Neric-Club.Com
|
|
 |
นิตยสารออนไลน์
|
|
 |
มุมเบ็ดเตล็ด
|
|
 |
|
|
|
 |
ศิลปวัฒนธรรมไทย |
 |
|
ระบำศรีวิชัย
ระบำชุดนี้เกิดขึ้นจากแนวความคิดสร้างสรรค์ของนายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรม ศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. 2509 ตนกู อับดุล ราหมาน อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้แต่งเรื่อง Raja Bersiyong ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยและได้มีหนังสือเชิญคระนาฏศิลปไทย ไปแสดงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ กรมมศิลปากรได้จัดการแสดง 2 ชุดคือ รำซัดชาตรีชุดหนึ่ง และอีกชุดหนึ่งได้มอบให้ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลปไทย คือ อาจารย์ลมุล ยมะคุปต์ ละอาจารย์เฉลย ศุขะวิณิช ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่จากภาพสลัก และภาพปูนปั้นสมัยสรีวิชัย เช่นจากพระสถูปบุโรบุคโค ในอินโดนีเซีย ประสมกับท่ารำชวาและบาหลี ผู้ประดิษฐ์ทำนอง เพลง คือศาสตราจารย์มนตรี ตราโมท และนายสนิท ดิษฐ์พันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย ในปี พ.ศ.2510 ได้ปรับปรุงท่ารำใหม่บางท่า และเปลี่ยนทำนองเพลงใหม่บางตอน เพื่อให้เข้าชุดกับระบำโบราญคดีชุดอื่น ๆ อีก 4 ชุด นำออกแสดงให้ประชาชนชมครั้งแรกในงานดนตรีมหกรรม ณ สังคีตศาสา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2510 และได้แสดงถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี ฯ ในงานเปิดอาคารใหม่พิพิธภัณฑ์ ฯ วันที่ 25 พฤษภาคม 2510
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงชุดนี้ ได้แก่
1. กระจีบปี่ 3
2. ซอสามสาย
3. ฆ้อง ๓ ลูก ( แบบฆ้องโนราห์)
4. ฉิ่ง
5. ตะโพน
6. ฉาบ
7. กลองแขก
8. กรับ
9. ขลุ่ย
เครื่องแต่งกายระบำศรีวิชัย
เสื้อในนางไม่มีแขนสีเนื้อ ผ้านุ่ง เป็นผ้าโสร่งบาติดจีบหน้านาง ผ้าคาดรอบสะโพก ปล่อยชายทางซ้าย เข็มขัด เครื่องประดับ ต่างหู สร้อยคอ สร้อยเข็มขัด กำไลต้นแขน กำไลข้อมือ กำไลเท้า โบว์เส้นเล็ก ๆ สอดใต้เข็มขัด ผ้าไบมีแผ่นโค้งเหนือไหล่ ติดสร้อยตัว 2 เส้น เกล้ามวยท้ายทอย สวมเกี้ยวมวยผม ปักปี่น กระบังหน้า ลักษณะท่ารำบางท่ารำของชวา และบาหลี เช่น การตั้งวง กันศอกออกเป็นวงโค้ง การใช้คอ ยักคอเหมือนนาฏศิลปชวา และบาหลี การทำมือ คล้ายกับนาฏศิลปชวา และบาหลี การตั้งท่านิ่ง ท่าบิดสะโพกคล้ายท่ารำของบาหลี
อธิบายท่ารำระบำศรีวิชัย
ท่าที่ 1 ท่าออก หันตัวไปทางซ้าย มือทั้ง 2 จีบคว่ำ เอียงศีรษะทางซ้าย วิ่งออก มาแล้วหมุนตัวไปทางขวา ก้าวเท้าซ้าย ขวาและวางเท้าว้ายลงหลัง 3 จังหวะ คลายจีบออกตั้งวงระดับ สะโพกกันศอกออกไปเป็นวงโค้ง อ่อนขวา กระทายไหล่ขวา ยืดยุบเข่า พร้อมกับขยับ เท้าและข้อมือ 3 จังหวะแล้วเปลี่ยนปฏิบัติด้านซ้ายเช่นเดียวกับด้านขวา เปลี่ยนเท้าซ้ายอยู่ข้างหน้า
ท่าที่ 2 หันตัวมาด้านขวา ก้าวเท้าซ้าย ขวา วางเท้าซ้ายลงหลังในจังหวะที่ 3 มือขวาจีบคว่ำ คลายจีบออกตั้งวงระดับสะโพก กันศอก มือซ้ายจีบหงายส่งไปหลัง อ่อนขวากระทายไหล่ขวา ขยับเท้าพร้อมกับใช้ข้อมือ 3 จังหวะ แล้วเปลี่ยนมาปฏิบัติด้านซ้ายเช่นเดียวกับด้านขวา ต่างกันที่มือและเท้า
ท่าที่ 3 ทั้ง 2 แถวหันหน้าตรง แถวขวา มือซ้ายจีบคว่ำศีรษะทางซ้ายซอยเท้าเข้าหาแถวซ้าย ก้าวเท้าว้าย กระดกเสี้ยวเท้าขวา สอดจีบว้ายขึ้นตั้งสูง มือขวาจีบคว่ำ แขนตั้งระดับไหล่ อ่อนขวา แล้วเปลี่ยนสอดจีบมือขวาขึ้นตั้งวงสูง มือซ้ายจีบคว่ำแขนตึงระดับไหล่ ซอยเท้าแยกออกจากแถวซ้ายก้าวเท้ากระดกเสี้ยวเท้าซ้าย อ่อนซ้าย แถวซ้าย ปฏิบัติเช่นเดียวกับแถวขวา ต่างกันที่มือและเท้า
ท่าที่ 4 แถวขวา วิ่งเข้าหาแถวซ้าย หน้าตรง ก้าวเท้าซ้าย กระดกเสี้ยวเท้าขวาสอดจีบมือซ้ายขึ้นตั้งวงสูง มือขวาตั้งวงหน้าระดับปาก อ่อนขวา แล้วเปลี่ยนสอดจีบมือขวาขึ้นตั้งวงสูง มือซ้ายตั้งวงหน้าระดับปาก ซอยเท้าแยกออกจากว้าย ก้าวเท้าขวา กระดกเสี้ยวเท้าซ้าย อ่อนซ้าย แล้ววางเท้าและไหล่ตามจังหวะ แถวซ้าย ปฏิบัติเช่นเดียวกับแถนขวา แต่มือและเท้าอยู่ในลักษณะตรงกันข้าม
ท่าที่ 5 แถวปฏิบัติเหมือนกัน แทงมือขวาออกตั้งวงระดับไหล่ ปัดปลายมือมาข้างหน้า กันศอกออกเป็นวงโค้ง มือซ้ายส่งแขนไขว้มาตั้งวงต่ำเหนือเข่าขวา เท้าว้ายยืนเต็มเท้า เท้าขวาจรดปลายเท้า ส้นเท้าแนบชิดกับข้อเท้าซ้ายกันเข่าขวา กดไหล่ขวาลักคอ แล้วเปลี่ยนมาปฏิบัติอีกข้างหนึ่งในลักษณะตรงกันข้าม ทำสลับกัน 3 ครั้ง ครั้งสุดท้ายตั้งวงขวากดไหล่ขวาขยับไหล่ขึ้นลงตามจังหวะ
ท่าที่ 6 ทั้ง 2 แถวหันด้านขวา ก้าวท้าวขวา กรายจีบมือทั้ง 2 อ่อนซ้าย และนำเท้าซ้ายมาประสมเหลื่อมข้างหน้าเท้าขวา ทรุดเข่าลงนั่งบนส้นเท้า เข่าว้ายเหลื่อมสูงกว่าเข่าขวา ตั้งวงระดับไหล่ กดไหล่ซ้าย ลักคอคลายจีบออก มือขวาตั้งวงระดับไหล่ จีบหงาย 2 มือ ปัดปลายมือมาข้างหน้ากันศอก มือซ้ายปลายมือแตะสะโพก และกันศอกออก กดไหล่ขวา ลักคอแล้วกดไหล่ซ้ายขวา สลับกันตามจังหวะ หันตัวไปซ้าย และปฏิบัติวิธีเดียวกับทางขวา แต่ในลักษณะตรงกันข้าม
ท่าที่ 7 ทั้ง 2 แถวลุกขึ้นยืน หันหน้าตรง แถวขวา ก้าวเท้าซ้าย ขวา และวางส้นเท้าซ้าย กันเข่าซ้าย มือทั้ง 2 จีบล่อแก้วหงายระดับอก ม้วนมือทั้ง 2 ออก ตั้งวงมือซ้ายระดับหัวเข็มขัด แขนขวาเหยียดตึงระดับไหล่กดไหล่ซ้าย ลักคอแล้ววงเท้าซ้ายเต็มเท้า ขยับเท้าขวาเคลื่อนที่ พร้อมขยับแขนขวา ละไหล่ สวนแถวกับแถวซ้าย แถวซ้ายซอนหน้าแถวขวา เคลื่อนสลับแถว 12 จังหวะแล้วก้าวเท้าขวา ว้าย วางส้นเท้าทั้ง 2 จีบล่อแก้วหงายระดับอกม้วนมือออกตั้งมือวงมือขวาระดับขวาระดับหังเข็ดขัด แขนซ้ายเหยียดตึงระดับไหล่ กดไหล่ขวา ลักคอ ขยับเท้า ตามจังหวะ สวยแถวกลับที่เดิมของตน โดยขึ้นหน้าแถวซ้าย จนมาถึงที่ของตน และหมดจังหวะ แถวซ้าย ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับแถวขวา แต่ในลักษณะตรงกันข้าม
ท่าที่ 8 เปลี่ยนเพลงเป็นจังหวะเร็ว แถวซ้ายและขวาหันตัวไปทางซ้าย วางเท้าซ้าย หลังลงจรดเท้าขวา พร้อมกับส่งแขนซ้ายเหยียดตึงกรีดนิ้ว มือขวาตั้งวงกรีดนิ้วระดับใบหน้าด้านซ้ายตวัดปลายเท้าขวา หมุนรอบตัวไปทางขวา แล้วก้าวเท้าซ้ายไขว้ไปข้างหน้า กดไหล่ซ้าย ลักคอ มือทั้ง 2 จีบล่อแก้วหงายฝ่ามือ แล้วม้วนข้อมือลง ตั้งวงมือซ้ายระดับวงกลางมือขวาตั้งวงระดับหัวเข็มขัด ส้นเท้าขวาวางเหลื่อมเท้าว้ายกดไหล่ขวา ลักคอ ปฏิบัติดังนี้สลับกันทั้งมือและเท้า 3 ครั้ง
ท่าที่ 9 ทั้งสองแถวปฏิบัติเหมือนกันก้าวเท้าขวาขึ้นหน้า คว่ำฝ่ามือทั้ง 2 ระดับให้คาง มือขวาซ้อนบนมือซ้าย ศอกทั้ง 2 ข้างกางระดับไหล่ขวา ลักคอ แล้วเปลี่ยนมือคว่ำสลับกัน 3 ครั้ง ครั้งสุดท้ายมือขวาซ้าย แล้วขยับไหล่ ลักคอ ตามจังหวะช้าเร็ว
ท่าที่ 10 ยีนชิดเท้ากัน แถวขวากดไหล่ขวา แถวซ้ายกดไหล่ซ้าย มือคว่ำซ้ายมือซ้าย ขยับเคลื่อนที่สวนแถว แถวขวาซ้อนหน้าแถวซ้าย แล้วเปลี่ยนเอียงศีรษะขยับเท้าเคลื่อนที่สวนแถวกลับ ขณะขยับเท้ากระดิกปลายนิ้วพร้อมกันไป
ท่าที่ 11 เมื่อกลับถึงแถวเดิมวางเท้าขวาลงข้างหลัง มือซ้ายและมือขวายังคงคว่ำฝ่ามือและลดมือลงมาระดับอก กดไหล่ซ้าย ลักคอ ขยับไหล่ตามจังหวะช้าและเร็ว ทั้ง 2 แถวปฏิบัติเหมือนกัน
ท่าที่ 12 เดินย่ำเท้าตามจังหวะ แปรแถวเข้าวงกลม แถวซ้าย หมุนตัวทางซ้ายมือทั้งสองจีบล่อแก้ว ม้วนมือซ้ายตั้งวงตรงหน้า หงายมือขวาสูง เปลี่ยนมือปฏิบัติสลับกัน 5 ครั้ง ครั้งสุดท้ายมือขวาตั้งวงสูง มือซ้ายตั้งวงหน้าระดับปาก กระแทกเท้าขวา แล้วขยับเท้าซ้าย และขยับไหล่ขวา ลักคอ ตามจังหวะช้า – เร็ว เคลื่อนที่เวียนเป็นวงกลม
ท่าที่ 13 หันหน้าเข้าหากันเป็นวงกลม ก้าวท้าวซ้าย ขวา กระกดเท้าซ้าย จีบม้วนมือทั้ง 2 ตั้งวงในท่ามยุเรศ
ท่าที่ 14 วางเท้าซ้ายที่กระกดลง ก้าวเท้าขวา หันตัวออกด้านนอกกระกดเท้าซ้ายพร้อมกับจีบคว่ำมือขวายกมือขึ้นตั้งวงสูง แขนซ้ายส่งไปจีบหลัง อ่อนซ้าย ปฏิบัติท่าที่ 13-14 สลับกัน 4 ครั้ง
ท่าที่ 15 มือปฏิบัติอยู่ในท่าสุดท้ายของท่าที่ 14 มือขวาจีบตั้งวงสูง มือซ้ายจีบหลังวางเท้าซ้ายลงเคียงเท้าขวา กระแทกเท้าซ้ายขยับเท้าขวา ขยับไหล่ตามจังหวะเคลื่อนที่เป็นวงกลม
ท่าที่ 16 แปรแถวเฉียง คนแรกของขวานำแถวเข้าทางด้านของเวที คนแรกของแถวซ้ายอยู่ปลายแถว มือทั้งสองจีบล่อแก้ว ทอดลำแชนซ้ายออกไปด้านข้าง มือขวาตั้งวงระดับหัวเข็มขัด พร้อมกับขยับเท้าเคลื่อนที่ตามจังหวะ จังหวะสุดท้ายไหว้ลา

|
|
|