้ประกอบการอื่นที่เป็นแหล่งกำเนิดความร้อนเกินปริมาณ ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์ใช้เอง เป็นการคืนกำไรให้แผ่นดิน ทำได้ชาตินี้ชาติหน้าจะได้ครองชึพอย่างสุขสบาย


witjung

ตอบกระทู้เมื่อ
01 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 9
K.juy ครับผม ไม่ต้องรอเอ็นจีโอหรอกครับ คิดว่าชาวบ้านธรรมดาตาดำๆ ฟังว่าเป็นพลังงานนิวเคลียร์ก็วิ่งหาพระปางห้ามญาติกันจ้าละหวั่นเพราะ"ฟังเขาว่า"กันมาจนซึมซับเข้าปอด  ปอดแหกกก..ประกอบกับไม่อ่านไม่ศึกษารายละเอียดกันถ่องแท้ก็ปฎิเสธไว้เป็นด่านแรก กลัวครับ กลัวพวกอัจฉริยะข้ามชาติจะถือโอกาสลองของ 555++++


K.TC

ตอบกระทู้เมื่อ
01 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 10
ทำบ้องไฟพลังงานนิวเคลียร์ไปสำรวจโลกก็กลัวกลัวอุบัติเหตุกลางอวกาศ ขนาดดาวเทียมกับจรวดม้นยังชนกันได้เลย เวรกรรมจริงๆ พวกกล้ามโตทั้งหลายเดินกร่างไปกร่างมามันจะไม่ชนกันได้ยังไง ต้องจับมาทำแดดเดียวซะให้หมด ผู้บริหารแดดเดียว!


กิ้วกิ้ว

ตอบกระทู้เมื่อ
01 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 11
 
Ha Ha Ha
คลายเครียดวันหยุด
ป่ะ..หาพระปางห้ามญาติ มาแจกผู้บริหารแดดเดียวกันดีกว่า
ต้องเอาองค์ใหญ่ๆ เผื่อเอาตั้งไว้ห้ามสำนักประเมินฯ เข้า
แจกเผ่ื่อมนุษยฺ์เฟซด้วย เบียดบังเวลาราชการ
ไม่เงยหน้ามองฟ้าดิน อยู่ในห้องแอร์
วันไหนไม่มีไฟฟ้าใช้คงลงแดงเป็นเบือ! 
 


บ่าวรัฐ

ตอบกระทู้เมื่อ
05 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 12
อ้าว มาลงที่เฟซจนได้ มนุษย์เฟซก้นขาวหน้าดำ นั่งจนก้นซีด หน้าดำคร่ำเครียด อยากได้อยากมีอยากเป็น เขามีอะไรข้าต้องมี เขาเป็นอะไรข้าเป็นด้วย ภาวะแข่งขันกระฉูดอยู่แล้วก็ยิ่งหนักไปใหญ่ พุทโธ พุทโธ ของท่านเทพจะไปไกลสักกี่คืบ โอ้ หนักใจแทนผู้บริหารแดดเดียวจริง 5555+++++


ADMIN

ตอบกระทู้เมื่อ
12 ก.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 13
SPCG เปิดตลาดใหม่โซล่าร์รูฟ

 
SPCG เปิดประวัติศาสตร์ใหม่ ผู้นำโซลาร์รูฟฯติดหลังคาบ้าน หลังรัฐบาลออกนโยบายสนับสนุนพลังงานทดแทน จับมือบริษัทในเครือ กฟภ.เซ็น MOU ลุยศึกษาติดโซลาร์เซลบนหลังคาบ้านเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง “บิ๊กเอ็นคอม” มั่นใจช่วยประชาชนรับประโยชน์ใช้ไฟฟ้า สนองนโยบายรัฐสร้างความมั่นคงพลังงาน

ที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค วันที่ 12 ก.ค. ได้มีพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Roof) ระหว่าง บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กับ บริษัท โซลาร์ เพาเวอร์ รูฟ จำกัด (SPR) บริษัทในเครือ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน)

นายปัญญา เล่าชู รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่าพีอีเอ เอ็นคอมฯ เป็นบริษัทในเครือของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หรือ PEA ซึ่งดำเนินธุรกิจลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการลงทุนด้านพลังงานทดแทน ซึ่งพีอีเอ เอ็นคอมฯ เล็งเห็นว่าความร่วมมือกับ บริษัท โซลาร์ เพาเวอร์ รูฟ จำกัด (SPR) ที่จะศึกษาความเป็นไปได้ในการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา การพัฒนาธุรกิจบริการพลังงานหรือ ESCO ตลอดจนการศึกษาการจัดการระบบไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

ทั้งนี้นอกจากจะเป็นการช่วยลดต้นทุนแก่ผู้ใช้ไฟแล้ว ยังช่วยลดการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในช่วงที่มีการใช้ไฟสูงสุดหรือ Peak Load ได้อีกด้วย นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการส่งเสริมและผลักดันธุรกิจด้านพลังงานทดแทนในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาที่สามารถขยายผลในวงกว้างสู่ภาคครัวเรือนได้ เพื่อสร้างประโยชน์แก่ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า และสนองตอบนโยบายของประเทศต่อไป

ขณะที่ น.ส.วันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ “SPCG” กล่าวว่าการลงนามบันทึกความเข้าใจครั้งนี้ เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายพงษ์ศักดิ์ รักตะพงษ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ต้องการสนับสนุนและส่งเสริมการแสวงหาพลังงานทดแทนมาใช้ประโยชน์ ซึ่งขณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างการมอบหมายให้หน่วยงานเกี่ยวข้องศึกษารายละเอียดทั้งหมด สำหรับเตรียมออกมาตรการภาษีและสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ติดตั้งตามนโยบาย ซึ่งนอกจากช่วยประเทศชาติลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศแล้ว ยังเป็นการใช้พลังานสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศชาติ

“ช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัทฯได้เปิดตัวแคมเปญ “โซลาร์ รูฟ แบรนด์ แอมบาสเดอร์” เน้นติดตั้งโซลาร์ รูฟ ภาคครัวเรือน จนถึงขณะนี้ได้รับความสนใจจากผู้มีชื่อเสียงของประเทศลงทะเบียนนำบ้านเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 500 หลัง และเรากำลังขยายตลาดเป้าหมายนอกจากครัวแล้วไปสู่ภาคอุตสาหกรรม อาทิ หลังคาโรงงานและหลังคาคลังสินค้าต่างๆ นับเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่การใช้พลังทดแทน และเป็นการสนับสนุนให้ประเทศไทยก้าวสู่เป็นผู้นำชาติอาเซียนด้านการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์”

น.ส.วันดี กล่าวว่าการลงนามบันทึกความเข้าใจครั้งนี้เราจร่วมมือกัน 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1.การพัฒนาโอกาสทางธุรกิจด้านการส่งเสริมให้ประชาชนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา บ้าน อาคาร เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ 2.ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการระบบไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าและลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงที่มีการใช้สูงสุด (Peak) เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนพลังงานและลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า และ 3. ร่วมกันพัฒนา ESCO : Energy Service Company เพื่อให้บริการเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการอนุรักษ์พลังงานครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ การอนุญาต การหาแหล่งทุน การติดตั้ง การตรวจวัดเพื่อประเมินผล การประหยัดและให้การรับประกันผลการประหยัดพลังงาน อันจะเป็นประโยชน์ทุกฝ่ายอีกด้วย



k.juy

ตอบกระทู้เมื่อ
13 ก.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 14
เสียงของเรามีคนได้ยินหรือความคิดอ่านของเราเป็นมาตรฐานสากลล่ะเนี่ย ?!
กัมเปย!


K.Chang

ตอบกระทู้เมื่อ
13 ก.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 15
สงสัยความปรารถนาสูงสุดคืออยากให้ชาตินี้ชาติหน้าได้ครองชึพอย่างสุขสบายมั้ง
เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายพงษ์ศักดิ์ รักตะพงษ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ต้องการสนับสนุนและส่งเสริมการแสวงหาพลังงานทดแทนมาใช้ประโยชน์ อยู่ขั้นตอนแสวงหาเท่านั้นเองอย่าเพิ่งโก่งหน้าไม้ เดี๋ยวกระรอกจะกลายร่างเป็นมดเอ๊กซ์ 55555++++


k.juy

ตอบกระทู้เมื่อ
17 ก.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 16
มท.เด้งรับนโยบาย “โซล่าร์รูฟท็อป”
 
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ครม.ได้มีมติ เมื่อวันที่ 13 ส.ค. เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เสนอให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) จากผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ดาดฟ้า หรือ อาคารที่พักอาศัย และ อาคารสำหรับประเภทธุรกิจ โดยมีการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นผู้รับซื้อจากผู้ผลิตที่เข้าร่วมโครงการ

ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมาใช้ประโยชน์ ทดแทนโรงไฟฟ้า เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทย ดังนั้นกระทรวงมหาดไทยขอเชิญชวนผู้ที่สนใจจะผลิตและขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ให้มายื่นแบบคำขอขายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า พร้อมเอกสารประกอบการพิจารณา ได้ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 23 ก.ย.ถึงวันศุกร์ที่ 11 ต.ค.ระหว่างเวลา 09.00 – 15.00 น.

ทั้งนี้ ในพื้นที่กฟน. ผู้ประสงค์จะยื่นขายไฟฟ้ากลุ่มประเภทบ้านที่อยู่อาศัย ยื่นแบบคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบได้ที่กฟน. ทั้ง 18 เขต ส่วนกลุ่มประเภทอาคารธุรกิจหรือโรงงานยื่นได้ ณ ลานสวนหิน อาคารสำนักงานใหญ่เพลินจิต เขตปทุมวัน ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซด์การไฟฟ้านครหลวง www.mea.or.th หรือ สอบถามได้ที่ call center 1130

อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ของกฟภ. กลุ่มประเภทบ้านที่อยู่อาศัย ยื่นแบบคำขอและเอกสารได้ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต ภาคเหนือ ให้ยื่น ณ กฟภ.เขต 1 เชียงใหม่ เขต 2 พิษณุโลก เขต 3 ลพบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยื่น ณ กฟภ.เขต 1 อุดรธานี เขต 2 อุบลราชธานี

เขต 3 นครราชสีมา ภาคกลาง ยื่น กฟภ.เขต 1 พระนครศรีอยุธยา เขต 2 ชลบุรี เขต 3 นครปฐม และ ภาคใต้ยื่นที่กฟภ.เขต 1 เพชรบุรี เขต 2 นครศรีธรรมราช เขต 3 ยะลา ส่วนกลุ่มประเภทอาคารธุรกิจหรือโรงงานกฟภ. สำนักงานใหญ่ ถ.งามวงศ์วาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pea.co.thหรือสายด่วน PEA call center 1129 โดยกฟภ.และกฟน.จะทยอยประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกตั้งแต่วันที่ 14 ต.ค. 2556 เป็นต้นไป



สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved