Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14021302  

กระดานแสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ    

คลื่นใต้น้ำ

ตั้งกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  สพฐ.เตรียมขุดคลองถมถนน (อีกแล้ว)
 
สพฐ.เตรียมเสนอแผนปฎิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบ

 
สพฐ.เตรียมเสนอแผนปฎิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบ แก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้วิชาภาษาไทยในเด็กช่วงชั้นที่ 1 เล็งภายในปี 56 ต้องแก้ปัญหาได้ครบร้อยเปอร์เซนต์

 เมื่อวันที่ 20 ส.ค. ดร.ชินภัทร  ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงการวางแผนงานการขับเคลื่อนการปฎิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบ ซึ่งได้มีการจัดประชุมระดมความคิดเห็นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 ส.ค. โดยจุดหลักที่สพฐ.จะเริ่มต้นดำเนินการให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในเบื้องต้น คื การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในวิชาภาษาไทยของนักเรียนในช่วงชั้นที่ 1(ป.1-ป.3) ทั้งประเทศ โดยมอบหมายให้เขตพื้นที่การศึกษาจัดทำเป็นข้อเสนอและมาตรการดำเนินการ  โดยจะใช้เครื่องมือประเมินความบกพร่องค้นหาเด็กกลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ เพื่อต้องการสร้างหลักประกันว่าภายในปี 2556 ภาคเรียนที่ 2 เด็กในช่วงชั้นที่ 1 จะต้องอ่านออกเขียนได้ครบร้อยเปอร์เซนต์ ซึ่งเขตพื้นที่อาจมีมาตรการเร่งรัด สอนซ่อมเสริมเด็กกลุ่มเสี่ยงให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
 
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า  นอกจากนี้จะมีการส่งเสริมการพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นรูปธรรม โดยอาจมีการประยุกต์ความรู้ด้านภาษา การคำนวณ และวิทยาศาสตร์ มาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น รวมถึงการจัดทำคู่มือฝึกอบรมครู ในการส่งเสริมกระบวนการคิดตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยทั้งสองเรื่องดังกล่าว สพฐ.จะจัดทำเป็นรายงานเสนอต่อนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เพื่อพิจารณาเห็นชอบต่อไป  อย่างไรก็ตามสำหรับการจัดทำเครื่องมือค้นหาเด็กกลุ่มเสี่ยงนั้น จะทำให้ทราบถึงจำนวนเด็กกลุ่มเสี่ยงที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของมาตรฐาน เพื่อสร้างหลักประกันและความมั่นใจได้ว่าเมื่อเด็กเรียนจบช่วงชั้นที่ 1 ไปแล้วต้องอ่านออกเขียนได้ ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนต่อไป
 
 


KTC

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 1
ทุบถนนขุดคลองต่างหาก จะว่าทิ้งทวนก็ไม่ใช่เพราะกำลังอัดฉีดต่ออายุเกษียณเป็น 65 ปี ทุกแผนดีหมดในหลักการแต่ปฏิบัติได้หรือไม่ได้ก็อีกเรื่องหนึ่ง กลุ่มเสี่ยงในเด็กไทยมันทำไมเยอะจริงวุ้ย ชีวิตบนเส้นด้ายเสี่ยงมันทุกหย่อมหญ้า


Krootanoi

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 2
พอดีกำลังอึ้งข่าวนี้เลยค่ะครู
 
รมว.ศึกษาธิการขานรับ ขยายอัตราการเกษียณอายุราชการครูในสาขาที่ขาดแคลนออกไปเป็น 65 ปี แก้ปัญหาการขาดแคลนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
 
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยถึงแนวทางแก้ปัญหาการขาดแคลนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจากการเกษียณอายุราชการ ซึ่งภายใน 5 ปีจะมีการขาดแคลนถึง 103,743 คนว่า จากข้อมูลพบการขาดแคลนครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวม 51,462 อัตรา ในสาขาวิชาที่เป็นพื้นฐานสำคัญคือ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และวิทยาศาสตร์ ซึ่งในปี 2555 กระทรวงศึกษาธิการได้รับอัตรากำลังคืน 100% จำนวน 8,300 อัตรา ส่วนปี 2556 ยังไม่ได้พิจารณา แต่ทราบว่าจะได้รับคืน 100% เป็นปีสุดท้าย ทั้งนี้ คงเป็นเพียงวิธีการหนึ่งหากขอคืนอัตราไปสักระยะอาจจะเจอปัญหาเพดานจำนวนข้าราชการที่เหมาะสมในภาพรวมทั้งประเทศ ซึ่งการแก้ปัญหาขาดแคลนครูต้องดูทั้งระบบ ทั้งการขอคืนอัตราเกษียณฯ การเกลี่ยครูจากโรงเรียนที่ครูเกินไปยังโรงเรียนที่ครูขาด การเกลี่ยให้ครูสอนตรงวิชาเอก รวมทั้งหาครูใหม่ทดแทน ซึ่งขณะนี้ก็ยังมีปัญหาการผลิตครูไม่ตรงกับความต้องการ  และ จากข้อมูลของสภาคุรุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทยพบว่าใน 5 ปีตั้งแต่ปี 2556-2560 จะมีผู้ที่จบสายครู 259,522 คน ซึ่งก็เกินจากที่ขาด แต่คาดได้ว่าในสาขาขาดแคลนก็ยังจะเป็นปัญหาใหญ่อีก ต่อข้อถามถึงข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่จะขอขยายอัตราการเกษียณอายุราชการครูในสาขาที่ขาดแคลนออกไปเป็น 65 ปี นายจาตุรนต์กล่าวว่า ถ้าพิจารณาแนวโน้มของสังคมที่จะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ตนมองว่าเป็นวิธีหนึ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์ แต่คงต้องพิจารณารายละเอียด รวมทั้งหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะเป็นเรื่องที่จะกระทบส่วนอื่น.


k.juy

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 3


KET

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 4

ศธ.ชี้คืนอัตราเกษียณไม่แก้ปัญหาขาดแคลนครูทั้งระบบ

       “การขอคืนอัตราเกษียณ 100% อาจจะยังไม่ใช่คำตอบของการแก้ปัญหานี้ทั้งหมด เพราะนอกจากคิดเรื่องเพิ่มคนแล้วยังต้องคิดเรื่องการใช้เทคโนโลยีการสอนมาทดแทนครูเพื่อลดการใช้ครูสอน การจะใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มาช่วยในการเกลี่ยกำลังคน การแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดอัตรากำลังที่เหมาะสม เช่น การโอนย้ายข้ามเขตพื้นที่การศึกษา ที่ยังมีปัญหาที่กติกา ทำให้การจัดการไม่เป็นระบบ ซึ่งต้องมาดูระเบียบ ก.ค.ศ.ใหม่ว่า อะไรเป็นอุปสรรคทำให้ครูไม่สามารถโอนย้ายไป อยู่ในโรงเรียนที่ขาดแคลนจริงๆ ได้ ขณะเดียวกันที่ผ่านมาเคยมีการพูดคุยว่า เพื่อให้ครูสามารถทำงานในบ้านเกิด มีการเสนอให้เปิดสอบเขตไหน ก็ให้คนในเขตพื้นที่นั่นไปสมัคร เพื่อจะได้ครูที่เป็นคนในพื้นที่จริงๆ จะได้ไม่มีปัญหาย้ายข้ามไปข้ามมา แต่พอทำจริงๆ ก็เป็นการเปิดสอบทั่วไปเหมือนเดิม” นายจาตุรนต์ กล่าวและว่า เพราะฉะนั้น อนาคตอาจจต้องมาคิดว่าจำเป็นต้องมีระบบโควตาของเขตพื้นที่นั้นหรือไม่ โดยคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) ต้องให้ความร่วมมือด้วย แต่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องขาดครูในสาขาที่ขาดแคลนอยู่ดี ดังนั้นต้องนำหลายๆ เรื่องมาพิจารณาประกอบกันเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวในภาพรวม

http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9560000101659



Krootanoi

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 5
"แก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้วิชาภาษาไทยในเด็กช่วงชั้นที่ 1 เล็งภายในปี 56 ต้องแก้ปัญหาได้ครบร้อยเปอร์เซนต์ "
 
อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว
 
 

."...นี่คือทางเลือกและทางออก
จากตรอกซอกตีบตันแห่งปัญหา
หากเธอพร้อมยืนหยัดอย่างศรัทธา
ภูผาหิมาลัยก็พ่ายแพ้..."

...ศิวกานท์ ปทุมสูติ
       ๕ พค ๕๕



Mayjung

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 6
K.juy
เพลงประกอบนี้สำหรับกรณีต่ออายุเกษียณ หรือปฏิรูปการเรียนการสอนทั้งระบบ?
แต่ชอบๆๆ MV งามภาพงามคำ
ใครมีญาติโกโหติกาหรือพรรคพวกครบเกษียณพร้อมบิ๊กชุดนี้มั่งยกมือขึ้น
ตอบหน่อยซิดีใจไหมถ้าได้ต่ออายุเกษียณน่ะ?


กิ้วกิ้ว

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 7
หุหุหุ Mayjung โตแล้วคิดเอาเอง
ยกมือขึ้นมาประสานกันแล้วกอดตัวเองไว้
เข้าใจมั้ย ทีนี่เมืองไทย ความกดอากาศเป็นหย่อมๆ
เหมือนวาทะท่านอภิสิทธิ์นั่นแหล่ะ "รวยกระจุกจนกระจาย"
แต่ถามจริงๆเหอะ คนวัยเกษียณบ้านเราในบางกลุ่มสมควรต่ออายุมั้ย
บูรณาการบานตะไท..มันถึงยุคน้ำท่วมฟ้าปลากินดาวจริงจริงแล้ว
 


k.juy

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 8
เปล่าครับ 
ผมก็แค่ชอบคำบรรยายกับเสียงลุงจ๊อบ
อย่ามัวแต่เฝ้ารอช่วงเวลาดีๆในช­ีวิต
แต่จงสร้างสิ่งดีดีให้เกิดขึ้นในวันนี้
ด้วยตัวคุณเอง
 
 
คิดถึงวันพรุ่งนี้ดีกว่า..
สบตากับฉัน เชื่อในฉัน
เรื่องของวันวาน ไม่ต้องมาใส่ใจ
ที่เคยเปียกฝน เดี๋ยวก็คงแห้งไป ..
 
555+++++

 
 


หนอนไซเบอร์

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 9
ศธ.เล็งแก้กม.ขยายอายุเกษียณครูบางสาขาเป็น 65 ปี (ไทยโพสต์)
           ศธ.เตรียมเปิดประชาพิจารณ์แก้ไข กม. ขยายเวลาเกษียณอายุข้าราชการครูบางวิทยฐานะเป็น 65 ปี และปรับบทลงโทษวินัยบางข้อให้ครอบคลุมกับโทษความผิด
           นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ที่ประชุมได้รับทราบการแก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่..) พ.ศ.... ตามที่คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเฉพาะกิจเกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และให้นำร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไปประชาพิจารณ์ อาทิ การขยายเวลาเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจาก 60 ปี เป็น 65 ปี เป็นต้น
           ด้านนายพิษณุ ตุลสุข รองเลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวว่า ก.ค.ศ.จะนำประเด็นที่มีการแก้ไขไปทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง ในวันที่ 14 ม.ค. ที่ศูนย์การประชุมอิมแพค เมืองทองธานี
           ทั้งนี้รายงานข่าวแจ้งว่าประเด็นที่จะมีการประชาพิจารณ์ มี 2 กลุ่ม ประกอบด้วย
           กลุ่มที่ 1 เกี่ยวกับองค์กรบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อาทิ องค์ประกอบของ ก.ค.ศ. อาทิ ควรให้สิทธิ์ผู้บริหารสถานศึกษาที่ไม่ได้สังกัดเขตพื้นที่การศึกษา (สพท) เป็นกรรมการ ก.ค.ศ.หรือไม่, ควรมีรอง ผอ.สพท.เป็นกรรมการใน ก.ค.ศ.หรือไม่, องค์ประกอบไตรภาคีความเป็นทวิภาคีหรือไม่, องค์ประกอบและวิธีการได้มาของอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ., ควรขยายเวลาเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาบางวิทยฐานะเป็น 65 ปี เช่นเดียวกับตำแหน่งทางวิชาการของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยหรือไม่
           กลุ่มที่ 2 เรื่องทั่วไป ที่สำคัญคือประเด็นการขยายเวลาเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาบางวิทยฐานะเป็น 70 ปี เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนที่ขยายอายุราชการต่อไปอีก 10 ปี สำหรับตำแหน่งประเภทวิชาระดับเชี่ยวชาญและทรงคุณวุฒิ และประเภททั่วไประดับอาวุโส ทักษะพิเศษ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูในสาขาที่ขาดแคลน
 
กพ.ทำมาตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว ศธ.เพิ่งจะเล็ง 


ครูทะเล

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 10
จำได้ ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ กรรมการจัดสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็นการปฏิรูปการศึกษา เคยให้ความเห็นไว้ว่า ในปัจจุบันโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมากมาย บทบาทของภาครัฐในการบูรณาการการทำงานเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของประเทศต้องมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยทันโลกมากขึ้น แนวโน้มของนานาประเทศได้นำไปสู่แนวคิดเชิงพื้นที่ด้วยการไม่ผลักภาระในการปฏิรูปการศึกษาไปที่ภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว แต่ใช้การเปิดพื้นที่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคส่วนต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้มากขึ้น พายเรือในอ่างอีกแล้ว วนกลับมาเรื่องเดิมปฏิรูปการเรียนการสอน มันเป็นปัญหาโลกแตกของการศึกษาไทยจริงๆ


บัวบก

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 11
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการจัดสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็นการปฏิรูปการศึกษา กล่าวในการประชุม “บูรณาการภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา” ว่า ปัญหาการศึกษาของประเทศไทยนั้นอาจเป็นเรื่องยากที่จะทำให้สำเร็จโดยเร็ว เพราะต้องใช้เวลา ต้องค่อยๆ เริ่มทำ อยากให้สังคมผลิตครูอาจารย์รุ่นใหม่ๆ ออกมาให้มีการพัฒนาการที่ดี มีเทคนิคการเรียนการสอนแบบใหม่ให้ดีมากขึ้น ไม่ใช่สอนเด็กเพียงแค่ท่องจำเท่านั้น ส่วนการแก้ปัญหาเราจะต้องเอาเด็กเป็นตัวตั้ง เราควรจะเปลี่ยนโจทย์การศึกษา ต้องสร้างงาน ต้องสร้างคนที่มีคาแร็กเตอร์ใหม่ๆ ออกมา
พวกเรามีคาร์เร็คเตอร์ใหม่ๆ กันหรือยัง?


เรือกระดาษ

ตอบกระทู้เมื่อ
21 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 12
 “ในฐานะ รมว.ศึกษาธิการ ผมจะประกาศให้การจัดการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ โดยให้ปี 2556 เป็นปีแห่งการรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยมีเป้าหมายมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคิด วิเคราะห์ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ภายในปี 2558 ได้แก่ ผลการจัดอันดับการศึกษาไทย ผลการทดสอบ PISA ของไทยอยู่ในอันดับดีขึ้นเปลี่ยนจากอันดับที่ขึ้นต้นด้วยเลข 5 มาสู่อันดับที่ขึ้นต้นด้วยเลข 4 ขณะที่ต้องทำให้สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาและสามัญเพิ่มขึ้นเป็น 50:50 ส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยไทยติดอันดับโลกมากขึ้น ซึ่งอยากเรียกร้องให้สังคมมาร่วมคิดกลไกในการพัฒนาและผลักดันมหาวิทยาลัยไทยด้วย และการกระจายโอกาสและเพิ่มความเสมอภาคทางการศึกษามากขึ้น พร้อมกับเน้นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนที่มีศักยภาพเข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนการจัดการศึกษามากขึ้น” นายจาตุรนต์ กล่าว


KTC

ตอบกระทู้เมื่อ
22 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 13
"ต้องมีการส่งเสริมการพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นรูปธรรม โดยอาจมีการประยุกต์ความรู้ด้านภาษา การคำนวณ และวิทยาศาสตร์ มาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น"
 
คณิตศาสตร์ไม่ได้สอนให้เราบวกความรัก
หรือลบความเกลียด
แต่สอนให้คุณมีเหตุผลที่จะหวังว่า
ทุกปัญหามีทางแก้ไข
เรียนคณิตศาสตร์กันมาเท่าไหร่
เห็นจิ้มเครื่องคิดเลขกันมือเป็นระวิง
 
สบตากับฉัน เชื่อในฉัน
เรื่องของวันวาน ไม่ต้องมาใส่ใจ
ที่เคยเปียกฝน เดี๋ยวก็คงแห้งตาย ..555555+++++


ADMIN

ตอบกระทู้เมื่อ
22 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 14
 
ปลุกเด็กไทย"รู้-รักชาติ

นายเขมชาติ สศร.ถอดรหัส “ดอกบัวบานในธารวรรณกรรม” เปิดประตูเชื่อมไทย-เวียดนามเด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลง เรื่องจริงในสังคมไทยยุคปัจจุบันที่ไม่อาจปฏิเสธได้ เพราะทุกวันนี้โลกแห่งเทคโนโลยี ที่เข้ามามีอิทธิพลต่อวิถีการดำเนินชีวิตประจำวันของเด็กและเยาวชนไทยเกือบทั้งระบบ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ที่คนในยุคนี้ขาดไม่ได้ เพราะนอกจากใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร สนทนา ใช้หาความบันเทิงแล้ว ยังสามารถใช้ ค้นคว้าหาความรู้ ผ่านบริการสืบค้นทางเว็บไซต์ต่างๆ ที่เป็นเสมือนคลังข้อมูล ในโลกอินเตอร์เน็ต แบบที่ว่าง่ายยิ่งกว่าพลิกฝ่ามือ จากอดีตการค้นคว้า ต้องศึกษาจากการอ่านตำรา และในหนังสือเรียน ผลกระทบความแปรเปลี่ยนในโลกเทคโนโลยีนั้น มิได้มีส่วนทำให้เด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลงเท่านั้น แต่ยังส่งผลทำให้เด็กไทยละเลยและไม่ให้ความสำคัญกับภาษา ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงอัตลักษณ์ชาติตามไปด้วย ในทางกลับกัน หลายชาติในโลก ที่ไม่มีภาษาเป็นของตนเอง แต่คนในชาตินั้นๆ ต่างมุ่งที่จะเรียนรู้และใช้ภาษาเป็นหน้าต่างในการแสวงหาความสำเร็จ อีกทั้งยังมีชาวต่างชาติจำนวนไม่น้อยที่สนใจเรียนรู้ภาษาไทยอย่างลึกซึ้ง ดอกบัวบานในธารวรรณกรรม เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้น และบทกวี ที่ผสานความร่วมมือของนักเขียนไทย และเวียดนาม โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จัดทำขึ้น เพื่อใช้งานเขียน เป็นทูตทางสังคมสื่อประสานคนต่างชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม ให้สามารถล่วงรู้ถึงวิธีคิด ความรู้สึกนึกคิด และเข้าถึงจิตใจของกันและกันมากขึ้น ทั้งยังมุ่งหวังใช้วรรณกรรมเป็นตัวเชื่อมร้อยความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ทำความเข้าใจภาพทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมไทยได้อย่างลึกซึ้ง โดย จัดพิมพ์ขึ้น 3 ภาษา ทั้งไทย เวียดนาม และอังกฤษ ทีมข่าววัฒนธรรมได้ติดตามคณะทำงานของ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) นำโดย นายเขมชาติ เทพไชย ผอ.สศร. พร้อม<br />ด้วย นายเจน สงสมพันธุ์ นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และ สองศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ นายประภัสสร เสวิกุล และ นายสถาพร ศรีสัจจัง ร่วมงานเปิดตัวหนังสือดอกบัวบานในธารวรรณกรรม ที่สมาคมวรรณกรรมเวียดนาม กรุงฮานอยประเทศเวียดนาม พร้อมแลกเปลี่ยนแนวทางการส่งเสริมงานวรรณกรรมร่วมกับสมาคมนักเขียนเวียดนาม นำมาต่อยอดในการสร้างเยาวชนนักเขียนรุ่นใหม่ สิ่งแรกที่ได้พบเห็นได้อย่างชัดเจน คือ เด็กและเยาวชนในวัยเรียน ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษา ไปจนถึงรั้วอุดมศึกษาของเวียดนามให้ความสนใจมาร่วมงานเปิดตัวหนังสือเล่มนี้อย่างคับคั่ง ขณะที่พบว่า ปัจจุบันเด็กเวียดนามสนใจเรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สามจำนวนมากขึ้น รองจากภาษาเวียดนาม และภาษาอังกฤษ ส่วนใหญ่ให้เหตุผลตรงกันว่า ภาษาไทยมีเอกลักษณ์ มีการใช้ภาษาที่งดงาม และออกเสียงได้ไพเราะ<br />ยิ่งไปกว่านั้น เด็กเวียดนามจำนวนไม่น้อยใช้การอ่านวรรณกรรม งานเขียน เรื่องสั้น นวนิยาย และบทละคร ในการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อให้เข้าใจการใช้ชีวิตของคนไทยได้เป็นอย่างดี<br /><br />“ประเทศเวียดนามให้ความสำคัญทางด้านภาษามาก ตั้งแต่สมัยโบราณที่มีการสอบแข่งขันจอหงวนซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน คนเวียดนามจึงท่องมาก อ่านมาก ผ่านวรรณกรรม บทกวีต่างๆ เพื่อให้เกิดพัฒนาการทางด้านความคิด และสติปัญญาใช้ต่อสู้เพื่อสร้างความสำเร็จ สิ่งเหล่านี้สั่งสมเรื่อยมาจนถึงยุคปัจจุบัน เด็กและเยาวชนก็ยังให้ความสำคัญในการเรียนรู้ภาษา ให้รู้ชาติกำเนิด ขณะเดียวกัน ภาครัฐก็สนับสนุนให้ปรับหลักสูตรการเรียนการสอนด้านภาษาและวรรณกรรม ในปี 2556–2563 เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งต่างจากเยาวชนไทยที่มีการเรียนรู้วรรณกรรมของชาติลดลงเรื่อยๆ” นายเขมชาติ ฉายภาพของแนวทางการแลกเปลี่ยนความรู้งานวรรณกรรมร่วมกับประเทศเวียดนาม ผอ.สศร. กล่าวด้วยว่า ประเทศเวียดนาม จะมีการแจกวรรณกรรมเล่มนี้ไปยังสถานศึกษา และเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้สนใจเข้ามาศึกษาได้สะดวก สำหรับประเทศไทย สศร. ได้แจกหนังสือไปยังสถานศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศแล้วเช่นกัน และยังมองถึงในอนาคตว่าจะประสานไปยังกระทรวงศึกษาธิการ  หาแนวทางสอดแทรกวรรณกรรมร่วมสมัยเข้าสู่สถานศึกษา รวมทั้งหาทางเปิดโลกวรรณกรรมในระบบโซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเข้าถึงการอ่านของเด็กและเยาวชนด้วย ขณะเดียวกันจะต่อยอดโครงการนี้ ด้วยการนำศิลปินของไทยมาสัมผัสวิถีชีวิตและเขียนเรื่องราวที่สนใจในเวียดนาม จากนั้นก็ให้ศิลปินเวียดนาม มาศึกษาวิถีชีวิตคนไทยและเขียนเรื่องราวที่สนใจในประเทศไทย ถ่ายทอดออกมาเป็นงานวรรณกรรมร่วมสมัยต่อไปขณะที่ นายสถาพร ให้ความเห็นว่า งานวรรณกรรมทุกสาขา นับเป็นโปรแกรมเมอร์ทางประวัติศาสตร์ เป็นรากวัฒนธรรม ที่ช่วยสร้างความสำนึกรักชาติให้กับคนแต่ละประเทศ แต่ สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับเด็กไทยปัจจุบัน คือ ถูกโปรแกรมเมอร์ลึกลับระดับโลก ที่น่ากลัว สร้างให้เด็กไปสู่วัฒนธรรมบริโภคนิยม ทำให้ไม่รู้จักความเป็นชาติ แต่หากผู้บริหารประเทศ มีความชาญฉลาด ก็ควรจะรู้ว่าการส่งเสริมให้เกิดการตกผลึกในงานศิลปวัฒนธรรมทุกสาขาเป็นความจำเป็น โดยการสร้างเครื่องมือให้เยาวชนไทยเกิดความรักชาติ ก็จะทำให้เอกลักษณ์ของชาติไม่สูญหาย<br />ทีมข่าววัฒนธรรม เห็นด้วยกับแนวทางการส่งเสริมวรรณกรรมเข้าสู่สถานศึกษา แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม คงต้องรับหน้าเสื่อร่วมมือกันเป็นเจ้าภาพหลักดำเนินงาน สานฝันให้เป็นจริง ซึ่งอาจจะบรรจุเนื้อหาวรรณกรรมลงในแท็บเล็ต อุปกรณ์การเรียนการสอนให้เข้ายุคสมัยใหม่เพราะเรามองว่า “วรรณกรรม และบทกวี” เป็นภาพสะท้อนความจริงของสังคมในแต่ละยุคสมัย หากเด็กและเยาวชนได้รู้ ถึงความเป็นตตัวตนและชาติกำเนิดของตนเองแล้ว ผลที่ตามมา คือ เกิดสำนึกรักและหวงแหนในความเป็นชาติ

“...
คนเก่งต้องกร้านต้องหาญกล้า
มิรอนอ่อนล้าแรงละโหย
ต้องท้าพายุที่บดโบย
แม้เปลี่ยวเดียวโดยระหว่างดล...”

บทกวีที่อยู่ในหนังสือดอกบัวบานในธารวรรกรรม โดย วรภ วรภา.

ทีมข่าววัฒนธรรม
 


ครูพันธุ์แท้

ตอบกระทู้เมื่อ
22 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 15
 
“...
คนเก่งต้องกร้านต้องหาญกล้า
มิรอนอ่อนล้าแรงละโหย
ต้องท้าพายุที่บดโบย
แม้เปลี่ยวเดียวโดยระหว่างดล...”
ชอบบทกวีนี้จังเลยค่ะ ขอมอบให้เป็นกำลังใจสำหรับคนรักโลกทุกคนเลยค่ะ
 


Krootanoi

ตอบกระทู้เมื่อ
22 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 16
ครูขา
ระเบิดลงอ.ก.ค.ศ.(ย่อมาจากอะไรน๊ะK.Juy)
 
สั่งเกลี่ยครูรร.ใหญ่ไปรร.เล็ก "อ๋อย"ได้ข้อสรุป อ.ก.ค.ศ.โยกย้ายตามใจครูกระทบภาพรวมการศึกษาอ่อนแอ
 
“อ๋อย” จี้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ภาคกลางทบทวนหลักเกณฑ์การโยกย้ายครู ชี้ครูดีมีคุณภาพกระจุกตัวโรงเรียนใหญ่ ทำให้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กขาดแคลนครูแก้ไม่จบ สั่งเกลี่ยเพื่อภาพรวมการศึกษาและอิงผลสัมฤทธิ์เด็ก พร้อมสั่งกระตือรือร้น ปรับปรุงเกณฑ์ประเมินความดีความชอบครู เน้นสะท้อนความจริง 
    นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวมอบนโยบายในการประชุมสัมมนาคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) ประจำเขตพื้นที่การศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.ประจำส่วนราชการ ในส่วนภาคกลาง ว่า อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ถือเป็นองค์กรหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลเขตพื้นที่ฯ ซึ่งการปฏิรูปโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ผ่านมาต้องการให้เขตพื้นที่ฯ มีบทบาทในการจัดการศึกษา โดยมี อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ มีบทบาทการบริหารงานบุคลากรควบคู่ไป แต่ทั้งนี้มีสิ่งหนึ่งที่อยากให้มีการปรับปรุงคือ การส่งเสริมพัฒนาองค์ความรู้ของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ จะต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง ในการยกระดับขีดความสามารถ รวมถึงการจัดหางบประมาณ เพื่อทำให้เกิดคุณภาพการทำงานดีขึ้น    ขณะเดียวกันก็อยากให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ เชื่อมโยงการบริหารงานบุคคลกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษานักเรียนในเขตพื้นที่ฯ นั้นด้วย รวมถึงการแก้ไขปัญหาครูที่กระจุกตัวอยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่ แล้วทำให้โรงเรียนขนาดเล็กอยู่ในภาวะขาดแคลนครูอย่างหนัก โดยเฉพาะครูสอนวิชาหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เพราะที่ผ่านมาครูส่วนใหญ่จะสอนไม่ตรงกับสาขาวิชาที่ตนเองเรียนจบมา ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการซ้ำเติมปัญหาขาดแคลนครูให้มากขึ้นไปอีก จึงไม่ต้องหวังว่าการพัฒนาคุณภาพการเรียนการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ จะประสบความสำเร็จได้ ดังนั้นจึงอยากให้มีการเกลี่ยครูจากโรงเรียนที่มีครูเกินไปในโรงเรียนที่มีครูขาด    นอกจากนี้ยังมีหลักเกณฑ์และวิธีการโยกย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในปัจจุบัน ของคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ที่ไม่เปิดช่องให้ ศธ.เข้าไปบริหารจัดการครูได้อย่างเต็มที่ เพราะหลักเกณฑ์การโยกย้ายนั้นมีรายละเอียดต่างๆ เช่น การโยกย้ายจะต้องเป็นไปตามความสมัครใจของครู ซึ่งตามข้อเท็จจริงครูที่เกินอยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่ก็จะไม่มีใครมาสมัครใจย้ายไปอยู่โรงเรียนอื่น หรือหลักเกณฑ์การย้ายให้ครูกลับภูมิลำเนานั้นบางครั้งเป็นการส่งครูกลับบ้านจริง แต่ไม่ได้พิจารณาว่าครูคนนั้นได้กลับไปสอนตรงตามวิชาเอกหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการแก้ปัญหาหนึ่ง แต่ไปซ้ำเติมปัญหาขาดแคลนครู อย่างไรก็ตาม ตนอยากให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ได้รวบรวมปัญหาทั้งหมด ว่าหลักเกณฑ์ใดบ้างที่ติดขัดไม่สามารถกระจายครูได้อย่างทั่วถึง เพื่อเสนอให้ ก.ค.ศ.ปรับแก้หลักเกณฑ์ดังกล่าว
    “การแก้ปัญหาครูเกินและครูขาดคือการตัดโอนอัตรากำลังจากโรงเรียนที่มีครูเกินไปยังโรงเรียนที่มีครูขาด ซึ่งจะเป็นการบังคับโดยอัตโนมัติให้ครูต้องย้ายตามอัตราไปในโรงเรียนที่ขาดครู ขณะเดียวกันจะให้ ก.ค.ศ.ไปศึกษาหลักเกณฑ์การโยกย้ายภาพรวมทั้งหมดด้วย ซึ่งผมเห็นว่าหลักเกณฑ์การโยกย้ายไม่ควรคำนึงถึงความสมัครใจ และดูแลให้ครูที่อยู่ภูมิลำเนาได้ย้ายกลับบ้าน ขณะเดียวกันการโยกย้ายนั้นจะต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ในการจัดการศึกษา ความเท่าเทียมระหว่างโรงเรียน ความเป็นธรรม และการส่งเสริมให้ครูมีโอกาสพัฒนาตนเองด้วย” นายจาตุรนต์กล่าว
    นอกจากนี้ยังฝากให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ไปปรับปรุงเกณฑ์พิจารณาความดีความชอบด้วย เพราะปัจจุบันไม่ว่าครูจะทำหน้าที่การสอนหรือไม่ตั้งใจทำหน้าที่ ครูก็จะได้รับการพิจารณาความดีความชอบทุกคน เท่ากับว่า อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ และผู้บริหารโรงเรียนไม่ได้มีหน้าที่พิจารณาความดีความชอบเลย ดังนั้นจึงอยากให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ปรับเกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบ เพื่อให้เป็นไปตามผลการปฏิบัติงานจริงของครู ซึ่งจะส่งเสริมให้ครูทำงานแข่งขันกันมากขึ้น.


สสกร

ตอบกระทู้เมื่อ
22 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 17


สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved