Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14021633  

กระดานแสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ    

สปศ.

ตั้งกระทู้เมื่อ
03 มิ.ย. 2556
  หลักสูตรใหม่มุ่งสอนให้คิดต่าง-ทำงานเป็น


รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยความคืบหน้าในการจัดทำหลักสูตรใหม่ว่า เมื่อเร็วๆนี้ที่ประชุมได้นำข้อมูลจากการวิจัยสำรวจซึ่งค้นพบคุณลักษณะของ เด็กไทยในปัจจุบัน ที่น่าเป็นห่วงและต้องแก้ไข มาเป็นเป้าหมายในการจัดทำหลักสูตรการศึกษาใหม่ เพื่อเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของเด็กไทยให้ดีขึ้น  โดยคุณลักษณะของเด็กที่พบมี 3 กลุ่ม คือ 1.การยอมรับการคอรัปชั่น  2.มีเด็กไทย 12% เท่านั้นที่คิดเป็นคิดได้และกล้าแสดงความคิดเห็น ขณะที่  63% คิดได้แต่เงียบ ไม่แสดงออก สุดท้ายก็คล้อยตามผู้อื่น  และที่เหลืออีก 25% เป็นเด็กที่คิดไม่ได้ แสดงออกก็ไม่ได้  ซึ่งข้อค้นพบดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า สังคมไทยไม่มีความคิดเห็นที่หลากหลาย ไม่มีวิธีคิด และ  3.เด็กไทยขี้เกียจทำงาน ทำงานไม่เป็น เพราะเรียนอย่างเดียว 

รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวต่อไปว่า จากข้อค้นพบดังกล่าวทำให้จำเป็นต้องปรับเรื่องการจัดการเรียนการสอนใหม่  จากเดิมที่ครูเขียนข้อมูลบนกระดานแล้วให้เด็กแสดงความเห็นว่า เห็นด้วยหรือไม่ หากไม่เห็นด้วย ครูก็จะพยายามชักจูงให้เด็กเห็นด้วยกับครู มาเป็นว่า ครูจะต้องถามเด็กว่า ใครที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากครู แล้วนำเสนอเพื่ออภิปราย ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กกล้าคิดกล้าแสดงออก มิฉะนั้นสังคมไทยจะคิดเห็นคล้อยกันไปทั้งประเทศ ขณะเดียวกันต้องปรับค่านิยมของพ่อแม่ด้วยไม่ใช่ให้ลูกเรียนอย่างเดียว เพราะคิดแต่อยากให้ลูกสบาย จนทำงานไม่เป็น

รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการจัดเวลาเรียนนั้น ที่ประชุมเห็นว่า ระดับประถมแต่เดิมที่กำหนดว่าควรเรียนในห้องเรียน 800 ชั่วโมง ยังมากเกินไป น่าจะจัดให้เหลือไม่เกิน 600 ชั่วโมง แล้วไปเพิ่มการเรียนรู้นอกห้องเรียนแทน  ส่วนวิชาที่จะจัดการเรียนการสอนก็เน้นไปตามช่วงชั้น เริ่มตั้งแต่ช่วงชั้นที่ 1 ระดับ ป.1-3 จะเน้นการเรียน 3 วิชาหลัก คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เนื่องจากมีงานวิจัยระบุชัดเจนว่า หากเด็กเก่งคณิตศาสตร์จะส่งผลให้เรียนเก่งในทุกวิชา  แต่ระดถมจะมีการบูรณาการโครงงานให้เด็กได้เรียนรู้และเก็บข้อมูลเป็น ส่วนเสริม ทั้งโครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงานสังคมและชุมชน โครงงานสุนทรียะ คุณธรรมและวิถีประชาธิปไตย เมื่อขึ้นระดับมัธยมแล้ว การเรียนในลักษณะบูรณาการจะลดลง และเพิ่มการเรียนเป็นรายวิชามากขึ้น รวมถึงการเรียนรู้ด้านทักษะชีวิตและโลกของงาน  เพื่อให้เด็กทำงานเป็น และเห็นความสำคัญของงาน ไม่ว่าจะจบชั้นไหนก็สามารถทำงานได้ เป็นคนดีในวิถีประชาธิปไตย และมีทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิต


http://www.dailynews.co.th



ครูพันธุ์แท้

ตอบกระทู้เมื่อ
03 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 1
การส่งเสริมให้เด็กกล้าคิดกล้าแสดงออกเป็นเรื่องเร่งด่วนแต่ต้องรู้จักความถูกต้องเหมาะสมด้วย ทั้งนี้ต้องเริ่มจากสร้างเจตคติและค่านิยมในครอบครัวกันไปพร้อมๆกัน สภาพสังคมปัจจุบันเด็กทำงานไม่เป็น ทั้งงานบ้าน งานโรงเรียน นิสัยส่วนตัวแย่ลงทุกที ความอดทนน้อยลง ไม่รู้จักการรอ ทั้งนี้รัฐน่าจะได้มีองค์กรที่สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาครอบครัวและชุมชน ส่งเสริมบทบาทของชุมชนในการสร้างความรักความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัวและชุมชน  เพื่อให้ดูแลช่วยเหลือตัวเองได้ในเบื้องต้น เพราะตราบใดที่ยังสร้างลูกหลานในชุมชนให้เป็นเจ้าคนนายคน คนดีในวิถีประชาธิปไตยคงไม่เกิดแน่นอน



Krootanoi

ตอบกระทู้เมื่อ
03 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 2

เห็นด้วยกับคุณครูค่ะ ครอบครัวเท่านั้นสามารถทำบทบาทหน้าที่นี้ได้อย่างเหมาะสมและสร้างลักษณะ นิสัยที่ดีพึ่งพาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง  สามารถปรับตัวได้อย่างสร้างสรรค์ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม และเป็นส่วนหนึ่งที่เกื้อกูลสังคมอย่างมีคุณธรรม เพราะเหล่านี้จะรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกันได้ในสังคมใหญ่ หลักสูตรใหม่ใหญ่กว่าเดิมต้องเลี้ยงสถาบันครอบครัวมาสังคายนาหลักสูตร! ในรั้วโรงเรียน 600 ชั่วโมงโรงเรียนเล็กก็จะมาเปาะโรงเรียนใหญ่ สมศ ก็เตรียมประเมิน งานใหญ่ๆ! มือไม่พายจะพ่นน้ำลายจมเรือ อิอิ


k.Taew

ตอบกระทู้เมื่อ
03 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 3
ปรับค่านิยมของพ่อแม่ อันนี้แหล่ะค่ะเรื่องใหญ่ โครงการเยี่ยมบ้านร้อยเปอร์เซนต์ยังอยู่ดีไหม ทำอย่างไรให้ชุมชนมีส่วนร่วมกับผู้ปกครองให้มากที่สุด ช่วยเหลือเกื้อกูลกันไม่ใช่ปกป้อง แต่เป็นหูเป็นตา แทนโรงเรียน ดูแลสอดส่องประพฤติบุตรหลานทั้งด้านความเป็นอยู่ (ทั้งร่างกายและจิตใจ)ร่วมมือกันปลูกฝังความเป็นมนุษย์ที่ดี ให้ครอบครัวและชุมชนเป็นแหล่งที่เอื้อต่อการเรียนรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรมผ่านกรมสังคมและสวัสดิการไม่ใช่แค่การเก็บข้อมูลวิจัยอย่างเดียวต้องร่วมกันปฎิบัติให้เห็นผลด้วย 


คลื่นใต้น้ำ

ตอบกระทู้เมื่อ
03 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 4
ใครมีความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากครูบ้าง?

เงียบ!

อ้อดดดดด...

หมดเวลาแล้ว ทำรายงานมาส่งกันนะ ไม่ส่งไม่มีคะแนน

ชั่วโมงหน้าครูไปอบรมม

เฮ้!


K.TC

ตอบกระทู้เมื่อ
03 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 5
K.TC กล้าคิดและเข้าใจแสดงออก
โชคดีผมสอนพลศึกษา 12%  นักเรียนผมเองครับ คิดเป็นและกล้าแสดงความคิดเห็น
ชุดฝึก ชุดการแสดง ผมไม่ต้องออกแบบเลยครับ นักเรียนคิดเองหมด ผู้ปกครองโทรศัพท์มาฟ้องผู้อำนวยการ ลูกสาวเป็นลีดเดอร์ บ้างเป็นนักกีฬา ซ้อมเต้น ซ้อมเชียร์กันตลอดปี  เมื่อไหร่จะมีโอทีกับเค้ามั่งจะได้หารถตู้มาไว้รับส่งพวกเรียนนอกห้องเรียนนี่


k.juy

ตอบกระทู้เมื่อ
03 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 6
สำหรับความเห็นของผม ผมคิดว่าโรงเรียนเป็นเหมือนที่บ่มเพาะทักษะการเรียนรู้ชีวิตครับ ทั้งทางการเมือง  การอยู่ร่วมกันอย่างมีกติกา มีบทบาท  หน้าที่รับผิดชอบ  เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน  การตัดสินใจร่วมกัน   รู้จักรับฟังและสื่อสารเจรจาประนีประนอมกันเรามีเพื่อนฝูงมากมาย รวมกลุ่มกันมีความเข้าใจตรงกัน มีความขัดแย้งบ้างก็ผ่อนปรนไกล่เกลี่ยใช้เหตุผล   รู้จักการให้อภัยกัน นิสัยพวกนี้ผมคิดว่าได้มาจากโรงเรียนเพราะผมใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ที่โรงเรียน โรงอาหาร โรงยิม ห้องสมุด สนามกีฬาเยอะที่สุดเลย แต่คิดว่าทั้งหมดมาจากความใฝ่ดีส่วนตัวที่เพาะบ่มมาจากครอบครัวตั้งแต่ยังไม่เข้าโรงเรียนเลยครับ  ผมเป็นหนึ่งในสิบสองเปอร์เซนต์ และภูมิใจในการตัดสินใจของพ่อแม่ที่เลือกโรงเรียนให้ผมครับ


K.ET

ตอบกระทู้เมื่อ
03 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 7
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง ผู้ใหญ่เป่าขม่อมมา

แปลว่า ถ้าพูดก็จะได้มีโอกาสรับทรัพย์สักสองไพเบี้ย
แต่ถ้ามัวนิ่งอยู่ก็จะพลาดโอกาสหรือเสียทองหนึ่งตำลึง

ดังนั้นต้องพูดไว้ก่อนจะเข้าหูคนหรือไม่เข้า แถกสีข้างแดงเถือกก็พยายาม
เพื่อรักษาผลประโยชน์!


witjung

ตอบกระทู้เมื่อ
03 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 8
GO SO BIG!


nanfahthai

ตอบกระทู้เมื่อ
03 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 9
คนดีในวิถีประชาธิปไตย ช่างประดิษฐ์คำกันเนอะ

เห็นด้วยมากมายค่ะว่าเด็กส่วนใหญ่คิดได้แต่ไม่แสดงออก ซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มด้อยโอกาสที่ต้องแก้ไขอย่างจริงจัง  เริ่มที่ที่ตัวเองก่อนเลยค่ะ หาหน้ากากก่อน เอาสีอะไรดี


บ่าวรัฐ

ตอบกระทู้เมื่อ
04 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 10

นโยบาย บวร นั่นแหล่ะครับถูกทางแล้ว เดินหน้าทำให้เป็นรูปธรรม โรงเรียนอย่างเดียวไม่สำเร็จครับ ต้องสามประสาน บ้าน วัด โรงเรียนเหมือนพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ปูทางมาปรับเรื่องของการติดตามผลประเมินผลและพัฒนาให้จริงจัง สนับสนุนการเรียนรู้ด้านทักษะชีวิตและโลกของงาน เพื่อให้เด็กทำงานเป็น และเห็นความสำคัญของงาน แล้วยืนยันได้ว่าไม่ว่าจะจบชั้นไหนก็สามารถทำงานได้ เป็นคนดีในวิถีประชาธิปไตย และมีทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งประการหลังนี้สำคัญที่สุดครับผม



K.Chang

ตอบกระทู้เมื่อ
04 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 11
เห็นด้วยว่าเด็กเก่งคณิตศาสตร์จะมีผลการเรียนดี นั่นเพราะมีการคิดเป็นระบบ แต่ไม่ใช่เก่งทุกวิชาเหมือนกันหมดทุกคนอย่างท่านแจงวิจัย กลุ่มประชากรตัวอย่างนักวิจัยแซ่ยี้หรือเปล่า ถ้าจะมีนักไม่วิชาการสักคนวางตัวเลขสถิติให้ดูข้อมูลผลการเก็บสถติประชากรตัวอย่างในปี 2554  สรุปผลวิจัย ชัดเจนว่าเด็กเก่งร้อยละ 80 เห็นแก่ตัว จะมีใครคิดต่างแสดงความเห็นในที่สาธารณะมั้ยครับ? 


บ่าวรัฐ

ตอบกระทู้เมื่อ
05 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 12
นั่นแหล่ะครับ เพราะสามไม่ประสาน เรารู้ว่าสมองซีกซ้ายกับซีกขวาแบ่งงานกันทำ แต่ไม่เอานโยบายปรองดองมาบูรณาการใช้ครับ ประเทศไทยอะไรๆน่าจะดีกว่านี้หากการบริหารจัดการที่ดีในทุกภาคส่วนจะได้นำมาเป็นวาระแห่งชาติด้วย เรื่องของระบบต้องยกเครื่องสังคายนากันก่อนทุกหลักสูตร!!


สปศ.

ตอบกระทู้เมื่อ
05 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 13
ฤๅจะต้องผ่าตัดการบริหารการศึกษาครั้งใหญ่

ปัญหาของการศึกษาไทยวันนี้ ที่พบว่าตกต่ำทั้งภาควิชาการและพฤติกรรมชีวิต หลายคนมักโทษเด็ก โทษสังคม โทษพ่อแม่ ซึ่งแม้ว่าการเพ่งโทษดังกล่าวจะไม่ผิดตัว “จำเลยร่วม” ก็ตาม แต่ก็มิได้เพ่งถูกตัว “จำเลยที่แท้จริง”

จำเลยที่แท้จริงของเรื่องนี้คือผู้บริหารและการบริหารการศึกษานั่นต่างหาก ซึ่งล้วนขาดทั้งคุณภาพของคนและมาตรฐานของการทำงาน ไม่ว่าจะมีระบบประกันและระบบประเมินผลใดๆ ที่กำกับอยู่ ก็มักเป็นไปอย่างล้มเหลว ไม่อาจขับเคลื่อนพัฒนาให้บรรลุเจตนารมณ์ที่พึงประสงค์แท้จริงได้ ...

เรื่องของเรื่องก็เพราะว่า ผู้บริหารที่ขาดมาตรฐานและไร้คุณภาพทั้งหลายมักจะมีวิธีการ "เอาตัวรอด" ได้เสมอด้วยวิธีการต่างๆ ที่สำคัญๆ ก็คือวิธีการดังต่อไปนี้

วิธีที่ ๑
ผู้บริหารสถานศึกษามักสร้างมายาภาพด้วยการระดมครูและบุคลากรให้ช่วยกันจัดทำ เอกสารตามเงื่อนไขการประเมิน และรวมถึงการจัดทำรายงานให้หน่วยงานต้นสังกัดรับทราบ มายาภาพเหล่านั้นก็คือ ให้มีข้อมูลหลักฐานเข้าเกณฑ์กติกาและเข้าแบบต่างๆ จริงเท็จไม่สำคัญ ขอให้รัดกุมตามแบบเข้าตาคณะกรรมการ หรือเป็นข้อมูลให้หน่วยงานต้นสังกัดพอใจ แม้ต้องปั้นแต่งตัวเลขและเสกสร้างวัตถุพยานยืนยันให้สมจริงก็ตามก็ทำได้ ทุกอย่าง (ซึ่งการติวข้อสอบเอ็นทีและโอเน็ตก็เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนี้) จากนั้นก็ใช้วิธีโอ้โลมปฏิโลมกรรมการหรือผู้ตรวจประเมินด้วยวัฒนธรรมต้อนรับ ขับสู้สารพัด พร้อมๆ กับจัดหน้าฉากและ “ผักชี” ให้ดูดีดูงาม ซึ่งส่วนมากก็จะอะลุ้มอล่วยช่วยกันจน “ผ่าน”

วิธีที่ ๒
แม้บางครั้งที่ได้กระทำตามวิธีที่ ๑ แล้วยัง “ไม่ผ่าน” หรือรวมถึงกรณีที่ไม่ได้กระทำการใดๆ เลย จะผ่านหรือไม่ผ่านการประเมินก็เพิกเฉย ไม่ไยดีที่จะพัฒนาแก้ไข แต่ใช้วิธี “เกาะนายใกล้อำนาจ” อย่างมีผลประโยชน์แลกเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นอามิส หรือกิจอันตอบสนอง หรือเกี่ยวข้องกันด้วยการอุปถัมภ์ค้ำจุนต่างๆ ก็ตาม ล้วนทำให้ “หนักกลายเป็นเบา” แม้ถูกย้ายจากที่เก่า ก็ยังมีที่ใหม่สำรองให้ส้องเสพความเสื่อมไม่สิ้นสาย

ที่ผู้บริหารมักเป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าผู้ที่มักเรียนและสอบเป็นผู้บริหารส่วนใหญ่ คือผู้ที่ไม่อยากเหนื่อยยากกับการสอน แต่อยากสบาย ได้อำนาจ ได้เติบใหญ่ในตำแหน่ง ไม่ได้มีอุดมการณ์หรือความคิดสร้างสรรค์ทางการศึกษาแต่อย่างใด ไม่ได้ใส่ใจที่จะเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการสอนให้ลึกซึ้ง มักลอยตัวอยู่เหนือปัญหา ลอยมาลอยไปตามนิสัยฉาบฉวย ครั้นได้พบครูผู้ใต้บังคับบัญชาที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีวิธีการสอนที่ดี ไม่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุสัมฤทธิผลแห่งการเรียนรู้ได้ ก็ไม่รู้จะช่วยหรือชี้แนะวิธีการที่ดีได้ จึงได้แต่สั่งและทำตามนโยบายของเบื้องบน ที่หลายเรื่องก็บอดใบ้ไร้ความแม่นตรงดุจเดียวกัน ...

หลายครั้งที่ผมไปเป็นวิทยากรให้การอบรมครู ก็ได้พบว่าผู้บริหารที่เกี่ยวข้องมักแค่มาเป็นประธานเปิดงานบ้าง ที่รองๆ ลงไปก็มานั่งร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดบ้าง หลังจากนั้นต่างก็มีงานที่ต้องไปต่อ น้อยครั้งนักที่จะเห็นผู้บริหารนั่งร่วมฟัง เพื่อจะเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาไปพร้อมๆ กับครู เพื่อจะได้พิจารณาอย่างแยบยลว่าจะเอาหรือไม่เอาในวิธีการที่ผมนำเสนอ ถ้าเห็นด้วยก็น่าจะต้องตั้งคณะกรรมการติดตามกำกับ ลงลึกถึงการปฏิบัติการและประเมินผลให้จริงจัง แต่ส่วนมากก็มักได้แต่อบรมกันไปตามงบประมาณที่มี อบรมเรื่องโน้นบ้างเรื่องนี้บ้าง ไม่ใคร่ที่จะวิเคราะห์เจาะลึกและลำดับปัญหาตามความสำคัญเร่งด่วน ก็เลยไม่ได้อะไรจริงจัง แถมยังมิได้ศึกษาการแก้ปัญหาอย่างครบกระบวนการ ก็จึงไม่มีข้อมูลที่แม่นตรงต่อการพัฒนา แผนงานที่จัดทำตามแบบฟอร์มก็จะเป็นเพียงสิ่งที่ได้ทำ และมีให้ตรวจให้ดูกันไปอย่างนั้นเอง นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายโอกาส เสียดายงบประมาณที่ต้องสูญเปล่า ไปกับความเคยชินในวิถีปฏิบัติของการบริหารจัดการที่ไร้ประสิทธิภาพ

เมื่อผู้บริหารสถานศึกษากลายเป็นกลไกที่พิกลพิการ มิหนำซ้ำผู้บริหาร สพป.และ สพม.ก็ยังเป็นคนเช่นเดียวกันอีก มันก็มองไม่เห็นทางออก ยกเว้นว่าจะต้องหยิบคนเหล่านั้นโยนทิ้งออกไปนอกวงจรอุบาทว์เสียก่อน แต่เราก็ไม่อาจทำเช่นนั้นได้ เพราะสังคมของเรายังมีคนเช่นนั้นรอคิวเข้าสู่ตำแหน่งเต็มไปหมด!

ทางออกของเรื่องนี้
เราจะต้องผ่าตัดการบริหารครั้งใหญ่ ทั้งผ่าตัดระบบ ตัวบุคคล การเข้าสู่ตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง...ก่อนที่การศึกษาไทยจะตกต่ำถึงขั้นหายนะไปมากกว่านี้ !

ปล.
ผู้บริหารที่คิดว่าตนเองมิได้เป็นเช่นที่กล่าวก็มิต้องเดือดร้อนนะครับ ท่านสามารถปฏิบัติหน้าที่เพื่อพิสูจน์ความดีงามต่อไป ครูผู้มีอุดมวิถีและจิตสำนึกยังยืนข้างเดียวกับท่าน
Siwakarn Patoommasoot


ครูถึก

ตอบกระทู้เมื่อ
07 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 14
ตามความเห็นของบรมครู Siwakarn Patoommasoot ข้างบนนับว่ากระสุนเข้าเป้าเลย เจ็บปวดหรือว่าไม่รู้สึกกัน ยอมรับกันได้หรือเปล่า มีความเห็นว่า ตำแหน่งที่วางไว้ตรงนี้ไม่ใช่ผู้บริหารสถานศึกษาเพียงอย่างเดียว แผ่ไปถึงบุคลากรการศึกษาอื่นๆที่เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจและบริหารจัดการด้วย
 


สปศ.

ตอบกระทู้เมื่อ
11 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 15

วันนี้ (10 มิ.ย.)ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ได้จัดประชุมสัมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติประจำปี 2556 โดยศ.(พิเศษ)ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง พลิกโฉมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน: หลากหลายเส้นทางสู่การปฎิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21ว่า ขณะนี้ศธ.กำลังปรับปรุงหลักสูตร เนื่องจากแต่ละหลักสูตรต้องมีการปรับปรุงตลอด เพื่อความทันสมัย เช่น หลักสูตรอุดมศึกษาต้องปรับทุก 5 ปี หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วโลกจะปรับทุก10 ปี แต่หลักสูตรพื้นฐานของไทยที่ใช้อยู่ 12 ปีแล้ว แต่มีการปรับเพียงเล็กน้อย หรือเป็นหลักสูตรสั้น ย่อเกินไป จนอาจเรียกว่าหลักสูตรพิกลพิการก็ได้ อีกทั้งยังเป็นหลักสูตรแบบปลายเปิดที่เหมาะสมกับครูที่มีความสามารถ ขณะที่ครูไทยไม่ได้มีความสามารถเท่าเทียมกัน หลักสูตรเป็นการเรียนแบบหน้ากระดาน ทั้งที่มนุษย์จะมีพัฒนาการทางสมองไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับเวลา ถ้าจะจัดการศึกษาก็ต้องคำนึงถึงการพัฒนาทางสมอง สิ่งที่ทำให้เกิดความรู้ที่แท้จริงและมีความยั่งยืน โดยที่ผู้เรียนสามารถใช้ได้หลากหลายวิธี เพื่อให้เกิดความรู้ไม่ใช่การสอนจากครู และให้ได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น

ศ.(พิเศษ)ดร.ภาวิช กล่าวต่อไปว่า เด็กไทยเข้าระบบการศึกษาปีละ 8 แสนคน แต่หลักสูตรที่ใช้กันอยู่รองรับเด็กเข้าอุดมศึกษาได้เพียง 3 แสนคน ที่เหลือ 5 แสนคนไม่รู้ว่าไปอยู่ไหน เพราะหลักสูตรไม่ได้สร้างศักยภาพให้แก่เด็ก จึงทำให้คนของประเทศไม่มีคุณภาพ ดังนั้นหลักสูตรใหม่ 6 กลุ่มการเรียนรู้จะเน้นการเตรียมคนยุคใหม่ให้อยู่ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีวิธีคิดใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดวิเคราะห์ สามารถแก้ปัญหาได้ มีวิธีทำงานแบบใหม่ สามารถสื่อสาร และทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้ รู้จักใช้เครื่องมือในการทำงาน หรือการใช้เทคโนโลยีสื่อสารสนเทศ และต้องมีความเป็นพลเมืองโลก การมีชีวิตและอาชีพที่มีคุณภาพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม นอกจากนี้การเรียนการสอนคนยุคใหม่นั้น ต้องสำนึกว่าการเรียนต้องมีความสำคัญและมีน้ำหนักมากกว่าการสอน การศึกษาต้องเริ่มต้นด้วยความรู้และกระบวนการ ครูต้องกลายเป็นผู้เสนอแนะ ผู้ทำให้เด็กได้คิด ครูต้องไม่คิดว่าเด็กออกนอกห้องเรียนและหมดหน้าที่ของตนเอง แต่ต้องสร้างความท้าทายให้แก่ตนเองว่าจะลดเวลาในห้องเรียนและเพิ่มเวลานอกห้องเรียน โดยเรียนในห้องเรียน 600 ชม. นอกห้องเรียน 400 ชม. การสอนนอกห้องเรียนต้องจัดให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละบุคคล

“ร่างหลักสูตรใหม่เสร็จไปแล้ว 80 % ปลายเดือนมิถุนายนนี้จะมีการประชุมรวมทั้ง 6 กลุ่มการเรียนรู้ก่อนจะสรุปรวบรวมอีกครั้ง ซึ่งหลักสูตรใหม่น่าจะเสร็จก่อน 8 เดือน ที่รมว.ศึกษาธิการกำหนดไว้ เบื้องต้นคาดว่าจะเริ่มใช้หลักสูตรใหม่ในปีการศึกษาหน้า โดยจะทดลองนำร่องในโรงเรียนเครือข่ายของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย 30 สถาบัน รวมประมาณ 3,000 โรงเรียน และเริ่มใช้กับนักเรียนป.1 ป. 4 ม.1 และม.4 ก่อนที่จะขยายไปสู่โรงเรียนอื่นๆ ทั้งนี้การปรับหลักสูตรใหม่นั้นจะค่อยเป็นค่อยไปจะไม่ปรับทั้งระบบพร้อมกันทันที”ศ.(พิเศษ)ดร.ภาวิช กล่าว


http://www.dailynews.co.th/education/210870



Krootanoi

ตอบกระทู้เมื่อ
12 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 16
การเรียนการสอนคนยุคใหม่นั้น ต้องสำนึกว่าการเรียนต้องมีความสำคัญและมีน้ำหนักมากกว่าการสอน การศึกษาต้องเริ่มต้นด้วยความรู้และกระบวนการ ครูต้องกลายเป็นผู้เสนอแนะ ผู้ทำให้เด็กได้คิด ครูต้องไม่คิดว่าเด็กออกนอกห้องเรียนและหมดหน้าที่ของตนเอง แต่ต้องสร้างความท้าทายให้แก่ตนเองว่าจะลดเวลาในห้องเรียนและเพิ่มเวลานอกห้องเรียน โดยเรียนในห้องเรียน 600 ชม. นอกห้องเรียน 400 ชม. การสอนนอกห้องเรียนต้องจัดให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละบุคคล 

ศ.(พิเศษ)ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ


Mayjung

ตอบกระทู้เมื่อ
16 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 17
เห็นแต่ภาพในชั้นเรียนของคลื่นใต้น้ำ ผู้ใหญ่จะนึกภาพโรงเรียนต่างจังหวัดกันออกหรือเปล่า พวกหนึ่งถูกรถโดยสารรับจ้างหว่านล้อมมาเรียนโรงเรียนใหญ่เพื่อรับทรัพย์เด็กออกจากบ้านเช้ามืดเหมือนเด็กในกรุงเทพฯ  ตกเย็นก็ส่งเข้าโรงเรียนกวดวิชาได้หัวคิวจากโรงเรียนกวดวิชาอีก นอกห้องเรียนของท่านถ้าไม่วางแผนให้รัดกุมอย่างดีมันจะกลายเป็นทุ่งนาให้พวกมารสังคมตกเขียวอีกต่างหาก หรือจะปล่อยให้เรียนรู้ทักษะชีวิตกันตามยถากรรม


สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved