Neric-Club.Com
  ทรัพยากรคลับ
  พิพิธภัณฑ์หุ่นกระดาษ
  เปิดประตูสู่อาเซียน@
  พันธกิจขยายผล
  ชุมชนคนสร้างสื่อ
  คลีนิคสุขภาพ
  บริหารจิต
  ห้องข่าว
  ตลาดวิชา
   นิตยสารออนไลน์
  วรรณกรรมเพื่อเยาวชน
  ลมหายใจของใบไม้
  เรื่องสั้นปันเหงา
  อังกฤษท่องเที่ยว
  อนุรักษ์ไทย
  ศิลปวัฒนธรรมไทย
  ต้นไม้ใบหญ้า
  สายลม แสงแดด
  เตือนภัย
  ห้องทดลอง
  วิถีไทยออนไลน์
   มุมเบ็ดเตล็ด
  เพลงหวานวันวาน
  คอมพิวเตอร์
  ความงาม
  รักคนรักโลก
  วิถีพอเพียง
  สัตว์เลี้ยง
  ถนนดนตรี
  ตามใจไปค้นฝัน
  วิถีไทยออนไลน์
"ในยุคสมัยแห่งโลกแฟนตาซี ปลาใหญ่ไม่ทันกินปลาเล็ก ปลาเร็วไม่ทันกินปลาช้า ปลาตะกละฮุบเหยื่อโผงโผง โง่ยังเป็นเหยื่อคนฉลาด อ่อนแอเป็นเหยื่อคนเข้มแข็ง คนวิถึใหม่ต้องฉลาด เข้มแข็ง เสียงดัง มีเงินเป็นอาวุธ
ดูผลโหวด
 
 

'องค์ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าใหญ่
มนุษย์เราเรียนรู้ได้
แค่ใบไม้หนึ่งกำมือของตนเอง
ผู้ใดเผยแผ่ความรู้
อันเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
นั่นคือกุศลอันใหญ่ยิ่ง'
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า












           




             ซ่อมได้ 


สถิติผู้เยี่ยมชมเวปไซต์
14322842  

ตามใจไปค้นฝัน

เตรียมตัวก่อนเที่ยวภูฏาน ข้อมูลควรรู้ก่อนเที่ยวภูฏาน
• ภูฏาน เป็นเพียงประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่งในอาณาจักรหิมาลัย เป็นดินแดนแห่งพุทธศาสนา ที่คงความเป็นเอกลักษณ์พิเศษ และด้วยความตระหนักและหวงแหนในคุณค่านี้ ภูฏานจึงวางกรอบจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว ซึ่งยิ่งทำให้น้อยคนนักที่จะมีโอกาสไปเยือนภูฏาน
• ประเทศภูฏานได้เปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเมื่อต้นปี ค.ศ. 1988 ซึ่งจะต้องผ่านองค์การท่องเที่ยวแห่งรัฐเพียงผู้เดียว (Tourism Authourity of Bhutan : TAB) และยังจำกัดนักท่องเที่ยวไม่ให้เกิน 3,000 คนต่อปี แต่หลังจากที่ภาพยนตร์เรื่อง The Little Buddha ได้ถ่ายทำที่ภูฏานและแพร่ภาพไปทั่วโลก ทำให้ใครก็อยากมายลโฉมแท้จริงของภูฏาน ดังนั้น ทางการภูฏานจึงต้องปรับตัวเลขนักท่องเที่ยวเป็น 5,000 คนต่อปี นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 เป็นต้นมา
• ปัจจุบัน ภูฏานเปิดรับนักท่องเที่ยวปีละ 20,000 คน โดยมุ่งเน้นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ เพื่อจะได้ไม่สร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและส่งผลต่อวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวภูฏาน โดยเฉพาะเรื่องยาเสพติด
• โรคแพ้ความกดดันอากาศในที่สูง ความสูงโดยเฉลี่ยในเส้นทางท่องเที่ยว โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 2,300 เมตร แต่ถ้าเป็นเส้นทางเดินเท้าท่องชมธรรมชาติอาจสูงได้ถึง 5,400 เมตร การเมาความสูงอาจเป็นปัญหารุนแรงสำหรับนักท่องเที่ยวบางคน ถ้าเริ่มมีอาการปวดศีรษะ ไอ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร มีปัญหาปัสสาวะติดขัด ให้ลงมายังบริเวณที่ตำทันที การเมาความสูงอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงต้องระมัดระวังให้มาก แต่มัคคุเทศก์นำทางก็ได้รับการฝึกอบรมทางด้านนี้มาเป็นอย่างดี เวลาขึ้นสู่ที่สูง ร่างกายจะเกิดภาวะสูญเสียน้ำ ควรดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ ถ้าเป็นโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูงก็ต้องไปปรึกษาแพทย์ให้เรียบร้อยก่อนเดินทางมายังภูฏาน ส่วนอาการนอนไม่หลับอันเนื่องมาจากการขึ้นมาอยู่บนที่สูงนั้น สามารถใช้ยานอนหลับอ่อนๆ ช่วยได้ ไม่ควรแตะต้องเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

• ข้อควรรู้ทัวร์ภูฏาน
1. ภูฏานเป็นประเทศเดียวในโลกที่ห้ามไม่ให้ซื้อและขาย สูบบุหรี่ในที่สาธารณะโดยเด็ดขาด
2. ภูฏานมีหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับ เป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายสัปดาห์ 1 ฉบับ และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ 1 ฉบับ
3. ภูฏานมีเคเบิลทีวี 2 สถานี ถ่ายทอดทำสารคดีจากซีเอ็นเอ็น และ บีบีซี รายการบันเทิงทางเอ็มทีวี และ รายการกีฬาทางอีเอสพีเอ็น ละครและรายการโทรทัศน์วาไรตี้จากอินเดีย มีโทรทัศน์ของรัฐ 1 แห่ง
4. ตามเกณฑ์สากลที่ใช้วัดระดับ “ความเจริญ” ภูฏานเป็นหนึ่งใน 40 ประเทศยากจนที่สุดในโลก ทั้งประเทศมีทางหลวงเพียงหนึ่งเส้น ว่ากันว่ารถที่วิ่งในภูฏานนั้นต้องหักเลี้ยวทุกๆ 6 วินาที
5. นักท่องเที่ยวที่ไปเยือนภูฏานเพื่อแสวงหาธรรมชาติบริสุทธิ์หรือพิชิตยอดหิมาลัย ย่อมต้องสังเกตเห็นอิทธิพลของศาสนาและวัฒนธรรม ที่แยกไม่ออกจากวิถีชีวิตชาวภูฏาน เพราะธรรมชาตินั้นอยู่ท่ามกลาง และแวดล้อมหมู่บ้าน วัดวาอาราม ธงภาวนา และกงล้อภาวนาจำนวนนับไม่ถ้วน
6. นักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสวัฒนธรรมอันแปลกตาและแปร่งหูที่มีพุทธวัชรยาน เป็นองค์ประกอบสำคัญ ย่อมต้องสังเกตเห็นธรรมชาติอันน่าตื่นตาตื่นใจ และวิถีชีวิตของชาวบ้าน ระหว่างทางไปวัดต่างๆ ซึ่งบางวัดอยู่บนยอดเขาที่ต้องใช้เวลาและความอุตสาหะมากกว่าเส้นทางปีนเขา บางเส้น
7. ชาวภูฏานมีทัศนคติที่ดีกับไทย นิยมเดินทางมาไทยเพื่อจับจ่าย รักษาตัวและศึกษาในไทย อีกทั้ง มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจเช่นเดียวกับไทย
8. วัดวาอารามและป้อมปราการส่วนใหญ่ จะเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าชมได้แต่ภายนอก ไม่อนุญาตให้เข้าไปภายในตัวอาคาร

• ซอง : เอกลักษณ์ของภูฏาน
• ซอง (Dzong) เป็นภาษา ซองคา แปลว่า ป้อมปราการ คือในสมัยโบราณใช้เป็นที่มั่นต่อสู้กับศัตรูที่มารุกราน แต่ “ซอง” ทุกวันนี้ กลายเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการของเขตนั้นๆ และจะใช้ชื่อเป็นชื่อเดียวกับเขต เช่น Paro Dzong-Khag ก็คือมีเมืองปาโรเป็นเมืองเอก โดย ซองคัก (Dzong-Khag) เป็นภาษาซองคา แปลว่า เขต เพราะภูฏานแยกการปกครองออกเป็นเขต ซึ่งแบ่งตามลักษณะภูมิประเทศ ซึ่งถ้าไปเยือนเขตในในภูฏาน มักจะให้ดูซองของเขตการปกครองนั้นอยู่เสมอ
• ซอง ยังเป็นวัดหลักประจำเขต ใช้ประกอบกิจการทางศาสนา ตลอดจนเป็นที่พำนักอาศัยของพระสงฆ์และสามเณร ใช้เป็นที่ทำการรัฐบาล ที่ประชุมสภา และสำนักงานราชการในระดับต่างๆ อีกทั้งยังมีโรงเรียนสงฆ์รวมอยู่ด้วย ส่วนสถานที่ที่เป็นเพียงวัดนั้น ภาษาซองคาเรียกว่า “ลาคัง” (Lahkhang) ซองทุกแห่งมีรูปแบบการก่อสร้างอันเป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะภูฏาน วัสดุทุกชิ้นที่ประกอบขึ้นมาเป็นซองนั้น มาจากจิตวิญญาณและรากเหง้าประวัติศาสตร์ของภูฏานทั้งสิ้น ดังนั้น ซอง จึงเป็นทั้งเอกลัษณ์และเป็นหัวใจของชาวภูฏานมาโดยตลอด
• บรรพบุรุษชาวภูฏานสร้างซองขึ้นมาเพื่อแสดงความยิ่งใหญ่เหนือศัตรู อีกทั้งยังแสดงถึงความเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจในแต่ละยุค นอกเหนือจากการใช้เป็นป้อมปราการทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ในยุคที่แว่นแคว้นต่างๆ มีการรบพุ่งช่วงชิงอาณาจักรกันและกัน
• รูปร่างอาคารและหลังคาของซองในภูฏาน เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากทิเบตและจีน มีลักษณะผสมผสานระหว่างวัด วัง อาคารโบราณ ซึ่งเป็นแหล่งใช้สอยและแหล่งสั่งสมวัฒนธรรมมายาวนาน ซองบางแห่งถูกก่อสร้างตามเชิงชั้นไหล่เขา
• การสร้างซองเริ่มเกิดขึ้นในต้นคริสศตวรรษที่ 12 โดยผู้ตั้งตัวเป็นผู้ปกครองแว่นแคว้น จนมาถึงศตวรรษที่ 17 ท่าน นาวัง นัมเกล เป็นสังฆราชา ซอง หรือ ป้อมปราการ หรือ อารามขนาดใหญ่ เกิดขึ้นหลายแห่ง ทั้งเพื่อผลทางยุทธศาสตร์และทางการปกครอง ซอง จึงเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจและศูนย์กลางการปกครองและกลายเป็นต้นแบบสถาปัตยกรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวภูฏานมาจนถึงทุกวันนี้
• ซองประกอบด้วย อาคารของอาคาร ก่อด้วยอิฐ ฉาบด้วยดิน หลังคาเป็นเชิงชั้น ตัวอาคารประกอบด้วยโครงไม้แกะสลัก พื้นอาคารปูด้วยแผ่นศิลา มีวิหาร ห้องพระ ห้องปฏิบัติธรรม สำนักงานข้าราชการ ที่พักสงฆ์ อาคารสถานศึกษา อยู่กันเป็นสัดส่วน รอบตัวอาคารตกแต่งสลักเสลาล้วนมีความหมายหรือเป็นปริศนาธรรมทั้งสิ้น
• ซิมโตคาซอง (Simtokha Dzong) ในเมืองทิมพู เป็นซองแห่งแรกในประเทศภูฏาน ที่ซับดรุง นาวัง นัมเกล สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1629 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของกษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์วังชุก (พระเจ้าจิกมี ดอร์จิ วังชุก) โปรดให้ดัดแปลงซิมโตคาซองแห่งนี้ เป็นวิทยาลัยครูแห่งแรกในภูฏาน ซองบางแห่งไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าชมภายใน
• ธนบัตรของภูฏาน ด้านหนึ่งมีซองปรากฎอยู่ด้านหลังของธนบัตร และอีกด้านหนึ่งเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ในองค์ต่างๆ แห่งราชวงศ์วังชุก

• ข้อธรรมเนียมปฏิบัติของชาวภูฏาน
• การแสดงความเคารพยกย่อง ชาวภูฏานมีสำนึกในเรื่องลำดับชั้น และการให้ความเคารพต่อผู้อาวุโสหรือผู้ที่มีศักดิ์ฐานะสูงกว่าไม่ต่างชาติชนชาติอื่นๆ ในเอเชีย ยิ่งถ้าเป็นบุคคลสำคัญทางศาสนาก็ยิ่งให้ความเคารพและนอบน้อมยำเกรงเป็นพิเศษ โดยมีวิธีแสดงออกหลายวิธีด้วยกัน กล่าวคือ ถ้ายืนอยู่ก็ต้องยืนค้อมตัวลงเล็กน้อย ถ้าอยูใน ท่านั่งก็ต้องนั่งขาตรงชิดติดกับเก้าอี้ และจะต้องใช้ผ้าสะพายบ่าคลุมหัวเข่าเอาไว้ เวลาพูดต้องเอามือป้องปากไว้จะได้ไม่ทำให้อากาศที่ฝ่ายสูดหายใจเข้าไปสกปรกเปรอะเปื้อน และห้ามสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด เมื่อจะจบประโยคต้องจบด้วยคำว่า "ลา" เพื่อแสดงความเคารพ (ไม่เว้นแม้กระทั่งประโยคภาษาอังกฤษ)
• ชาวภูฏานจะกราบพระอริยบุคคลสามครั้ง เช่นเดียวกับที่กราบพระพุทธรูป เวลาไปเที่ยววัดควรบริจาคเงินเล็กๆ น้อยๆ ทำบุญกับทางวัดบ้าง ห้ามพูดเสียงดัง และต้องถอดรองเท้าออกเพื่อแสดงความเคารพต่อสถานที่ ร่มและหมวกเป็นของต้องห้ามทั้งในวัดและซอง
• ชาวภูฏานถือว่าศีรษะเป็นของสูง ในขณะที่เท้าเป็นของต่ำ จึงห้ามไปแตะหรือตบศีรษะใครเข้าเป็นอันขาด และห้ามเหยียดหรือยื่นเท้าออกไปข้างหน้าด้วย เวลานั่งกับพื้นต้องนั่งขัดสมาธิหรือนั่งพับเพียบ ถ้านั่งบนเก้าอี้ก็ห้ามนั่งไขว่ห้างหรือนั่งเอาขาไขว้กันอย่างเด็ดขาด
• เจ้าบ้านกับแขกเหรื่อ การต้อนรับแขกเหรื่อของชาวภูฏาน หากไม่ยกน้ำชาหรือสุรามาให้ถือว่าเป็นการแสดงความหยาบคายอย่างยิ่ง ถ้าเป็นบ้านส่วนตัว ผู้เป็นแขกควรดื่ม (หรือแค่จิบ) เครื่องดื่มที่เจ้าของบ้านยกมาให้อย่างน้อยสองถ้วย แต่ไม่ควรรีบตกปากรับคำในทันทีที่เจ้าของบ้านเอ่ยถามว่า จะดื่มอะไรไหม ถ้าได้เป็นแขกรับเชิญให้ไปกินข้าวที่บ้านของชาวภูฏาน เจ้าบ้านจะยกเครื่องดื่มกับของว่างนานาชนิดมาให้รองท้องก่อนจะถึงมื้ออาหารจริงๆ ซึ่งอาจจะยื่ดเยื้อนานกว่าหนึ่งชั่วโมง ถ้าเป็นครอบครัวคนธรรมดาที่แขกไม่สนิทสนมคุ้นเคยด้วยนัก มีโอกาสที่เจ้าของบ้านจะไม่มานั่งคุยกับแขก จนกว่าจะถึงเวลายกอาหารมาเสริฟ และระหว่างกินอาหารไม่จำเป็นต้องมีเรื่องสนทนากัน เพราะการกินเป็นเรื่องจริงจังสำหรับชาวภูฏาน ไม่ควรหาหัวข้ออื่นมาหันเหความสนใจ ถ้าจะคุยต้องคุยให้เสร็จก่อนเริ่มลงมือกินอาหารและเมื่อกินเสร็จ แขกไม่ควรนั่งคุยเรื่องสัพเพเหระ กับเจ้าบ้าน แต่จะรีบกลับบ้านไปในทันที่ทีการอาหารจบลง กฎข้อนี้ใช้กับงานเลี้ยงของทางการด้วย
• การไปร่วมงานพิธี ธรรมเนียมที่เป็นทางการและสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของภูฏานคือ ชาวภูฏานทั้งหญิงและชายจะต้องห่มผ้ากับเนะ งานพิธีทางการที่พบได้บ่อยที่สุดในภูฏานมีอยู่สองงานคือ พิธีประสาทพรให้เจริญรุ่งเรืองหรือให้บังเกิดความอุดมสมบูรณ์ เรียกว่า พิธีซุกเดรล โดยมีพระลามะเป็นผู้ประกอบพิธี ส่วนงานที่สองคือพิธีบวงสรวงบูชาท้าวมหากาฬ (เทพผู้ปกปักรักษาประเทศภูฏาน) เรียกว่า พิธีมาชัง ซึ่งผู้ประกอบพิธีจะเอาสุราที่หมักขึ้นในท้องถิ่น (เรียกว่า ชัง) เทใส่ในถ้วยที่ใช้เนยปั้นเป็นรูปเขาสัตว์สี่อัน ประดับไว้ตามขอบ นำไปตั้งไว้บนแท่นบูชาสามขา ใช้ทัพพีตักสุราขึ้นมาชูขึ้นเหนือศีรษะ แล้วท่องมนก่อนเทสุราในทัพพีลงพื้นพอเป็นพิธี เสร็จแล้วจึงจะต้องธงมนต์ขึ้นเป็นขั้นตอนสุดท้าย
• การเลื่อนตำแหน่ง ในการเลื่อนตำแหน่งหรือฐานะทางสังคมของชาวภูฏาน ผู้ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งจะนิมนต์พระมาทำพิธีประสาทพรให้ที่บ้านเช่นเดียวกับงานแต่งงาน โดยจะนั่งอยู่บนที่สูง และรับของขวัญพร้อมผ้ากาตาสีขาว จากแขกเหรือที่มาแสดงความยินดี
• การเกิด การถือกำเนิดของบุตรหลานชาวภูฏานไม่ว่าหญิงหรือชายล้วนเป็นเรื่องน่ายินดี ช่วงสามวันแรกหลังคลอดผู้เป็นมารดาจะไม่พบใครนอกจากคนในครอบครัว ต้องรอจนถึงวันทำพิธีฮาซัง (พิธีอาบน้ำ) ผ่านพ้นไปก่อน แขกเหรื่อจึงจะมาเยี่ยมเยือนแสดงความยินดีได้ ตามหมู่บ้านในชนบทญาติมิตรจะนำไข่ ข้าว หรือข้าวโพดมามอบให้เป็นของขวัญ แต่ในเมืองจะนิยมนำเสื้อผ้าเด็กหรือผ้าอ้อมมามอบให้มากกว่า นอกจากนี้ยังต้องมอบเงินก้นถุงเล็กๆ น้อยๆ ให้กับทารกเพื่อเป็นมงคลแก่ชีวิต แม่จะต้องกินอาหารดีๆ และเครื่องดื่มที่ทำจากสุรา อาระผสมกับเนยและไข่ เพื่อจะได้มีน้ำนมมากๆ เครื่องดื่มดังกล่าวเจ้าของบ้านมักนำออกมาเลี้ยงแขกเหรื่อด้วย
• การตั้งชื่อเด็ก พ่อแม่ะตั้งชื่อให้ลูกเอง แต่จะรอให้พระหรือลามะผู้เป็นโหราจารย์ที่ตนเคารพนับถือตั้งให้พร้อมกับทำการผูกดวง โดยจดวันเดือนปีเกิด เวลาตกฟาก และพิธีต่างๆ ที่จะต้องทำในแต่ละปีหรือในกรณีที่ดวงตกเอาไว้ให้ ปัจจุบันพ่อแม่จะต้องไปแจ้งเกิดกับทางการด้วย
• การแต่งงาน ช่วงวัยหนุ่มสาวของชาวภูฏานจะไม่มีงานพิธีใดๆ เป็นพิเศษจนกว่าจะถึงกำหนดแต่งงาน การแต่งงานในภูฏานอาจเป็นงานใหญ่มีพิธีรีตองต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย หรืออาจไม่มีการจัดพิธีใดๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานะทางสังคมของครอบครัวและขึ้นอยู่กับว่าคู่บ่าวสาวรู้จักกันด้วยวิธีใด กล่าวคือ อาจเป็นการแต่งงานกันด้วยความรักชอบพอหรือเป็นการแต่งงานตามความต้องการของผู้ใหญ่ ซึ่งพ่อแม่จะถามความสมัครใจของลูกว่าจะยอมแต่งหรือไม่ โดยปกติแล้ว จะไม่ใช่เป็นการมาเจอหน้ากันครั้งแรกในวันแต่ง และถ้าลูกไม่สมัครใจก็สามามรถบอกปฏิเสธได้ ส่วนการแต่งงานจากการรักชอบพอกันเองนั้น ความเห็นชอบของพ่อแม่ยังเป็นสิ่งสำคัญอยู่ ถ้าครอบครัวของคู่บ่าวสาวมีฐานะดี การแต่งงานก็ต้องจัดเป็นงานใหญ่ มีญาติมิตรมาร่วมงานมากมาย เมื่อถึงฤกษ์ดีที่โหราจารย์ให้มา เจ้าบ่าวกับเพื่อนจะยกขบวนไปรับเจ้าสาวจากบ้านของฝ่ายหญิง และพากลับมายังบ้านของตน ที่หน้าบ้านจะมีสมาชิกในครอบครัวสองคนถือชามใส่นมและน้ำเป็นสัญลักษณ์แทนความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตของคู่สมรส
• เสร็จจากพิธีมาชัง คู่บ่าวสาวจะออกไปนั่งฟังพระสวด แต่พิธีสงฆ์ของทางพุทธก็ไม่ได้มีน้ำหนักหรือความศักดิ์สิทธิ์เท่าพิธีทางศาสนาของพวกคริสเตียนหรือฮินดู จากนั้นคู่บ่าวสาวจะดื่มสุราประกาศความเป็นสามีภรรยากัน ญาติมิตร จะนำกับเนะสีขาวมาคล้องและนำของขวัญมามอบให้ ส่วนใหญ่เป็นผ้าจำนวนสาม ห้า หรือเจ็ดผืน มีการกินเลี้ยง ดื่มสุราและเต้นรำกันอย่างสนุกสนานจนถึงค่ำ ถ้าเป็นครอบครัวคู่บ่าวสาวที่มีฐานะไม่ดี หนุ่มสาวจะย้ายมาอยู่ด้วยกันเฉยๆ ปัจจุบัน ทางการภูฏานส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ตามชนบทจะไม่ให้ความสำคัญเรื่องนี้มากนัก
• ในภูฏาน การหย่าร้างถือเป็นเรื่องธรรมดามาแต่ครั้งโบราณ ถ้าภรรยาเป็นฝ่ายเรียกร้องต้องการหย่าขาด ชายคนใหม่ของเธอจะต้องจ่ายค่าปรับให้กับสามีเก่า ปัจจุบัน กฎหมายยังกำหนดว่าอีกฝ่ายจะต้องแบ่งรายได้หรือเงินเดือนร้อยละ 25 ให้กับคู่ชีวิต
• พิธีศพ งานศพเป็นพิธีที่สำคัญที่สุดในภูฏาน นับเป็นพิธีที่แพงที่สุดสำหรับชาวภูฏาน ความตายไม่ใช่เป็นการสิ้นสุด แต่เป็นการผ่านไปสู่ชีวิตใหม่ พวกเขาจึงต้องทำทุกอย่างให้ขั้นตอนนี้ของชีวิตเป็นไปในทางที่ดีที่สุด เมื่อมีคนใกล้ ญาติจะรีบไปนิมนต์พระ ลามะ หรือ กมเซ็น (พระบ้าน) มาประกอบพิธีเพื่อช่วยปลดปล่อยดวงจิตออกจากร่างและอ่านภัมคีร์มรณะ เพื่อชี้นำวิญญาณให้ก้าวผ่านนิมิตและขั้นตอนต่างๆ ไปด้วยดี ดินแดนที่อยู่ระหว่างความตายและการไปเกิดใหม่เรียกว่า บาร์โด
• พิธีศพในภูฏานค่อนข้างสลับซับซ้อน และถ้าเป็นคนมีฐานะดีจะดำเนินงานพิธีติดต่อกันไปโดยมีหยุดนานถึง 49 วัน แต่่ส่วนใหญ่แล้วจะจัดติดต่อกันแค่เจ็ดวัน แล้วมาทำพิธีเพิ่มในวันที่ 14, 21 และ 49 แทน พิธีช่วงวันที่ 21-49 จะจัดขึ้นที่วัดไม่ใช่ที่บ้าน หลัง 49 วันผ่านพ้นไป จึงถึงคราวของการทำพิธีชำระความเศร้าหมองและพิธีนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ผู้ที่ยังอยู่เบื้องหลังซึ่งจะกระทำกันที่บ้านของผู้ตาย
• ทันที่ที่มีการเสียชีวิตลง ศพของผู้ตายจะถูกจัดให้อยู่ในท่านั่งบนที่ตั้งศพที่ใช้ผ้าหลากสีคลุมไว้ โดยปกติแล้วจะตั้งศพไว้นอกบ้าน แขกเหรือที่มาแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้ตายจะนำเงินและแถบผ้ายาวสีขาวมาคลุมที่ตั้งศพเป็นการแสดงความคารวะ ครอบครัวจะต้องนำอาหารมาเซ่นผู้ตายทุกมื้อและทุกวันจนกว่าพิธีต่างๆ จะเสร็จสิ้นลงอย่างสมบูรณ์
• พิธีฌาปนกิจจะทำตามฤกษ์ที่โหราจารย์กำหนดให้ แต่ต้องหลังวันตายอย่างน้อยสามวัน ถ้าผู้ตายเป็นพระ ลามะ หรือผู้มีอันจะกิน เชิงตะกอนสำหรับเผาศพจะใช้ดินเหนียวก่อขึ้นเป็นพิเศษ ถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดาก็แค่ห่อผ้าตราสังข์นำขึ้นวางบนกองฟืนแล้วเผาได้เลยทันทีที่จุดไฟ ญาติมิตรจะโยนแถบผ้าสีขาวกับเงินเข้ากองไฟพร้อมสวดมนต์ขอให้ผู้ตายได้ไปเกิดใหม่ในชาติภพที่ดี จากนั้นครอบครัวจะต้องประกอบพิธีในวันครบรอบวันตายติดต่อกันสามปี โดยในปีที่สามจะเป็นพิธีใหญ่และถือเป็นที่สิ้นสุดของพิธีศพอย่างแท้จริง
• หลังพิธีฌาปนกิจ ลูกหลานมักนำเถ้าอัฐิไปลอยอังคารหรือนำไปผสมกับดินเหนียวทำเป็นป้ายบูชา จากนั้น ทางครอบครัวจะทำธงมนต์และสร้างเจดีย์เป็นการสร้างกุศลให้กับผู้ตาย แต่จะทำได้แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับศรัทธาและฐานะทางการเงินของครอบครัว ถ้าผู้ตายเป็นเด็ก ครอบครัวจะนำศพไปทิ้งให้แร้งกากินหรือไม่ก็นำไปทิ้งน้ำแทนการเผา

เมืองปูนาคา (Punakha) อดีตราชธานีของภูฏาน
• ปูนาคา (Punakha) : ในสมัยโบราณปูนาคามีฐานะเป็นเพียงป้อมที่มีความสูง 1,350 เมตร จากนั้นจึงมีการสร้างโรงเรียนมัธยมปลายขึ้นแห่งหนึ่ง แล้วหมู่บ้านก็เติบโตขึ้นในกลางทศวรรษ 1980 ปูนาคาเป็นเมืองเล็ก แต่มีบทบาทอันสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ภูฏาน และเคยเป็นเมืองหลวงในฤดูหนาวของประเทศนานถึง 300 ปี
• ซับดรุงงาวัง นัมเกลสร้างปูนาคาซองขึ้นในปี ค.ศ. 1637 แต่ละแวกนี้ก็มีวัดที่ท่านงากี รินเซ็นได้มาสร้างไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1328 ตั้งอยู่ก่อนแล้ว นั่นคือวัดที่ประจันหน้ากับป้อมใหญ่ในปัจจุบัน และมีชื่อเรียกว่า ซ่งซุง แปลว่า "ป้อมเล็ก" นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องเล่าสืบกันมาว่าช่วงทศวรรษที่ 8 คุรุรินโปเซเคยเสด็จมาประสาทพรให้กับดินแดนแถบนี้ และตรัสพยากรณ์ไว้ว่า "บนขุนเขาด้านที่มีสัณฐานประดุจงวงช้าง บุรุษผู้มีนามว่า นัมเกลจะมาสร้างป้อมขึ้นไว้"
• ก่อนที่ซับดรุง งาวัง นัมเกลจะลุแก่มรณภาพในปี ค.ศ. 1651 ได้แต่งตั้งสังฆราชองค์แรกที่เรียกว่า เจเคนโปมาดูแลศาสนาจักร พร้อมกับแต่งตั้งผู้มีอำนาจเด็ดขาดทางโลกในตำแหน่ง ดรุกเดชิ
• หลังจากที่ดรุง งาวัง นัมเกล มรณภาพ ประมุขทางโลกและทางธรรมยังคงประทับที่พูนักฮาซองและติชิโชซอง แห่งละ 6 เดือน เช่นเดียวกับข้าราชการบริหารประเทศและคณะสงฆ์หลวง จวบจนกระทั่งปี ค.ศ.1952 กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์วังชุกทรงโปรดให้ทิมพูเป็นเมืองหลวงเพียงแห่งเดียว ปูนาคาซองจึงถูกลดความสำคัญลงเหลือเพียงศูนย์กลางบริหารระดับเขต อย่างไรก็ตาม ท่านสังฆราชตลอดจนคณะสงฆ์หลวงยังคงย้ายไปมาอยู่ระหว่างปูนาคาซองกับตาชิโชซองดังเช่นสมัยแรกเริ่ม
• ปูนาคาซอง (Punakha Dzong) : เป็นป้อมปราการประจำเมืองปูนาคา สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1637 โดยฉับดรุง งาวังนัมเกลโดยตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำโพ (แม่น้ำพ่อ) และ แม่น้ำโม (แม่น้ำแม่) ท่านซับดรุงใช้ที่นี่เป็นเมืองหลวงในช่วงฤดูหนาว เพราะตั้งอยู่ในเขตที่ต่ำที่มีอากาศอุ่นกว่า คณะผู้บริหารราชการแผ่นดินจึงได้ย้ายจากทิมพูมายังปูนาคาเป็นประจำทุกปี ป้อมปราการถูกทำลายหลายครั้ง จากไฟไหม้และภัยธรรมชาติแต่ได้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่อง
• ปูนาคาซอง มีขนาดกว้าง 180 เมตร ยาว 72 เมตร หอกลางสูง 6 ชั้น มีรูปทรงสัณฐานคล้ายเรือยักษ์ โดมทองของปูนาคาซองสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2219 ส่วนสะพานที่ใช้เสาสองข้างถ่วงน้ำหนักกัน ที่ข้ามแม่น้ำโม และแม่น้ำโพ สองสายที่ไหลมาบรรจบกันนั้น สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ.2463-2473 พังไปแล้ว และได้มีการสร้างสะพานแขวนขึ้นมาข้ามแม่น้ำโมแทนสะพานเดิม และได้อัญเชิญพระพุทธรูปรันจุงกัรชาปานีที่นำมาจากอารามราลุงในทิเบตขึ้นประดิษฐานไว้ รันจุงกัรซาปานีคือรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์มาก
• มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า ตอนทำพิธีฌาปนกิจซากสังขารของท่านซังปา กาเร เยเช โดร์จี ผู้ตั้งนิกายดรุ๊กปะขึ้นในทิเบต มีปาฏิหารย์บังเกิดเป้นพระพุทธรูปรันจุงกัรซาปานีขึ้นจากอัฐิส่วนข้อกระดูกสันหลังของท่าน ชาวทิเบตนับถือบูชาพระพุทธรูปองค์นี้มากถึงขนาดยกทัพตามมาตีป้อมปูนาคาเพื่อชิงคืนกลับไป แต่สู้ทัพภูฏานไม่ได้จึงต้องถอยร่นกลับไป เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นต้นกำเนิดของขบวนแห่เซร์ดา ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงปลายฤดูหนาว
• ซับดรุง งาวัง นัมเกล เป็นประมุขทั้งฝ่ายอาณาจักรและศาสนาจักร มีปูนาคาคาซองเป็นที่ประทับจวบจนกระทั่งปี ค.ศ. 1641 ได้สร้างซองแห่งใหม่ที่ทิมพู ให้ชื่อว่า ติชิโชซอง ด้วยว่า ปูนาคาซอง อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 1,350 เมตร โดยเฉลี่ยจึงอบอุ่นกว่าทิมพู ซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 2,400 เมตร ครั้นตาชิโซซองสร้าเสร็จ ท่านให้พูนักฮาเป็น Winter Capital (เดือนพฤศจิกายน-เมษายน) ในขณะที่ทิมพูเป็น Summer Capital (พฤษภาคม-ตุลาคม)
• เกิดไฟไหม้ที่ปูนาคาซองขึ้นสองครั้ง หลังไฟไหม้ครั้งที่สอง มีการสร้างโบสถ์ใหม่เพิ่มเติมระหว่างการซ่อมแซม โบสถ์ลามะเป็นที่ประดิษฐานรูปจำลองของท่านซับดรุง นาวัง นัมเกล ต่อมา ปูนาคาซองถูกไฟไหม้อีกหลายครั้งหลายหน ทั้งยังเกิดแผ่นดินไหวในศตวรรษที่ 18 และเกิดความเสียหายร้ายแรงเกิดจากน้ำท่วมใหญ่ในศตวรรษที่ 19 ครั้งนั้นมีคนตายหลายสิบคน ทำให้บันทึกทางประวัติศาสตร์สูญหายไปเป็นจำนวนมาก แต่พระบรมสารีริกธาตุที่ซับดรุง งาวัง นัมเกลแอบซ่อนมาจากทิเบตซึ่งเก็บไว้ในพูนักฮาซองนี้กลับไม่ได้รับความเสียหาย
• หลังทิมพูได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงของภูฏานอย่างถาวร แต่องค์กรสงฆ์ส่วนกลางยังรักษาธรรมเนียมดั้งเดิมเอาไว้อยู่ โดยจะย้ายจากทิมพูมาอยู่ที่ปูนาคาซองในช่วงฤดูหนาวนานหกเดือนเต็ม ท่านซับดรุงมรณภาพลงในปี 1651 ขระปลีกวิเวกอยู่ที่ปูนาคาซอง ซากสังขารของท่านได้รับการเก็บรักษาเอาไว้ในวิหารมาเซ็นซึ่งตั้งอยู่ภายในป้อมด้วย และภายในปูนาคาซองอีกเช่นกันเป็นสถานที่พระเจ้าอูเก็น วังชุก ปฐมกษัตริย์แห่งภูฏานทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ.1907
• ปูนาคาซองเป็นศูนย์กลางด้านการบริหารปกครองของเขตปูนาคา ลานชั้นแรกจึงเป็นที่ตั้งของกรมกองการปกครองต่าง ๆและมีสถูปใหญ่ที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1981 ตั้งอยู่ข้าง ๆ ต้นโพธิ์ต้นหนึ่ง ลานชั้นสองนั้น ปัจจุบันไม่มีเหลืออยู่อีกแล้ว เพราะมีการสร้างวิหารขึ้นเพื่อบูชาเทพจักรสัมวระในนิกายตันตระเมื่อ ปีค.ศ. 1983 ภายในป้อมมีศาสนสถานทั้งหมด 21 หลัง หลังใหญ่สุดคือศาลาการเปรียญซึ่งตั้งอยู่ที่ลานชั้นสามทางตอนบสุดของป้อม องค์ประกอบทุกส่วน ทั้งเสา ภาพจิตรกรรม พระพุทธรูปดินเหนียวและรูปปั้นท่านซับดรุง ล้วนสะท้อนถึงฝีมือในเชิงช่างอันเป็นเลิศของชาวภูฏาน
• เทศกาลเซซูปูนาคาซอง : เทศกาลเซซูที่ปูนาคาซอง จัดการแสดงในงานฉลองเทศกาลไม่เหมือนที่อื่น เพราะปูนาคาซอง มีเรื่องราวที่คนจดจำเป็นเกร็ดประวัติศาสตร์ กล่าวคือ เมื่อครั้งท่าน ซับดรุง นาวัง นัมเกล อยู่ที่เมืองพาโร กองทัพทิเบตได้ยกกำลังมาปิดล้อมปูนาคาซอง และออกคำสั่งบังคับให้ภูฏานส่งมอบพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ที่เก็บรักษาอยู่ในปูนาคาซอง เพื่อจะนำกลับไปบูชาที่ทิเบต แต่ท่านซับดรุง นัมเกล สามารถเอาชนะศึกด้วยปัญญา โดยท่านซับดรุง นัมเกล ยกพวกออกไปที่ริมน้ำให้กองทัพทิเบตเห็น แล้วแกล้งทำเป็นลอยอังคารพระพุทธองค์ลงแม่น้ำไป กองทัพทิเบตเห็นดังนั้น จึงคิดว่าพระบรมสารีริกธาตะของพระพุทธเจ้าลอยน้ำไปแล้ว จึงยกทัพกลับไปทิเบต
• การแสดงของพระและฆราวาสในเทศกาลเซซูที่พูนักฮาซ็อง ให้คนนับร้อยแต่งตัวถืออาวุธเป็นนักรบกองทัพทิเบต มายืนส่งเสียงโห่ร้อง ทำกิริยาคุกคามอยู่หน้าซอง ต่อมาทางฝ่ายพระ ซึ่งนำโดยท่านเจ เคนโป ของปูนาคาซอง เดินนำพระในวัดออกไปที่แม่น้ำ ท่ามกลางเสียงเป่าปี่ตีกลองเสียงดังอึกทึก เมื่อถึงริมน้ำ ท่านเจ เคนโป ก็ขว้างผลส้มลงไปในน้ำ
• การแสดงในงานเทศกาลเซซูนี้ จึงจัดแสดงขึ้น เพื่อเป็นการระลึกถึงวีรกรรมของท่านซับดรุง นาวัง นัมเกล และเป็นการถวายเครื่องบูชาพระแม่คงคาด้วย หลังจากนั้นท่านเจ เคนโป จะถูกแวดล้อมด้วยคนทั้งหมดที่จะช่วยกันแบกท่านกลับเข้าปูนาคาซอง และมีการจุดพลุเล่นดอกไม้ไฟฉลองกันอย่างเป็นการเอิกเกริก

วัดทักซัง วัดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของประเทศภูฏาน
• "หากใครมาภูฏานแล้วไม่ได้ขึ้นวัดทักซังเหมือนมาไม่ถึงภูฏาน" ไกด์โซนัมบอกกับผม "จิ๊บๆ ภูกระดึง ภูสอยดาวที่บ้านผม ผมพิชิตมาแล้ว จะยากอะไรกะวัดละ พระธาตุอินทร์แขวนก็เดินมาหลายรอบ ไม่เห็นมีไรน่ากลัวเลย"
• ผมเดินทางมาถึงทางขึ้นวัดทักซัง 8.30 น. หันไปถามไกด์ภูฏานว่าคุณเดินขึ้นวัดทักซังใช้เวลาเท่าไหร่ "ชั่วโมงครึ่ง" "อำกันนี่หว่า วัดใกล้ๆนี่นะ ยอดเขาก็ไม่ไกล น่าจะไม่เกิน 2 กิโล งั้นจัดอาหารกลางวันให้ผมในเมืองก็แล้วกัน" พร้อมกับเซย์ฮัลโหลกับคูรูโชเฟอร์ "See you again affternoon"
• ตรงทางขึ้นวัดทักซังมีม้าให้ขี่ขึ้นเขา ค่าขี่ม้าก็ 500 งุลดรัม ประมาณ 300 บาท ผมเองเลือกที่จะเดินด้วยเหตุผลในการถ่ายรูปไม่ได้คิดว่ามันแพงหรอก เส้นทางเดินก็ผ่านป่าสนก่อนที่จะขึ้นไปบนยอดเขา แค่ 500 เมตรแรก ผมแทบหันหลังกลับไปขี่ม้า ทำไมมันเหนื่อยอย่างนี้นะ ก็ลืมคิดไปว่าเราต้องเดินจาก 2,300 เมตรสู่ 3,100 เมตร อากาศจึงเบาบาง หายใจแทบไม่ทัน แต่ด้วยวิวทิวทัศน์อันสวยงามและมีเพื่อนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติคอยเดินเป็นเพื่อนก็เลยช่วยลดบรรยากาศในการเหนื่อยลดลง
• หลังจากเดินทางมาร่วม 2 ชั่วโมงก็มาถึงจุดหยุดพัก มีร้านอาหาร ชา กาแฟไว้บริการ และยังมีวิววัดทักซังอยู่แค่เอื้อม วัดศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในภูฏานอยู่ข้างหน้านี้แล้ว ความฝันกำลังจะเป็นจริง ผมใช้เวลาเดินทางต่ออีก 1 ชั่วโมงก็มาถึงตัววัดและยังสงสัยในความศรัทธาของคนที่แบกอิฐ แบกหิน แบกปูนมาสร้างวัด

• วัดทักซังปิดเวลา 13.00-14.00 น. ผมมาถึงวัดทักซังตอนเที่ยงพอดี มีจุดรับฝากกล้องฝากกระเป๋า คือห้ามนำอะไรขึ้นไปในตัววัด เจ้าหน้าที่ที่ดูแลวัดก็น่ารักมาก ผมเองไปไหว้พระตามห้องต่างๆ ก็ยังมีเวลาเวลาเหลืออีก 20 นาทีก่อนจะบ่ายโมง ก็บอกกับไกด์ว่าจะขอไปนั่งสมาธิที่ห้องคุรุรินโปเช ระหว่างที่นั่งสมาธิ เจ้าอาวาสที่ดูแลวัดก็จะมาปิดประตูเพราะจะถึงเวลาบ่ายโมง แต่ด้วยความที่ท่านมีจิตเมตตา ท่านก็มารอโดยไม่ได้รบกวนเรา คงเป็นความโชคดีของเราทำให้เราได้สนทนาธรรม ท่านถามเราว่ามาจากไหน แล้วตอนที่เรานั่งเราคิดถึงอะไรพร้อมทั้งสอนหลักการทำสมาธิให้เรา ให้เราอธิฐานตอนลมหายใจเข้าก็ให้สิ่งดีๆเข้ามาและลมหายใจออกก็ให้สิ่งที่ไม่ดีออกไป
วัดชันกังคา (Changnagkha Lhakhang) วัดของลามะ “เทวะผู้บ้าคลั่ง”
• วัดชันกังคา เป็นวัดที่อยู่บนสันเขาเหนือเมืองทิมพู ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของโมติตัง กำแพงสีขาวของวัดเป็นจุดเด่นที่มองเห็นได้แต่ไกล เป็นหนึ่งในวัดเก่าแก่ที่สุดในเมืองทิมพู พระลามะทิเบตเป็นผู้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 15 โดยลูกหลานของท่านพะโจ ดรุ๊กกอม ชิโป พระประธานของวัดคือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร งานจิตรกรรมฝาผนังที่ฝั่งตรงข้ามกับประตูทางเข้ามีความพิเศษอยู่ที่ภาพของท่านซังปา กาเร เยเช โดร์จี ผู้ตั้งนิกายดรุ๊กปะขึ้นในทิเบต วัดแห่งนี้ได้รับการบูรณะขึ้นในปี ค.ศ.1998-1999
• ในสมัยก่อนวัดทำหน้าที่เป็นทั้งอารามและป้อมปราการที่มีไว้สำหรับป้องกันการบุกรุกของข้าศึกศัตรูที่มารุกรานภูฏาน ลานอเนกประสงค์ของวัดเป็นจุดชมวิวทิมพูสำหรับผู้ที่มาท่องเที่ยวภูฏานได้เป็นอย่างดี
วัดนันนารี เมืองทิมพู
• วัดนันนารี เมืองทิมพู สร้างขึ้นเมื่อศตวรรที่ 19 เพื่อประดิษฐานคุรุกังคุง เกนปู คุรุกังคุงได้เดินทางมาภูฏานเมื่อศตวรรษที่ 15 เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาและท่านเป็นผู้ฝึกปฏิบัติธรรมที่มีชาญสูง ท่านเป็นผู้สร้างสะพานเหล็ก ในหลายเมืองของภูฏาน ท่านเป็นวิศกรผู้สร้างวัดและสะพานในเมืองต่างๆของภูฏาน
 



หน้าที่ :: 1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11  


Copyright © 2012 Neric-Club.Com All Rights Reserved