ทาชิโชซอง (ตาชิโชซอง Tashicho Dzong) สัญลักษณ์ของทิมพู • การมาเที่ยวภูฏานที่พลาดไม่ได้คือการมาชม ทาชิโชซอง หรือ ทิมพูซอง เป็นตัวอาคารขนาดมหึมา เป็นสถาปัตยกรรมภูฏานที่งดงามดูประหนึ่งพระบรมมหาราชวังอยู่ริมแม่น้ำและเชิงเขา เป็นอาคารที่ทำการของรัฐบาล คณะกรรมการบริหารปกครองเมืองทิมพู ประกอบด้วยคณะสงฆ์ และข้าราชการระดับสูงภายในซองมีกลุ่มอาคารที่แยกออกเป็นเขตสังฆาวาส และเขตฆราวาสกับลานอเนกประสงค์ สถานที่จัดกิจกรรมสำคัญทางศาสนา หอกลางเป็นหอสูงสามชั้นอยู่ตรงกลาง เป็นที่ประกอบพิธีสำคัญและที่พำนักสงฆ์ห้องบูชาประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญต่าง ๆ • ตาชิโชซองมีภูมิหลังอันยาวนาน นับย้อนไปถึงศตวรรษที่ 13 แต่ตัวป้อมเดิมนั้นไม่ได้ตั้งอยู่บนที่ราบ ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนในเชิงยุทธศาสตร์อย่างเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในปีค.ศ. 1216 ลามะเกลวา ฮานังปา ผู้ตั้งสำนักฮาปาแยกออกมาจากนิกายดรีกุงคายุปาได้สร้างป้อมหลังหนึ่งขึ้นในเขตหุบเขาทิมพู ให้ชื่อว่า โดกนซอง แปลว่า ป้อมหินสีน้ำเงิน ป้อมแห่งนี้มีชัยภูมิที่เหมาะสม เพราะตั้งอยู่บนเนินยอดลูกหนึ่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของป้อมหลังปัจจุบัน จนทุกวันนี้ก็ยังมองเห็นอาคารสีขาวซึ่งกลายมาเป็นโรงเรียนสงฆ์ของวัดดีเซนโปรดรังได้อยู่
• ต่อมา เกลวา ฮานังปาเกิดเหตุพิพาทกับท่านพะโจ ดรุ๊กกอง ชิโปแห่งนิกายดรุ๊กปะคายุปาจนต้องใช้กำลังเข้าปะทะกัน ส่งผลให้ป้อมได้รับความเสียหายอย่างหนัก ช่วงหลายร้อยปีหลังจากนั้น ไม่ปรากฎหลักฐานชี้ชัดว่าป้อมแห่งนี้มีบทบาทในทางใดหรือสังกัดอยู่กับนิกายไหน จนท่านซับดรุงงาวัง นัมเกลปราบลามะห้านิกายภายใต้การนำของนิกายฮาปาลงได้ในปลายปี ค.ศ.1630 ป้อมแห่งนี้จึงตกมาเป็นสมบัติของท่านซับดรุง นัมเกล • ค.ศ. 1630 ท่านซับดรุง นัมเกลเข้ามาครอบครองซองแห่งนี้ และตั้งชื่อใหม่ว่า ตาชิโชซอง แปลว่า ปราการของศาสนาที่ยิ่งใหญ่ ต่อมาเกิดไฟไหม้จึงถูกทอดทิ้งเป็นเวลานาน จนกระทั่งสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ดอร์จิ วังชุก เสด็จขึ้นครองราชย์และย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองทิมพู ทรงสั่งให้ฟื้นฟูก่อสร้างใหม่ โดยรักษาโบสถ์และหอกลางเอาไว้ในสภาพเดิม เป็นโครงการห้าปีที่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ตาชิโชซองเป็นสัณลักษณ์ของทิมพูและภูฏานมาจนทุกวันนี้ • ค.ศ. 1772 เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่เผาทำลายป้อมลงเป็นจุณ เดสิซิดาร์และองค์เจเก็มโปยังเต็น ไทเยจึงตัดสินใจสร้างขึ้นป้อมใหม่ที่ก้นหุบเขา ณ ตำแหน่งที่ตั้งในปัจจุบัน ครั้นถึงป ค.ศ. 1869 เกิดเพลิงไหม้เป็นครั้งที่สอง จนท่านจิกมี นัมเกล (พระบิดารัชกาลที่ 1 แห่งภูฏาน) ขึ้นรับตำแหน่งเดสิแห่งภูฏาน ป้อมนี้จึงได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ปี 1870 • หลังจากพระเจ้าจิกมี โดร์จี วังชุกสถาปนาทิมพูขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ก็โปรดฯ ให้ต่อเติมป้อมตาชิโชซ่งให้ใหญ่โตพอจะใช้เป็นทำเนียบรัฐบาลได้ ป้อมส่วนที่ต่อเติมออกไปในปีค.ศ. 1962 นี้สร้างขึ้นตามกรรมวิธีโบราณทุกอย่างและเปิดใช้ได้อย่างสมบูรณ์ในเดือน มิถุนายน ค.ศ. 1969 • ตาชิโชซองเคยเป็นที่ประชุมสภาแห่งชาติ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักราชเลขาธิการ ท้องพระโรง กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลัง อาคารด้านทิศใต้เป็นเขตสังฆาวาส เป็นอาคารสูงสองชั้น มีหอกลางสูงสามชั้นอยู่ตรงกลาง มีบริเวณลานกว้าง เป็นสถานที่จัดการแสดงในเทศกาลสำคัญของชาติ (เซซู)
ผ้าทอภูฏาน ผ้าทอเป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูตาของภูฏาน มีรูปลักษณ์คล้ายผ้าทอของลาว อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ อเมริกากลาง และเปรู เสื้อผ้าของชาวภูฏานที่ทอด้วยฝ้ายดิบย้อมสีธรรมชาติ เป็นของฝากจากภูฏานที่น่าสนใจ มีฝีมือการทอที่ทั่วโลกยกย่องชื่นชม หาซื้อได้ตามตลาดในชนบท ที่เมืองทิมพู ชาวบ้านเอามาขายที่ตลาดวีคเอ็น แต่เสื้อผ้าที่ทอด้วยเครื่องจักรเป็นสินค้าจากอินเดียและเนปาล ราคาถูก เพราะไม่ใช่ผ้าทอมือ มีทั้งโก เสื้อผ้าสำหรับผู้ชาย กับคีร่า ผ้านุ่งของผู้หญิง ผ้าทอภูฏานเป็นผ้าหน้าแคบขายกันเป็นชิ้น ไม่ได้วัดเป็นเมตร (ถ้าทอด้วยไหมจะมีราคาแพงมาก) โกและคีร่าทำจากผ้าหลายชิ้น เอามาเย็บต่อๆ กันให้เป็นชิ้นใหญ่ ส่วนผ้าพาดไหล่ที่ผู้ชายภูฏานใช้สำหรับไปวัด หรือแต่งตัวไปงานที่เป็นทางการ เป็นสินค้าขายดี เพราะนักท่องเที่ยวนิยมซื้อไปใช้เป็นผ้าพันคอ • ผ้าที่ถูกที่สุดคือผ้าฝ้ายสีพื้น ในขณะที่ผ้าทอที่แพงที่สุดเป็นผ้าทอทั้งผืน ใช้เวลาทอนานหลายเดือน และต้องใช้ความอุตสาหะอย่างมากในการสอดใส่เส้นไหมทอขึ้นเป็นลวดลายอันละเอียดประณีต บนพื้นผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมเอง ผ้าแต่ละชนิดจะทอขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ต่างกันไป บ้างทอเพื่อทำเข็มขัดหรือสายรัดเอว บ้างทอขึ้นเพื่อทำเป็นชุดประจำชาติสำหรับผู้หญิง (กีรา) ชุดประจำชาติสำหรับผู้ชาย (โก) ผ้าสะบายบ่าของผู้หญิง (ราชู) ผ้าสะพายบ่าของผู้ชาย (กับเนะ) ชุดที่ใช้ในงานพิธี (ชาซีปังเค็น) หรือถุงย่าม (เปซุงหรือบุนดี) ส่วนผ้าขนสัตว์ยาทระของบุมทังนั้น ใช้สำหรับเย็บผ้าคลุมเตียง ปลอกหมอน และเสื้อแจ็กเก็ตโดยเฉพาะ
การยิงธนู เป็นกีฬาประจำชาติของภูฏาน และสามารถเล่นกันได้ตลอดทั้งปี ในงานเทศกาลต่างๆ จะมีการจัดแข่งขันกีฬายิงธนูอยู่ด้วยทุกครั้งไป • คันธนูหรือไม้เกาทัณฑ์ คันธนูกับลูกจะทำขึ้นจากไม้ไผ่พันธุ์พิเศษที่มีอยุ่ในภูฏาน สายธนูอาจจะมีกำลังส่งสูงถึง 60 ปอนด์ คันธนูประดิษฐ์อย่างดี ในปัจจุบันมีราคาถึงอันละ 10,000-20,000 บาท ในขณะที่สนามยิงธนูเองก็มีความยาวถึง 120 เมตร ที่สุดปลายสนามจะตั้งเป้าที่เป็นแผ่นไม้ทาสีขนาด 30x120 เซนติเมตรเอาไว้สองตัว โดยที่สองทีมจะผลัดกันยิงเป้าทีละตัว แต่ละทีมจะมีนักกีฬาอยู่ทีมละ 11 คน แต่ละคนจะยิงธนูคนละสองครั้ง ทีมไหนทำได้ 33 คะแนนก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ มีการแข่งขันกันตั้งแต่ระดับชาวบ้าน ข้าราชการกระทรวงทบวงกรมต่างๆ เพื่อชิงชนะเลิศประจำปีในงานเทศกาลประจำเมือง • การแข่งขันกีฬายิงธนูแบ่งออกเป็น 3 เซ็ต การนับคะแนนค่อนข้างซับซ้อน เพราะถึงยิงไม่เข้าเป้า แต่ถ้าลูกธนูยังอยู่ในแนวเดียวกับเป้าก็ยังได้คะแนน แต่จะได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับระยะห่าง • ทีมที่เข้าแข่งแต่ละทีมจะมีผู้สนับสนุนและเชียร์ลีดเดอร์ของตนเอง นั่นคือบรรดาผู้หญิงที่มาเต้นรำร้องเพลงยกย่องฝีมือทีมของตน พลางก็ล้อเลียนและเยาะเย้ยทีมคู่ต่อสู้ให้เสียสมาธิไปพลา • ในภูฏาน มีกฎห้ามไม่ให้ผู้หญิงจับคันธนูอย่างเด็ดขาด ในวันก่อนการแข่งขันยิงธนูนัดสำคัญ นักยิงธนูจะต้องนำข้าวของไปเซ่นไหว้บูชาเทพเจ้าประจำหมู่บ้าน และจะต้องไม่นอนค้างที่บ้านของตน นักยิงธนูมือดีที่สุดจะใช้ผ้ากับเนะหลากสีมัดติดไว้กับหลังเข็มขัด และทุกครั้งที่ลูกธนูของเขาพุ่งตรงเข้ากลางเป้า ลูกทีมทั้งหมดจะออกมาเต้นระบำฉลองกันเป็นฉากสั้นๆ • การแข่งขันยิงธนูของชาวภูฏานนั้น เป็นกีฬาที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ผู้แข่งขันเป็นอย่างมาก จึงมีการฝึกซ้อมและมีการทำพิธีต่างๆ เพื่อชัยชนะ จึงต้องเก็บรักษาคันธนูและลูกธนูเพื่อป้องกันการทำลายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และยังมีการวางกฎห้ามนักกีฬานอนกับผู้หญิงก่อนคืนวันแข่งขัน ด้วยเกรงว่าจะทำให้จิตใจวอกแวกและเสียสมาธิ • บางท้องถิ่น นิยมการเล่นหมุนตัว ขว้างก้อนหินหรือยิงก้อนหินไปสู่เป้าหมาย อันเป็นการละเล่นที่สืบเนื่องมาจากบรรพบุรุษที่ใช้การขว้างก้อนหินหรือยิงเกาทัณฑ์อันแม่นยำ เพื่อล่าสัตว์หรือป้องกันตัวเองอันตรายจากสัตว์ร้าย ซึ่งการยิงธนูตามแบบตะวันตกได้แพร่เข้ามาสู่ภูฏานในค.ศ. 1980 และได้รับความนิยมทั้งในหมู่หญิงและชาย ถึงขนาดมีการส่งคนเข้าแข่งในทัวร์นาเมนต์ระดับนานาชาติ
วัดหยุดและเทศกาลสำคัญของภูฏาน • วันขึ้นปีใหม่และงานเทศกาลประจำปี (ระบำสวมหน้ากาก) ขึ้นอยู่กับปฏิทินทางจันทรคติ (ระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์-มีนาคม) ภูฏานไม่นับวันแรกของเดือนมกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ และในภูฏานไม่มีการจัดงานฉลองปีใหม่อย่างเป็นทางการ เพราะแต่ละภูมิภาคของภูฏานมีประชากรต่างเชื้อชาติต่างศาสนา ต่างก็มีวันขึ้นปีใหม่และงานเทศกาลที่เป็นไปตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น ดังนั้น วันขึ้นปีใหม่และงานเทศกาลจึงไม่ตรงกัน • ในวันขึ้นปีใหม่ของแต่ละท้องถิ่น จะมีการจัดกิจกรรมที่สำคัญ คือ การแข่งขันกีฬายิงธนู หลังจากการทำกิจกรรมทางศาสนา เช่น การไหว้พระ ถวายเครื่องบูชาเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือแล้ว ต่อจากนั้นก็เป็นการรวมญาติ ทำอาการกันกิน ร้องรำทำเพลง และเล่นกีฬา (ยิงธนู) เป็นโอกาสที่ที่คนในครอบครัวใช้เวลานี้ได้รวมตัวกัน • วันปีใหม่ของชาวภูฏานในภาคใต้จะฉลองปีใหม่ในวันเพ็ญของเดือนเมษายน เทศกาลลอมบาจะจัดขึ้นในเมืองพาโรและเมืองฮา ในวันสุดท้ายของเดือน 10 และสองวันแรกของเดือน 11 ตามปฏิทินจันทรคติ (ตรงกับปลายเดือนพฤศจิกายนหรือต้นเดือนธันวาคม) ซึ่งตรงกับปีใหม่ทางการเกษตร (โซนัมโลซาร์) ในสมัยก่อนพอดี ส่วนปีใหม่ของภาคตะวันออก (ญิงโล) จะตรงกับวันเหมายันในต้นเดือนมกราคม • วันชาติภูฏาน วันที่ 17 ธันวาคม เป็นวันเฉลิมฉลองการสถาปานาระบบกษัตริย์ของภูฏานในราชวงศ์วังชุก สมเด็จพระราชาธิบดีองค์แรกเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2450 ภูฏานจึงถือเอาวันที่ 17 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันชาติ • โดยเฉพาะในวันชาติที่ 17 ธันวาคม เมื่อปี พ.ศ. 2551 ได้มีงานเฉลิมฉลองวันชาติครั้งยิ่งใหญ่ ในวาระที่ราชอาณาจักรภูฏานมีอายุครบรอบ 100 ปี ของราชวงศ์วังชุก ในวันนั้น สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี ซิงเย วังชุก ได้ประกาศการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย และในวันเดียวกันนั้น สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี ซิงเย วังชุก ได้ประกาศสละราชสมบัติให้เจ้าชายจิกมี เคซาร์ วังชุก มกุฏราชกุมาร ขึ้นครองสิริราชย์สมบัติเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก • วันเฉลิมพระชนม์พรรษาสมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี ชิงเย วังชุก วันที่ 11 พฤศจิกายน • วันฉัตรมงคล คือวันเสด็จขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี ชิงเย วังชุก ในวันที่ 2 มิถุนายน วันสำคัญทั้งสองวันนี้เป็นวันหยุดราชการในภูฏาน มีการเฉลิมฉลองกันทั่วประเทศ พิธีการสำคัญคือ การเดินพาเหรด และการแสดงต่างๆ ของนักเรียน นักศึกษา ฯลฯ
• งานเทศกาลทางศาสนา • เทศกาลทางศาสนาของภูฏานที่คนรู้จักกันมากที่สุดคือ เทศกาลเซซูที่จัดขึ้นเพื่อบูชาคุรุรินโปเซ (คุรุปัทมสัมภวะ) และเพื่อรำลึกถึงเรื่องราวของท่าน ซึ่งมีควาามเชื่อว่า เรื่องราวสำคัญๆ ในชีวิตท่านล้วนอุบัติขึนในวันที่สิบของเดือน งานเซซูมักจะจัดขึ้นกันตั้งแต่ 3-5 วันตามธรรมเนียมของแต่ละท้องที่ ในงานจะมีการแสดงระบำ แต่เป็นระบำทางศาสนาไม่ใช่ทางโลก ผู้แสดงอาจเป็นพระ ฆราวาส หรือกมเซ็น(พระบ้าน) ก็ได้ รายการแสดงจะเหมือนกันหมดทุกท้องที่ งานเซซูจะจบลงด้วยการนำภาพทังก้าหรือภาพพระบฎขนาดมหึมา แสดงภาพคุรุรินโปเซกับภาคสำแดงทั้งแปดของท่านออกมาให้คนบูชา ชาวภูฏานเรียกภาพพระบฎแบบนี้ว่า ทงเดรล หมายความว่า เพียงแค่มองก็ทำให้ผู้มองหลุดพ้นจากห้วงสังสารวัฏได้ • งานเทศกาลทางศาสนาของภูฏานส่วนใหญ่เป็นเทศกาลที่เกี่ยวเนื่องกับความอุดมสมบูรณ์และรุ่งเรือง สำหรับชาวภูฏานแล้วงานเทศกาลทางศาสนาถือเป็นโอกาสสำคัญในการเข้าสู่กระแสธรรมและการสั่งสมบุญกุศล ทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้คนได้มาพบปะพูดคุยโอ้อวดฐานะและความสำเร็จกัน ชาวภูฏานจะสวมเสื้อผ้าชุดที่ดีที่สุด สวมเครื่องประดับที่สวยที่สุด เตรียมอาหาร เนื้อสัตว์ มาปิกนิกกัน หญิงชายได้พบหน้าเกี่ยวพาราสี • เทศกาลทางศาสนาบางงานจะจัดแสดงระบำเพียง2-3 อย่าง แล้วใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการสวดพระสูตรบางตอน ชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียงจะมุ่งหน้ามารวมตัวกันที่วัดเพื่อเข้าร่วมพิธีสวดและดื่มสุราไปพร้อมๆ กัน หมู่บ้านแต่ละแห่งจะมีงานเทศกาลทางศาสนาประจำปีของตน บางแห่งจะจัดแสดงระบำด้วย บางแห่งก็จัดแต่พิธีสวดมนต์ พอถึงหน้าเทศกาล ลูกหลานที่ย้ายไปใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่ จะมุ่งหน้ากลับบ้านพร้อมเรี่ยไรเงินมาช่วยกันทำบุญอย่างพร้อมหน้า • ดนตรีทางศาสนา • ดนตรีทางศาสานของภูฏานมีอิทธิพลของทิเบตแทรกซึมอยู่อย่างลึกซึ้งไม่ต่างจากเรื่องระบำ เครื่องดนตรีมี ดุงเซ็น (แตรยาว) ยาร์ลิง (ปี่ลิ้นคู่) งะ (กลองสองหน้าในคอกพร้อมไม้ตีที่โค้งเป็นวง) เริล์ม (ฉาบ) กังลิง (แตรที่ทำจากกระดูกโคนขา) สังข์ ดามารู (กลองสองหน้าขนาดเล็ก ตีด้วยลูกตุ้มกลมๆ ที่ร้อยเชือกติดไว้กับตัวกลอง) และ ดริลบู (ระฆังใบเล็ก) ดนตรีจะเป็นตัวกำหนดจังหวะให้กับระบำและการประกอบพิธีทางศาสนา ตลอดจนเป็นตัวคั่นจังหวะการร้องเพลงหรือการสวดพระสูตรต่างๆ เสียงแตรยาวจะเป็นตัวบอกว่าระบำนั้นๆ ได้จบแล้ว
• กีฬายิงธนู กีฬาประจำชาติของภูฏาน • กีฬายิงธนูภูฏาน การยิงธนู เป็นกีฬาประจำชาติของภูฏาน และสามารถเล่นกันได้ตลอดทั้งปี ในงานเทศกาลต่างๆ จะมีการจัดแข่งขันกีฬายิงธนูอยู่ด้วยทุกครั้งไป การแข่งขันยิงธนูของชาวภูฏานนั้น เป็นกีฬาที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ผู้แข่งขันเป็นอย่างมาก จึงมีการฝึกซ้อมและมีการทำพิธีต่างๆ เพื่อชัยชนะ จึงต้องเก็บรักษาคันธนูและลูกธนูเพื่อป้องกันการทำลายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และยังมีการวางกฎห้ามนักกีฬานอนกับผู้หญิงก่อนคืนวันแข่งขัน ด้วยเกรงว่าจะทำให้จิตใจวอกแวกและเสียสมาธิ • เดโก เดโกเป็นกีฬาโบราณที่เล่นกันในหมู่พระลามะ เพราะการยิงธนูถือเป็นกีฬาต้องห้ามสำหรับพระ มีลักษณะคล้ายการเล่นโบว์ลิ่งหรือเปตองของฝรั่งเศส โดยผู้เล่นจะทอยหินที่คอ่นข้างมีน้ำหนักให้กลิ้งไปอยู่ใกล้ไม้ท่อนเล็กๆ ที่ปักเอาไว้บนพื้นดินให้มากที่สุด และสามารถทอยหินไปตีหินของคู่ต่อสู้ให้ออกนอกทางได้ด้วย • ปุงโด ปุงโดเป็นการละเล่นของฆราวาส โดยให้ผู้เล่นขว้างก้อนหินน้ำหนักหนึ่งกิโลกรัมไปให้ไกลที่สุดเท่าที่จะไกลได้ ผู้เล่นต้องใช้ฝ่ามือแบกหินเอาไว้แล้วขว้างโดยใช้กำลังไหล่เป็นแรงส่ง • เกเชและเชรปาร เป็นเกมที่ผู้ชายสองคนจะต้องปะทะกำลังกัน เกมเกเชมีลักษณะคล้ายมวยปล้ำ ส่วนเชรปาร ลักษณะคล้ายกีฬางัดข้อ แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ฝ่ายหนึ่งจะตั้งหมัดขึ้นข้างเดียว ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามจะใช้มือทั้งสองข้างเกี่ยวเอาไว้ ถ้าฝ่ายแรกดึงหมัดออกจากมือของฝ่ายหลังได้จะถือเป็นฝ่ายชนะ • กูรู กูรูเป็นเกมปาลูกดอกที่เล่นกันกลางแจ้ง โดยเป้าจะอยู่ห่างออกไปราว 20 เมตร • โซซม โซซมคือกีฬาพุ่งหลาวในระยะ 20 เมตร
|