Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14327344  

กระดานแสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ    

ADMIN

ตั้งกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ขยะพิษ-สารเคมีเกษตรชีวิตบนเส้นด้ายของคนไทย- พัฒนพันธุ์ วงษ์พันธุ์

ขยะพิษ-สารเคมีเกษตรชีวิตบนเส้นด้ายของคนไทย

โดย พัฒนพันธุ์ วงษ์พันธุ์


ข้อมูลใหม่ที่เพิ่งได้ยินมาและน่าตกใจไม่น้อยก็คือ ประเทศไทยกำลังตกอยู่ท่ามกลาง "วัตถุมีพิษ" มากกว่าที่คิด ๆ กันหลายเท่านักที่ผ่านมาเรารับรู้กันว่า บรรดาเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ หลังหมดอายุการใช้งาน ถูกปล่อยทิ้งกลายเป็นขยะ เป็นอันตรายต่อชีวิต และสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง สามารถแปรเปลี่ยนเป็นวัตถุมีพิษ หากไม่จัดการให้ถูกต้อง ความน่าตกใจเรื่องนี้มีที่มาจากซากอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกและอิเล็กทรอนิกส์ กำลังเพิ่มขึ้นมหาศาล

สืบเนื่องจากชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนกำลังเปลี่ยนไป ทุกบ้านต้องการสิ่งอำนวยความสะดวก อยากได้ทีวีเครื่องใหม่ อยากได้ตู้เย็นใหญ่ขึ้น อยากได้พีซีที่ประมวลผลได้เร็วกว่าเดิม เมื่อของใหม่มาก็ต้องโยนของเก่าทิ้ง ผลศึกษาของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประเมินว่า เมื่อปี 2555 มีเครื่องรับโทรทัศน์ถูกทิ้งเป็นขยะ เพราะใช้งานต่อไม่ได้ หรือเพราะต้องการเปลี่ยนเครื่องใหม่มากถึง 2.37 ล้านเครื่อง ตัวเลขนี้กำลังจะเพิ่มเป็น 2.79 ล้านเครื่องในปี 2559

ปัญหานี้กำลังเกิดขึ้นกับข้าวของเครื่องใช้อื่น ๆ ด้วยเช่นกัน อาทิ เครื่องปรับอากาศ จาก 6.96 แสนเครื่อง เป็น 7.96 แสนเครื่อง คอมพิวเตอร์พีซี จาก 1.78 ล้านเครื่อง เป็น 2.63 ล้านเครื่อง เครื่องพิมพ์-โทรสาร จาก 1.49 ล้านเครื่อง เป็น 1.54 ล้านเครื่องที่กำลังมาแรงแซงทุกผลิตภัณฑ์สินค้า คือ โทรศัพท์มือถือ และโทรศัพท์บ้าน จาก 8.52 ล้านเครื่อง เป็น 10.90 ล้านเครื่อง

นี่ยังไม่รวมตู้เย็น เครื่องซักผ้า และอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่น่าเชื่อนะครับ ในขณะที่ขยะอิเล็กทรอนิกส์กำลังกองเป็นพะเนิน บ้านเรากลับไม่มีมาตรการใด ๆ ที่ชัดเจน รวมทั้งไม่มีกฎหมายใด ๆ มาควบคุมการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ที่หมดสภาพเหล่านี้โดยตรง มีข่าวดีอยู่บ้างก็คือ กรมควบคุมมลพิษยืนยันว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่เหลือบ่ากว่าแรงถึงขนาดควบคุมไม่ได้

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผลิตภัณฑ์จำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะเครื่องพีซีและมือถือถูกแปรสภาพไปเป็นสินค้ามือสอง แต่ถ้าจะให้ถึงขั้นมีธุรกิจรีไซเคิลมารองรับ คัดแยกอุปกรณ์ซึ่งถือเป็นวิธีที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุดเหมือนในยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา ซึ่งคงต้องรอกันต่อไป และไม่รู้อีกเมื่อไรถึงจะเกิดขึ้น

เท่ากับว่าด้านหนึ่งในขณะที่เราสุขสบายขึ้น อีกด้านหนึ่งเรากลับซุกซ่อนขยะพิษเอาไว้ใต้พรม ราวกับไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น คล้ายกับปัญหาการใช้สารเคมีนานาชนิดในสินค้าเกษตร ซึ่ง "ประชาชาติธุรกิจ" นำเสนอข่าวสารเชิงให้ความรู้ไปก่อนหน้านี้ไม่นาน ลำพังสารเมทิลโบรไมด์ที่ใช้กันในข้าวถุง เพื่อกำจัดมด มอด ถือเป็นเรื่องน้อยนิดไปทันทีเมื่อเทียบกับสารเคมีสารพัดชนิดที่เราใช้ในสินค้าเกษตร ซึ่งรายงานระบุว่า แต่ละปีประเทศไทยใช้สารเคมีทางการเกษตรไม่ต่ำกว่า 100,000 ตัน ประมาณกันว่าสารเคมีเหล่านี้มากกว่า 90% ถูกใช้ในนาข้าว นับตั้งแต่ขั้นตอนการหว่านไถ ปักดำ กระทั่งข้าวออกรวง เก็บเกี่ยว กลายเป็นสารตกค้างอยู่ในพื้นดิน แหล่งน้ำ และพืชผลทางการเกษตร

ความจริงที่น่าเจ็บปวด สารเคมีทางการเกษตรบางประเภทที่แพร่หลายในประเทศไทย ถูกห้ามใช้ในสหภาพยุโรป-สหรัฐ แต่ปรากฏในบ้านเราภายใต้ชื่อการค้าอื่น ๆ ขึ้นต้นด้วยขยะอิเล็กทรอกนิกส์ ลงท้ายด้วยสารพัดสารเคมีในนาข้าว ซึ่งจะว่าไปแล้วก็ครือ ๆ กัน เพราะล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อโลก ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเราทั้งสิ้น ท่ามกลางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจการค้า บ้านเรายังมีเรื่องประหลาด ๆ ทำนองนี้อีกมาก ไม่เพียงเฉพาะขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือสารเคมีที่ใช้ในนาข้าว หากภาครัฐยังรี ๆ รอ ๆ อยู่แบบนี้


คอลัมน์ สามัญสำนึก

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1376628476



Krootanoi

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 1

      



บ่าวรัฐ

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 2



บ่าวรัฐ

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 3



ครูทะเล

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 4
ติดตามโครงการนี้อยู่ครับ



ครูทะเล

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 5


กิ้วกิ้ว

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 6
การแก้ปัญหาเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์คงไม่สามารถจบลงได้ด้วยการรณรงค์เพียงแค่ปีละ 1 วันเท่านั้น แต่ก็ดีกว่าไม่คิดจะทำอะไรเลย เราต้องแก้ไขได้ด้วยการสร้างจิตสำนึกในการใช้งานเทคโนโลยีของคนในชาติ ทั้งในส่วนของผู้ผลิตและผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ การเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือตามแฟชั่น ยอมลด ละ เลิก กันได้ด้วยจิตสำนึก การช่วยกันสร้างจิตสำนึกได้อย่างเดียวแต่มันยากเย็นเข็ญใจจริงจริง โครงการต่างๆก็ผุดบานแล้วร่วงโรยไป เกือบเท่าๆอายุของเราเลย ความหวังก็คงอยู่ที่คนรุ่นใหม่แล้ว ถ้าอยากมีอนาคตที่ดีก็ช่วยกันสร้างวันนี้ให้ดีที่สุด คนเก่าก็ทำได้แค่บอกเล่าเก้าสิบ แล้วมันก็เข้าหูซ้ายทะลุหูขวาเหมือนเคย


สปศ.

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 7

      
     เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ช่วงหน้าฝนประชาชนมีโอกาสได้รับสารพิษจากขยะอันตรายมากขึ้น เนื่องจากสารพิษมีโอกาสสูงที่จะไหลลงสู่แหล่งธรรมชาติ สังเกตได้จากข้อมูลเมื่อปี 2547 พบว่า มีขยะอันตรายจากชุมชนเกิดขึ้นในประเทศไทยปีละ 4 แสนตัน และนับวันจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น โดยช่วงปลายปี 2554 ยังมีขยะอันตรายจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในภาคกลางตอนล่างอีก 18,000 ตัน ซึ่งล้วนยังไม่มีระบบการจัดการที่ดี ยังคงเป็นปัญหาที่หลายฝ่ายร่วมมือกันลดการใช้และทำลายอย่างถูกวิธี ทั้งนี้ การลดอันตรายจากสารพิษที่ประชาชนทำได้ คือ ลดการใช้สารเคมีและการคัดแยกขยะครัวเรือนออกจากขยะทั่วไป เพื่อลดจำนวนสารอันตรายไม่ให้ปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

        นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ขยะอันตรายจากชุมชนที่พบบ่อย ได้แก่ ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซากวิทยุ โทรทัศน์ พัดลม แอร์ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่มือถือ ซากคอมพิวเตอร์ สารเคมีที่ใช้ในครัวเรือน เช่น สเปรย์ น้ำยาทำความสะอาด สี น้ำมันเครื่อง ยารักษาโรค เป็นต้น ขยะอันตรายนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ ทางการหายใจ ทางปาก และทางผิวหนัง หากสูดดมสารพิษจะรู้สึก แสบจมูก ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ เจ็บคอ แสบคอ คัดจมูก หากถูกผิวหนังอาจเกิดอาการผิวหนังไหม้ เกิดผื่นคัน แสบตา ตาแดง หากรับประทานสารพิษเข้าร่างกายอาจเกิดอาการปวดแสบปวดร้อน ในระบบทางเดินอาหาร ปวดท้องและอาจถึงตายได้ หากกำจัดไม่ถูกวิธียังอาจก่อให้เกิดผลเรื้อรังด้วย
      
       “การป้องกันโรคและภัยสุขภาพควรดำเนินการดังนี้ 1.ลดปริมาณขยะอันตรายในบ้าน หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีภายในบ้าน หันไปใช้สารทดแทนจากธรรมชาติ หรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานนาน 2.ถ้าต้องซื้อวัสดุที่มีสารอันตรายเป็นส่วนประกอบควรซื้อในปริมาณที่พอใช้เท่านั้น 3.ไม่ควรเทสารเคมีที่ใช้ลงในท่อน้ำทิ้งแหล่งน้ำสาธารณะหรือบนพื้นดิน ควรใช้ให้หมด และ 4.ขยะภายในครัวเรือน ควรแยกเป็น 3 ถุง ได้แก่ ขยะอาหาร ขยะแห้ง และขยะอันตราย เพราะหากปนกันกรดหรือก๊าซไข่เน่าในขยะทั่วไปจะไปทำปฏิกิริยากับสารพิษทำให้เกิดความเป็นพิษมากขึ้น” อธิบดี คร.กล่าว
      
       นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังต้องร่วมกันดูแลเฝ้าระวังอย่าให้ผู้อื่นนำขยะอันตรายมาทิ้งในชุมชน ซึ่งสามารถสังเกตได้ดังนี้ หากขยะอยู่บนดินในอากาศจะมีกลิ่นขยะปนสารเคมีโชยมาตามลม อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ สี กลิ่น รสของน้ำจะเปลี่ยนไป ใช้แล้วจะมีอาการคัน หากมีอาการเจ็บป่วยจากสารเคมี ให้จดบันทึกอาการอย่างละเอียดพร้อมระบุ วัน เวลา สถานที่เกิดอาการ ถ้ามีกล้องจากมือถือให้ถ่ายภาพ ผื่นคัน ตาแดง หรืออาการอื่นๆ ที่เห็นได้ชัดไว้เป็นหลักฐานและมาพบแพทย์ เพื่อจะได้วินิจฉัยได้ถูกต้องว่าเป็นอาการป่วยมาจากสารพิษ รวมทั้งให้แจ้ง อบต. เทศบาล หรือตำรวจ และงดใช้น้ำบริเวณที่มีขยะอันตราย ไม่ว่าจะเป็นน้ำบ่อ น้ำบาลดาล หรือประปาหมู่บ้านที่มีต้นน้ำมาจากบริเวณดังกล่าว
      
       นพ.พรเทพ กล่าวต่อว่า จากข้อมูลโครงการพัฒนาแนวทางการประเมินปริมาณซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของกรมควบคุมมลพิษ ได้มีการคาดการณ์ว่าในช่วงปี พ.ศ.2555-2559 หากไม่มีการดำเนินการกำจัดขยะอันตรายอย่างถูกต้อง จะมีซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ดังนี้ โทรทัศน์ 12 ล้านเครื่อง กล้องถ่ายภาพ/วิดีโอ 4 ล้านเครื่อง อุปกรณ์เล่นภาพ/เสียงขนาดพกพา 17 ล้านเครื่อง เครื่องพิมพ์/โทรสาร 7 ล้านเครื่อง โทรศัพท์มือถือ/โทรศัพท์บ้าน 48 ล้านเครื่อง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล 11 ล้านเครื่อง เครื่องปรับอากาศ 3 ล้านเครื่อง และตู้เย็น 4 ล้านเครื่อง ซึ่งหลายหน่วยงานกำลังร่วมกันกำจัดขยะอันตรายเหล่านี้อย่างถูกวิธี แต่อย่างไรก็ตาม จะสำเร็จได้ต้องเริ่มต้นจากการแยกขยะในครัวเรือนเป็นลำดับแรก และไม่นำขยะอันตรายทิ้งปนกับขยะทั่วไป รวมถึงลดการใช้สิ่งต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดขยะอันตราย
 
http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9560000071901



Mayjung

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 8


สปศ.

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 9
ขยะพิษกับสมดุลธรรมชาติ
ขยะพิษกับสมดุลธรรมชาติ : บทบรรณาธิการประจำวันที่18ส.ค.2556

              ยังคงมีให้เห็นกันอย่างต่อเนื่องกับปัญหาลักลอบนำสารพิษที่ใช้แล้ว หรือขยะสารพิษ มาแอบทิ้งตามที่พื้นที่ว่างเปล่า ล่าสุดมีผู้พบถุงบิ๊กแบ็กและถังพลาสติกขนาด 200 ลิตร ประมาณ 40-50 ถัง ถูกกองทิ้งไว้รวมกันบริเวณป่าเชิงเขาตอง หมู่ 6 บ้านหนองสองตอน ต.ท่าล้อ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี นอกจากนั้นสารพิษยังไหลกระจายไปทั่วบริเวณ และไหลไปตามร่องน้ำลงมาจากภูเขาเป็นระยะทางยาว ทำให้หญ้าและต้นไม้ที่อยู่ตามเส้นทางน้ำไหลไหม้เกรียมเป็นสีดำ เจ้าหน้าที่นำเชือกมาขึงกั้นบริเวณเอาไว้ เพื่อกันไม่ให้ประชาชนเข้าไปใกล้ เกรงว่าจะได้รับอันตราย

              ไม่เพียงเท่านี้ ห่างออกไปราว 2-3 กิโลเมตร เจ้าหน้าที่พบถุงบิ๊กแบ็กสีขาวน้ำหนักถุงละ 1,000 กิโลกรัม ประมาณ 50 ถุง ถูกทิ้งกระจัดกระจาย และบริเวณใกล้เคียงกันยังพบถุงบิ๊กแบ็กลักษณะเดียวกันอีก 5 ถุง ภายในพบสารเคมีสีขาว-เทา ส่งกลิ่นเหม็นเปรี้ยวไปทั่วบริเวณ ส่วนหญ้าและต้นไม้ยืนต้นแห้งตายทั้งหมดลักษณะเหมือนถูกเผาไหม้ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่า สารเคมีในถังพลาสติกเป็นสารเรซินที่หมดอายุการใช้งาน มักนำมาใช้สำหรับผลิตกันชนรถยนต์ หรือผลิตโล่รางวัล

              จากการตรวจสอบในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี ไม่พบว่ามีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ผลิตอะลูมิเนียมในพื้นที่ จึงเชื่อว่าสารพิษเหล่านี้ถูกนำมาจากพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง เบื้องต้นทราบว่าเป็นสารแคดเมียมและสารโครเมียม ลักษณะเป็นกรดและด่างสูงระดับ 2 ปนอยู่ ซึ่งถือว่าอันตรายมาก หากปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ ซึ่งชาวบ้านที่เข้ามาช่วยเจ้าหน้าที่ใช้ผ้าใบมาคลุมปิดสารเคมีเพื่อป้องกันน้ำฝนโดยที่ไม่ได้สวมชุดป้องกัน พบบริเวณผิวหนังเป็นผื่นขาว มีอาการคัน เนื่องจากโดนสารเคมีเข้าไป

              การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมทำให้ปริมาณขยะในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัวจนกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเหมาะสมในลักษณะต่างๆ กัน อาทิ ส่งออกไปต่างประเทศ การนำไปฝังกลบ การนำไปบำบัด การใช้ซ้ำ การใช้ประโยชน์ในรูปของพลังงาน แต่สิ่งที่น่าห่วงคือ บริษัทเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบำบัดและกำจัดกากของเสียจากอุตสาหกรรมอีกประมาณ 3,000 ราย ที่อยู่ในการควบคุมโดยสำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม จะมีการดำเนินการและมาตรฐานที่ดีเพียงพอหรือไม่ ซึ่งขั้นตอนของการกำจัดนอกจากเรื่องกลิ่นแล้ว สารเคมีเหล่านี้จะรั่วซึมลงดินและแหล่งน้ำในที่สุด

              ในประเทศไทยมีบ่อกำจัดขยะพิษกากอุตสาหกรรมอันตรายที่ถูกต้อง และได้มาตรฐานอยู่เพียง 3 แห่งทั่วประเทศ ทำให้โรงงานหลายแห่งลักลอบนำกากอุตสาหกรรมไปทิ้งในบ่อขยะชุมชนหรือขายให้ร้านขายของเก่า เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการกำจัด และแทบทุกครั้งผู้ที่ตกเป็นเหยื่อก็หนีไม่พ้นประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณนั้น แม้ในท้ายที่สุดกระบวนการยุติธรรมจะลงดาบ ให้บริษัทผู้กระทำผิดกฎหมายและถูกจับกุมได้ชดเชยค่าเสียหายให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ แต่กระนั้นก็ไม่อาจเพียงพอกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น รัฐบาลควรตระหนัก วางแผนรองรับอย่างต่อเนื่อง โดยมียุทธศาสตร์ การบูรณาการ และตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของคนในชาติ ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง


เจ_เจ

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 10



ครูพันธุ์แท้

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 11


K.Pim

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 12



k.juy

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 13

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปจบอยู่ที่ใด


สินค้าอิเล็กทรอนิกส์เก่าจำนวนมากถูกเก็บไว้ให้ฝุ่นเกาะ เพื่อรอการนำมาใช้ใหม่ การรีไซเคิล หรือ การกำจัดทิ้ง กระทรวงคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (EPA) ของสหรัฐอเมริกา ประมาณว่า 3 ใน 4 ของคอมพิวเตอร์ซึ่งถูกขายไปแล้วในสหรัฐ จะถูกกองรวมกันอยู่ในโกดังและที่เก็บต่างๆ เมื่อถึงคราวที่ต้องโยนทิ้ง พวกมันจะถูกนำไปฝังกลบหรือไม่ก็เข้าเตาเผาขยะ และเมื่อเร็วๆ นี้ยังมีการส่งออกมาที่เอเชียด้วยที่ฝังกลบขยะ: จากข้อมูลของกระทรวงคุ้มครองสิ่งแวดล้อมสหรัฐ ในพ.ศ. 2543 มากกว่า 4.6 ล้านตันของขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกฝังกลบในสหรัฐ  สารเคมีพิษที่อยู่ในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้อาจรั่วไหลลงผืนดิน หรือแพร่เข้าสู่บรรยากาศ ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมบริเวณใกล้เคียง ประเทศต่างๆ ในยุโรปได้ออกมาตรการห้ามนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปฝังกลบ เนื่องจากมีองค์ประกอบของวัสดุที่เป็นพิษ แต่ในหลายประเทศก็ยังมีการฝังกลบขยะเช่นนั้นต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ในฮ่องกง ประมาณกันว่าร้อยละ 10-20 ของคอมพิวเตอร์ที่ถูกทิ้ง จะถูกนำไปฝังกลบ

เตาเผาขยะ: การเผาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทำให้เกิดการแพร่กระจายของโลหะหนักไม่ว่าจะเป็น ตะกั่ว แคดเมียม และ สารปรอท เข้าสู่บรรยากาศ และกลายเป็นเถ้าถ่าน สารปรอทที่แพร่เข้าสู่บรรยากาศจะสะสมอยู่ในห่วงโซ่อาหาร โดยเฉพาะในตัวปลา ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญที่เผยแพร่สารปรอทไปสู่คนทั่วไป ถ้าสินค้าชนิดนั้นมีส่วนประกอบของพลาสติก PVC ก็จะทำให้เกิดการแพร่กระจายของสารไดอ๊อกซินคลอไรด์และสารฟิวแรน สารทนไฟซึ่งทำจากโบรมีนก็จะทำให้เกิดการแพร่กระจายของสารโบรไมเนตไดอ๊อกซินและสารฟิวแรน เมื่อมีการเผาขยะอิเล็กทรอนิกส์ชนิดนั้น

การนำมาใช้ใหม่: การนำมาใช้ใหม่เป็นวิธีที่ดีเพื่อยืดอายุของสินค้า สินค้าเก่าหลายชิ้นถูกส่งออกไปยังประเทศกำลังพัฒนา แม้ว่าประโยชน์จากการนำสินค้าเก่ามาใช้ใหม่ยังไม่ชัดเจน แต่การนำสินค้ามือสองมาใช้ก็ทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงขึ้นมาแล้ว เพราะหลังจากใช้งานได้เพียงไม่นานสินค้ามือสองเหล่านี้ก็จะถูกทิ้ง และดูเหมือนประเทศที่นำเข้าต่างก็ไม่มีความสามารถในการจัดการกับขยะอันตรายเหล่านี้ได้

รีไซเคิล: แม้ว่าการรีไซเคิลจะเป็นวิธีที่ดีในการนำวัสดุของสินค้าเก่ามาใช้ใหม่ แต่ในขณะเดียวกันในกระบวนการรีไซเคิลก็อาจทำให้คนงานได้รับอันตรายจากสารเคมีในขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้น รวมทั้งอาจส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมในบริเวณใกล้เคียง

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว การรีไซเคิลสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะมีในโรงงานรีไซเคิลที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเท่านั้น โดยมีมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด ยกตัวอย่างเช่น ในหลายประเทศในสหภาพยุโรป จะไม่มีการรีไซเคิลพลาสติกจากขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อหลีกเลี่ยงการปล่อยสารโบรไมเนต ฟิวแรน และ สารไดอ๊อกซินเข้าสู่บรรยากาศ แต่ประเทศที่กำลังพัฒนาไม่มีมาตรการควบคุมเช่นนี้ และการแยกขยะเพื่อรีไซเคิลมักทำกันตามแหล่งทิ้งขยะต่างๆ และหลายครั้งจะมีเด็กมาแยกขยะด้วย

การส่งออก:  ขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกส่งออกจากประเทศพัฒนาแล้วไปสู่ประเทศกำลังพัฒนาเป็นประจำ และหลายครั้งได้ละเมิดอนุสัญญาบาเซิล จากการตรวจสอบท่าเรือ 18 แห่งในยุโรปเมื่อ พ.ศ. 2548 พบว่า ขยะมากถึงร้อยละ 47 ซึ่งรวมทั้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกส่งออกไปอย่างผิดกฎหมาย ใน พ.ศ. 2546 เฉพาะในอังกฤษ ขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อย 23,000 เมตริกตันถูกส่งออกอย่างผิดกฎหมายโดยไม่มีการระบุว่าเป็นสินค้าประเภทใด ไปยังตะวันออกไกลไม่ว่าจะเป็นอินเดีย อัฟริกา และ จีน ในสหรัฐอเมริกา ประมาณกันว่าร้อยละ 50-80 ของขยะที่ถูกรวบรวมเพื่อการรีไซเคิล ก็จะถูกส่งออกไปในลักษณะเดียวกัน แต่การกระทำเช่นนื้ถือว่าถูกกฎหมายเพราะว่าสหรัฐไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาบาเซิล

จีนแผ่นดินใหญ่พยายามจะปกป้องการค้าเช่นนี้ด้วยการออกกฎหมายห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ในพ.ศ. 2543 อย่างไรก็ตามกรีนพีซพบว่ากฎหมายเหล่านี้ไม่มีการบังคับใช้จริงจัง โดยยังมีขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกส่งมาถึงเมืองกุ้ยหยู มณฑลกวางตุ้ง ซึ่งเป็นศูนย์รวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ในจีน

กรีนพีซยังพบว่าในอินเดียมีปัญหาการค้าขยะอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เฉพาะในเมืองเดลีมีคนงาน 25,000 คนที่ทำงานตามแหล่งทิ้งขยะ ซึ่งต้องคัดแยกขยะ 10,000-20,000 ตันต่อปี โดยร้อยละ 25 ของขยะเหล่านี้เป็นคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังพบว่ามีแหล่งทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ในเมืองมีรุต เฟโรซาบัด เชนไน บังกาลอ และ มุมไบ

การค้าขยะอิเล็กทรอนิกส์นี้พัฒนาขึ้นมาอย่างไร

ในช่วงทศวรรษ 1990 รัฐบาลของประเทศในสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และบางรัฐในสหรัฐ จัดตั้งระบบ "รีไซเคิล" ขยะอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมา แต่หลายประเทศไม่มีศักยภาพมากพอที่จะจัดการกับปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์มากมายที่พวกเขาผลิตขึ้นมา หรือไม่สามารถจัดการกับคุณลักษณะที่เป็นพิษของขยะเหล่านี้ได้

ด้วยเหตุดังกล่าวพวกเขาจึงเริ่มส่งออกปัญหาเหล่านี้ไปยังประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งไม่มีกฎหมาย หรือไม่มีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองคนงานและสิ่งแวดล้อม ทั้งการรีไซเคิลขยะในประเทศกำลังพัฒนายังมีต้นทุนถูกกว่า ต้นทุนการรีไซเคิลกระจกจากจอคอมพิวเตอร์ในสหรัฐ คิดเป็น 0.5 เหรียญต่อน้ำหนัก 1 ปอนด์ เทียบกับ 0.05 เหรียญในประเทศจีน

ความต้องการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในเอเชียเริ่มมีมากขึ้น เนื่องจากคนงานในแหล่งทิ้งขยะต่างๆ พบว่าพวกเขาสามารถคัดแยกสารที่มีค่าออกมาได้ ไม่ว่าจะเป็นทองแดง เหล็ก ซิลิกอน นิกเกิล และ ทองคำ ในระหว่างกระบวนการรีไซเคิล ยกตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือหนึ่งเครื่องจะประกอบด้วยทองแดงร้อยละ 19 และเหล็กร้อยละ 8

http://www.greenpeace.org



witjung

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 14


ครูทะเล

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 15
ครับ


เรือกระดาษ

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 16



ADMIN

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 17

สาธารณสุขได้มีประกาศเตือนประชาชนและซาเล๊งมาตลอด ให้ระวังภัยจากขยะอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนเช่นหลอดไฟ ถ่านไฟฉาย ซากเครื่องใช้ไฟฟ้า ภาชนะบรรจุสารเคมีกำจัดแมลง น้ำยาทำความสะอาดบ้านเรือน เนื่องจากเสี่ยงเกิดมะเร็ง กระดูกผุ ปอดพัง ไตวาย ทำอันตรายต่อเม็ดเลือดแดง ทำลายสมองเด็ก และได้แนะนำให้หน่วยงานเก็บขยะ จัดถังหรือถุงสีส้ม เป็นสีสัญลักษณ์ของขยะอันตราย และมีรถเก็บโดยเฉพาะ เพื่อลดการแพร่กระจายของสารพิษ

 
ขยะอันตรายที่เกิดจากครัวเรือนเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ใช้กันมากเช่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีทำความสะอาด ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ ซากเครื่องใช้ไฟฟ้า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ขยะเหล่านี้มีสารเคมีตกค้าง เป็นอันตรายทั้งต่อสุขภาพคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมทั้งดิน น้ำ อากาศ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
         
ข้อมูลในปี 2546 พบขยะอันตรายจากชุมชนปีละประมาณ 4 แสนตัน   กว่าครึ่งเกิดในกทม.ปริมณฑลและภาคกลาง ขยะเหล่านี้ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีน้อยมาก กระทรวงสาธารณสุขไม่แนะนำให้ประชาชนกำจัดขยะอันตรายด้วยตนเอง แต่แนะนำให้แยกขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไป โดยหน่วยงานที่มีหน้าที่กำจัดขยะ ควรจะจัดถังหรือถุงขยะสีส้ม ซึ่งเป็นสีสัญลักษณ์ของขยะอันตราย และรณรงค์ให้ประชาชนนำขยะอันตรายใส่ถุงสีส้มเพื่อแยกขยะอันตรายออกจากขยะมูลฝอยทั่วไป  ซึ่งจะเป็นการลดการแพร่กระจายของสารพิษสู่สิ่งแวดล้อมและประชาชน เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยยังมีการตื่นตัวกับขยะอันตรายน้อยมาก
                                 
         
ขยะอันตรายหมายถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้แล้วแต่ยังมีสารเคมีอันตรายหลงเหลืออยู่ เช่นกระป๋องสเปรย์ ภาชนะบรรจุสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีทำสะอาด สารเคลือบเงาต่างๆ ซากถ่านไฟฉาย หลอดไฟ ซากเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยซากขยะเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะมีสารโบรมีน ทำให้เกิดโรคมะเร็ง ถ่านไฟฉายมีสารแคดเมียม เป็นอันตรายต่อโครงสร้างของกระดูก ปอด ไต อาจเกิดไตวายได้   หลอดไฟฟ้ามีสารปรอท เป็นอันตรายต่อระบบประสาท แบตเตอร์รี่มีสารตะกั่วทำลายเม็ดเลือดแดง ทำให้พัฒนาการสมองในเด็กช้าลง สติปัญญาด้อยลง
 
                                                                                                                           
กลุ่มที่เสี่ยงสัมผัสขยะอันตรายได้แก่ กลุ่มที่มีอาชีพเก็บหรือรับซื้อของเก่า หรือที่เรียกว่าซาเล๊ง มักนำภาชนะบรรจุสารเคมีไปล้าง แล้วเทสารเคมีที่ยังเหลืออยู่ลงดินหรือลงน้ำ ทำให้ดินและน้ำปนเปื้อนสารพิษควรงดการกระทำดังกล่าว ให้นำไปทิ้งในที่ที่เทศบาลหรืออบต.จัดไว้ให้ และไม่ควรรับซื้อภาชนะเหล่านี้ ขณะคัดแยกขยะควรใส่ถุงมือยางและใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกสารพิษ   เพราะสารพิษบางตัวซึมผ่านผิวหนังได้
         
ในการป้องกันขยะอันตราย สำหรับประชาชนทั่วไป ก่อนทิ้งให้แยกขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไป ควรเลือกใช้สารจากธรรมชาติแทนสารเคมี เช่นน้ำหมักจุลินทรีย์   ใช้สมุนไพรป้องกันแมลง และช่วยเป็นหูเป็นตาเฝ้าระวังขยะอันตรายในชุมชน เช่นหากมีการนำขยะอันตรายมาทิ้งในชุมชน ให้รีบแจ้งหน่วยงานท้องถิ่นหรือเกี่ยวข้องให้ทราบเพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป



nanfahthai

ตอบกระทู้เมื่อ
22 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 18


k.kob

ตอบกระทู้เมื่อ
25 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 19
ข้างบ้านก็มีบ่อเขยะของเทศบาลที่ท่วมล้นยังไม่ได้กำจัด เห็นขยะกองกลางเมืองอย่างนี้แล้วไม่สบายใจเลยค่ะ นึกถึงเชื้อโรคและสิ่งที่ตามมาอีกมากมาย โครงการต่างๆที่รณรงค์ขยะ รณรงค์มลภาวะ ที่ตั้งมามากมายไม่ได้ผลเพราะอะไร? ทำไมจึงไม่ทันอัตราการเกิดขยะ ต้นตอคือผู้คนที่ทำให้เกิดขยะ ต้องกำจัดที่ต้นตออย่างเด็ดขาด หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องหาเพทุบายมาแก้ปัญหาตรงนี้เร่งด่วนก่อนที่ขยะจะท่วมโลก พวกเราเองก็ต้องช่วยกันหยุดการสร้างขยะทุกวิถีทาง ทำได้มั้ย เพื่อตัวเองและครอบครัวก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย


คลื่นใต้น้ำ

ตอบกระทู้เมื่อ
25 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 20
ไปตลาดวันนี้หาถุงผ้าใบโตๆไปด้วย เราเลิกใช้ถุงกรอบแกรบกันได้แล้ว ตัวเองไม่เคยจ่ายตลาดแต่งงมากที่เห็นขยะในรถเทศบาลล้นทุกวัน จะตามไปดูสักวันว่าปลายทางอยู่ที่ไหน


kobkaew

ตอบกระทู้เมื่อ
25 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 21
เห็นแล้วจะหนาว กินข้าวไม่ลง


สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved