Neric-Club.Com
|
|
|
นิตยสารออนไลน์
|
|
|
มุมเบ็ดเตล็ด
|
|
|
|
|
|
|
สายลม แสงแดด |
|
|
|
|
พฤศจิกายน /2555
ถึง เจ้าอ้าย
ได้รับแล้วทั้งเมล์และ DVD ที่ตั้งอกตั้งใจส่งมาเป็นตะเข่ง แต่น่าเสียดายที่หาใช้ได้ไม่ ก็ตัวอ่านมันไม่ทำงานซะงั้น แต่ไม่เป็นไรเดี๋ยวจะไปขอยืมหลวงพี่มาสักนานๆหน่อย เพื่อการศึกษาไทยจะได้ก้าวไปข้างหน้าอีกสักนิด บวรจะได้ไม่ซบเซา
ส่วนที่เล่าเรื่องการสอนมาให้ฟังนั่นก็พอมองออก แต่อยากจะบอกว่าปัญหาทั้งหลายที่ได้เล่ามายาวหลายกิโลเมตรนั่นมันไม่ได้สักกะผีกของปัญหาครูไทยสอนอังกฤษในชนบท
เจ้าอ้ายเอ๋ย ถ้ารัฐบาลให้ยอมเปลี่ยนตัวกันได้เป็นพักๆนี่คงจะดีไม่ใช่น้อย ชั้นจะให้นายมารู้มาเห็นวิทยายุทธของชั้นที่ไม่สามารถเอาไปใช้ได้ในที่ไหนๆ ขณะเดียวชั้นก็คงไม่เอาวิทยายุทธของนายมาใช้กับห้องเรียนของชั้น แต่ชั้นกลัวนายจะกระโดดกลับเสียก่อนครบเทอม
ปัญหาการสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษาที่ไหนๆก็เหมือนกัน แต่ชั้นน่าจะหนักหนาสาหัสกว่า เพราะเด็กชั้นมีภาษาถิ่นเป็นภาษาแม่ ภาษากลางกระท่อนกระแท่นมาก ภาษาที่สามก็เป็นภาษาใบ้ เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สี่!
ชั้นว่านายก็คงนึกภาพออก การสอนเรียนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษาบ้านเรานั้นทำมานานกว่าอายุของเรา ก็จำได้ว่าเราเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้นอนุบาล แต่ผลที่ได้รับไม่เป็นที่น่าพอใจ มีปัญหาหลายอย่างที่ยังนาย้ไขไม่ได้ ขนาดกระทรวงศึกษาธิการจะยกเลิกการสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษาเสียให้เริ่มสอนในชั้นมัธยมต้นแทนก็หลายรอบ แต่คนที่อยู่นอกวงการสอนภาษาอังกฤษ(ส่วนใหญ่ก็ผู้ปกครอง)พากันร้องเรียนให้มีการสอนในระดับประถมศึกษาต่อไป ในที่สุดกระทรวงศึกษาธิการก็จำต้องยอมตามกระแสจนเดี๋ยวนี้
แต่ด้วยเหตุในความเป็นจริงข้อที่ว่าการสอนในระดับนี้ไม่ได้ผลดีประกอบกับแนวปรัชญาของหลักสูตรประถมศึกษามุ่งให้ผู้เรียนนำประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต ครูภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษายิ่งหาตัวยากขึ้นทุกที
นายคงคิดเหมือนชั้นว่าการเรียนภาษานั้น ถ้าวิธีสอนถูกต้อง ชิ้นงานดีดี ภายในระยะสั้นสั้น ผู้เรียนก็จะใช้ภาษาได้ ชั้นแน่ใจว่าการเรียนภาษาไม่ได้ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของผู้เรียนมากนัก แต่จะขึ้นกับแรงจูงใจ ความสนใจและความพร้อมของผู้เรียนมากกว่า
เจ้าอ้ายเอ๋ย หลักสูตรภาษาอังกฤษที่เกิดขึ้นในอดีตถึงปัจจุบันยังนับว่าเกิดความสูญเปล่าทางการศึกษามาเป็นเวลานาน จากปัญหากว้างกว้างที่อาจสรุปได้สังเขป ที่อยากเล่าด้วยประสบการณ์แต่นายต้องมองอย่างมีเหตุผลอย่าเพิ่งเบรคกัน
นายว่าจริงมั้ย คุณภาพของครูในระดับประถมศึกษาไม่ได้มาตรฐาน ผู้สอนชำนาญเฉพาะด้านไม่ได้สัดส่วนกับจำนวนนักเรียน หน่วยงานไม่สามารถจะบรรจุผู้ที่ได้รับการอบรมหรือสำเร็จวิชาเอกภาษาอังกฤษโดยตรงมาสอนวิชาภาษาอังกฤษได้ ครูที่สอนภาษาอังกฤษในระดับนี้จึงมาจากผู้สำเร็จวิชาเอกนานาชนิด ทำให้เกิดปัญหาในด้านวิธีสอน เพราะขาดความรู้ในกลวิธีสอน รวมทั้งขาดความแม่นยำในเนื้อหาวิชาด้วย การสอนผู้เริ่มเรียนนั้น ความถูกต้องในเนื้อหาและวิธีการสอนจะเป็นผลดีต่อการเรียนของนักเรียนมาก เพราะผู้เรียนจะได้พื้นฐานที่มั่นคงและเกิดความสนใจที่จะเรียนวิชานี้ต่อไป
แม้จะมีการแก้ปัญหาข้อนี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งอบรมครูในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักวิธีสอน และนำเนื้อหาในหนังสือบางตอนมาศึกษา เพื่อให้สามารถนำไปสอนได้ถูกวิธี ให้ผู้สอนทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักวิธีสอน นำเนื้อหาในหนังสือมาศึกษาโดยละเอียด สอนเนื้อหาทางภาษาที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนเป็นการเพิ่มพูนความรู้ทางภาษาอังกฤษให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม มีคู่มือครูซึ่งบอกรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการสอนบทเรียนแต่ละตอนว่าควรจะมีวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมอย่างไรจะบรรลุกิจกรรมในการเรียนอะไรบ้าง จะฝึกนักเรียนเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล สื่อการเรียนที่ควรจะใช้มีอะไรบ้าง และจะแบ่งเนื้อหาที่จะสอนอย่างไร ทั้งเนื้อหาในการทบทวน และเนื้อหาใหม่ แต่ละตอนจะใช้เวลาเท่าใด รวมทั้งการวัดผลด้วย
แต่ถึงวันนี้ครูเราก็ยังประสบปัญหาการเรียนการสอนอยู่ดี
เรารู้ว่าเด็กในวัย 10 – 12 ปี นั้นชอบกิจกรรม ชอบทำงานกลุ่ม ต้องการความสนุกสนาน และขณะเดียวกันก็จะรู้จักใช้เหตุผล ต้องการแสดงความสามารถของตนให้คนอื่นเห็น ชั้นคิดว่าเอกสารประกอบการเรียนจะต้องมีลักษณะที่สอดคล้องกับสิ่งที่เด็กต้องการ จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียน นั่นคือ บทเรียนควรจะมุ่งทางด้านให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติ มีกิจกรรมกลุ่มให้เด็กได้ทำร่วมกัน แต่ละครั้งที่นักเรียนเรียนรู้สึกว่าบทเรียนสนุก น่าเรียนน่ารู้ ทุกวันได้เรียนรู้ของใหม่และบทเรียนไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป ไม่ทำให้เกิดความท้อถอยหรือเบื่อหน่าย เอกสารประกอบการเรียนสำหรับเด็กวัยนี้จึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก เพราะถ้าไม่สอดคล้องกับลักษณะของเด็ก จะทำให้เด็กเบื่อหน่าย และในที่สุดจะกลายเป็นความรู้สึกต่อต้านวิชาภาษาอังกฤษไปเลย
ปัญหาอีกข้อคือเรื่อง จำนวนนักเรียน ตามหลักสากลนั้น ชั้นเรียนภาษาไม่ควรมีจำนวนเกิน 15 คน จำนวนนักเรียนที่มีอยู่ในแต่ละชั้นในโรงเรียนทั่วไปในประเทศไทยนั้นจึงถือว่าเป็นชั้นผู้ใหญ่ทั้งสิ้น ครูดูแลไม่ทั่วถึง ผลการเรียนจึงไม่สู้ดีนัก นักเรียนที่สมองดีมีความถนัดทางภาษาซึ่งมีจำนวนไม่มากนักเท่านั้นที่จะเรียนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
(เคยพูดเรื่องนี้ในที่ประชุม มีเสียงแย้งมาทันควัน.งั้นก็ไปสอนต่างประเทศซี.. )เรารู้ว่ามันทำไม่ได้ แต่เราก็แก้ไขที่วิธีการจัดกลุ่มและกิจกรรมการสอน ไม่ยึดครูเป็นจุดศูนย์กลางอย่างที่เคยปฏิบัติมา อย่างที่ครูเป็นผู้ดำเนินการสอนแต่เพียงผู้เดียว การฝึกทุกตอนครูเป็นผู้ควบคุมโดยตลอด เมื่อมีนักเรียนมาก ครูจึงฝึกได้ไม่ทั่วถึง ในที่สุดผู้ที่ได้ทำกิจกรรมตามที่ครูประสงค์ก็คือนักเรียนเก่งในชั้นเท่านั้น เพราะอย่างนี้วิธีการที่ถูกต้องควรจะเปลี่ยนไปเป็นการยึดผู้เรียนหรือกิจกรรมเป็นศูนย์กลาง วิธีการแบบหลังนี้จะยึดกิจกรรมในกลุ่มเป็นสำคัญ การสอนเนื้อหาเกือบทุกตอนจะตามมาด้วยกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมทางภาษาร่วมกัน ชั้นเรียนแต่ละชั้นถึงต้องให้มีทั้งนักเรียนที่มีความสามารถคละกันทั้งเด็กเก่งและอ่อน เพื่อให้เด็กเก่งเป็นตัวอย่างในการเรียนนาย่เด็กอ่อน และทั้ง 2 ฝ่ายจะได้เรียนรู้การให้และการรับ เป็นการสอนวิธีการดำเนินชีวิตในสังคมไปในตัว
วิธีการสอนที่ใช้อยู่ตอนนี้ในแต่ละชั่วโมง ก็มีเนื้อหาที่จะทบทวนหรือเนื้อหาใหม่ ครูสอนนักเรียนทั้งห้อง เพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน เสร็จแล้วให้นักเรียนแยกกลุ่มเพื่อฝึกกิจกรรมอันเดียวกันในกลุ่มเป็นการเสริมแรงให้นักเรียนเกิดความแม่นยำ และได้รับการฝึกอย่างทั่วถึงการแบ่งกลุ่มนั้นอาจจะเป็นกลุ่มเล็กตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปถึงกลุ่ม 8 คนก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่ลักษณะของบทเรียน กลุ่มที่แบ่งนี้ไม่ควรจะตายตัวตลอดทั้งภาคเรียน ควรเปลี่ยนแปลงบ้างเพื่อให้นักเรียนได้ทำงานกับคนอื่น ๆ ไม่มีความจำเจ ในแต่ละกลุ่มนั้นควรจะเป็นกลุ่มผสม มีทั้งนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน มีการตั้งหัวหน้ากลุ่มซึ่งจะทำหน้าที่แทนครู ในแต่ละกลุ่มรับคำสั่งจากครูว่าในแต่ละครั้งจะต้องทำกิจกรรมอย่างใดในกลุ่มบ้าง หัวหน้ากลุ่มนี้อาจจะเป็นคนที่เก่งหรือไม่ก็ได้ แต่จะต้องเป็นคนที่มีความรับผิดชอบดี สามารถจะเป็นผู้นำได้และในบางครั้งอาจจะต้องเป็นผู้ช่วยฝึกบทเรียนเพิ่มเติมให้แก่เพื่อนที่เรียนอ่อนด้วย
การทำกิจกรรมในกลุ่มนั้นจะนาย้ไขเรื่องจำนวนนักเรียนมากได้อย่างดี นักเรียนทุกคนมีโอกาสได้ฝึกภาษาเท่ากัน ในขณะที่ฝึกในกลุ่ม ทุกคนมีโอกาสติติงหรือแนะนำกันเองได้มากกว่าที่ครูคนเดียวจะทำกับนักเรียนทั้งชั้น ดังนั้นในขณะที่มีกิจกรรมกลุ่ม ครูก็จะเดินดูได้รอบห้อง คอยแนะนำและช่วยเหลือกลุ่มที่ทำได้ไม่ดีนัก
"แค่คิดก็เหนื่อยแล้ว "ครูหลายคนคิดอย่างนี้เพราะไม่เคยชินกับการเปลี่ยนแปลง ชั้นฟังแล้วก็เหนื่อยเหมือนกัน
จริงจริงแล้วเราก็มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิธีสอนอยู่ไม่ได้หยุดยั้งทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้มีการสอนได้ผลดีที่สุด แนวความคิดใหม่ในวิธีสอน ที่มุ่งให้ผู้เรียนใช้ภาษาได้อย่างแท้จริงตั้งแต่ต้นในสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลอง ใช้วิธีการหรือแนวทางทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนแสดงออกโดยการแสดงพฤติกรรม การเรียนการสอนต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
เราพูดถึงการเรียนการสอนยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ใช้กิจกรรมเป็นเครื่องมือในการฝึก และให้นักเรียนได้ใช้ภาษาซึ่งจะส่งเสริมความสามารถในการแสดงออกและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนแต่ละคน สรุปก็คือต้องเน้นการพัฒนาทักษะทางภาษา ที่แน่นอนที่สุดต้องเริ่มที่ตัวผู้สอนเอง ถ้าครูไม่พร้อมนายว่าเด็กจะได้แบบอย่างที่ไหน?
ชั้นมองว่าแนวความคิดทางการสอนปัจจุบันต่างไปจากเดิมอย่างมากมาย แต่ก็ยังพบความล้มเหลวในการสอนภาษาอังกฤษ อย่างที่รู้ซึ้งกันดีทั้งในกลุ่มนักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ
ทางที่ควรจะแก้ไขเร่งด่วนก็คือเปลี่ยนแนวการสอนเสียใหม่ บางทีวิธีการสอนแนวใหม่ๆที่ค้นพบด้วยตัวเองอาจเป็นวิธีเดียวที่จะแก้ปัญหาได้เฉพาะกิจ
ชั้นมีเรื่องในชั้นเรียนจะเล่าให้นายฟังเยอะแยะ หวังว่าจะไม่เบื่อไปเสียก่อนล่ะ แล้วชั้นจะส่งเอกสารประกอบการเรียนฉบับพิสดารมาให้นายเบิ่งสักยาม วันนี้มีงานชิ้นงามของบรมครูให้นายเบิ่งไปก่อน คิดอย่างไรเล่าสู่กันฟังด้วย
คิดถึงนายทุกวัน เจ้าเอื้อย
|
|
"The difference between the impossible and the possible lies in a man's determination." - - Tommy Lasorda - - เส้นบางๆที่คั่นระหว่างความเป็นไปได้และความเป็นไปไม่ได้คือการตัดสินใจของเรา | |
|
|
|