Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14020011  

กระดานแสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ    

ADMIN

ตั้งกระทู้เมื่อ
15 มิ.ย. 2556
  ขอต้นไม้คืนทางขึ้นเขาใหญ่
    

 
     หากใครเคยไปเที่ยวเขาใหญ่และเดินทางโดยใช้เส้นทางอำเภอปากช่อง คงจะได้ใช้บริการถนนธนะรัชต์ หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันในนามถนน “อุโมงค์ต้นไม้” ต้นไม้ใหญ่เก่าแก่หลายต้นอายุเกินร้อยปีที่รายล้อมอยู่สองข้างทางแผ่กิ่งก้านสาขามาบรรจบกันกลางถนน สร้างชื่อ “อุโมงค์ต้นไม้” ให้กับถนนสายสำคัญนี้ที่เชื่อมระหว่าง จังหวัดนครนครราชสีมา กับแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
แต่เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 กรมทางหลวงได้ดำเนินการขยายถนนธนะรัชต์ และได้ตัดต้นไม้ใหญ่สองข้างทางตั้งแต่กม.ที่ 2 ถึงกม.ที่ 8 เป็นจำนวนมากถึง 128 ต้น ต้นไม้ใหญ่  ต้นไม้หวงห้าม  ต้นไม้หายากที่ชาวบ้านปลูก แต่ละต้นมีอายุนับสิบนับร้อยปี  และต้นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ถูกตัดจนหมดสิ้น ทางเครือข่ายประชาชนอนุรักษ์มรดกโลกเขาใหญ่และสมาคมต่อต้านโลกร้อนได้ยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางให้กรมทางหลวงปลูกต้นไม้คืน และล่าสุดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ศาลปกครองมีคำสั่งให้กรมทางหลวงปลูกต้นไม้ทดแทนทั้งหมด โดยเป็นชนิดเดียวกันหรือใกล้เคียงกับของเดิม และต้องดำเนินการภายใน 60 วัน แต่กรมทางหลวงกลับปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาล อีกทั้งยังอ้างว่า การนำต้นไม้ขนาดใหญ่ที่โตเต็มที่แล้วจากที่อื่นเข้าไปปลูกจะทำให้ต้นไม้เหล่านั้นไม่มีรากแก้วยึดเหนี่ยวกับดิน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น  ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปีที่ทำงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผมยืนยันว่าการปลูกต้นไม้คืนไม่ใช่เรื่องลำบากและสามารถลงมือทำได้เลย ถ้ากรมทางหลวงมีความจริงใจในการจะร่วมกันรักษาสมบัติของชาติเหล่านี้ไว้
       ดังนั้นพวกเรา ในฐานะตัวแทนจากเครือข่ายประชาชนอนุรักษ์มรดกโลกเขาใหญ่ จึงขอเรียกร้องให้กรมทางหลวงปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยทันที ด้วยการปลูกต้นไม้คืนตามจำนวนที่ได้ตัดไป และขอเชิญทุกคนที่เห็นด้วยร่วมลงชื่อสนับสนุนและส่งต่อเรื่องราวรณรงค์นี้ให้กับเพื่อนๆ ให้มากที่สุด เพื่อส่งเสียงบอกให้กรมทางหลวงคืนต้นไม้ใหญ่ให้กับเส้นทางสายธรรมชาติสายนี้ โดยเราจะนำรายชื่อของทุกคนส่งต่อกรมทางหลวงโดยตรง
 
     The stunning and picturesque trees along a famous road leading to Khao Yai national park were recently slashed and destroyed as part of a road expansion project.
     Now the courts have ordered the Department of Highways to replant the trees along Thanarath road but they're refusing outright to follow the courts order.
     The court made the ruling after 3 years of public pressure by People Network for Protection of Khaoyai's Biodiversity -- so now they're turning to public pressure again to make sure the Department of Highways actually follows the ruling and plants the trees.
     Environmentalist Tara Buakamsri and People Network for Protection of Khaoyai's Biodiversity  are asking for your support to put pressure on the Highways authorities to do the right thing and not to try to find excuses but restore Thanarath Road to its picturesque state.
 


Krootanoi

ตอบกระทู้เมื่อ
15 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 1


 เส้นทางการเดินทางจากกรุงเทพฯ มาเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยการใช้เส้นทางถนนมิตรภาพ บริเวณ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี แยกสู่ทางหลวงหมายเลข 2089 บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 24-35 จะมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอยู่ระหว่างทางนั่นคือ อุโมงค์ต้นไม้  เส้นทางนี้จะเป็นบริเวณที่ต้นไม้ทั้งสองฝั่งถนนโน้มเข้ามาหากันเหมือนเป็นอุโมงค์ มีความยาวของอุโมงค์ประมาณ 200 เมตรi ร่มรื่นชื่นใจค่ะ น่าเสียดาย เรามาช่วยกันลงชื่อดีกว่าค่ะ


k.juy

ตอบกระทู้เมื่อ
15 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 2
 
   ต้องจับคนพวกนี้ไปนั่งฟังเสียงธรรมชาติ อยู่กับคอนกรีตจนกระด้างไม่รู้สึกรู้สากันหรอก เอาแค่จะหยุดใช้ถุงพลาสติคในระหว่างวันยังทำกันไม่ได้เลย


ครูทะเล

ตอบกระทู้เมื่อ
15 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 3

ผมหนักใจกับเรื่องการวางผังเมืองของเรามากเลย มันน่าจะเป็นจุดแรกเริ่มของการสร้างบ้านแปลงเมือง ทุกวันนี้ก็ไม่มีพัฒนาการ ยังเหมือนเดิมใครจะขุดใครจะถมใครจะสูงใครจะต่ำไม่ต้องได้สนใจกันแล้ว ปัญหาง่ายๆในชุมชนก็ยังไม่สามารถจัดการกันเองได้ไม่รู้ว่าหน่วยงานต่างๆตั้งมาเอาไว้ทำพระแสงอะไร ผังเมืองแต่ละเมืองวางแปลนกันเข้าซีครับ แล้วทำให้ได้ตามแปลน ไม่ใช่อลุ้มอล่วยกัน ลากกันไปพวกกัวะพวกเมิง เมื่อไหร่บ้านเมืองจะสวยงามอวดแขกบ้านแขกเมืองได้สักที ไปบ้านเมืองไหนตอนนี้ก็เห็นกำลังซ่อมแซมกันอยู่นั่น งบเพิ่งมา ซ้ำซ้อนกันก็มี ถนนสายเดียวกันมันทำซ้ำสองหนบอกคนละงบประมาณ กัวะเซง



คลื่นใต้น้ำ

ตอบกระทู้เมื่อ
15 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 4
เคยเห็นต้นไม้หายากข้างทางถูกขุด ก็สงสัยอยู่ว่าเมื่อยออกจากพื้นที่ไปแล้วต้นไม้พวกนี้ไปไหน มันจะถูกนำไปขายหรือไปอยู่ในบ้านของผู้มีอำนาจ มีใครติดตามกันหรือเปล่า ฟังว่ากรณีไม้หายาก 128 ต้นนี้ หลังจากทีมีการตัดโค่นไปแล้ว ยังไม่มีใครเห็น แม้จะมีการสืบหาว่าของกลางทั้ง 128 ต้นหายไปไหนก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน


Mayjung

ตอบกระทู้เมื่อ
15 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 5
เคยผ่านไปถนนสายนั้นตอนที่ยังมีอุโมงค์ ทำให้รู้สึกสดชื่น อากาศเย็น ร่มรื่นตลอดเส้นทางการเดินทาง และบนเส้นทางสายนี้มักจะมีนักท่องเที่ยวจอดรถแวะถ่ายภาพเป็นที่ระลึกขณะที่ชาวบ้านได้อาศัยร่มเงา สร้างเพิงนำสินค้ามาวางขายให้นักท่องเที่ยวด้วย บรรยากาศที่นักท่องเที่ยวจอดรถถ่ายภาพหายไป เพราะไม่มี"อุโมงค์ต้นไม้แล้ว ถึงแม้ให้กรมทางหลวงปลูกทดแทนให้เหมือนเดิมทุกอย่างก็คงไม่เหมือนเดิม แต่มันก็น่าจะดีกว่าไม่ทำตามคำสั่งศาลและข้อเรียกร้องของชุมชน


เจ_เจ

ตอบกระทู้เมื่อ
15 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 6
"การก่อสร้างถนนของกรมทางหลวงได้ดำเนินการตามแนวเขตทางที่เป็นพื้นที่ของกรมทางหลวง ไม่ได้รุกล้ำพื้นที่ของอุทยานฯ ส่วนต้นไม้ที่ตัดออกไปก็เป็นต้นไม้ที่กรมทางหลวงปลูกไว้เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น ต้นสะเดา ชาวบ้านสามารถเก็บไปรับประทานได้ แต่เมื่อกรมทางหลวงจะใช้พื้นที่ก่อสร้างจึงเป็นสิทธิที่จะตัดออกไป เป็นการดำเนินการในลักษณะนี้ในทุกเส้นทางอยู่แล้ว" อธิบดีกรมทางหลวงให้สัมภาษณ์ไว้อย่างนี้ค่ะ


KTC

ตอบกระทู้เมื่อ
15 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 7



Pimthai

ตอบกระทู้เมื่อ
15 มิ.ย. 2556
  ความคิดเห็นที่ 8

ชอบถนนร่มรื่นหลายๆสายทางภาคเหนือค่ะ ถึงแม้ว่าทางจะแคบแต่ก็พอให้รถสวนกันได้ ไม่เห็นต้องขยายถนนให้ยุ่งยาก ผู้คนจะได้ระมัดระวังในการขับขี่ ชาวบ้านสองข้างทางก็ได้อยู่กันอย่างสงบ ขยายถนนทำให้รถราวิ่งกันไม่ระวัดระวัง อยากเห็นถนนเมืองไทยสวยสงบมากกว่าถนนกว้างแต่ร้างผู้คนเพราะอยู่แต่ในรถ วิถีชีวิตก็เปลี่ยนไป



ADMIN

ตอบกระทู้เมื่อ
12 ก.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 9


รายชื่อจาก 6,000 กว่าคนที่ร่วมกันลงนามผ่าน change.org/replant เพื่อเรียกร้องให้กรมทางหลวงคืนต้นไม้ให้กับทางขึ้นเขาใหญ่ได้ถึงมืออธิบดีกรมทางหลวงแล้วในรูปแบบของ “ต้นไม้รายชื่อ” ขนาดยักษ์

คุณ ธารา และเครือข่ายประชาชนอนุรักษ์มรดกโลกเขาใหญ่ ขอบคุณทุกรายชื่อของทุกคนที่อยู่บนต้นไม้แห่งนี้ เพราะทุกรายชื่อมีส่วนช่วยให้เป็นครั้งแรกที่กรมทางหลวงรับปากว่าจะร่วมมือกับชาวบ้านและเครือข่ายฯในการปลูกต้นไม้คืนสองข้างทางถนนธนะรัชต์

นายสราวุธ  ทองศิวิไล รองอธิบดีกรมทางหลวงพร้อมคณะทำงานกว่า 20คนได้ออกมารับหนังสือด้วยตัวเอง และกล่าวกับเครือข่ายว่าพร้อมร่วมมือเพื่อฟื้นฟูถนนธนะรัชต์อย่างเต็มที่ และยินดีรับฟังทุกอย่างโดยได้มีการเริ่มปลูกต้นไม้ไปบ้างแล้ว โดยที่ผ่านมาอาจจะมีผิดพลาดไปบ้าง แต่ตอนนี้ขอให้มองไปข้างหน้าและมาร่วมมือกันเพื่อให้ระบบนิเวศน์เดิมๆ กลับคืนมา

พลังเสียงของทุกคนมีส่วนช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เพราะการที่คนลงชื่อจำนวนมากในระยะเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ ส่งผลให้กระแสคัดค้านเด่นชัดขึ้น สื่อให้ความสนใจ และประเด็นดังกล่าวก็ได้กลายเป็นเรื่องสาธารณะ

ในส่วนของการอุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุด รองอธิบดีและคณะทำงานของกรมทางหลวงระบุว่าคำตัดสินจากศาลจะช่วยสร้างความชัดเจนเรื่องของชนิดและอายุของต้นไม้ และเน้นว่า ไม่ว่าคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุดจะเป็นไปในทิศทางใด กรมทางหลวงก็ให้คำมั่นที่จะทำการฟื้นฟูถนนธนะรัชต์ต่อไป ซึ่งคุณธารามองว่าถือเป็นเหตุผลที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม ทางเครือข่ายฯ ยืนยันว่า กรมทางหลวงสามารถเป็นตัวอย่างของหน่วยงานรัฐที่โปร่งใสและเชื่อถือได้หากมีการถอนอุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุดและเดินหน้าการฟื้นฟูระบบนิเวศริมทางขึ้นเขาใหญ่ร่วมกับภาคประชาชน

“เราพร้อมร่วมมือในการตั้งคณะทำงานที่ภาคประชาชนมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการฟื้นฟูถนนธนะรัชต์อย่างจริงจัง แต่เรายังคงยืนยันว่าถ้ากรมทางหลวงมีความต้องการที่จะฟื้นฟูธรรมชาติส่วนนี้อย่างจริงจัง ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องรอคำสั่งศาล จึงอยากให้ทุกคนคอยจับตาเรื่องนี้ต่อไป โดยทางเครือข่ายจะมีการสื่อสารเรื่องนี้ต่อมาอีกเป็นระยะๆ”
 


ADMIN

ตอบกระทู้เมื่อ
04 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 10
ลงทะเบียนไปร่วมปลูกป่าที่เขาใหญ่กันค่ะ 
 
ก่อนอื่น ต้องขอขอบคุณทุกท่านอีกครั้ง ที่ได้ร่วมกันรณรงค์เรียกร้องให้กรมทางหลวงปลูกต้นไม้คืนทางขึ้นเขาใหญ่ เสียงของทุกท่านช่วยให้ กรมทางหลวง เป็นครั้งแรก รับปากว่าจะร่วมมือกับชาวบ้านและเครือข่ายฯในการปลูกต้นไม้คืนสองข้างทางถนนธนะรัชต์ และเพื่อย้ำให้กรมทางหลวงทำตามที่สัญญาไว้ ทางเครือข่ายอนุรักษ์เขาใหญ่ ได้จัดกิจกรรม “ขอต้นไม้เราคืน ฟื้นชีวิตผืนป่าถนนธนะรัชต์” โดยเชิญชวนประชาชนที่ร่วมลงชื่อและคนทั่วไป มาร่วมกันปลูกต้นไม้  ในเสาร์ที่  10 สิงหาคม  2556  ที่ ริมถนนธนะรัชต์ กิโลเมตรที่ 9 ร่วมปลูกป่า พูดคุยกับชาวบ้าน พร้อมทั้งเรียนรู้เกี่ยวกับต้นไม้ชนิดต่างๆ และความสำคัญของมันต่อระบบนิเวศน์ จากผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้ความรู้ กับทุกๆท่าน ผู้ใดสนใจ แต่ไม่สะดวกที่จะเดินทางไปด้วยตนเอง สามารถเดินทางไปพร้อมกับทีมงาน change.org ได้ ขั้นตอนง่ายๆ กรอกรายละเอียดตามลิงค์นี้ คลิกที่นี่ ให้ครบถ้วน เรารับ 20ท่านแรกเท่านั้นครับ สำหรับท่านใดที่เป็นสื่อ และสนใจร่วมเดินทางไปกับทีมงาน change.org กรุณากรอกรายละเอียดของท่านตามลิงค์นี้ครับ คลิกที่นี่ 
ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ เวลา 8โมงเช้า ตารางกิจกรรมที่เขาใหญ่จะแจ้งให้ทุกท่านทราบต่อไป



สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved