มะกรูดตัดใบ ป้อนโรงงานน้ำพริก สร้างรายได้ทุกวัน
เกษตรกรหลายพื้นที่มักประสบปัญหาการเพาะปลูกพืชไม่ได้ผล ส่วนใหญ่เกิดจากดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากการปลูกพืชชนิดเดียวซ้ำกันหลายปี ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียน อีกทั้งมีการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ดินมีสภาพเป็นกรด ขาดความอุดมสมบูรณ์ ดินที่เคยร่วนซุยกลายเป็นดินเหนียวแน่น การระบายน้ำไม่ดี ที่สำคัญเป็นดินที่ขาดจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดินและพืช ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นดินตาย ไม่ว่าจะมีการใส่ปุ๋ยบำรุงพืชดีเพียงใดก็มักไม่ได้ผล พืชจะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ดังนั้น ทางที่ดีก่อนปลูกพืชชนิดใดก็ตามต้องมีการเตรียมดิน ปรับสภาพดินเพื่อให้เหมาะสำหรับการงอกของเมล็ด การปลูกพืชและการเจริญเติบโตของพืช เช่น การไถ การย่อยดิน และการกำจัดวัชพืช ซึ่งหลากหลายปัญหานะค่ะ วันนี้เราจะนำการปลูกมะกรูดตัดใบมาฝากเพื่อนๆ ผู้ติดตามบล็อก Poo nita farm (ภูนิตาฟาร์ม) ค่ะ เพราะมะกรูดนอกจากจะนำปรุงแต่งรสชาติของอาหารแล้ว ยังสามารถจะแปรรูปได้หลายอย่างรวมทั้งจะปลูกเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักของเกษตรกรได้เลยทีเดียว...และมะกรูด ก็เป็นพืชที่ชอบดินที่มีการระบายน้ำที่ดี น้ำไม่ท่วมขังเช่นเดียวกันเพราะฉะนั้นเกษตรกรก็ต้องดูแลเอาใจใส่เพื่อผลผลิตที่ดีค่ะ
วิธีการปลูก
สภาพพื้นที่ปลูกต้นมะกรูดต้องมีการระบายน้ำที่ดี น้ำไม่ท่วมขัง มีระดับ pH 5.5-7.0 ดินมีอินทรียวัตถุสูง เนื่องจากระยะปลูกมะกรูดมีความสัมพันธ์กับการเตรียมแปลงและจำนวนต้นปลูก ความกว้างของแปลง ปลูก 1 เมตร ยกระดับความสูงของแปลงประมาณ 20-25 เซนติเมตร ความห่างระหว่างจุดกึ่งกลางของแปลง 1.5 เมตร ระยะปลูกห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ปลูกแบบสลับฟันปลา
การใช้ระยะปลูกที่ห่างกว่านี้ไม่มีความจำเป็นเนื่องจากการผลิตใบมะกรูดต้องอาศัยกรรมวิธีในการตัดแต่งซึ่งเท่ากับเป็นการควบคุมขนาดพุ่มต้นพร้อมกันด้วย กิ่งพันธุ์สามารถใช้ต้นพันธุ์ที่ขยายพันธุ์จากการเพาะเมล็ด กิ่งปักชำ หรือกิ่งตอนก็ได้ แต่ต้นพันธุ์มะกรูดที่จะนำมาใช้ปลูกจะต้องปลอดจากโรคแคงเคอร์ หากโรคแพร่ระบาดเข้าไปในแปลงปลูกแล้ว ก็ยากที่จะกำจัดได้และมีปัญหาต่อการส่งออก
มะกรูดที่นิยมปลูกแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์หลัก
แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก คือ สายพันธุ์ที่ให้ผลมะกรูดดกตลอดปี ผิวผลค่อนข้างเรียบและผลมีขนาดเล็กอีกสายพันธุ์หนึ่งเป็นพันธุ์ผลใหญ่และติดเป็นพวง ลักษณะของผลมีตะปุ่มตะป่ำคล้ายหูดและมีใบขนาดใหญ่ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เหมาะที่จะปลูกเพื่อผลิตใบและผลขายส่งโรงงานแปรรูปน้ำมันหอมระเหย เครื่องอุปโภคหลายชนิด อาทิ สบู่ ยาสีฟัน น้ำยาล้างจาน เครื่องสำอาง ฯลฯ ล้วนแต่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากใบและผลมะกรูด ยังมีข้อมูลบริษัทบางแห่งมีการนำเอาใบมะกรูดไปตากแห้งและบดให้ละเอียด ปั้นเป็นลูกกลอนเพื่อส่งออก บ้างก็นำเอาไปเป็นส่วนผสมในอาหารไก่เพื่อช่วยต้านทานโรค ในทางการแพทย์แผนไทยมีการใช้มะกรูดเป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่างๆ อาทิ น้ำในผลมะกรูดแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร น้ำมะกรูดใช้ดองยาเพื่อใช้ฟอกเลือดและบำรุงโลหิตในสตรี ส่วนของเนื้อนำมาใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ส่วนของใบมะกรูดใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้อาการจุกเสียด
การปลูกมะกรูดเพื่อตัดใบขาย
ควรปลูกด้วยกิ่งตอน ก่อนจะปลูกควรนำปุ๋ยคอกมาใส่ผสมกับดิน เพื่อให้ดินมีอาหารอุดมสมบูรณ์ดี หลุมที่ปลูกมีขนาดกว้าง x ยาว x ลึก ประมาณ80เซนติเมตรก่อนที่จะวางพืชลงปลูกในหลุมควรหาใบไม้ใบหญ้าแห้งที่เน่าเปื่อยผุพังใส่รองก้นหลุมระยะปลูกประมาณ 5 x 5เมตร เทคนิคในการปลูกคือ ก่อนอื่นจะต้องรู้หน้าใบและหลังใบ ในการปลูกส่วนของหน้าใบจะต้องหันสู่ทิศตะวันออก (ดวงอาทิตย์ขึ้นทางไหน หันใบไปทางนั้น) ฤดูกาลปลูกแนะนำให้ปลูกในช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาวจะดีที่สุด ถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนมักจะพบปัญหาเรื่องโรคราเนื่องจากมีความชื้นสูงในการเตรียมหลุมปลูกต้นมะกรูดจะไม่รองก้นหลุมด้วยสารฆ่าแมลงในกลุ่มของสารคาร์โบฟูรานเพื่อป้องกันการทำลายจากปลวก จะใส่สารคาร์โบฟูรานหลังจากปลูกเสร็จ เพราะว่าปลวกหรือแมลงศัตรูในดินจะทำลายรากของต้นมะกรูดในช่วงผิวดินที่ลึกประมาณ 1-2 เซนติเมตร เท่านั้น ต้นมะกรูดจะตั้งตัวหลังจากปลูกไปได้ประมาณ 1 เดือน ให้ใช้ปุ๋ยยูเรียผสมกับปุ๋ยคอกเก่า (ขี้วัวเก่า) ใส่ให้กับต้นมะกรูด แต่ให้ใส่ห่างจากโคนต้นสัก 1 คืบ ถ้าเป็นช่วงฤดูแล้งให้ทำเปลือกถั่วเขียวมาคลุมโคนต้น อย่าให้ติดโคนต้นเช่นกัน ปุ๋ยที่ใส่ไปจะกระตุ้นการแตกยอดให้เร็วขึ้น
การปฏิบัติดูแลรักษา
การให้น้ำ ในระยะที่ปลูกมะกรูดใหม่ ๆ ต้องหมั่นรดน้ำให้ความชุ่มชื้นแก่พืช จะทำให้พืชตั้งตัวได้เร็ว แตกใบอ่อนกิ่งอ่อนดี
การใส่ปุ๋ย
ควรใส่ปุ๋ยเพิ่มธาตุอาหารให้พืชเป็นครั้งคราว ซึ่งอาจเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และปุ๋ยชีวภาพก็ได้ ปกติจะรับประทานใบมะกรูดเป็นอาหารจึงมักใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น 20-14-14 หรือใส่ปุ๋ยพื้น เช่น 15-15-15
สูตรให้ปุ๋ย :
ทางราก..... ขี้วัว - แกลบดิบ - ยิบซั่ม 6 เดือน/ครั้ง.....ให้ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิด เถิดเทิง 30-10-10 อัตรา 2 ล./ไร่/เดือน ทางใบ...... ให้ "ไบโออิ + ยูเรีย จี. + จิ๊บเบอเรลลิน" 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน หลังตัดยอดเก็บใบ
หมายเหตุ :
- พืชตระกูลส้มต้องการ แม็กเนเซียม-สังกะสี สูง - ยูเรีย จี, จิ๊บเบอเรลลิน. ช่วยให้แตกยอดใหม่เร็ว - ให้สารอาหารตามนี้แล้วไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม เพราะมีแล้วอย่างเพียงพอสำหรับ มะกรูดตัดใบ
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช จะมีหนอนของผีเสื้อกลางคืนกัดกินใบมะกรูดและยอดอ่อน จึงควรตรวจตราจับหนอนดังกล่าวในเวลาเช้าแล้วทำลายทิ้งเสีย การดูแลรักษาหลังการปลูก ในช่วง 1-2 เดือนแรกก็เพียงแต่รดน้ำเช้าเย็นเท่านั้น และเมื่ออายุปลูกได้ 8 เดือน จึงบำรุงต้นอีกครั้ง โดยใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ใส่รอบๆ บริเวณโคนต้น การให้น้ำก็จะลดลงเหลือเพียงวันละครั้งเดียว เมื่อต้นมะกรูดขึ้นปีที่ 2 ก็เริ่มที่จะเก็บผลผลิตตัดใบไปจำหน่ายได้เลย
วิธีตัดใบเพื่อนำไปขาย ให้เลือกตัดกิ่งที่ยาวๆ คล้ายกับเราตัดแต่งกิ่ง เพียงแต่ต้องตัดให้ยาวไว้ ไม่ต้องตัดซอยสั้น หรือให้กิ่งตัดมีความยาว 50 เซนติเมตร ขึ้นไป ส่วนต้นมะกรูดให้แต่งซอยสั้น ทำเพื่อเป็นการพักต้นไปเลยหลังจากนั้น นำมามัดเป็นกำๆ 1 กำ มีอยู่ 7-8 กิ่ง เมื่อเก็บผลผลิตที่ต้องการหมดคงเหลือแต่ต้นมะกรูด จะพักต้นไว้ประมาณ 4 เดือน เพื่อได้บำรุงต้นให้แตกกิ่งก้านออกมาอีก ในช่วงนี้จะจ้างแรงงานมาทำแปลง ในการพรวนดินรอบๆ ต้น ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช และนำโคลนที่อยู่ในท้องร่องสวน ขึ้นมากลบบริเวณโคนต้นเพื่อเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นมะกรูด หลังจากนั้น ต้นมะกรูดจะให้ผลผลิตใบได้อีกรอบ ทำหมุนเวียนกันไปจนครบทั้งหมดมะกรูดเชิงการค้านั้น จะมุ่งเน้นเฉพาะการเจริญเติบโตด้านกิ่งใบเป็นหลัก การตัดแต่งเป็นการกระตุ้นให้มีการผลิตาและยังส่งเสริมในด้านการเจริญเติบโต ทางกิ่งใบรวมทั้งระยะปลูกและจำนวต้นที่ปลูกจะต้องมีความ เหมาะสมในเรื่องของการดูแลรักษาต้นมะกรูดเพื่อตัดใบขายนั้น ควรจะมีการฉีดพ่นสารเคมีเพื่อป้องกันรักษาใบให้ดี โดยเฉพาะในช่วงของการแตกใบอ่อนจะพบการระบาดของหนอนชอนใบ แนะนำให้ฉีดพ่นสารโปรวาโด อัตรา 1-2 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) เป็นที่ทราบกันดีว่า สารโปรวาโดเป็นสารในกลุ่มอิมิดาคลอพริดที่ใช้อัตราน้อยที่สุด และเมื่อคำนวณต้นทุนการผลิตต่ำกว่าสารอิมิดาคลอพริดชนิดอื่นๆ นอกจากนั้น เกษตรกรที่ปลูกต้นมะกรูดจะต้องควบคุมโรคแคงเกอร์ให้ได้ โดยภาพรวมแล้วการปลูกมะกรูดมีการดูแลรักษาที่น้อยกว่าการปลูกมะนาวและพืชตระกูลส้มชนิดอื่นๆ
การเก็บเกี่ยวใบมะกรูดครั้งแรกเมื่อปลูกไปประมาณ 4-6 เดือน จะเริ่มการตัดแต่งกิ่งโดยตัดให้อยู่ในระดับความสูง 60-80 เซนติเมตร จากผิวดิน กำจัดกิ่งที่อยู่ในแนวนอนออกไป ภายหลังการตัดแต่งแล้ว ตาจะเริ่มผลิ ผลจากการศึกษา การผลิตใบมะกรูดควรปฏิบัติดังนี้ กิ่งควรอยู่ในแนวตั้งฉากหรือเกือบตั้งฉาก จะให้จำนวนกิ่ง จำนวนใบต่อกิ่งและขนาดใบที่ใหญ่ ระดับของการตัดแต่ง ไม่ควรตัดแต่งเกินครึ่งหนึ่งของความยาวกิ่ง หากตัดเหลือตอกิ่งมีผลทำให้การผลิตายืดเวลาออกไป ขนาดของกิ่งที่เหมาะสม ควรเป็นกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร.
การบังคับการออกดอก หากปลูกให้ออกดอกตามธรรมชาติแล้ว ก็จะได้ดอกในช่วงฤดูหนาว อายุผลยังไม่ทราบแน่นอน แต่คาดว่าจะใกล้เคียงกับมะนาว คือจากดอกบานถึงเก็บเกี่ยวได้ ประมาณ 4 เดือนครึ่ง อย่างไรก็ตาม จากผลการทดลองใช้สารชะลอการเจริญเติบโตพาโคลบิวทราโซล ร่วมกับการตัดปลายยอดพบว่าสามารถชักนำให้ต้นมะกรูดมีการออกดอกได้ดีมาก โดย ต้นมะกรูดเริ่มออกดอกภายหลังการตัดยอด ประมาณ 90 วัน และมีดอกมากที่สุดในช่วงระหว่าง 100-120 วัน
แนะนำให้เกษตรกรที่จะปลูกมะกรูดในพื้นที่ 1 ไร่
ให้ปลูกด้วยการใช้ต้นมะกรูดเสียบยอดและควรใช้พันธุ์ที่มีขนาดใบใหญ่และผลตะปุ่มตะป่ำ (เสียบบนต้นตอมะนาวพวง รากมะนาวพวงหากินเก่งทำให้ต้นเจริญเติบโตไว) ที่ไม่ส่งเสริมให้ปลูกโดยการใช้กิ่งตอนเนื่องจากเมื่อต้นใหญ่ขึ้นมีโอกาสโค่นล้มได้ง่าย วิธีการเสียบยอดมะกรูดควรใช้วิธีการเสียบแบบผ่าลิ่ม ต้นตอจะใช้กิ่งมะนาวพวงโดยเลือกกิ่งที่มีลักษณะกลางแก่กลางอ่อนที่มีขนาดต้นประมาณแท่งดินสอ (วิธีสังเกตต้นตอที่ดีเปลือกผิวจะมีลายที่ชาวบ้านเรียกว่า "ลายนกคุ้ม" จะดีมาก) สำหรับยอดพันธุ์มะกรูดที่จะนำมาเสียบควรเลือกกิ่งที่มีความสมบูรณ์และใบสวย ขนาดของยอดที่ตัดมาเสียบให้มีความยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร และขนาดของยอดควรใหญ่ใกล้เคียงกับต้นตอ ข้อดีของการปลูกต้นมะกรูดที่ได้จากการเสียบยอดแบบผ่าลิ่มคือ ระบบรากจะดีมาก เมื่อแผลจากการเสียบประสานเชื่อมติดสนิทจะเหมือนกับต้นเพาะเมล็ด ต้นจะเจริญเติบโตได้เร็วมาก ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกมะกรูดได้ 400 ต้น โดยใช้พื้นที่ปลูก 2x2 เมตร และแซมด้วยการปลูกกล้วยน้ำว้าเพื่อช่วยเป็นร่มเงาในปีแรก เมื่อต้นมะกรูดมีอายุได้ 1 ปีเต็ม เราจะได้กล้วยต้นละ 1 เครือ เป็นรายได้เสริม ให้โค่นต้นกล้วยทิ้งเมื่อต้นมะกรูดมีอายุเข้าปีที่ 3 เริ่มตัดใบมะกรูดขายได้ทุกๆ 3 เดือน เมื่อคิดเป็นเงินจากการขายใบมะกรูด 70 บาท ต่อต้น ต่อรุ่น จะได้เงิน 28,000 บาท (ใน 1 ปี จะมีรายได้จากการขายใบมะกรูดถึง 112,000 บาท ต่อไร่) สภาพพื้นที่ปลูกควรเลือกสภาพดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำที่ดีและเตรียมแปลงแบบลูกฟูกเพื่อช่วยการระบายน้ำ จุดสำคัญที่สุดของการปลูกมะกรูดเพื่อตัดใบขาย
นั้นจะต้องมีสภาพแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ (ถ้าแหล่งน้ำไม่สมบูรณ์อาจจะตัดใบมะกรูดได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น)สำหรับพื้นที่ที่พบว่ามีลมพัดแรงจำเป็นจะต้องปลูกต้นไม้กันลม เกษตรกรควรจะปลูกต้นสนปฎิพัทธ์ ไผ่รวกหรือไผ่ชนิดอื่นๆ เป็นแนวกันลมก็ได้ หรืออาจจะปลูกกล้วยหินซึ่งจัดเป็นกล้วยท้องถิ่นของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ได้มีการนำต้นพันธุ์กล้วยหินมาจากไร่ บี.เอ็น ตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ มาปลูกรอบแปลงปลูกไม้ผล ผลปรากฏว่าต้นกล้วยหินซึ่งจัดเป็นกล้วยที่ลำต้นสูงใหญ่ใช้เป็นแนวกันลมได้อย่างดีไม่แพ้ไม้ชนิดอื่นๆ ยังมีคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับเกษตรกรที่ปลูกกล้วยไข่ว่า ควรจะปลูกกล้วยหินเป็นแนวกันลมล้อมรอบแปลงกล้วยไข่
การตลาดและการจำหน่าย
สำหรับใบมะกรูดที่มีตำหนิโรงงานที่รับซื้อใบและผลมะกรูดก็รับซื้อทั้งหมดเพื่อจะนำไปผลิตเป็นน้ำมันหอมระเหย จะมีการรับซื้อทั้งใบและผลโดยรับซื้อเป็นกิโลกรัม รูปแบบของการรับซื้อจะมีรถพร้อมคนงานไปตัดใบและผลมะกรูดถึงสวน รถปิคอัพแต่ละคันจะต้องตัดใบมะกรูดได้อย่างน้อยวันละ 500 กิโลกรัม โดยจะเริ่มลงมือประมาณ 9 โมงเช้า-ประมาณบ่าย 2 โมง จะเสร็จเรียบร้อย ขนใบมะกรูดมารวบรวมไว้ในที่ร่มเพื่อเตรียมส่งโรงงานและจะเก็บใบและผลมะกรูดได้ไม่เกิน 3 วัน เจ้าของสวนเพียงแต่นัดวันเวลาให้ไปตัดเท่านั้น ราคารับซื้อถึงสวนถ้าเป็นใบที่สวยจะรับซื้อเฉลี่ยกิโลกรัมละ 7-10 บาท ส่วนใบที่มีตำหนิหรือมีร่องรอยของการทำลายของ โรคและแมลง (เช่น หนอนชอนใบ เพลี้ยไฟ และไร เป็นต้น) จะรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 3 บาท ส่วนของผลมะกรูดจะรับซื้อทั้งหมด (แยกเฉพาะผลเน่าออก) โดยใช้วิธีการเขย่าต้น ในราคาเฉลี่ย
กิโลกรัมละ 3 บาท เช่นกัน ปัจจุบันพื้นที่ปลูกมะกรูดในเชิงพาณิชย์ยังมีน้อยมากและยังมีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่ยังไม่ทราบว่าใบและมะกรูดมีตลาดดีกว่าพืชอีกหลายชนิด และเป็นพืชที่มีการจัดการดูแลรักษาไม่ยุ่งยากเหมือนพืชตระกูลส้มชนิดอื่นๆ แหล่งผลิตใบและผลมะกรูดที่สำคัญในปัจจุบันนี้จะอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดอุทัยธานีเทคนิคสำคัญในการจัดการในแปลงปลูกมะกรูดมีดังนี้ จะใช้ผ้าพลาสติกคลุมแปลงปลูกหรือใช้ฟางข้าวคลุมแปลง เพื่อป้องกันวัชพืชและช่วยรักษาความชื้น หากมีการใช้ผ้าพลาสติกคลุมแปลงแล้ว ระบบการให้น้ำจำเป็นต้องใช้เป็นแบบน้ำหยดที่มีการให้ปุ๋ยไปกับน้ำพร้อมกันด้วย สำหรับแปลงปลูกที่ไม่ได้มีการใช้ผ้าพลาสติกแล้ว ก็สามารถเลือกใช้การให้น้ำระบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามความเหมาะสมได้ การให้ปุ๋ย ผลจากการตัดใบมะกรูดนั้นเป็นการนำเอาแร่ธาตุอาหารออกไปจากดินอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นที่จะต้องให้ปุ๋ยชดเชยกลับคืนให้กับต้นดังเดิม ระดับของปริมาณธาตุอาหาร N-P-K ควรมีสัดส่วนประมาณ 5 : 1 : 3 หรือ 5 : 1 : 4 หรือใกล้เคียงกัน
วิธีปักชำกิ่งมะกรูดด้วยต้นตอมะนาวพวง เตรียมดินเพาะชำโดยใช้ขี้เถ้า 1 ส่วน ดินดำ 2 ส่วน ใส่ถุงดำขนาด 4x7 นิ้ว แต่ต้องเป็นวัสดุที่แห้ง เพราะถ้าเปียกชื้นจะทำให้เกิดเสี้ยนดิน จัดหากิ่งพันธุ์มะกรูดและกิ่งพันธุ์มะนาวพวง โดยคัดเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ สภาพดี อายุที่เหมาะสม สังเกตจากลายนกคุ้ม คือ มีลายดำแซมยาว และต้องคัดขนาดที่ใกล้เคียงกัน ตัดกิ่งตอมะนาวพวงเป็นท่อนยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ควรทำตำหนิโคนกิ่ง ป้องกันการสับสนในการเสียบยอด ก่อนผ่ากลางที่ปลายกิ่งด้วยมีดที่คมไม่เป็นสนิม ลึกประมาณ 3 เซนติเมตร เฉือนกิ่งมะกรูดที่เตรียมไว้ทั้ง 2 ด้านให้เป็นลิ่ม ขนาดแผลเท่ากับความลึกของแผลต้นตอที่เตรียมไว้ เสียบยอดพันธุ์ดีลงในแผลของต้นตอ ให้รอยแผลตรงกัน แล้วใช้ผ้าพลาสติกพันจากล่างขึ้นบน ให้คลุมแผลจนเต็ม ก่อนพันรัดให้แน่น นำต้นพันธุ์ไปชำในถุงดินที่เตรียมไว้ โดยรดน้ำให้ความชื้นที่พอเหมาะ สังเกตจากการบีบดูไม่ให้แฉะเกินไป ใช้ไม้แทงลงดินก่อนนำต้นพันธุ์ลงชำในถุง นำไปเก็บไว้ในโรงอบพลาสติกไม่ต้องรดน้ำ ทิ้งไว้นาน 60 วัน รอยแผลจะประสานกันดี และนำออกมาพักไว้ในโรงเรือนอย่างน้อย 7 วัน ก็สามารถนำไปปลูกได้ตามปกติ
วิธีทาบกิ่งมะกรูดด้วยต้นตอมะนาวพวง
เตรียมอุปกรณ์และวัสดุ ขุยมะพร้าวที่ร่อนด้วยตะแกรง เพื่อนำใยมะพร้าวออกให้เหลือเฉพาะขุยมะพร้าว นำไปใส่ถุงพลาสติกใส (ถุงใส่ของร้อน) ขนาด 3x5 นิ้ว ก่อนที่จะจัดหากิ่งมะนาวพวง โดยใช้กิ่งที่สมบูรณ์ สภาพดี อายุที่เหมาะสม สังเกตจากกิ่งมีลายนกคุ้ม คือ มีลายดำแซมยาว นำมาตัดเฉียงควรทำตำหนิโคนกิ่ง ป้องกันการสับสนในการปักชำ ความยาวของกิ่งประมาณ 4-5 นิ้ว จุ่มโคนกิ่งด้วยน้ำฮอร์โมนเร่งรากที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้ให้แห้งก่อนที่จะชำลงในถุงขุยมะพร้าวที่มีความชื้นพอประมาณ ทดสอบด้วยการทำให้ขุยมะพร้าวเป็นก้อน แต่ไม่ถึงกับมีน้ำไหลออกตามง่ามนิ้วมือ ผูกปากถุงด้วยเชือกพลาสติก คัดกิ่งมะกรูดเป็นกิ่งพันธุ์ เลือกกิ่งที่สมบูรณ์ไม่มีโรค มีขนาดใกล้เคียงกับต้นตอ ปาดเฉียงขึ้นบนกิ่งมะกรูดที่ได้เลือกไว้ด้วยมีดที่คมไม่เป็นสนิม ลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร เฉือนต้นตอมะนาวพวงที่เตรียมไว้ให้เป็นปากฉลาม ขนาดแผลเท่ากับความลึกของแผลกิ่งพันธุ์ดีที่เตรียมไว้ เสียบต้นตอลงในแผลของกิ่งพันธุ์ดี ให้รอยแผลตรงกัน แล้วใช้พลาสติกพันจากล่างขึ้นบนให้คลุมแผลจนเต็ม ก่อนพันรัดให้แน่น ทิ้งไว้ประมาณ 45 วัน ต้นตอจะใช้อาหารและน้ำจากต้นของกิ่งพันธุ์ จนเกิดรากเต็มถุง ตัดออกมาใส่ถุงดำ อบไว้ในตู้อบพลาสติกประมาณ 20 วัน จึงนำออกมาไว้ข้างนอกจนกว่ารากจะออกมาให้เห็นนอกถุง ทรงต้นจะสมบูรณ์ ใช้เวลาประมาณเดือนกว่าสามารถจำหน่ายได้ ผลผลิตที่ได้คุ้มค่า คือ ปลูกในระยะชิด 2x2 เมตร ไร่ละ 400 ต้น หลังปลูก 9 เดือน ผลผลิตไม่เกิน 100 กิโลกรัม จะสามารถตัดใบได้ 3 เดือนต่อครั้ง ตัดครั้งที่ 6 ขึ้นไป ผลผลิตประมาณ 1,000 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งถ้าอายุ 3-4 ปีขึ้นไป จะสามารถตัดใบจำหน่ายได้ต้นละประมาณ 100 บาท ในส่วนของราคา ประมาณ 8 บาท/กก.
การนำไปปลูกต้องรู้ถึงเคล็ดลับการปลูก คือ จะต้องให้หน้าใบหันไปทางแสงแดด ถ้าหันหลังใบจะทำให้ลำต้นบิดไส้ลำต้นแตกต้นจะแคระแกรน ไม่ยอมโต ราคาจำหน่ายที่เรือนเพาะชำต้นละ 25 บาท ถ้าให้ไปปลูกให้ก็ขอเพิ่มอีกต้นละ 5 บาทการปลูกต้นมะกรูดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการผลิตใบแล้วควรปลูกในระยะชิดโดยเลือกกิ่งที่ทำมุมในแนวตั้งฉากเพื่อให้ได้ผลผลิตของจำนวนใบที่มากกว่าและขนาดใบที่ใหญ่กว่า โดยที่แต่ละรอบของการผลิตใช้ระยะเวลาตั้งแต่ตัดแต่งจนถึงเก็บเกี่ยวแล้วไม่เกิน 40 วัน เมื่อเป็นดังนี้แต่ละต้นใน 1 ปี จึงสามารถเก็บเกี่ยวใบมะกรูดได้ถึง 9 ครั้ง แต่ถ้าหากสามารถร่น
ระยะเวลาเหลืองเพียง 30 วันแล้ว ก็จะเพิ่มได้เป็น 12 ครั้งต่อปี40 วัน เมื่อเป็นดังนี้แต่ละต้นใน 1 ปี จึงสามารถเก็บเกี่ยวใบมะกรูดได้ถึง 9 ครั้ง แต่ถ้าหากสามารถร่นระยะเวลาเหลืองเพียง 30 วันแล้ว ก็จะเพิ่มได้เป็น 12 ครั้งต่อปี30 วันแล้ว ก็จะเพิ่มได้เป็น 12 ครั้งต่อปี การเลือกกิ่งที่ยู่ในแนวตั้งตรงซึ่งจะได้ขนาดของกิ่งและใบที่ใหญ่กว่า ไม่ควรใช้กิ่งในแนวนอน อายุของกิ่งและใบที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้อยู่ในช่วงระหว่าง 33 – 40 วันภายหลังการตัดแต่งอายุของกิ่งและใบที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้อยู่ในช่วงระหว่าง 33 – 40 วันภายหลังการตัดแต่ง
|