Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14322966  

กระดานแสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ    

KROOPAD

ตั้งกระทู้เมื่อ
25 ส.ค. 2556
  ชุมชนต้นแบบแห่งการใฝ่รู้สู่ความพอเพียง
 
 
‘บ้านน้ำทรัพย์’ ชุมชนต้นแบบแห่งการใฝ่รู้สู่ความพอเพียง

อรนุช วานิชทวีวัฒน์ : http://www.dailynews.co.th/education/227842

“บ้านน้ำทรัพย์” ชุมชนขนาด 128 ครัวเรือน มีประชากรกว่า 450 คน เป็นชุมชนที่อยู่บนพื้นที่สูงเหนือเขื่อนแก่งกระจาน ห่างจากจังหวัดเพชรบุรีประมาณ 60 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอแก่งกระจานประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่ล้อมรอบด้วยภูเขาสูงต่ำสลับกันไป ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักด้านการเกษตร ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประมงน้ำจืด การเดินทางไม่ยากลำบากนักเพราะมีถนนลาดยางเข้าถึง แต่การโทรคมนาคมยังเป็นจุดอ่อน เพราะเป็นหมู่บ้านที่ไม่มีโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ใช้ได้บ้างไม่ได้บ้าง ส่วนไฟฟ้าก็จะมีปัญหาติด ๆ ดับ ๆ บ่อยครั้งในช่วงหน้าฝน

“บ้านน้ำทรัพย์” เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ได้ชื่อว่า มีจุดเด่นเรื่องความพอเพียง ชาวบ้านมีความรักใคร่สามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเอื้ออาทรและร่วมกันทำกิจกรรมของชุมชนอย่างพร้อมเพรียง เรียกว่า เป็นหมู่บ้านต้น แบบการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัดเพชรบุรี ถึงแม้จะมีความอุดมสมบูรณ์แต่ก็ไม่ได้สะดวกสบายไปเสียทั้งหมด แต่ชาวบ้านก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขตามที่มีที่หามาได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง จัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแก่งกระจาน (กศน.อำเภอแก่งกระจาน) เป็นพี่เลี้ยงในการจัดแสวงหาความรู้และถอดบทเรียนเพื่อการขยายผล

นางสุนันทา การะเวก ผอ.กศน.อำเภอแก่งกระจาน บอกว่า คนที่นี่อยู่อย่างพอเพียง ทำกินทำใช้ในชุมชน พอเหลือก็เอาออกไปขายข้างนอก วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตก็ใช้ของที่มีอยู่ในชุมชน เป็นชุมชนที่โดดเด่นมากเรื่องความพอเพียง อยู่กันอย่างช่วยเหลือเกื้อกูล มีธนาคาร มีเครดิตยูเนียน มีการทำบัญชีครัวเรือน 100% มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมมากมายทั้งเพื่อการดำรงชีวิต ความอยู่รอด กินดีอยู่ดี และสงบสุขของทั้งตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม เช่น กลุ่มเครดิตยูเนียน กลุ่มพิทักษ์ป่า กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ กลุ่มน้ำยาซักผ้า, ถูพื้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรประมงน้ำจืด กลุ่มทำปลาส้ม-ไข่เค็ม กลุ่มทำน้ำสมุนไพร กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กลุ่มผู้เลี้ยงแพะ กลุ่มทำขนมทองม้วน กลุ่มทำเกษตรปลอดสารพิษ กลุ่มเลี้ยงไก่ชนเพื่อการจำหน่าย และกลุ่มเลี้ยงโค เป็นต้น

“มีหลายกลุ่มอาชีพที่ชาวบ้านทำกินทำใช้แล้วนำออกไปขายนอกชุมชนจนมีชื่อเสียงสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกของกลุ่ม โดยเฉพาะขนมทองม้วน มะนาว และปลาส้ม ซึ่งขายดีมาก เรียกว่าทำขายกันไม่ทัน จากความสำเร็จของชุมชนนี้ กศน.จังหวัดเพชรบุรีเห็นว่าน่าจะมีการขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ เมื่อปีที่ผ่านมา จึงได้เข้าไปทำวิจัยในชุมชนและสามารถถอดองค์ความรู้ได้มา 4 หลักสูตรแล้ว คือ การเลี้ยงแพะ การเลี้ยงไก่ชน การปลูกผักปลอดสารพิษ การทำขนมทองม้วน และได้มีการขยายผลโดยให้ผู้นำและคน
ในชุมชนออกไปช่วยเผยแพร่ความรู้ ในอำเภออื่น ๆ เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้” ผอ.สุนันทา กล่าวชุมชนแห่งนี้มีผลงานมากมายจากความสามัคคีและการมีส่วนร่วมของชุมชน จนได้รับรางวัลมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 รายการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรางวัลที่สร้างความภาคภูมิใจสูงสุดคือ รางวัลพระราชทานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็นเป็นสุข จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปี 2552 และยังได้เป็นหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติของหน่วยงานต่าง ๆ อีกหลายหน่วยงาน

ว่ากันว่าการที่ชุมชนใดจะยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง ต้องมีผู้นำที่เข้มแข็ง ซึ่งที่บ้านน้ำทรัพย์ก็เป็นเช่นนั้น ผู้ใหญ่ ชูชาติ วรรณขำ เล่าว่า เริ่มแรกก็ไม่รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร ก็มีหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะ กศน.และเครือข่ายเข้ามาให้ความรู้ ทำให้เข้าใจได้ว่า คำว่าเศรษฐกิจพอเพียง คือ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ใช้ทรัพยากรในหมู่บ้านก่อน พอเริ่มรู้ก็มาทดลองทำ ตอนแรกทำเห็ดด้วยทะลายปาล์ม แต่เนื่องจากต้องไปซื้อทะลายปาล์มจากข้างนอกทำให้ต้นทุนสูงจึงไม่ประสบความสำเร็จ ก็มาเริ่มต้นใหม่ ทำสระน้ำหน้าบ้านเลี้ยงปลากินกันเอง ปลูกผักริมรั้ว แล้วขยายผลใช้กระบวนการกลุ่ม คนที่มารวมกลุ่มก็มาช่วยกันทำงานในกลุ่ม ซึ่งก็จะได้ทั้งค่าแรงและปันผล โดยมีการทำบัญชีที่โปร่งใส ส่งเสริมชาวบ้านให้ทำบัญชีครัวเรือน อยากทำอาชีพอะไรเราก็มาประชาคมกันช่วยกันคิดแล้วก็พากันไปหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ แล้วกลับมาทำ

“วันนี้เรามีกลุ่มอาชีพเยอะมาก จากที่ทำใช้กันในชุมชนก็ขยายออกไปขายข้างนอก ช่วยกันทำยอดทำการตลาด แล้วเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้ามาร่วมหุ้นได้ แต่การทำงานเราเปลี่ยนแนวคิดจากที่เมื่อก่อนจะให้ทุกคนต้องช่วยกันทำ แต่ผลคืองานที่ออกมาอาจไม่ได้มาตรฐาน เราก็มาเปลี่ยนใหม่เป็นให้คนที่ถนัดมาทำแล้วได้ค่าแรง และปันผลจากกำไร ส่วนคนที่ไม่ได้เข้ามาทำงานก็รอรับปันผลไป วิธีนี้ช่วยให้ชาวบ้านอยู่ดีกินดีมีชีวิตที่ดีขึ้น คนที่เคยเป็นหนี้ก็มีหนี้ลดลง หรือที่มีหนี้เพิ่มก็เป็นหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ เพราะเราส่งเสริมให้ลงทุนจะมารวมกลุ่มหรือทำส่วนตัวก็ได้ และส่งเสริมให้ฝึกอาชีพพัฒนาตนเอง เพื่อจะได้ไม่เป็นหนี้ที่สูญเปล่าแต่เป็นหนี้ที่มีรายได้” ผู้ใหญ่ชูชาติกล่าวพร้อมกับย้ำว่า บ้านน้ำทรัพย์ หมู่ 9 ต.แก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เป็นหมู่บ้านที่เปิดและยินดีต้อนรับผู้ที่จะเข้ามาศึกษาดูงานตลอดเวลา โดยมีฐานการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ถอดเป็นบทเรียนพร้อมที่จะถ่ายทอดให้กับทุก ๆ คน

เตง หรือ จตุพล จันทร์เพ็ญ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นเจ้าของสวนมะนาวกว่าพันต้น เป็นมะนาวแป้นที่ปลูกโดยการเพาะเมล็ดไม่ใช้สารเคมี ให้ลูกดกมาก ๆ น้ำก็เยอะ เตงเป็นคนหนึ่งของบ้านน้ำทรัพย์ที่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ลองผิดลองถูกมานาน เก็บเกี่ยวประสบการณ์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จากที่เคยเป็นหนี้เป็นสิน 2 ปีนี้ล้างหนี้หลายล้านได้แล้ว และยินดีถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ทุกคนเช่นกัน

ถ้ามีโอกาสเข้าไปเยือนหมู่บ้านแห่งนี้เชื่อว่าต้องได้อะไรดี ๆ กลับออกมาแน่นอน.



Krootanoi

ตอบกระทู้เมื่อ
25 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 1



เจได

ตอบกระทู้เมื่อ
25 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 2

ถ้าคุณไม่มีความรัก กิจกรรมที่แสดงออกภายนอกก็ไม่มีคุณค่า  แต่อะไรก็ตามที่ทำด้วยความรัก  ไม่ว่าจะเล็กน้อยหรือหยุมหยิมแค่ไหน ก็จะเกิดผลเต็มที่  เพราะเหตุที่พระเจ้าทรงให้น้ำหนักที่ความรักที่ดลใจให้ผู้นั้นกระทำ มากกว่าตัวกิจกรรมนั้นเอง

ผู้ที่รักมากก็กระทำมาก  ผู้ที่กระทำสิ่งใดอย่างดีก็กระทำมาก  ผู้ที่ปฏิบัติเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าเห็นแก่ประโยชน์ของตนเองก็กระทำการดี

แต่ว่า  สิ่งที่ดูเหมือนว่าเป็นความรัก  แท้จริงแล้วบ่อยครั้งเกิดจากราคะตัณหา  เพราะมีน้อยครั้งที่ไม่มีแรงจูงใจอันประกอบด้วยความปรารถนาของตนเอง  เจตนาของตนเอง  การหวังรางวัล  และการเห็นแก่ประโยชน์ของตนเอง  แต่ตรงข้าม  บุคคลที่มีความรักแท้จริงและสมบูรณ์แบบ  ย่อมไม่แสวงหาสิ่งใดเพื่อตนเอง  แต่แสวงหาพระเกียรติของพระเจ้าในทุกสิ่งทุกอย่าง  ยิ่งไปกว่านั้น  เขาจะไม่อิจฉาผู้ใด  เพราะเขาไม่ต้องการความสนุกสนานสำหรับตนเอง  และไม่ต้องการความชื่นชมยินดีในตัวเอง  แต่เหนือสิ่งอื่นใด  เขาปรารถนาจะให้พระผู้เป็นเจ้าทรงได้รับพระเกียรติมากยิ่งขึ้น  เขาไม่ยกคุณงามความดีใด ๆ ให้แก่มนุษย์  แต่ถือเอาว่าสิ่งดีนั้นเป็นของพระเจ้า  ผุ้ที่เป็นแหล่งกำเนิดของสรรพสิ่งที่หลั่งไหลออกมาจากพระองค์ เหมือนหลั่งมาจากน้ำพุ  และในพระองค์นั้น บรรดาผู้ที่รับพระพรจะถึงที่หยุดพัก  ถึงจุดหมายปลายทาง และรับผลแห่งชีวิต

ถ้าเพียงแต่มนุษย์จะมีแค่ประกายแห่งความรักแท้  เขาก็น่าจะเข้าใจว่าสิ่งสารพัดที่เป็นของโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งที่เปล่าประโยชน์

 

จากหนังสือ เลียนแบบพระคริสต์ (Of The Imitation of Christ)

เขียนโดย โธมัส อาเคมพิส (Thomas à Kempis)

 แปลโดย พญ. เออร์ซูลา โลเวนธอล



KET

ตอบกระทู้เมื่อ
25 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 3
อยากให้ทุกชุมชนนำมาเป็นแบบอย่าง ถ้าทั่วประเทศไทยทำได้อย่างนี้จะมีความสุขกันแค่ไหนหนอ ต้องอาศัยผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งแล้ว  บทความข้างบนเป็นพระคัมภีร์ใช่มั้ย ทุกศาสนาต่างต้องการให้มวลมนุษย์สร้างแต่ความดีด้วยกันทั้งสิ้น คนไทยเราโชคดีที่เกิดบนแผ่นดินไทยที่มีอิสระเสรีในการนับถือศาสนา น้อมนำเอาสิ่งที่ดีดีมาสร้างโลกให้สวยงามกันดีกว่า "ถ้าเพียงแต่มนุษย์จะมีแค่ประกายแห่งความรักแท้  เขาก็น่าจะเข้าใจว่าสิ่งสารพัดที่เป็นของโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งที่เปล่าประโยชน์"


บัวบก

ตอบกระทู้เมื่อ
25 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 4

อำนาจที่ยิ่งใหญ่ของใจ

http://www.dhammajak.net/book-somdej2/9.html

๐   “ความพอ” เป็นเรื่องของใจ
ความคิดอย่างหนึ่ง  ที่สมควรฝึกให้เกิดขึ้นเป็นประจำ  คือ ความคิดว่า “พอ”  คิดให้ “รู้จักพอ”ผู้รู้จักพอจะเป็นผู้ที่มีความสบายใจ  ส่วนผู้ไม่รู้จักพอจะเป็นผู้ร้อนเร่า  แสวงหาไม่หยุดยั้ง  ความไม่รู้จักพอมีอยู่ได้แม้ในผู้เป็นใหญ่เป็นโต  มั่งมีมหาศาล  และความรู้จักพอก็มีได้แม้ในผู้ที่ยากจนต่ำต้อย  ทั้งนี้เพราะความพอเป็นเริ่องของใจที่ไม่เกี่ยวกับฐานะภายนอก  คนรวยที่ไม่รู้จักพอ  ก็เป็นคนจนอยู่ตลอดเวลา คนที่รู้จักพอ ก็เป็นคนมั่งมีอยู่ตลอดเวลา

๐   การยกระดับใจให้มั่งมีนั้นทำได้ทุกคน
การยกฐานะจากยากจนให้มั่งมีนั้น  ทำได้ไม่ง่าย  บางคนตลอดชาตินี้อาจทำไม่สำเร็จ  แต่การยกระดับใจให้มั่งมีนั้น  ทำได้ทุกคน  แม้มีความมุ่งมั่นจะทำจริงคนรู้จักพอไม่ใช่คนเกียจคร้าน  และคนเกียจคร้านก็ไม่ใช่คนรู้จักพอ  ควรทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ถูกต้อง แล้วอบรมตนเองให้ไม่เป็นคนเกียจคร้าน  แต่ให้เป็นคนรู้จักพอเมื่อรู้สึกไม่สบายใจ  ให้รีบระงับเสียทันที  อย่าชักช้า  ตั้งสติให้ได้ในทันที  รวมใจให้ความคิดวุ่นวายไปสู่เรื่องอันเป็นเหตุแห่งความทุกข์ความไม่สบายใจ  อย่าอ้อยอิ่งลังเลว่าควรจะต้องคิดอย่างนั้นก่อน  ควรจะต้องคิดอย่างนี้ก่อน  ทั้งๆที่ความไม่สบายใจหรือความร้อนเริ่มกรุ่นขึ้นในใจแล้ว ถ้าต้องการความสบายใจ  ก็ต้องเชื่อว่าไม่มีความคิดใดทั้งสิ้นที่จำเป็นต้องคิดก่อนทำใจให้รวมอยู่  ไม่ให้วุ่นวายไปในความคิดใดๆ ทั้งนั้น  ต้องเชื่อว่าต้องรวมใจไว้ให้ได้  ในจุดที่ไม่มีเรื่องอันเป็นเหตุแห่งความร้อนเกี่ยวข้อง

๐   การจะทำให้ความยากลำบากคลี่คลาย ต้องกระทำเมื่อจิตใจสงบเยือกเย็นแล้วเท่านั้นที่ท่านสอนให้ท่องพุทโธก็ตาม  ให้ดูลมหายใจเข้าออกก็ตามนั่นคือการสอนเพื่อให้ใจไม่วุ่นวายซัดส่ายไปหาเรื่องร้อน  เป็นวิธีที่จะให้ผลแท้จริงแน่นอนไม่ว่าจะเผชิญกับความลำบากกายใจอย่างใดทั้งสิ้น ให้มั่นใจว่าการจะทำให้ความยากลำบากนั้นคลี่คลาย จะต้องกระทำเมื่อจิตใจสงบเยือกเย็นแล้วเท่านั้นใจที่เร่าร้อน  ขุ่นมัว  ไม่อาจคิดนึกตรึกตรองให้เห็นความปลอดโปร่งได้  ไม่อาจช่วยให้ร้ายกลายเป็นดีได้

๐   ใจที่สงบ  เยือกเย็น  มีสติปัญญาเข้มแข็งมาก
อย่าคิดว่าเป็นความงมงาย  เป็นการเสียเวลา  ที่จะปฏิบัติสิ่งที่เรียกกันว่า “ธรรม” ในขณะที่กำลังมีปัญหาประจำวันวุ่นวายขอให้เชื่อว่า  ยิ่งมีปัญหาชีวิตมากมายหนักหนาเพียงไร  ยิ่งจำเป็นต้องทำจิตใจให้สงบเยือกเย็นเพียงนั้นพยายามฝืนใจไม่นึกถึงปัญหายุ่งยากทั้งหลายเสียชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย  เพื่อเตรียมกำลังไว้ต่อสู้แก้ไข  กำลังนั้นคืออำนาจที่เข้มแข็งบริบูรณ์ด้วยปัญญาของใจที่สงบใจที่สงบ มีพลังเข้มแข็ง  และเข้มแข็งทั้งสติปัญญา  ใจที่สงบจะทำให้มีสติปัญญามากและแจ้มใส  ไม่ขุ่นมัว
ความแจ่มใสนี้เปรียบเหมือนแสงสว่าง  ที่สามารถส่องให้เห็นความควรไม่ควร  คือควรปฏิบัติอย่างไร  ไม่ควรปฏิบัติอย่างไรใจที่สงบก็จะรู้ชัดถูกต้อง  ตรงกันข้ามกับใจที่วุ่นวายไม่แจ่มใสซึ่งเปรียบเหมือนความมืด  ย่อมไม่สามารถช่วยให้เห็นความถูกต้อง ความควรไม่ควรได้  มีแต่จะพาให้ผิดพลาดเท่านั้น

๐   หมั่นพิจารณาให้เห็นโทษของความโลภ
ความโลภ ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นได้เลย  วัตถุสิ่งของเงินทองทั้งหลายที่ได้จากความโลภนั้น ดูเผินๆ เหมือนเป็นการยกฐานะ เพิ่มความมั่นคง แต่ลึกลงไปเป็นการทำลายมากกว่า สิ่งที่ได้รับจากความโลภ  มักจะเป็นสิ่งที่ไม่สมควร มักจะเป็นการได้จากความต้องการเสียของผู้อื่น  ผู้อื่นทั้งหลายที่ต้องเสียนั่นแหละจะเป็นเหตุทำลาย  ความไม่ไว้วางใจของคนทั้งหลายจะเป็นเครื่องทำลายอย่างยิ่ง  จะเป็นเหตุให้อะไรร้ายๆตามมาเมื่อถึงเวลา  อะไรร้ายๆนั้นก็จะทำลายผู้มีความโลภจนเกินการเมื่อเวลานั้นมาถึงก็จะสายเกินไป  จนไม่มีผู้ใดจะช่วยได้  ฉะนั้นก็ควรหมั่นพิจารณาให้เห็นโทษของกิเลสคือความโลภเสียตั้งแต่ยังไม่สายเกินไป

๐   นับถือพระพุทธเจ้า  ต้องนับถือให้ถึงใจ
ถ้าความโลภเป็นความดี  พระพุทธเจ้าก็จักไม่ทรงสอนให้ละความโลภ  และพระองศืเองก็จะไม่ทรงพากเพียรปฏิบัติละความโลภ จนเป็นที่ปรากฏประจักษ์ว่าทรงละความโลภได้อย่างหมดจนสิ้นเชิง เป็นแบบอย่างที่บริสุทธิ์  สูงส่ง ยั่งยืนอยู่ตลอดมาจนทุกวันนี้  แม้ว่าจะได้ทรงดับขันธปรินิพพานไปแล้วกว่าสองพันห้าร้อยปีเราเป็นพุทธศาสนิก  นับถือพระพุทธเจ้า  อย่าให้สักแต่ว่านับถือเพียงที่ปาก  ต้องนับถือให้ถึงใจ  การนับถือให้ถึงใจนั้นต้องหมายความว่า ทรงสอนให้ปฏิบัติอย่างไร  ต้องตั้งใจทำตามให้เต็มสติปัญญาความสามารถที่สวดกันว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ  ข้ามเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งธัมมัง สรณัง คัจฉามิ  ข้ามเจ้าถึงพระธรรมเจ้าเป็นที่พึ่ง
สังฆัง  สรณัง  คัจฉามิ  ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่งหมายถึง จะปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า พระธรรม  และพระสงฆ์ อย่างจริงจัง

๐   เมื่อมีพระพุทธ พระธรรม  พระสงฆ์  เป็นที่พึ่งและปฏิบัติตาม  จะได้รับความสุขสวัสดีอย่างยิ่งพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอนให้สวดมนต์เพื่อขอร้องวิงวอน  ให้ทรงบันดาลให้เกิดความสุขสวัสดีโดยเจ้าตัวเองไม่ปฏิบัติดีความหมายในบทสวดมีอยู่บริบูรณ์  ที่ผู้สวดจะได้รับผลเป็นความสุขความเจริญรุ่งเรืองถ้าปฏิบัติตาม  แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามความหมายของบทสวดมนต์  หรือเช่นไม่ปฏิบัติตามที่สวดว่าข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า  พระธรรม  พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง  ก็จะไม่ได้รับผลอันเลิศที่ควรได้รับเลย  ฉะนั้นจึงควรปฏิบัติให้ได้ถึงพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง  คือปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติ  ปฏิบัติตามพระธรรมที่ทรงสั่งสอน  และปฏิบัติตามพระสงฆ์สาวกที่ปฏิบัติเป็นแบบอย่างไว้เกิด จะได้รับความสุขสวัสดีอย่างยิ่งตลอดไป  ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม

๐   ความเห็นถูกไม่ตลอด  ทำให้เกิดกิเลส
“ไม่มีผู้ใดเลยที่เห็นว่า  ความโลภ  ความโกรธ ความหลง เป็นความดี” 
ทุกคนเห็นว่าไม่ดีด้วยกันทั้งนั้น  นับว่าเป็นความเห็นถูก  แต่เพราะเห็นถูกไม่ตลอด  จึงเกิดปัญหาในเรื่องกิเลสสามกองนี้ขึ้นที่ว่าเห็นถูกไม่ตลอดก็คือ  แทบทุกคนไปเห็นว่าคนอื่นโลภโกรธหลงไม่ดี  แต่ไม่เห็นด้วยว่าตนเองโลภโกรธหลงก็ไม่ดีเช่นกัน กลับเห็นผิดไปเสียว่าความโลภโกรธหลงที่เกิดขึ้นในใจตนนั้น  ไม่มีอะไรไม่ดี  นี่คือความเห็นถูกไม่ตลอด  ไปยกเว้นที่ว่าดีที่ตนเองเมื่อเห็นผู้อื่นที่ไม่โลภโกรธหลงน่ารังเกียจเพียงใด ให้เห็นว่าตนเองที่มีความโลภโกรธหลงนั้นน่ารังเกียจยิ่งกว่า  แล้วพยายามทำตนให้พ้นจากความน่ารังเกียจนั้นให้เต็มสติปัญญาความสามารถจะเรียกได้ว่าผู้มีปัญญา  ไม่ปล่อยตนให้ตกอยู่ใต้ความสกปรกของความโลภโกรธหลง


๐   เมื่อเห็นคนโลภ  คนโกรธ  คนหลง  นับเป็นโอกาสอันงาม  ที่จะนำมาพิจารณาตนเองโอกาสที่จะได้เห็นคนโลภคนโกรธคนหลงมีอยู่ทุกเวลานาที  เรียกได้ว่าโอกาสที่จะดูตนเองให้เห็นโทษเห็นผิดของตนเองนั้น  มีอยู่มากมายทุกเวลานาทีเช่นเดียวกัน  สำคัญที่ว่าจะต้องไม่ละเลยปล่อยโอกาสอันงามนั้นให้พ้นไป  อย่าลืมนึกถึงตนเองด้วยทุกครั้งไปที่พบเห็นคนโลภ  คนโกรธ  คนหลงการแก้ความวุ่นวายทั้งหลายนั้น  ที่ถูกแท้จะให้ผลจริง  ต้องต่างคนต่างพร้อมใจกันแก้ที่ตัวเองเท่านั้น  พร้อมใจกันและแก้ที่ตัวเองเท่านั้นที่จะให้ผลสำเร็จได้จริง

๐   อำนาจที่ยิ่งใหญ่ของใจ
ไม่มีอำนาจของบุคคลอื่นใด  ที่จะสามารถบังคับบัญชาให้ใครหันเข้าแก้ไขตนเองได้ นอกจากอำนาจใจของเจ้าตัวเองเท่านั้นที่จะบังคับตัวเอง  จึงจะสามารถนำให้หันเข้าแก้ไขตนเอง ควรพยายามทำความเชื่อให้แน่นอนมั่นคงสียก่อน  ว่าการแก้ที่ตนเองนั้นสำคัญที่สุด  ต้องกระทำกันทุกคน  ผลดีของส่วนรวมของชาติ  ของโลกจึงจะเกิดขึ้นได้ทุกคน ขอให้เริ่ทฃมแก้ที่ตัวเองก่อน  แก้ให้ใจวุ่นวายเร่าร้อนด้วยอำนาจของกิเลสมีโลภโกรธหลง  ให้กลับเป็นใจที่สงบเย็นบางเบาจากกิเลสคือโลภโกรธหลงที่เคยโลภมาก..ก็ให้ลดลงเสียบ้าง  ที่เคยโกรธแรง..ก็ให้โกรธเบาบางลง  ที่เคยหลงจัด..ก็ให้พยายามให้สติปัญญาให้ถูกตามความจริงให้มากกว่าเดิม  ตนเองจะเป็นผู้สงบเย็นก่อน  ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดความสงบเย็นกว้างขวางออกไปได้อย่างไม่ต้องลังเลสงสัย



Pimchanok

ตอบกระทู้เมื่อ
25 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 5
"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 50 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตลอดมาเพื่อเป็นแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน "ทางสายกลาง" โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์  รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวต่อผลกระทบใดที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้พร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ขอแสดงความชื่นชมกับหมู่บ้านน้ำทิพย์ค่ะ


เจ_เจ

ตอบกระทู้เมื่อ
25 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 6

เป็นชุมชนหนึ่งที่พิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์ได้ว่า ต้นตอของปัญหาความยากจนไม่ใช่เพียงแค่การขาดโอกาสและด้อยความสามารถในการดูแลตัวเองเท่านั้น แต่เป็นปัญหาวัฒนธรรมและความเป็นธรรมในสังคมต่างหาก จริงๆแล้วต้นตอของปัญหาความยากจนคือปัญหาความไม่เป็นธรรม! วิธีแก้ปัญหาก็ต้องทำให้สังคมมีความเป็นธรรมขจัดความเหลื่อมล้ำทุกด้านให้เหลือน้อยที่สุด แล้วผลพวงจากความเจริญเติบโตจะได้กระจายออกไปทั่วถึงกันไม่ใช่รวยกระจุกอยู่ที่ จนไปกระจายอีกที่ สังคมพื่งพาต้องยั่งยืน พึ่งพาซึ่งกันและกันไม่ใช่พึ่งพารัฐ แล้วพัฒนาได้ถึงพื่งพาตนเองทำได้อย่างนี้จึงจะอยู่รอด



เรือกระดาษ

ตอบกระทู้เมื่อ
25 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 7

การพัฒนาชุมชนด้วยการสร้างเครือข่ายให้มีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นกรอบคิดหรือส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยทุกคน ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาความยากจนและปัญหาอื่นๆ ของสังคมไทยได้มากเลยทีเดียว เริ่มจากชุมชนของเรากันเลยดีกว่า บางทีต้องเตรียมวิถีชีวิตแบบไม่ใช้เงินแบบย้อนยุค มีอะไรก็เอามาแลกเปลี่ยนกัน ภาวะเศรษกิจเราลอยตัวเลยไม่ต้องขึ้นกับตลาดโลกให้เป็นทุกข์เป็นร้อนทุกหย่อมหญ้า



ครูพันธุ์แท้

ตอบกระทู้เมื่อ
25 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 8
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" มานานกว่า30 ปี ซึ่งได้มีการขานรับนำแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติกันหลายหน่วยงาน แต่คนส่วนมากมักเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของเกษตรกรในชนบทเท่านั้น แต่แท้ที่จริงผู้ประกอบอาชีพอื่น เช่น พ่อค้า ข้าราชการ และพนักงานบริษัทต่างๆ สามารถนำแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ได้


kobkaew

ตอบกระทู้เมื่อ
25 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 9

เห็นด้วยกับครูพันธุ์แท้ค่ะ เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้จำกัดเฉพาะเกษตรกรหรือชาวไร่ชาวนา แต่เป็นเศรษฐกิจของทุกคนทุกอาชีพ ทั้งที่อยู่ในเมืองและอยู่ในชนบท   ประชาชนก็จะต้องไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัว สำหรับเกษตรกรทำไร่ทำนา ปลูกพืชแบบผสมผสานในที่แห้งแล้งตามแนว "ทฤษฎีใหม่" ได้สำเร็จ หากไม่มีความพอประมาณในใจตน ก็ย่อมไม่ถือว่าประพฤติตนอยู่ในระบบเศรษฐกิจพอเพียง        เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นพระราชดำรัสที่พระราชทานให้ประชาชนดำเนินตามวิถีแห่งการดำรงชีพที่สมบูรณ์ ศานติสุข โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และใจตนเป็นที่สำคัญ ซึ่งแท้ที่จริงก็คือวิถีชีวิตไทยที่ยึดเส้นทางสายกลางของความพอดีนั่นเอง ขอบคุณตัวอย่างดีดีที่ทำให้เกิดกำลังใจนะคะ



KTC

ตอบกระทู้เมื่อ
25 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 10
มีอะไรดีดีก็เอามาเล่าสู่กันฟัง เดี๋ยวเกษตรกรป้ายแดงจะตามไปดูครับสนใจเรื่องเกษตรชุมชนอยู่มากๆ เราผลิต เราจำหน่ายในชุมชนเหมือนนโยบาย ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญที่เคยคิดกันมาตั้งแต่สามสิบปีก่อนโน่น ถ้าทำกันมาจริงจังป่านนี้คงไม่เดินต๊อกต๊อกตามหาอันดับกันอย่างนี้


k.juy

ตอบกระทู้เมื่อ
25 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 11

หลักการพึ่งตนเอง หากขยายความออกไป อาจจะสามารถยึดหลักสำคัญของความพอดีได้ 5 ประการครับ 
           ความพอดีด้านจิตใจ : ต้องเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประณีประนอม นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
           ความพอดีด้านสังคม : ต้องมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง และที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคงและแข็งแรง
           ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด และที่สำคัญใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงอยู่เป็นขั้นเป็นตอนไป
           ความพอดีด้านเทคโนโลยี : รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง และสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง
           ความพอดีด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่ พอกิน สมควรตามอัตตภาพ และฐานะของตน



บ่าวรัฐ

ตอบกระทู้เมื่อ
25 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 12


          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง มาตั้งแต่เริ่มงานพัฒนาเมื่อ 50 ปี ที่แล้ว และทรงยึดมั่นหลักการนี้มาโดยตลอด โดยเฉพาะด้านการเกษตร เราเคยเน้นการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกเป็นเชิงพาณิชย์ คือ เมื่อปลูกข้าวก็นำไปขาย และก็นำเงินไปซื้อข้าว แต่ชาวนาเราเมื่อเงินหมดก็จะไปกู้ เป็นอย่างนี้มาโดยตลอดจนกระทั่งชาวนาไทยตกอยู่ในภาวะหนี้สิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาด้านนี้ จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งธนาคารข้าว ธนาคารโค-กระบือขึ้น เพื่อช่วยเหลือราษฎรนับเป็นจุดเริ่มต้นแห่งที่มาของ "เศรษฐกิจพอเพียง"ทรงกำชับหน่วยราชการไม่ให้นำเครื่องมือกลหนักเข้าไปทำงาน รับสั่งว่าหากนำเข้าไปเร็วนัก ชาวบ้านจะละทิ้งจอบ เสียม และในอนาคตจะช่วยตัวเองไม่ได้ ซึ่งก็เป็นจริงในปัจจุบัน



บ่าวรัฐ

ตอบกระทู้เมื่อ
25 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 13
(ต่ออีกหน่อย)
พระองค์ท่านทรงพระราชทานพระราชดำริเพื่อให้เกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศมีความแข็งแรงพอ ก่อนที่จะไปผลิตเพื่อการค้าหรือเชิงพาณิชย์ โดยยึดหลักการ "ทฤษฎีใหม่" 3 ขั้น คือ
 
           ขั้นที่ 1 มีความพอเพียง เลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัดและขจัดการใช้จ่าย
           ขั้นที่ 2 รวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการ การศึกษา การพัฒนาสังคม
           ขั้นที่ 3 สร้างเครือข่าย กลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย โดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ภาคองค์การพัฒนาเอกชน และภาคราชการในด้านเงินทุน การตลาด การผลิต การจัดการและข่าวสารข้อมูล
          
         สำหรับในภาคอุตสาหกรรม ก็สามารถนำ "เศรษฐกิจพอเพียง" มาประยุกต์ใช้ได้ คือ เน้นการผลิตด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง และไม่ควรทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกินไป เพราะหากทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ก็จะต้องพึ่งพิงสินค้าวัตถุดิบและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อนำมาผลิตสินค้า เราต้องคำนึงถึงสิ่งที่มีอยู่ในประเทศก่อน จึงจะทำให้ประเทศไม่ต้องพึ่งพิงต่างชาติอย่างเช่นปัจจุบัน ดังนั้น เราจะต้องช่วยเหลือประเทศให้มีความเข้มแข็ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เป็นผู้จุดประกายระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ซึ่งจะเป็นการช่วยลด ปัญหาการนำเข้าวัตถุดิบ และชิ้นส่วนที่เรานำมาใช้ในการผลิตให้เป็นลักษณะพึ่งพา ซึ่งมีมาแล้วเกือบ 20 ปี แต่ทุกคนมองข้ามประเด็นนี้ไป ตลอดจนได้รับผลจากภายนอกประเทศทำให้ประชาชนหลงลืม และมึนเมาอยู่กับการเป็นนักบริโภคนิยม รับเอาของต่างชาติเข้ามาอย่างไม่รู้ตัว และรวดเร็วจนทำให้เศรษฐกิจของไทยตกต่ำ
 


k.juy

ตอบกระทู้เมื่อ
25 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 14
การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
           1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง ดังพระราชดำรัสว่า   ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง. . .
           2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม ดังพระราชดำรัสที่ว่า   ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจาก การประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพ ของตนเป็นหลักสำคัญ. . .
           3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังอดีต ซึ่งมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ว่า  ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา และการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น. . .
           4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางในชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้ โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ พระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ให้ความชัดเจนว่า
          การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่ จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่ง และขั้นต่อไป ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง. . .
           5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงในครั้งนี้ เพราะยังมีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่ดำเนินการโดยปราศจากละอายต่อแผ่นดิน พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราโชวาทว่า . . . พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น พยายามลด พยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษา และเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น. . .
 ทรงย้ำเน้นว่าคำสำคัญที่สุดคือ คำว่า "พอ" ต้องสร้างความพอที่สมเหตุสมผลให้กับตัวเองให้ได้และเราก็จะพบกับความสุข


คลื่นใต้น้ำ

ตอบกระทู้เมื่อ
25 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 15
เศรษฐกิจพอเพียง อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการดำเนินชีวิตหรือวิถีชีวิตของคนไทยให้อยู่อย่างพอประมาณตน เดินทางสายกลาง มีความพอดีและพอเพียงกับตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอก สิ่งสำคัญต้องรู้จักการพึ่งพาตนเองโดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และรู้จักการนำทรัพยากรที่เรามีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่นรู้จักการนำปัจจัยพื้นฐานมาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขความสบาย และพอเพียงกับตนเอง


หนอนไซเบอร์

ตอบกระทู้เมื่อ
28 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 16
ศ.นพ.ประเวศ วะสี ประธานสภาปฏิรูปประเทศไทย ปาฐกถาเรื่อง “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในทศวรรษหน้า: องค์ความรู้ อุปสรรค และยุทธวิธี” ในการสัมมนา “ทศวรรษต่อไปของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งจัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ร่วมกับภาคีเครือข่าย อาทิ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เป็นต้น เพื่อทบทวนถึงผลสำเร็จและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากว่าหนึ่งทศวรรษของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนร่วมกันในทศวรรษต่อไป
   ศ.นพ.ประเวศ วะสี กล่าวว่า การพัฒนาแบบแยกส่วนโดยไม่บูรณาการร่วมกันจะนำไปสู่การเสียสมดุล ดังเช่นระบบเศรษฐกิจปัจจุบันซึ่งเป็นบริโภคนิยมและทุนเสรีนิยม โดยความคิดเบื้องหลังระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน คือ “โลภะ” จึงเกิดเป็น “ความโลภเสรี” ดังเช่นในประเทศต้นแบบเสรีภาพและประชาธิปไตยอย่างอังกฤษและสหรัฐอเมริกา จนนำไปสู่ “โทสะ” หรือความรุนแรง และเมื่อเกิดโลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งเรียกว่า “อกุศลมูล” ขึ้นก็จะทำให้เกิดวิกฤตโลก วิกฤตทั้งระบบสุริยจักรวาล เราจึงต้องแก้ไขที่ระบบคิดด้วย “ความไม่โลภ” ซึ่งเป็นรากฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้นเศรษฐกิจพอเพียงจึงมิใช่เรื่องล้าสมัยหากแต่เป็นเรื่องอนาคตของมนุษยชาติ  ปรัชญาเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วยความไม่โลภ ความพอดี ความมีเหตุผล ความไม่เสี่ยงหรือความพอประมาณ ความมีภูมิคุ้มกัน และความสมดุล จะทำให้เกิดปรกติสุขและความยั่งยืน ซึ่งเป็นกฎของธรรมชาติที่จะปรับไปสู่สมดุลเสมอ ธรรมชาติจึงอยู่ข้างเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง
   ปัจจุบันสังคมมีมวลใหญ่อยู่ 3 มวล คือ อำนาจรัฐ อำนาจทุน และอำนาจสังคม วิกฤติในปัจจุบันคือมวลอำนาจทางสังคมอ่อนแอ ตราบใดที่มวลอำนาจทางสังคมยังน้อยก็ไม่อาจแก้ปัญหาในประเทศได้ จึงต้องสร้างมวลสังคมให้ใหญ่ขึ้น เป็นสังคมานุภาพที่มีการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำในทุกพื้นที่ทุกองค์กรในทุกเรื่อง เพื่อให้มีพื้นที่ทางสังคมและพื้นที่ทางปัญญาอย่างกว้างขวาง ให้ชุมชนท้องถิ่นมีการจัดการตัวเองโดยไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐและทุนเพื่อให้ได้ดุลและทำงานเชื่อมกัน เกิดเป็นสังคมานุภาพที่เสมอกัน โดยมียุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงที่อาศัยการสร้างพันธมิตรเศรษฐกิจพอเพียงอย่างกว้างขวางขยายตัวไปสู่ทุกภาคส่วน จนเกิดมวลขับเคลื่อนด้วยการวิจัยและพัฒนา ดังเช่นชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงของ สกว. และมีการสื่อสารเพื่อให้คนเข้าใจอย่างลึกซึ้งไปพร้อมกัน โดยจุดยุทธศาสตร์สำคัญคือ ตำบล ซึ่งเป็นจุดบรรจบของประชาชนและท้องถิ่น หากมีการจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจพอเพียงอย่างชัดเจน ให้ธุรกิจขับเคลื่อนเข้ามาอย่างเด่นชัด มีโครงการ 1 บริษัทต่อ 1 ตำบล และ 1 คณะวิชาต่อ 1 ตำบล เพื่อเสริมความแข็งเกร่งด้านการจัดการและวิชาการเข้าไปทำงานร่วมกับท้องถิ่น โดยอาศัยการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติก็จะสามารถตอกเสาเข็มให้ประเทศไทยมีความมั่นคงมากขึ้น เพราะถ้ามีแต่พื้นที่ทางการเมืองที่แบ่งข้างแบ่งขั้ว ไม่ฟังความเห็นกันและกันแล้ว พื้นที่ทางปัญญาก็จะไม่เกิดขึ้น และบ้านเมืองจะอับจนทางปัญญาอย่างแน่นอน


Krootanoi

ตอบกระทู้เมื่อ
28 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 17
^-^
ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน ผู้ประสานงานชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สกว. กล่าวว่า การขับเคลื่อนนั้นให้ได้ผลนั้นไม่ควรจะหยุดอยู่ที่ระดับจุลภาคซึ่งเป็นหน่วยเล็ก ๆ ต่างคนต่างทำ ประกอบกับรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็ระบุให้การพัฒนาประเทศต้องเป็นไปตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้ปรับแผนการวิเคราะห์เศรษฐกิจพอเพียงในนโยบายแห่งรัฐ พร้อมกับเสนอแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในระดับนโยบายทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และการเมืองระดับชาติ พร้อมจัดทำแผนที่เดินทางเศรษฐกิจพอเพียงโดยศึกษาอุปสรรคและข้อจำกัดต่างๆ  ตลอดจนสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศ โดยเน้นประเด็นการจัดทำเครื่องมือในการทำความเข้าใจร่วมกัน เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องมือที่ได้จากการบริหารธุรกิจตะวันตกมาเป็นเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับก้าวต่อไปในทศวรรษหน้าจะเป็นการก้าวไปสู่สังคมที่มีความเอื้ออาทรต่อกันเป็นสังคมเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี สังคมที่ร่มเย็นเป็นสุข หรือสังคมประโยชน์สุข พร้อมกับแก้ไขอุปสรรคที่สำคัญ ได้แก่ ธุรกิจการเมืองในระดับชาติ การเมืองส่วนท้องถิ่น ภาคราชการ และสถาบันอุดมศึกษา ^-^


หนอนไซเบอร์

ตอบกระทู้เมื่อ
28 ส.ค. 2556
  ความคิดเห็นที่ 18
นายวรเดช อมรวรพิพัฒน์ ที่ปรึกษาสภาที่ปรึษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า สภาที่ปรึษาฯ ได้ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ภาคส่วนต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาฯ อันเป็นกลไกหนึ่งในการขยายผลปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การประยุกต์ใช้ให้เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิผล โดยบทบาทสำคัญของสภาที่ปรึกษาฯ คือ การศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำดัชนี้ชี้วัดภาวะเศรษฐกิจและสังคมโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเรื่องการขยายผลสู่สาธารณะเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำ ดิน ป่า และการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งเรื่องนโยบายของรัฐเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่องความพร้อมประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนจัดประชุมนานาชาติขององค์กรสภาที่ปรึกษาฯ หรือองค์กรที่คล้ายคลึงกันเพื่อสร้างความสมดุลของความเติบโตทางเศรษฐกิจกับความเข้มแข็งทางสังคมของประเทศในเอเชียและสังคมโลก และจัดสัมมนา 4  ภูมิภาคและการสัมมนาวิชาการประจำปี 2555 เรื่องยุทธศาสตร์ประเทศไทยใน 2 ทศวรรษหน้า ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศแห่งความสุขภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง


สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved