Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14322732  

กระดานแสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ    

สปศ.

ตั้งกระทู้เมื่อ
29 มิ.ย. 2557
  กรมบัญชีกลางเดินหน้าเสนอกฎหมาย Undo กบข.แล้ว
ฉบับที่  14/2557 
วันที่  25  มิถุนายน  2557
กรมบัญชีกลางเดินหน้าเสนอกฎหมาย Undo กบข.
     คณะที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช. เห็นว่าร่างกฎหมาย Undo ดี และมีประโยชน์ กรมบัญชีกลางพร้อมเดินหน้า กำหนดบังคับใช้ประมาณต้นเดือนธันวาคม 2557 และกรมบัญชีกลางพร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หลักเกณฑ์ควบคู่ไปด้วย
     นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า เดิมกรมบัญชีกลางได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 พ.ศ. .... ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้รับหลักการแล้ว แต่ได้มีการยุบสภา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ทำให้ร่างพระราชบัญญัติฯ ตกไป จึงทำให้กำหนดการที่กรมบัญชีกลางเสนอไว้เดิม เช่น กำหนดเวลาการแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิ Undo สำหรับผู้รับบำนาญ ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2557 และข้าราชการผู้มีสิทธิ จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 โดยสมาชิกภาพ กบข.จะสิ้นสุดในวันที่ 1 ตุลาคม 2557 เป็นต้น ดังนั้น เมื่อการดำเนินการเลื่อนออกไปจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนเวลาดังกล่าว
     นายมนัส แจ่มเวหา กล่าวต่อว่า วันนี้ (24 มิ.ย.) คณะที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช. ซึ่งมี ดร.วิษณุ เครืองาม เป็นประธาน ได้ประชุมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 พ.ศ. .... ซึ่งประธานเห็นว่า ร่าง พรบ. ดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ดี มีประโยชน์ และ คสช. พร้อมที่จะให้การสนับสนุนตามแนวทางที่เสนอ อย่างไรก็ดี เนื่องจากคณะที่ปรึกษาฯ เห็นว่า เป็นกฎหมายที่มี Technical Term มาก ซึ่งต้องใช้เวลาในการอธิบาย ประกอบกับกรมบัญชีกลางต้องมีเวลาในการเตรียมการในการปฏิบัติตามกฎหมาย และเผยแพร่ทำความเข้าใจกฎหมายดังกล่าว จึงเห็นควรให้นำร่าง พรบ.ดังกล่าว เสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยจะจัดให้เป็นร่างกฎหมายฉบับแรกๆ ที่เข้าสู่สภา และกำหนดให้มีผลบังคับใช้ในต้นเดือนธันวาคม 2557 ตามกำหนดการที่กรมบัญชีกลางวางไว้  ทั้งนี้ คณะที่ปรึกษาฯ เห็นว่ากรมบัญชีกลางสามารถเผยแพร่ข่าวและประชาสัมพันธ์ร่าง พรบ.ฯ ตามที่ได้ยกร่างไว้ โดยกล่าวย้ำอีกว่า “ร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ดี มีประโยชน์ คสช. ยินดีให้การสนับสนุนตามแนวทางของร่างที่กระทรวงการคลังเสนอ”อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า กรมบัญชีกลางได้มีการจัดประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในเรื่องต่างๆ อย่างเร่งด่วนแล้ว โดยเฉพาะเกี่ยวกับฐานข้อมูลของผู้มีสิทธิ Undo ซึ่งมีประมาณ 300,000 คน เพื่อให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน คาดว่าฐานข้อมูลจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนกันยายน 2557 นอกจากนี้จะมีการเตรียมความพร้อมในระบบต่างๆ เช่น GFMIS  ระบบ e-Pension ระบบจ่ายตรงเงินเดือน เพื่อเป็นการรองรับกับการดำเนินการในเรื่องนี้ให้ครอบคลุมในทุกด้าน รวมถึงวางแผนเตรียมการจัดประชุมชี้แจงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง นายมนัส แจ่มเวหา กล่าวต่อท้ายว่า แนวทางตามร่างฯ ได้กำหนดระยะเวลาการแสดงความประสงค์จะใช้สิทธิ Undo ใหม่ ดังนี้ สำหรับผู้รับบำนาญ แจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2558 และหากต้องคืนเงินส่วนต่างให้ชำระคืนแล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ส่วนข้าราชการผู้มีสิทธิแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2558 โดยสมาชิกภาพ กบข.จะสิ้นสุดในวันที่ 1 ตุลาคม 2558 และจะได้รับเฉพาะเงินสะสมและผลประโยชน์ตอบแทนจากเงินสะสมจาก กบข.เท่านั้น  สำหรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นยังคงกำหนดไว้เหมือนเดิม และกรมบัญชีกลางจะประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นระยะๆ ต่อไป

 


KETH

ตอบกระทู้เมื่อ
29 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 1
คาดว่าจะมีข้าราชการกลับไปใช้สิทธิ์ตามกฎหมายเดิม ประมาณ 7.33 แสนคน หรือประมาณ 75% จากทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของกบข.โดยสมัครใจทั้งที่เป็นข้าราชการและผู้รับบำนาญ รวม 9.77 แสนคน โดยมีสมมุติฐานว่ามีอายุราชการมากกว่า 35 ปี และมีอายุ วันที่สมัครเป็นสมาชิกกบข.เกินกว่า 40 ปี และทั้งหมดเมื่อคำนวณรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นและรายรับที่ได้รับชดเชยกลับมาแล้วรัฐจะมีภาระเพี่มขึ้นมากถึง 9.50 แสนล้านบาทในช่วง 44 ปี หรือคิดเฉลี่ยปีละ 21,595 ล้านบาท ขณะที่ในปีแรกคือปีงบประมาณ 58 จะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น 1,041 ล้านบาท แต่ถ้านำมาปรับให้เป็นมูลค่าปัจจุบันในปีงบประมาณ 58 จะทำให้รัฐบาลมีภาระเพิ่มขึ้นประมาณ 3.60 แสนล้านบาทในช่วง 44 ปีข้างหน้า
ภาษีก็เก็บไม่ได้ตามเป้า !! จะ undo ภาษีคนโสดป่ะเนี่ย?


บัวบก

ตอบกระทู้เมื่อ
29 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 2
เมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพแล้วไม่มีสิทธิได้รับเงินประเดิมเงินชดเชย เงินสมทบจากภาครัฐและผลประโยชน์ของเงินตามหลักเกณฑ์ของกบข.จะได้รับเฉพาะเงินออมสะสมและผลประโยชน์ของเงินออมของตัวเองเท่านั้น งงว่าจะหักเงินสมทบและเงินชดเชยทำไมช่วงที่ผ่านมาทุกคนก็ให้หักเงินเดือนมาตลอด เอาเงินเดือนเราไปหาประโยชน์แต่พอได้ผลประโยชน์ก็เอาไปละลาย พอสมาชิกจะลาออกหักนั้นหักนี่ เอ่อ เป็นงง


ครูพันธุ์แท้

ตอบกระทู้เมื่อ
29 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 3
กบข.ก็จะนำเงินประเดิมชดเชย เงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินตามหลักเกณฑ์กบข.เข้าบัญชีเงินทุนสำรองของกบข.ต่อไปซีคะ เพื่อจะได้นำไปใช้ดูแลสมาชิกกบข.คนอื่น ๆ  undo มาได้นี่ถือว่าเป็นข่าวดีที่สุดแล้ว


Krootanoi

ตอบกระทู้เมื่อ
29 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 4
เห็นว่ากฎหมายนี้ดีและมีประโยชน์กับฟลายๆฝ่ายโดยเฉพาะกลุ่มสมาชิกที่อยากลาออก  ก็รอกันมาแล้วหลายๆนาน รอกันอีกหน่อยนะคะ 
 

                                                    



ครูแก่

ตอบกระทู้เมื่อ
29 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 5
กบข ควรจะแจ้งรายละเอียดการโอนเงินกบขให้แก่ผู้ที่เกียณแล้วได้ทราบว่าเงินที่โอนให้นั้นเป็นยอดเงินอะไรบ้างอย่างละเท่าไรเพื่อจะได้มาคำนวณว่าจะต้องคืนเงินให้กบขเท่าไรเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ โดยส่งมายังหน่วยงานที่ข้าราชการบำนาญผู้นั้นรับเงินเดือนอยู่ในปัจจุบัน จะเป็นพระคุณยิ่ง


k.juy

ตอบกระทู้เมื่อ
29 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 6
พรบ.กบข.สรุปได้ดังนี้
๑.กรมบัญชีกลาง เสนอร่าง กบข.ให้ คสช.
๒.คสช.เห็นควรนำร่าง กบข.เสนอ สนช.
๓.คาดว่าจะกำหนดมีผลบังคับใช้ เดือน ธ.ค.๕๗ ๔.
กรมบัญชีกลาง จะดำเนินการจัดทำข้อมูล ให้เสร็จสิ้น เดือน ก.ย.๕๗ แนวร่างทางตามกฏหมาย ก.ผู้รับบำนาญ ระยะเวลาการแจ้งความประสงค์ นับตั้งแต่กฏหมายมีผลบังคับใช้ ถึง๓๐มิย.๕๘ ข.ผู้รับบำนาญ หากกรณีย์มีการคืนเงิน ให้ กบข.คืนภายใน๓๐ มิ.ย.๕๘ ค.ข้าราชการ ผู้มีสิทธิ แจ้งความประสงค์ นับตั้งแต่กฏหมายมีผลบังคับใช้ ถึง ๓๐ ก.ย.๕๘ ง.การสิ้นสุดสมาชิก กบข.และบำนาญ กบข.ใน๑ ต.ค.๕๘
 
ขอแสดงความยินดีกับสมาชิกภาคสมัครใจทุกท่านที่คิดดีแล้วว่าจะลาออกจากสมาชิก กบข.แต่ขอเเสนอแนะทุกท่านว่ากรุณาคิดให้ดี คิดให้รอบคอบ ดูเวลารับราชการเป็นตัวตั้ง ถ้าเวลารับราชการเกิน 38 ปี ผมเห็นด้วยว่าควรลาออก ดูแลสุขภาพตัวเองกันให้ดีนะครับ ถ้าคิดว่าหลังจากเกษียณแล้วภายใน 7 ปียังไม่เบื่อโลกก็ลาออกเถอะครับน่าจะคุ้มกว่ากันเยอะ
 


หนอนไซเบอร์

ตอบกระทู้เมื่อ
29 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 7
เรียนคุณครูแก่ ความเห็นที่ 5 ครับ เรื่องรายละเอียดการโอนเงิน กบข.ให้กับ สมาชิกที่เกษียณก่อนปี 2556 เรื่องนี้ท่านควรจะประสานกับ กบข. โดยตรงครับ เพราะ กบข. ส่งรายละเอียดการจ่ายคืนเงินให้กับสมาชิก กบข.ที่เกษียณแต่ละปีประมาณกลางถึงปลายเดือน ต.ค. เช่นผมเกษียณเมื่อ 1 ต.ค. 55 รายละเอียดส่งถึงผมต้นเดือน พ.ย. 55 รายละเอียดมีครบทั้งเงินสะสม+ผลประโยชน์/เงินสมทบ+ผลประโยชน์/เงินชดเชย+ผลประโยชน์และเงินประเดิม+ผลประโยชน์ ครับผม


Pimchanok

ตอบกระทู้เมื่อ
30 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 8
อีกสิบปีข้างหน้ามันจะมีอะไรเปลี่ยนอีกไหม เฮ้อความแน่นอนคือความไม่แน่นอนจริงจริง ท่านสมาชิกทั้งหลายอย่าเพิ่งใช้เงินกันหมดนะคะ เขาให้เอาเงินไปคืนแน่ะค่ะ อยากได้สูตรคำนวณบำนาญใหม่ล่าสุด ใครมีก็มาโพสหน่อยนะคะ


ครูบำนาญ

ตอบกระทู้เมื่อ
30 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 9

สมาชิกที่ผู้ที่รับบำนาญอยู่หากต้องมีการคืนเงินส่วนต่างหลังจากหักลบกลบเกินแล้ว แจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2558 และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2558 สรุปอย่างนี้ถูกต้องไหม แล้วมนุษย์ป้าจะไปเช็คข้อมูลที่แน่นอนได้อย่างไร แล้วใครบางคนจะต้องเสียภาษีมูลค่าโง่อีกหรือเปล่า



KROOPAD

ตอบกระทู้เมื่อ
30 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 10
มนุษย์ป้ากลัวเสียภาษีมูลค่าโง่ก็ติดต่อตรงกับเจ้าที่คลังจังหวัดได้เลยค่ะ เจ้าหน้าที่อัธยาศัยดีมีความเป็นกัลยามิตรที่สุด เว้นไว้เสียแต่"ระบบออน์ไลน์ล่ม" ค่ะ
ღ(。◕‿◠。)ღ


K.Chang

ตอบกระทู้เมื่อ
30 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 11
กำลังนึกสงสัยว่าจนถึงวันแถลงผลงานเมื่อ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา คศช.ไม่เห็นพูดถึงเรื่องนี้เลย ทำใจเผื่อกันไว้บ้างจะได้ไม่ผิดหวัง ให้เค้าเก็บเงินไว้ให้เราทุกเดือนๆก็น่าจะดี อยู่ที่เราก็หมด เกษียณไปจะได้มีเงินก้อนใหญ่อย่างที่โฆษณาตอนสมัครน่ะ ( เป็นรุ่นแรกที่ไม่รู้ตัวเลยว่าสมัครเป็นสมาชิกตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่เห็นเก็บเงินมากขึ้นๆทุกปี ข่าวแต่ละข่าวของกบข.ก็ดีดีทั้งน้าน) หุหุ


บ่าวรัฐ

ตอบกระทู้เมื่อ
30 มิ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 12
k.chang ฟังไม่ทันน่ะซิครับ ท่านพูดถึงหน่อยนึงด้วยความเร็วสูง(แบบทหาร)เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา 27 มิย. ผมเองมาฟัง Replay ตอนเช้าครับตอนถ่ายทอดกวนคอหนังก็ฟังไม่ทันเหมือนกัน 555+++ เอาเป็นว่าเป็นข่าวดีแล้วกันส่วนใครที่ยังไม่ได้ตัดสินใจหรือตัดสินใจไม่ได้ลองเข้าไปดูเปรียบเทียบระบบบำเหน็จบำนาญเดิม กับระบบ กบข.กันก่อนครับ
ดูแล้วสงสัยแทน ทำไมต้องเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย ในเมื่อเงินก็หักเงินเดือนเราออมแท้ๆ คิดสูตรนี้กันได้ยังงัย แล้วยอมกันได้ยังไง บ้านนี้เมืองนี้มีแต่เรื่องแปลกๆ
 


Mayjung

ตอบกระทู้เมื่อ
01 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 13
บ้านนี้เมืองนี้หมดเรื่องแปลกนั่นแหล่ะคือแปลก!
ฟังว่าก่อนหน้านี้สิงห์ที่ราบสูงก็วิ่งเต้นให้อยู่จนถูกเรียกไปเก็บที่กรุในรัฐบาลก่อน
ติดตามข่าวคราวและรอคอยกันอีกสักนิด ใครตัดสินใจเองไม่ได้ก็ลองเข้าสูตรนี้ดูไปพลางๆที่ http://www2.cgd.go.th/rightMenu_7.asp ส่วนต่างแต่ละคนไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับอดีตกรรม แต่คิดว่าน่าจะมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ใหม่ ยืดเวลาไปอีกนิดคิดว่าหยอดเงินลงกระปุกแล้วกันอย่าสร้างหนี้ที่ไม่ก่อรายได้เด็ดขาด คนวัยเกษียณพศ.นี้ต้องเตรียมตัวให้พร้อมรับทุกสถานการณ์


nan

ตอบกระทู้เมื่อ
01 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 14

แบบว่าบางคนหรือหลายๆคนสร้างหนี้ก้อนโตตามกระแสไปแล้วน่ะซี ด้วยเหตุผลนานาประการบ้างก็เป็นผู้ค้ำประกันให้เพื่อนฝูงอย่างเกรงใจ คิดได้กลัวเสียเปรียบก็เลยกู้บ้างตั้งใจแน่วแน่จะเก็บไว้เฉยๆสำรองไช้ยามฉุกเฉิน ลืมไปเสียสนิทเลยว่าเส้นลายมือบ่งบอกว่าเก็บเงินไม่อยู่ 55555++++ล้อเล่นๆ อย่าซีเรียสเดี๋ยวโรคภัยจะถามหา อาชีพเราๆน้ำซึมบ่อทรายอ่ะนะ (แม่น้ำยมยังแห้งขอดได้แล้วปิง วัง ยม น่าน ก็ตามมาติดๆ หุหุ)



Tanaew

ตอบกระทู้เมื่อ
01 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 15
รายได้น้ำซึม รายจ่ายน้ำพุ เห้อ
รับราชการก็หวังจะได้สุขสบายยามแก่เฒ่า เงินเดือนเริ่มบรรจุ 2,765 บาท จับจ่ายสบายๆยังเหลือเงินฝากธนาคารทุกเดือนเพื่อนรุ่นเดียวกันบรรจุไม่ได้ เบนเข็มไปทำงานเอกชนเงินเดือนตามเราแต่ฟอร์นิเจอร์เพียบ เรายังเก็บเงินอยู่แต่น้อยลง ผ่านไปยี่สิบปีเพื่อนแซงเราพรวดๆ เราไม่ได้ออมทรัพย์อีกแล้ว มีกบข.มาช่วยเก็บออม เงินเดือนเราหลักหมื่นเพื่อนเราเป็นแสนเงินเก็บเป็นหลายล้าน ส่วนเราแม้แต่เงินล้านที่เป็นของตัวเองยังต้องรอให้ตายก่อน


น้ำเซาะทราย

ตอบกระทู้เมื่อ
02 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 16
อยากรู้จริงเลย ระบบต่างๆ เช่น GFMIS  ระบบ e-Pension ระบบจ่ายตรงเงินเดือน ฯลฯ ที่ท่านว่ามันเสถียรแค่ไหน เอาแบบเช็คยอดรายบุคคลหักลบกลบนี้แล้วทำติดลบในบัญชีเงินเดือนแบบไม่ต้องคืนเงินเลยได้เปล่า เงินก้อนน่ะเอาไปลงทุนหมดแล้วตามนโยบายปั่นหนี้ให้เกิดรายได้ระยะยาววววว 


ครูทะเล

ตอบกระทู้เมื่อ
02 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 17
ตามความเห็นที่15 ผมคงต้องรีบๆตายน่ะซีนะครับจะได้ใช้เงิน  ชีวิตติดครุฑคงไม่รันทดขนาดนั้นเพียงแค่คนกบข.อยู่นานจะขาดทุนต่างหาก ใครอยากได้กำไรมากๆต้องอย่าอยู่นาน 55555+++
 
มีสูตรคำนวณเงินบำนาญมาฝาก ลองๆหยิบตัวเลขมาใส่ตารางกันครับเรื่องจับตัวเลขใส่ตารางถนัดกันอยู่แล้วคิดได้เท่าไหร่จดไว้เทียบเคียงกับที่ต้นสังกัดจัดให้มันอาจมีเรื่องแปลกๆให้ระงงระงวยอีกเล็กน้อย
 
 


Tanaew

ตอบกระทู้เมื่อ
02 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 18

มันไม่ใช่เล็กน้อยน่ะซีระงงระงวยที่ว่าน่ะ ลองจิ้มตารางอยู่เหมือนกัน เงินเดือนสุดท้ายสุดท้าย 51,300   เฉลี่ย 60 เดือน 35,000  กว่าๆ(เผื่อว่าจิ้มเลขผิดสักช่อง) คูณอายุราชการ 31 ปี หารอีก  50   เจอพิกัดไม่เกิน 70%  อ้ากกกกกก.....  เขาให้มาแค่ 24,500  ก็หายใจแขม่วๆ(แบบประหยัดอากาศ)รอกฏหมายฉบับคสช.อยู่เหมือนกัน ปีใหม่นี้น่าจะมีของขวัญให้ขรก.ที่ว่านอนสอนง่ายชี้นกเป็นนกชี้ไม้เป็นไม้ไม่ตุกติกซ้ากคำ



คนค้นข่าว

ตอบกระทู้เมื่อ
02 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 19

คนเรา รู้วันเกิด แต่ไม่รู้วันตาย /

มีพี่ป่าไม้รุ่น 15  เข้า กบข. เออรี่ออกตอน อายุ 57 ปี  รับเงินก้อน ประมาณ 1.2 ล้านบาท นำไปจัดการภาระต่างๆ เสร็จ  นับจาก ลาออก ประมาณ 8 เดือน ท่านเสียชีวิต / ครอบครัว ได้รับบำเหน็จตกทอด อีก 4 แสนกว่าบาท รวมรับประมาณ  1.6 ล้านบาท

ในทางกลับกัน ถ้าท่านไม่เข้า กบข. ก็จะไม่ได้รับเงินก้อน / ตอนตาย ครอบครัวก็จะได้รับ เพียงบำเหน็จตกทอด 30 เท่าบำนาญ ประมาณ 22,000 x 30 = 660,000 บาท  ขาดไป ประมาณ 1 ล้านบาท เห็นๆ เลย mook2401
 


สปศ.

ตอบกระทู้เมื่อ
02 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 20

News ---
       ระบบบำเหน็จบำนาญ

       ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่จะเกษียณอายุ 1 ตุลาคม 2557 สามารถยื่นเรื่องขอรับบำเหน็จบำนาญล่วงหน้าได้แล้ว ที่ส่วนราชการต้นสังกัด ตั่งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

         เพื่อมิให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่จะเกษียณอายุ 1 ตุลาคม 2557 ได้รับความเดือดร้อนจากการไม่ได้รับเงินต่อเนื่องหลังจากที่เกษียณอายุ รวมทั้งเกิดผลเสียต่อสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การไม่สามารถใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่องได้ เป็นต้น จึงขอให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่จะเกษียณอายุ 1 ตุลาคม 2557

          1. ไปยื่นเรืองขอรับบำเหน็จบำนาญที่ส่วนราชการของท่านได้แล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
          2. ติดตามให้ส่วนราชการของท่านส่งเรื่องให้กรมบัญชีกลาง หรือ สำนักงานคลังเขต ภายใน เดือนกรกฎาคม 2557
          3. เมื่อท่านได้รับหนังสือสั่งจ่ายแล้วให้แจ้งส่วนราชการผู้เบิกบำนาญของท่านทำคำขอเบิกภายในระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกำหนด
          4. กรมบัญชีกลางจะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของท่านภายในเดือนตุลาคม 2557
          5. ถ้าส่วนราชการต้นสังกัดยื่นเรื่องให้กรมบัญชีกลางหรือสำนักงานคลังเขตหลังเดือนกรกฎาคม 2557 ท่านอาจได้รับเงินล่าช้า

         --------------------------------------------

         ผู้ยื่นขอรับเงินบำเหน็จบำนาญแล้วระบุหมายเลขโทรศัพท์มือถือหรือ e-mail เพื่อขอรับข่าวสารจากกรมบัญชีกลาง จะไม่เสียค่าใช้จ่ายในการรับข่าวสารดังกล่าว

         ด้วยขณะนี้ เลขประจำตัวผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย บางส่วนราชการ ยังเป็นเลข 10 หลัก เนื่องจากมิได้แจ้งเลข 13 หลัก ที่กรมสรรพากรแจ้งเปลี่ยนให้กรมบัญชีกลางเปลี่ยนแปลงในระบบบำเหน็จบำนาญและอยู่ระหว่างประสานกรมสรรพากรเพื่อดำเนินการเปลี่ยนเลขประจำตัวผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ของส่วนราชการในระบบบำเหน็จบำนาญ

         ดังนั้น หากผู้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จบำนาญ ประสงค์ต้องการทราบเลขประจำตัวผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย เลข 13 หลัก สามารถสืบค้นได้ที่เว๊บไซด์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th>บริการข้อมูล>บริการค้นหาเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก

       กรมบัญชีกลางเปิดใช้งานระบบการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการระบบบำเหน้จบำนาญ (e-Pension) ให้กับ สรจ. สำนักงานคลังเขต และสำนักงานคลังจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. 2556 เป็นต้นไป

        ส่วนราชการสามารถยื่นเรื่องขอรับเงินเบี้ยหวัด บำเหน็จบำนาญพร้อมการยื่นเรื่องขอรับเงิน กบข.ของสมาชิก กบข.ผ่านระบบ e-pension
       ได้ ตั้งแต่วันที่ 30 ต.ค.2555 เป็นต้นไป
       โดยสามารถดำเนินการได้ดังนี้
          1. การยื่นเรื่องขอรับเงินเบี้ยหวัด บำเหน็จบำนาญพร้อมการยื่นเรื่องขอรับเงิน กบข.ของสมาชิก บกข.
          2. การบันทึกการสอบสวนทางวินัย/อาญา และการทำสัญญาค้ำประกันการขอรับเงินเบี้ยหวัด บำเหน็จบำนาญ
          3. การบันทึกสถานะการบังคับคดี (อายัดเบี้ยหวัดบำนาญ)

       กรมบัญชีกลาง เปิดให้ส่วนราชการสามารถยื่นขอรับเงินบำเหน็จตกทอดลูกจ้างผ่านระบบบำเหน็จบำนาญได้ตั้งแต่บัดนีเป็นต้นไป

       ผู้รับบำนาญและส่วนราชการสามารถตรวจสอบ ส่วนราชการผู้ขอ-ผู้เบิก
       และนายทะเบียนผู้รับบำเหน็จบำนาญ ของผู้รับบำนาญ ได้ที่ "การบริการด้านข้อมูล

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานระบบกรุณาติดต่อ 02-1277000 ต่อเบอร์ 4102 , 4914-6

รายชื่อธนาคารที่เข้าร่วมโครงการระบบบำเหน็จค้ำประกัน
   -    ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
   -    ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
   -    ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
   -    ธนาคารทหารไทย จำกัด ( มหาชน )
   -    ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย จำกัด ( มหาชน )
   -    ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
   -    ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)
   -    ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
   -    ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
   -    ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์เพื่อรายย่อย จำกัด ( มหาชน )
   -    ธนาคารออมสิน
   -    ธนาคารอาคารสงเคราะห์
   -    ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ระบบบำเหน็จค้ำประกัน
ผู้รับบำเหน็จรายเดือน สามารถยื่นขอรับรองหนังสือรับสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน ที่ส่วนราชการผู้เบิกของท่านได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

โดยมีธนาคารที่เข้าร่วมโครงการฯ 4 ธนาคาร ดังนี้ ธ.กรุงไทย ธ.ก.ส. ธ.กรุงเทพฯ และ ธ.อิสลามแห่งประเทศไทย

http://pws.cgd.go.th/cgd/กรมบัญชีกลาง

 



หนอนไซเบอร์

ตอบกระทู้เมื่อ
02 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 21

โครงการให้สินเชื่อแก่ข้าราชการบำนาญโดยนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดมาเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน

ตามที่กรมบัญชีกลางได้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 และพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ 2539 โดยกำหนดให้ผู้รับบำนาญสามารถนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดมาเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินกับจากสถาบันการเงินได้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในฐานะที่เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ได้สนับสนุนโครงการเพื่อให้ผู้รับบำนาญได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งกู้เพี่อที่อยู่อาศัย จึงขอประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการให้กู้เงินของโครงการ ดังนี้

1.  คุณสมบัติผู้กู้
เป็นผู้รับบำนาญที่กรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด ออกหนังสือรับรองสิทธิให้นำบำเหน็จตกทอดมาเป็นหลักประกันเงินกู้

 

2.  วัตถุประสงค์ในการให้กู้เงิน
  2.1 เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด
  2.2 เพื่อปลูกสร้างอาคาร หรือเพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร
  2.3 เพื่อต่อเติม หรือขยาย หรือซ่อมแซมอาคาร
  2.4 เพื่อไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด จากสถาบันการเงินอื่น
  2.5 เพื่อไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมอาคารจากสถาบันการเงินอื่น และปลูกสร้าง หรือต่อเติม/ขยาย/ซ่อมแซมอาคาร
  2.6 เพื่อไถ่ถอนจำนองที่ดินเปล่าจากสถาบันการเงินอื่น พร้อมปลูกสร้างอาคาร
  2.7 เพื่อซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย
     
  หมายเหตุ 
  - กรณีขอกู้เพื่อไถ่ถอนจำนองผู้กู้ต้องมีประวัติเป็นลูกหนี้ที่ดีกับสถาบันการเงินเดิม
- อาคารหมายถึง บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ และอาคารพาณิชย์เพื่อที่อยู่อาศัย
   

3.  วงเงินให้กู้
  3.1 ไม่เกินร้อยละ 100 ของวงเงินตามสิทธิในบำเหน็จตกทอด ของผู้รับบำนาญตามหนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอด เพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน และไม่เกินร้อยละ 100 ของวงเงินประกันการกู้เงินในระบบบำเหน็จ ค้ำประกันของกรมบัญชีกลาง แล้วแต่ว่าจำนวนใดต่ำกว่า
  3.2 เงินงวดผ่อนชำระไม่เกินร้อยละ 80 ของเงินบำนาญรายเดือนสุทธิ
     

4. ระยะเวลาการกู้
ไม่เกิน 30 ปี และอายุผู้กู้รวมกับจำนวนปีที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 75 ปี
 
5. หลักประกันในการขอกู้เงิน
สิทธิในบำเหน็จตกทอดไม่เกินจำนวนเงินตามหนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน
 
6. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
วัตถุประสงค์การกู้เงิน อัตราดอกเบี้ย(ร้อยละต่อปี)
1. กู้ซื้อ ปลูกสร้าง ต่อเติม ซ่อมแซม ไถ่ถอนจำนองจากสถาบันการเงินอื่น คิดอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญากู้เงิน  MRR – 1.00
 
2. กู้ซื้อ/จัดให้มีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ ในการอยู่อาศัย คิดอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญากู้เงิน  MRR – 1.00
 

มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
 
7. การคำนวณเงินงวดผ่อนชำระ
คำนวณโดยใช้อัตราดอกเบี้ยตามข้อ 6. บวกร้อยละ 1.00 ต่อปี
 
8. การชำระหนี้เงินกู้
กรมบัญชีกลางทำบันทึกข้อตกลงกับธนาคารและทำหน้าที่หักเงินบำนาญรายเดือนของผู้กู้นำส่งชำระหนี้เงินกู้ให้กับธนาคาร
 
9. การหมดสิทธิการกู้เงินตามโครงการ
กรณีผู้กู้ผิดสัญญากู้เงินในงวดใดงวดหนึ่ง หรือถึงแก่ความตายก่อนครบกำหนดสัญญา ธนาคารจะเรียกชำระคืนเงินกู้ในส่วนที่เหลือตามสัญญากู้เงินทันที
 
10. เงื่อนไขอื่น
การพิจารณาให้กู้เงินและเงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีปฏิบัติ ในการให้กู้เงินโครงการให้สินเชื่อแก่ข้าราชการบำนาญโดยนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดมาเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน และระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อของธนาคาร
 
11. สถานที่ติดต่อยื่นคำขอกู้เงิน
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ (สำนักพระราม 9 อาคาร 1 ชั้น 1) หรือสำนักงานสาขากรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือสำนักงานสาขาภูมิภาคทุกแห่ง
 

12. หลักฐานการขอกู้เงิน
  12.1 หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน (ฉบับจริง) 
  12.2 สมุดบัญชีเงินฝากแสดงรายการรับเงินบำนาญรายเดือน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
  12.3 สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการบำนาญ หรือบัตรประจำตัวประชาชน
  12.4 สำเนาทะเบียนบ้านทุกหน้า
  12.5 สำเนาทะเบียนสมรส/หย่า/มรณะบัตร แล้วแต่กรณี
  12.6 กรณีซื้อที่ดินพร้อมอาคาร ซื้อห้องชุด ซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร ให้แสดงสำเนาหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญามัดจำ
  12.7 กรณีปลูกสร้าง/ต่อเติม/ขยาย/ซ่อมแซมอาคาร ให้แสดงสำเนา ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร/ คำขออนุญาต/ แบบก่อสร้างอาคาร/ ส่วนขยาย/ ต่อเติมอาคาร/ ซ่อมแซมอาคาร
  12.8 กรณีไถ่ถอนจำนอง ให้แสดงสำเนาสัญญากู้ สัญญาจำนอง Statement/ใบเสร็จการผ่อนชำระย้อนหลัง 12 เดือน 
  12.9 กรณีซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย ให้แสดงใบเสร็จรับเงิน หลักฐานแสดงการซื้อหรือรายการอุปกรณ์ฯ ที่ประสงค์จะซื้อพร้อมราคาโดยประมาณ
  * ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ในเอกสารข้อ 12.2 – 12.8
* กรณีมีผู้กู้มากกว่า 1 คน ผู้กู้ร่วมทุกคนจะต้องนำเอกสารส่วนตัวและเอกสารรายได้ (แล้วแต่กรณี) มาแสดงต่อธนาคารด้วย
* ในกรณีจำเป็น ธนาคารอาจขอหลักฐานอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณา
   * กรณีผู้กู้ถึงแก่ความตาย ให้ยกเว้นการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ นับแต่วันที่ธนาคารทราบข้อมูลการตายของผู้กู้จากระบบบำเหน็จค้ำประกันจนถึงวันที่กรมบัญชีกลางนำส่งเงินบำเหน็จตกทอดชำระหนี้เงินกู้ให้กับธนาคาร (วันที่ตามรอบปฏิทินที่กรมบัญชีกลางกำหนด)
* อัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารกำหนดร้อยละ 13.50 ต่อปี
* เงื่อนไขอื่นๆให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกู้เงินของธนาคารอาคารสงเคราะห์ 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2645-9000
http://www.ghbank.co.th/th/services_loan_detail.php?cms_id=65&cms_cate_id=5&parent=services_loan.php?cms_cate_id=5 
 
 


วิเวก

ตอบกระทู้เมื่อ
03 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 22

เห็นคำถาม K.Keth แล้วสงสัยว่าบำเน็จตกทอดและเงินตามสิทธิต่างๆของสมาชิกที่ไม่มีทายาทจะทำอย่างไร จำได้ว่าเขียนมอบระบุบุคคลไว้หลายปีแล้วของชพค.ซึ่งระเบียบและขั้นตอนก็ไม่รัดกุมนัก อื่นๆไม่เห็นมีใครพูดถึงเลย ปีนี้สังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อีกสักสิบปีข้างหน้าสังคมไทยจะต้องเผชิญกับสังคมผู้สูงอายุไร้ญาติเพราะมีแต่มรดกหนี้ รัฐบาลจะต้องเตรียมการไว้แต่เนิ่นๆ ไม่ใช่แค่กระตุ้นเศรษฐกิจเฉพาะหน้าอย่างเดียว ตะกอนหนี้ปัจจุบันมันจะเป็นตระกันในอนาคต.



kai-ka

ตอบกระทู้เมื่อ
03 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 23
 
 
ღ(。◕‿◠。)ღ




4kaews

ตอบกระทู้เมื่อ
04 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 24
k.tanaew
มาแล้วของขวัญปีใหม่ขรก.

นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการปรับปรุงร่างหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะสำหรับตำแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นระยะ ๆ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถ ความชำนาญการ หรือ ความเชี่ยวชาญ ในตำแหน่งและวิทยฐานะที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ตามมาตรา 55 ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 หรือ การคงอยู่ในวิทยฐานะ เมื่อเร็ว ๆ นี้  ที่ประชุมได้พิจารณาร่างดังกล่าวตามที่ ก.ค.ศ.มอบหมาย แล้วเห็นว่าควรมีการประเมินการคงอยู่ในวิทยฐานะ ทุกๆ 3 ปี ซึ่งการประเมินจะต้องไม่เพิ่มภาระงาน และเป็นการประเมินในงานปกติ ทำตัวชี้วัดที่ชัดเจนสะท้อนถึงความรู้ความสามารถของวิทยฐานะนั้นๆ และเป็นการประเมินการปฏิบัติงานในอดีต 3 ปีที่ผ่านมา โดยกำหนดเกณฑ์การตัดสินว่า "ผ่าน" หรือ "ไม่ผ่าน" และแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ พอใช้ ดี ดีมาก และดีเด่น

เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวต่อไปว่า ส่วนผู้ทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินนั้น คณะกรรมการฯเห็นว่าผู้ที่จะต้องเข้ารับการประเมินมีหลายแสนคน ดังนั้นผู้ทำหน้าที่ประเมินควรเป็นผู้บังคับบัญชา หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่อยู่ในพื้นที่ของผู้รับการประเมิน และคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(อ.ก.ค.ศ.)เขตพื้นที่การศึกษาต้องดูแลในส่วนนี้ด้วย

"ในกรณีไม่ผ่านมีลำดับตามกฎหมาย ว่า ถ้าไม่ผ่าน 1.ให้ไปพัฒนา ซึ่ง ก.ค.ศ. จะมีการสร้างหลักสูตรไว้ 2.ดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง หรือ งดจ่ายเงินวิทยฐานะ หรือเงินประจำตำแหน่ง และ 3. ถ้าพัฒนาแล้วไม่ผ่านอีกก็ต้องดำเนินการตามมาตรา 110 (6) คือการปฏิบัติราชการโดยไม่มีประสิทธิภาพให้ออกจากราชการ ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่ ก.ค.ศ.กำหนด ซึ่ง ก.ค.ศ.จะต้องไปกำหนดอีก 3 หลักเกณฑ์ ว่าจะพัฒนาอย่างไรมีเงื่อนไขอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นยาแรง"นางศิริพรกล่าวและว่า สำนักงาน ก.ค.ศ.จะเร่งปรับปรุงร่างดังกล่าวให้แล้วเสร็จเพื่อเสนอ ก.ค.ศ.พิจารณา ซึ่งคาดว่าอย่างเร็วน่าจะประกาศใช้ในปี 2558
 
ปู่กระสันถึงไก่ไก่ก็มา เอ๊กอี๊เอ้กเอ๊ก...ปิ๊ด..


OBOB

ตอบกระทู้เมื่อ
31 ก.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 25

 กฎหมายว่าด้วยการกลับไปใช้สิทธิในพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ พ.ศ. 2494 (undo) คาดว่าจะมีผลใช้บังคับ ธันวาคม  2557 ขณะนี้ยังไม่เปิดรับสมัคร

 

http://www.cgd.go.th/wps/portal/cgd/home2



K.ET

ตอบกระทู้เมื่อ
29 ส.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 26
หลายคนพยายามเข้าตามลิงค์หลายครั้งแต่เข้าไม่ได้ งมไปงมมาพบว่า บางครั้ง IE ใช้ไม่ได้ต้องแก้ปัญหาด้วยการคัดลอก http://www.cgd.go.th/wps/portal/cgd/home2  ไปวางที่ไฟร์ฟอกซ์ค่ะ


บัวบก

ตอบกระทู้เมื่อ
09 ก.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 27

แวะมาส่งข่าวค่ะ ท่านที่ยังไม่ทราบว่าจะคืนเงินหรือเก็บไว้ทำทุน ต้องเตรียมตัวกันได้แล้ว ภายใน 30 มิถุนายน 2558 นะคะเป็นอันสิ้นสุด เช็คยอดเงินส่วนที่ต้องคืน กบข.ได้ที่ 1179 (รอนิดแล้วแจ้งหมายเลข13 หลัก) เจ้าหน้าที่จะแจ้งยอด แล้วเรามาคำนวณส่วนต่างเองจากสูตรของเว็บที่วางไว้ข้างบนค่ะ



k.juy

ตอบกระทู้เมื่อ
09 ก.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 28
มีข้อสงสับเข้าไปวางคำถามกันที่นี่ได้ครับ ชัดเจนทุกคำตอบ
 


Mayjung

ตอบกระทู้เมื่อ
09 ก.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 29
สิ่งที่สมาชิกควรทำก่อนการ undo กบข
         1. เช็คยอดเงิน กบข. ที่ GPF Webservice 
         2  เช็คเงิน บำนาญสูตร 2494 และสูตร กบข.ได้ที่tp://www2.cgd.go.th/rightMenu_7.asp

       3 เปรียบเทียบข้อมูล (เงิน กบข.และส่วนต่างบำนาญ) ก่อนตัดสินใจ



poom

ตอบกระทู้เมื่อ
09 ก.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 30

ในครอบครัวมีผู้อาวุโสสองคน เห็นคุยกันเรื่องนี้อยู่หลายครั้งไม่ตัดสินใจกันสักทีว่าจะคืนเงินหรือไม่คืน มีความเห็นว่ามีอีกข้อนะคะที่ใช้ประกอบการตัดสินใจคือสุขภาพและอดีตกรรมอย่างที่ Mayjung พูดถึงค่ะ



KROOPAD

ตอบกระทู้เมื่อ
10 ก.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 31
คัดมาฝากค่ะ
 
"ตอนนี้เพิ่งผ่านวาระแรก สนช ค่ะ หากไม่มีการปรับแก้ใดๆ ก็จะประกาศเป้นกฎหมาย เมื่อยังไม่ประกาศเป็นกฎหมาย จึงต้องยึดเวลาตามหลักเกณฑ์เดิมอยู่ ดังนั้นตอนนี้ต้องติดตามการพิจารณาจาก ครม. ค่ะ ซึ่งถ้ามีความคืบหน้าใดๆ กบข. จะรีบแจ้งให้ทราบนะคะ ในระหว่างนี้ อยากให้คุณตรวจสอบเรื่องเงินก่อนนะคะ โทรเข้ามาสอบถามที่ 1179 กด 6 จะได้ทราบว่าเงินที่จะได้รับคืนเท่าไหร่ หรือหากเป็นข้าราชการบำนาญจะได้ทราบว่าเงินที่ต้องหักกลบลบกันเป็นยอดเท่าไหร่ จะได้เตรียมตัวถูกต้องนะคะ"
 


poom

ตอบกระทู้เมื่อ
12 ต.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 32
ข่าวดีค่ะ ที่รอคอยกันผ่านแล้ว ผู้อาวุโสที่บ้านดีใจกันมากๆ ขอบคุณผู้มีส่วนขับเคลื่อนทุกท่านมาในโอกาสนี้ด้วยนะคะ ว่าแต่ตกลงคืนเงินหรือไม่คืนมันคุ้มหรือไม่คุ้ม(ถามใครดี)


KROOPAD

ตอบกระทู้เมื่อ
12 ต.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 33
K.poom
 
สมาชิกแต่ละท่านมีข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเรื่องอายุราชการที่เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างเงินบำนาญสูตรสมาชิกนะคะ
สูตร 2494 นอกจากอายุราชการแล้ว ยังมีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงเช่นสุขภาพและความจำเป็นในการใช้เงินก้อน สมาชิกต้องใช้ข้อมูลของตัวเองในการพิจารณา และตัดสินใจด้วยตัวเองค่ะ


winwin

ตอบกระทู้เมื่อ
12 ต.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 34
ต้องหาเงินไปคืนกบข.กว่า 500000 บาทเพื่อรับเงินเพิ่มอีกเดือนละ 5000  คุ้มหรือเปล่า เอาเงินฝากไว้กินดอกเบี้ยดีมั้ย ใครมีตัวอย่างการคำนวณเอามาแลกเปลี่ยนกันดีมั้ยครับ คิดตัดสินใจด้วยตัวเองอาจผิดพลาดได้


Mayjung

ตอบกระทู้เมื่อ
12 ต.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 35

ลุงวิน ตัวเลขมันกลมไปวิเคราะห์ยาก แต่สงสัยว่าเงินก้อนนั้นมันคือเงินก้อนที่หักลบหรือยัง? ควักตามสูตรแล้วมันไม่มีความน่าจะเป็น อายุราชการเท่าไหร่? ลองเอาตัวเลขแบบเป๊ะๆมาวางได้sinvเปล่าเพื่อเป็นตัวช่วยในการพิจารณา หรือแค่ต้องการคำตอบว่าคืนหรือไม่คืน คุ้มหรือไม่คุ้มก็ถามสุขภาพและความจำเป็นเฉพาะตัวเองหลายๆครั้ง แต่ฟังหลายคนบอกเก็บเงินฝากประจำหรือเล่นหุ้นกับสถาบันมั่นคงน่าจะดีกว่า



บำนาญ

ตอบกระทู้เมื่อ
12 ต.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 36

มีความเห็นว่า พรบ.นี้เอื้อประโยชน์ให้พี่น้องข้าราชการชายแดนโดยเฉพาะทหารหาญที่มีเวลาทวีคูณเยอะๆ  ข้าราชการทหารชั้นผู้น้อยเงินเดือนไม่มากนัก เกษียณแล้วเงินเดือนเหลือแทบไม่พอใช้ สมควรได้undo ส่วนข้าราชการอื่นๆที่มีเวลารับราชการไม่ถึง 35 ปี แต่เงินเดือนมากๆ อย่าเสียดายเลยเงินเพิ่มนิดหน่อยแต่ต้องเอาเงินก้อนใหญ่ไปคืนน่ะ สู่เอาไปลงทุนให้ดอกผลงอกเงยดีกว่า ยิ่งถ้าต้องไปหาเงินนอกระบบคืนไปแล้วเจ็บป่วยล้มหายตายจากสงสารคนค้ำประกันเน้อ



คลื่นใต้น้ำ

ตอบกระทู้เมื่อ
12 ต.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 37
ลองแทนค่าเม็ดเงินของแต่ละคนจากตุ๊กตาทหารไทยนี้กันนะคะ
เกษียณปี 56
กบข.จ่ายให้ 761,029.55 บาท
ได้รับบำนาญ กบข.เดือนละ 18,152.75 บาท
หักเงินสะสมออก188,358.14 บาท
คงเหลือ 572,671.41 บาท
undo ง/ดเดือนสุดท้าย 30,790 บาท
ทวีคูณ 46 ปี หาร 50 = 28,326.8 บาท
ผลต่างเท่ากับ 28,326.8 - 18,152.75 = 10,174.05
10,174.05 x 24 เดือน = 244,177.2 บาท
เพราะฉะนั้นต้องคืน กบข 572,671.41 - 244,177.2 = 328,494.21บาท
ถ้าต้องคืนเงินให้กบข. 328,494.21 บาท แล้วรับบำนาญเดือนละ 28,326.8 บาท
คุ้มไหม 


คลื่นใต้น้ำ

ตอบกระทู้เมื่อ
12 ต.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 38

ขั้นตอนการขอรับสิทธิบำนาญแบบเดิม ประกอบด้วย

1.ให้สมาชิก กบข.ที่จะขอไปรับสิทธิบำนาญแบบเดิม แจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 30 ก.ย. 2558 โดยสมาชิกภาพกบข.จะสิ้นสุดในวันที่ 1 ต.ค. 2558

2.ผู้ซึ่งต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใดๆ ยกเว้นถึงแก่ความตายก่อนวันที่ 1 ต.ค. 2558 ให้สมาชิกภาพของสมาชิก กบข.สิ้นสุดนับจากวันที่ออกจากราชการ

3.การแสดงความประสงค์ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2558 หรือวันออกจากราชการ และให้ได้รับบำนาญเดิม

4.ข้าราชการตามข้อ 1-3 ไม่มีสิทธิได้รับเงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว โดยให้ กบข.ส่งเงินดังกล่าวเข้าบัญชีสำรอง สำหรับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว กบข.จะจ่ายเงินให้แก่ข้าราชการผู้นั้น

5.หากข้าราชการที่แสดงความประสงค์ไว้แล้ว ถึงแก่กรรมก่อนวันที่ 1 ต.ค. 2558 หรือวันก่อนออกราชการ ให้ถือว่าการแสดงความประสงค์นั้นไม่มีผลบังคับใช้

 

ทั้งนี้

ขั้นตอนการขอรับเงินบำนาญแบบเดิม ประกอบด้วย

1.ผู้รับบำนาญต้องคืนเงินก้อน (เงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ และผลประโยชน์จากเงินดังกล่าว)ที่รับไปแล้วแก่ทางราชการ โดยผู้รับบำนาญจะได้รับบำนาญตามสูตรเดิมตั้งแต่วันที่ออกจากราชการจนถึงวันที่ 30 ก.ย. 2558 โดยวิธีหักกลบลบกัน

2.เมื่อหักกลบลบแล้วหากมีกรณีที่รับบำนาญต้องคืนเงิน ให้ผู้รับบำนาญคืนเงินแก่ราชการผู้เบิกภายในวันที่ 30 มิ.ย. 2558 เพื่อนำส่งกรมบัญชีกลางแต่หากมีกรณีที่ต้องคืนให้กับผู้รับบำนาญ กรมบัญชีกลางจะคืนเงินให้ผู้รับบำนาญ หากมีเงินเหลือจะนำส่งเข้าบัญชีสำรอง

3.ผู้รับบำนาญที่แสดงความประสงค์แล้ว เป็นผู้รับบำนาญแบบเดิมตั้งแต่วันที่ออกจากราชการ แต่หากผู้รับบำนาญมีกรณีต้องคืนเงินให้ดำเนินการภายในวันที่30 มิ.ย. 2558 ถึงจะได้รับสิทธิ

สำหรับการยื่นเรื่องแสดงความประสงค์ ข้าราชการต้องยื่นตามส่วนราชการที่ปฏิบัติราชการอยู่ คือ ผู้รับบำนาญยื่นได้ที่ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญ ข้าราชการส่วนท้องถิ่นยื่นได้ที่ส่วนราชการส่วนท้องถิ่น ผู้เบิกบำนาญ และพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ยื่นได้ที่ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญของพนักงานมหาวิทยาลัย

ในกรณีที่ผู้เบิกบำนาญที่ต้องคืนเงินแก่ทางราชการหากต้องการคืนเงินทั้งจำนวน ต้องคืนภายในวันที่ 30 มิ.ย. 2558 แต่หากจะแบ่งชำระเงินเป็นงวด สามารถแบ่งชำระได้ 3 งวด ตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย.-30 ก.ย. 2558

"ภายในเดือน ต.ค.และ พ.ย.นี้ กรมบัญชีกลางจะให้ความรู้กับส่วนราชการเพื่อปฏิบัติงานในเรื่องนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้แก่กลุ่มผู้มีสิทธิ นอกจากนี้ได้ประสานงานกับ กบข.เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบำนาญในการประมาณการยอดเงิน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว" มนัส กล่าว

ยิ่งยง นิลเสนา รองเลขาธิการ กบข. กล่าวว่ากบข.ได้ประเมินจำนวนตัวเลขสมาชิกและเม็ดเงินที่จะออกจากผลของ พ.ร.บ.ดังกล่าวไว้แล้ว แต่เชื่อว่าตัวเลขไม่น่าจะมาก ไม่ทำให้ กบข.ต้องขายสินทรัพย์เพื่อนำเงินมาคืนสมาชิก เพราะการลงทุนในพันธบัตรสัดส่วน 63-64% ของพอร์ตที่ทยอยครบอายุและดอกเบี้ยรับที่เพียงพอจ่ายเงินคืนสมาชิก



บัวบก

ตอบกระทู้เมื่อ
13 ต.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 39

ท่านมนัสแถลงว่าได้ประสานงานกับ กบข.เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบำนาญในการประมาณการยอดเงิน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ฟังอย่างนี้แล้วค่อยสบายใจหน่อย อย่างไรก็เผื่อเวลาให้ต.เต่าต้วมเตี้ยมด้วยนะคะ ส่วนใหญ่ก็สว.กันแล้วถามลูกหลานมากก็เกรงใจกลัวจะสร้างความรำคาญเด็กสมัยนี้มีเวลาให้คนแก่น้อย หรือว่าเราว่างมากไป? เอาเป็นว่ากรมบัยชีกลางไม่ทันใจไม่ไรแต่อย่าให้ไม่ทันกาลก็แล้วกันเน้ออ



Krootanoi

ตอบกระทู้เมื่อ
13 ต.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 40
คิคิ
แต่หนูฟังว่าท่านมนัสประสานกบข.ต่างหาก กรมบัญชีกลางไม่เกี่ยว
กบข.จะแจ้งเฉพาะยอดเงินที่จะต้องเอาไปคืนให้เค้าแบบดิบๆเลย ไม่คิดหักลบกลบหนี้เพราะคนละหน่วยงาน คนละส่วนกัน ลองเช็คดูที่ 1179 กันแล้วใช่มั้ยคะ ช่วงนี้รอนานหน่อยนะคะขรก.เป็นแสนๆพุ่งไป 1179 สายจะไหม้แล้ว คำนวณเองตามความเห็นที่30 เลยค่ะ มีเวลาตัดสินใจอีกตั้งปี


poom

ตอบกระทู้เมื่อ
22 ต.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 41

ผู้อาวุโสที่บ้านคุยกันว่า โดยพ.ร.บ.นี้ เอื้อประโยชน์แก่ผู้มีเวลาราชการทวีคูณแต่ข้าราชการครูเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีทวีคูณซึ่งในจำนวนนั้นมีไม่น้อยเลยทีเช้าชามเย็นชาม น่าสงสารครูเกษียณในเมืองพื้นราบที่ทำงานหนักตลอดชีวิต เกียติบัตรสารพัดผลงานเต็มฝาบ้านแทนเบี้ยหวัดและเหรียญกล้าหาญ เงินบำนาญทหารเกษียณได้ปรับอีกเป็นเท่าตัวจนบางคนเลยเพดาน บำนาญหน่วยอื่นๆเพิ่มนิดหน่อยเอง อย่างนี้มั้ยที่ว่าได้กล่องไม่ได้เงินน่ะ 



บัวบก

ตอบกระทู้เมื่อ
23 ต.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 42
k.poom ครูในพื้นราบต้องเสี่ยงภัยอันตรายมีความปลอดภัย อยู่กับสิ่งอำนวยความสะดวกเท่าที่ต้องการ เกียรติบัตรสารพัดผลงานหมายถึงการพิจารณาความดีความชอบพิเศษแล้วไม่ใช่หรือคะ ลองเปรียบเทียบเงินเดือนของแต่ละหน่วยงานดู ข้าราชการทหารที่จะได้ทวีคูณมากๆก็คือต้องทำงานในที่เสี่ยงภัย ส่วนใหญ่ก็ชั้นผู้น้อยเงินเดือนจะขึ้นแต่ละคืบก็กระดืบกระดืบ มีข้อปลอบใจสำหรับผู้อาวุโสคือลดอัตตาได้ก็ไม่ทุกข์อย่าเปรียบเทียบกับคนอื่น ตัว เราเองทำดีให้ได้ในทุกวันไม่เดือดร้อนคนอื่นก็สุดยอดสุขแล้วค่ะ


kid kid

ตอบกระทู้เมื่อ
25 ต.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 43
มีปัญหามาให้ถกกันทุกวันบางคนสงสัยว่า รับเงินก้อนจากกบข.คราวก่อนปลอดภาษี ครั้งหลังนี้จะยังใจดีเหมือนเดิมหรือปล่า บางคนคิดแล้วคิดอีก เสียดายดอกเบี้ยถ้าเอาเงินก้อนใหญ่(เงินเดือนเยอะ)ที่ได้มาโดยไม่เสียภาษีไปคืนกบข.แล้วกลับไปใช้สิทธิ์บำนาญแบบเดิมที่ไม่ต่างมาก(อายุราชการน้อย)แต่ต้องเสียภาษีรายเดือน เพิ่มปลายปี สู้เอาเงินก้อนฝากประจำไว้ดีกว่า เฮ้อ..เซทซีโร่อย่างครูแป๊ดได้คงดี


Kroomaew

ตอบกระทู้เมื่อ
29 ต.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 44
 
 
   ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาของผู้ที่เกษียณแล้วกำลังตัดสินใจคืนเงินก้อนที่รับไปตอนปีเกษียณและจะขอกลับไปรับบำนาญแบบเก่าใช่มั้ยคะ มีใครบ้างอยู่ระหว่างให้เลือกลาออกหรือไม่ลาออก จะเกษียณปีหน้า( ตุลาคม 58 )  มีเหตุผลในการตัดสินใจกันอย่างไรบ้างมาแชร์หน่อยสิคะ  แต่พี่สาวที่เออรี่มาตั้งแต่ปี 55 เตรียมเงินไว้คืนแล้วค่ะ เกือบๆ400,000 บอกว่าเอาฐานเงินเดือนมากๆไว้เผื่อการคิดเปอร์เซนต์ขึ้นเงินเดือนในแต่ละรัฐบาลน่ะค่ะ รวมถึงเตรียม 15 เท่าของบำนาญไว้ให้ผู้ดูแลชีวิตตอนปลายค่ะ
ღ(。◕‿◠。)ღ


win win

ตอบกระทู้เมื่อ
30 ต.ค. 2557
  ความคิดเห็นที่ 45
ความเห็น Kroomaew ก็น่าคิดเพราะเวลาปรับเงินเดือนแต่ละครั้งคิดเป็นเปอร์เซนต์ แต่นึกอีกที อยู่นานๆไปพอเงินเดือนตามค่าครองชีพ เศรษฐกิจ สังคมไม่ทัน รัฐก็ปรับเงินเดือนให้อยู่แล้ว ส่วนเรื่องทายาทยิ่งไม่ต้องห่วงสารพัดโครงการสะสมเงินวิ่งเข้ามาหา การปรับเม็ดเงินแต่ละครั้งได้ดีที่สุดก็สถาบันการเงินนี่แหล่ะ จมูกไวเป็นมดรู้ก่อนเจ้าตัวอีกว่ามีเงินเข้าบัญชี การทำทุรกรรมการเงินเพื่อลดหย่อนภาษีติดปลายนวมมาทุกยอดเงินแล้ว รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีหว่านเงินอย่างนี้ ได้ดีสถาบันการเงิน เงินรายได้รัฐก็ฝืดเคืองต่อไปหันมาบี้เอากับชาวบ้านตาดำดำกินผักบุ้งกำละห้าบาทต่อไป


Kid Kid

ตอบกระทู้เมื่อ
01 พ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 46
คนรุ่นใหม่เริ่มเข้างานรับเงินเดือนหมื่นห้า เราเองจบใหม่ได้ไม่ถึงสองพัน เวลาผ่านไปจนวันนี้ความต่างก็ห่างออกทุกทีๆ ใครที่มองว่ามีความเหลื่อมล้ำในพรบ.ฉบับนี้ก็ปลงๆเสียเถอะ คิดว่ารัฐบาลปรับเงินตามสถานะการเงินเศรษฐกิจและสังคมก็แล้วกัน ดูๆไปเหมือนข้าราชการถูกบังคับให้ซื้อลอตเตอรี่
 
 
ღ(。◕‿◠。)ღ



Mayjung

ตอบกระทู้เมื่อ
01 พ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 47
ไม่ได้บังคับนะ แต่ให้ทางเลือกบัตรการกุศลแบบสอยกัลปพฤกษ์งานกาชาด!!
ฟังว่าบางกลุ่มงานที่เกษียณไปแล้วเกินสิบปีได้เงินคืนก้อนโตๆ หลักล้านแถมเพิ่มรายเดือนอีกเป็นหลายหมื่น ผลกรรมคือผลของการกระทำจริงๆเลย ตกลงว่าครูแป๊ดแกจะคืนเงินเปล่าเนี่ย ถ้าไม่คืนก็เอามาปล่อยให้เพื่อนฝูงแปรธาตุก่อน 555+++


KROOPAD

ตอบกระทู้เมื่อ
04 พ.ย. 2557
  ความคิดเห็นที่ 48
ข้อควรพิจารณาในการตัดสินใจเลือก undo หรือไม่นอกจากจะคำนวณจากอายุ
ราชการ และสุขภาพแล้วยังมีเรื่องวินัยการใช้เงินมาประกอบการพิจารณาค่ะ ถ้าเราเซ็ทระบบการเงินของเราให้ดีเอาเงินก้อนไปแลกเงินปลีก ยิ่งอยู่นานเท่าไหร่ก็จะมีขวัญถุงทิ้งให้ทายาทมากขึ้น ในขณะที่บางคนระบบล่มเก็บเงินก้อนว้ก็มีสิทธิ์ทิ้งมรดกหนี้ไว้ให้ลูกหลานได้ค่ะ ยุคสมัยที่คนเรามีอวัยวะมากกว่าสามสิบสอง และต้องการมากกว่าสี่ปัจจัยก็ต้องไตร่ตรองกันทะลุมิติ ไม่แน่นะว่าที่คิดไว้อาจไม่มีตัวตน เพราะสิ่งที่เห็นไม่แน่ว่ามีอยู่จริง ฮิฮิ ขอให้โชคดีกันทุกคนค่ะ 
 


สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved