ข้อดีของการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้เต็มที่ ที่ดินรอบ ๆ บ่อใช้ปลูกพืชผัก และสร้างคอกเลี้ยงสัตว์ ส่วนน้ำในบ่อนอกจากใช้เลี้ยงปลาแล้วยังปลูกพืชอื่น ๆ ได้อีก เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด เศษเหลือของพืชและสัตว์สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกเช่น มูลสัตว์ เศษอาหาร เศษผักหญ้าต่าง ๆ ซึ่งตกลงไปในบ่อก็จะกลายเป็นอาหารปลาและเป็นปุ๋ยสำหรับเติมบ่อปลา ขณะเดียวกันโคลนเลนก้นบ่อก็สามารถนำมาปลูกพืชต่าง ๆ ได้ดีการนำเศษเหลือ ของเสียต่าง ๆ กลับมาใช้อีกเป็นการกำจัดของเสีย และช่วยลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าอาหารปลา ค่าอาหารสัตว์ ค่าปุ๋ย เป็นการเพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ สามารถใช้บริโภคภายในครอบครัวถ้าเหลือก็สามารถนำออกจำหน่าย เกิดเป็นเงินทุนหมุนเวียน เพื่อดำเนินการต่อไป และเป็นการใช้แรงงานภายในครอบครัวให้เป็นประโยชน์ ลดอัตราการเสี่ยงต่อการขาดทุนได้ดีกว่า การเลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ หรือปลูกพืชเพียงอย่างเดียวและเป็นการลดต้นทุน เพราะกิจกรรมแต่ละอย่างต้องพึ่งพากัน ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียน ในการจำหน่ายผลผลิตจากฟาร์มตลอดปี
การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่ การเลี้ยงผสมผสานแบบนี้ มีจุดประสงค์คล้ายคลึงกับการเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงเป็ด คือใช้มูลไก่เป็นอาหารของปลาที่เลี้ยง หรือใช้เป็นปุ๋ยสำหรับการเจริญเติบโตของอาหารธรรมชาติและเป็นอาหารของปลาอีกทอดหนึ่ง ลักษณะบ่อปลาและเล้าไก่ บ่อที่ใช้เลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่นั้นใช้บ่อดินที่มีลักษณะเดียวกับบ่อเลี้ยงปลาโดยทั่วไปควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความลึกประมาณ 1.50 - 2.00 เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้โดยเฉลี่ย 1-1.50 เมตร ในช่วงที่มีการเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่ เล้าไก่ ซึ่งเป็นอาคารและโรงเรือนควรสร้างคร่อมบ่อที่เลี้ยงปลา เพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่เดียวกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการเหมาะสมเมื่อไก่ที่เลี้ยงถ่ายมูลหรือเศษอาหารตกลงในบ่อเป็นประโยชน์ต่อปลาโดยตรง โดยมิต้องเสียเวลาในการทำความสะอาดเป็นการตัดภาระในด้านค่าใช้จ่าย สำหรับรูปร่างของเล้าไก่นั้นก็ควรสร้างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเช่นเดียวกัน พื้นเล้าไก่สูงกว่าระดับผิวน้ำในบ่อเฉลี่ย 1.20 เมตร แบบตั้งบนบ่อปลา ปลาจะได้รับอาหารที่ไก่เขี่ยกระเด็นออกมาเป็นอาหารโดยตรง และได้รับอาหารจากมูลไก่ที่ย่อยไม่หมด ส่วนที่เหลือจะกลายเป็นปุ๋ยให้เกิดแพลงก์ตอนในบ่อต่อไป ปลาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยสามารถลดปริมาณอาหารสมทบหรือไม่ต้องลงทุน ลดแรงงานและเวลาในการหาอาหารให้ปลา ไม่ต้องทำความสะอาดในเล้า ส่วนเล้าไก่ที่สร้างบนพื้นดินนั้น มูลไก่และเศษอาหาร จะตกลงที่พื้นดินใต้เล้าหากทิ้งไว้นานคุณค่าอาหารจะเปลี่ยนไป เพิ่มงานและเสียเวลาเพื่อขนถ่ายมูลไก่ไปลงบ่อปลา สัปดาห์ละครั้งเป็นอย่างน้อย ทั้งยังสามารถควบคุมให้ปริมาณปุ๋ยในบ่อไม่มากเกินไปได้โดยการทยอยใส่ปุ๋ยลงในบ่อ ในกรณีพื้นที่นั้นมีปริมาณน้ำที่จะใช้น้อย เช่น ปีหนึ่งมีน้ำเพียง 8 เดือนอย่าสร้างเล้าไว้บนบ่อ ทิศทางและตำแหน่งที่ตั้งเล้าไก่ การสร้างเล้าไก่ควรหันให้ด้านยาวของเล้าหันในทิศทางตะวันออก-ตะวันตก เพื่อไม่ให้แสงแดดส่องเข้าในเล้าโดยตรงนานเกินไปในช่วงสาย ๆ และบ่าย ๆ แต่ถ้าไม่สามารถหันได้ตามทิศทางดังกล่าวและด้านยาวจำเป็นต้องหันไปทิศเหนือ-ใต้ ก็จะต้องทำชายคาให้ต่ำลงมาบังแสงได้เพียงพอ ขนาดและลักษณะเล้าไก่ เล้าไก่ควรเป็นแบบเปิดและอยู่กลางแจ้ง เพื่อจะได้รับแสงสว่างและการถ่ายเทอากาศจากธรรมชาติ ปกติแล้วเล้าจะปลูกสร้างเป็นแถวเดียว มีหลังคาเป็นแบบจั่ว มีความยาว 6-8 เมตร และมีความสูง 3.0 เมตร แต่ละห้องแบ่งขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 40 ตารางเซนติเมตร เลี้ยงไก่ได้จำนวน 800 ตัว ส่วนความกว้างของเล้าจะขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ที่เพิ่มขึ้น เล้าไก่ควรมีอัตราส่วนช่องหน้าต่างต่อเนื้อที่พื้นเล้าเท่ากับ 1:8 - 1:10 เพื่อช่วยให้เกิดการถ่ายเทอากาศได้ดี พื้นเล้าสูงจากระดับน้ำบ่อปลาประมาณ 1.0 - 1.50 เมตร วิธีการเลี้ยงไก่ร่วมกับการเลี้ยงปลาแบบการค้า สำหรับเกษตรกรที่มีความสนใจจะเลี้ยงไก่ผสมผสานกับเลี้ยงปลาให้เป็นการค้าควรจะเตรียมการและวางแผนการเลี้ยงล่วงหน้าไว้ดังนี้ วางแผนการเก็บเกี่ยวผลผลิตปลาให้พอดีกับฤดูแล้งซึ่งปลาจะมีราคาดี หลีกเลี่ยงการเลี้ยงปลาและไก่ในฤดูหนาว เนื่องจากเป็นฤดูที่มีโรคระบาด ตรวจดูความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการเลี้ยงไก่และชนิดปลาที่จะเลี้ยง 1 รูปแบบผสมผสานที่ 1 เลี้ยงไก่เนื้อกับปลานิล ปลาสวาย ปลาจีน 2 รูปแบบผสมผสานที่ 2 เลี้ยงไก่เนื้อ 2 รุ่นกับปลาดุกบิ๊กอุย 3 รูปแบบผสมผสานที่ 3 เลี้ยงไก่ไข่กับปลานิล ผู้เลี้ยงควรจัดเตรียมบ่อดินและโรงเรือนไก่ให้เสร็จเรียบร้อยในฤดูแล้งเพื่อความสะดวกใน การทำงาน มีขั้นตอนดังนี้ บ่อเก่า ให้ล้างบ่อโดยสูบน้ำจับปลาเก่าออกให้หมด และขุดลอกเลนบางส่วนออกโดยให้คงเหลือไว้ 10-20 เซนติเมตร โรยปูนขาวอัตรา 40-60 กิโลกรัม/ไร่ ตากบ่อให้แห้ง ขุดบ่อใหม่ ควรเปิดน้ำลงบ่อให้พอแฉะ ๆ โรยปูนขาว อัตรา 100-200 กิโลกรัม/ไร่ ตากบ่อให้แห้ง เปิดน้ำลงบ่อให้ผ่านมุ้งไนลอนตาถี่ เพื่อป้องกันปลากินเนื้อที่อาจหลุดเข้ามาได้ บริเวณท่อน้ำเข้าให้กองปุ๋ยคอกไว้ในอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่ เปิดน้ำเข้าบ่อให้มีระดับ 30 เซนติเมตรแล้วปิดน้ำ พักบ่อไว้จนน้ำในบ่อกลายเป็นสีเขียว เปิดน้ำเข้าบ่ออีกครั้งให้ได้ระดับลึก 1.0 - 1.20 เมตร ควรปักไม้ไว้วัดระดับน้ำ เมื่อน้ำในบ่อเป็นสีเขียวดีแล้ว ก็สามารถจัดหาพันธุ์ลูกไก่มาเริ่มเลี้ยงบนเล้าได้ อัตราส่วนจำนวนไก่และขนาดบ่อปลา อัตราส่วนจำนวนไก่ประเภทต่าง ๆ ต่อพื้นที่บ่อทุก ๆ 1 ไร่ โดยตั้งเล้าไว้บนบ่อปลา
ลักษณะการจ่ายน้ำเข้าฟาร์ม |
ไก่พันธุ์เนื้อ (ตัว/ไร่) |
ไก่พันธุ์พื้นเมือง (ตัว/ไร่) |
ไก่พันธุ์ไข่ (ตัว/ไร่) |
ฟาร์มที่รับน้ำได้ตลอดเวลา |
350 |
350 |
200 |
ฟาร์มที่รับน้ำได้เป็นเวลา |
260 |
260 |
150 |
ฟาร์มที่มีน้ำบาดาลหรือน้ำฝนตลอดทั้งปี |
175 |
175 |
100 |
ฟาร์มที่มีน้ำบาดาลหรือน้ำฝนน้อยกว่า 8เดือน/ปี** |
** |
** |
** |
ขั้นตอนการเลี้ยงไก่ควบคู่กับการปล่อยปลา การนำลูกไก่มาเลี้ยงควรเริ่มหลังจากเตรียมบ่อปลาและน้ำมีสีเขียวดีแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อให้มูลไก่ตกลงสู่บ่อปลา ซึ่งลูกปลาที่เพิ่งปล่อยและอาหารธรรมชาติที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ลูกปลาจะได้กินเป็นอาหารอย่างต่อเนื่อง การเลี้ยงไก่ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้อัตราการรอดตายสูงที่สุด หากไก่มีอัตรารอดสูงนอกจากผู้เลี้ยงจะไดรับกำไรจากไก่สูงแล้วผลผลิตปลาก็จะสูงตามไปด้วย อาหารและมูลไก่ในช่วง 5 สัปดาห์แรกนี้ จะเป็นอาหารที่มีคุณค่าสูงต่อลูกปลา ลูกปลาจะสามารถกินมูลไก่ได้โดยตรง การเลี้ยงปลาสามารถเริ่มเลี้ยงไปพร้อม ๆ กันกับการเลี้ยงไก่ ควรเลือกลูกปลาที่มีลักษณะแข็งแรง ขนาดไล่เลี่ยกัน ขนาดปลาที่จะใช้เลี้ยงเริ่มต้นควรเป็นลูกปลาตัวโตเพื่อให้ได้อัตรารอดตายที่สูง ขนาดของลูกปลากินพืชและปลาที่กินอาหารไม่เลือก ควรเป็น 2 นิ้ว และขนาดลูกปลาดุกควรเป็น 1 นิ้ว แสดงอัตราส่วนที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาผสมผสานกับเลี้ยงไก่
ชนิดของไก่ |
จำนวนตัวต่อบ่อ 1 ไร่ |
หมายเหตุ |
ไก่พันธุ์เนื้อ (ไก่กระทง) |
1,000 |
เลี้ยงตั้งแต่อายุ 1 วัน รุ่นละ 50 วัน ปีละ 5 ครั้งเลี้ยงในกรงตับ |
ไก่พันธุ์ไข่ |
200 |
ชนิดของปลา |
ขนาด (เซนติเมตร)่ |
จำนวนตัวต่อไร่ |
นิล |
3 |
3,000 |
นิล สวาย |
3-5 |
3,000 จำนวนเท่ากัน |
(นิล สวาย ตะเพียน ยี่สกเทศ นวลจันทน์เทศ จีน) |
3-5 |
3,000 |
อัตราการเลี้ยงสัตว์ร่วมกับการเลี้ยงปลา
ขนาดบ่อ (ไร่) |
พันธุ์ปลา (ตัว) |
ขนาดเล้า (ตารางเมตร) |
พันธุ์ไก่ (ตัว) |
อาหารหลัก |
อาหารสมทบ |
15 |
นิล 60,000 - 67,500 สวาย 30,000 - 67,500 จีน 15,000 |
400 |
เนื้อ 10,000 สุกร 220 |
มูลไก่ |
รำ ปลายข้าว เศษอาหาร |
10 |
นิล 50,000 |
400 |
ไก่เนื้อ 10,000 เลี้ยง 2 รุ่น |
มูลไก่ |
รำปลายข้าว เศษอาหาร |
5 |
ดุกบิ๊กอุย 200,000 |
200 |
ไก่เนื้อ 5,000 เลี้ยง 2 รุ่น |
มูลไก่ เศษอาหาร |
เศษอาหารจากร้าน อาหารเม็ด |
5 -10 |
ดุกบิ๊กอุย 300,000 |
400 |
ไก่เนื้อ 10,000 เลี้ยง 2 รุ่น |
มูลไก่ เศษอาหาร |
เศษอาหารจากร้าน อาหารเม็ด |
1 |
นิล 500 สวาย 500 จีน 200 |
40 |
ไก่ไข่ 200 สุกร 3-5 |
มูลไก่ มูลสุกร |
รำปลายข้าว เศษอาหาร |
ผลผลิตและผลตอบแทนของการเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่ ผลผลิตปลาจากการเลี้ยงแบบผสมผสาน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณสัตว์ที่นำมาเลี้ยงกับชนิดและขนาดของปลาที่นำมาปล่อยและระยะเวลาที่เลี้ยงด้วย รูปแบบการเลี้ยงสัตว์และปลาชนิดต่าง ๆ
รูปแบบการเลี้ยง |
ขนาดบ่อ (ไร่) |
ผลผลิตปลาทั้งบ่อ (ตัน) |
ระยะเวลาการเลี้ยง (เดือน) |
ไก่เนื้อ+ปลานิล+ปลาสวาย |
15 |
19 |
มากกว่า 8 |
ไก่เนื้อ+ปลานิล |
10 |
5.7 |
10 |
ไก่เนื้อ+ปลานิล+ปลาตะเพียน+ปลาสวาย |
5 |
16 |
100 วัน |
สุกร+ปลานิล+ปลาสวาย |
17 |
12 |
มากกว่า 8 |
สุกร+ปลานิล+ปลาสวาย |
17 |
15 |
มากกว่า 8 |
สุกร+ปลากินพืชรวม |
6 |
3.5 |
6 |
เป็ด+ปลากินพืชรวม |
2 |
2.6 |
10 |
การลงทุนสำหรับบ่อขนาด 15 ไร่ เลี้ยงไก่เนื้อร่วมกับปลานิลและปลาสวาย
ต้นทุนผันแปร (บาท) |
ต้นทุนคงที่ (บาท) |
ต้นทุนรวม (บาท) |
พันธุ์ปลา |
51,000 |
ค่าดอกเบี้ย |
|
|
อาหารสมทบ |
15,500 |
ค่าเช่าที่ดิน |
36,000 |
|
น้ำมันเชื้อเพลิง |
2,800 |
ค่าเสื่อมราคา |
|
|
สาธารณูปโภค+ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์ |
1,900 |
|
|
ค่าแรงงาน |
45,500 |
|
|
รวม |
116,700 |
รวม |
36,000 |
รวม 152,700 |
ผลผลิต 19,000 กิโลกรัม มูลค่า 160,000 บาท |
ราคาปลา 842 บาท/กิโลกรัม กำไร 7,300 |
* ค่าแรงงานคิดเป็นรายวัน ๆ ละ 189 บาท ตลอดระยะเวลาเลี้ยง 8 เดือน * ราคาขายปลาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.42 * ค่าจ้างเลี้ยงไก่ตัวละ 5-7 จำนวน 10,000 ตัว/รุ่น ทุก 50 วัน รวม 4-5 รุ่น/การเลี้ยงปลา 1 รุ่น
อาหารและการให้อาหาร ในการเลี้ยงแบบผสมผสานกับการเลี้ยงไก่นั้น โดยปกติถ้าจัดอัตราส่วนที่เลี้ยงให้เหมาะสมต่อกันแล้วก็ไม่จำเป็นต้องให้อาหารสมทบ เพราะปลาได้อาศัยกินมูลไก่และเศษอาหารที่ไก่กินตกหล่นไปในบ่อ และอาหารธรรมชาติอื่น ๆ เพียงพอ เช่น แพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ ตลอดจนตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลง ฯลฯ ส่วนในระยะแรกที่ปล่อยพันธุ์ปลาเลี้ยงในบ่อนั้นลูกปลายังมีขนาดเล็ก ไม่แข็งแรง และไม่คุ้นเคยกับมูลไก่ที่ใช้เป็นอาหาร ดังนั้น จึงควรใช้รำข้าวละเอียดโดยโปรยให้ลูกปลากิน หรือให้อาหารผสม เช่น ปลายข้าวต้มผสมรำและปลาป่น ปั้นเป็นก้อนโยนให้ปลากิน หรือจะใช้อาหรที่มีราคาถูก เช่น กากถั่ว หรือเศษอาหารจากภัตตาคารก็ได้ ปริมาณอาหารสมทบที่ให้ควรลดลงตามลำดับและงดเมื่อปลาที่เลี้ยงโตขึ้นและคุ้นกับมูลไก่ที่ใช้เป็นอาหารแล้ว
การจับปลาจำหน่าย
|
การจับปลาจำหน่าย ในกรณีที่เลี้ยงปลานิลกับไก่นั้น จะต้องคัดจับปลานิลขนาดใหญ่ออกจำหน่ายเมื่อเลี้ยงเป็นเวลา 4-5 เดือน เพราะปลานิลที่เลี้ยงไว้จะออกลูกและเพิ่มอัตราความหนาแน่นมากขึ้น ทำให้ปลาส่วนใหญ่ไม่เจริญเติบโตหรือแคระเกร็น การคัดจับปลานิลทำได้ง่าย โดยใช้ข่ายไนลอนขนาดช่องตา 6-8 เซนติเมตร ในช่วงตอนบ่ายกำหนดเวลาให้พอเหมาะกับเวลาที่จะนำปลาไปจำหน่ายให้แก่ผู้ซื้อในตลาด การคัดจับปลานิลต้องปฏิบัติเป็นประจำสำหรับบ่อขนาดใหญ่เนื้อที่ตั้งแต่ 3-5 ไร่ส่วนการเลี้ยงปลานิลกับปลาสวายหรือในการเลี้ยงปลาแบบรวม เมื่อเลี้ยงปลาเป็นเวลา 6-8 เดือน ก็ควรจะใช้อวนขนาดใหญ่คัดจับปลาที่มีขนาดโตออกจำหน่ายเสียบ้างเพื่อลดอัตราความหนาแน่น และทำการวิดน้ำจับปลาทั้งหมดเมื่อเลี้ยงปลาครบรอบ 1 ปี หรือรอจับในช่วงเวลาที่ปลามีราคาสูงขึ้น |
การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงเป็ด ประโยชน์ที่สำคัญซึ่งได้รับจากการเลี้ยงเป็ดควบคู่กับการเลี้ยงปลา ได้แก่ การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงเป็ด จะให้คุณประโยชน์หลายประการ อาทิ มูลเป็ดเป็นปุ๋ยช่วยเพิ่มอาหารธรรมชาติให้กับปลา อาหารที่ใช้เลี้ยงบางส่วนเมื่อตกหล่นลงไปในน้ำ ปลาจะกินเป็นอาหารโดยตรง หรือมีเศษเหลือบางส่วนกลายเป็นปุ๋ย เป็ดช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการว่ายน้ำ การเล่นกันของเป็ดตามผิวน้ำในบ่อปลา เป็ดจะช่วยกำจัดหอย ซึ่งเป็นพาหะของโรคพยาธิ เช่น หอยคัน ซึ่งเป็นปัญหาในด้านสุขอนามัยของประชาชน ในกรณีเลี้ยงเป็ดร่วมกับปลานิล เป็ดจะคอยควบคุมประชากรของปลานิลให้อยู่ในลักษณะสมดุล ทำให้ปลาที่เลี้ยงเติบโตได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ การสร้างเล้าเป็ด การสร้างเล้าเป็ดควรใช้วัสดุพื้นบ้านซึ่งสามารถหาได้ง่าย เช่น ไม้ไผ่และแฝกหรือจากสำหรับมุงหลังคา ขนาดของเล้าขึ้นอยู่กับจำนวนเป็ดที่เลี้ยง แต่ควรมีเนื้อที่ของเล้า 1 ตารางเมตรต่อเป็ด 5 ตัว ถ้าเลี้ยงเป็ดจำนวน 30 ตัว เล้าเป็ดควรมีเนื้อที่ประมาณ 6 ตารางเมตร ส่วนความสูงของเล้าเป็ดควรสูงพอที่จะเข้าไปเก็บไข่และทำความสะอาดได้สะดวก สามารถกำบังฝนและแดดได้ดี และมีการถ่ายเทอากาศได้ดี นอกจากนี้เล้าเป็ดควรมีประตูเพื่อที่จะขังเป็ดไว้ในเล้าได้ในเวลากลางคืน พื้นเล้าเป็ดควรจะตีไม้ให้มีระยะห่างกันพอสมควร หรือห่างกันประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อให้มูลเป็ดตกลงสู่บ่อได้ แต่ไม่ควรกว้างมากเกินไป เพราะจะทำให้เป็ดเดินไม่สะดวก และไข่เป็ดอาจจะหล่นลงไปในบ่อได้ นอกจากนี้ ควรมีชานหรือสะพานทอดลงสู่น้ำ เพื่อให้เป็ดขึ้นลงจากเล้าได้สะดวก อัตราส่วนจำนวนเป็ดที่เลี้ยงกับขนาดของบ่อปลา พันธุ์เป็ดที่นำมาเลี้ยง ควรเป็นเป็ดพันธุ์ไข่ จะดีกว่าเป็ดพันธุ์เนื้อ ด้วยเหตุผล 3 ประการคือ เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้รับประทานอาหารโปรตีนอย่างสม่ำเสมอ ไข่เป็ดที่เหลือจากการบริโภคสามารถนำไปจำหน่ายได้ง่ายกว่าจำหน่ายเป็ดทั้งตัว ถ้าเลี้ยงเป็ดไข่ เป็ดจะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุ 5 เดือนไปจนกระทั่งมีอายุ 1 ปี จึงคัดเป็ดที่ไม่ ให้ไข่ออกไป รวมเวลา 18 เดือน แล้วปลดระวาง ส่วนการเลี้ยงเป็ดเนื้อจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน แต่อาจมีความยุ่งยากพอสมควร ส่วนเป็ดพันธุ์ไข่นั้นมีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์กากีแคมเบล อินเดียรันเนล เป็ดพันธุ์ลูกผสม จากปากน้ำหรือนครปฐม สำหรับพันธุ์ที่ดีที่สุดคือ พันธุ์กากีแคมเบล ซึ่งให้ไข่จำนวนมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ จำนวนเป็ดสูงสุดที่ควรใช้เลี้ยงในบ่อคือ 240 ตัวต่อเนื้อที่บ่อขนาด 1 ไร่ สำหรับบ่อขนาด 200 ตารางเมตร ควรปล่อยเป็ดอัตรา 30 ตัวต่อบ่อ (ถ้าต้องการเพียงให้มีผลผลิตใช้เพียงพอแก่การใช้บริโภคของสมาชิกในครัวเรือนทุก ๆ วัน) จำนวนเป็ดจะลดลงเหลือเพียง 10 ตัวสำหรับบ่อขนาด 200 ตารางเมตร อาหารและการให้อาหารเป็ด ลูกเป็ดที่ซื้อมาเลี้ยง จะเป็นเป็ดที่มีอายุประมาณ 1 วัน ควรใช้อาหารที่มีคุณภาพสูงเลี้ยงลูกเป็ดในระยะนี้ จนกระทั่งลูกเป็ดอายุครบ 1 เดือน จึงให้อาหารสำหรับเป็ดไข่ซึ่งมีส่วนประกอบ ดังนี้ ปลายข้าว 50% หรือ 1 กระสอบ (น้ำหนัก 100 กก.) รำข้าวละเอียด 30% หรือ 1 กระสอบ (น้ำหนัก 60 กก.) หัวอาหาร 20% หรือ 1 ถุงครึ่ง (น้ำหนัก 45 กก.) พันธุ์ปลาที่เลี้ยงร่วมกับการเลี้ยงเป็ด พันธุ์ปลาที่เหมาะสมเลี้ยงร่วมกับการเลี้ยงเป็ดนั้นควรเป็นพันธุ์ที่กินอาหารไม่เลือกหรือกิน แพลงก์ตอน เช่น ปลานิล ปลานวลจันทร์เทศ และปลาช่อน โดยใช้ปลานิลเป็นหลัก ส่วนลูกปลาควรมีขนาด 5-7 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่โตพอจะหลบหนีจากการถูกกินเป็นอาหารของเป็ดได้ อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ จำนวนปลานิลขนาด 5 เซนติเมตร 3,000 ตัวต่อไร่ ถ้าเป็นปลาขนาด 3 เซนติเมตร ควรเพิ่มจำนวนขึ้นได้อีกหนึ่งเท่าตัวต่อเป็ดไข่ที่เลี้ยง 240 ตัว การเลี้ยงเป็ดร่วมกับปลาสวายนั้น ควรปล่อยเป็ดลงในบ่อหลังจากเลี้ยงปลาสวายประมาณ 2 เดือน ปลาจะมีขนาดโตพอดีที่เป็ดไม่สามารถกินเป็นอาหารได้การปล่อยเป็ดลงในบ่อปลาช่วยกินพวกพืชเล็ก ๆ ที่เกิดตามธรรมชาติ เช่น สาหร่าย จอก แหน ตลอดจนสัตว์เล็ก ๆ เช่น หอย ปู ปลาเล็ก ๆ ในส่วนที่ปลาได้รับประโยชน์จากเป็ดก็คือ ปลาสามารถกินของเสียจากเป็ดเป็นอาหารได้ และมูลเป็ดที่ปลากินไม่หมดจะเป็นปุ๋ยให้กับพวกจอก แหน หรือวัชพืช เมื่อพืชเหล่านั้นโตขึ้นมาก็จะเป็นอาหารให้แก่ปลาและเป็ดต่อไป การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงสุกร การเลี้ยงปลาร่วมกับสุกร ได้มีมานานแล้ว ส่วนมากนิยมเลี้ยงปลาจีน ปลาไน ปลานิล โดยสร้างคอกสุกรบนคันบ่อ มูลสุกรก็จะถูกชะล้างลงสู่บ่อปลาก่อให้เกิดอาหารธรรมชาติในบ่อปลา ซึ่งจะกลายเป็นอาหารแก่ปลาอีกทอดหนึ่ง นอกจากนี้มูลสุกรบางส่วนยังเป็นอาหารแก่ปลาได้โดยตรงอีกด้วย ประโยชน์ของการใช้มูลสุกรในบ่อปลา เป็นอาหารของปลาสวายโดยตรง ลดต้นทุนการผลิตปลาสวายลงอย่างมาก เศษมูลสุกรที่เหลือบางส่วนในน้ำเป็นต้นกำเนิดลูกโซ่อาหารธรรมชาติแก่ปลาชนิดอื่น ๆ ทำให้เล้าสุกรสะอาดและความร้อนลดลง ปริมาณก๊าซแอมโมเนียลดลง หรือหมดไป ปริมาณแมลงวันซึ่งเป็นพาหะนำโรคของคน และสัตว์ลดลง ไม่มีมูลสุกรตกค้าง หรือระบายลงแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งอาจเป็นผลให้เกษตรกรรายอื่นได้รับความเดือดร้อนในการใช้น้ำจากแหล่งน้ำนั้น ลดอัตราการแพร่กระจายของพยาธิภายใน อันเกิดจากการติดต่อทางมูลสุกร ช่วยกำจัดแหล่งเพาะเชื้อที่จะเกิดจากมูลสุกร เช่น แบคทีเรีย และไวรัส โดยส่วนรวมแล้วสุขภาพของสุกรแข็งแรงขึ้น ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยารักษาโรคสัตว์ การสร้างคอกสุกรและอัตราส่วนการเลี้ยงต่อคอก การสร้างคอกสุกรแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ สร้างบนคันบ่อ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ด้านขวาของคันบ่อ เว้นที่ไว้ให้กว้างพอเหมาะโดย สร้างคอกและโรงเรือนเป็นรูปทรงหลังคาหน้าจั่ว ถ้าเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ก็สร้างโรงเรือนขนาดกว้างประมาณ 10 เมตร ยาวประมาณ 25 เมตร ส่วนกลางของอาคารเว้นเป็นช่องทางเดิน กว้าง 1-1.5 เมตร พื้นคอกเป็นซีเมนต์ สร้างให้ลาดเอียงลงสู่บ่อทั้งสองด้าน พื้นที่ภายในทั้งสองด้านแบ่งเป็นคอกกว้าง 4x4 เมตร ยาวเรียงติดต่อกันไป ตลอดแนวตามความยาวของอาคาร มีรางอาหารและที่ให้น้ำอัตโนมัติ 2 ราง คอกดังกล่าวเลี้ยงสุกรขุนได้คอกละ 10 ตัว หรือลูกสุกร 30 ตัว สำหรับปัสสาวะและมูลสุกรจะถูกกวาดล้างลงบ่อทางรางส่วนลาดต่ำของพื้นซีเมนต์ ในกรณีที่เลี้ยงสุกรมากกว่าอัตราส่วนของบ่อที่ใช้เลี้ยงปลาจะต้องสร้างถังรวบรวมปัสสาวะไว้ก่อนปล่อยลงบ่อ โดยใช้ถังทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร วางซ้อนกัน 3-4 ลูก เชื่อมติดกันให้แน่นด้วยซีเมนต์ฝังลึกทางปลายรางเพื่อรองรับปัสสาวะและมูลสุกรก่อนปล่อยลงบ่อปลา ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการตักน้ำไปใช้เป็นปุ๋ย สำหรับนาข้าว พืชผัก สวนผลไม้ สวนครัว ฯลฯ ผลดีของถังรวบรวมปัสสาวะและมูลสุกรก่อนปล่อยลงบ่อก็คือ ปัสสาวะของสุกรที่ถ่ายใหม่ ๆ จะประกอบด้วยกรดต่าง ๆ ดังนั้นการพักชั่วคราวทำให้ไม่มีอันตรายต่อปลาและเป็นประโยชน์ต่อแพลงก์ตอนพืชในน้ำได้ทันที นอกจากนี้ การหมักมูลสุกรพร้อมเศษอาหารเหลือจะช่วยเพิ่มวิตามินและสิ่งมีชีวิตบางชนิดเป็นประโยชน์ต่อปลาด้วย สร้างคอกลงบนบ่อปลา โดยเลือกพื้นที่ด้านใดด้านหนึ่งที่เหมาะสม พื้นคอกใช้ไม้จริงเนื้อแข็งหรือไม้ตาลตะโนด พื้นคอกมีช่องเล็ก ๆ ซึ่งสามารถจะกวาดและชะล้างทำความสะอาดให้มูลสุกรและเศษอาหารตกหล่นลงสู่บ่อได้สะดวก ส่วนขนาดคอกแบ่งเป็นคอกเลี้ยงสุกรได้คอกละประมาณ 10 ตัวเช่นเดียวกัน การสร้างคอกแบบดังกล่าว จำเป็นจะต้องพิจารณาจำนวนสุกรที่เลี้ยงให้สัมพันธ์กับขนาดของบ่อปลาด้วย ถ้าเลี้ยงสุกรจำนวนมากเกินกว่าขนาดของบ่อปลาก็จะเกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย เพราะปัสสาวะและมูลสุกรถ่ายลงในบ่อโดยตรง อัตราส่วนจำนวนสุกรกับขนาดของบ่อปลา โดยทั่วไปพบว่า การเลี้ยงสุกร 8-16 ตัว พอเหมาะกับบ่อเลี้ยงปลาขนาด 1 ไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดปลาที่เลี้ยงด้วย ในขณะที่สุกรมีขนาดเล็กการขับถ่ายมูลและปัสสาวะมีไม่มากเพียงพอกับปลาที่จะเลี้ยงในบ่อ บ่อขนาด 1 ไร่ จะปล่อยปลาขนาด 3-5 เซนติเมตรประมาณ 3,200 ตัว ดังนั้นขณะที่สุกรยังเล็กอยู่จำเป็นต้องให้อาหารสมทบราคาถูก เช่น รำข้าว เศษอาหารเหลือ เศษพืชผัก ฯลฯ แก่ปลาที่เลี้ยงด้วย หรือในขณะที่สุกรยังเล็กก็เพิ่มจำนวนสุกรให้มากขึ้น เพื่อให้มีสิ่งขับถ่ายเพียงพอและเมื่อสุกรโตขึ้นมีขนาดเฉลี่ยตัวละ 50 กิโลกรัมขึ้นไป อัตราส่วนสุกร 16 ตัวจึงเหมาะสมกับบ่อเลี้ยงขนาด 1 ไร่ พันธุ์ปลาที่เหมาะสมจะเลี้ยงร่วมกับสุกร พันธุ์ปลาที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงร่วมกับสุกร พิจารณาในด้านชีววิทยาและนิเวศน์วิทยา ตลอดจนการตลาด ควรเลี้ยงปลานิลและปลาสวาย เพราะเป็นปลาที่อดทนต่อสภาพแวดล้อมและคุณสมบัติของน้ำเกี่ยวกับปริมาณของออกซิเจนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงกลางวันและกลางคืน ดังนั้นจึงสามารถปล่อยเลี้ยงในอัตราหนาแน่นสูง เพื่อเพิ่มผลผลิตให้ได้มากที่สุดสำหรับอัตราส่วนการปล่อยมีดังนี้
อัตราส่วนพันธุ์ปลาที่เหมาะสมจะเลี้ยงร่วมกับสุกร |
ชนิดปลา |
ขนาด (ซม.) |
จำนวนตัวต่อไร่ |
หมายเหตุ |
นิล |
3-5 |
3,200 |
เลี้ยงเดี่ยว |
สวาย |
3-5 |
3,200 |
|
นอกจากปลาทั้งสองชนิดที่ใช้เป็นหลักในการเลี้ยงร่วมกับสุกรแล้ว อาจปล่อยปลาประเภทกินแพลงก์ตอน เช่น ปลาไน ตะเพียนทอง ยี่สกเทศ ปลาซ่ง ลิ่น หรือนวลจันทร์เทศ เลี้ยงรวมได้อีกจำนวนหนึ่งตามความเหมาะสม ส่วนปลากินพืช เช่น ปลาตะเพียนขาว เมื่อปล่อยลงเลี้ยงรวมด้วยจะมีอัตราการรอดตายต่ำ พันธุ์สุกรและอาหารที่ใช้เลี้ยง เนื่องจากการเลี้ยงสุกรมักประสบปัญหาการขาดทุนเกี่ยวกับราคาตกต่ำ ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งคือ ผลผลิตต่ำไม่ได้มาตรฐานอันเนื่องมาจากพันธุ์สุกรที่เลี้ยงและคุณภาพของอาหารไม่เหมาะสม ดังนั้นในเรื่องพันธุ์สุกรควรใช้พันธุ์ลูกผสม 3 หรือ 4 สายเลือด (ลาร์จไวท์ + แลนด์เรซ + ดูรอค + เพียนเทียน) ขนาดเริ่มต้นเฉลี่ยตัวละ 10 กิโลกรัม ซึ่งจะต้องผ่านการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ มาแล้ว ส่วนพันธุ์ผสมระหว่างสุกรพันธุ์แท้กับพันธุ์พื้นเมืองอื่น ๆ ก็ใช้ได้ แต่ราคาที่จำหน่ายได้อาจไม่ดีเพราะคุณภาพของเนื้อไม่ได้มาตรฐาน ในแง่ดีก็คือ ลดค่าใช้จ่ายด้านอาหาร เพราะสุกรลูกผสมพื้นเมืองกินอาหารไม่เลือก และมีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมดีกว่าลูกผสมพันธุ์แท้ ส่วนอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรจะผสมขึ้นใช้เอง โดยใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น และซื้อหัวอาหารมาผสมเองก็ได้ สูตรอาหารสุกร ใช้อาหารพื้นบ้านประเภทรำข้าว ปลายข้าว ปลาป่นผสมหัวอาหาร ในส่วนของปลายข้าวอาจใช้มันสำปะหลังทดแทนได้บางส่วนตามความเหมาะสม เพื่อลดต้นทุนค่าอาหาร โดยมีปริมาณโปรตีนตามขนาดของสุกรที่เลี้ยง ดังนี้
สูตรอาหารสุกร |
สุกรขุน |
14% |
สุกรเตรียมพ่อ-แม่พันธุ์ |
13% |
สุกรก่อนคลอดมากกว่า |
14% |
สุกรหลังคลอด |
14% |
การเก็บเกี่ยวผลผลิต ในบ่อปลาซึ่งเลี้ยงปลานิลชนิดเดียว ภายหลังที่เลี้ยงปลามาแล้ว 4-5 เดือน ก็ควรจะได้ใช้อวนตาห่างหรือข่ายไนลอนชนิดช่องตา 6-8 เซนติเมตร ทยอยคัดจับปลานิลออกจำหน่าย เพื่อลดอัตราความหนาแน่น ส่วนปลานิลขนาดเล็กถ้ามีมากควรใช้อวนตาถี่จับขึ้นมาตากแห้งแล้วบดผสมเป็นอาหารปลา หรือจำหน่ายให้แก่เกษตรกรที่ต้องการนำไปเลี้ยง ซึ่งวิธีหลังนี้จะทำรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยงดีกว่า ส่วนบ่อที่เลี้ยงปลานิลกับปลาสวาย ควรใช้อวนตาห่างคัดจับปลานิลขนาดใหญ่ออกเป็นครั้งคราว และจับปลาทั้งหมดเมื่อปลาสวายที่เลี้ยงไว้โตมีขนาด 1.0-1.5 กิโลกรัม ซึ่งจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 1 ปี
ผลผลิตปลา ผลผลิตการเลี้ยงสุกรร่วมกับปลา โดยใช้ปลานิลหรือปลาสวายเป็นหลักจากฟาร์มบางแห่งซึ่งมีการจัดการที่ดี อาทิ การเตรียมบ่อ การใส่ปุ๋ยและปูนขาว การอนุบาลลูกปลาให้โตได้ขนาด 5-7 เซนติเมตร แล้วปล่อยลงเลี้ยงร่วมกับสุกรตลอดจนการคัดจับปลาโตจำหน่าย และจับปลาทั้งหมดเมื่อใช้เวลาเลี้ยงปลาเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี พบว่าได้ผลผลิต 1,800 - 2,000 กิโลกรัม ต่อไร่ต่อปี ซึ่งเป็นผลผลิตค่อนข้างสูงมาก |
คอกอนุบาลลูกปลาก่อนปล่อยลงเลี้ยง
|
การเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช การเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช เป็นวิธีการที่เก่าแก่ เนื่องจากการเลี้ยงปลานาน ๆ บ่อจะเสื่อมโทรมจากโคลนเลนซึ่งสะสมอาหารที่เหลือจากปลา แต่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชผักต่าง ๆ และจะกลายเป็นอาหารปลาต่อไป อาหารปลาและปุ๋ยที่เหลือจะสะสมในบ่อรวมทั้งซากปลา ซากสัตว์ พันธุ์ไม้น้ำจะสะสมอยู่ในดินเพิ่มขึ้นทุกปี แบคทีเรียจะย่อยสารเหล่านี้ ก่อให้เกิดก๊าซพิษสะสมอยู่กลายเป็นฮิวมัสโคลนตมสีดำ การสะสมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการในบ่อเดียวกัน โคลนตมเหล่านี้จะสะสมแบคทีเรีย พยาธิและสารอื่นที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ อีกทั้งทำให้ผลผลิตสัตว์น้ำที่เลี้ยงต่ำลง จึงควรนำออกจากบ่อปลา โคลนตมจะมีปุ๋ยอยู่ในเกณฑ์สูงและมีแร่ธาตุอื่น ๆ อีกมากมาย โดยทั่วไปควรลอกโคลนเลนออกจากบ่อทุกปี ซึ่งจะนำออก 2 ใน 3 จากพื้นที่ 1 ไร่ (จะเท่ากับ 2.9 ตัน ของปุ๋ยเอ็น:พี:เค (N:P:K)) โคลนในบ่อปลามีส่วนประกอบของปุ๋ยที่ใช้ได้ทันที เท่ากับปุ๋ย 288.5 กิโลกรัม ปุ๋ยโคลนเหล่านี้จะช่วยในการปลูกต้นไม้ เมื่อมีปุ๋ยโคลนที่สะสมจะเพิ่มความหนาของดินในการปลูกพืช ช่วยปรับโครงสร้างส่วนประกอบของดินที่ดูดซับ ปุ๋ยเอ็น:พี:เคและทำให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้นอีกทั้งยังมีปุ๋ยปฏิกิริยาช้า สะสมอยู่ในดิน ซึ่งนำไปใช้ในการปลูกพืชฤดูกาลต่อไป ดินโคลนแห้งที่ถูกนำมาใช้เป็นปุ๋ยน้ำหนัก 100 กิโลกรัม จะใช้เพาะปลูกหญ้า 10 กิโลกรัม ในการขนดินโคลนนอกจากบ่อ 121.2 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ ในหนึ่งปีจะเพียงพอเพาะปลูกข้างพื้นที่ 2.5 ไร่ ผลผลิตข้าวประมาณ 500 กิโลกรัม/ปี และดินโคลนที่เท่ากันจำนวนนี้ หากใช้ปลูกหญ้าจะได้ผลผลิต 14,544 กิโลกรัม/ไร่ และผลผลิตต่อหน่วยในนาที่ใช้ดินโคลน 10-15 ตัน ปลูกหญ้า จะใกล้เคียงกับการใช้ปุ๋ยคอก 5 ตัน ประโยชน์จากการใช้ดินโคลน ดินโคลนในบ่อสามารถนำมาใช้ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ ดินควรจะตากแห้ง ไถ ทำให้เรียบแล้วจึงหว่านเมล็ดพืช หน้าดินควรปรับปรุงให้เหมาะกับพืชชนิดนั้น ในฤดูร้อนดินโคลนนี้จะระบายน้ำเข้ามาในการเพาะปลูกเพื่อช่วยให้ดินมีการระบายแร่ธาตุ และเพิ่มออกซิเจนในพื้นดิน เพื่อจะขุดหลุมขนาด 5x5 ตารางเมตร ลึก 1 เมตร ใกล้ ๆ บริเวณบ่อและใช้เศษหญ้า พืชผักและดินโคลนตมแต่งหน้าหลังจากหมักแล้วจะนำมาใช้เป็นปุ๋ยหรือจะนำมาตกแต่งหน้าดิน ผลในทางธุรกิจ การเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืชจะเป็นการเพิ่มอาหารและปุ๋ยในธรรมชาติการใช้อาหารจะลดลง 1 ใน 3 นอกจากนี้พลังงานที่ใช้ในการขนส่งและซื้อปุ๋ยจะลดลงด้วย การทำฟาร์มเลี้ยงปลาฤดูกาลหนึ่ง ๆ การใช้แรงงานจะเปลี่ยนแปลงในขณะเลี้ยงปลา แรงงานที่เหลือควรนำไปใช้ผลิตจะทำให้มีงานและรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง การจัดการที่ดินโดยปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงปลา เป็นระบบหนึ่งที่เกษตรกรจะพึ่งตนเองได้ ดินโคลนจะเป็นปุ๋ยในการปลูกพืช ดินโคลนและบ่อปลาที่อุดมสมบูรณ์ควรปรับระบบนิเวศน์วิทยาของบ่อดินให้ดีอยู่เสมอและควรป้องกันการพังทะลายของดิน การเลี้ยงปลาสลับกับการปลูกพืช การเลี้ยงปลาทั่วไปจะไม่ต่อเนื่อง บ่ออนุบาลและบ่อเลี้ยงจะพักตากบ่อช่วงหนึ่ง ในการนี้บ่อสามารถนำไปปลูกพืช หรือใช้ในกิจการต่าง ๆ เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ การหมุนเวียนบ่อเดียว การเลี้ยงปลาและปลูกพืชหมุนเวียนในบ่อเดียวกัน หลังจากย้ายลูกปลาหรือปลาใหญ่ไปบ่ออื่น โดยการระบายน้ำออกจากบ่อ กำจัดวัชพืชบริเวณคันบ่อ ทำพื้นบ่อให้เรียบขุดคูระบายน้ำ หว่านเมล็ดหญ้าพื้นบ่อและคันบ่อ หลังจากหว่านแล้วควรดูแลนกและควบคุมความลึกของพืชที่หว่าน การหมุนเวียนหลายบ่อ การเลี้ยงปลาหลายบ่อ บ่อว่างควรจะใช้ปลูกพืชเพื่อใช้เลี้ยงปลารุ่นต่อไป การหมุนเวียนปลาและพืชผักเป็นการใช้พื้นที่บ่ออย่างเต็มศักยภาพ เพื่อผลิตอาหารธรรมชาติสำหรับสัตว์น้ำ ในระบบนี้พืชผักจะใช้แร่ธาตุจากโคลนดิน หลังจากเกิดการหมักแร่ธาตุจากพืชผักจะกลับคืนสู่บ่อ เป็นการปรับคุณสมบัติของน้ำและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน จากการรับฟังเกษตรกรที่มาติดต่อกับหน่วยงานของราชการส่วนใหญ่ ในขณะนี้พบว่ายังมีปัญหาบางประการที่จะต้องแก้ไข เพื่อปรับปรุงการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานของเกษตรกรให้ได้ผลดียิ่งขึ้น คือ เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจการเลี้ยงปลาที่ถูกต้องทำให้ประสบปัญหาในเรื่องน้ำเสีย ปลาเป็นโรค หรือปลาตายมาก เป็นต้น ซึ่งมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1 ปล่อยปลาในบ่อหนาแน่นเกินไป ทำให้ปลาไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร 2 จำนวนสัตว์เลี้ยงไม่สัมพันธ์กับปลาในบ่อ ถ้าจำนวนสัตว์เลี้ยงน้อยเกินไปต้องเพิ่มอาหารสม ทบจะเป็นการสิ้นเปลือง หรือถ้าจำนวนสัตว์เลี้ยงมาก น้ำในบ่อเป็นสีเขียวเข้มเพราะมีแพลงก์ตอนพืชเกิดมากก็จะดึงเอาออกซิเจนจากน้ำไปใช้ทำให้ปลาตายได้ 3 บ่อที่ขุดใหม่ ๆ จะมีปัญหาถ้าดินเปรี้ยว เพราะเมื่อฝนตกน้ำจะชะเอาความเปรี้ยวจากดินลงสู่บ่อ สภาพน้ำเปลี่ยนแปลงกะทันหัน อาจทำให้ปลาตายได้ ซึ่งแก้ไขโดยนำปูนขาวโรยบริเวณขอบคันบ่อก่อนฤดูฝนและทุก 2 สัปดาห์ 4 การใช้ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ในไร่นาที่มีการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ควรหลีกเลี่ยงเพราะจะเป็นอันตรายต่อปลาได้ การกำหนดราคาขายปลายังอยู่ในมือพ่อค้าคนกลาง ซึ่งมักจะเอารัดเอาเปรียบตั้งราคาให้ต่ำกว่า ที่เป็นจริงมาก เพื่อหวังทำกำไรให้มากที่สุด เกษตรกรผู้เลี้ยงปลามักจะแยกกันเป็นเอกเทศไม่มีการรวมกลุ่ม ทำให้ไม่มีอำนาจต่อรองใด ๆ กับพ่อค้าคนกลาง ขาดแหล่งจำหน่ายพันธุ์ปลาที่มีคุณภาพดี และมีจำนวนมากเพียงพอพันธุ์ปลาที่มีปัญหามากที่ สุดในขณะนี้คือ ปลานิล ซึ่งหาลูกปลาพันธุ์แท้ได้ยากมากเมื่อเลี้ยงปลาลูกผสม ปลาจะโตช้า ผลผลิตต่ำ ทั้งยังขายได้ราคาต่ำเพราะมีสีดำเข้มไม่น่ารับประทาน ส่วนพันธุ์ปลาสวายในบางปีจะขาดแคลนและมีราคาสูงมากพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุยบางครั้งก็มีการปลอมปน โดยเอาลูกปลาดุกยักษ์มาหลอกขาย เป็นต้น ข้อเสนอแนะสำหรับเกษตรกรที่จะเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน ควรศึกษาหาความรู้ด้านการเลี้ยงปลาให้ดีก่อนที่จะดำเนินการโดยการหาเอกสารคำแนะนำ ตำราที่เขียนให้เฉพาะเกษตรกรมาอ่านก่อนแล้วสอบถามเพิ่มเติมจากผู้รู้ ซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่หรือขอเข้ารับการอบรมจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐที่เปิดอบรมทุกปี ปีละหลาย ๆ ครั้ง ผู้เลี้ยงปลาควรรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เพื่อสร้างอำนาจต่อรองไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าพันธุ์สัตว์ พ่อค้า สัตว์น้ำ หรือพ่อค้าอาหารสัตว์ ถ้าสามารถรวมกลุ่มกันได้และมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกันแล้วปัญหาเรื่องการถูกโก่งราคา ปัจจัยการผลิต และการกดราคารับซื้อผลผลิตจะทุเลาเบาบางลงไปอย่างมาก เกษตรกรควรหมั่นติดตามข้อมูลข่าวสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพอย่าง สม่ำเสมอ เพื่อจะได้รับรู้ข่าวสารที่ทันสมัยสำหรับใช้ตัดสินใจในการประกอบอาชีพให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฟังวิทยุ และชมโทรทัศน์ รายการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม เป็นต้น เกษตรกรควรหมั่นฝึกตนให้เป็นคนหนักแน่น รู้จักพินิจพิเคราะห์ในการประกอบอาชีพ จึงจะ ได้ผลสำเร็จที่แท้จริง
แนวโน้มการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานในอนาคต จากผืนแผ่นดินซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดและคงที่ แต่ความต้องการใช้ประโยชน์กลับเพิ่มสูงขึ้นตลอดเวลา เนื่องจากการดิ้นรนเพื่อแสวงหาปัจจัยสี่อันจำเป็นต่อการดำรงชีวิต การเลี้ยงปลาแบบผสมผสานเป็นการเลี้ยงปลาอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะช่วยพัฒนาพื้นที่ให้เกิดศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ลดปัญหาขาดแคลนอาหารโปรตีน ทั้งยังก่อให้เกิดรายได้ และช่วยให้สภาพแวดล้อมมีความสมดุล ไม่ส่งผลกระทบต่อการเสริมสร้างมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถใช้น้ำเพื่อการเลี้ยงปลา ขอบคันบ่อเป็นที่เลี้ยงสัตว์บกและปลูกพืชผัก จึงเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าในที่สุด
|
| |