Neric-Club.Com
  สารบัญเว็บไซต์
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14030699  

กระดานแสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ    

witjung

ตั้งกระทู้เมื่อ
22 พ.ย. 2558
  ช่วยกันตามหาจิตสำนึก(ดีกว่า)
     

ถามหาจิตสำนึก



   การเป็นหนี้ไม่ใช่ปัญหา แต่การไม่ชำระหนี้ต่างหากที่เป็นปัญหา ปลัด ศธ.ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ จากครูเป็นหนี้ 4 แสนกว่าคนก็ไม่ได้แปลว่าทั้งหมดมีปัญหา จากการสำรวจพบมีครูแค่ 6 หมื่นกว่าคนเท่านั้นที่ค้างชำระหนี้ ในหลายสาเหตุทั้งๆ มีเงินแต่กลับไม่ชำระ บางคนก็มีปัญหาเพราะการไปคํ้าประกันแล้วเพื่อนเบี้ยวหนี้ ทำให้ต้องไปแบกรับภาระของเพื่อนด้วย

   แม้ในส่วนของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มีผู้ที่ครบกำหนดและอยู่ระหว่างชำระหนี้จำนวน 2,185,133 ราย ค้างชำระหนี้จำนวน 1,205,626 ราย สาเหตุสำคัญของผู้ที่ไม่มาชำระหนี้ ลำดับแรก คือ ไม่มีงานทำ ไม่มีเงิน ถัดมาคือมีเงิน มีงานทำ แต่ตั้งใจไม่มาชำระหนี้

   นี่ยังไม่รวมถึงกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ปล่อยกู้ไปตั้งแต่ปี 2549 มีทั้งหมด 345,100 ราย แต่ครบกำหนดชำระ 267,184 ราย ยังคงค้างชำระอีก 190,700 ราย เป็นเงิน 7,243 ล้านบาท สำรวจพบสาขาที่มีผู้ค้างชำระมากที่สุดคือ สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ อยู่ที่ประมาณร้อยละ 72

  คงต้องขีดเส้นหนาๆ เอาไว้ใต้ข้อความตรงที่ กลุ่มแพทย์ และกลุ่มสาธารณสุข-พยาบาลอยู่ที่ร้อยละ 51 ถึงร้อยละ 57 ตามลำดับ ซึ่งกลายเป็นการตั้งข้อสังเกตจากสังคมว่าเป็นกลุ่มมีงานทำแน่นอน แต่กลับไม่ยอมชำระหนี้ นี่คือปัญหาที่สะท้อนให้เห็นถึงความมีวินัยและจิตสำนึกแล้ว ยังคลุมไปถึงคุณธรรม จริยธรรมของแต่ละกลุ่มแต่ละบุคคลในองค์กรนั้นๆ อีกด้วย

   นอกจากเรื่องปัญหาการเป็นหนี้แต่ไม่ยอมชำระหนี้แล้ว หน่วยงานราชการบ้านนี้เมืองนี้ยังเต็มไปด้วยปัญหาธรรมาภิบาล ขาดความโปร่งใสในการบริหารจัดการโดยอาศัยช่องโหว่ทางกฎหมายแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนและพรรคพวกบริวาร จนต้องมีหน่วยงานปราบปรามทุจริตขึ้นมาหลายแห่งอย่างที่เห็นและท้ายสุดหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ปราบโกงบางแห่ง กลายเป็นปัญหาเสียเอง ชนิดที่สังคมต้องถามหาคุณธรรมธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลด้วยเช่นกัน

   ความเสื่อมที่ประจักษ์ทั้งหลายนี้น่าจะถึงขั้นวิกฤตชนิดที่กระทรวงศึกษาธิการต้องผุดโรงเรียนคุณธรรม ถึงขั้นให้เป็นส่วนหนึ่งของการประกันคุณภาพสถานศึกษา เพื่อเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้เกิดขึ้นในเด็กและเยาวชนติดตัวไปตลอด แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงในกลุ่มอุดมศึกษา คือ ปัญหาธรรมาภิบาลในมหา"ลัย ซึ่งผู้บริหารศธ.เองออกมายอมรับแล้วว่า แก้ยากจริงๆ อาจจะเข้าทำนองการใช้หลักธรรมาภิบาลไม่ใช่ปัญหา แต่ผู้บริหารที่ขาดซึ่งธรรมาภิบาล ต่างหากที่เป็นตัวปัญหา

อ่านแล้วเราก็มาช่วยกันตามหาจิตสำนึกกันเถอะ



Krootanoi

ตอบกระทู้เมื่อ
22 พ.ย. 2558
  ความคิดเห็นที่ 1
    นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ในฐานะปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) เปิดเผยว่า วันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ จะนำผลการสำรวจข้อมูลเงินคงเหลือของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในทุกสังกัด ทั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และวิทยาลัยชุมชน เสนอต่อ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาในภาพรวม
    จากการสำรวจครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสพฐ. 115,597 คน พบว่ามีรายรับคงเหลือต่ำกว่า 30% 40,274 คน รายรับเหลือ 30-50% 27,852 คน รายรับเหลือ 50% 46,999 คน
    สอศ. 11,218 คน รายรับคงเหลือต่ำกว่า 30% 2,247 คน รายรับเหลือ 30-50% 2,269 คน รายรับเหลือ 50% 6,565 คน / กศน. 1,712 คน รายรับคงเหลือต่ำกว่า 30% 316 คน รายรับเหลือ 30-50% 320 คน รายรับเหลือ 50% 1,065คน สช. 165 คน รายรับคงเหลือต่ำกว่า 30% 8 คน รายรับเหลือ 30-50% 15 คน รายรับเหลือ 50% 141 คน / วิทยาลัยชุมชน 267 คน รายรับคงเหลือต่ำกว่า 30% 32 คน รายรับเหลือ 30-50% 57คน รายรับเหลือ 50% 178 คน
     สำหรับตัวเลขดังกล่าวยังเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ทางต้นสังกัดแจ้งมายังก.ค.ศ.เท่านั้นยังต้องรอข้อมูลเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งโดยเฉพาะครูสังกัดสพฐ.และสอศ.ซึ่งบางคนยังไม่ยอมเปิดเผยข้อมูล



ครูทะเล

ตอบกระทู้เมื่อ
22 พ.ย. 2558
  ความคิดเห็นที่ 2
     ออมสินจ่อฟ้องครูเบี้ยวหนี้กว่า 1.3หมื่นคน

   เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ภาพรวมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัด ศธ.มีหนี้ทั้งระบบประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ที่กู้สหกรณ์ออมทรัพย์ครู และแหล่งกู้อื่นกว่า 7 แสนล้านบาท และหนี้ที่กู้กับธนาคารออมสิน ผ่านโครงการสวัสดิการเงินกู้กองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) จำนวน 4.7 แสนล้านบาท 

   โดยจำนวนนี้พบว่ามี 6.6 หมื่นคน ที่กองทุนเงินสนับสนุนพิเศษและส่งเสริมความมั่นคงตามโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค.จ่ายหนี้แทนให้ตั้งแต่ปี 2551 เป็นเงิน 5 พันกว่าล้านบาท ในจำนวนนี้มีผู้ที่ผิดนัดชำระหนี้มากกว่า 3 งวดขึ้นไป และถูกธนาคารออมสินยื่นโนติสไปแล้ว 13,405 คน ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 5.2 หมื่นคน ยังไม่ถึงขั้นถูกฟ้อง 

   โดยผู้ที่ถูกธนาคารออมสินยื่นโนติส และเตรียมจะฟ้องทั้งหมด ธนาคารออมสินได้ส่งรายชื่อให้ ศธ.หมดแล้ว ซึ่งมีทั้งระดับผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และผู้อำนวยการโรงเรียน รวมอยู่ด้วย ต้องรอดูอีก 15 วัน ว่าทั้งหมดจะติดต่อเพื่อขอชำระหนี้หรือไม่ หากไม่ติดต่อไป ธนาคารคงต้องฟ้องร้องตามกฎหมาย



KTC

ตอบกระทู้เมื่อ
22 พ.ย. 2558
  ความคิดเห็นที่ 3
   ออมสินจ่อฟ้องครูเบี้ยวหนี้กว่า 1.3หมื่นคน 


นายประวิทย์ บึงไสย์ ประธานชมรมครูประชาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า กรณีธนาคารออมสินเตรียมฟ้องครูที่ผิดนัดชำระหนี้ 3 งวด จำนวน 13,405 คน ในจำนวนนี้รวมถึงผู้อำนวยเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และผู้อำนวยการโรงเรียน ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 5.2 หมื่นคน อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะฟ้องร้องดำเนินคดีเพิ่มเท่าไหร่นั้น แม้ครูผิดนัดชำระหนี้จะเป็นเรื่องที่ผิดกติกาที่ตกลงกันไว้ แต่มองว่าการที่จะให้คู่กรณีอย่างธนาคารออมสินฟ้องร้องยังเป็นเรื่องที่ไม่สมควร หากฟ้องร้องปัญหาจะไม่ได้อยู่เฉพาะครูที่เป็นหนี้เท่านั้น แต่จะกระทบไปถึงผู้ค้ำประกันอีกด้วย มองว่าการพูดคุยกันโดยมีคนกลางอย่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) หรือคณะกรรมการโครงการสวัสดิการเงินกู้กองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ที่มีหน้าที่ดูแลครูเข้ามาช่วยเหลือ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ไม่ใช่ผลักภาระไปที่ธนาคารออมสิน หรือตัวผู้กู้เลย เพราะหากฟ้องร้องแล้ว เรื่องจะบานปลายไปเรื่อยๆ สุดท้ายผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสังคมมากที่สุดคือความเป็นครู ที่จะไม่มีใครเชื่อมั่น

 "ที่ ศธ.แบ่งกลุ่มครูที่เป็นลูกหนี้ โดยจะให้ความช่วยเหลือในกลุ่มครูที่กู้เงินเพื่อนำไปรักษาบุพพการี หรือกู้เป็นค่าใช้จ่ายบุตรเป็นกลุ่มแรกนั้น ดีถ้าทำได้จริง แต่ยังมีครูที่เป็นหนี้อีกกลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือกลุ่มที่กู้เงินเพื่อไปปลดหนี้ แต่ไม่สามารถปลดได้ ศธ.น่าจะเพิ่มความช่วยเหลือมายังคนกลุ่มนี้ด้วย ผมมองว่าสิ่งที่จะแก้ปัญหาหนี้ครูได้ดีที่สุดคือลดดอกเบี้ย"นายประวิทย์กล่าว


หนอนไซเบอร์

ตอบกระทู้เมื่อ
22 พ.ย. 2558
  ความคิดเห็นที่ 4
   สมาพันธ์ครูแห่ง ปทท.จี้ ศธ.ช่วยครูเบี้ยวหนี้ทุกกลุ่ม

   นายสนอง ทาหอม ประธานสภามนตรีสมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (ส.ค.ท.) เปิดเผยว่า กรณีธนาคารออมสินเตรียมฟ้องครูที่ผิดนัดชำระหนี้ 3 งวด จำนวน 13,405 คน ในจำนวนนี้รวมถึงผู้อำนวยเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และผู้อำนวยการโรงเรียนนั้น ตั้งแต่รับราชการครู ยังไม่เคยเห็นครูตกอยู่ในสภาวะลำบากขนาดนี้ ได้แต่ฝากความหวังไว้ที่ปลัด ศธ.ที่ต้องการแก้ปัญหาหนี้สินครู ซึ่งควรจะประสานงานกับเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) หรือธนาคารออมสิน รวมถึง อาจต้องทำบันทึกข้อตกลง หรือเอ็มโอยูใหม่ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะเมื่อครูล้ม ผลกระทบจะตกอยู่กับนักเรียน คุณภาพการศึกษาไทยจะย่ำแย่ลงไปด้วย ปลัด ศธ.จึงเป็นคนสำคัญที่จะหามาตรการเพื่อช่วยเหลือครู และการศึกษาของทั้งประเทศ
 "ที่ ศธ.จะให้ความช่วยเหลือกลุ่มครูที่เป็นลูกหนี้ที่กู้เงินเพื่อนำไปรักษาบุพพการี หรือกู้เป็นค่าใช้จ่ายทางการศึกษาให้กับบุตรเป็นกลุ่มแรกนั้น ศธ.ต้องช่วยเหลือครูทุกคน ชีวิตครูมีค่าเท่ากัน เรือล่มจะเลือกช่วยคนไม่ได้ เพราะบางครั้งกลุ่มครูที่กู้เพื่อไปลงทุนทางธุรกิจแล้วขาดทุน สาเหตุก็มาจากหลายทาง เช่น สภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ครูไม่สามารถควบคุมได้" นายสนองกล่าว

ทำท่าจะบานนนน



k.juy

ตอบกระทู้เมื่อ
22 พ.ย. 2558
  ความคิดเห็นที่ 5
 
   พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ(ศธ.)เปิดเผยวันที่ไปเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา(สกสค.)ว่า    การแก้ปัญหาแต่ละกลุ่มจะไม่เหมือนกัน ได้มอบหมายให้ไปเชิญหน่วยงานที่ปล่อยเงินกู้ให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามาพูดคุยด้วย ไม่ว่าจะเป็นธนาคารออมสิน หรือสหกรณ์ออมทรัพย์ซึ่งถือเป็นต้นเหตุของการที่ครูเป็นหนี้เพื่อมาดูกติกาการปล่อยกู้ของแต่ละแห่งว่าเป็นอย่างไรและดูว่ามีความเชื่อมโยงกับเงินเดือนคงเหลือแต่ละเดือนของครูหรือไม่ ส่วนจะถึงขั้นรื้อกติกาการปล่อยกู้ในภาพรวมหรือไม่คงยังไม่ถึงขนาดนั้น
   สำหรับกรณีที่มีข่าวลือว่ารัฐบาลจะใช้หนี้แทนครูทั้งหมดนั้นเรื่องนี้ทำไม่ได้แน่นอนใครเป็นหนี้ก็ต้องใช้ 


Mayjung

ตอบกระทู้เมื่อ
22 พ.ย. 2558
  ความคิดเห็นที่ 6
     นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในฐานะปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) กล่าว.ในที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) เมื่อวันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2558 ว่า สกสค.ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบกรณีที่ธนาคารออมสินได้อนุมัติให้คืนเงินจำนวน 86,707,168.37 บาท ที่หักไปจากบัญชีเงินสนับสนุนพิเศษโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค. โครงการ 6 ของ สกสค. คาดว่าธนาคารออมสินจะโอนเงินจำนวนดังกล่าวเข้าบัญชีภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ หลังจากนี้จะนำเงินมาบริหารจัดการในส่วนใดนั้น ที่ประชุมจะได้พิจารณาต่อไป
     ถ้าเอาเงินส่วนนี้มาคืนกำไรให้ลูกค้าชั้นดีก็เยี่ยมไปเลย ในรูปของการปันผลหรือเฉลี่ยคืนอย่างที่สหกรณ์ออมทรัพย์ทั่วๆไปทำ อย่างนั้นจึงจะเรียกได้ว่าส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพอย่างแท้จริงอ่ะนะ


Bump

ตอบกระทู้เมื่อ
22 พ.ย. 2558
  ความคิดเห็นที่ 7
ฟังเพลงงง
เพลงชีวิตที่รู้กันใช่ป่ะ


kob

ตอบกระทู้เมื่อ
22 พ.ย. 2558
  ความคิดเห็นที่ 8
 อยากจะขำBump แต่ตกที่นั่งคนค้ำประกันนี่ ขำไม่ออกเลย
 


คลื่นใต้น้ำ

ตอบกระทู้เมื่อ
22 พ.ย. 2558
  ความคิดเห็นที่ 9
   อ่านนี้ดีกว่า
 
 
...การก่อหนี้ของครู ซึ่งปัจจุบันมีเงินเดือนสูงมากเมื่อเทียบกับข้าราชการอื่นๆ บวกกับเงินวิทยฐานะ ทำให้ครูบางคนเงินเดือนสูงกว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยเสียอีก อีกทั้ง การกู้ก็แทบจะไม่ต้องมีเอกสารหลักฐานว่าจะกู้เงินไปทำอะไร หรือมีความจำเป็นใดในการกู้หรือไม่ เพราะแค่เป็นครู ทางสถาบันการเงินก็แทบจะประเคนเงินกู้ให้แล้ว ทำให้ครูบางคนเป็นหนี้ 3-4 โครงการ
   ปัญหาคือเงินที่ครูกู้ไป ถูกนำไปใช้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับตัวครูเอง หรือครอบครัวจริงหรือไม่ ซึ่งก็เชื่อว่าครูที่กู้เพราะมีความจำเป็นก็คงมี แต่ครูที่กู้เพื่อนำไปใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย หรือใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ก็มีไม่น้อยเช่นกัน
   เพราะเท่าที่มีผู้สะท้อนพฤติกรรมของครูบางส่วนที่ฟุ่มเฟือย มักจะนิยมกู้ยืมเงินจากทุกแหล่งเงินกู้ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารออมสิน เงินกู้ในโครงการสวัสดิการเงินกู้กองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) สหกรณ์ออมทรัพย์ครูต่างๆ แหล่งเงินกู้นอกระบบ และอื่นๆ โดยเงินที่กู้ไป ส่วนหนึ่งจะถูกนำไปสร้างบ้านหลังใหญ่ๆ แข่งกับเพื่อนครูคนอื่นๆ หรือซื้อรถกระบะ รถเก๋ง กระเป๋าแบรนด์เนม ไอโฟน ไอแพด แท็บเล็ต ฯลฯ เพื่อประชันขันแข่งกัน เพราะไม่มีใครยอมน้อยหน้าใคร
   ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างภาระหนี้สินทั้งนั้น!!
ที่สำคัญคือครูหลายๆ คนที่กู้เงินในโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค. มักจะเข้าใจแบบเข้าข้างตัวเองว่า ถึงไม่ชำระหนี้เงินกู้ ธนาคารออมสินก็ไปหักเงินจาก "กองทุนเงินสนับสนุนพิเศษและส่งเสริมความมั่นคง" เองอยู่แล้ว ทำให้ครูส่วนหนึ่งไม่ยอมชดใช้หนี้ และมักจะแนะนำครูรุ่นน้องให้กู้ในโครงการนี้ เพราะไม่ต้องจ่ายหนี้ จนกลายเป็นการให้คำแนะนำแบบผิดๆ ที่ถูกบอกต่อๆ กันมา
   ดังนั้น ศธ. จึงต้อง "ดัดหลัง" พวกครูหัวหมอเหล่านี้ โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบของกองทุนดังกล่าว ไม่ให้มีหน้าที่ชำระหนี้แทนครู โดยครูคนใดค้างชำระหนี้ จะต้องรับผิดชอบตัวเอง หากไม่มีเงินใช้หนี้ ก็ต้องถูกดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย
 
   แต่ที่ทำให้บรรดาครูถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหลังศธ. และธนาคารออมสิน ออกมาตรการช่วยเหลือครูที่เป็นหนี้ คือมองว่ามาตรการของธนาคารยังไม่เพียงพอช่วย "ปลดหนี้" ให้กับบรรดาแม่พิมพ์ พร้อมทั้งยื่น "ข้อเสนอ" ต่างๆ ให้ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึง "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นข้อเสนอที่ถูกวิพากษ์ว่า "เอาแต่ได้" และขาด "จิตสำนึก" ของการเป็นครูอย่างแรง
   ไม่ว่าจะเป็นกรณีเสนอให้ "ลด" อัตราดอกเบี้ยจาก 6-7% ต่อปี ให้เหลือ 1-2% ต่อปี หรือ 4-5% ต่อปีบ้าง หรือกรณีเรียกร้องเงินเบี้ยประกันคืนจากสัญญาเงินกู้ระหว่างธนาคารออมสินกับสมาชิกโครงการ ช.พ.ค. ปรับโครงสร้างหนี้โดยเฉพาะครูเกษียณ หรืองดเก็บดอกเบี้ยครูที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป เรียกร้องให้ฟื้นกองทุนเงินสนับสนุนพิเศษและส่งเสริมความมั่นคง เพื่อใช้หนี้แทนครูที่มีความจำเป็น และชำระหนี้ไม่ได้ ขอคืนเงินเดือนครูครึ่งหนึ่งในโครงการเงินกู้ ช.พ.ค.   กระทั่งให้เอาหนี้สินครูทั้งหมดไปรวมไว้ที่สหกรณ์ออมทรัพย์ครูแห่งเดียว โดยให้  มีดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำกว่าธนาคาร และให้รัฐบาลช่วยอุ้ม โดยงดดอกเบี้ยเงินกู้ครูอย่างน้อย 3-5 ปี และตั้งธนาคารครูแห่งชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครูโดยเฉพาะ โดยมีรัฐบาลค้ำประกัน ให้ผ่อนชำระเงินกู้ได้จนกระทั่งอายุ 70 ปีแต่ที่เป็นข้อเสนอที่ถูกวิพากษ์หนักสุด เห็นจะเป็นกรณีที่เสนอให้พักหนี้ทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย เป็นเวลา 10 ปี โดยไม่ต้องหักผ่านเงินเดือน และให้รัฐบาลออกตราสารหนี้รับซื้อเอาไว้
 
   ฟังจากข้อเสนอทั้งหลายแล้ว ดังนั้น วิธีการแก้ปัญหาหนี้ครูของ ศธ. หรือรัฐบาล คงจะหวังได้ยากที่จะให้ครูกลุ่มนี้มีจิตสำนึกในการชำระหนี้เอง เพราะครูเหล่านี้มี "อภิสิทธิ์" จนเคยตัว ศธ. จึงต้องหามาตรการป้องกัน โดยการกู้ยืมของครูจากแหล่งต่างๆ ต้องเป็นไปตามขั้นตอนทางกฎหมาย และหากครูคนใดขาดชำระหนี้เกิน 3 งวด ก็ต้องถูกฟ้องร้องเช่นเดียวกับผู้กู้ทั่วไป และในฐานะข้าราชการ ก็อาจมีโทษถึงขั้นให้ออกจากราชการด้วย
   ซึ่งขณะนี้ธนาคารออมสินได้ทยอยฟ้องครูที่ขาดชำระหนี้เกิน 3 งวดแล้ว...
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาครูมักพูดแต่ปัญหาหนี้สิน เรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องช่วยเหลือ แต่ไม่เคยมีครูคนใดออกมาเปิดเผยว่ามีทรัพย์สินอยู่เท่าไหร่จากการกู้หนี้ ล่าสุด สกสค. ได้สั่งการให้ สกสค. จังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ จัดทำฐานข้อมูล ทรัพย์สิน และหนี้สินของครูแต่ละคน และจัดกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ได้ หรือขัดสนจริงๆ หรือลูกหนี้คนใดมีความสามารถในการใช้หนี้ แต่ตั้งใจเบี้ยว รวมถึง กลุ่มที่เป็นกรรมการ สกสค. เอง แต่ตั้งใจเลี่ยง เพื่อใช้เป็นข้อมูล และหลักทรัพย์ มาค้ำประกันการปล่อยกู้ในอนาคต
 
ใช่เลยตามนี้
 ยังไม่จบติดตามตอนจบตามลิงค์
ใช่เลย ตามนั้น


nanfahthai

ตอบกระทู้เมื่อ
22 พ.ย. 2558
  ความคิดเห็นที่ 10

   ตัวเลขหนี้สินของแม่พิมพ์ทั่วประเทศว่ามีมากถึง 1.2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ของธนาคารออมสิน 5 แสนล้านบาท และหนี้นอกระบบ หนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ และอื่นๆ อีกกว่า 7 แสนล้านบาท  แม้ว่าธนาคารออมสิน และ ศธ.จะออกมาตรการ "ช่วยเหลือ" ครูที่กู้หนี้ยืมสินในส่วนของธนาคารออมสิน มีมาตรการช่วยเหลือที่แตกต่างกันไปตามสภาพหนี้สิน แต่มีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าโครงการเพียง 5 หมื่นกว่าราย คิดเป็นมูลหนี้กว่า 7 หมื่นล้านบาทเท่านั้น มันคือยังงัย?
 



บัวบก

ตอบกระทู้เมื่อ
22 พ.ย. 2558
  ความคิดเห็นที่ 11
   ครูผู้ให้หรือครูผู้สร้างตกที่นั่งลำบากอีกแล้ว มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนนะ มีส่วนหนึ่งที่ไม่เดือดร้อนจริง แต่ยังอยู่ระหว่างการลงทุน อาชีพบางอย่างกว่าผลจะงอกเงยก็ต้องใช้เวลาไม่ตำกว่าสองปี อาจจะคิดว่าใช้เงินก้อนนั้นประทังไปก่อน แต่เจอวิกฤตคืนเงินกบข.ก้อนโตๆ หรือลงทุนไปแล้วไม่ประสบผลก็ขอผ่อนผันให้เวลาตัวเองกอบกู้วิกฤตละมัง
 ข้าราชบำนาญสายครูและบุคลากรทางการศึกษาบำนาญไม่ได้มากอย่างหน่วยงานที่มีทวีคูณที่รับเงินดำรงชีพกันเต็มๆ เหตุผลของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทำฐานข้อมมูลของลูกหนี้แต่ละคนได้ก็คงดีไม่ใช่น้อย ตั้งองคาพยพเพิ่มอีกหนึ่งหน่วยงาน หน่วยคุมประพฤติครูผู้สร้าง(หนี้)!!


KETH

ตอบกระทู้เมื่อ
22 พ.ย. 2558
  ความคิดเห็นที่ 12
   ที่สำคัญคือครูหลายๆ คนที่กู้เงินในโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค. มักจะเข้าใจแบบเข้าข้างตัวเองว่า ถึงไม่ชำระหนี้เงินกู้ ธนาคารออมสินก็ไปหักเงินจาก "กองทุนเงินสนับสนุนพิเศษและส่งเสริมความมั่นคง" เองอยู่แล้ว ทำให้ครูส่วนหนึ่งไม่ยอมชดใช้หนี้ และมักจะแนะนำครูรุ่นน้องให้กู้ในโครงการนี้ เพราะไม่ต้องจ่ายหนี้
   ศธ.จึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบของกองทุนไม่ให้มีหน้าที่ชำระหนี้แทนครู โดยครูคนใดค้างชำระหนี้ จะต้องรับผิดชอบตัวเอง หากไม่มีเงินใช้หนี้ ก็ต้องถูกดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย
  แล้วการดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายใช้เวลยาวนาน สิ้นสุดที่ไหนก็เมื่อไม่มีเงินจ่าย อย่างมากก็เป็นบุคคลล้มละลาย หรืออีกส่วนที่ตามสามีไปต่างประเทศ บ้างก็สาบสูญเข้ากลีบเมฆรอวันคดีหมดความ นิสัยคนไทยลืมง่าย เจ้าพ่อเจ้าแม่แชร์เถื่อนถึงยังลอยหน้าในสังคมได้สบายใจ
  จริงๆแล้วสกสค.หักเงินประกันไว้ก้อนโตทีเดียว มันก็น่าจะทำให้หลายๆคนตัดสินใจตัดตอนไปเลย เพราะไม่หวังใช้เงินหลังจากสิ้นชีวิตไปแล้ว หรือไม่มีทายาทไว้รับมรดกก็อาจเป็นได้
 
 


K.Chang

ตอบกระทู้เมื่อ
24 พ.ย. 2558
  ความคิดเห็นที่ 13
ธนาคารออมสินชงหักเงินค่าศพครู 400,000 บาทก่อนตาย ใช้ประกันหนี้เสีย 
   รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ได้มาหารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ซึ่งธนาคารออมสินได้แจ้งข้อมูลว่าครูที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี จำนวน 13,000 ราย มีเพียง 5,000 คน ที่ยื่นลงทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารออมสิน และ มีครู 1,100 คน ได้เข้าสู่กระบวนการชำระหนี้ตามระบบแล้ว ยังเหลือผู้ที่ไม่มาติดต่ออีกประมาณ 7,000 คน ซึ่งหากไม่มาติดต่อก็ให้ทางธนาคารดำเนินการฟ้องร้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ธนาคารออมสินยังเสนอขอหักเงินจากโครงการสวัสดิการเงินกู้การฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ที่ญาติจะได้รับหลังครูเสียชีวิต ประมาณ 900,000 บาท โดยธนาคารออมสินขอหักล่วงหน้าไว้ก่อนเสียชีวิต จำนวน 400,000 บาท เพื่อเป็นการประกันหนี้เสีย แต่ทางธนาคารออมสินจะได้รับเงินจำนวนนี้หลังจากครูเสียชีวิตแล้วเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ยังเป็นเพียงข้อเสนอเท่านั้น หากจะดำเนินการจริงทางธนาคารออมสินต้องไปปรับแก้ไขระเบียบ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้

   ปลัด ศธ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ ศธ. อาจจะปรับหลักเกณฑ์การปล่อยกู้เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ที่ระบุให้ครูกู้เงินไปชำระหนี้รายละไม่เกิน 200,000 บาท โดยไม่มีการกำหนดว่าเป็นหนี้สินประเภทใด ทำให้มีบางคนกู้ไปชำระหนี้บัตรเครดิต ดังนั้น จะเปลี่ยนหลักเกณฑ์เป็นให้กู้สำหรับไปชำระหนี้ที่เกิดขึ้นกับธนาคารออมสินเท่านั้น

  "ส่วนเรื่องที่จะเสนอให้ธนาคารออมสิน ยกเลิกการคืนเงินให้แก่กองทุนเงินสนับสนุนพิเศษและส่งเสริมความมั่นคง ตามโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค.และเปลี่ยนมาเป็นลดดอกเบี้ยให้ผู้กู้แทนนั้น เป็นแนวทางหนึ่งที่จะเสนอ เพราะผมอยากให้คืนเงินส่วนนี้ให้แก่ครูมากกว่า โดยเรื่องนี้ผมขอพิจารณาการฟ้องร้องที่ธนาคารออมสินดำเนินการอยู่ก่อนว่าทำให้ครูมาชำระหนี้ตามกติกาเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ เพราะเท่าที่ดู เมื่อมีการดำเนินการฟ้องร้องอย่างจริงจัง ทำให้มีผู้ติดต่อเข้าชำระหนี้มากขึ้น" ปลัด ศธ. กล่าว.

   เมื่อตายไปแล้วจะได้รับเงินอีกตั้ง  500,000 อ่านะ เข้าใจกันยังทำไมบางคนเป็นหนี้ตั้ง 3-4 โครงการ! แล้วดื้อตาใส



เจ_เจ

ตอบกระทู้เมื่อ
24 พ.ย. 2558
  ความคิดเห็นที่ 14
    แบงก์ออมสินเร่งสกัดหนี้ครู-ชงครม.หามาตรการแก้ปัญหา

   นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เผยว่า ธนาคารอยู่ระหว่างพิจารณาเรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู และมีบางเรื่องที่ต้องเสนอ ครม. รับทราบเร็วๆ นี้ โดยหนึ่งในแนวทางที่จะเสนอคือ จะเข้าเจรจากับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ให้แบ่งกันหักหนี้ครูคนละครึ่งกับธนาคารออมสิน เนื่องจากหากปล่อยให้ครูเป็นหนี้เสียมาก และธนาคารต้องดำเนินการฟ้องร้องครู ถ้าครูล้มละลาย ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ จะกระทบกันเป็นลูกโซ่ทั้งครู ผู้ที่ค้ำประกัน และสุดท้ายจะกระทบที่สหกรณ์เองด้วย ดังนั้นการแก้ปัญหาครั้งนี้จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย
   ขาดความรัดกุมมาตั้งแต่ต้น มาแก้ปัญหาจนจะปลายเหตุแล้ว อยากจะได้ดอกเบี้ยเขา ไม่มีระบบตรวจสอบสภาพความเสี่ยงเลย อนุมัติอย่างเดียว ต่อไปต้องจี้ไปตั้งแต่ผู้บังคับบัญชาเบื้องต้นผู้รับรองนั่นแหล่ะ
 
  
 
 
 


kob

ตอบกระทู้เมื่อ
08 ธ.ค. 2558
  ความคิดเห็นที่ 15
     จี้"ดาว์พงษ์"เร่งแก้วิกฤติหนี้สินครู | เดลินิวส์
„กลุ่มเครือข่ายสมาชิกเครือข่ายภาคประชาชนต่อต้านคอรัปชั่นสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ และเครือข่ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นหนี้สินวิกฤตกว่า 20 คน เดินทางยื่นหนังสือ เรื่องการติดตามและทวงถามการบริหารจัดการหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ประสบปัญหาวิกฤตและได้ตรวจสอบการทุจริตในสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา(สกสค.) โดยมีนายโยธิน มูลกำบิล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้รับเรื่อง นายสมคิด หอมเนตร สมาชิกเครือข่ายภาคประชาชนต่อต้านคอรัปชั่นสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ในฐานะสมาชิกการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูกรณีคู่สมรสถึงแก่กรรม (ช.พ.ส.) กล่าวว่า ตามที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชนทั้งระบบ ซึ่งในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ก็คือปัญหาหนี้สินครูที่พวกเราอยากให้รมว.ศึกษาธิการ เร่งดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็ว รวมถึงพวกอยากทวงถามประเด็นการทุจริตที่ไม่มีความคืบหน้าโดยเฉพาะโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ วงเงิน 360 ล้านบาท ซึ่งที่ปรึกษารมว.ศธ.รับเรื่องที่จะไปรายงานให้ รมว.ศึกษาธิการ ทราบ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป“

เครดิตข้อมูล : http://www.dailynews.co.th/education/365836


k.juy

ตอบกระทู้เมื่อ
08 ธ.ค. 2558
  ความคิดเห็นที่ 16
     "อย่าไปเป็นเครื่องมือให้คนบางประเภท ยกหนี้ให้แล้วรัฐบาลจะเอาเงินที่ไหนมาให้ เงินงบประมาณประเทศเลยนะ ใครก็ทำไม่ได้ จะให้ขึ้นภาษีไหม คิดให้มีตรรกะ" นายกรัฐมนตรีกล่าว  


     ตรรกะ 44       "ใครเป็นหนี้ก็ต้องใช้ "


บ่าวรัฐ

ตอบกระทู้เมื่อ
09 ธ.ค. 2558
  ความคิดเห็นที่ 17

     พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้กระทรวงศึกษาธิการ ไปดูครูที่เป็นหนี้ และสอนครูที่เป็นหนี้ว่า 1. ต้องรู้จักรับผิดชอบตัวเองก่อน 2.การให้รัฐบาลล้างหนี้ให้นั่นเป็นไปไม่ได้ ทุกคนจะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองทำ แต่ความจำเป็นที่เป็นหนี้นั้นมีแค่ไหนต้องไปดู และดูว่าเมื่อครูเป็นหนี้แล้วไม่ใช้หนี้นั้นมีเหตุผลอะไร และหากไม่ได้ใช้หนี้ แต่ทรัพย์สินยังมีอยู่ก็ให้ดูว่าจะทำอย่างไร

"ยอมรับว่าตัวเลขครูเป็นหนี้มีจำนวนหนึ่งล้านล้านจริง และมีตัวเลขครูที่เป็นหนี้ขั้นวิกฤติ ประมาณ 3.8 % ซึ่งในงานครูรับเข็มเชิดชูเกียรติ ครูอาวุโส ประมาณ 3,000 กว่าคน ที่มาร่วมงาน ผมก็เดินถามครู 5 คน ว่า ครูเกษียณแล้วมีหนี้ไหม ซึ่งครูก็ตอบว่ามีหนี้กันทุกคน แต่ท่านก็ยิ้มหมดทุกคน และยังบอกว่าท่านรัฐมนตรีไม่ต้องห่วงค่ะ มีหนี้เป็นเรื่องธรรมดาแต่บริหารได้ ก็ใช้บำนาญผ่อนและยังผ่อนได้อยู่ ดาว์พงษ์เองก็ยังมีหนี้ ใครก็มีหนี้ ส่วนครูที่เป็นหนี้ก็มีหลายเหตุผล เช่น กู้ไปลงทุนแล้วเจ้ง และไม่รู้จักควบคุมการใช้เงิน เดือดร้อนเพราะพ่อแม่ป่วย ท่านนายกฯก็ให้ศธ.ไปหารือกับทางธนาคารออมสิน ว่าจะมีทางช่วยเหลืออย่างไร แต่ไม่ใช่รัฐบาลจะไปใช้หนี้ให้ครู รัฐบาลจะเอาเงินมาจากไหน ทุกคนต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำ"
         9 ธ.ค. 58


K.Chang

ตอบกระทู้เมื่อ
15 ธ.ค. 2558
  ความคิดเห็นที่ 18
รายงานความคืบหน้าครับ
 
     เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการหารือแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ร่วมกับนายชาติชาย  พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน  โดยมีพล.อ.ดาว์พงษ์  รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการศธ. เป็นประธาน ว่า ธนาคารออมสินได้รายงานความคืบหน้า ว่าหลังจากที่เปิดให้ครูที่ผิดนัดชำระหนี้มากกว่า 3 งวดขึ้นไป และถูกธนาคารออมสินยื่นโนติสไปแล้ว 13,405 คน เข้าไกล่เกลี่ย ปรากฏว่ามีครูติดต่อมา จำนวน 6,023 คน เริ่มชำระหนี้แล้วจำวนวน 1,521 คน ปิดบัญชีแล้วจำนวน 21 คน ส่วนผู้ที่ยังไม่มาติดต่ออีก จำนวน 7,382 คน  ทางศธ.ได้ขอให้ธนาคารออมสินดำเนินการยื่นโนติสอีกครั้ง หากยังไม่มาติดต่อ ก็ให้ดำเนินการฟ้องร้องตามกฎหมายต่อไป
     “ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบตามแนวทางที่ทางธนาคารออมสิน เสนอให้ใช้เงินอนาคต เช่น การใช้เงินการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา(สกสค.) ที่ใช้ในการค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งญาติจะได้รับหลังจากสมาชิกช.พ.ค.เสียชีวิต มาใช้ในการรีไฟแนนซ์  ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ  เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ที่ค้างชำระกับทางธนาคารส่วนหนึ่งก่อน แต่ไม่ใช่เป็นการก่อหนี้เพิ่ม ส่วนจะมีอัตราดอกเบี้ยเท่าไรนั้น ยังไม่สามารถบอกได้ โดยจะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 22 ธันวาคมนี้เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ  ขณะเดียวกันธนาคารออมสิน ยังเสนอให้นำเงินบำเหน็จตกทอด ซึ่งญาติจะได้รับหลังจากข้าราชการเสียชีวิต มาใช้ในการค้ำประกันเงินกู้เช่นเดียวกับเงินช.พ.ค.ได้หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ต้องแก้กฎหมาย และต้องไปดูรายละเอียดให้รอบคอบ” นพ.กำจรกล่าว
     ด้านนายชาติชาย กล่าวว่า เงินช.พ.ค. เป็นเงินที่ครูนำมาค้ำประกันหนี้อยู่แล้ว แต่ธนาคารพยายามจะบริหารจัดการโดยนำเงินส่วนหนึ่งมาตั้งเป็นวงเงินกู้ เพื่อลดภาระในการผ่อนชำระ หากครม. เห็นชอบจะมีครูที่เป็นลูกหนี้ของธนาคารออมสิน ประมาณ 3 แสนคน สามารถเคลียร์ยอดหนี้ได้ในวงเงินที่เพียงพอ


witjung

ตอบกระทู้เมื่อ
15 ธ.ค. 2558
  ความคิดเห็นที่ 19
คืบอีกนิดครับ
 
ศธ.จ่อใช้PAใหม่บีบครูห้ามเบี้ยวหนี้

"กำจร"เผยคนขอเลื่อนวิทยฐานะได้ประวัติชำระเงินกู้ต้องดี/"สมคิด"ไม่เห็นด้วยออมสินล้วงเงินช.พ.ค.
   ศธ.แก้ปัญหาครูก่อหนี้ เตรียมออกเกณฑ์ครูที่ขอเลื่อนวิทยฐานะได้จะต้องไม่มีประวัติเคยเบี้ยวหนี้หรือค้างชำระมาก่อน และหากได้วิทยะฐานะแล้ว มีปัญหาถูกสถาบันการเงินยื่นโนติสจะต้องถูกถอดวิทยฐานะ ด้าน "สมคิด" ไม่เห็นด้วยแผนธนาคารออมสินเสนอล้วงเงินอนาคต ช.พ.ค.มาแก้ปัญหาหนี้ครู ชี้ได้ผลประโยชน์เพียงแบงก์เดียว แต่สถาบันการเงินอื่นๆ ที่เป็นเจ้าหนี้ไม่ได้รับอานิสงส์ด้วย อดีต รมช.ศธ.จวก สกสค.ไม่เคยให้ความรู้ครูเรื่องวินัยการใช้เงิน มีแต่ส่งเสริมให้เป็นหนี้
   นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานคณะทำงานปรับปรุงหลักเกณฑ์วิทยฐานะครูใหม่ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ คณะทำงานได้หารือรายละเอียดของการขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในทุกวิทยฐานะ โดยย้ำว่าจะต้องมีการทำข้อตกลงในการพัฒนางาน หรือ Performance Agreement (PA) ซึ่งจะต้องทำเป็นกิจวัตรประจำปี มีเอกสารจำนวนไม่มาก และมีการลงลึกในรายละเอียดของคุณสมบัติของครูที่จะขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ว่านอกจากต้องมีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณความเป็นครู ไม่ถูกลงโทษทางแผ่นดิน ไม่ถูกลงโทษทางจรรยาบรรณจากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และไม่ถูกลงโทษจากต้นสังกัดแล้ว จะระบุไว้ในข้อกำหนดในส่วนของจรรยาบรรณไว้ด้วยว่า ผู้ขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะจะต้องไม่ค้างชำระหนี้จนถึงขั้นถูกยื่นหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระหนี้ (โนติส) ในวันที่ขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะ และหากตรวจสอบพบในภายหลังว่าให้ข้อมูลเท็จก็สามารถถอดถอนวิทยฐานะนั้นๆ ได้
   นพ.กำจรอธิบายเพิ่มเติมอีกว่า ที่จำเป็นต้องมีการกำหนดเรื่องปัญหาหนี้สินไว้ในคุณสมบัติในส่วนของจรรยาบรรณ ว่าผู้ขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะจะต้องไม่ค้างชำระหนี้ เนื่องจากการค้างชำระหนี้ในปัจจุบันเป็นปัญหาสังคม และครูต้องเป็นแบบอย่างของสังคม จึงจำเป็นต้องมีจรรยาบรรณและจริยธรรมที่ดี ดังนั้น คนที่ค้างชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หรือหนี้สถาบันการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ครู จะต้องชำระหนี้ ทั้งนี้ การเป็นหนี้เป็นเรื่องธรรมดาของสังคม แต่เมื่อเป็นหนี้แล้วก็ต้องถือว่าเป็นวินัยของผู้ที่เป็นลูกหนี้ ที่ต้องมีจรรยาบรรณในการดำเนินการชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวยังเป็นข้อเสนอของคณะทำงานเท่านั้น ซึ่งยังต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดของหลักเกณฑ์อื่นๆ อีก คาดว่าจะแล้วเสร็จในมกราคมนี้
   ส่วนกรณีที่ธนาคารออมสินมีข้อเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครูของธนาคาร ที่เสนอให้ครูที่มีปัญหาหนี้นำเงินอนาคต เช่น การใช้เงินการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ที่ใช้ในการค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งญาติจะได้รับหลังจากสมาชิกเสียชีวิต มาชำระหนี้ส่วนหนึ่ง หรือเรียกว่าเป็นการรีไฟแนนซ์หนี้ ที่ค้างชำระกับทางธนาคารออมสิน
   แหล่งข่าวระดับสูงจาก ศธ.เปิดเผยว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ค่อนข้างไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว เชื่อว่าหากมีการเสนอเรื่องนี้เข้า ครม.จะมีการถกเถียงกันอย่างหนัก เพราะเป็นการปลดหนี้ให้สถาบันการเงินเพียงแห่งเดียว ซึ่งก็คือธนาคารออมสิน และทำให้สถาบันการเงินหรือแหล่งเงินกู้อื่นๆ ของครูได้รับผลกระทบ เช่น บัตรเครดิตจากหลายสถาบันการเงิน สหกรณ์ออมทรัพย์ครู หรือแม้แต่หนี้นอกระบบ ไม่ได้รับการชำระหนี้เท่าเทียมกัน แม้จะหวังให้ครูใช้เงิน ช.พ.ค.มาชำระหนี้ด้วยเช่นกัน ขณะที่คณะกรรมการบริการกองทุน ช.พ.ค.เองก็อาจจะไม่ยอม เพราะไม่ได้เป็นการช่วยเหลือครู แต่เป็นการแก้ปัญหาหนี้เสีย หรือเอ็นพีแอล ให้กับธนาคารออมสินเพียงแห่งเดียว ซึ่งขณะนี้ทางธนาคารออมสินกำลังเกิดปัญหาอย่างหนัก เพราะมีหนี้เสียจำนวนมาก ดังนั้นหากนำเงิน ช.พ.ค.มาตั้งเป็นวงเงินกู้และให้ครูนำมารีไฟแนนซ์กับธนาคารออมสิน เท่ากับช่วยแก้ปัญหาให้ธนาคารออมสิน ดังนั้นหากจะช่วยครูจริงๆ ก็ควรประกาศลดดอกเบี้ยไปเลย ไม่ใช่นำเงิน ช.พ.ค.มาค้ำหรือมาหมุนแก้ปัญหาธนาคาร
   นายมนตรี แย้มกสิกร อดีตคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในฐานะอดีตกรรการคุรุสภา กล่าวว่า ตนมองว่าการรีไฟแนนซ์ยังไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด เป็นเพียงการยืดเวลาให้ครูได้หายใจ มีเวลาผ่อนชำระมากขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้หนี้ครูลดลง และตามความเป็นจริง แหล่งหนี้ก้อนใหญ่ของครูไม่ได้อยู่ที่ธนาคารออมสินเท่านั้น ยังมีแหล่งอื่นๆ อีก โดยเฉพาะสหกรณ์ออมทรัพย์ครูซึ่งเป็นแหล่งเงินกู้ก้อนใหญ่อีกแห่งหนึ่งที่ยังไม่ได้รับการแก้ปัญหา โดยตนอยากเสนอให้รัฐบาลหารือกับสถาบันการเงินหรือแหล่งเงินกู้อื่นๆ ของครูช่วยลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้ครูมีความสามารถผ่อนชำระเงินต้นได้มากขึ้น ขณะที่ ทางแก้ที่ยั่งยืนคือ สร้างจิตสำนึกให้ครูมีวินัยทางการเงิน ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อไปตามสังคม เช่น อยากมีบ้าน มีรถ เหล่านี้ล้วนเป็นต้นตอทำให้เกิดหนี้สินพอกพูน
   นายวรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วย ศธ. กล่าวว่า ข้อเสนอแก้ปัญหานี้ครูของธนาคารออมสินแก้ปัญหาได้ชั่วคราว สิ่งสำคัญคือต้องให้ความรู้ครูเพื่อแก้ปัญหาที่ถาวร เนื่องจากเรื่องหนี้สินครูเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง สกสค. กลับไม่ได้ส่งเสริมเรื่องการบริหารจัดการทางการเงินให้กับครูเลย มีแต่ส่งเสริมให้เป็นหนี้เพิ่มขึ้น.
สังเกตว่าปัญหาหนี้ครูสังกัดกลุ่มข่าวการศึกษาเสียแล้วซิ


KTC

ตอบกระทู้เมื่อ
15 ธ.ค. 2558
  ความคิดเห็นที่ 20
สำนักนี้โฟกัสตรงจุดกว่า
   อุ้มออมสินที่เดียวไม่แฟร์/เงินต้นไม่ลด/แนะปรับลดดอกเบี้ยดีกว่า

   เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.58 นายมนตรี แย้มกสิกร อดีตคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในฐานะอดีตกรรมการคุรุสภา กล่าวถึงกรณีที่ธนาคารออมสิน จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณา แนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครู โดยให้ใช้เงินอนาคต เช่น การใช้เงินการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ที่ใช้ในการค้ำประกันเงินกู้ มาตั้งเป็นวงเงินกู้ในการรีไฟแนนซ์อัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ที่ค้างชำระกับทางธนาคารออมสินส่วนหนึ่งก่อนว่า ตนมองว่ายังไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด เป็นเพียงการยืดเวลาให้ครูได้หายใจ มีเวลาผ่อนชำระมากขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้หนี้สินครูลดลง ขณะเดียวกันแหล่งหนี้ก้อนใหญ่ของครู ไม่ได้อยู่ที่ธนาคารออมสินเท่านั้น ยังมีแหล่งอื่นๆ อีกโดยเฉพาะสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ซึ่งเป็นแหล่งเงินกู้ก้อนใหญ่อีกแห่งที่ยังไม่ได้รับการแก้ปัญหา โดยตนอยากเสนอให้รัฐบาลหารือกับสถาบันการเงิน หรือแหล่งเงินกู้อื่นๆ ของครู ช่วยลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้ครูมีความสามารถผ่อนชำระเงินต้นได้มากขึ้น ขณะที่ทางแก้ที่ยั่งยืนคือ สร้างจิตสำนึกให้ครูมีวินัยทางการเงิน ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟื้อเพื่อไม่สร้างหนี้ให้พอกพูน นายวรากรณ์ สามโกเศศ อดีต รมช.ศึกษาธิการ  กล่าวว่า การแก้ปัญหาของธนาคารออมสินเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็แก้ปัญหาได้ชั่วคราว สิ่งสำคัญคือต้องให้ความรู้ ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถาวรและเรื่องหนี้สินครูเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง สกสค. ไม่ได้ส่งเสริมเรื่องการบริหารจัดการทางการเงินให้กับครู มีแต่ส่งเสริมให้มีหนี้เพิ่ม แหล่งข่าวระดับสูงจาก ศธ. กล่าวว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ค่อนข้างไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว เชื่อว่าหากมีการเสนอต่อ ครม. ก็จะมีการถกเถียงอย่างหนัก เพราะเป็นการปลดหนี้ให้สถาบันการเงินเพียงแห่งเดียว ซึ่งก็คือธนาคารออมสิน และทำให้สถาบันการเงินหรือแหล่งเงินกู้อื่น ๆ ของครูได้รับผลกระทบ ทั้งบัตรเครดิต ที่มาจากหลายธนาคาร สหกรณ์ออมทรัพย์ครู หรือแม้แต่หนี้นอกระบบ ซึ่งต่างหวังให้ครูใช้เงินช.พ.ค.ในการชำระหนี้เช่นกัน ขณะที่คณะกรรมการบริการกองทุน ช.พ.ค. อาจไม่ยอม เพราะไม่ได้ช่วยเหลือครู แต่เป็นการแก้ปัญหาหนี้เสียหรือ NPLซึ่งธนาคารออมสินกำลังเผชิญปัญหาอยู่ ดังนั้นหากจะช่วยครูจริงๆ ก็ควรประกาศลดดอกเบี้ยไปเลยไม่ใช่นำเงิน ช.พ.ค.มาค้ำหรือมาหมุนแก้ปัญหาธนาคาร
 


Mayjung

ตอบกระทู้เมื่อ
27 ธ.ค. 2558
  ความคิดเห็นที่ 21
ตรรกะ 44 ที่ k.juy ว่ามาจากตรงนี้หรือเปล่า ฮึฮึ
 
 


update

ตอบกระทู้เมื่อ
10 ก.พ. 2559
  ความคิดเห็นที่ 22
สั่งแบงก์ออมสินปล่อยกู้สางหนี้ครู
 
 
 
     พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอโครงการลดภาระหนี้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของธนาคารออมสิน โดยหลักการธนาคารออมสินอนุมัติวงเงินสินเชื่อวงเงินใหม่เพิ่มเติมให้กับผู้กู้ที่เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยใช้เงินที่ทายาทจะได้รับในอนาคตเพื่อค้ำประกัน ได้แก่ เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ครอบครัว (ช.พ.ค.) และหรือเงินบำเหน็จตกทอด เพื่อนำเงินสินเชื่อใหม่มาลดภาระหนี้หรือปิดบัญชีหนี้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
 
 
    ทั้งนี้ ที่ประชุม ครม.ได้มีข้อสังเกตให้ธนาคารออมสินพิจารณาการปล่อยกู้สินเชื่อใหม่ทั้ง 2 วงเงิน ที่วงเงินกู้ที่ใช้เงิน ช.พ.ค.ค้ำประกัน และวงเงินใช้เงินบำเหน็จตกทอดค้ำประกัน ให้นำมาใช้หนี้เก่าก่อน ไม่ใช่กู้เพื่อเกิดหนี้ใหม่ โดยคาดว่าโครงการดังกล่าวหากแก้ไขจะช่วยบรรเทาปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ 283,000 ราย และสามารถลดภาระหนี้ได้เฉลี่ยรายละ 300,000-600,000 บาท ทำให้ลดภาระการผ่อนชำระหนี้เดิมลง 2,000-4,000 บาทต่อเดือน หรือบางรายสามารถชำระหนี้ปิดบัญชีได้
 
 
     ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ และธนาคารออมสิน ร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครู โดยชะลอการฟ้องร้องดำเนินคดีหรือการบังคับคดี พักชำระดอกเบี้ย หรือ พักชำระเงินต้นแล้วแต่กรณี ซึ่งธนาคารออมสินได้ดำเนินมาตรการดังกล่าวแล้วต่อเนื่อง โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษาลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 51,370 ราย วงเงินสินเชื่อรวม 72,190 ล้านบาท และธนาคารออมสินได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ดังกล่าวแล้ว 1,067 ราย วงเงินสินเชื่อรวม 1,290 ล้านบาท 




สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด คลิกที่นี่ /  เข้าสู่ระบบ


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved